• ไทยจะโดนใบแดงกำแพงภาษีทรัมป์มากน้อยเพียงใด? : คนเคาะข่าว 01-04-68
    : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #ไทยส่งออก #เศรษฐกิจโลก #กำแพงภาษี #การค้าระหว่างประเทศ #News1 #Thaitimes
    ไทยจะโดนใบแดงกำแพงภาษีทรัมป์มากน้อยเพียงใด? : คนเคาะข่าว 01-04-68 : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #ไทยส่งออก #เศรษฐกิจโลก #กำแพงภาษี #การค้าระหว่างประเทศ #News1 #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 139 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว

    🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ

    เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว

    แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น

    รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก

    โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด

    🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย

    ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT

    เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง

    ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ

    และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า

    🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้

    กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่

    กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่

    ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ

    👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์

    แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์

    รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย.

    ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง

    น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23

    👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง

    ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20%

    ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ

    รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้

    จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ

    ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา

    ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด

    🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์

    แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย

    รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend

    เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง

    🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน

    คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ

    ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง

    รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน

    ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี

    🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที

    ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้

    ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ
    ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว 🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด 🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า 🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้ กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่ กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่ ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ 👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์ รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย. ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23 👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20% ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้ จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย 👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด 🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์ แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง 🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี 🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้ ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 700 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐ
    ทรัมป์ขู่ปูตินให้รีบยุติสงครามกับยูเครน ถ้าไม่ยุติจะคว่ำบาตรครั้งใหม่
    ทรัมป์ 1.0 ไม่มีสงครามสู้รบ มีแต่ trade war ครั้งนี้มองว่าอาจจะเหมือนเดิม แต่อาจจะมีการเดินเกมเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้สหรัฐเพิ่ม เช่น ความต้องการพื้นที่ greenland คลองปานามา

    Elon แฉ stargate Masayoshi Son (ที่จะเป็นประธานโครงการ) ไม่มีเงินลงทุนสูงตามที่โครงการต้องการ (หุ้นเทสล่า -2% เมื่อคืน สวนกับหุ้นอื่นในกลุ่ม MEG 7 อาจจะเกิดจากนโยบายทรัมป์ที่ยกเลิกคำสั่งใช้รถยนต์ไฟฟ้าของไบเดน และอาจจะประเด็นการออกมาแฉครั้งนี้)

    เจมี่ ไดมอน ผู้บริหาร JP Morgan: มองราคาหุ้นสหรัฐสูงเกิน แม้พื้นฐานหุ้นจะยังดี ความเสี่ยงเงินเฟ้อ ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ยังอยู่ เตือนว่าท้ายสุดราคาหุ้นอาจจะกลับไปสะท้อนมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริง (หุ้นตก)
    *ก่อนหน้านี้ เซียน Howard Mask, วอร์เรน ผ่าน เบิร์คไชน์ เตือนภาวะฟองสบู่

    ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่า

    ทอง ราคาเพิ่มต่อ จากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ความเสี่ยงการเมืองของโลก ทองทะลุ $2720 มีโอกาสทดสอบ $2780, $2800 ถ้าผ่านเป้าทดสอบถัดไปคือ $3022/oz. แต่ต้องระวังปัจจัยความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์อาจจะลดลงจากนโยบายทรัมป์ที่ต้องการลดความร้อนแรงความขัดแย้งระหว่างประเทศ ดังนั้นปัจจัยสำคัญกับราคาทองคำจะโฟกัสที่การแข็งค่า-อ่อนค่าของดอลลาร์เป็นหลัก
    ทองไทย เพิ่มได้ไม่แรงเนื่องจากเงินบาทแข็งค่า รับ: 44,150, 44,000 บาท << 2 แนว, ต้าน: 44,450, 44,650 บาท << 2 แนว

