• อ่านเอาเรื่อง Ep.88 : Affirmative Action

    วันนี้อยากจะเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ Affirmative Action ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราครับ

    ในสมัยก่อนนู้น คือ ยุคก่อนปี 1950 นั้น มาเลเซีย (ตอนนั้นเรียก “มลายา”) เป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ครับ อังกฤษเขาเห็นว่าที่มลายานี้ยังขาดแคลลนแรงงานอยู่มาก ก็เลยเปิดรับชาวจีนให้อพยพเข้ามาเป็นแรงงานอยู่ที่มลายา

    ชาวจีนที่อพยพมามลายานั้น ส่วนใหญ่จะมาจากมณฑลฟูเจี้ยนและกวางตุ้ง เหตุที่อพยพมาก็เพราะหนีความอดอยากและยากจนของประเทศจีนในเวลานั้นครับ

    คนจีนเหล่านี้ เบื้องแรกก็มาเป็นแรงงานทำโน่นทำนี่ แต่อยู่ๆไปก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษและเริ่มทำธุรกิจ ชีวิตความเป็นอยู่และรายได้เริ่มดีขึ้นด้วยความขยันตามประสาคนจีน

    นี่คือจุดเริ่มต้นของคนจีนในคาบสมุทรมลายา คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 10% ของประชากรทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู

    คนอินเดียก็มีมาอยู่ที่มลายาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าคนจีน

    ทีนี้พอถึงปี 1957 อังกฤษคืนเอกราชให้มลายา อำนาจการปกครองรัฐบาลนั้นเป็นของชาวมลายูเกือบ 100%

    ในเวลานั้น ธุรกิจสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวจีน และสำคัญคือ 99% ของนักศึกษาที่เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ล้วนมีแต่ชาวจีนทั้งสิ้น

    นักศึกษาชาวมลายูมีแค่ 1%

    ในคณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ที่เราเรียกว่า STEM นั้น ก็เป็นแบบเดียวกันคือ มีแต่นักศึกษาชาวจีน อันทำให้ชาวจีนมีความรู้สูงกว่าและเจริญงอกงามกว่าชาวมลายูทั้งๆที่ประชากรชาวจีนนั้นมีไม่ถึง 20%

    ก่อให้เกิดความเกลียดชังที่คนมลายูมีต่อคนจีน
    .
    .
    .
    ในปี 1960 รัฐบาลมาเลเซียซึ่งเป็นคนมลายูทั้งหมด จึงดำริโครงการที่ชื่อว่า Affirmative Action เพื่อช่วยชาวมลายู คือ ช่วยเหลือทุกวิถีทางที่จะเพิ่มจำนวนคนมลายูให้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้

    นำไปสู่การตั้งโควต้านักศึกษา ว่าจะต้องมีคนมลายูเท่านี้และจำกัดจำนวนคนจีนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ

    และที่ช้อคสุดคือ รัฐบาลสั่งเปลี่ยนภาษาที่สอนในมหาลัย จากเดิมที่สอนเป็นภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนเป็นภาษามลายูทั้งหมด

    คือ กีดกันคนจีนกันเต็มที่

    ทำให้นักศึกษาจีนที่เก่งๆหัวดีจำนวนมากถอดใจกับการเข้ามหาวิทยาลัย และย้ายไปเรียนที่อเมริกาและยุโรปแทน คนจีนที่มีความรู้สูงจำนวนมากย้ายออกจากมาเลเซีย

    การกีดกันเชื้อชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวออกไปตั้งประเทศเอง และภายหลังสิงคโปร์นั้นเจริญงอกงามกว่ามาเลเซียมาก

    (ถ้าจะพูดให้ถูกคือ รัฐบาลมลายูขับไล่นายลี กวน ยูและสิงคโปร์ออกไปครับ)

    แต่กระนั้นความกดดันของรัฐบาลมลายูนี้ก็ก่อให้เกิดผลดีอยู่บ้างคือ ชาวจีนรวมตัวกันสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นในมาเลเซียหลายแห่ง สอนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษเหมือนเคย เพื่อสอนให้กับชาวจีนและอินเดียที่ได้รับผลกระทบ

    และได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวลาต่อมา
    .
    .
    .
    เมื่อกาลเวลาผ่านไป 60 ปี Affirmative Action นี้ก็ยังคงอยู่ในมาเลเซียในรูปแบบของโควต้าเชื้อชาติ

    ผลของ Affirmative Action นี้ ทำให้คนมลายูมีอัตราการเรียนมหาวิทยาลัยสูงขึ้นจริง มีรายได้สูงขึ้นจริง

    แต่ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม

    คือ ธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชนขนาดใหญ่ในมาเลเซียยังคงอยู่ในมือของคนจีน

    ส่วนคนมลายูนั้นส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในภาครัฐ ที่โดดเด่นขึ้นมาในภาคเอกชนก็มีครับ เช่น แอร์ เอเซีย ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจมลายู 2 คนครับ

    ในประชากรมาเลเซีย 100 คน มีชาวมลายูราวๆ 70% ชาวจีน 20% ที่เหลือเป็นอินเดีย 8% ครับ

