• บรรดาประเทศคู่ค้าของอเมริกา เตรียมพร้อมรับมือภาษีศุลกากรตอบโต้ที่ทรัมป์เล็งประกาศ ท่ามกลางความกังวลว่า มาตรการเช่นนี้อาจย้อนศรทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เองเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยล่าสุดโกลด์แมน แซคส์คาดว่า มีโอกาสเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 35% ที่สภาวการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น กระนั้น ไอเอ็มเอฟแม้เชื่อแผนการของทรัมป์อาจสร้างความวิตกกังวล แต่เห็นว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000031228
    บรรดาประเทศคู่ค้าของอเมริกา เตรียมพร้อมรับมือภาษีศุลกากรตอบโต้ที่ทรัมป์เล็งประกาศ ท่ามกลางความกังวลว่า มาตรการเช่นนี้อาจย้อนศรทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เองเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยล่าสุดโกลด์แมน แซคส์คาดว่า มีโอกาสเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 35% ที่สภาวการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น กระนั้น ไอเอ็มเอฟแม้เชื่อแผนการของทรัมป์อาจสร้างความวิตกกังวล แต่เห็นว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000031228
    Like
    Haha
    3
    0 Comments 0 Shares 575 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ จะยกเว้นบรรดาผู้ผลิตรถยนต์จากมาตรการรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกเป็นเวลา 1 เดือน ตราบใดที่พวกเขาปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากการเปิดเผยของทำเนียบขาว
    .
    นกอจากนี้ ทำเนียบขาวยังเผยด้วยว่าประธานาธิบดีทรัมป์ เปิดกว้างสำหรับพิจารณามอบข้อยกเว้นจากการรีดภาษีสำหรับสินค้าอื่นๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ที่ผ่านมา
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ แสดงจุดยืนว่าเขายังไม่ล้มเลิกสงครามการค้ากับแคนาดาและเม็กซิโก ในขณะที่เขาพยายามกดดันทั้ง 2 ประเทศ ที่ปราบปรามการลักลอบขนยาเฟนทานิล ทั้งนี้หลังจากพุดคุยทางโทรศัพท์กับ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ทรัมป์บอกว่าเขาไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ดีขึ้นแล้วหรือไม่
    .
    "เขาบอกว่ามันดีขึ้นแล้ว แต่ผมบอกกลับไปว่า มันยังไม่เพียงพอ" ทรัมป์เขียนบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง ส่วนทำเนียบนายกรัฐมนตรีแคนาดาระบุว่า "การพูดคุยทางโทรศัพท์จบลงด้วยรูปแบบความเป็นมิตร!" พร้อมบอกว่าจะมีการเดินหน้าเจรจากันต่อไป
    .
    ข้อยกเว้นจากการถูกรีดภาษี กระตุ้นให้บรรดาหุ้นยานยนต์ฟื้นตัวถ้วนหน้า หลังจากความตึงเครียดทางการค้าที่ก่อความไม่แน่นอนแก่เหล่าผู้ประกอบการสหรัฐฯ และกัดเซาะความเชื่อมั่นผู้บริโภค ได้นำมาซึ่งแรงขายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ความเคลื่อนไหวยกเว้นภาษีเป็นเวลา 1 เดือน สำหรับรถยนต์และรถกระบะที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในเนื้อหาของข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา ตามกรอบของทรัมป์ จะเป็นประโยชน์กับฟอร์ดและจีเอ็ม 2 ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกา ตามความเห็นของนักวิเคราะห์
    .
    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ อาจละเว้นรีดภาษี 10% พลังงานนำเข้าจากแคนาดา อย่างเช่นน้ำมันดิบและเบนซิน ที่ปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรีที่มีชื่อว่า USMCA
    .
    คำขู่รีดภาษีของทรัมป์ ก่อความเสียหายร้ายแรงในความสัมพันธ์ระหว่าง 3 ชาติคู่หูทางการค้า แคนาดาตอบโต้ด้วยว่าการรีดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ อย่างเจาะจง ส่วน เม็กซิโก ก็ประกาศแก้แค้นเช่นกัน
    .
    การรีดภาษีเสี่ยงบั่นทอนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของแคนาดา และยิ่งไปกว่านั้นอาจโหมกระพือภาวะถดถอย เนื่องจากประเทศแห่งนี้พึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ ในการส่งออก คิดเป็นสัดส่วนถึง 75% และนำเข้าสินค้าจากอเมริกา คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด
    .
    ความตึงเครียดทางการค้าอาจก่อความเจ็บปวดแก่สหรัฐฯ เช่นกัน จากข้อมูลใหม่ที่เผยแพร่ในวันพุธ (5 มี.ค.) พบว่าการเติบโตของการจ้างงานกำลังชะลอตัว เช่นเดียวกับค่าจ้างสำหรับแรงงานที่เปลี่ยนงานใหม่ก็ลดลง ขณะที่รายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) พบความไม่แน่ใจอย่างกว้างขวางในหมู่ภาคธุรกิจทั่วอเมริกาต่อนโยบายต่างๆ ของทรัมป์ และบางธุรกิจถึงขั้นตัดสินใจปรับขึ้นราคาไปแล้ว โดยไม่รอให้มาตรการรีดภาษีมีผลบังคับใช้
    .
    นอกจากแคนาดาและเม็กซิโกแล้ว ทรัมป์ยังกำหนดมาตรการรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอีก 10% กระตุ้นให้ปักกิ่งตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมเช่นกัน
    .
    ถ้อยแถลงเกี่ยวกับการยกเว้นภาษี มีขึ้น 1 วันหลังจากทรัมป์พูดคุยทางโทรศัพท์กับซีอีโอของฟอร์ด จีเอ็ม และสเตลแลนทิส
    .
    รถยนต์ที่ผลิตโดยทั้ง 3 บริษัท จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ USMCA ที่กำหนดให้ต้องมีชิ้นส่วนที่ผลิตในอเมริกาเหนือ 75% เพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ตลาดอเมริกา โดยไม่จำเป็นต้องเสียภาษีใดๆ
    .
    นอกจากนี้ กฎเกณฑ์ดังกล่าวยังบังคับให้ส่วนประกอบ 40% ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลต้องผลิตในสหรัฐฯ หรือแคนาดา และต้องเป็นชิ้นส่วนหลักๆ ในนั้นรวมถึงเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ตัวถังและโครงช่วงล่าง ในขณะที่รถกระบะนั้น กำหนดไว้ที่ 45%
    .
    แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมเผยว่าบรรดาผู้ผลิตรถยนต์สนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนของสหรัฐฯ แต่ต้องการความแน่นอนเกี่ยวกับนโยบายรีดภาษี เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ด้านมลพิษ ก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ
    .
    มาตรการยกเว้นนี้ ยังก่อประโยชน์กับรถยนต์แบรนด์ต่างชาติบางส่วน ที่มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงฮอนด้าและโตโยต้า แต่คู่แข่งบางแห่งที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกรีดภาษี 25% เต็มจำนวน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021625
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ จะยกเว้นบรรดาผู้ผลิตรถยนต์จากมาตรการรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกเป็นเวลา 1 เดือน ตราบใดที่พวกเขาปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากการเปิดเผยของทำเนียบขาว . นกอจากนี้ ทำเนียบขาวยังเผยด้วยว่าประธานาธิบดีทรัมป์ เปิดกว้างสำหรับพิจารณามอบข้อยกเว้นจากการรีดภาษีสำหรับสินค้าอื่นๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ที่ผ่านมา . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ แสดงจุดยืนว่าเขายังไม่ล้มเลิกสงครามการค้ากับแคนาดาและเม็กซิโก ในขณะที่เขาพยายามกดดันทั้ง 2 ประเทศ ที่ปราบปรามการลักลอบขนยาเฟนทานิล ทั้งนี้หลังจากพุดคุยทางโทรศัพท์กับ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ทรัมป์บอกว่าเขาไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ดีขึ้นแล้วหรือไม่ . "เขาบอกว่ามันดีขึ้นแล้ว แต่ผมบอกกลับไปว่า มันยังไม่เพียงพอ" ทรัมป์เขียนบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง ส่วนทำเนียบนายกรัฐมนตรีแคนาดาระบุว่า "การพูดคุยทางโทรศัพท์จบลงด้วยรูปแบบความเป็นมิตร!" พร้อมบอกว่าจะมีการเดินหน้าเจรจากันต่อไป . ข้อยกเว้นจากการถูกรีดภาษี กระตุ้นให้บรรดาหุ้นยานยนต์ฟื้นตัวถ้วนหน้า หลังจากความตึงเครียดทางการค้าที่ก่อความไม่แน่นอนแก่เหล่าผู้ประกอบการสหรัฐฯ และกัดเซาะความเชื่อมั่นผู้บริโภค ได้นำมาซึ่งแรงขายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา . ความเคลื่อนไหวยกเว้นภาษีเป็นเวลา 1 เดือน สำหรับรถยนต์และรถกระบะที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในเนื้อหาของข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา ตามกรอบของทรัมป์ จะเป็นประโยชน์กับฟอร์ดและจีเอ็ม 2 ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกา ตามความเห็นของนักวิเคราะห์ . ขณะเดียวกัน ทรัมป์ อาจละเว้นรีดภาษี 10% พลังงานนำเข้าจากแคนาดา อย่างเช่นน้ำมันดิบและเบนซิน ที่ปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรีที่มีชื่อว่า USMCA . คำขู่รีดภาษีของทรัมป์ ก่อความเสียหายร้ายแรงในความสัมพันธ์ระหว่าง 3 ชาติคู่หูทางการค้า แคนาดาตอบโต้ด้วยว่าการรีดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ อย่างเจาะจง ส่วน เม็กซิโก ก็ประกาศแก้แค้นเช่นกัน . การรีดภาษีเสี่ยงบั่นทอนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของแคนาดา และยิ่งไปกว่านั้นอาจโหมกระพือภาวะถดถอย เนื่องจากประเทศแห่งนี้พึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ ในการส่งออก คิดเป็นสัดส่วนถึง 75% และนำเข้าสินค้าจากอเมริกา คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด . ความตึงเครียดทางการค้าอาจก่อความเจ็บปวดแก่สหรัฐฯ เช่นกัน จากข้อมูลใหม่ที่เผยแพร่ในวันพุธ (5 มี.