โจเซฟ บอร์เรล หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวในกรุงเคียฟ ให้สัญญาสนับสนุนยูเครนไม่เปลี่ยนแปลง ท่ามกลางข้อสงสัยเกี่ยวกับท่าทีนับแต่นี้ของสหรัฐฯ คำยืนยันซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางเยือนยูเครนเป็นครั้งแรก หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา
.
ชัยชนะของตัวแทนจากรีพับลิกันที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก่อความกังวลปกคลุมยูเครนและยุโรป ต่อกรณีที่ว่า ทรัมป์ อาจหยุดการสนับสนุนของวอชิงตันที่มอบแก่เคียฟ ในการทำศึกสงครามต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย
.
"จุดประสงค์ที่ชัดเจนของการเดินทางเยือนครั้งนี้ก็คือ แสดงจุดยืนของสหภาพยุโรปในการสนับสนุนยูเครน และแรงสนับสนุนนี้จะยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง" บอร์เรลกล่าว ในขณะที่เขามีกำหนดพ้นจากตำแหน่งในเดือนหน้า "แน่นอนว่าแรงสนับสนุนนี้มีความจำเป็นสำหรับพวกคุณอย่างยิ่ง ในการเดินหน้าปกป้องตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย"
.
ระหว่างการรณรงค์หาเสียง ทรัมป์ก่อความสงสัยต่อการคงไว้ซึ่งแรงสนับสนุนทางทหารและทางการเงินอันมหาศาลที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ยูเครน และบอกว่าจะหาทางบรรลุข้อตกลงอย่างรวดเร็วเพื่อยุติทำสงคราม
.
"ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ารัฐบาลใหม่กำลังทำอะไร" บอร์เรลระบุ พร้อมชี้ว่าประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยังเหลือเวลาอยู่ในอำนาจอีก 2 เดือน สำหรับทำการตัดสินใจต่างๆ "เราจำเป็นต้องทำให้มากกว่าเดิมและรวดเร็วขึ้น สนับสนุนทางทหารมากขึ้น เพิ่มปริมาณการฝึกฝน เพิ่มเงิน จัดหาอาวุธยุทธโปกรณ์รวดเร็วกว่าเดิม และเช่นกัน เราจำเป็นต้องอนุญาตให้โจมตีเป้าหมายทางทหารต่างๆ ของศัตรูที่อยู่ในดินแดนของพวกเขา"
.
บอร์เรลกล่าวต่อว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย "ไม่ต้องการเจรจาและจะไม่เจรจาจนกว่าเขาจะถูกบีบให้ทำเช่นนั้น"
.
รวมกันแล้ว ยุโรปใช้จ่ายเงินไปแล้วราว 125,000 ล้านดอลลาร์ ในการสนับสนุนยูเครน นับตั้งแต่ถูกรัสเซียรุกรานในปี 2022 ขณะที่สหรัฐฯ เพียงชาติเดียวมอบแรงสนับสนนแก่เคียฟ ไปแล้วมากกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์
.
การคงไว้ซึ่งแรงสนับสนุนของวอชิงตัน ถูกมองว่ามีความสำคัญที่สุดในการรับประกันว่าเคียฟจะสามารถเดินหน้าสู้รบกับรัสเซียได้ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้มีความไม่แน่นอนทางการเมืองในบรรดามหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี และฝรั่งเศส
.
ในสมรภูมิรบ ทหารที่เหนื่อยอ่อนของยูเครน กำลังดิ้นรนสกัดการรุกคืบของรัสเซีย ในขณะที่การสู้รบเต็มรูปแบบลากยาวใกล้เข้าครบ 3 ปีแล้ว
.
คำยืนยันของบอร์เรล มีขึ้นในขณะที่เหล่าประเทศสมาชิกหลายชาติ ในนั้นรวมถึงฮังการี ซึ่งคัดค้านการมอบแรงสนับสนุนทางทหารแก่ยูเครน มีความฮึกเหิมมากขึ้นในจุดยืนดังกล่าว ตามหลัง ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้ง ซึ่งมันยิ่งทำให้เป็นเรื่องยากที่อียูจะมีความคิดเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปในวิกฤตความขัดแย้งยูเครน
.