    เมื่อสำรวจรายได้ของคนมาเลเซียในปี 2022 ก็ได้พบว่า หากชาวจีนมีรายได้ 100 บาท ชาวมลายูจะมีรายได้ 70 บาท และชาวอินเดีย 87 บาท

    ชาวมลายูยังคงรายได้ต่ำที่สุดอยู่เช่นเคย แม้จะกีดกันชาวจีนแล้วก็ตาม
    .
    .
    .
    ที่ผมยกเรื่องโครงการ Affirmative Action ขึ้นมานี้ เพราะเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันทั่วโลกมากว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ (Discrimination) ครับ

    คือ เลือกช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ

    จริงๆแล้วมาเลเซียลอกไอเดียนี้มาจากอเมริกาในปี 1960 ที่ปธน.จอห์น เอฟ เคนเนดี้ นำมาใช้เพื่อให้โอกาสคนดำและเชื้อชาติอื่นได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง

    เพราะหากเอานักเรียนมาสอบแข่งขันกันจริงๆแล้ว ในเวลานั้นนักเรียนผิวขาวชนะขาดลอย เช่นเดียวกับที่นักเรียนจีนในมาเลเซียที่เก่งกว่าเด็กมลายู

    อเมริกาใช้โครงการนี้อยู่หลายรัฐบาล มีการใช้โควต้าเชื้อชาติด้วย จนกระทั่งศาลสูงของอเมริกาสั่งยกเลิกระบบนี้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย

    และปัจจุบันอเมริกาก็เอานโยบายคล้ายๆกันนี้กลับเข้ามาใช้อีกในรูปแบบของ DEI (Diversity, Equity and Inclusion) คือ ให้เอาเชื้อชาติเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานรัฐบาล

    คือ ในหนึ่งองค์กรจะต้องมีคนจากทุกเชื้อชาติให้ได้มากที่สุด

    เรื่อง DEI นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อทรัมป์ถูกพยายามลอบสังหารและมีภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจลับหญิงอ้วนที่เงอะๆงั่นๆทำอะไรไม่ถูกยืนอยู่ข้างๆทรัมป์

    ชาวเน็ทอเมริกันจึงจัดทัวร์ไปลงว่า “DEI ทำให้เราไม่ได้จ้างคนจากฝีมือและความสามารถ”
    .
    .
    .
    ผมนั่งดูๆเรื่องนี้แล้ว ก็บังเกิดความเห็นใจทั้ง 2 ฝั่ง

    คือ ผมเห็นใจคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์ว่า ถ้าเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษแล้ว โอกาสที่จะโงหัวขึ้นมามีชีวิตที่ดีบ้างนั้นก็แทบจะไม่มีเลย

    ในขณะเดียวกันผมก็เห็นใจคนหัวดีและคนเก่งกว่าว่า เขาตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่กลายเป็นต้องมาแพ้ให้กับระบบโควต้าที่ช่วยคนที่ห่วยกว่าตัวเอง

    หนทางที่ดีที่สุดของเรื่องลักษณะนี้ ผมเห็นด้วย 100% กับท่านผู้พิพากษาศาลสูงของอเมริกาชื่อ “ซานดร้า เดย์ โอคอนเนอร์”

    ท่านกล่าวว่า “Race-conscious admissions policies must be limited in time. The court expects that 25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary"

    "นโยบายการเลือกรับคนโดยดูจากเชื้อชาตินั้นควรกำหนดกรอบเวลาไว้ ศาลหวังว่าในอีก 25 ปีจากนี้ไปนั้น เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องเชื้อชาติมาร่วมพิจารณาอีกต่อไป“

    ท่านบันทึกไว้ในปี 2003 ครับ

    เพราะผมเห็นด้วยกับที่มีคนเคยพูดว่า “กลุ่มคนที่เคยได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือใช้ทางลัดมาตลอดชีวิตนั้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่ต้องออกไปต่อสู้อย่างแฟร์ๆแล้ว คนพวกนี้ก็จะบอกว่า ”ฉันไม่ได้รับความยุติธรรม“

    …ไม่ช่วยเลยก็น่าสงสาร ช่วยมากไปก็อ่อนแอ…

    ภาพประกอบไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องครับ ผมเห็นว่าสวยดีก็เลยโพสท์ไปด้วย 😉