    น้ำมัน ราคาลดลง รับแรงกดดันจากนโยบายทรัมป์ที่จะขยายการผลิตเพิ่มในสหรัฐ

    อัตราผลตอบแทน
    ...................................
    วันนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุม ลุ้นนโยบายดอกเบี้ย (ปีที่แล้วจขึ้นดอกเบี้ย เกิด black monday) อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่า มีโอกาสจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ จากค่าแรงงานขึ้นในทุกภาคส่วน
    .........................................................
    จีน ตลาดเงิน ตลาดทุน หยุดตรุษจีน 28 มค. - 4 กพ.
    ช่วงก่อนเข้าวันหยุดยาว PBoC (ธนาคารกลางจีน) จะอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อดูแลสภาพคล่อง เนื่องจาก

    1. ความต้องการเงินสดเพิ่ม คนจีนจะถอนเงินสดเพื่อใช้ในการเดินทาง ท่องเที่ยว ของขวัญ (อั่งเปา) (红包, hóngbāo)
    2. ความต้องการเงินทุนจากบริษัทต่าง ๆ ช่วงตรุษจีนเป็นช่วงที่บริษัทจ่ายโบนัสให้กับพนักงานก่อนวันหยุดยาว และอาจจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ (ล่วงหน้า) ก่อนจะหยุดยาวด้วย
    3. สภาพคล่องธนาคารที่ตึง จากการถอนเงินสดที่เร่งตัวและการใช้จ่ายจากบริษัทเอกชน ทำให้สภาพคล่องของธนาคารมีภาวะตึง ทำให้ต้องการเงินทุนระยะสั้นเพื่อรักษาเสถียรภาพของการดำเนินการและการให้กู้ยืม
    4. ป้องกันความผันผวนในตลาดเงิน เนื่องจากถ้าเกิดภาวะสภาพคล่องหายไปจากระบบ อัตรากู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน (เช่น SHIBOR) อาจจะพุ่งแรงกระทบเสถียรภาพของตลาดเงิน
    5. สนับสุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น ตรุษจีนเป็นเทศกาลหลักที่มียอดใช้จ่ายสูงและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเยอะ
    การดูแลภาพรวมสภาพคล่องของตลาดเงินจะช่วยสนับสนุนโมเมนตัมของเศรษฐกิจโดยรวม

    PBoC เตรียมวงเงินให้บริษัทกู้ยืมเพื่อซื้อหุ้นคืน ตอนนี้มีบริษัทตอบรับร่วมโครงการมากกว่า 300 แห่ง มาร์เก็ตแคปรวมกว่า 10 พันล้านหยวน อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมโครงการนี้ ~2%
    ................................
    ไทย
    คาดส่งออกเดือนธ.ค. $24,000 ล้าน +7.4% y/y (พย. ~$25,000 ล้าน) ส่วนส่งออกปี 2568 ถ้านโยบายทรัมป์ไม่กระทบแรงมาก มองส่งออกยังไปได้
    สหรัฐเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของสินค้าไทย (~18% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) ปี 67 ไทยส่งออกไปสหรัฐ $54,956.2 ล้าน // นำเข้าสินค้าจากสหรัฐเป็นอันดับ 4 (6% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด) $19,528.6 ล้าน ไทยเป็นฝ่าย “เกินดุล” การค้ากับสหรัฐ $35,427.6 ล้าน ไทยเกินดุลการค้าสหรัฐต่อเนื่อง ~5 ปี (2561-2566)
    - สินค้าไทยที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงจนทำให้สหรัฐตกเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับไทย และมีความเสี่ยงถูกปรับขึ้นภาษีนำเข้า ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, โทรศัพท์มือถือ, ไดโอด-ทรานซิสเตอร์/อุปกรณ์กึ่งตัวนำแบบไวแสง (โซลาร์เซลส์), ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่,
    เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดคงที่, เครื่องพิมพ์ป้อนกระดาษเป็นม้วน, หม้อแปลงไฟฟ้า, เครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์, เครื่องปรับอากาศ, แผงวงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์, เพชร พลอย และรูปพรรณพร้อมส่วนประกอบ, เครื่องจักรไฟฟ้า, ตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง, เฟอร์นิเจอร์, ผลิตภัณฑ์จากไม้, ขนมหวานที่ไม่มีส่วนผสมของโกโก้ และสินค้าเกษตร/แปรรูป
    #เศรษฐกิจ

