ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ
1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์
2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น
3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ
4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย
6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา
7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469
8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า
9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด
10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี
11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า
12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม
14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม
โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3
ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว
ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม
รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ
และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง
.
อ้างอิง
พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549
แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550
เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5
เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6
เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7
เพจบางกอกไอเลิฟยู
เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2
#Thaitimes ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ
1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์
2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น
3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ
4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย
6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา
7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469
8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า
9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด
10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี
11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า
12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม
14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม
โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3
ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว
ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม
รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ
และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง
.
อ้างอิง
พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549
แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550
เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5
เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6
เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7
เพจบางกอกไอเลิฟยู
เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2
#Thaitimes