อัปเดตล่าสุด
  • ราคาทอง (96.5%) ขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All Time High) ตามสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลก โดยสมาคมค้าทองคำ รายงานว่า เปิดตลาดเช้านี้เมื่อเวลา 09.05 น. ราคาทองแท่งรับซื้อบาททองคำละ 51,250 ขายออกบาททองคำละ 51,350 ส่วนทองรูปพรรณรับซื้อบาททองคำละ 50,331.20 ขายออกทองคำละ 52,150 โดยราคาขายปลีกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากวันศุกร์ (11 เม.ย.) อีกบาททองคำละ 150

    บทวเคราะห์ของบริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG) ระบุว่า เมื่อวันศุกร์ราคาทองในตลาดโลกปิดทะยานอีก 61.31 ดอลลาร์ หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.93% โดยทำ New All Time High ใหม่ที่ที่ระดับ 3,245 ดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์อ่อนค่า หลังสหรัฐฯ เผยดัชนี PPI และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก ม.มิชิแกนที่ออกมาแย่กว่าคาด ด้านสงครามการค้าระหว่าสหรัฐฯ กับจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลังจีนเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เป็น 125% กระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย หนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/stockmarket/detail/9680000035464

    #MGROnline #สมาคมค้าทองคำ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 31 มุมมอง 0 รีวิว
  • รอง ผู้ว่า กทม.พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้องแถลงคืบหน้าค้นหาผู้ติดค้างในตึก สตง.ถล่ม เผยเหลือระยะขุดอีก 1 เมตร จะถึงตัวผู้ติดค้าง ล่าสุดยังไม่มีการตอบกลับมา ส่วนตัวเลขผู้สูญหายรวมเปลี่ยนจาก 96 เป็น 103 ราย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000032013
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 31 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดเอกสารลับคดีลอบสังหารJFK..มีอะไรในนั้น? : คนเคาะข่าว 20-03-68

    : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ

    ดำเนินรายการโดย อุษณีย์ เอกอุษณีย์

    #คนเคาะข่าว #JFK #ลอบสังหารJFK #เอกสารลับ #CIA #การเมืองสหรัฐ #ข่าวต่างประเทศ #ทฤษฎีสมคบคิด #สุดาทิพย์จารุจินดา #อุษณีย์เอกอุษณีย์ #ไทยTimes #ความมั่นคง #Geopolitics #วิเคราะห์การเมือง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 37 มุมมอง 5 0 รีวิว
  • Sondhitalk EP 284 : มึงไม่อาย กูอาย! - 140368(Full)
    - “มาดามแป้ง” เปิดหน้าชน “สมยศ”
    - ล้างบางทุจริตประกันสังคม
    - ไทยเทียม” กว้านซื้อที่ “แม่สอด”
    - ต่างด้าวยึดสาธารณสุขชายแดน
    - กสทช.“ยึดหลักกู”ไม่มีเลขาฯ ตัวจริง

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #แม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #โรฮิงญา #ไฮซ์รัชนก #บอลไทย #มาดามแป้ง #สมยศ #กสทช #ต่างด้าว #กองทุนประกันสังคม #ตึก7พันล้าน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 67 มุมมอง 264 0 รีวิว
  • จีนค้นพบแหล่งสำรองแร่ทอเรียมประมาณ 1 ล้านตันที่เหมืองเหมืองปายันโอบอในเขตมองโกเลียใน ซึ่งมากพอจะผลิตพลังงานให้ประเทศนี้ไปได้อีก 60,000 ปี

    ทอเรียมเป็นแร่ที่มีศักยภาพพลังงานสูงกว่ายูเรเนียม และมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่ายูเรเนียมถึง 500 เท่า และสามารถผลิตพลังงานได้มากกว่าถึง 200 เท่า

    เตาปฏิกรณ์ลาวาเกลือคือเทคโนโลยีที่จีนกำลังใช้พัฒนาเตาปฏิกรณ์ทอเรียมหลอมเหลว (TMSR) แห่งแรกของโลกที่ทะเลทรายโกบี คาดว่าจะเปิดใช้งานในปี 2029

    เตาปฏิกรณ์ทอเรียมมีประสิทธิภาพสูงกว่าเตายูเรเนียมแบบเดิม ลดความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์และกากกัมมันตรังสี เป็นพลังงานที่สะอาดกว่ายูเรเรียม และก่อให้เกิดขยะนิวเคลียร์น้อยกว่า