ค.) พบว่าการเติบโตของการจ้างงานกำลังชะลอตัว เช่นเดียวกับค่าจ้างสำหรับแรงงานที่เปลี่ยนงานใหม่ก็ลดลง ขณะที่รายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) พบความไม่แน่ใจอย่างกว้างขวางในหมู่ภาคธุรกิจทั่วอเมริกาต่อนโยบายต่างๆ ของทรัมป์ และบางธุรกิจถึงขั้นตัดสินใจปรับขึ้นราคาไปแล้ว โดยไม่รอให้มาตรการรีดภาษีมีผลบังคับใช้ . นอกจากแคนาดาและเม็กซิโกแล้ว ทรัมป์ยังกำหนดมาตรการรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอีก 10% กระตุ้นให้ปักกิ่งตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมเช่นกัน . ถ้อยแถลงเกี่ยวกับการยกเว้นภาษี มีขึ้น 1 วันหลังจากทรัมป์พูดคุยทางโทรศัพท์กับซีอีโอของฟอร์ด จีเอ็ม และสเตลแลนทิส . รถยนต์ที่ผลิตโดยทั้ง 3 บริษัท จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ USMCA ที่กำหนดให้ต้องมีชิ้นส่วนที่ผลิตในอเมริกาเหนือ 75% เพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ตลาดอเมริกา โดยไม่จำเป็นต้องเสียภาษีใดๆ . นอกจากนี้ กฎเกณฑ์ดังกล่าวยังบังคับให้ส่วนประกอบ 40% ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลต้องผลิตในสหรัฐฯ หรือแคนาดา และต้องเป็นชิ้นส่วนหลักๆ ในนั้นรวมถึงเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ตัวถังและโครงช่วงล่าง ในขณะที่รถกระบะนั้น กำหนดไว้ที่ 45% . แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมเผยว่าบรรดาผู้ผลิตรถยนต์สนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนของสหรัฐฯ แต่ต้องการความแน่นอนเกี่ยวกับนโยบายรีดภาษี เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ด้านมลพิษ ก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ . มาตรการยกเว้นนี้ ยังก่อประโยชน์กับรถยนต์แบรนด์ต่างชาติบางส่วน ที่มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงฮอนด้าและโตโยต้า แต่คู่แข่งบางแห่งที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกรีดภาษี 25% เต็มจำนวน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021625 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    17
    0 Comments 0 Shares 2520 Views 0 Reviews
  • พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน
    .
    ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก
    .
    ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม
    .
    เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้
    .
    โล่ซิลิคอน
    .
    ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน
    .
    การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป
    .
    ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี
    .
    ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี
    .
    เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย
    .
    แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง
    .
    โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต
    .
    การควบคุมทีเอสเอ็มซี
    .
    ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน
    .
    สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน
    .
    ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
    .
    สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา
    .
    ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา
    .
    หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา
    .
    การรับประกันความมั่นคง
    .
    อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา
    .
    ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน
    .
    ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น
    .
    นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน
    .
    เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน . ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก . ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม . เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้ . โล่ซิลิคอน . ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน . การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป . ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี . ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี . เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย . แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง . โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต . การควบคุมทีเอสเอ็มซี . ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน . สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน . ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว . สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา . ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา . หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา . การรับประกันความมั่นคง . อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา . ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน . ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น . นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน . เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    0 Comments 0 Shares 2369 Views 0 Reviews
  • 2025 ปีแห่งวิกฤตสภาพคล่องทางการเงิน (ep.2) : คนเคาะข่าว 03-03-68
    : อ.ทวีสุข ธรรมศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #วิกฤตสภาพคล่อง #เศรษฐกิจโลก #การเงิน2025 #คนเคาะข่าว #ตลาดการเงิน #วิกฤตเศรษฐกิจ #เงินเฟ้อ #ดอกเบี้ย #ลงทุน #วิเคราะห์เศรษฐกิจ #ทวีสุขธรรมศักดิ์ #ThaiTimes #ข่าวเศรษฐกิจ #ตลาดหุ้น #เงินทุน #ภาวะถดถอย
    2025 ปีแห่งวิกฤตสภาพคล่องทางการเงิน (ep.2) : คนเคาะข่าว 03-03-68 : อ.ทวีสุข ธรรมศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #วิกฤตสภาพคล่อง #เศรษฐกิจโลก #การเงิน2025 #คนเคาะข่าว #ตลาดการเงิน #วิกฤตเศรษฐกิจ #เงินเฟ้อ #ดอกเบี้ย #ลงทุน #วิเคราะห์เศรษฐกิจ #ทวีสุขธรรมศักดิ์ #ThaiTimes #ข่าวเศรษฐกิจ #ตลาดหุ้น #เงินทุน #ภาวะถดถอย
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 611 Views 8 0 Reviews
  • ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25%
    .
    ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน
    .
    สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด
    .
    เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา
    .
    อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ
    .
    เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ
    .
    เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่
    .
    โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว
    .
    ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน
    .
    ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์
    .
    ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
    .
    ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง
    .
    ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ
    .
    นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย . นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25% . ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน . สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด . เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา . อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ . เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ . เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่ . โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว . ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน . ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์ . ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม . ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย . ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง . ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ . นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    12
    0 Comments 0 Shares 2637 Views 0 Reviews
  • ออนแทรีโอของแคนาดาตัดสินใจที่จะยกเลิกสัญญามูลค่า 100 ล้านดอลลาร์แคนาดากับบริษัท Starlink ของอีลอน มัสก์ การตัดสินใจนี้เป็นการตอบโต้ภาษีที่สหรัฐฯ กำหนดขึ้นมาใหม่จากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

