สิ้นแล้ว “อาจารย์ทองแถม นาถจำนง” เจ้าของนามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก นักแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ “สามก๊ก” สิริอายุ 69 ปี
2 สิงหาคม 2567 - เพจเฟซบุ๊ก “สามก๊ก 1994 三国演义” โพสต์อาลัย “อาจารย์ทองแถม” นักแปลชื่อดัง อดีตบรรณาธิการสยามรัฐ เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 69 ปี โดยระบุข้อความว่า
“อำลาอาลัย อาจารย์ทองแถม นาถจำนง
ทองแถม นาถจำนง (๒๔๙๘-๒๕๖๗)
滚滚长江东逝水,
น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา
浪花淘尽英雄。
คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย
是非成败转头空。
ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักร เวียนว่างดาย
青山依旧在,几度夕阳红。
สิงขรยังคง ตาวันยังฉาย นานเท่านาน
บทกวีนำวรรณกรรมสามก๊กและบทเพลงเปิดภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 แปลโดย อ.ทองเเถม นาถจำนง
อาจารย์ทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก ผลงานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับวงการสามก๊กในประเทศไทย คือการแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 三国演义 เป็นภาษาไทย ซึ่งนับเป็นงานใหญ่และยากยิ่ง แต่ท่านสามารถแปลและใช้คำได้อย่างไพเราะสละสลวยอย่างที่สุด ไม่สามารถพบได้ในสื่อหรือบทแปลภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ใดในสมัยนี้ ทางผมเองได้เคยพูดคุยกับอาจารย์ทาง Messenger หลายครั้ง และเคยร่วมงานพิธีลงนามและแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-จีน
ในการเผยแพร่ภาพยนตร์โทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์จีนชุด “สามก๊ก” 《三国演义》1994 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ วันนั้นได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับอาจารย์ทองแถมอย่างใกล้ชิด ได้สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานแปลสามก๊ก 1994 ได้รับความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ จากท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีการจดบันทึก เป็นข้อมูลที่เกิดจากประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดด้วยการพูดคุยกับท่านโดยตรง นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และประทับใจจนทุกวันนี้“
กราบคารวะอาจารย์ทองแถมสู่สุคติในสัมปรายภพ
บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.ทองแถมที่ผู้จัดการออนไลน์บันทึกไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว 10 ก.ค.2558
https://mgronline.com/china/detail/9580000078184#lzcmbn1540ec6hyp8mj บ่งบอกความลึกซึ้งในวิถีศรัทธาของอาจารย์ทองแถมในปรัชญาเต๋า เถายวนหมิง และแปลปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ที่ถือเป็นสุดยอดมรดกทางปัญญาของจีน
หลักคิดของอาจารย์บนเส้นทางที่ยากลำบากของนักแปลปรัชญาวรรณกรรมจีนที่ให้ไว้กับคนรุ่นหลัง
หนึ่ง-การเป็นนักเขียนอาชีพที่จะพึ่งรายได้ จากการแปลภาษาจีน มันยากมาก เราต้องมีความสามารถในเชิงวรรณศิลป์มาก ๆ สำนักพิมพ์จึงจะกล้าพิมพ์หนังสือให้เรา
สอง-ต้องเข้าใจตลาดด้วย ต้องวิเคราะห์ให้เป็นว่า แนวเรื่องแบบใดจะขายได้ในตลาด เพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงชีพ
สาม-เราควรมี “กล่อง” ไว้บ้าง คือมีงานมาสเตอร์พีซที่จะทำให้เราได้รับการยอมรับ แล้วสร้างแนวเรื่องของตนเองได้สำเร็จ เช่นว่าถ้าเรื่องกลยุทธ์บริหารโดยพิชัยสงครามจีนแล้ว อ่านงานของเราแล้วไม่ผิดหวัง
สี่-ควรมีทั้งงานแปลและงานค้นคว้าเขียนเอง
“ “ผมปรารถนาชีวิตสมถะ สงบสุข แบบเถายวนหมิง แม้จะรู้ว่าบางช่วงก็ต้องมีปัญหาด้านเศรษฐกิจบ้าง”อาจารยทองแถมกล่าว
พิธีศพจัดที่ ศาลา 4 วัดภคินีนาถวรวิหาร ซอยราชวิถี 21 พิธีสวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศล2-6 ส.ค.และพิธีฌาปนกิจในวันที่ 7 ส.ค.2567