    นัทแนะ
    อ่านเอาเรื่อง Ep.88 : Affirmative Action วันนี้อยากจะเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ Affirmative Action ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราครับ ในสมัยก่อนนู้น คือ ยุคก่อนปี 1950 นั้น มาเลเซีย (ตอนนั้นเรียก “มลายา”) เป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ครับ อังกฤษเขาเห็นว่าที่มลายานี้ยังขาดแคลลนแรงงานอยู่มาก ก็เลยเปิดรับชาวจีนให้อพยพเข้ามาเป็นแรงงานอยู่ที่มลายา ชาวจีนที่อพยพมามลายานั้น ส่วนใหญ่จะมาจากมณฑลฟูเจี้ยนและกวางตุ้ง เหตุที่อพยพมาก็เพราะหนีความอดอยากและยากจนของประเทศจีนในเวลานั้นครับ คนจีนเหล่านี้ เบื้องแรกก็มาเป็นแรงงานทำโน่นทำนี่ แต่อยู่ๆไปก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษและเริ่มทำธุรกิจ ชีวิตความเป็นอยู่และรายได้เริ่มดีขึ้นด้วยความขยันตามประสาคนจีน นี่คือจุดเริ่มต้นของคนจีนในคาบสมุทรมลายา คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 10% ของประชากรทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู คนอินเดียก็มีมาอยู่ที่มลายาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าคนจีน ทีนี้พอถึงปี 1957 อังกฤษคืนเอกราชให้มลายา อำนาจการปกครองรัฐบาลนั้นเป็นของชาวมลายูเกือบ 100% ในเวลานั้น ธุรกิจสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวจีน และสำคัญคือ 99% ของนักศึกษาที่เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ล้วนมีแต่ชาวจีนทั้งสิ้น นักศึกษาชาวมลายูมีแค่ 1% ในคณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ที่เราเรียกว่า STEM นั้น ก็เป็นแบบเดียวกันคือ มีแต่นักศึกษาชาวจีน อันทำให้ชาวจีนมีความรู้สูงกว่าและเจริญงอกงามกว่าชาวมลายูทั้งๆที่ประชากรชาวจีนนั้นมีไม่ถึง 20% ก่อให้เกิดความเกลียดชังที่คนมลายูมีต่อคนจีน . . . ในปี 1960 รัฐบาลมาเลเซียซึ่งเป็นคนมลายูทั้งหมด จึงดำริโครงการที่ชื่อว่า Affirmative Action เพื่อช่วยชาวมลายู คือ ช่วยเหลือทุกวิถีทางที่จะเพิ่มจำนวนคนมลายูให้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ นำไปสู่การตั้งโควต้านักศึกษา ว่าจะต้องมีคนมลายูเท่านี้และจำกัดจำนวนคนจีนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ และที่ช้อคสุดคือ รัฐบาลสั่งเปลี่ยนภาษาที่สอนในมหาลัย จากเดิมที่สอนเป็นภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนเป็นภาษามลายูทั้งหมด คือ กีดกันคนจีนกันเต็มที่ ทำให้นักศึกษาจีนที่เก่งๆหัวดีจำนวนมากถอดใจกับการเข้ามหาวิทยาลัย และย้ายไปเรียนที่อเมริกาและยุโรปแทน คนจีนที่มีความรู้สูงจำนวนมากย้ายออกจากมาเลเซีย การกีดกันเชื้อชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวออกไปตั้งประเทศเอง และภายหลังสิงคโปร์นั้นเจริญงอกงามกว่ามาเลเซียมาก (ถ้าจะพูดให้ถูกคือ รัฐบาลมลายูขับไล่นายลี กวน ยูและสิงคโปร์ออกไปครับ) แต่กระนั้นความกดดันของรัฐบาลมลายูนี้ก็ก่อให้เกิดผลดีอยู่บ้างคือ ชาวจีนรวมตัวกันสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นในมาเลเซียหลายแห่ง สอนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษเหมือนเคย เพื่อสอนให้กับชาวจีนและอินเดียที่ได้รับผลกระทบ และได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวลาต่อมา . . . เมื่อกาลเวลาผ่านไป 60 ปี Affirmative Action นี้ก็ยังคงอยู่ในมาเลเซียในรูปแบบของโควต้าเชื้อชาติ ผลของ Affirmative Action นี้ ทำให้คนมลายูมีอัตราการเรียนมหาวิทยาลัยสูงขึ้นจริง มีรายได้สูงขึ้นจริง แต่ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม คือ ธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชนขนาดใหญ่ในมาเลเซียยังคงอยู่ในมือของคนจีน ส่วนคนมลายูนั้นส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในภาครัฐ ที่โดดเด่นขึ้นมาในภาคเอกชนก็มีครับ เช่น แอร์ เอเซีย ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจมลายู 2 คนครับ ในประชากรมาเลเซีย 100 คน มีชาวมลายูราวๆ 70% ชาวจีน 20% ที่เหลือเป็นอินเดีย 8% ครับ เมื่อสำรวจรายได้ของคนมาเลเซียในปี 2022 ก็ได้พบว่า หากชาวจีนมีรายได้ 100 บาท ชาวมลายูจะมีรายได้ 70 บาท และชาวอินเดีย 87 บาท ชาวมลายูยังคงรายได้ต่ำที่สุดอยู่เช่นเคย แม้จะกีดกันชาวจีนแล้วก็ตาม . . . ที่ผมยกเรื่องโครงการ Affirmative Action ขึ้นมานี้ เพราะเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันทั่วโลกมากว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ (Discrimination) ครับ คือ เลือกช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ จริงๆแล้วมาเลเซียลอกไอเดียนี้มาจากอเมริกาในปี 1960 ที่ปธน.