    การค้นพบครั้งนี้อาจปฏิวัติการผลิตพลังงานโลกด้วยการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและกรุยทางให้การผลิตพลังงานที่มีความยั่งยืนและระยะยาว

    การสำรวจและศึกษาพลังงานจากทอเรียมของจีนเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่างการสร้างยั่งยืนและความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศนี้

    อย่างไรก็ตาม แม้ทอเรียมจะมีศักยภาพสูง แต่นักวิจัยเตือนว่า ต้นทุนการสกัดและพัฒนาเชิงพาณิชย์ยังเป็นความท้าทาย อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเดินหน้าขยายโครงการพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าอีก 24 แห่งภายในปี 2030

    #MGROnline #แร่ทอเรียม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 48 มุมมอง 0 รีวิว
  • DeepSeek บริษัทปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังถูกพูดถึงทั่วโลกในขณะนี้ สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการเทคโนโลยีด้วยโมเดล AI ที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำจากต่างประเทศได้อย่างน่าทึ่ง แต่ที่น่าสนใจคือ จุดเริ่มต้นของบริษัทนี้มาจากเมืองหางโจว (Hangzhou) และมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) มหาวิทยาลัยชั้นนำที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีมานี้
    .
    มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ตั้งอยู่ในเมืองหางโจว ห่างจากนครเซี่ยงไฮ้ราว 175 กิโลเมตร เป็นเมืองศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพของจีน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากซิลิคอนวัลเลย์ของสหรัฐฯ แม้แต่ แจ๊คหม่า (Jack Ma)ผู้ก่อตั้ง Alibaba ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ ก็เริ่มต้นธุรกิจจากเมืองนี้ ก่อนที่เขาจะหายตัวไปจากสื่อหลังจากวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนในปี 2563 จนกระทั่งกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งเมื่อเร็วๆ นี้ในการพบปะกับสี จิ้นผิง (Xi Jinping) ร่วมกับ เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) ผู้ก่อตั้ง DeepSeek และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง
    .
    มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่กำลังรุ่งเรืองของเมืองหางโจว และมีเป้าหมายที่จะก้าวสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกภายในปี 2570 โดยมีต้นแบบที่ชัดเจนคือมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) แห่งสหรัฐฯ มากกว่าการเดินตามมหาวิทยาลัยดังในปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้
    .
    ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงมีนักศึกษาและอาจารย์รวมกันกว่า 70,000 คน กระจายอยู่ในวิทยาเขตทั้ง 7 แห่งของเมืองหางโจว และผลิตงานวิจัยออกมาเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลล่าสุดจาก Leiden Ranking ระบุว่า มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงมีจำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์มากที่สุดในโลก และเป็นอันดับสองรองจากฮาร์วาร์ดในด้านจำนวนผลงานที่มีคุณภาพอยู่ใน 10% แรกของวงการวิชาการโลก
    .
    ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงหลายคนล้วนเป็นเศรษฐีแถวหน้าของจีน เช่น หวงเจิง (Colin Huang) ผู้ก่อตั้ง Pinduoduo และต้วน หย่งผิง (Duan Yongping) เจ้าพ่อธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
    .
    ปัจจุบันจีนกำลังจับตามองกลุ่มสตาร์ทอัพดาวรุ่งแห่งเมืองหางโจวที่เรียกกันว่า "มังกรน้อยทั้งหก" ซึ่ง DeepSeek ก็คือหนึ่งในนั้น เช่นเดียวกับ Manycore Tech สตาร์ทอัพด้านซอฟต์แวร์ 3D และ Deep Robotics สตาร์ทอัพที่เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์สี่ขา (Quadruped Robot)
    .
    อย่างไรก็ตาม แม้จะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงยังมีความท้าทายอีกหลายประการ โดยเฉพาะในแง่ของการเงินที่ยังคงพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลเป็นหลัก และยังไม่มีเงินทุนกองทุนส่วนตัวที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก นอกจากนี้บุคลากรส่วนใหญ่ก็ยังเป็นชาวจีนแทบทั้งหมด โดยมีนักวิชาการต่างชาติที่เข้าร่วมไม่มากนัก เนื่องจากข้อจำกัดด้านสิทธิเสรีภาพและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    .