    ภาษีใหม่ของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของแคนาดา โดยมีแผนที่จะเก็บภาษี 25% สำหรับสินค้านำเข้าจากแคนาดาทั้งหมด ยกเว้นน้ำมันที่ต้องเสียภาษี 10% มาตรการเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจแคนาดาเข้าสู่ภาวะถดถอยหากยังคงดำเนินต่อไป โดยบริษัทในสหรัฐฯ จะสูญเสียรายได้หลายพันล้านดอลลาร์และมีเพียงโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะต้องรับผิดชอบ

    จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาประกาศว่าจะเก็บภาษี 25% จากสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 155 พันล้านดอลลาร์แคนาดา เพื่อตอบโต้ หากมาตรการภาษียังคงดำเนินต่อไป แคนาดาอาจตกลงเจรจากับสหรัฐฯ แต่ไม่มีการคาดหวังว่าจะได้ยืดหยุ่นเหมือนที่ได้รับการยืดหยุ่นชั่วคราวจากเม็กซิโก

    การตัดสินใจของออนแทรีโอแสดงให้เห็นถึงความท้าทายในระดับนานาชาติที่เกิดขึ้นจากการกำหนดภาษีและการตอบโต้ซึ่งกันและกัน โดยบริษัทในสหรัฐฯ และแคนาดาต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองที่ซับซ้อน