    สหรัฐ ทรัมป์ขู่ปูตินให้รีบยุติสงครามกับยูเครน ถ้าไม่ยุติจะคว่ำบาตรครั้งใหม่ ทรัมป์ 1.0 ไม่มีสงครามสู้รบ มีแต่ trade war ครั้งนี้มองว่าอาจจะเหมือนเดิม แต่อาจจะมีการเดินเกมเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้สหรัฐเพิ่ม เช่น ความต้องการพื้นที่ greenland คลองปานามา Elon แฉ stargate Masayoshi Son (ที่จะเป็นประธานโครงการ) ไม่มีเงินลงทุนสูงตามที่โครงการต้องการ (หุ้นเทสล่า -2% เมื่อคืน สวนกับหุ้นอื่นในกลุ่ม MEG 7 อาจจะเกิดจากนโยบายทรัมป์ที่ยกเลิกคำสั่งใช้รถยนต์ไฟฟ้าของไบเดน และอาจจะประเด็นการออกมาแฉครั้งนี้) เจมี่ ไดมอน ผู้บริหาร JP Morgan: มองราคาหุ้นสหรัฐสูงเกิน แม้พื้นฐานหุ้นจะยังดี ความเสี่ยงเงินเฟ้อ ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ยังอยู่ เตือนว่าท้ายสุดราคาหุ้นอาจจะกลับไปสะท้อนมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริง (หุ้นตก) *ก่อนหน้านี้ เซียน Howard Mask, วอร์เรน ผ่าน เบิร์คไชน์ เตือนภาวะฟองสบู่ ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่า ทอง ราคาเพิ่มต่อ จากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ความเสี่ยงการเมืองของโลก ทองทะลุ $2720 มีโอกาสทดสอบ $2780, $2800 ถ้าผ่านเป้าทดสอบถัดไปคือ $3022/oz. แต่ต้องระวังปัจจัยความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์อาจจะลดลงจากนโยบายทรัมป์ที่ต้องการลดความร้อนแรงความขัดแย้งระหว่างประเทศ ดังนั้นปัจจัยสำคัญกับราคาทองคำจะโฟกัสที่การแข็งค่า-อ่อนค่าของดอลลาร์เป็นหลัก ทองไทย เพิ่มได้ไม่แรงเนื่องจากเงินบาทแข็งค่า รับ: 44,150, 44,000 บาท << 2 แนว, ต้าน: 44,450, 44,650 บาท << 2 แนว น้ำมัน ราคาลดลง รับแรงกดดันจากนโยบายทรัมป์ที่จะขยายการผลิตเพิ่มในสหรัฐ อัตราผลตอบแทน ................................... วันนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุม ลุ้นนโยบายดอกเบี้ย (ปีที่แล้วจขึ้นดอกเบี้ย เกิด black monday) อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่า มีโอกาสจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ จากค่าแรงงานขึ้นในทุกภาคส่วน ......................................................... จีน ตลาดเงิน ตลาดทุน หยุดตรุษจีน 28 มค. - 4 กพ. ช่วงก่อนเข้าวันหยุดยาว PBoC (ธนาคารกลางจีน) จะอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อดูแลสภาพคล่อง เนื่องจาก 1. ความต้องการเงินสดเพิ่ม คนจีนจะถอนเงินสดเพื่อใช้ในการเดินทาง ท่องเที่ยว ของขวัญ (อั่งเปา) (红包, hóngbāo) 2. ความต้องการเงินทุนจากบริษัทต่าง ๆ ช่วงตรุษจีนเป็นช่วงที่บริษัทจ่ายโบนัสให้กับพนักงานก่อนวันหยุดยาว และอาจจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ (ล่วงหน้า) ก่อนจะหยุดยาวด้วย 3. สภาพคล่องธนาคารที่ตึง จากการถอนเงินสดที่เร่งตัวและการใช้จ่ายจากบริษัทเอกชน ทำให้สภาพคล่องของธนาคารมีภาวะตึง ทำให้ต้องการเงินทุนระยะสั้นเพื่อรักษาเสถียรภาพของการดำเนินการและการให้กู้ยืม 4. ป้องกันความผันผวนในตลาดเงิน เนื่องจากถ้าเกิดภาวะสภาพคล่องหายไปจากระบบ อัตรากู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน (เช่น SHIBOR) อาจจะพุ่งแรงกระทบเสถียรภาพของตลาดเงิน 5. สนับสุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น