จอห์น เอฟ เคนเนดี้ นำมาใช้เพื่อให้โอกาสคนดำและเชื้อชาติอื่นได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง เพราะหากเอานักเรียนมาสอบแข่งขันกันจริงๆแล้ว ในเวลานั้นนักเรียนผิวขาวชนะขาดลอย เช่นเดียวกับที่นักเรียนจีนในมาเลเซียที่เก่งกว่าเด็กมลายู อเมริกาใช้โครงการนี้อยู่หลายรัฐบาล มีการใช้โควต้าเชื้อชาติด้วย จนกระทั่งศาลสูงของอเมริกาสั่งยกเลิกระบบนี้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย และปัจจุบันอเมริกาก็เอานโยบายคล้ายๆกันนี้กลับเข้ามาใช้อีกในรูปแบบของ DEI (Diversity, Equity and Inclusion) คือ ให้เอาเชื้อชาติเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานรัฐบาล คือ ในหนึ่งองค์กรจะต้องมีคนจากทุกเชื้อชาติให้ได้มากที่สุด เรื่อง DEI นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อทรัมป์ถูกพยายามลอบสังหารและมีภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจลับหญิงอ้วนที่เงอะๆงั่นๆทำอะไรไม่ถูกยืนอยู่ข้างๆทรัมป์ ชาวเน็ทอเมริกันจึงจัดทัวร์ไปลงว่า “DEI ทำให้เราไม่ได้จ้างคนจากฝีมือและความสามารถ” . . . ผมนั่งดูๆเรื่องนี้แล้ว ก็บังเกิดความเห็นใจทั้ง 2 ฝั่ง คือ ผมเห็นใจคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์ว่า ถ้าเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษแล้ว โอกาสที่จะโงหัวขึ้นมามีชีวิตที่ดีบ้างนั้นก็แทบจะไม่มีเลย ในขณะเดียวกันผมก็เห็นใจคนหัวดีและคนเก่งกว่าว่า เขาตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่กลายเป็นต้องมาแพ้ให้กับระบบโควต้าที่ช่วยคนที่ห่วยกว่าตัวเอง หนทางที่ดีที่สุดของเรื่องลักษณะนี้ ผมเห็นด้วย 100% กับท่านผู้พิพากษาศาลสูงของอเมริกาชื่อ “ซานดร้า เดย์ โอคอนเนอร์” ท่านกล่าวว่า “Race-conscious admissions policies must be limited in time. The court expects that 25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary" "นโยบายการเลือกรับคนโดยดูจากเชื้อชาตินั้นควรกำหนดกรอบเวลาไว้ ศาลหวังว่าในอีก 25 ปีจากนี้ไปนั้น เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องเชื้อชาติมาร่วมพิจารณาอีกต่อไป“ ท่านบันทึกไว้ในปี 2003 ครับ เพราะผมเห็นด้วยกับที่มีคนเคยพูดว่า “กลุ่มคนที่เคยได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือใช้ทางลัดมาตลอดชีวิตนั้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่ต้องออกไปต่อสู้อย่างแฟร์ๆแล้ว คนพวกนี้ก็จะบอกว่า ”ฉันไม่ได้รับความยุติธรรม“ …ไม่ช่วยเลยก็น่าสงสาร ช่วยมากไปก็อ่อนแอ… ภาพประกอบไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องครับ ผมเห็นว่าสวยดีก็เลยโพสท์ไปด้วย 😉 นัทแนะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 198 มุมมอง 0 รีวิว
  • (เกร็ดความรู้เรื่องไทยศึกษา) แหวนพิรอด แหวนพิรอด เป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือกระดาษว่าว ลงยันต์และอักขระอาคม แล้วม้วนฟั่นเป็นเส้นนำมาถักเป็นวงแหวน ลงรักปิดทอง ดูภายนอกคล้ายทำด้วยโลหะ ใช้สวมใส่นิ้ว เพื่อความคงกระพันชาตรีและเพื่อผลในทางชกด้วยหมัดมือ เพราะมีหัวใหญ่และแข็งจึงใช้เหมือนสนับมือได้ ที่ใช้กระดาษว่าวเพราะมีความเหนียวพิเศษ แหวนพิรอดนี้บางทีทำด้วยเชือกหรือด้ายถัก หัวแหวนพิรอดมีหลายแบบ บางแบบทำเป็นรูปนูนอย่างที่เรียกว่า ถันพระอุมา อาจารย์บางองค์นิยมถักแบน ๆ เรียกกันว่า ถักแบบลายจระเข้ขบฟันเป็นลายแน่นสับกันไปมา ในการทำแหวนพิรอดนั้น หัวแหวนนิยมลงยันต์รูปพระภควัม เมื่อลงยันต์เสกคาถาแล้ว หลังจากนั้นทดลองนำไปเผาไฟดู ถ้าไม่ไหม้ก็ถือว่าใช้ได้ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แหวนพิรอดที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ แหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถักด้วยกระดาษ ลงรัก และแหวนพิรอดของเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งถักด้วยด้าย เครื่องรางของขลังชนิดนี้หากทำขนาดใหญ่ใช้สวมแขน เรียกว่า “สนับแขนพิรอด” มักนิยมทำด้วยโลหะผสม ทำหัวเหมือนหัวแหวนพิรอด (เรียบเรียงโดย ประคอง นิมมานเหมินท์ ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง เล่ม15)(ภาพจาก คมชัดลึก ออนไลน์)
    (เกร็ดความรู้เรื่องไทยศึกษา) แหวนพิรอด แหวนพิรอด เป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือกระดาษว่าว ลงยันต์และอักขระอาคม แล้วม้วนฟั่นเป็นเส้นนำมาถักเป็นวงแหวน ลงรักปิดทอง ดูภายนอกคล้ายทำด้วยโลหะ ใช้สวมใส่นิ้ว เพื่อความคงกระพันชาตรีและเพื่อผลในทางชกด้วยหมัดมือ เพราะมีหัวใหญ่และแข็งจึงใช้เหมือนสนับมือได้ ที่ใช้กระดาษว่าวเพราะมีความเหนียวพิเศษ แหวนพิรอดนี้บางทีทำด้วยเชือกหรือด้ายถัก หัวแหวนพิรอดมีหลายแบบ บางแบบทำเป็นรูปนูนอย่างที่เรียกว่า ถันพระอุมา อาจารย์บางองค์นิยมถักแบน ๆ เรียกกันว่า ถักแบบลายจระเข้ขบฟันเป็นลายแน่นสับกันไปมา ในการทำแหวนพิรอดนั้น หัวแหวนนิยมลงยันต์รูปพระภควัม เมื่อลงยันต์เสกคาถาแล้ว หลังจากนั้นทดลองนำไปเผาไฟดู ถ้าไม่ไหม้ก็ถือว่าใช้ได้ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แหวนพิรอดที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ แหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถักด้วยกระดาษ ลงรัก และแหวนพิรอดของเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งถักด้วยด้าย เครื่องรางของขลังชนิดนี้หากทำขนาดใหญ่ใช้สวมแขน เรียกว่า “สนับแขนพิรอด” มักนิยมทำด้วยโลหะผสม ทำหัวเหมือนหัวแหวนพิรอด (เรียบเรียงโดย ประคอง นิมมานเหมินท์ ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง เล่ม15)(ภาพจาก คมชัดลึก ออนไลน์)
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 333 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ศิลปะ ซอฟท์เพาว์เวอร์
    พระพัชนีด้ามจิ้ว หรือ พัดทรง💜💜