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/04/ontario-cancels-starlink-contract-in-latest-canadian-tariffs-protest
    ออนแทรีโอของแคนาดาตัดสินใจที่จะยกเลิกสัญญามูลค่า 100 ล้านดอลลาร์แคนาดากับบริษัท Starlink ของอีลอน มัสก์ การตัดสินใจนี้เป็นการตอบโต้ภาษีที่สหรัฐฯ กำหนดขึ้นมาใหม่จากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ภาษีใหม่ของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของแคนาดา โดยมีแผนที่จะเก็บภาษี 25% สำหรับสินค้านำเข้าจากแคนาดาทั้งหมด ยกเว้นน้ำมันที่ต้องเสียภาษี 10% มาตรการเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจแคนาดาเข้าสู่ภาวะถดถอยหากยังคงดำเนินต่อไป โดยบริษัทในสหรัฐฯ จะสูญเสียรายได้หลายพันล้านดอลลาร์และมีเพียงโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะต้องรับผิดชอบ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาประกาศว่าจะเก็บภาษี 25% จากสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 155 พันล้านดอลลาร์แคนาดา เพื่อตอบโต้ หากมาตรการภาษียังคงดำเนินต่อไป แคนาดาอาจตกลงเจรจากับสหรัฐฯ แต่ไม่มีการคาดหวังว่าจะได้ยืดหยุ่นเหมือนที่ได้รับการยืดหยุ่นชั่วคราวจากเม็กซิโก การตัดสินใจของออนแทรีโอแสดงให้เห็นถึงความท้าทายในระดับนานาชาติที่เกิดขึ้นจากการกำหนดภาษีและการตอบโต้ซึ่งกันและกัน โดยบริษัทในสหรัฐฯ และแคนาดาต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองที่ซับซ้อน https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/04/ontario-cancels-starlink-contract-in-latest-canadian-tariffs-protest
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Ontario cancels Starlink contract in latest Canadian tariffs protest
    OTTAWA (Reuters) - The Canadian province of Ontario on Monday announced it was cancelling a C$100 million ($68.12 million) contract with Elon Musk's Starlink, the latest retaliatory move against tariffs announced by U.S. President Donald Trump.
    0 Comments 0 Shares 340 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เลื่อนมาตรการรีดภาษีที่กำหนดเล่นงานเม็กซิโกออกไป 1 เดือน หลังในวันจันทร์ (3 ก.พ.) เม็กซิโก ตอบตกลงเสริมกำลังตามแนวชายแดนทางเหนือของประเทศ ด้วยสมาชิกกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ 10,000 นาย เพื่อสกัดการไหลบ่าเข้ามาของยาเสพติดผิดกฎหมาย
    .
    ข้อตกลงนี้ยังรวมไปถึงคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯ ที่รับปากว่าจะขัดขวางการลักลอบขนอาวุธอานุภาพสูงเข้าไปยังเม็กซิโก จากการเปิดเผยของเคลาเดีย ไชน์บาว์ม ประธานาธิบดีเม็กซิโก ที่โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ หลังจากผู้นำทั้ง 2 ชาติ พูดคุยหารือกันทางโทรศัพท์ในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าที่มาตรการรีดภาษีของอเมริกาที่กำหนดเล่นงานเม็กซิโก จีนและแคนาดา จะมีผลบังคับใช้ ในความเคลื่อนไหวที่พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่าจะก่อความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ในนั้นรวมถึงราคาสินค้าที่เพงขึ้นสำหรับภาคธุรกิจและพวกผู้บริโภคอเมริกา
    .
    ทรัมป์ เขียนบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง ระบุว่าสหรัฐฯ และเม็กซิโก จะใช้ช่วงเวลาแห่งการระงับ 1 เดือน ในการประสานงานเจรจาเพิ่มเติม "ผมตั้งตาคอยมีส่วนร่วมในการเจรจาเหล่านี้กับประธานาธิบดีไชน์บาว์ม ในขณะที่เราพยายามบรรลุข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ" ส่วนไชน์บาว์ม กล่าวระหว่างแถลงข่าวว่า "เรามีเวลาในเดือนนี้ ที่จะทำงานและโน้มน้าวกันและกัน นี่คือหนทางที่ดีที่สุดในการเดินหน้า"
    .
    ข้อตกลงนี้มีขึ้นไม่ถึง 48 ชั่วโมง หลังจาก ทรัมป์ แถลงจะรีดภาษีอย่างครอบคลุมสินค้าต่างๆ จาก 3 ชาติคู่หูทางการค้าลำดับต้นของสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมกันกว่า 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่ข้อตกลงช่วยคลายแรงกดดันแก่เม็กซิโกในเบื้องต้น แต่แนวโน้มการบรรเทาโทษให้แคนาดาและจีน ดูเหมือนจะเลือนราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาติเพื่อนบ้านทางเหนือของอเมริกา ที่ทรัมป์และคณะทำงานของเขายังคงส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่ลดละ
    .
    "เราไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดีนักจากแคนาดา และเราจำเป็นต้องทำแบบนั้นเช่นกัน" ทรัมป์ กล่าวระหว่างลงนามในคำสั่งบริหารที่ทำเนียบขาว
    .
    ทรัมป์ เปิดเผยในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ว่าได้พูดคุยกับ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาและจะมีการหารือกันอีกรอบในตอนบ่าย (ตามเวลาท้องถิ่น) อย่างไรก็ตาม มาตรการรีดภาษีเล่นงานแคนาดาและจีน ยังคงมีแนวโน้มเริ่มขึ้นตอน 00.01 น.ของวันอังคาร (ราว 12.01 น.ของวันพุธ ตามเวลาในเมืองไทย) และแคนาดา ได้แถลงมาตรการรีดภาษีตอบโต้ออกมาแล้ว
    .
    ระหว่างกล่าวในวอชิงตันเมื่อวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) ทรัมป์ บ่งชี้ว่าสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 ชาติ อาจเป็นเป้าหมายต่อไปของเขา แต่ไม่ได้บอกว่าเมื่อไหร่ "พวกเขาไม่ยอมรับรถของเรา พวกเขาไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์ฟาร์มของเรา พวกเขาแทบไม่เปิดรับอะไรเลย ผิดกับเราที่อ้าแขนรับทุกๆ อย่างจากพวกเขา" ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าว
    .
    บรรดาผู้นำยุโรป ณ ที่ประชุมซัมมิตอย่างไม่เป็นทางการในบรัสเซลส์ แสดงความเห็นในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ว่ายุโรปจะเตรียมพร้อมสำหรับตอบโต้กลับ หากว่าสหรัฐฯ กำหนดมาตรการรีดภาษีเล่นงานพวกเขา แต่ก็เรียกร้องขอความมีเหตุมีผลและการเจรจาตกลงกัน
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ แย้มว่าสหราชอาณาจักร ซึ่งถอนตัวออกจากอียูในปี 2020 อาจรอดพ้นจากมาตรการรีดภาษี
    .
    สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าและคู่หูด้านการลงทุนรายใหญ่ที่สุดของอียู อ้างอิงข้อมูลจากยูโรสแตท พบว่าปี 2023 สำหรัฐฯ ขาดดุลการค้าอียู 155,800 ล้านยูโร ในการค้าขายสินค้าระหว่างกัน แต่ก็ชดเชยด้วยการเกินดุลการค้า 104,000 ล้านยูโร ในด้านการบริการ
    .
    พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่าแผนรีดภาษีเม็กซิโกและแคนาดา 25% และจีน 10% ของทรัมป์ จะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและผลักให้ราคาข้าวของแพงขึ้นสำหรับชาวอเมริกา
    .
    สภาหอการค้านานาชาติ ประเมินว่ามาตรการรีดภาษีจะนำให้การส่งออกของเม็กซิโกลดลง 10% และกระทบจีดีพีของประเทศแห่งนี้ราว 4% ใน 1 ปี ส่วนมาตรการรีดภาษีแคนาดา จะทำให้จีดีพีของประเทศแห่งนี้ลดลง 2.6%
    .
    ทรัมป์ ยอมรับเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ ว่า การรีดภาษีอาจก่อความเจ็บปวดในระยะสั้นแก่บรรดาผู้บริโภคสหรัฐฯ แต่กระนั้นก็อ้างว่ามาตรการรีดภาษีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจำกัดคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการลักลอบขนยาเสพติด รวมถึงกระตุ้นอุตสาหกรรมภายในประเทศ
    .
    นักวิเคราะห์คนอื่นๆ มองว่ามาตรการรีดภาษีอาจผลักให้แคนาดาและเม็กซิโก เข้าสู่ภาวะถดถอยและโหมกระพือภาวะ Stagflation (สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อกลับพุ่ง และคนว่างงานสูงลิ่ว) ภายในประเทศ ส่วนในยุโรป พวกนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่ามาตรการของทรัมป์ ที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% กับสินค้านำเข้าจากอียู จะกระทบกับจีดีพีของกลุ่มราว 0.5%