    กระนั้นก็ตาม วิลเลียม เคอร์บี้ (William Kirby) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านจีนจาก Harvard Business School ชี้ว่า "การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเช่นเจ้อเจียง แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแวดวงการศึกษาระดับโลก" และถือเป็นก้าวสำคัญในการที่จีนจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจด้านการศึกษาที่มีอิทธิพลระดับโลกภายในปี 2578 ตามที่รัฐบาลจีนวางเป้าหมายเอาไว้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020876
    ..............
    Sondhi X
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 57 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งให้ระงับความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดที่มอบแก่ยูเครน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมอเมริการายหนึ่งเปิดเผยกับสำนักข่าวบลูมเบิร์กในวันจันทร์(3มี.ค.) ยกระดับกดดันประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ไม่กี่วันหลังจากโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในห้องทำงานรูปไข่ ที่ก่อข้อสงสัยเกี่ยวกับแรงสนับสนุนของอเมริกาที่มีต่อเคียฟ
    .
    บลูมเบิร์กอ้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเพนตากอน ระบุว่าความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดที่สหรัฐฯมอบแก่ยูคเรน จะถูกระงับไว้จนกว่า ทรัมป์ ได้ข้อสรุปว่าพวกผู้นำยูเครนกำลังพยายามอย่างแท้จริงในการมุ่งหน้าสู่สันติภาพ
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันคีลเพื่อการศึกษาเศรษฐกิจโลก (Kiel Institute for the World Economy) พบว่าสหรัฐฯได้มอบความช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 119,800 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มเปิดฉากรุกรานเต็มรูปแบบในปี 2022 ในนั้นแบ่งเป็นเงินช่วยเหลือทางทหาร 67,100 ล้านดอลลาร์, ความช่วยเหลือทางการเงิน 49,000 ล้านดอลลาร์ และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 3,600 ล้านดอลลาร์
    .
    คำสั่งระงับครั้งนี้ไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบกับความช่วยเหลือในอนาคตเท่านั้น แต่มันยังรวมถึงบรรดาอาวุธที่อยู่ระหว่างการขนส่ง ในนั้นรวมถึงการลำเลียงทั้งทางอากาศยานและทางเรือ เช่นเดียวกับยุทโธปกรณ์ต่างๆที่รอการขนย้ายในโปแลนด์
    .
    การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นตามหลังการประชุมที่เต็มไปด้วยศึกวิวาทะอันดุเดือดระหว่าง ทรัมป์ กับ เซเลนสกี ที่ห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาว หลังจากทั้ง 2 ฝ่าย เห็นต่างกันเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางทหาร และจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของยูเครนที่โหมกระพือความตึงเครียด
    .
    ตามหลังการพบปะหารือดังกล่าว ทรัมป์ บอกว่า เซเลนสกี "ไม่พร้อมสำหรับสันติภาพ"
    .
    "เขาไม่ให้ความเคารพสหรัฐอเมริกา ในห้องทำงานรูปไข่อันทรงเกียรติ เขาสามารถกลับมาได้ เมื่อเขาพร้อมสำหรับสันติภาพ" ทรัมป์ โพสต์ข้อความบนทรัตช์โซเชียล ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์
    .
    ทำเนียบขาวไม่ได้เจาะจงว่ายูเครนจำเป็นต้องดำเนินการเช่นไร เพื่อกอบกู้เงินช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ ทำให้กรอบเวลาและเงื่อนไขสำหรับการคืนชีพความช่วยเหลือด้านการทหาร ตกอยู่ในความไม่แน่นอน
    .
    เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวรายหนึ่ง ซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนาม เปิดเผยกับเอเอฟพีว่า ทรัมป์ คาดหวังว่า เซเลนสกี จะมุ่งมั่นเจรจาข้อตกลงสันติภาพเพื่อยุติสงคราม พร้อมระบุว่าอเมริกา "กำลังระงับและทบทวนความช่วยเหลือด้านการทหาร เพื่อรับประกันว่ามันจะเป็นตัวสนับสนุนทางออกหนึ่งๆ"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020886
    ..............
    Sondhi X
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 56 มุมมอง 0 รีวิว
  • เครือข่ายประชาสังคมภาคใต้ ปลุกพลัง “ไม่เอากาสิโน”ลั่น ถ้ารบ.เดินหน้า คือการประกาศหายนะ พร้อมเดินหน้าล่ารายชื่อทำประชามติ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000020180