    หลายท่านที่ได้ชมพระราชพิธีเมื่อวาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗

    ในระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประทับในเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ทรงใช้พระพัชนีด้ามจิ้ว ระหว่างประทับหลายท่านน่าจะเห็นว่าลวดลายบนพัดมีความงดงามมาก พัดทรงด้ามนี้ออกแบบและเขียนลาย โดยอาจารย์หทัย บุนนาค

    โดยท่านเคยให้รายละเอียดเกี่ยวกับพัดทรงด้ามนี้ว่า…

    "พัดทรง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ์พระบรมราชินี พัดด้ามไม้ประดับปีกแมลงทับ ตัวพัดทำจากผ้าไหมไทยปิดเงินเปลว เขียนสีเป็นลายเทพยดาอำนวยพร บนพื้นสีครามประกอบลวดลายพรรณพฤกษา แกนพัดและห่วงพัดทำจากเงินกะไหล่ทอง แหวนสำหรับรัดพัดและสายพู่คล้องพัดเป็นไหมสีเขียวมะกอกรับกัน ร้อยสลับกับลูกปัดเงินกะไหล่ทองและลูกปัดพลอยเนื้ออ่อนสีม่วง

    รายชื่อคณะทำงานและช่างฝีมือ

    ช่างเขียนและออกแบบ: นาย หทัย บุนนาค
    ช่างประดับปีกแมลงทับ: นางสาว กัลยากร อัครยากูล

    ช่างทองทำห่วงพัดและแกนพัด : อาจารย์ศุภชัย เสริมสุขเจริญชัย และ อาจารย์จิราพร รอดคุ้ม จากมหาวิทยาลัย เพาะช่าง
    ช่างทำพู่และสายคล้องตลอดจนแหวนรัดพัด: นางสาว เมนาท วรรัตนวัชร

    ช่างประกอบตัวและจับจีบพัด: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผล

    ช่างทำกล่อง: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผลและนายธงชัย ตาลพวง นางสาว กุลธิดา บุนนาค

    ประสานงาน : นายวุฒิกร จินตนสถิตย์"
    เครดิตโดยอาจารย์หทัย บุนนาค(ภาพสุดท้าย)