    .
    ทำเนียบขาวไม่ได้ระบุรายละเอียดอย่างเจาะจงว่าก้าวย่างใดบ้างที่จะช่วยแคนาดาและจีน รอดพ้นจากการรีดภาษี ในขณะที่ ทรัมป์ ประกาศกร้าว่าจะยังคงเดินหน้าบังคับใช้มาตรการนี้ไปจนกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า "สถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติ" เกี่ยวกับยาเฟนทานิลและคนเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ไหลบ่าเข้าสู่สหรัฐฯ จะยุติลง
    .
    จีน เรียกปัญหายาเฟนทานิลว่าเป็นปัญหาของอเมริกาเอง และบอกว่าจะยื่นคัดค้านมาตรการรีดภาษี ณ องค์การการค้าโลกและใช้มาตรการอื่นๆ ตอบโต้ แต่ก็เปิดกว้างสำหรับการเจรจาเช่นกัน ส่วนแคนาดาบอกว่าจะดำเนินการทางกฎหมายภายใต้องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดค้านมาตรการรีดภาษีของทรัมป์
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011137
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เลื่อนมาตรการรีดภาษีที่กำหนดเล่นงานเม็กซิโกออกไป 1 เดือน หลังในวันจันทร์ (3 ก.พ.) เม็กซิโก ตอบตกลงเสริมกำลังตามแนวชายแดนทางเหนือของประเทศ ด้วยสมาชิกกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ 10,000 นาย เพื่อสกัดการไหลบ่าเข้ามาของยาเสพติดผิดกฎหมาย . ข้อตกลงนี้ยังรวมไปถึงคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯ ที่รับปากว่าจะขัดขวางการลักลอบขนอาวุธอานุภาพสูงเข้าไปยังเม็กซิโก จากการเปิดเผยของเคลาเดีย ไชน์บาว์ม ประธานาธิบดีเม็กซิโก ที่โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ หลังจากผู้นำทั้ง 2 ชาติ พูดคุยหารือกันทางโทรศัพท์ในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าที่มาตรการรีดภาษีของอเมริกาที่กำหนดเล่นงานเม็กซิโก จีนและแคนาดา จะมีผลบังคับใช้ ในความเคลื่อนไหวที่พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่าจะก่อความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ในนั้นรวมถึงราคาสินค้าที่เพงขึ้นสำหรับภาคธุรกิจและพวกผู้บริโภคอเมริกา . ทรัมป์ เขียนบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง ระบุว่าสหรัฐฯ และเม็กซิโก จะใช้ช่วงเวลาแห่งการระงับ 1 เดือน ในการประสานงานเจรจาเพิ่มเติม "ผมตั้งตาคอยมีส่วนร่วมในการเจรจาเหล่านี้กับประธานาธิบดีไชน์บาว์ม ในขณะที่เราพยายามบรรลุข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ" ส่วนไชน์บาว์ม กล่าวระหว่างแถลงข่าวว่า "เรามีเวลาในเดือนนี้ ที่จะทำงานและโน้มน้าวกันและกัน นี่คือหนทางที่ดีที่สุดในการเดินหน้า" . ข้อตกลงนี้มีขึ้นไม่ถึง 48 ชั่วโมง หลังจาก ทรัมป์ แถลงจะรีดภาษีอย่างครอบคลุมสินค้าต่างๆ จาก 3 ชาติคู่หูทางการค้าลำดับต้นของสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมกันกว่า 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่ข้อตกลงช่วยคลายแรงกดดันแก่เม็กซิโกในเบื้องต้น แต่แนวโน้มการบรรเทาโทษให้แคนาดาและจีน ดูเหมือนจะเลือนราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาติเพื่อนบ้านทางเหนือของอเมริกา ที่ทรัมป์และคณะทำงานของเขายังคงส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่ลดละ . "เราไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดีนักจากแคนาดา และเราจำเป็นต้องทำแบบนั้นเช่นกัน" ทรัมป์ กล่าวระหว่างลงนามในคำสั่งบริหารที่ทำเนียบขาว . ทรัมป์ เปิดเผยในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ว่าได้พูดคุยกับ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาและจะมีการหารือกันอีกรอบในตอนบ่าย (ตามเวลาท้องถิ่น) อย่างไรก็ตาม มาตรการรีดภาษีเล่นงานแคนาดาและจีน ยังคงมีแนวโน้มเริ่มขึ้นตอน 00.01 น.ของวันอังคาร (ราว 12.01 น.ของวันพุธ ตามเวลาในเมืองไทย) และแคนาดา ได้แถลงมาตรการรีดภาษีตอบโต้ออกมาแล้ว . ระหว่างกล่าวในวอชิงตันเมื่อวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) ทรัมป์ บ่งชี้ว่าสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 ชาติ อาจเป็นเป้าหมายต่อไปของเขา แต่ไม่ได้บอกว่าเมื่อไหร่ "พวกเขาไม่ยอมรับรถของเรา พวกเขาไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์ฟาร์มของเรา พวกเขาแทบไม่เปิดรับอะไรเลย ผิดกับเราที่อ้าแขนรับทุกๆ อย่างจากพวกเขา" ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าว . บรรดาผู้นำยุโรป ณ ที่ประชุมซัมมิตอย่างไม่เป็นทางการในบรัสเซลส์ แสดงความเห็นในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ว่ายุโรปจะเตรียมพร้อมสำหรับตอบโต้กลับ หากว่าสหรัฐฯ กำหนดมาตรการรีดภาษีเล่นงานพวกเขา แต่ก็เรียกร้องขอความมีเหตุมีผลและการเจรจาตกลงกัน . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ แย้มว่าสหราชอาณาจักร ซึ่งถอนตัวออกจากอียูในปี 2020 อาจรอดพ้นจากมาตรการรีดภาษี . สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าและคู่หูด้านการลงทุนรายใหญ่ที่สุดของอียู อ้างอิงข้อมูลจากยูโรสแตท พบว่าปี 2023 สำหรัฐฯ ขาดดุลการค้าอียู 155,800 ล้านยูโร ในการค้าขายสินค้าระหว่างกัน แต่ก็ชดเชยด้วยการเกินดุลการค้า 104,000 ล้านยูโร ในด้านการบริการ . พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่าแผนรีดภาษีเม็กซิโกและแคนาดา 25% และจีน 10% ของทรัมป์ จะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและผลักให้ราคาข้าวของแพงขึ้นสำหรับชาวอเมริกา . สภาหอการค้านานาชาติ ประเมินว่ามาตรการรีดภาษีจะนำให้การส่งออกของเม็กซิโกลดลง 10% และกระทบจีดีพีของประเทศแห่งนี้ราว 4% ใน 1 ปี ส่วนมาตรการรีดภาษีแคนาดา จะทำให้จีดีพีของประเทศแห่งนี้ลดลง 2.6% . ทรัมป์ ยอมรับเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ ว่า การรีดภาษีอาจก่อความเจ็บปวดในระยะสั้นแก่บรรดาผู้บริโภคสหรัฐฯ แต่กระนั้นก็อ้างว่ามาตรการรีดภาษีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจำกัดคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการลักลอบขนยาเสพติด รวมถึงกระตุ้นอุตสาหกรรมภายในประเทศ . นักวิเคราะห์คนอื่นๆ มองว่ามาตรการรีดภาษีอาจผลักให้แคนาดาและเม็กซิโก เข้าสู่ภาวะถดถอยและโหมกระพือภาวะ Stagflation (สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อกลับพุ่ง และคนว่างงานสูงลิ่ว) ภายในประเทศ ส่วนในยุโรป พวกนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่ามาตรการของทรัมป์ ที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% กับสินค้านำเข้าจากอียู จะกระทบกับจีดีพีของกลุ่มราว 0.5% . ทำเนียบขาวไม่ได้ระบุรายละเอียดอย่างเจาะจงว่าก้าวย่างใดบ้างที่จะช่วยแคนาดาและจีน รอดพ้นจากการรีดภาษี ในขณะที่ ทรัมป์ ประกาศกร้าว่าจะยังคงเดินหน้าบังคับใช้มาตรการนี้ไปจนกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า "สถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติ" เกี่ยวกับยาเฟนทานิลและคนเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ไหลบ่าเข้าสู่สหรัฐฯ จะยุติลง . จีน เรียกปัญหายาเฟนทานิลว่าเป็นปัญหาของอเมริกาเอง และบอกว่าจะยื่นคัดค้านมาตรการรีดภาษี ณ องค์การการค้าโลกและใช้มาตรการอื่นๆ ตอบโต้ แต่ก็เปิดกว้างสำหรับการเจรจาเช่นกัน ส่วนแคนาดาบอกว่าจะดำเนินการทางกฎหมายภายใต้องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดค้านมาตรการรีดภาษีของทรัมป์ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011137 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    6
    0 Comments 0 Shares 1604 Views 0 Reviews
  • ซินแสทำพิธีรับผิดชอบส่งวิญญาณ
    นายหน้ารับผิดชอบส่งคนเป็น
    โปสเตอร์และตัวอย่างล่าสุด "The Last Dance"
    เข้าฉาย 6 กุมภาพันธ์ ในโรงภาพยนตร์

