• วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน

    วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย)

    ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ

    ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน

    บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน

    ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด

    และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2)

    บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป

    สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/584621129_114988
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html
    https://mgronline.com/china/detail/9670000114488
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://m.shangshiwen.com/71990.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx
    https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย) ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2) บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/584621129_114988 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html https://mgronline.com/china/detail/9670000114488 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://m.shangshiwen.com/71990.html https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 325 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้
    “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน
    รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน
    ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย
    ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย
    ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย”

    วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก

    ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้

    และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง

    คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด

    นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย

    โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย

    สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ:
    https://www.arsomsiam.com/guanzhong/
    https://mgronline.com/china/detail/9570000117129
    http://www.inewhorizon.net/8456123-2/

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html
    https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs
    https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172
    https://www.sohu.com/a/604599137_121124389
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย” วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้ และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ: https://www.arsomsiam.com/guanzhong/ https://mgronline.com/china/detail/9570000117129 http://www.inewhorizon.net/8456123-2/ Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172 https://www.sohu.com/a/604599137_121124389 http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 439 มุมมอง 0 รีวิว
  • สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่

    ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ

    และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย

    แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว?

    เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย

    ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน

    อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต

    เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ

    (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf
    http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1
    http://www.guoxue.com/?p=792

    #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว? เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1 http://www.guoxue.com/?p=792 #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 361 มุมมอง 0 รีวิว
  • การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี

    วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย

    มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย

    และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง

    การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย

    และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย

    แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ

    จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้

    อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
    https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
    http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
    http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้ อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560 http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 422 มุมมอง 0 รีวิว
  • เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
    เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 333 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 486 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 447 มุมมอง 0 รีวิว
  • หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 550 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 425 มุมมอง 0 รีวิว
  • จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ)

    พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว

    แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว

    และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น

    แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm
    https://baike.baidu.com/item/障车/1624835
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。
    https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm

    #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน

    จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ) พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm https://baike.baidu.com/item/障车/1624835 https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。 https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 400 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 831 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’

    ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้

    สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้
    (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น
    (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น
    (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น
    (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย

    สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ
    (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น
    (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย

    (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา
    (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น
    (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร
    (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ
    (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง
    (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น
    (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง

    จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743
    https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/
    https://ctext.org/nine-chapters/zhs

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’ ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้ สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้ (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743 https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/ https://ctext.org/nine-chapters/zhs #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    《度华年》定档0626 赵今麦张凌赫入宿命循环局_商业频道_中华网
    今日,由赵今麦、张凌赫领衔主演的古装轻喜剧《度华年》官宣定档6月26日于优酷全网独播。该剧由青梅影业、浙江影视集团、优酷出品,袁玉梅担任总制片人兼艺术总监,高翊浚执导,饶俊编剧。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 586 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’

    วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ

    ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง

    เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร?

    การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ:
    (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว
    (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง
    (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก
    (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต
    (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน

    ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

    การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ
    (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน
    (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน
    (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น
    (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง
    (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย

    เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/716142814_116162
    https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://mychistory.com/a001-2/11-04
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3
    https://kknews.cc/car/p88yjrp.html
    https://www.sohu.com/a/459650524_121052969

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’ วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร? การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ: (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/716142814_116162 https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://mychistory.com/a001-2/11-04 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3 https://kknews.cc/car/p88yjrp.html https://www.sohu.com/a/459650524_121052969 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    GUOXUE.IFENG.COM
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 607 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย

    แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ

    ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์

    ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย
    (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา
    (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน
    (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ
    (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ)
    (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ
    (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน

    ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง

    นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้

    ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae
    https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://m.jiemian.com/article/1154435.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://h.bkzx.cn/knowledge/1733

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์ ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ) (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้ ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://m.jiemian.com/article/1154435.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://h.bkzx.cn/knowledge/1733 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 528 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน

    หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน

    หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป

    ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ
    (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ
    (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม
    (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ
    (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ
    (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น

    แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm
    https://baike.baidu.com/item/五礼/491424

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์ สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949 https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm https://baike.baidu.com/item/五礼/491424 #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    WWW.UPMEDIA.MG
    張凌赫新劇《度華年》對打王星越《墨雨雲間》 他與趙今麥演歡喜冤家3關鍵獲好評--上報
    張凌赫近年事業蒸蒸日上,他2022年擔任王鶴棣、虞書欣的爆款劇《蒼蘭訣》男配嶄露頭角,接著又在2023年與虞......
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 658 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ

    Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้

    สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้:

    1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl)

    2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ
    2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป
    2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า:
    - สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ)
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่
    2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2)
    - สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี
    - ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน
    - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่);
    - หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3)
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก
    - อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน
    2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า:
    - เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน)
    - ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้)

    สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ

    3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
    - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3)
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน

    สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ

    4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว
    - บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง)

    5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา
    - บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา)
    - บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน)

    การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้

    การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว

    ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3

    ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

    โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม

    แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝
    https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
    https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
    https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791
    https://baike.baidu.com/item/齐衰
    https://www.sohu.com/a/124382586_555629
    https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html

    #หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2 สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้ สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้: 1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl) 2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ 2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป 2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า: - สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ) - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่ 2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2) - สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี - ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่); - หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3) - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก - อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน 2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า: - เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน) - ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้) สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ 3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ 4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว - บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง) 5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา - บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา) - บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน) การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้ การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3 ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝 https://kknews.cc/news/j5bqeq.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296 https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791 https://baike.baidu.com/item/齐衰 https://www.sohu.com/a/124382586_555629 https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html #หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 950 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1)

    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป

    วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ

    การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน

    ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ

    ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง?

    รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1

    1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า

    ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ:
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย
    อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน
    - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย
    - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี

    สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว

    ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน

    ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้
    จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม

    ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม

    นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ

    ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย

    ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก

    แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/790545230_121948376
    https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
    https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
    https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602
    https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791

    #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1) สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง? รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ: - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้ จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/790545230_121948376 https://kknews.cc/news/j5bqeq.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296 https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602 https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791 #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    WWW.SOHU.COM
    度华年:了解裴文宣父亲对老婆好的方式 才懂前世驸马公主注定分离_李蓉跟_裴礼_事情
    裴礼之的家庭观就是, 身为丈夫就应当保护妻儿给她最好的生活,不管家里家外发生的事情都揽在了自己身上,所有的责任义务也都是自己一个人扛。 而这在李蓉看来,是你站在了我的对立面,是你不再要我,是你放弃了我们…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 931 มุมมอง 0 รีวิว