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 61 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศึกวิวาทะดุเดือดในทำเนียบขาว ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ก่อความเห็นต่างในบรรดาสมาชิกรีพับลิกันของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และบั่นทอนแนวโน้มที่สภาคองเกรสจะอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบใหม่ใดๆ สำหรับเคียฟ ในการทำสงครามกับรัสเซีย บางส่วนถึงขั้นตะเพิด เซเลนสกี พ้นจากตำแหน่งและเร่งเร้าให้ยุติความช่วยเหลือทางทหารที่มอบแก่ประเทศแห่งนี้
    .
    สมาชิกรีพับลิกันบางส่วนที่เคยสนับสนุนยูเครนมาช้านาน ได้หันมาด่าทอ เซเลนสกี ตามหลังเหตุโต้เถียงกันในวันศุกร์ (28 ก.พ.) ที่ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ปะทะคารมกับผู้นำยูเครน ต่อหน้าสื่อมวลชนทั่วโลก กล่าวหาเขาขาดความเคารพ
    .
    วุฒิสมาชิกลินด์ซีย์ เกรแฮม เรียกร้อง เซเลนสกี ปรับเปลี่ยนท่าทีหรือไม่ก็ลาออกไป ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเข้าร่วมประชุมที่เป็นไปอย่างฉันมิตรระหว่างเซเลนสกีกับบรรดาสมาชิกวุฒิสภาสิบกว่าคน
    .
    "สิ่งที่ผมเห็นในห้องทำงานรูปไข่ คือการขาดความเคารพ และผมไม่รู้ว่าเราจะสามารถคบหาเซเลนสกีได้อีกหรือไม่" เกรแฮม พันธมิตรผู้ใกล้ชิดทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าว ระหว่างเดินทางออกจากทำเนียบขาว ตามหลังเหตุกระทบกระทั่ง ที่ฉุดความสัมพันธ์ระหว่างเคียฟกับพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาแห่งสงคราม ดำดิ่งสู่ระดับต่ำสุดรอบใหม่
    .
    "เขาจำเป็นต้องลาออกและส่งใครบางคนมา ใครที่เราสามารถทำธุระปะปังกันได้ หรือไม่อย่างนั้นเขาก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง" วุฒิสภาจากเซาท์แคโรโลนากล่าว ส่วน บิล ฮาเกอร์ตี วุฒิสมาชิกจากเทนเนสซี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น ครั้งที่ทรัมป์ นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัยแรก โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "สหรัฐอเมริกาจะไม่มอบเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าอีกต่อไป"
    .
    แม้สมาชิกรีพับลิกันเกือบทั้งหมดที่แสดงจุดยืนสนับสนุนทรัมป์ แต่ก็มีบางส่วนที่เข้าร่วมกับเดโมแครตในการปกป้องยูเครน ในนั้นรวมถึง ไมค์ ลอเวอร์ ส.ส.จากนิวยอร์ก ที่โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่าการประชุมในห้องทำงานรูปไข่ "พลาดโอกาสสำคัญสำหรับทั้งสหรัฐฯ และเคียฟ นั่นคือข้อตกลงหนึ่งๆ ที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะก่อผลลัพธ์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่เข้มแข็ง"
    .
    ดอน เบคอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหัวสายกลางของรีพับลิกัน จากเนบราสกา ก็สนับสนุนเคียฟเช่นกัน โดยบอกว่า "มันเป็นวันที่แย่สำหรับนโยบายต่างประเทศของอเมริกา ยูเครนต้องการเอกราช ตลาดเสรีและหลักนิติรัฐ พวกเขาต้องการเป็นส่วนหนึ่งของตะวันตก รัสเซียเกลียดเราและค่านิยมตะวันตกของเรา พวกเราควรแสดงจุดยืนอย่างชัดเจน ว่าเรายืนหยัดเพื่อเสรีภาพ" อย่างไรก็ตามไม่มีสมาชิกสภาคองเกรสรีพับลิกันรายใดที่วิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์ หรือแวนซ์
    .
    เซเลนสกี เดินทางมายังกรุงวอชิงตัน เพื่อลงนามในข้อตกลงหนึ่งสำหรับร่วมกับสหรัฐฯ ในการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติอันมั่งคั่งของยูเครน