#Thaitimes สิ้นแล้ว “อาจารย์ทองแถม นาถจำนง” เจ้าของนามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก นักแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ “สามก๊ก” สิริอายุ 69 ปี
2 สิงหาคม 2567 - เพจเฟซบุ๊ก “สามก๊ก 1994 三国演义” โพสต์อาลัย “อาจารย์ทองแถม” นักแปลชื่อดัง อดีตบรรณาธิการสยามรัฐ เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 69 ปี โดยระบุข้อความว่า
“อำลาอาลัย อาจารย์ทองแถม นาถจำนง
ทองแถม นาถจำนง (๒๔๙๘-๒๕๖๗)
滚滚长江东逝水,
น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา
浪花淘尽英雄。
คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย
是非成败转头空。
ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักร เวียนว่างดาย
青山依旧在,几度夕阳红。
สิงขรยังคง ตาวันยังฉาย นานเท่านาน
บทกวีนำวรรณกรรมสามก๊กและบทเพลงเปิดภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 แปลโดย อ.ทองเเถม นาถจำนง
อาจารย์ทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก ผลงานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับวงการสามก๊กในประเทศไทย คือการแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 三国演义 เป็นภาษาไทย ซึ่งนับเป็นงานใหญ่และยากยิ่ง แต่ท่านสามารถแปลและใช้คำได้อย่างไพเราะสละสลวยอย่างที่สุด ไม่สามารถพบได้ในสื่อหรือบทแปลภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ใดในสมัยนี้ ทางผมเองได้เคยพูดคุยกับอาจารย์ทาง Messenger หลายครั้ง และเคยร่วมงานพิธีลงนามและแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-จีน
ในการเผยแพร่ภาพยนตร์โทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์จีนชุด “สามก๊ก” 《三国演义》1994 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ วันนั้นได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับอาจารย์ทองแถมอย่างใกล้ชิด ได้สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานแปลสามก๊ก 1994 ได้รับความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ จากท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีการจดบันทึก เป็นข้อมูลที่เกิดจากประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดด้วยการพูดคุยกับท่านโดยตรง นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และประทับใจจนทุกวันนี้“
กราบคารวะอาจารย์ทองแถมสู่สุคติในสัมปรายภพ
บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.ทองแถมที่ผู้จัดการออนไลน์บันทึกไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว 10 ก.ค.2558 https://mgronline.com/china/detail/9580000078184#lzcmbn1540ec6hyp8mj บ่งบอกความลึกซึ้งในวิถีศรัทธาของอาจารย์ทองแถมในปรัชญาเต๋า เถายวนหมิง และแปลปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ที่ถือเป็นสุดยอดมรดกทางปัญญาของจีน
หลักคิดของอาจารย์บนเส้นทางที่ยากลำบากของนักแปลปรัชญาวรรณกรรมจีนที่ให้ไว้กับคนรุ่นหลัง
หนึ่ง-การเป็นนักเขียนอาชีพที่จะพึ่งรายได้ จากการแปลภาษาจีน มันยากมาก เราต้องมีความสามารถในเชิงวรรณศิลป์มาก ๆ สำนักพิมพ์จึงจะกล้าพิมพ์หนังสือให้เรา
สอง-ต้องเข้าใจตลาดด้วย ต้องวิเคราะห์ให้เป็นว่า แนวเรื่องแบบใดจะขายได้ในตลาด เพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงชีพ
สาม-เราควรมี “กล่อง” ไว้บ้าง คือมีงานมาสเตอร์พีซที่จะทำให้เราได้รับการยอมรับ แล้วสร้างแนวเรื่องของตนเองได้สำเร็จ เช่นว่าถ้าเรื่องกลยุทธ์บริหารโดยพิชัยสงครามจีนแล้ว อ่านงานของเราแล้วไม่ผิดหวัง
สี่-ควรมีทั้งงานแปลและงานค้นคว้าเขียนเอง
“ “ผมปรารถนาชีวิตสมถะ สงบสุข แบบเถายวนหมิง แม้จะรู้ว่าบางช่วงก็ต้องมีปัญหาด้านเศรษฐกิจบ้าง”อาจารยทองแถมกล่าว
พิธีศพจัดที่ ศาลา 4 วัดภคินีนาถวรวิหาร ซอยราชวิถี 21 พิธีสวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศล2-6 ส.ค.และพิธีฌาปนกิจในวันที่ 7 ส.ค.2567
#Thaitimes