อันดรีย์ ชีบีกา รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน เน้นย้ำเสียงคัดค้านของเคียฟ โดยบอกว่าพวกเขาไม่ควรถูกบีบบังคับให้ยอมอ่อนข้อแก่รัสเซีย "ทุกๆ คนจำเป็นต้องตระหนักว่าการเอาใจพวกผู้รุกรานนั้นไม่ได้ผล" เขากล่าว "เราต้องการสันติภาพที่แท้จริง ไม่ใช่การเอาใจที่จะนำมาซึ่งสงครามเพิ่มเติม"
.
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครน บอกว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ "มักเป็นตัวแทนแห่งความหวังและโอกาสเสมอ โอกาสที่จะเร่งเข้าสู่สันติภาพ"
.
เขาบอกว่าได้มีการติดต่อกับทีมงานของทรัมป์ หลังประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน โทรศัพท์แสดงความยินดีกับตัวแทนพรรครีพับลิกัน และเวลานี้อยู่ระหว่างการทำงานในความเป็นไปได้ที่จะมีการประชุมพูดคุยรอบใหม่ระหว่างผู้นำทั้ง 2
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000108072
..............
Sondhi X
.
ชัยชนะของตัวแทนจากรีพับลิกันที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก่อความกังวลปกคลุมยูเครนและยุโรป ต่อกรณีที่ว่า ทรัมป์ อาจหยุดการสนับสนุนของวอชิงตันที่มอบแก่เคียฟ ในการทำศึกสงครามต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย
.
"จุดประสงค์ที่ชัดเจนของการเดินทางเยือนครั้งนี้ก็คือ แสดงจุดยืนของสหภาพยุโรปในการสนับสนุนยูเครน และแรงสนับสนุนนี้จะยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง" บอร์เรลกล่าว ในขณะที่เขามีกำหนดพ้นจากตำแหน่งในเดือนหน้า "แน่นอนว่าแรงสนับสนุนนี้มีความจำเป็นสำหรับพวกคุณอย่างยิ่ง ในการเดินหน้าปกป้องตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย"
.
ระหว่างการรณรงค์หาเสียง ทรัมป์ก่อความสงสัยต่อการคงไว้ซึ่งแรงสนับสนุนทางทหารและทางการเงินอันมหาศาลที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ยูเครน และบอกว่าจะหาทางบรรลุข้อตกลงอย่างรวดเร็วเพื่อยุติทำสงคราม
.
"ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ารัฐบาลใหม่กำลังทำอะไร" บอร์เรลระบุ พร้อมชี้ว่าประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยังเหลือเวลาอยู่ในอำนาจอีก 2 เดือน สำหรับทำการตัดสินใจต่างๆ "เราจำเป็นต้องทำให้มากกว่าเดิมและรวดเร็วขึ้น สนับสนุนทางทหารมากขึ้น เพิ่มปริมาณการฝึกฝน เพิ่มเงิน จัดหาอาวุธยุทธโปกรณ์รวดเร็วกว่าเดิม และเช่นกัน เราจำเป็นต้องอนุญาตให้โจมตีเป้าหมายทางทหารต่างๆ ของศัตรูที่อยู่ในดินแดนของพวกเขา"
.
บอร์เรลกล่าวต่อว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย "ไม่ต้องการเจรจาและจะไม่เจรจาจนกว่าเขาจะถูกบีบให้ทำเช่นนั้น"
.
รวมกันแล้ว ยุโรปใช้จ่ายเงินไปแล้วราว 125,000 ล้านดอลลาร์ ในการสนับสนุนยูเครน นับตั้งแต่ถูกรัสเซียรุกรานในปี 2022 ขณะที่สหรัฐฯ เพียงชาติเดียวมอบแรงสนับสนนแก่เคียฟ ไปแล้วมากกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์
.