    #หนังฮ่องกงเข้าไทย #หนังจีนเข้าไทย
    **นี่คือหนังที่ถูกคาดหวังจากนักดูหนังในฮ่องกงมากที่สุดในปี 2024**
    **โปสเตอร์อยู่ในคอมเมนท์**

    เผยมาให้ได้ชมกันแล้วกับโปสเตอร์และตัวอย่างจากภาพยนตร์
    The Last Dance - เดอะ ลาสต์ แดนซ์
    ภาพยนตร์เอเชียอันดับ 1 ตลอดกาลในฮ่องกง
    จากผลงานกำกับของ ฉั่น เหม่า เหยี่ยน, อันเซล์ม
    นำแสดงโดย ดาโย หว่อง และ ไมเคิล ฮุย
    สมทบด้วย มิเชล ไหว่, แคทเธอรีน เชา ทอมมี จู และ ฉินเพ่ย

    เรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤติโรคระบาด Covid - 19 แม้ว่าวิกฤติโรคระบาดส่งผลให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาวะถดถอย แต่นักจัดงานแต่งงานผู้มีหนี้สินท่วมหัว โต่วซัง (ดาโย หว่อง) กลับได้รับโอกาสพลิกสถานการณ์อย่างไม่คาดฝันเมื่อนักจัดงานศพเกษียณงานและส่งไม้ต่อให้เขา ลูกเล่นสร้างสรรค์ที่เขานำมาใช้ในงานศพช่วยให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จเกินคาดหมาย แต่อุปสรรคใหญ่ที่สุดของโดมินิกคือการได้รับการยอมรับจากพระลัทธิเต๋าผู้เป็นที่เคารพและยึดมั่นในธรรมเนียมอย่าง ซินแสหมั่น (ไมเคิล ฮุย)