    .
    ผู้นำยูเครนมองว่าการพบปะกับทรัมป์และแวนซ์ เป็นโอกาสโน้มน้าวไม่ให้ สหรัฐฯ หันไปยืนเคียงข้างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในการทำสงครามกับยูเครน อย่างไรก็ตาม กลับกลายเป็นว่า เซเลนสกี ถูกไล่ออกจากทำเนียบขาวและไม่มีการลงนามในข้อตกลงใดๆ
    .
    บรรดาผู้สนับสนุนทั้งหลายของเคียฟ หวังว่าข้อตกลงนี้จะช่วยเอาชนะใจได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากสมาชิกรีพับลิกันของทรัมป์ ซึ่งครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร สำหรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในอนาคต
    .
    ที่ผ่านมา สภาคองเกรสอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 175,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ ปูติน เปิดฉากรุกรานเต็มรูปแบบเมื่อ 3 ปีก่อน แต่เงินช่วยเหลือก้อนสุดท้ายที่ผ่านความเห็นชอบต้องย้อนกลับไปในเดือนเมษายนเลยทีเดียว ครั้งที่พรรคเดโมแครต ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา และ โจ ไบเดน ยังคงเป็นประธานาธิบดี
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020218
    ..................
    Sondhi X
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว
  • ท่ามกลางเสียงประณามไทย ทั้งจากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เยอรมนีและสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) ในกรณีส่งตัวชาวอุยกูร์กลับไปยังจีน เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ จากการตรวจสอบข่าวเก่าๆพบว่าหน่วยงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติแห่งนี้เคยปฏิเสธคำร้องจากรัฐบาลไทย ที่ขอให้ช่วยเหลือชาวอุยกูร์ 48 คน ที่ถูกควบคุมตัวในไทยมานานกว่า 10 ปี โดยสาเหตุที่ไม่สู้เต็มใจ ก็คือกลัวจีนโกรธ จนตัดลดความช่วยเหลือและเงินบริจาค
    .
    เว็บไซต์ข่าว The New Humanitarian รายงานพาดหัวข่าว UN declined offers to assist Uyghur asylum seekers detained in Thailand ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2022 อ้างอิงเอกสารภายในของ UNHCR ระบุว่าหน่วยงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติแห่งนี้ ปฏิเสธรัฐบาลไทย ไม่ยอมเข้าช่วยเหลือผู้ขอลี้ภัยชาวอุยกูร์จากจีน 48 คน ที่ถูกควบคุมตัวในไทยเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
    .
    รายงานข่าวระบุว่าในบรรดาผู้ขอลี้ภัยเหล่านั้น มีอยู่ 5 คน ที่ต้องโทษจำคุก ที่เกี่ยวข้องกับความพยายามหลบหนีในปี 2020 ส่วนที่เหลือ 43 คน ถูกควบคุมตัวโดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆในสถานกักตัวคนต่างด้าว ซอนสวนพลู ในกรุงเทพฯ พวกเขาถูกห้ามติดต่อกัยครอบครัว ทนายความ หรือกระทั่งผู้ต้องขังคนอื่นๆ
    .
    เป็นเวลานานหลายปีที่ทาง UNHCR ยืนกรานว่ารัฐบาลไทยขัดขวางหน่วยงานของสหประชาชาติแห่งนี้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับอนุมัติสถานะผู้ลี้ภัยและอำนวยความสะดวกพวกเขาในการย้ายไปตั้งรกรากในประเทศที่ 3
    .
    อย่างไรก็ตามรายงานของ The New Humanitarian อ้างอิงเอกสารภายใน ย้อนกลับไปในปี 2020 เผยว่ารัฐบาลของไทยได้เริ่มส่งคำร้องอย่างไม่เป็นทางการถึง UNHCR ตั้งแต่เกือบ 5 ปีก่อนหน้านั้น ให้แสดงบทบาทอย่างกระตือรือร้นในการคลี่คลายการคุมตัวชาวอุยกูร์เหล่านี้อย่างไม่มีกำหนด แต่พวกทางเจ้าหน้าที่ UNHCR คัดค้านที่จะทำเช่นนั้น
    .