การคงไว้ซึ่งแรงสนับสนุนของวอชิงตัน ถูกมองว่ามีความสำคัญที่สุดในการรับประกันว่าเคียฟจะสามารถเดินหน้าสู้รบกับรัสเซียได้ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้มีความไม่แน่นอนทางการเมืองในบรรดามหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี และฝรั่งเศส
.
ในสมรภูมิรบ ทหารที่เหนื่อยอ่อนของยูเครน กำลังดิ้นรนสกัดการรุกคืบของรัสเซีย ในขณะที่การสู้รบเต็มรูปแบบลากยาวใกล้เข้าครบ 3 ปีแล้ว
.
คำยืนยันของบอร์เรล มีขึ้นในขณะที่เหล่าประเทศสมาชิกหลายชาติ ในนั้นรวมถึงฮังการี ซึ่งคัดค้านการมอบแรงสนับสนุนทางทหารแก่ยูเครน มีความฮึกเหิมมากขึ้นในจุดยืนดังกล่าว ตามหลัง ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้ง ซึ่งมันยิ่งทำให้เป็นเรื่องยากที่อียูจะมีความคิดเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปในวิกฤตความขัดแย้งยูเครน
.
อันดรีย์ ชีบีกา รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน เน้นย้ำเสียงคัดค้านของเคียฟ โดยบอกว่าพวกเขาไม่ควรถูกบีบบังคับให้ยอมอ่อนข้อแก่รัสเซีย "ทุกๆ คนจำเป็นต้องตระหนักว่าการเอาใจพวกผู้รุกรานนั้นไม่ได้ผล" เขากล่าว "เราต้องการสันติภาพที่แท้จริง ไม่ใช่การเอาใจที่จะนำมาซึ่งสงครามเพิ่มเติม"
.
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครน บอกว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ "มักเป็นตัวแทนแห่งความหวังและโอกาสเสมอ โอกาสที่จะเร่งเข้าสู่สันติภาพ"
.
เขาบอกว่าได้มีการติดต่อกับทีมงานของทรัมป์ หลังประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน โทรศัพท์แสดงความยินดีกับตัวแทนพรรครีพับลิกัน และเวลานี้อยู่ระหว่างการทำงานในความเป็นไปได้ที่จะมีการประชุมพูดคุยรอบใหม่ระหว่างผู้นำทั้ง 2
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000108072
..............
Sondhi X
โจเซฟ บอร์เรล หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวในกรุงเคียฟ ให้สัญญาสนับสนุนยูเครนไม่เปลี่ยนแปลง ท่ามกลางข้อสงสัยเกี่ยวกับท่าทีนับแต่นี้ของสหรัฐฯ คำยืนยันซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางเยือนยูเครนเป็นครั้งแรก หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา
.
ชัยชนะของตัวแทนจากรีพับลิกันที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก่อความกังวลปกคลุมยูเครนและยุโรป ต่อกรณีที่ว่า ทรัมป์ อาจหยุดการสนับสนุนของวอชิงตันที่มอบแก่เคียฟ ในการทำศึกสงครามต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย
.
"จุดประสงค์ที่ชัดเจนของการเดินทางเยือนครั้งนี้ก็คือ แสดงจุดยืนของสหภาพยุโรปในการสนับสนุนยูเครน และแรงสนับสนุนนี้จะยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง" บอร์เรลกล่าว ในขณะที่เขามีกำหนดพ้นจากตำแหน่งในเดือนหน้า "แน่นอนว่าแรงสนับสนุนนี้มีความจำเป็นสำหรับพวกคุณอย่างยิ่ง ในการเดินหน้าปกป้องตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย"
.
ระหว่างการรณรงค์หาเสียง ทรัมป์ก่อความสงสัยต่อการคงไว้ซึ่งแรงสนับสนุนทางทหารและทางการเงินอันมหาศาลที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ยูเครน และบอกว่าจะหาทางบรรลุข้อตกลงอย่างรวดเร็วเพื่อยุติทำสงคราม
.
"ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ารัฐบาลใหม่กำลังทำอะไร" บอร์เรลระบุ พร้อมชี้ว่าประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยังเหลือเวลาอยู่ในอำนาจอีก 2 เดือน สำหรับทำการตัดสินใจต่างๆ "เราจำเป็นต้องทำให้มากกว่าเดิมและรวดเร็วขึ้น สนับสนุนทางทหารมากขึ้น เพิ่มปริมาณการฝึกฝน เพิ่มเงิน จัดหาอาวุธยุทธโปกรณ์รวดเร็วกว่าเดิม และเช่นกัน เราจำเป็นต้องอนุญาตให้โจมตีเป้าหมายทางทหารต่างๆ ของศัตรูที่อยู่ในดินแดนของพวกเขา"
.
บอร์เรลกล่าวต่อว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย "ไม่ต้องการเจรจาและจะไม่เจรจาจนกว่าเขาจะถูกบีบให้ทำเช่นนั้น"
.
รวมกันแล้ว ยุโรปใช้จ่ายเงินไปแล้วราว 125,000 ล้านดอลลาร์ ในการสนับสนุนยูเครน นับตั้งแต่ถูกรัสเซียรุกรานในปี 2022 ขณะที่สหรัฐฯ เพียงชาติเดียวมอบแรงสนับสนนแก่เคียฟ ไปแล้วมากกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์
.
การคงไว้ซึ่งแรงสนับสนุนของวอชิงตัน ถูกมองว่ามีความสำคัญที่สุดในการรับประกันว่าเคียฟจะสามารถเดินหน้าสู้รบกับรัสเซียได้ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้มีความไม่แน่นอนทางการเมืองในบรรดามหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี และฝรั่งเศส
.
ในสมรภูมิรบ ทหารที่เหนื่อยอ่อนของยูเครน กำลังดิ้นรนสกัดการรุกคืบของรัสเซีย ในขณะที่การสู้รบเต็มรูปแบบลากยาวใกล้เข้าครบ 3 ปีแล้ว
.
คำยืนยันของบอร์เรล มีขึ้นในขณะที่เหล่าประเทศสมาชิกหลายชาติ ในนั้นรวมถึงฮังการี ซึ่งคัดค้านการมอบแรงสนับสนุนทางทหารแก่ยูเครน มีความฮึกเหิมมากขึ้นในจุดยืนดังกล่าว ตามหลัง ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้ง ซึ่งมันยิ่งทำให้เป็นเรื่องยากที่อียูจะมีความคิดเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปในวิกฤตความขัดแย้งยูเครน
.
อันดรีย์ ชีบีกา รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน เน้นย้ำเสียงคัดค้านของเคียฟ โดยบอกว่าพวกเขาไม่ควรถูกบีบบังคับให้ยอมอ่อนข้อแก่รัสเซีย "ทุกๆ คนจำเป็นต้องตระหนักว่าการเอาใจพวกผู้รุกรานนั้นไม่ได้ผล" เขากล่าว "เราต้องการสันติภาพที่แท้จริง ไม่ใช่การเอาใจที่จะนำมาซึ่งสงครามเพิ่มเติม"
.
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครน บอกว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ "มักเป็นตัวแทนแห่งความหวังและโอกาสเสมอ โอกาสที่จะเร่งเข้าสู่สันติภาพ"
.
เขาบอกว่าได้มีการติดต่อกับทีมงานของทรัมป์ หลังประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน โทรศัพท์แสดงความยินดีกับตัวแทนพรรครีพับลิกัน และเวลานี้อยู่ระหว่างการทำงานในความเป็นไปได้ที่จะมีการประชุมพูดคุยรอบใหม่ระหว่างผู้นำทั้ง 2
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000108072
..............
Sondhi X
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
25 มุมมอง
0 รีวิว