    The Last Dance - เดอะ ลาสต์ แดนซ์
    เข้าฉาย 6 กุมภาพันธ์ ในโรงภาพยนตร์
    #TheLastDance #เดอะลาสต์แดนซ์
    ซินแสทำพิธีรับผิดชอบส่งวิญญาณ นายหน้ารับผิดชอบส่งคนเป็น โปสเตอร์และตัวอย่างล่าสุด "The Last Dance" เข้าฉาย 6 กุมภาพันธ์ ในโรงภาพยนตร์ #หนังฮ่องกงเข้าไทย #หนังจีนเข้าไทย **นี่คือหนังที่ถูกคาดหวังจากนักดูหนังในฮ่องกงมากที่สุดในปี 2024** **โปสเตอร์อยู่ในคอมเมนท์** เผยมาให้ได้ชมกันแล้วกับโปสเตอร์และตัวอย่างจากภาพยนตร์ The Last Dance - เดอะ ลาสต์ แดนซ์ ภาพยนตร์เอเชียอันดับ 1 ตลอดกาลในฮ่องกง จากผลงานกำกับของ ฉั่น เหม่า เหยี่ยน, อันเซล์ม นำแสดงโดย ดาโย หว่อง และ ไมเคิล ฮุย สมทบด้วย มิเชล ไหว่, แคทเธอรีน เชา ทอมมี จู และ ฉินเพ่ย เรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤติโรคระบาด Covid - 19 แม้ว่าวิกฤติโรคระบาดส่งผลให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาวะถดถอย แต่นักจัดงานแต่งงานผู้มีหนี้สินท่วมหัว โต่วซัง (ดาโย หว่อง) กลับได้รับโอกาสพลิกสถานการณ์อย่างไม่คาดฝันเมื่อนักจัดงานศพเกษียณงานและส่งไม้ต่อให้เขา ลูกเล่นสร้างสรรค์ที่เขานำมาใช้ในงานศพช่วยให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จเกินคาดหมาย แต่อุปสรรคใหญ่ที่สุดของโดมินิกคือการได้รับการยอมรับจากพระลัทธิเต๋าผู้เป็นที่เคารพและยึดมั่นในธรรมเนียมอย่าง ซินแสหมั่น (ไมเคิล ฮุย) The Last Dance - เดอะ ลาสต์ แดนซ์ เข้าฉาย 6 กุมภาพันธ์ ในโรงภาพยนตร์ #TheLastDance #เดอะลาสต์แดนซ์
    1 Comments 0 Shares 754 Views 14 0 Reviews
  • นักวิชาการสายโปรอเมริกา ไม่อยากให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก BRICS:

    เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการสายโปรอเมริกาที่จะต้องเข้าข้างอเมริกาครับ มี ๓ ประเด็นที่ควรพิจารณา

    ๑.ปรากฎการณ์ deglobalisation ก็ดี ปรากฎการณ์ dedollarisation ก็ดี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระแสหลังจากการที่ผู้นำหลายชาติที่สร้างกลุ่ม BRICS ขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและจีนพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยตรง แล้วพาชาวโลกที่เป็นสมาชิกหันไปเน้น localisation และ local currencies แทนทั้งนี้เพื่อลดการเป็นศูนย์กลางโลกของอเมริกาและอิทธิพลของกลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ที่บงการโลกใบนี้ผ่านรัฐบาลอเมริกาอย่างไม่เป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา

    ๒.จริงอยู่แม้ว่าไทยจะได้ดุลย์การค้าจากอเมริกาและอียูบางประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าอเมริกาและอียูสามารถใช้ข้ออ้างเท็จ เช่น 'การละเมิดสิทธิมนุษยชน' 'รัฐบาลไทยเผด็จการ' หรือ 'การไร้เสรีภาพสื่อ' มาเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทย ด้วยวิธีต่างๆ อาทิ ไม่นำเข้าอาหารทะเลจากไทย เป็นต้นได้

    ด้วยเหตุนี้ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ทำให้ประเทศไทยยังสามารถมีเอกราชในด้านนโยบายต่างประเทศและสามารถหาตลาดใหม่ๆ มารองรับ พร้อมทั้งลดผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากอเมริกาและอียูอย่างไม่เป็นธรรมได้

    ๓.ทรรศนคติของอาจารย์คนนี้หากรัฐบาลไทยหลงเชื่อตามจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นทาสของอเมริกาและอียูในเชิงนโยบายไปตลอด ผลก็คือแม้จะถูกอเมริกาและอียูคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยก็จะต้องก้มหน้าก้มตายอมรับต่อไปโดยไม่มีทางเลือกให้นั่นเองครับ
    ---------------------------------------------------------
    อาจารย์อธิบายว่า วันนี้เรามีคำใหม่คือ “ภาวะถดถอยของโลกาภิวัตน์” หรือ “ภาวะที่โลกาภิวัตน์ถูกหยุด” (Deglobalization) ซึ่งสิ่งที่จะตามมาแน่ๆ คือผลกระทบกับ “ห่วงโซ่อุปทาน” (Supply Chain) ทั่วโลก
    โจทย์ตรงนี้อาจจะต้องคิดต่อว่า ไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนี้ เราจะจัดวางตัวเองอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้
    การเข้าเป็นสมาชิก BRICS และ OECD ไม่ใช่ทางเลือกของไทยในช่วงที่สงครามการค้าระลอกใหม่เตรียมปะทุและโลกาภิวัตน์กำลังถดถอย เพราะตลาดของไทยไม่ได้อยู่กับจีนและรัสเซีย แต่ผลประโยชน์ของไทยในทางเศรษฐกิจอยู่กับสหรัฐและสหภาพยุโรป BRICS จึงไม่ใช่คำตอบ และไทยไม่สามารถเล่นบทแบบอินโดนีเซีย อินเดีย หรือแอฟริกาใต้ได้ เพราะไทย “มีต้นทุนต่ำ” คือสถานะทางเศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) ของไทยบนเวทีโลกอยู่ในระดับที่ใช้เป็นข้อต่อรองได้ไม่มากนัก การเข้าร่วมกลุ่มกับโลกใต้ (Global South) อาจไม่ได้ตอบโจทย์อย่างที่คิด