ตรุษจีนเป็นเทศกาลหลักที่มียอดใช้จ่ายสูงและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเยอะ การดูแลภาพรวมสภาพคล่องของตลาดเงินจะช่วยสนับสนุนโมเมนตัมของเศรษฐกิจโดยรวม PBoC เตรียมวงเงินให้บริษัทกู้ยืมเพื่อซื้อหุ้นคืน ตอนนี้มีบริษัทตอบรับร่วมโครงการมากกว่า 300 แห่ง มาร์เก็ตแคปรวมกว่า 10 พันล้านหยวน อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมโครงการนี้ ~2% ................................ ไทย คาดส่งออกเดือนธ.ค. $24,000 ล้าน +7.4% y/y (พย. ~$25,000 ล้าน) ส่วนส่งออกปี 2568 ถ้านโยบายทรัมป์ไม่กระทบแรงมาก มองส่งออกยังไปได้ สหรัฐเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของสินค้าไทย (~18% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) ปี 67 ไทยส่งออกไปสหรัฐ $54,956.2 ล้าน // นำเข้าสินค้าจากสหรัฐเป็นอันดับ 4 (6% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด) $19,528.6 ล้าน ไทยเป็นฝ่าย “เกินดุล” การค้ากับสหรัฐ $35,427.6 ล้าน ไทยเกินดุลการค้าสหรัฐต่อเนื่อง ~5 ปี (2561-2566) - สินค้าไทยที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงจนทำให้สหรัฐตกเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับไทย และมีความเสี่ยงถูกปรับขึ้นภาษีนำเข้า ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, โทรศัพท์มือถือ, ไดโอด-ทรานซิสเตอร์/อุปกรณ์กึ่งตัวนำแบบไวแสง (โซลาร์เซลส์), ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่, เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดคงที่, เครื่องพิมพ์ป้อนกระดาษเป็นม้วน, หม้อแปลงไฟฟ้า, เครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์, เครื่องปรับอากาศ, แผงวงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์, เพชร พลอย และรูปพรรณพร้อมส่วนประกอบ, เครื่องจักรไฟฟ้า, ตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง, เฟอร์นิเจอร์, ผลิตภัณฑ์จากไม้, ขนมหวานที่ไม่มีส่วนผสมของโกโก้ และสินค้าเกษตร/แปรรูป #เศรษฐกิจ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 962 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ ปี 2567
    แนวโน้มการส่งออกรถยนต์ของไทยในตลาดอาเซียน
    จะพ่ายแพ้ให้กับจีนเป็นครั้งแรก ในรอบ 9 ปี
    โดยไตรมาส 1/2567 ไทยส่งออกรถยนต์ในตลาดอาเซียน 23%
    ส่วนจีนส่งออกรถยนต์ในตลาดอาเซียน 27%

    🚩ซึ่งรถยนต์ปิกอัพ เป็นกลุ่มเดียวที่ไทยส่งออกในตลาดอาเซียนได้มากที่สุด
    ส่วนจีน จะครองตลาดรถบรรทุกขนาดมากกว่า 5 ตัน และรถยนต์ไฟฟ้า

    ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกรถยนต์ #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ ปี 2567 แนวโน้มการส่งออกรถยนต์ของไทยในตลาดอาเซียน จะพ่ายแพ้ให้กับจีนเป็นครั้งแรก ในรอบ 9 ปี โดยไตรมาส 1/2567 ไทยส่งออกรถยนต์ในตลาดอาเซียน 23% ส่วนจีนส่งออกรถยนต์ในตลาดอาเซียน 27% 🚩ซึ่งรถยนต์ปิกอัพ เป็นกลุ่มเดียวที่ไทยส่งออกในตลาดอาเซียนได้มากที่สุด ส่วนจีน จะครองตลาดรถบรรทุกขนาดมากกว่า 5 ตัน และรถยนต์ไฟฟ้า ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกรถยนต์ #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 659 มุมมอง 0 รีวิว