• แอดมิน ได้มีโอกาสคุยกับน้องที่มาจาก
    เวียงจันทน์ ประเทศลาว
    เลยลองถามเหตุผลว่า ทำไมถึงมาทำงานที่เมืองไทย?
    และค่าครองชีพ ที่ไทยกับเวียงจันทน์ ที่ไหนสูงกว่ากัน?

    น้องตอบว่า :

    1. สาเหตุที่มาทำงานที่เมืองไทย เพราะค่าเงินบาท
    แข็งค่ากว่า ค่าเงินกีบ(ลาว) เมื่อนำไปแลกที่เวียงจันทน์ จะได้
    จำนวนเงินที่เยอะกว่า (ดูอัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 10 ก.ย.2567
    ค่าเงิน 1 บาท= 653.01 กีบ)

    2. ค่าครองชีพ ไม่น่าเชื่อว่าที่เมืองไทยจะถูกกว่า น้องบอกว่า
    ที่นี่สามารถซื้อหมูปิ้ง และไก่ย่าง ไม้ละ 5-10 บาท ได้
    แต่ที่เวียงจันทน์ อย่างต่ำต้องเจอไม้ละ 20 บาท
    เมืองไทยสามารถอยู่ได้สบายๆ
    (อัตราเงินเฟ้อที่ลาว ปัจจุบัน อยู่ที่ 25%) ทำให้สินค้าอุปโภค
    บริโภคภายในประเทศมีราคาที่สูง)


    เรื่องนี้สะท้อนได้หลายเรื่อง ที่สำคัญคือ

    *การเคลื่อนย้ายแรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้าน
    เพื่อเข้ามาทำงานที่เมืองไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น

    *ค่าครองชีพ ที่เมืองไทย ถือว่า อยู่ในระดับที่ไม่สูง
    ดังนั้น ชาวต่างชาติ จึงสนใจเข้ามาอยู่ที่เมืองไทย
    มีแนวโน้มที่สูงขึ้น จุดนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญ
    ของเมืองไทย


    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥 แอดมิน ได้มีโอกาสคุยกับน้องที่มาจาก เวียงจันทน์ ประเทศลาว เลยลองถามเหตุผลว่า ทำไมถึงมาทำงานที่เมืองไทย? และค่าครองชีพ ที่ไทยกับเวียงจันทน์ ที่ไหนสูงกว่ากัน? น้องตอบว่า : 🚩1. สาเหตุที่มาทำงานที่เมืองไทย เพราะค่าเงินบาท แข็งค่ากว่า ค่าเงินกีบ(ลาว) เมื่อนำไปแลกที่เวียงจันทน์ จะได้ จำนวนเงินที่เยอะกว่า (ดูอัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 10 ก.ย.2567 ค่าเงิน 1 บาท= 653.01 กีบ) 🚩2. ค่าครองชีพ ไม่น่าเชื่อว่าที่เมืองไทยจะถูกกว่า น้องบอกว่า ที่นี่สามารถซื้อหมูปิ้ง และไก่ย่าง ไม้ละ 5-10 บาท ได้ แต่ที่เวียงจันทน์ อย่างต่ำต้องเจอไม้ละ 20 บาท เมืองไทยสามารถอยู่ได้สบายๆ (อัตราเงินเฟ้อที่ลาว ปัจจุบัน อยู่ที่ 25%) ทำให้สินค้าอุปโภค บริโภคภายในประเทศมีราคาที่สูง) เรื่องนี้สะท้อนได้หลายเรื่อง ที่สำคัญคือ 🚩*การเคลื่อนย้ายแรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเข้ามาทำงานที่เมืองไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น 🚩*ค่าครองชีพ ที่เมืองไทย ถือว่า อยู่ในระดับที่ไม่สูง ดังนั้น ชาวต่างชาติ จึงสนใจเข้ามาอยู่ที่เมืองไทย มีแนวโน้มที่สูงขึ้น จุดนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญ ของเมืองไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 543 Views 0 Reviews
  • BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้

    เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก

    กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter)

    นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567

    สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว)

    ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ

    โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

    #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้ เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567 สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว) ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 377 Views 0 Reviews
  • บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    14
    1 Comments 0 Shares 922 Views 0 Reviews
  • เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์

    ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์

    ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท

    แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

    จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท

    นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้

    #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์ ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้ #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    Like
    2
    0 Comments 1 Shares 562 Views 0 Reviews