    The New Humanitarian ระบุว่า UNHCR มอบความช่วยเหลือปกป้องชีวิตแก่ผู้แสวงหาลี้ภัยทั่วโลก แต่รายงานในปี 2023 ที่เผยแพร่โดยครงการสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์(UHRP - Uyghur Human Rights Project) ระบุว่าอิทธิพลที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆของจีนเหนือประเทศเจ้าบ้านบางชาติ "บ่อนทำลายความพยายามทางการเมืองหรือด้านมนุษยธรรมใดๆที่จะรับรองและมอบการปกป้องอย่างเหมาะสมกับพวกผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์" และเอกสารภายในบ่งชี้ว่าอิทธิพลของจีนยังแผ่ลามมาถึงหน่วงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติแห่งนี้ด้วย
    .
    "เอกสารแสดงให้เห็นว่า UNHCR ล้มเหวในการยึดถืออานัติในการปกป้องพวกผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์" The New Humanitarian รายงานในตอนนั้น อ้างคำสัมภาษณ์ของ จอห์น ควินลีย์ ผู้อำนวยการองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Fortify Rights หลังจากได้เห็นเอกสาร "พวกผู้นำของ UNHCR ดูเหมือนจะไม่ทำงานเชิงรุก ในความพยายามหาทางออกสำหรับพวกผู้ลี้ภัยชาวอุยกูรณ์ ผู้ซึ่งใช้ชีวิตในการถูกควบคุมตัวมานานหลายปี"
    .
    บาบาร์ บาลอช โฆษกของ UNHCR บอกกับ The New Humanitarian เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ว่าหน่วยงานแห่งนี้เดินหน้าหยิบยกประเด็นนี้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ไทย "แต่ไม่อยู่ในขั้น ที่เราได้รับอนุญาตให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ หรือประสานงานกับผู้รับผิดชอบคดี ในจุดประสงค์อำนวยความสะดวกหนทางคลี่คลายปัญหา หาไม่แล้ว มันจะสะท้อนความเข้าใจผิดๆกับสิ่งที่เกิดขึ้น"
    .
    เขาปฏิเสธให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของ UNHCR ต่อคดีนี้ โดยอ้างว่ามันเป็นความลับ
    .
    รายงานของ The New Humanitarian อ้างอิงเอกสารภายในของ UNHCR ฉบับหนึ่งระบุว่า "รัฐบาลไทยเพิ่มความพยายามมากขึ้น ขอให้ทาง UNHCR หาทางออกในประเด็นนี้" และมีความเป็นไปได้ที่ไทยอาจเปิดทางให้ UNHCR เข้าถึงผู้ต้องขังชาวอุยกูร์เหล่านั้น
    .
    อย่างไรก็ตามสำนักงานของ UNHCR ประจำประเทศไทย กลับมองข้อเสนอของ ไทย ด้วยความสงสัย "สำนักงานประจำประเทศไทย มองเรื่องนี้ว่า ไทย อาจใช้ UNHCR เป็นโล่เบี่ยงเบนความโกรธเคืองของจีน" เอกสารฉบับหนึ่งระบุ ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่ของ UNHCR ประจำในประเทศไทย จึงตัดสินใจในช่วงปลายปี 2020 ไม่แนะนำให้ตอบสนองเชิงรุกใดๆ
    .
    เอกสารฉบับหนึ่งเตือนถึง "ความเสี่ยงของผลกระทบในทาทางลบใดๆต่อปฏิบัติการของ UNHCR ในจีน และผลกระทบในแง่ของเงินทุนและการสนับสนุนที่มีต่อ UNHCR ในนั้นรวมถึงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับล่าง 10 ตำแหน่ง และโครงการต่างๆคิดเป็นมูลค่า 7.7 ล้านดอลลาร์
    .
    "หนึ่งในแง่มุมสุดช็อคของเอกสารนี้ก็คือ ดูเหมือน ไทย เป็นฝ่ายกดดันให้ UNHCR เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น แต่ทาง UNHCR หยุดชะงัก เพราะว่าพวกเขากลัวจีนจะโกรธ และลดความร่วมมือหรือลดเงินบริจาคที่มอบให้หน่วยงานแห่งนี้" ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียขององค์กรฮิวแมนไรท์วอตช์ บอกกับ The New Humanitarian ในตอนนั้น หลังจากได้เห็นเอกสาร
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020219
    ..................
    Sondhi X