    🙏🇹🇭💜#ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน #เกร็ดความรู้ #เกร็ดประวัติศาสตร์ #พยุหยาตราทางชลมารค
    #ศิลปะ ซอฟท์เพาว์เวอร์ พระพัชนีด้ามจิ้ว หรือ พัดทรง💜💜 หลายท่านที่ได้ชมพระราชพิธีเมื่อวาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ในระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประทับในเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ทรงใช้พระพัชนีด้ามจิ้ว ระหว่างประทับหลายท่านน่าจะเห็นว่าลวดลายบนพัดมีความงดงามมาก พัดทรงด้ามนี้ออกแบบและเขียนลาย โดยอาจารย์หทัย บุนนาค โดยท่านเคยให้รายละเอียดเกี่ยวกับพัดทรงด้ามนี้ว่า… "พัดทรง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ์พระบรมราชินี พัดด้ามไม้ประดับปีกแมลงทับ ตัวพัดทำจากผ้าไหมไทยปิดเงินเปลว เขียนสีเป็นลายเทพยดาอำนวยพร บนพื้นสีครามประกอบลวดลายพรรณพฤกษา แกนพัดและห่วงพัดทำจากเงินกะไหล่ทอง แหวนสำหรับรัดพัดและสายพู่คล้องพัดเป็นไหมสีเขียวมะกอกรับกัน ร้อยสลับกับลูกปัดเงินกะไหล่ทองและลูกปัดพลอยเนื้ออ่อนสีม่วง รายชื่อคณะทำงานและช่างฝีมือ ช่างเขียนและออกแบบ: นาย หทัย บุนนาค ช่างประดับปีกแมลงทับ: นางสาว กัลยากร อัครยากูล ช่างทองทำห่วงพัดและแกนพัด : อาจารย์ศุภชัย เสริมสุขเจริญชัย และ อาจารย์จิราพร รอดคุ้ม จากมหาวิทยาลัย เพาะช่าง ช่างทำพู่และสายคล้องตลอดจนแหวนรัดพัด: นางสาว เมนาท วรรัตนวัชร ช่างประกอบตัวและจับจีบพัด: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผล ช่างทำกล่อง: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผลและนายธงชัย ตาลพวง นางสาว กุลธิดา บุนนาค ประสานงาน : นายวุฒิกร จินตนสถิตย์" เครดิตโดยอาจารย์หทัย บุนนาค(ภาพสุดท้าย) 🙏🇹🇭💜#ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน #เกร็ดความรู้ #เกร็ดประวัติศาสตร์ #พยุหยาตราทางชลมารค
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 593 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุกครั้งที่ผมจะเล่าเรื่องราวที่อิงประวัติศาสตร์ให้ฟัง ผมมต้องบอกแบบนี้นะครับว่าข้อมูลที่ได้มานั้นส่วนใหญ่ได้มาจากพงศวดาร และพงศวดารในที่ต่างๆนั้น ไม่ถือเป็นหลักฐานชั้นต้น แต่อ้างอิงได้ พงศวดารเนี่ยต้องบอกแบบนี้ครับว่าผู้เขียนไม่ได้เขียนขึ้นมาในช่วงเวลานั้นนะครับ หากแต่เขียนขึ้นหลังจากเหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้วช่วงระยะนึงแล้ว และพงศวดารยังสามารถเขียนและแก้ไข ซึ่งเราเรียกว่าการชำระใหม่ ขึ่นอยู่กับผู้ปกครอง ผู้มีบทบาทและอำนาจในการสั่งการ ว่าจะสั่งให้เขียนออกมาในรูปแบบใด จึงสรุปได้ว่า

    “พงศวดาร” คืองาน “วรรณกรรม” ขีดเส้นใต้เลยครับ พงศวดารคือวรรณกรรม ตามช่วงสมัย มีการเขียน มีการตรวจ การแก้ไขได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา เราถือเป็น “หลักฐานชั้นรอง” ครับ

    ในส่วนการอ้างอิงที่เป็นเหตุเป็นผลและการให้น้ำหนักในเชิงประวัติศาสตร์นั้น การให้น้ำหนักตามข้อเท็จจริง จึงอิงไปที่หลักฐานชั้นต้น ที่สร้างขึ้น และ บันทึกในช่วงเวลานั้น ดังเช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุทับรายวัน จดหมายเหตุโหรณ์ เป็นต้น

    ดังเช่นการเล่าเรื่องของผมนี้ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ก็มาจากพงศวดารหลายเล่ม จึงเขียนให้เป็นบันทึก เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ ให้อ่านได้ง่าย และเข้าใจในแบบ ไม่ต้องตีความเยอะครับ #บันทึกโยเดีย
    ทุกครั้งที่ผมจะเล่าเรื่องราวที่อิงประวัติศาสตร์ให้ฟัง ผมมต้องบอกแบบนี้นะครับว่าข้อมูลที่ได้มานั้นส่วนใหญ่ได้มาจากพงศวดาร และพงศวดารในที่ต่างๆนั้น ไม่ถือเป็นหลักฐานชั้นต้น แต่อ้างอิงได้ พงศวดารเนี่ยต้องบอกแบบนี้ครับว่าผู้เขียนไม่ได้เขียนขึ้นมาในช่วงเวลานั้นนะครับ หากแต่เขียนขึ้นหลังจากเหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้วช่วงระยะนึงแล้ว และพงศวดารยังสามารถเขียนและแก้ไข ซึ่งเราเรียกว่าการชำระใหม่ ขึ่นอยู่กับผู้ปกครอง ผู้มีบทบาทและอำนาจในการสั่งการ ว่าจะสั่งให้เขียนออกมาในรูปแบบใด จึงสรุปได้ว่า “พงศวดาร” คืองาน “วรรณกรรม” ขีดเส้นใต้เลยครับ พงศวดารคือวรรณกรรม ตามช่วงสมัย มีการเขียน มีการตรวจ การแก้ไขได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา เราถือเป็น “หลักฐานชั้นรอง” ครับ ในส่วนการอ้างอิงที่เป็นเหตุเป็นผลและการให้น้ำหนักในเชิงประวัติศาสตร์นั้น การให้น้ำหนักตามข้อเท็จจริง จึงอิงไปที่หลักฐานชั้นต้น ที่สร้างขึ้น และ บันทึกในช่วงเวลานั้น ดังเช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุทับรายวัน จดหมายเหตุโหรณ์ เป็นต้น ดังเช่นการเล่าเรื่องของผมนี้ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ก็มาจากพงศวดารหลายเล่ม จึงเขียนให้เป็นบันทึก เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ ให้อ่านได้ง่าย และเข้าใจในแบบ ไม่ต้องตีความเยอะครับ #บันทึกโยเดีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 168 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🌧️ เตรียมรับมือฤดูฝน! ป้องกันราน้ำค้างในเมล่อนอย่างไรให้ได้ผล

    สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวสวนเมล่อน 👋 ฤดูฝนมาแล้ว! หลายคนคงกังวลเรื่องโรคราน้ำค้างใช่ไหมครับ? วันนี้ผมมีเคล็ดลับดีๆ มาฝากกัน 🌱

    ทำไมฤดูฝนถึงต้องระวังเป็นพิเศษ? 🤔
    • ฝนตกบ่อย อากาศปิด
    • ความชื้นสูงสุดๆ
    • เชื้อราชอบมาก! เป็นสวรรค์ของมันเลย 😅

    👨‍🌾 วิธีรับมือแบบมืออาชีพ:
    1. ป้องกันก่อนปลูก (สำคัญมาก!)
    • พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในโรงเรือน 5-7 วันก่อนปลูก
    • คิดซะว่าเป็นการ "Big Cleaning" บ้านให้เมล่อนของเรา 🏠

    2. ระหว่างปลูก
    • พ่นไตรโคบิวพลัสสม่ำเสมอ - เจ้านี่เป็นซูเปอร์ฮีโร่เลยครับ! 🦸‍♂️
    • สังเกตอาการผิดปกติทุกวัน

    🔄 ถ้าเจอปัญหาซ้ำๆ ทุกรอบการปลูก ต้องปรับ 3 อย่าง:
    1. ระบบให้น้ำ - บางทีให้น้ำมากไป น้อยไป หรือผิดเวลา
    2. การใช้ชีวภัณฑ์ - อาจต้องปรับสูตร หรือความถี่
    3. พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อรอบๆ โรงเรือนด้วย - ป้องกันศัตรูจากภายนอก

    💡 เกร็ดความรู้: การระบายอากาศที่ดีช่วยลดความชื้นได้เยอะมาก! ลองปรับมุ้งข้างโรงเรือนดูนะครับ

    🏆 ที่ลิตเติ้ลฟาร์ม เรามีครบ:
    • ปุ๋ย AB คุณภาพเยี่ยม - สูตรพิเศษสำหรับเมล่อนโดยเฉพาะ
    • ธาตุอาหารครบครัน
    • ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและแมลงที่ผ่านการทดสอบแล้ว

    ✨ พิเศษ! เรามีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการปลูก เหมือนมีโค้ชส่วนตัวคอยดูแลสวนเมล่อนของคุณ

    📞 อยากปรึกษาเรื่องการปลูกเมล่อน หรือสนใจสินค้า:
    • แชทมาคุยกันได้เลย
    • หรือโทร: 093-696-2691

    มาสู้กับฤดูฝนไปด้วยกันนะครับ! 💪🌈

    #เมล่อน #โรคพืช #เกษตรอัจฉริยะ #ลิตเติ้ลฟาร์ม #ฤดูฝน
    🌧️ เตรียมรับมือฤดูฝน! ป้องกันราน้ำค้างในเมล่อนอย่างไรให้ได้ผล สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวสวนเมล่อน 👋 ฤดูฝนมาแล้ว! หลายคนคงกังวลเรื่องโรคราน้ำค้างใช่ไหมครับ? วันนี้ผมมีเคล็ดลับดีๆ มาฝากกัน 🌱 ทำไมฤดูฝนถึงต้องระวังเป็นพิเศษ? 🤔 • ฝนตกบ่อย อากาศปิด • ความชื้นสูงสุดๆ • เชื้อราชอบมาก! เป็นสวรรค์ของมันเลย 😅 👨‍🌾 วิธีรับมือแบบมืออาชีพ: 1. ป้องกันก่อนปลูก (สำคัญมาก!) • พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในโรงเรือน 5-7 วันก่อนปลูก • คิดซะว่าเป็นการ "Big Cleaning" บ้านให้เมล่อนของเรา 🏠 2. ระหว่างปลูก • พ่นไตรโคบิวพลัสสม่ำเสมอ - เจ้านี่เป็นซูเปอร์ฮีโร่เลยครับ! 🦸‍♂️ • สังเกตอาการผิดปกติทุกวัน 🔄 ถ้าเจอปัญหาซ้ำๆ ทุกรอบการปลูก ต้องปรับ 3 อย่าง: 1. ระบบให้น้ำ - บางทีให้น้ำมากไป น้อยไป หรือผิดเวลา 2. การใช้ชีวภัณฑ์ - อาจต้องปรับสูตร หรือความถี่ 3. พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อรอบๆ โรงเรือนด้วย - ป้องกันศัตรูจากภายนอก 💡 เกร็ดความรู้: การระบายอากาศที่ดีช่วยลดความชื้นได้เยอะมาก! ลองปรับมุ้งข้างโรงเรือนดูนะครับ 🏆 ที่ลิตเติ้ลฟาร์ม เรามีครบ: • ปุ๋ย AB คุณภาพเยี่ยม - สูตรพิเศษสำหรับเมล่อนโดยเฉพาะ • ธาตุอาหารครบครัน • ชีวภัณฑ์ป้องกันโรคและแมลงที่ผ่านการทดสอบแล้ว ✨ พิเศษ! เรามีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการปลูก เหมือนมีโค้ชส่วนตัวคอยดูแลสวนเมล่อนของคุณ 📞 อยากปรึกษาเรื่องการปลูกเมล่อน หรือสนใจสินค้า: • แชทมาคุยกันได้เลย • หรือโทร: 093-696-2691 มาสู้กับฤดูฝนไปด้วยกันนะครับ! 💪🌈 #เมล่อน #โรคพืช #เกษตรอัจฉริยะ #ลิตเติ้ลฟาร์ม #ฤดูฝน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 515 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

    กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗

    #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ

    #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี
    กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม

    #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย
    กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ

    เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ
    * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี
    * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน
    * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน

    เรือพระราชพิธีอื่นๆ
    * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา)
    * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม
    * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง
    สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า

    การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป
    ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

    พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
    ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน
    ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่
    และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า
    ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า
    กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่
    ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย
    [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ
    พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด
    ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา
    เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง
    ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย

    ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

    อ้างอิง
    ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844
    ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน เรือพระราชพิธีอื่นๆ * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา) * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่ และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่ ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อ้างอิง ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844 ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1165 มุมมอง 0 รีวิว
  • ⚠️ เตือนภัย! อย่าหลงกล มิจฉาชีพ แอบอ้างแบงก์ชาติ ⚠️
    🚨 แบงก์ชาติไม่มีหน้าที่ อายัดบัญชี !
    ใครอ้างแบบนี้ = มิจฉาชีพชัวร์ 💯 %
    วิธีรับมือ:
    - สงสัย? อย่าเพิ่งเชื่อ! 🤔
    - โทรเช็ค📞 กับธนาคารของคุณโดยตรง
    - ตรวจสอบข้อมูล🔍จากแหล่งที่เชื่อถือได้
    💡 เกร็ดความรู้: มิจฉาชีพมักแอบอ้างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
    ⚠️ อย่าเชื่อ อย่าโอน อย่าให้ข้อมูล⚠️
    ⚠️ เตือนภัย! อย่าหลงกล มิจฉาชีพ แอบอ้างแบงก์ชาติ ⚠️ 🚨 แบงก์ชาติไม่มีหน้าที่ อายัดบัญชี ! ใครอ้างแบบนี้ = มิจฉาชีพชัวร์ 💯 % วิธีรับมือ: - สงสัย? อย่าเพิ่งเชื่อ! 🤔 - โทรเช็ค📞 กับธนาคารของคุณโดยตรง - ตรวจสอบข้อมูล🔍จากแหล่งที่เชื่อถือได้ 💡 เกร็ดความรู้: มิจฉาชีพมักแอบอ้างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ⚠️ อย่าเชื่อ อย่าโอน อย่าให้ข้อมูล⚠️
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 312 มุมมอง 0 รีวิว
  • 📖 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรครูมาตอยด์

    โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (autoimmune disease) ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเนื้อเยื่อของตัวเอง โดยเฉพาะในข้อต่อ ทำให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อข้อต่อ รวมถึงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายด้วย

    อาการของรูมาตอยด์มีทั้งหมด 5 ข้อ
    ✅ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย
    ✅ อักเสบตามกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ
    ✅ บวม ปวด แดงตามข้อ
    ✅ กระดูกผิดรูป บิดเบี้ยวกว่าเดิม
    ✅ มีปุ่มนิ่มๆ บริเวณที่เสียดสีบ่อยๆ

    หากท่านใดมีอาการเหล่านี้...ทักแชทมาปรึกษาได้นะคะ เบอร์ 095-2489957 คุณณิชาวีร์
    📖 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรครูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (autoimmune disease) ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเนื้อเยื่อของตัวเอง โดยเฉพาะในข้อต่อ ทำให้เกิดการอักเสบและความเสียหายต่อข้อต่อ รวมถึงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายด้วย อาการของรูมาตอยด์มีทั้งหมด 5 ข้อ ✅ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ✅ อักเสบตามกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ ✅ บวม ปวด แดงตามข้อ ✅ กระดูกผิดรูป บิดเบี้ยวกว่าเดิม ✅ มีปุ่มนิ่มๆ บริเวณที่เสียดสีบ่อยๆ หากท่านใดมีอาการเหล่านี้...ทักแชทมาปรึกษาได้นะคะ เบอร์ 095-2489957 คุณณิชาวีร์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 405 มุมมอง 0 รีวิว