    https://www.facebook.com/share/p/fVsomH5u1mcYVkPJ/



    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    นักวิชาการสายโปรอเมริกา ไม่อยากให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก BRICS: เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการสายโปรอเมริกาที่จะต้องเข้าข้างอเมริกาครับ มี ๓ ประเด็นที่ควรพิจารณา ๑.ปรากฎการณ์ deglobalisation ก็ดี ปรากฎการณ์ dedollarisation ก็ดี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระแสหลังจากการที่ผู้นำหลายชาติที่สร้างกลุ่ม BRICS ขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและจีนพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยตรง แล้วพาชาวโลกที่เป็นสมาชิกหันไปเน้น localisation และ local currencies แทนทั้งนี้เพื่อลดการเป็นศูนย์กลางโลกของอเมริกาและอิทธิพลของกลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ที่บงการโลกใบนี้ผ่านรัฐบาลอเมริกาอย่างไม่เป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา ๒.จริงอยู่แม้ว่าไทยจะได้ดุลย์การค้าจากอเมริกาและอียูบางประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าอเมริกาและอียูสามารถใช้ข้ออ้างเท็จ เช่น 'การละเมิดสิทธิมนุษยชน' 'รัฐบาลไทยเผด็จการ' หรือ 'การไร้เสรีภาพสื่อ' มาเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทย ด้วยวิธีต่างๆ อาทิ ไม่นำเข้าอาหารทะเลจากไทย เป็นต้นได้ ด้วยเหตุนี้ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ทำให้ประเทศไทยยังสามารถมีเอกราชในด้านนโยบายต่างประเทศและสามารถหาตลาดใหม่ๆ มารองรับ พร้อมทั้งลดผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากอเมริกาและอียูอย่างไม่เป็นธรรมได้ ๓.ทรรศนคติของอาจารย์คนนี้หากรัฐบาลไทยหลงเชื่อตามจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นทาสของอเมริกาและอียูในเชิงนโยบายไปตลอด ผลก็คือแม้จะถูกอเมริกาและอียูคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยก็จะต้องก้มหน้าก้มตายอมรับต่อไปโดยไม่มีทางเลือกให้นั่นเองครับ --------------------------------------------------------- อาจารย์อธิบายว่า วันนี้เรามีคำใหม่คือ “ภาวะถดถอยของโลกาภิวัตน์” หรือ “ภาวะที่โลกาภิวัตน์ถูกหยุด” (Deglobalization) ซึ่งสิ่งที่จะตามมาแน่ๆ คือผลกระทบกับ “ห่วงโซ่อุปทาน” (Supply Chain) ทั่วโลก โจทย์ตรงนี้อาจจะต้องคิดต่อว่า ไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนี้ เราจะจัดวางตัวเองอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ การเข้าเป็นสมาชิก BRICS และ OECD ไม่ใช่ทางเลือกของไทยในช่วงที่สงครามการค้าระลอกใหม่เตรียมปะทุและโลกาภิวัตน์กำลังถดถอย เพราะตลาดของไทยไม่ได้อยู่กับจีนและรัสเซีย แต่ผลประโยชน์ของไทยในทางเศรษฐกิจอยู่กับสหรัฐและสหภาพยุโรป BRICS จึงไม่ใช่คำตอบ และไทยไม่สามารถเล่นบทแบบอินโดนีเซีย อินเดีย หรือแอฟริกาใต้ได้ เพราะไทย “มีต้นทุนต่ำ” คือสถานะทางเศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) ของไทยบนเวทีโลกอยู่ในระดับที่ใช้เป็นข้อต่อรองได้ไม่มากนัก การเข้าร่วมกลุ่มกับโลกใต้ (Global South) อาจไม่ได้ตอบโจทย์อย่างที่คิด https://www.facebook.com/share/p/fVsomH5u1mcYVkPJ/ ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    0 Comments 0 Shares 690 Views 0 Reviews
  • สหรัฐฯอยู่ในภาวะถดถอยทางการเงินอย่างเสรี

    วิกฤตเศรษฐกิจกำลังใกล้เข้ามา, ซึ่งการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการผ่อนปรนเชิงปริมาณไม่สามารถหยุดยั้งได้

    ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ใด, จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในโครงสร้างการป้องกันประเทศ, ความเป็นผู้นำ,ฅ และแนวคิด

    Douglas Macgregor
    .
    The United States is in fiscal free fall.

    An economic crisis looms, one that bailouts and quantitative easing cannot stop.

    Regardless of the circumstances, profound changes in defense structure, leadership, and thinking are needed.
    .
    3:30 AM · Nov 20, 2024 · 39.2K Views
    https://x.com/DougAMacgregor/status/1858971241732075832
    สหรัฐฯอยู่ในภาวะถดถอยทางการเงินอย่างเสรี วิกฤตเศรษฐกิจกำลังใกล้เข้ามา, ซึ่งการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการผ่อนปรนเชิงปริมาณไม่สามารถหยุดยั้งได้ ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ใด, จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในโครงสร้างการป้องกันประเทศ, ความเป็นผู้นำ,ฅ และแนวคิด Douglas Macgregor . The United States is in fiscal free fall. An economic crisis looms, one that bailouts and quantitative easing cannot stop. Regardless of the circumstances, profound changes in defense structure, leadership, and thinking are needed. . 3:30 AM · Nov 20, 2024 · 39.2K Views https://x.com/DougAMacgregor/status/1858971241732075832
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 333 Views 0 Reviews
  • คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีพังทลาย

    เศรษฐกิจชั้นนำของสหภาพยุโรปอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง, หลังจากมีคำสั่งซื้อภาคการผลิตใหม่ลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนสิงหาคม
    .
    German industrial orders collapse

    The EU’s top economy could fall into another recession, after it posted a sharp drop in new manufacturing orders in August

    https://www.rt.com/business/605359-german-industrial-orders-collapse/
    .
    7:20 AM · Oct 8, 2024 · 8,004 Views
    https://x.com/RT_com/status/1843446208381022507
    คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีพังทลาย เศรษฐกิจชั้นนำของสหภาพยุโรปอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง, หลังจากมีคำสั่งซื้อภาคการผลิตใหม่ลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนสิงหาคม . German industrial orders collapse The EU’s top economy could fall into another recession, after it posted a sharp drop in new manufacturing orders in August https://www.rt.com/business/605359-german-industrial-orders-collapse/ . 7:20 AM · Oct 8, 2024 · 8,004 Views https://x.com/RT_com/status/1843446208381022507
    Wow
    1
    0 Comments 0 Shares 156 Views 0 Reviews