    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 59 มุมมอง 0 รีวิว
  • เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในวันเสาร์(1มี.ค.) ให้การต้อนรับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี อย่างอบอุ่นในกรุงลอนดอน หนึ่งวันหลังจากผู้นำยูเครน กระทบกระทั่งกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในขณะที่ สตาร์เมอร์ รวมถึงผู้นำคนอื่นๆของยุโรป แสดงจุดยืนสนับสนุนเคียฟในประเด็นพิพาทดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ย้ำข้อเรียกร้องประจำการอาวุธนิวเคลียร์ปกป้องยุโรป หลังมีแนวโน้มว่าอเมริกากำลังตีตัวออกห่าง
    .
    ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตในวันอาทิตย์(2 มี.ค.) ในกรุงลอนดอน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางสนับสนุนยูเครน ในขณะที่เคียฟกำลังต่อสู้ป้องปรามการรุกรานของยูเครน ทาง สตาร์เมอร์ เน้นย้ำจุดยืนของเขาต่อการหนุนหลังเคียฟ "ในความเป็นหุ้นส่วนกับพันธมิตรของเรา เราต้องเตรียมพร้อมอย่างเข้มข้นสำหรับองค์ประกอบของยุโรปสำหรับการรับประกันความมั่นคง เช่นเดียวกับเดินหน้าหารือกับสหรัฐฯ"
    .
    สตาร์เมอร์ ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ในช่วงค่ำวันเสาร์(1มี.ค.) ต่อมา "ตอนนี้มันเป็นเวลาที่เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับยูเครน ปกป้องความมั่นคงยุโรป และรับประกันอนาคตร่วมของเรา"
    .
    ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ยูเครนและสหราชอาณาจักร เปิดตัวข้อตกลงกู้ยืม 2,260 ล้านปอนด์(ราว 2,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับสนับสนุนแสนยานุภาพป้องกันตนเองของยูเครน ซึ่งจะเป็นการจ่ายคืนด้วยรายได้จากทรัพย์สินของรัสเซียที่อายัดไว้ "เงินทุนนี้จะมุ่งตรงเข้าสู่การผลิตอาวุธในยูเครน" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "นี่คือความยุติธรรมอย่างแท้จริง ใครที่เป็นคนเริ่มสงคราม ต้องเป็นคนจ่าย"
    .
    บรรดาผู้สนับสนุนพากันตะโกนเชียร์ ตอนที่ขบวนรถของเซเลนสกีเคลื่อนมาถึงบ้านพักนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักบนถนนดาวนิง เขาได้รับโอบกอดจาก สตาร์เมอร์ และทั้งคู่โพสท่าถ่ายภาพร่วมกัน ก่อนเข้าไปยังทำเนียบของผู้นำสหราชอาณาจักร
    .
    "คุณเป็นที่ต้อนรับอย่างมาก ที่นี่ในทำเนียบฯ บนถนนดาวนิง" สตาร์เมอร์บอกกับเซเลนสกี ขณะที่ เซเลนสกี ตอบกลับว่า "ผมอยากขอบคุณ คุณ ประชาชนชาวสหราชอาณาจักร สำหรับแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสงคราม"
    .
    สตาร์เมอร์ และ เซเลนสกี ใช้เวลาพูดคุยกับแบบเป็นส่วนตัว เป็นเวลาราวๆ 75 นาที ก่อนโอบกอดกันอีกรอบ ตอนที่ สตาร์เมอร์ เดินทางมาส่ง เซเลนสกี ขึ้นรถ ทั้งนี้ผู้นำยูเครนมีกำหนดเข้าเฝ้าฯกษัตริย์ชาร์ลส์ในวันอาทิตย์(2มี.ค.)
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์(1มี.ค.) เซเลนสกี เน้นย้ำว่าแรงสนับสนุนของทรัมป์ ยังคง "มีความสำคัญยิ่ง" สำหรับยูเครน แม้โต้เถียงกันหนึ่งวันก่อนหน้า เหตุกระทบกระทั่งดังกล่าวได้ก่อคลื่นความช็อกแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปของเคียฟ และยังคงอยู่ระหว่างการปรับตัวต่อท่าทีใหม่ของสหรัฐฯ ที่มีกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    สตาร์เมอร์, โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ และ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในผู้นำหลายชาติ ที่เน้นย้ำจุดยืนสนับสนุนเคียฟ หลังเหตุเซเลนสกีทะเลาะทรัมป์ ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี เผยว่าเขาได้บอกกับ เซเลนกี ว่าจำเป็นต้องหาทางคืนสัมพันธ์อันดีกับผู้นำสหรัฐฯ
    .
    อย่างไรก็ตามในส่วนของพวกนักการเมืองรัสเซียพากันยินดีปรีดา ในนั้นรวมถึง ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดี ที่บอกว่ามันคือสิ่งที่ผู้นำยูเครน "สมควรได้รับ"
    .
    แม้ เซเลนสกี ออกจากทำเนียบขาวโดยไม่ได้ลงนามในข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับแร่หายากของยูเครน แต่เขายืนยันว่าพร้อมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว หากมันเป็นก้าวย่างแรกที่มุ่งหน้าสู่การรับประกันความมั่นคง "มันสำคัญยิ่งสำหรับเรา ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีทรัมป์ เขาต้องการยุติสงคราม แต่ไม่มีใครต้องการสันติภาพไปมากกว่าเรา" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์
    .
    ท่ามกลางความกังวลที่มีมากขึ้นกว่า สหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนนาโตต่อไปหรือไม่ บรรดาผู้นำยุโรปมีกำหนดพบปะหารือกันในสหราชอาณาจักรในวันอาทิตย์(2มี.ค.) ซึ่งจะมีการถกกันเกี่ยวกับความจำเป็นของยุโรป ในการยกระดับความร่วมมือด้านการป้องกันตนเอง
    .
    ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส บอกว่าเขาพร้อม "เปิดกว้างสำหรับการหารือ" เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของยุโรป "เรามีโล่ แต่พวกเขาไม่มี" มาครง ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่น "และพวกเขาไม่อาจพึ่งพิงการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของสหรัฐฯได้อีกต่อไป"
    .
    ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เป็นเพียง 2 ชาติยุโรปตะวันตก ที่มีคลังแสงนิวเคลียร์
    .
    ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไปของเยอรมนี ก็เน้นย้ำเช่นกันว่า มีความจำเป็นที่ทวีปแห่งนี้ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในการบรรลุเป้าหมายเป็นเอกราชจากสหรัฐฯ ในด้านการป้องกันตนเอง
    .
    อย่างไรก็ตาม วิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี สมาชิกสหภาพยุโรป พันธมิตรใกล้ชิดกับทรัมป์และวังเครมลิน ประกาศคัดค้านข้อตกลงอย่างกว้างๆใดๆของอียู เกี่ยวกับความขัดแย้งนี้ "ผมเชื่อว่าอียู ควรทำตามอย่างสหรัฐฯ ในการเข้าสู่การเจรจาโดยตรงกับรัสเซีย ในข้อตกลงหยุดยิงและสันติภาพที่ยั่งยืนในยูเครน"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020226
    ..................
    Sondhi X
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์-เซนเลนสกีจ่อลงนามข้อตกลง 'แรร์เอิร์ธ' พรุ่งนี้! : คนเคาะข่าว 27-02-68
    : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย อุษณีย์ เอกอุษณีย์

    #ทรัมป์ #เซเลนสกี #แรร์เอิร์ธ #ข้อตกลงแร่หายาก #คนเคาะข่าว #ข่าวต่างประเทศ #เศรษฐกิจโลก #ความมั่นคง #วิเคราะห์การเมือง #Geopolitics #USA #ยูเครน #พลังงาน #ทรัพยากรธรรมชาติ #ไทยTimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 10 0 รีวิว
  • อำนาจรัฐในระบอบ "Newทักษิณ" : คนเคาะข่าว 26-02-68
    : รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์

    #อำนาจรัฐ #Newทักษิณ #คนเคาะข่าว #การเมืองไทย #นิติศาสตร์ #รัฐศาสตร์ #อำนาจนิยม #ประชาธิปไตย #รัฐธรรมนูญ #ไทยTimes #ข่าวการเมือง #วิเคราะห์การเมือง #การปกครอง #ทักษิณ #สังคมไทย #กฎหมาย #วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 62 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • เปิด 3 แนวทาง แก้ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า ส่วยใต้ดิน เด็กสูบแล้วปอดหาย : ถอนหมุดข่าว 26/02/68
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 65 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • เปิดแฟ้มลับ แผนดับปธน. : Sondhitalk EP281 VDO
    จากเหตุลอบสังหาร “ทรัมป์” สู่การลุยล้างบางกลุ่ม Deep State
    #DeepStateชักใยโลก #DeepState #กระบวนการแทรกแซงของ #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 71 มุมมอง 110 0 รีวิว
  • มาเฟียรัฐบาล อันธพาลวอชิงตัน : Sondhitalk EP281 VDO
    จากเหตุลอบสังหาร “ทรัมป์” สู่การลุยล้างบางกลุ่ม Deep State
    #DeepStateชักใยโลก #DeepState #กระบวนการแทรกแซงของ #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 73 มุมมอง 120 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 71 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม