• พระราม 2 ไม่แผ่ว! รถเครน 6 ล้อเล็กไหลตกจากทางยกระดับใส่รถกระบะ มีบาดเจ็บ 1 คน
    https://www.thai-tai.tv/news/18032/
    พระราม 2 ไม่แผ่ว! รถเครน 6 ล้อเล็กไหลตกจากทางยกระดับใส่รถกระบะ มีบาดเจ็บ 1 คน https://www.thai-tai.tv/news/18032/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 133 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระราม 2 อีกแล้วเหรอ? ได้ยินคำนี้รู้เลยว่าต้องมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกแล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าปกติถนนพระราม 2 หรือทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) นั้นมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะถือเป็นถนนสายหลักลงสู่ภาคใต้ จึงมีทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถบรรทุกใช้กันอย่างหนาแน่นหรืออาจจะมากที่สุดในประเทศไทยเลย จากข้อมูลเมื่อปี 2566 พบว่าปริมาณจราจร ช่วงดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอก เฉลี่ยจำนวน 256,000 คัน/วัน ส่วนช่วงบางขุนเทียน-สมุทรสงครามมีเฉลี่ย 130,000 คัน/วัน และช่วงสมุทรสาคร-วังมะนาว มีเฉลี่ย 80,000 คัน/วัน ขณะที่ เสาร์-อาทิตย์มีสูงถึงเกือบ 400,000 คัน/วัน

    ทำให้ที่ผ่านมากรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างปรับปรุง ซ่อมแซม รวมถึงขยายช่องจราจรเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกว่ามีการตั้งงบประมาณทุกปีสำหรับขยายถนนพระราม 2

    จนได้รับฉายาว่าถนนเจ็ดชั่วโคตรเพราะก่อสร้างไม่เสร็จเสียที ขณะที่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมามีการก่อสร้าง 2 โครงการขนาดใหญ่ มูลค่ารวมกว่า 6 หมื่นล้านบาท คือ ทางยกระดับพระราม 2 หรือโครงการก่อสร้างบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 (บางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว) ระยะทาง 24.6 กม. มูลค่า 30,200 ล้านบาท ของกรมทางหลวง และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3- ดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มูลค่า 30,000 ล้านบาท

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000025274

    #MGROnline #คานสะพานหล่น #สะพานถล่ม #พระราม2 #ถนนพระราม2
    พระราม 2 อีกแล้วเหรอ? ได้ยินคำนี้รู้เลยว่าต้องมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกแล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าปกติถนนพระราม 2 หรือทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) นั้นมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะถือเป็นถนนสายหลักลงสู่ภาคใต้ จึงมีทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถบรรทุกใช้กันอย่างหนาแน่นหรืออาจจะมากที่สุดในประเทศไทยเลย จากข้อมูลเมื่อปี 2566 พบว่าปริมาณจราจร ช่วงดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอก เฉลี่ยจำนวน 256,000 คัน/วัน ส่วนช่วงบางขุนเทียน-สมุทรสงครามมีเฉลี่ย 130,000 คัน/วัน และช่วงสมุทรสาคร-วังมะนาว มีเฉลี่ย 80,000 คัน/วัน ขณะที่ เสาร์-อาทิตย์มีสูงถึงเกือบ 400,000 คัน/วัน • ทำให้ที่ผ่านมากรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างปรับปรุง ซ่อมแซม รวมถึงขยายช่องจราจรเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกว่ามีการตั้งงบประมาณทุกปีสำหรับขยายถนนพระราม 2 • จนได้รับฉายาว่าถนนเจ็ดชั่วโคตรเพราะก่อสร้างไม่เสร็จเสียที ขณะที่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมามีการก่อสร้าง 2 โครงการขนาดใหญ่ มูลค่ารวมกว่า 6 หมื่นล้านบาท คือ ทางยกระดับพระราม 2 หรือโครงการก่อสร้างบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 (บางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว) ระยะทาง 24.6 กม. มูลค่า 30,200 ล้านบาท ของกรมทางหลวง และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3- ดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มูลค่า 30,000 ล้านบาท • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000025274 • #MGROnline #คานสะพานหล่น #สะพานถล่ม #พระราม2 #ถนนพระราม2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 664 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทางด่วนสองชั้น หายนะคนกรุงฯ

    เหตุคานสะพานทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (Double Deck) ที่ก่อสร้างซ้อนทับอยู่บนทางพิเศษเฉลิมมหานคร ในโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 3 ทรุดตัวบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางดาวคะนอง แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย สูญหาย 2 ราย บาดเจ็บ 27 ราย โครงสร้างทางพิเศษเฉลิมมหานคร ขาออก อายุกว่า 40 ปี พังลง 1 ช่วงเสา ต้องปิดการจราจรอย่างน้อย 1 เดือน

    นับเป็นอีกโศกนาฎกรรมจากการก่อสร้างทางยกระดับขนาดใหญ่ หลังเหตุการณ์คานสะพานถล่ม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ที่สร้างคร่อมทางหลักบนถนนพระรามที่ 2 จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 คน ต้องปิดการจราจรเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างนานเกือบครึ่งเดือน ผ่านไปเพียงไม่ถึง 4 เดือนกลับเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอย ท่ามกลางสังคมต่างถามหาความรับผิดชอบจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ถึงบัดนี้ผลการสอบสวนถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการก็ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะแต่อย่างใด

    ก่อนหน้านี้ นายสุริยะ และผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีความพยายามผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางพิเศษระยะที่ 1 ซึ่งจะมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 หรือ ดับเบิล เด็ค (Double Deck) ช่วงงามวงศ์วานถึงพระราม 9 ระยะทาง 17 กิโลเมตร โดยเจรจาให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน แลกกับการขยายระยะเวลาสัมปทานระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ที่เพิ่งขยายสัญญาจากกรณีพิพาทค่าโง่ทางด่วน จากเดิมหมดลงในปี 2563 ไปสิ้นสุดในปี 2578 แต่บอกไม่ได้ว่ากี่ปี กลายเป็นที่วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนหรือไม่ แทนที่สัญญาสัมปทานหมดลงแล้วจะได้ใช้ทางด่วนในราคาถูกลง

    อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้น่าคิดว่า การทำทางด่วนดับเบิล เด็ค อาจไม่เหมาะสมในเวลานี้ หากมาตรฐานการก่อสร้างของผู้รับเหมาในปัจจุบันยังมีความหละหลวม ก่อให้เกิดโศกนาฎกรรม เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และสร้างปัญหากระทบกับผู้ใช้รถใช้ถนนบ่อยครั้ง เกิดความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ขณะที่ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม ยังคงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ วัวหายล้อมคอก มากกว่าหามาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด หากปล่อยให้การก่อสร้างดับเบิล เด็คเกิดขึ้นจริง เมื่อเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอยในครั้งนี้เกิดขึ้นอีก ความพินาศฉิบหายของผู้ใช้ทางพิเศษ ที่มีจำนวนกว่า 1.8 ล้านคันต่อวันจะบรรลัยยิ่งขึ้นแน่นอน

    #Newskit
    ทางด่วนสองชั้น หายนะคนกรุงฯ เหตุคานสะพานทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (Double Deck) ที่ก่อสร้างซ้อนทับอยู่บนทางพิเศษเฉลิมมหานคร ในโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 3 ทรุดตัวบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางดาวคะนอง แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย สูญหาย 2 ราย บาดเจ็บ 27 ราย โครงสร้างทางพิเศษเฉลิมมหานคร ขาออก อายุกว่า 40 ปี พังลง 1 ช่วงเสา ต้องปิดการจราจรอย่างน้อย 1 เดือน นับเป็นอีกโศกนาฎกรรมจากการก่อสร้างทางยกระดับขนาดใหญ่ หลังเหตุการณ์คานสะพานถล่ม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ที่สร้างคร่อมทางหลักบนถนนพระรามที่ 2 จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 คน ต้องปิดการจราจรเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างนานเกือบครึ่งเดือน ผ่านไปเพียงไม่ถึง 4 เดือนกลับเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอย ท่ามกลางสังคมต่างถามหาความรับผิดชอบจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ถึงบัดนี้ผลการสอบสวนถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการก็ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะแต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ นายสุริยะ และผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีความพยายามผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางพิเศษระยะที่ 1 ซึ่งจะมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 หรือ ดับเบิล เด็ค (Double Deck) ช่วงงามวงศ์วานถึงพระราม 9 ระยะทาง 17 กิโลเมตร โดยเจรจาให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน แลกกับการขยายระยะเวลาสัมปทานระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ที่เพิ่งขยายสัญญาจากกรณีพิพาทค่าโง่ทางด่วน จากเดิมหมดลงในปี 2563 ไปสิ้นสุดในปี 2578 แต่บอกไม่ได้ว่ากี่ปี กลายเป็นที่วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนหรือไม่ แทนที่สัญญาสัมปทานหมดลงแล้วจะได้ใช้ทางด่วนในราคาถูกลง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้น่าคิดว่า การทำทางด่วนดับเบิล เด็ค อาจไม่เหมาะสมในเวลานี้ หากมาตรฐานการก่อสร้างของผู้รับเหมาในปัจจุบันยังมีความหละหลวม ก่อให้เกิดโศกนาฎกรรม เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และสร้างปัญหากระทบกับผู้ใช้รถใช้ถนนบ่อยครั้ง เกิดความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ขณะที่ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม ยังคงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ วัวหายล้อมคอก มากกว่าหามาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด หากปล่อยให้การก่อสร้างดับเบิล เด็คเกิดขึ้นจริง เมื่อเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอยในครั้งนี้เกิดขึ้นอีก ความพินาศฉิบหายของผู้ใช้ทางพิเศษ ที่มีจำนวนกว่า 1.8 ล้านคันต่อวันจะบรรลัยยิ่งขึ้นแน่นอน #Newskit
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 785 มุมมอง 0 รีวิว
  • แค่สร้างก็พังถล่ม
    แค่เทปูนยังถล่มได้
    เปิดใช้ใครจะกล้าขึ้น
    ไว้อาลัย ทางยกระดับพระราม2
    #7ดอกจิก
    แค่สร้างก็พังถล่ม แค่เทปูนยังถล่มได้ เปิดใช้ใครจะกล้าขึ้น ไว้อาลัย ทางยกระดับพระราม2 #7ดอกจิก
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 320 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทล.เร่งสอบ”คานปูน-โครงสร้างเหล็ก” พระราม 2 ถล่ม พบประเด็นตัวยึดคานและทรัสหลุด หาสาเหตุเกิดจากขั้นตอนการทำงานหรือตัววัสดุมีปัญหา คาดสรุปในสัปดาห์นี้ ยันรับเหมาใช้แรงงานต่างด้าวได้ในงานทั่วไป ส่วนงานเฉพาะทางบุคลากรต้องมีใบรับรองตามระเบียบ

    จากกรณีกรณีคานปูน (Segment) และโครงสร้างเหล็ก (Launching Gantry Crane) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย -บ้านแพ้ว ตอน 1 พังถล่ม เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งดำเนินคดีต่อ บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด และบริษัท พีเอสซีไอ คอนสตรัคชัน จำกัด ผู้รับเหมาในความผิด ฐานใช้แรงงานต่างด้าวทำงานนอกเหนือสิทธิ และความปลอดภัยอาชีวะอนามัยไปแล้วนั้น

    นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ในส่วนของกรมทางหลวง และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร่วมการตรวจสอบในทุกมิติ ทั้งตัวโครงสร้างเหล็ก Launching Gantry และแผ่นปูน (ทรัส) เรื่องการบริหารจัดการระหว่างก่อสร้าง รวมทั้งหมด 5 ประเด็น

    ทั้งนี้ มีการตรวจสอบเรื่องวัสดุ พบมีประเด็นเรื่องตัวยึดระหว่างคานคอนกรีตและทรัส อาจมีปัญหา ซึ่งจะต้องมีการทดสอบวัสดุ เพื่อดูว่าสาเหตุที่ตัวยึดคานหลุดนั้น เกิดจากการทำงานหรือตัววัสดุมีปัญหา โดยจะสรุปผลการสอบสวนภายในสัปดาห์นี้ และจะรายงานกระทรวงคมนาคมรับทราบต่อไป

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000023136

    #MGROnline #โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข82 #คานปูน #โครงสร้างเหล็ก #พระราม2
    ทล.เร่งสอบ”คานปูน-โครงสร้างเหล็ก” พระราม 2 ถล่ม พบประเด็นตัวยึดคานและทรัสหลุด หาสาเหตุเกิดจากขั้นตอนการทำงานหรือตัววัสดุมีปัญหา คาดสรุปในสัปดาห์นี้ ยันรับเหมาใช้แรงงานต่างด้าวได้ในงานทั่วไป ส่วนงานเฉพาะทางบุคลากรต้องมีใบรับรองตามระเบียบ • จากกรณีกรณีคานปูน (Segment) และโครงสร้างเหล็ก (Launching Gantry Crane) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย -บ้านแพ้ว ตอน 1 พังถล่ม เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งดำเนินคดีต่อ บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด และบริษัท พีเอสซีไอ คอนสตรัคชัน จำกัด ผู้รับเหมาในความผิด ฐานใช้แรงงานต่างด้าวทำงานนอกเหนือสิทธิ และความปลอดภัยอาชีวะอนามัยไปแล้วนั้น • นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ในส่วนของกรมทางหลวง และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร่วมการตรวจสอบในทุกมิติ ทั้งตัวโครงสร้างเหล็ก Launching Gantry และแผ่นปูน (ทรัส) เรื่องการบริหารจัดการระหว่างก่อสร้าง รวมทั้งหมด 5 ประเด็น • ทั้งนี้ มีการตรวจสอบเรื่องวัสดุ พบมีประเด็นเรื่องตัวยึดระหว่างคานคอนกรีตและทรัส อาจมีปัญหา ซึ่งจะต้องมีการทดสอบวัสดุ เพื่อดูว่าสาเหตุที่ตัวยึดคานหลุดนั้น เกิดจากการทำงานหรือตัววัสดุมีปัญหา โดยจะสรุปผลการสอบสวนภายในสัปดาห์นี้ และจะรายงานกระทรวงคมนาคมรับทราบต่อไป • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000023136 • #MGROnline #โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข82 #คานปูน #โครงสร้างเหล็ก #พระราม2
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 656 มุมมอง 0 รีวิว
  • บขส.ทำรถทัวร์ฟีดเดอร์ จากสนามบินปลายทางสู่ทะเล

    เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการสำหรับรถโดยสารเชื่อมต่อ (Feeder) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เส้นทางจากท่าอากาศยานเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่างๆ นำร่อง 3 เส้นทาง ได้แก่ สาย 9905 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา ระยะทาง 162 กิโลเมตร, สาย 978 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน ระยะทาง 216 กิโลเมตร และสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ระยะทาง 127 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทั้งสองสนามบิน เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองน่าเที่ยวภายในประเทศ โดยเปิดเที่ยวรถปฐมฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา

    จากการสังเกตพบว่าเส้นทางที่ขายดีที่สุด ได้แก่ เส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา เที่ยวปฐมฤกษ์มีผู้โดยสารค่อนข้างหนาแน่น ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน เที่ยวปฐมฤกษ์ เวลา 15.00 น. มีผู้โดยสาร 4 คน ถึงจุดจอดวัดหัวหิน 18.35 น. ส่วนเที่ยวปฐมฤกษ์จากต้นทางสถานีเดินรถหัวหิน รถออกเวลา 09.00 น. ถึงปลายทางท่าอากาศยานดอนเมือง เวลาประมาณ 12.50 น. ซึ่งการเดินรถขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร เนื่องจากใช้ทางด่วนโทลล์เวย์ ทางด่วนเฉลิมมหานคร ต่อเนื่องถนนพระรามที่ 2 ที่กำลังก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ทางลงดาวคะนองถึงทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว และถนนเพชรเกษม

    ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเดินรถเอกชน อย่างบริษัท รถรุ่งเรือง จำกัด ให้บริการสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เมืองพัทยา ปลายทางสถานีขนส่งเทพประสิทธิ์ (หาดจอมเทียน) และสาย 789 หัวหิน-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา (รถหมวด 3) ปลายทางสถานีขนส่งพัทยาเหนือ ซึ่งพบว่าเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วของ บขส. ที่อาคารผู้โดยสาร ชั้น 1 ประตู 8 เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วอยู่ติดกันเสียอีก แต่ปลายทางพัทยา บขส. ได้ก่อสร้างสถานีเดินรถพัทยา บริเวณถนนสุขุมวิท ขาออก ระหว่างแยกพัทยาเหนือกับพัทยากลาง ตรงข้ามศูนย์คณะพระมหาไถ่ รองรับผู้โดยสารไว้แล้ว

    การเชื่อมต่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อระหว่างสนามบินไปยังเมืองท่องเที่ยว ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ บขส. ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ โดยได้กำหนดจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารและจุดจอดรถ พร้อมประชาสัมพันธ์ภายในสนามบิน ที่ผ่านมาท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารรวม 29.14 ล้านคน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารรวม 59.99 ล้านคน นับจากนี้จะต้องดูผลตอบรับจากผู้โดยสาร ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถ เพิ่มเที่ยวเวลา หรือเพิ่มเส้นทางไปยังเมืองหลัก เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองรองต่างๆ เพิ่มเติม

    #Newskit
    บขส.ทำรถทัวร์ฟีดเดอร์ จากสนามบินปลายทางสู่ทะเล เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการสำหรับรถโดยสารเชื่อมต่อ (Feeder) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เส้นทางจากท่าอากาศยานเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่างๆ นำร่อง 3 เส้นทาง ได้แก่ สาย 9905 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา ระยะทาง 162 กิโลเมตร, สาย 978 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน ระยะทาง 216 กิโลเมตร และสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ระยะทาง 127 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทั้งสองสนามบิน เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองน่าเที่ยวภายในประเทศ โดยเปิดเที่ยวรถปฐมฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา จากการสังเกตพบว่าเส้นทางที่ขายดีที่สุด ได้แก่ เส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา เที่ยวปฐมฤกษ์มีผู้โดยสารค่อนข้างหนาแน่น ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน เที่ยวปฐมฤกษ์ เวลา 15.00 น. มีผู้โดยสาร 4 คน ถึงจุดจอดวัดหัวหิน 18.35 น. ส่วนเที่ยวปฐมฤกษ์จากต้นทางสถานีเดินรถหัวหิน รถออกเวลา 09.00 น. ถึงปลายทางท่าอากาศยานดอนเมือง เวลาประมาณ 12.50 น. ซึ่งการเดินรถขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร เนื่องจากใช้ทางด่วนโทลล์เวย์ ทางด่วนเฉลิมมหานคร ต่อเนื่องถนนพระรามที่ 2 ที่กำลังก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ทางลงดาวคะนองถึงทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว และถนนเพชรเกษม ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเดินรถเอกชน อย่างบริษัท รถรุ่งเรือง จำกัด ให้บริการสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เมืองพัทยา ปลายทางสถานีขนส่งเทพประสิทธิ์ (หาดจอมเทียน) และสาย 789 หัวหิน-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา (รถหมวด 3) ปลายทางสถานีขนส่งพัทยาเหนือ ซึ่งพบว่าเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วของ บขส. ที่อาคารผู้โดยสาร ชั้น 1 ประตู 8 เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วอยู่ติดกันเสียอีก แต่ปลายทางพัทยา บขส. ได้ก่อสร้างสถานีเดินรถพัทยา บริเวณถนนสุขุมวิท ขาออก ระหว่างแยกพัทยาเหนือกับพัทยากลาง ตรงข้ามศูนย์คณะพระมหาไถ่ รองรับผู้โดยสารไว้แล้ว การเชื่อมต่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อระหว่างสนามบินไปยังเมืองท่องเที่ยว ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ บขส. ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ โดยได้กำหนดจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารและจุดจอดรถ พร้อมประชาสัมพันธ์ภายในสนามบิน ที่ผ่านมาท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารรวม 29.14 ล้านคน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารรวม 59.99 ล้านคน นับจากนี้จะต้องดูผลตอบรับจากผู้โดยสาร ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถ เพิ่มเที่ยวเวลา หรือเพิ่มเส้นทางไปยังเมืองหลัก เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองรองต่างๆ เพิ่มเติม #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 620 มุมมอง 0 รีวิว
  • บางบัวทอง-บางปะอิน อนาคตมอเตอร์เวย์

    เมื่อวันก่อน สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง เผยแพร่ภาพโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ด้านซ้ายทาง ตอน 2 ระหว่างกิโลเมตรที่ 73+800 ถึงกิโลเมตรที่ 86+559.873 แล้วเสร็จ ระยะทาง 12.759 กิโลเมตร ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นการก่อสร้างทางขนาน (Frontage Road) ขนาด 3 ช่องจราจร จากภาพมีการสร้างสะพานข้ามทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา โดยให้รถยนต์จากทางขนานทุกคันข้ามสะพานดังกล่าว ปิดช่องทางหลัก (Main Road) ที่มีอยู่เดิมซึ่งจะลอดใต้สะพานไปยังด่านบางปะอิน

    การก่อสร้างดังกล่าวเป็นการรองรับโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 สายบางบัวทอง-บางปะอิน ที่จะก่อสร้างแทนที่บนทางหลัก โดยมีแนวเขตทาง 42 เมตร ขนาด 6 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.60 เมตร พร้อมรั้วกั้น เหมือนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงทางแยกต่างระดับคีรีถึงทางแยกต่างระดับโป่ง (พัทยา) ซึ่งที่ผ่านมาได้ก่อสร้างทางขนานพร้อมกำหนดให้เป็นทางหลวงหมายเลข 3901 (ด้านซ้ายทาง) และ 3902 (ด้านขวาทาง) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังเหลือการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 27 ส.ค. 2569 แต่ติดปัญหาสาธารณูปโภคและการรุกล้ำแนวเขตทาง

    สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มาจากบางบัวทอง ช่องทางหลักมีสภาพผิวจราจรชำรุด ไม่แนะนำให้ใช้ทาง ส่วนช่องทางขนาน ช่วงบางบัวทอง ผ่านทางแยกต่างระดับลาดหลุมแก้ว และทางแยกต่างระดับสามโคก ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างดี แต่เมื่อถึงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จะเบี่ยงทางให้ใช้สะพานเก่าระหว่างการก่อสร้าง เมื่อลงจากสะพานแล้วจะมีทางขนานที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่รถส่วนใหญ่จะใช้ทางหลัก ผ่านทางด่วนอุดรรัถยา ทางแยกต่างระดับเชียงรากน้อย (ทางหลวงหมายเลข 347) สะพานข้ามทางรถไฟ แล้วจะถึงสะพานที่เบี่ยงให้รถทุกคันขึ้นไป มุ่งหน้าทางแยกต่างระดับบางปะอิน

    ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2566 กรมทางหลวงเคยเตรียมเสนอโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 ช่วงบางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว งบประมาณ 4,300 ล้านบาท แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป กระทั่งวันที่ 3 ธ.ค. 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 ตอนทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางขึ้น 8 จุด ทางลง 6 จุด ทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง มูลค่าโครงการ 68,686.63 ล้านบาท ลงทุนร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP NET Cost ขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

    #Newskit
    บางบัวทอง-บางปะอิน อนาคตมอเตอร์เวย์ เมื่อวันก่อน สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง เผยแพร่ภาพโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ด้านซ้ายทาง ตอน 2 ระหว่างกิโลเมตรที่ 73+800 ถึงกิโลเมตรที่ 86+559.873 แล้วเสร็จ ระยะทาง 12.759 กิโลเมตร ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นการก่อสร้างทางขนาน (Frontage Road) ขนาด 3 ช่องจราจร จากภาพมีการสร้างสะพานข้ามทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา โดยให้รถยนต์จากทางขนานทุกคันข้ามสะพานดังกล่าว ปิดช่องทางหลัก (Main Road) ที่มีอยู่เดิมซึ่งจะลอดใต้สะพานไปยังด่านบางปะอิน การก่อสร้างดังกล่าวเป็นการรองรับโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 สายบางบัวทอง-บางปะอิน ที่จะก่อสร้างแทนที่บนทางหลัก โดยมีแนวเขตทาง 42 เมตร ขนาด 6 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.60 เมตร พร้อมรั้วกั้น เหมือนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงทางแยกต่างระดับคีรีถึงทางแยกต่างระดับโป่ง (พัทยา) ซึ่งที่ผ่านมาได้ก่อสร้างทางขนานพร้อมกำหนดให้เป็นทางหลวงหมายเลข 3901 (ด้านซ้ายทาง) และ 3902 (ด้านขวาทาง) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังเหลือการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 27 ส.ค. 2569 แต่ติดปัญหาสาธารณูปโภคและการรุกล้ำแนวเขตทาง สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มาจากบางบัวทอง ช่องทางหลักมีสภาพผิวจราจรชำรุด ไม่แนะนำให้ใช้ทาง ส่วนช่องทางขนาน ช่วงบางบัวทอง ผ่านทางแยกต่างระดับลาดหลุมแก้ว และทางแยกต่างระดับสามโคก ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างดี แต่เมื่อถึงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จะเบี่ยงทางให้ใช้สะพานเก่าระหว่างการก่อสร้าง เมื่อลงจากสะพานแล้วจะมีทางขนานที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่รถส่วนใหญ่จะใช้ทางหลัก ผ่านทางด่วนอุดรรัถยา ทางแยกต่างระดับเชียงรากน้อย (ทางหลวงหมายเลข 347) สะพานข้ามทางรถไฟ แล้วจะถึงสะพานที่เบี่ยงให้รถทุกคันขึ้นไป มุ่งหน้าทางแยกต่างระดับบางปะอิน ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2566 กรมทางหลวงเคยเตรียมเสนอโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 ช่วงบางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว งบประมาณ 4,300 ล้านบาท แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป กระทั่งวันที่ 3 ธ.ค. 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 ตอนทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางขึ้น 8 จุด ทางลง 6 จุด ทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง มูลค่าโครงการ 68,686.63 ล้านบาท ลงทุนร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP NET Cost ขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 617 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฝั่งธนยังต้องทน ก่อสร้างตลอดปี

    นับตั้งแต่ฝั่งธนบุรีมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บนถนนพระรามที่ 2 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) บนถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปก มาตั้งแต่ปี 2565 ทำการจราจรติดขัดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นแล้ว ในปี 2568 มีการก่อสร้างเพิ่มเติมทั้งทางยกระดับและรถไฟฟ้า คราวนี้กระทบโซนปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑล สาย 4

    เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.2568 เวลา 22.00 น. จะปิดสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชั่น และถนนสุทธาวาส เพื่อดำเนินงานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ระหว่างแยกพรานนก สถานีรถไฟธนบุรี ข้ามสะพานไปยังฝั่งถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน เพื่อไปออกถนนบรมราชชนนี สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ถึงถนนกาญจนาภิเษก ได้รับผลกระทบ

    โดยผู้รับจ้างจะรื้อถอนสะพานข้ามแยกดังกล่าวเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ OR2 จากนั้นจะก่อสร้างสะพานทดแทน ในเดือน ธ.ค.2569 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือน มิ.ย.2571 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง

    อย่างต่อมา คือ การก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑลสาย 3-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2568 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4,490 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการคำนวณราคากลาง

    อีกโครงการหนึ่ง คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง (M9) ระยะทาง 38 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กทม. กับ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2567 คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี

    สำหรับส่วนต่อขยายถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ที่จะแบ่งเบาการจราจรถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนี ได้แก่ โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,532 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าแล้ว 72.14% คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน มิ.ย.2568 และโครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดบริเวณตรงข้ามปากซอยกระทุ่มล้ม 9 อ.สามพราน จ.นครปฐม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,299.90 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน สิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.2569

    #Newskit
    ฝั่งธนยังต้องทน ก่อสร้างตลอดปี นับตั้งแต่ฝั่งธนบุรีมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บนถนนพระรามที่ 2 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) บนถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปก มาตั้งแต่ปี 2565 ทำการจราจรติดขัดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นแล้ว ในปี 2568 มีการก่อสร้างเพิ่มเติมทั้งทางยกระดับและรถไฟฟ้า คราวนี้กระทบโซนปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑล สาย 4 เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.2568 เวลา 22.00 น. จะปิดสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชั่น และถนนสุทธาวาส เพื่อดำเนินงานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ระหว่างแยกพรานนก สถานีรถไฟธนบุรี ข้ามสะพานไปยังฝั่งถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน เพื่อไปออกถนนบรมราชชนนี สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ถึงถนนกาญจนาภิเษก ได้รับผลกระทบ โดยผู้รับจ้างจะรื้อถอนสะพานข้ามแยกดังกล่าวเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ OR2 จากนั้นจะก่อสร้างสะพานทดแทน ในเดือน ธ.ค.2569 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือน มิ.ย.2571 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง อย่างต่อมา คือ การก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑลสาย 3-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2568 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4,490 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการคำนวณราคากลาง อีกโครงการหนึ่ง คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง (M9) ระยะทาง 38 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กทม. กับ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2567 คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี สำหรับส่วนต่อขยายถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ที่จะแบ่งเบาการจราจรถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนี ได้แก่ โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,532 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าแล้ว 72.14% คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน มิ.ย.2568 และโครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดบริเวณตรงข้ามปากซอยกระทุ่มล้ม 9 อ.สามพราน จ.นครปฐม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,299.90 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน สิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.2569 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1028 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5

    แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท

    สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน

    ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย

    จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572

    #Newskit
    ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5 แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 893 มุมมอง 0 รีวิว
  • 22 ธันวาคม วันนี้ดอนเมืองโทลล์เวย์ปรับราคาค่าผ่านทางเรียบร้อยแล้วครับ สำหรับรถ 4 ล้อ ปรับเพิ่มขึ้น 5-10 บาท ด่านไหนจ่ายเท่าไหร่บ้าง ผมทำภาพมาให้ดูกันครับ 😀

    สำหรับการขึ้นราคารอบนี้เป็นไปตามสัญญาสัมปทานระหว่างกรมทางหลวง กับบริษัททางยกระดับดอนเมือง ซึ่งตามสัญญาจะมีการปรับทุก 5 ปี โดยรอบต่อไปที่จะปรับขึ้นอีกคือวันที่ 22 ธันวาคม 2572 ซึ่งจะเป็นการปรับราคาครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะหมดสัมปทานลงในปี 2577 ครับ

    หลังจากปี 2577 เส้นทางทั้งหมดจะกลับไปอยู่ในการบริหารของกรมทางหลวง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างก็ต้องดูกันต่อไปครับ

    แต่เบื้องต้นตอนนี้ทางกรมทางหลวงเตรียมจะต่อขยายจากรังสิตออกไปจนถึงแยกต่างระดับบางปะอิน ไปเชื่อมกับถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกและมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช ในชื่อ "มอเตอร์เวย์สาย M5" ซึ่งเป็นแผนงานที่กำลังต่อคิวรออนุมัติจาก ครม. กันอยู่ครับ
    22 ธันวาคม วันนี้ดอนเมืองโทลล์เวย์ปรับราคาค่าผ่านทางเรียบร้อยแล้วครับ สำหรับรถ 4 ล้อ ปรับเพิ่มขึ้น 5-10 บาท ด่านไหนจ่ายเท่าไหร่บ้าง ผมทำภาพมาให้ดูกันครับ 😀 สำหรับการขึ้นราคารอบนี้เป็นไปตามสัญญาสัมปทานระหว่างกรมทางหลวง กับบริษัททางยกระดับดอนเมือง ซึ่งตามสัญญาจะมีการปรับทุก 5 ปี โดยรอบต่อไปที่จะปรับขึ้นอีกคือวันที่ 22 ธันวาคม 2572 ซึ่งจะเป็นการปรับราคาครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะหมดสัมปทานลงในปี 2577 ครับ หลังจากปี 2577 เส้นทางทั้งหมดจะกลับไปอยู่ในการบริหารของกรมทางหลวง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างก็ต้องดูกันต่อไปครับ แต่เบื้องต้นตอนนี้ทางกรมทางหลวงเตรียมจะต่อขยายจากรังสิตออกไปจนถึงแยกต่างระดับบางปะอิน ไปเชื่อมกับถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกและมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช ในชื่อ "มอเตอร์เวย์สาย M5" ซึ่งเป็นแผนงานที่กำลังต่อคิวรออนุมัติจาก ครม. กันอยู่ครับ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • เส้นกาญจนาฯ เตรียมอัมพาต สร้างมอเตอร์เวย์ M9

    โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้านตะวันตก ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากการก่อสร้างมายาวนาน ตั้งแต่โครงการทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ โครงการขยายถนนชัยพฤกษ์ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี กระทบกับทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ส่วนถนนกาญจนาภิเษก ปรับปรุงผิวทางเป็นคอนกรีตช่วงบางขุนเทียน-บางแค ตั้งแต่ปี 2563 ยังไม่แล้วเสร็จเพราะแก้ไขแบบเพิ่มเติม

    มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 ธ.ค. เห็นชอบให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9) ตามหลักการที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก และเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษรอบกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะก่อสร้างในปี 2568 แล้วเสร็จในปี 2571

    จุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน กทม. จุดสิ้นสุดบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับบางบัวทอง จ.นนทบุรี ระยะทาง 35.85 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางขึ้น 8 จุด ทางลง 6 จุด ทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP NET Cost (ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ) กรอบวงเงินร่วมลงทุน 47,521.04 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,253.30 ล้านบาท มีการเวนคืนที่ดิน 3 จุด รวม 33 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา

    ส่วนการเก็บค่าผ่านทาง ใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) คิดค่าผ่านทางรถยนต์ 4 ล้อ คิด 10 บาท + 1.50 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์ 6 ล้อ คิด 15 บาท + 2.40 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์มากกว่า 6 ล้อ คิด 25 บาท + 3.45 บาทต่อกิโลเมตร โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทาง ปรับขึ้นค่าผ่านทางทุก 5 ปี ระยะเวลาโครงการรวม 34 ปี แบ่งเป็นก่อสร้าง 4 ปี ดำเนินงานและบำรุงรักษา 30 ปี

    ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเริ่มต้นก่อสร้างก็คือ ถนนกาญจนาภิเษกตั้งแต่บางขุนเทียนถึงบางบัวทอง โดยเฉพาะทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน ทางแยกต่างระดับฉิมพลี และทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นคอขวดอาจติดขัด บางวันถึงขั้นเป็นอัมพาต หากบริหารจัดการจราจรไม่ดี ส่วนถนนราชพฤกษ์ต้องแบกรับการจราจรมากขึ้น และอุบัติเหตุจากการก่อสร้างที่เกิดขึ้นซ้ำซาก เฉกเช่นถนนพระรามที่ 2 อาจซ้ำรอยเกิดขึ้นกับถนนกาญจนาภิเษก โดยที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบอย่างกรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม ทำได้แค่ วัวหายแล้วล้อมคอก

    #Newskit
    เส้นกาญจนาฯ เตรียมอัมพาต สร้างมอเตอร์เวย์ M9 โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้านตะวันตก ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากการก่อสร้างมายาวนาน ตั้งแต่โครงการทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ โครงการขยายถนนชัยพฤกษ์ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี กระทบกับทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ส่วนถนนกาญจนาภิเษก ปรับปรุงผิวทางเป็นคอนกรีตช่วงบางขุนเทียน-บางแค ตั้งแต่ปี 2563 ยังไม่แล้วเสร็จเพราะแก้ไขแบบเพิ่มเติม มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 ธ.ค. เห็นชอบให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9) ตามหลักการที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก และเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษรอบกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะก่อสร้างในปี 2568 แล้วเสร็จในปี 2571 จุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน กทม. จุดสิ้นสุดบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับบางบัวทอง จ.นนทบุรี ระยะทาง 35.85 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางขึ้น 8 จุด ทางลง 6 จุด ทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP NET Cost (ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ) กรอบวงเงินร่วมลงทุน 47,521.04 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,253.30 ล้านบาท มีการเวนคืนที่ดิน 3 จุด รวม 33 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา ส่วนการเก็บค่าผ่านทาง ใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) คิดค่าผ่านทางรถยนต์ 4 ล้อ คิด 10 บาท + 1.50 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์ 6 ล้อ คิด 15 บาท + 2.40 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์มากกว่า 6 ล้อ คิด 25 บาท + 3.45 บาทต่อกิโลเมตร โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทาง ปรับขึ้นค่าผ่านทางทุก 5 ปี ระยะเวลาโครงการรวม 34 ปี แบ่งเป็นก่อสร้าง 4 ปี ดำเนินงานและบำรุงรักษา 30 ปี ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเริ่มต้นก่อสร้างก็คือ ถนนกาญจนาภิเษกตั้งแต่บางขุนเทียนถึงบางบัวทอง โดยเฉพาะทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน ทางแยกต่างระดับฉิมพลี และทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นคอขวดอาจติดขัด บางวันถึงขั้นเป็นอัมพาต หากบริหารจัดการจราจรไม่ดี ส่วนถนนราชพฤกษ์ต้องแบกรับการจราจรมากขึ้น และอุบัติเหตุจากการก่อสร้างที่เกิดขึ้นซ้ำซาก เฉกเช่นถนนพระรามที่ 2 อาจซ้ำรอยเกิดขึ้นกับถนนกาญจนาภิเษก โดยที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบอย่างกรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม ทำได้แค่ วัวหายแล้วล้อมคอก #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 861 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประเมิน 2 สาเหตุใหญ่ โครงสร้างอ่อนแอ เครนถล่มพระราม 2
    .
    เหตุการณ์โครงถักเหล็กเลื่อน อุปกรณ์ใช้ก่อสร้างทางยกระดับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว (ช่วงที่ 3) ตอนที่ 1 อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมาบนพื้นที่ กม.21+600-กม.22+100 ถนนพระราม 2 ขาออกกรุงเทพฯ หมู่ 2 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร มีคนงานเสียชีวิต 6 ศพ กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกครั้งบนถนนสายนี้ จนหลายฝ่ายเกิดข้อกังขาทำไมการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถึงได้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง
    .
    ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุสลดครั้งล่าสุดว่า จากการได้ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติในทางวิศวกรรม โดยขณะนี้ มีการตั้งสมมุติฐานไว้ 2 แนวทางคือ 1.โครงเหล็กวิบัติที่ตัวโครงเหล็กเอง หรือ 2.ฐานรองรับโครงเหล็กหลุดจากเสา และทำให้โครงเหล็กวิบัติตามมา โดยส่วนตัวให้น้ำหนักไปที่สมมุติฐานข้อที่ 2 นั่นคือ ฐานรองโครงเหล็กหลุดจากเสาก่อน เพราะสามารถอธิบายได้ว่าหลังจากฐานรองรับหลุดแล้ว โครงเหล็กพังถล่มตามลงมาเนื่องจากการกระแทก และการกระชากของชิ้นส่วนที่ห้อยแขวนอยู่ ซึ่งจะอธิบายรูปแบบการวิบัติที่ปรากฏได้ อย่างไรก็ตามทั้งสองข้อข้างต้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้สรุปสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
    .
    "เหตุการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นว่า การก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ยังเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าต่อคนงานหรือต่อประชาชนที่ต้องใช้ทางสัญจร ปัญหารากเหง้าคือการก่อสร้างโดยใช้โครงเหล็กเลื่อนเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้วิศวกรรมระดับสูง ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับจะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้จริงถึง ไม่ใช่ปล่อยให้คนงานขึ้นไปทำกันเอง"
    .
    สำหรับมาตรการที่จำเป็นต้องมีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควรประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ต้องทบทวนมาตรฐานการทำงาน ของโครงการก่อสร้างอื่นทุกโครงการ ที่ใช้โครงเหล็กเลื่อนในการก่อสร้าง ได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบการเชื่อมต่อ ความแข็งแรงของโครงเหล็ก ตลอดจนผู้ที่จะไปขึ้นทำงานต้องผ่านการอบรม ทั้งในด้านความปลอดภัยและในด้านการปฏิบัติทางวิศวกรรม 2.ระยะกลาง-ระยะยาว รัฐควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการก่อสร้างที่ใช้ระบบโครงเหล็กเลื่อน ให้เป็น “การก่อสร้างควบคุม” หรือ “Controlled Construction” โดยควบคุมตั้งแต่วิศวกรที่วางแผนและกำกับการทำงาน หัวหน้าคนงาน ผู้บังคับโครงเหล็กเลื่อน ตลอดจนคนงานที่ขึ้นไปปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบได้รับใบอนุญาต จึงจะขึ้นไปปฏิบัติงานได้ และการขอขึ้นไปปฏิบัติงานแต่ละครั้งต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานความปลอดภัยตรวจสอบใบอนุญาตการทำงานเสียก่อน 3.รัฐควรออกระเบียบ ให้ขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาที่ทำงานโครงเหล็กเลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนมารับงานได้
    ...............
    Sondhi X
    ประเมิน 2 สาเหตุใหญ่ โครงสร้างอ่อนแอ เครนถล่มพระราม 2 . เหตุการณ์โครงถักเหล็กเลื่อน อุปกรณ์ใช้ก่อสร้างทางยกระดับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว (ช่วงที่ 3) ตอนที่ 1 อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมาบนพื้นที่ กม.21+600-กม.22+100 ถนนพระราม 2 ขาออกกรุงเทพฯ หมู่ 2 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร มีคนงานเสียชีวิต 6 ศพ กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกครั้งบนถนนสายนี้ จนหลายฝ่ายเกิดข้อกังขาทำไมการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถึงได้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง . ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุสลดครั้งล่าสุดว่า จากการได้ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติในทางวิศวกรรม โดยขณะนี้ มีการตั้งสมมุติฐานไว้ 2 แนวทางคือ 1.โครงเหล็กวิบัติที่ตัวโครงเหล็กเอง หรือ 2.ฐานรองรับโครงเหล็กหลุดจากเสา และทำให้โครงเหล็กวิบัติตามมา โดยส่วนตัวให้น้ำหนักไปที่สมมุติฐานข้อที่ 2 นั่นคือ ฐานรองโครงเหล็กหลุดจากเสาก่อน เพราะสามารถอธิบายได้ว่าหลังจากฐานรองรับหลุดแล้ว โครงเหล็กพังถล่มตามลงมาเนื่องจากการกระแทก และการกระชากของชิ้นส่วนที่ห้อยแขวนอยู่ ซึ่งจะอธิบายรูปแบบการวิบัติที่ปรากฏได้ อย่างไรก็ตามทั้งสองข้อข้างต้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้สรุปสาเหตุที่แท้จริงต่อไป . "เหตุการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นว่า การก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ยังเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าต่อคนงานหรือต่อประชาชนที่ต้องใช้ทางสัญจร ปัญหารากเหง้าคือการก่อสร้างโดยใช้โครงเหล็กเลื่อนเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้วิศวกรรมระดับสูง ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับจะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้จริงถึง ไม่ใช่ปล่อยให้คนงานขึ้นไปทำกันเอง" . สำหรับมาตรการที่จำเป็นต้องมีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควรประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ต้องทบทวนมาตรฐานการทำงาน ของโครงการก่อสร้างอื่นทุกโครงการ ที่ใช้โครงเหล็กเลื่อนในการก่อสร้าง ได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบการเชื่อมต่อ ความแข็งแรงของโครงเหล็ก ตลอดจนผู้ที่จะไปขึ้นทำงานต้องผ่านการอบรม ทั้งในด้านความปลอดภัยและในด้านการปฏิบัติทางวิศวกรรม 2.ระยะกลาง-ระยะยาว รัฐควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการก่อสร้างที่ใช้ระบบโครงเหล็กเลื่อน ให้เป็น “การก่อสร้างควบคุม” หรือ “Controlled Construction” โดยควบคุมตั้งแต่วิศวกรที่วางแผนและกำกับการทำงาน หัวหน้าคนงาน ผู้บังคับโครงเหล็กเลื่อน ตลอดจนคนงานที่ขึ้นไปปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบได้รับใบอนุญาต จึงจะขึ้นไปปฏิบัติงานได้ และการขอขึ้นไปปฏิบัติงานแต่ละครั้งต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานความปลอดภัยตรวจสอบใบอนุญาตการทำงานเสียก่อน 3.รัฐควรออกระเบียบ ให้ขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาที่ทำงานโครงเหล็กเลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนมารับงานได้ ............... Sondhi X
    Like
    Sad
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1192 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2

    โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต

    เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

    แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ

    สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน

    ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น

    #Newskit
    อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2 โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น #Newskit
    Like
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 846 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมาคมวิศวกรฯ ชี้สมมุติฐานสาเหตุการพังถล่มของโครงถักเหล็ก ถนนพระราม 2🚧ถนนพระราม 2 – จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้นศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้น เป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซ็กเมนต์ ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรงโครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกตหรือข้อสมมุติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใดศ.ดร.อมร พิมานมาศ กล่าวต่อว่า ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ยังเป็นเพียงข้อสังเกตขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่สรุปว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมอีก และการที่จะระบุสาเหตุที่แท้จริงได้นั้นจะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบ รายการคำนวณ ข้อกำหนดวิธีการทำงาน และคุณภาพวัสดุ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิบัติของโครงถักเหล็กเป็นเรื่องที่กระทบต่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยของการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ และที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันหลายครั้งแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุซ้ำรอยในอนาคตที่มา:matichon
    สมาคมวิศวกรฯ ชี้สมมุติฐานสาเหตุการพังถล่มของโครงถักเหล็ก ถนนพระราม 2🚧ถนนพระราม 2 – จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้นศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้น เป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซ็กเมนต์ ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรงโครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกตหรือข้อสมมุติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใดศ.ดร.อมร พิมานมาศ กล่าวต่อว่า ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ยังเป็นเพียงข้อสังเกตขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่สรุปว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมอีก และการที่จะระบุสาเหตุที่แท้จริงได้นั้นจะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบ รายการคำนวณ ข้อกำหนดวิธีการทำงาน และคุณภาพวัสดุ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิบัติของโครงถักเหล็กเป็นเรื่องที่กระทบต่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยของการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ และที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันหลายครั้งแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุซ้ำรอยในอนาคตที่มา:matichon
    Like
    Sad
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 637 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดสถิติอุบัติเหตุถนนพระรามที่ 2.ตั้งแต่ปี 2561 - มกราคม 2567 เกิดอุบัติเหตุ 2,244 ครั้ง มีเสียชีวิต 132 คน และบาดเจ็บ 1,305 คน.เมื่อเวลาประมาณ 04.08 น.ของวันนี้ (29 พ.ย.67) คานปูน (Segment) และเครน (Launching Gantry Crane) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย -บ้านแพ้ว ตอน 1 พังถล่มลงมา โดยจุดเกิดเหตุอยู่บนถนนพระรามที่ 2 กม.21+600 (บริเวณช่องทางหลัก ทั้งขาเข้าและออก) ต.คอกกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ใกล้แยกมหาชัยเมืองใหม่ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร มีผู้ได้รับบาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาล 10 ราย และเสียชีวิต 6 ราย.#อุบัติเหตุ #ถนนพระราม2 #บาดเจ็บ #เสียชีวิต
    เปิดสถิติอุบัติเหตุถนนพระรามที่ 2.ตั้งแต่ปี 2561 - มกราคม 2567 เกิดอุบัติเหตุ 2,244 ครั้ง มีเสียชีวิต 132 คน และบาดเจ็บ 1,305 คน.เมื่อเวลาประมาณ 04.08 น.ของวันนี้ (29 พ.ย.67) คานปูน (Segment) และเครน (Launching Gantry Crane) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย -บ้านแพ้ว ตอน 1 พังถล่มลงมา โดยจุดเกิดเหตุอยู่บนถนนพระรามที่ 2 กม.21+600 (บริเวณช่องทางหลัก ทั้งขาเข้าและออก) ต.คอกกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ใกล้แยกมหาชัยเมืองใหม่ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร มีผู้ได้รับบาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาล 10 ราย และเสียชีวิต 6 ราย.#อุบัติเหตุ #ถนนพระราม2 #บาดเจ็บ #เสียชีวิต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 635 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม่ใจสลาย! หลังรู้ข่าวลูกชายถูกคานถล่มดับ เหตุคานเหล็กทางยกระดับพระราม 2 ถล่ม เผยแม่ร้องไห้จนไม่มีน้ำตา ระบุลูกชายเป็นคนโต เสาหลักของครอบครัว ก่อนเกิดเหตุโทรมาบ่นอยากลาออก เหตุต้องเสี่ยงทำงานบนที่สูง ขณะที่ลูกสาววัย 3 ขวบ ยังไม่รู้พ่อเสียชีวิต

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000115080

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    แม่ใจสลาย! หลังรู้ข่าวลูกชายถูกคานถล่มดับ เหตุคานเหล็กทางยกระดับพระราม 2 ถล่ม เผยแม่ร้องไห้จนไม่มีน้ำตา ระบุลูกชายเป็นคนโต เสาหลักของครอบครัว ก่อนเกิดเหตุโทรมาบ่นอยากลาออก เหตุต้องเสี่ยงทำงานบนที่สูง ขณะที่ลูกสาววัย 3 ขวบ ยังไม่รู้พ่อเสียชีวิต อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000115080 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Sad
    Like
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1628 มุมมอง 1 รีวิว
  • จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้น ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้นเป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซกเมนต์ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรง โครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุที่สาเหตุชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกต หรือข้อสมมติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้

    1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา

    2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา

    3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา

    4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000114846

    #MGROnline #โครงถักเหล็ก #ถนนพระราม2
    จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้น ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้นเป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซกเมนต์ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรง โครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุที่สาเหตุชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกต หรือข้อสมมติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้ • 1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา • 2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา • 3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา • 4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000114846 • #MGROnline #โครงถักเหล็ก #ถนนพระราม2
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 749 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระราม 2 สยองอีกแล้ว! เครนถล่ม เสียชีวิต 4 ศพ 29/11/67 #ถนนพระราม 2 #รถเครน #คานเหล็ก #ทางยกระดับ
    พระราม 2 สยองอีกแล้ว! เครนถล่ม เสียชีวิต 4 ศพ 29/11/67 #ถนนพระราม 2 #รถเครน #คานเหล็ก #ทางยกระดับ
    Sad
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1391 มุมมอง 79 2 รีวิว
  • “คมนาคม”ลุ้นครม.โค้งสุดท้ายปลายปี ธ.ค. 67 นี้ ดัน 4 โปรเจ็กต์ 1.09 แสนล้านบาท จ่อคิวอนุมัติลงทุน”มอเตอร์เวย์”บางขุนเทียน-บางบัวทอง, ต่อขยายโทลล์เวย์,สีแดง มธ.รังสิต ส่วนต้นปี 68 ชงอีก 9 โครงการ”ทางด่วน -มอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่ -ไฮสปีดเฟส 2 “ต่อเนื่อง

    นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 ได้มีการติดตามโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม ที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งขณะนี้มีโครงการที่ผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. แล้ว จำนวน 5 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากครม.ภายในเดือนธ.ค. 2567

    ได้แก่ โครงการทางบก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุน 56,035 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost ที่เอกชนลงทุนงานโยธาด้วยเป็นเส้นทางแรก

    โครงการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,358 ล้านบาท โดยจะดำเนินการในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยเอกชนลงทุนในส่วนก่อสร้างงานโยธาและงาน O&M ทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมได้เคยดึงเรื่องกลับมาเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการและรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เช่น ให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการลงทุนก่อสร้างเองได้ แต่พบว่า รูปแบบ PPP Gross Cost เหมาะสมที่สุด จึงเสนอไปครม.อีกครั้ง

    #MGROnline #คมนาคม
    “คมนาคม”ลุ้นครม.โค้งสุดท้ายปลายปี ธ.ค. 67 นี้ ดัน 4 โปรเจ็กต์ 1.09 แสนล้านบาท จ่อคิวอนุมัติลงทุน”มอเตอร์เวย์”บางขุนเทียน-บางบัวทอง, ต่อขยายโทลล์เวย์,สีแดง มธ.รังสิต ส่วนต้นปี 68 ชงอีก 9 โครงการ”ทางด่วน -มอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่ -ไฮสปีดเฟส 2 “ต่อเนื่อง • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 ได้มีการติดตามโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม ที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งขณะนี้มีโครงการที่ผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. แล้ว จำนวน 5 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากครม.ภายในเดือนธ.ค. 2567 • ได้แก่ โครงการทางบก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุน 56,035 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost ที่เอกชนลงทุนงานโยธาด้วยเป็นเส้นทางแรก • โครงการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,358 ล้านบาท โดยจะดำเนินการในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยเอกชนลงทุนในส่วนก่อสร้างงานโยธาและงาน O&M ทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมได้เคยดึงเรื่องกลับมาเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการและรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เช่น ให้กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการลงทุนก่อสร้างเองได้ แต่พบว่า รูปแบบ PPP Gross Cost เหมาะสมที่สุด จึงเสนอไปครม.อีกครั้ง • #MGROnline #คมนาคม
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 692 มุมมอง 0 รีวิว
  • แน่หรือ?พระราม 2 สุริยะบอกเสร็จ มิ.ย.68

    สามโครงการ สองหน่วยงาน ที่ทำถนนพระรามที่ 2 ประตูสู่ภาคใต้ เกิดการจราจรติดขัดเวลานี้ คือ โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างทางยกระดับทางหลวงหมายเลข 35 ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว รวมระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร เรียกเสียงบ่นแก่ผู้มช้รถใช้ถนน สมญานามถนนเจ็ดชั่วโคตร

    มาคราวนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ระบุว่า ภายใน 11 เดือนข้างหน้า ทั้งสามโครงการจะต้องแล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายในเดือน มิ.ย. 2568 พร้อมสั่งการให้ทั้งสองหน่วยงานติดตามงานอย่างใกล้ชิด และรายงานความคืบหน้าทุกเดือน ซึ่งจากรายงานในช่วงที่ผ่านมา พบว่าทุกอย่างมีความพร้อมทั้งหมด รวมทั้งก่อนหน้านี้ทั้งสองหน่วยงานได้ไปดูกระบวนการตั้งแต่การหล่อคานที่โรงงานว่าทำได้กี่ตัว แล้วเสร็จทันไหม ดังนั้น อีก 11 เดือนที่เหลือ เชื่อว่าจะแล้วเสร็จได้ทันทั้งหมด

    สำหรับภาพรวมการก่อสร้าง พบว่าโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ ตะวันตก คืบหน้า 80.92% โดยสะพานทศมราชัน หรือสะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2567 ส่วนโครงการก่อสร้างทางยกระดับฯ ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย คืบหน้าเฉลี่ย 95.42% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2567 โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการชั่วคราว ระหว่างด่านพันท้ายนรสิงห์ ถึงด่านมหาชัย ระยะทาง 4 กิโลเมตร ภายในปลายปีนี้

    ส่วนโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว แบ่งออกเป็น 10 ตอน คืบหน้าเฉลี่ย 57.50% โดยพบว่าคืบหน้ามากที่สุดตอนที่ 9 คืบหน้า 82.885% น้อยที่สุดตอนที่ 7 คืบหน้า 35.851% แต่ระยะเวลาแล้วเสร็จส่วนใหญ่ มิ.ย. 2568

    ถนนพระรามที่ 2 ประสบปัญหาการจราจรติดขัด เกี่ยวพันมาแล้ว 3 รัฐบาล นับตั้งแต่ปี 2561 ที่มีโครงการปรับปรุงถนนพระรามที่ 2 ช่วงทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย กระทั่งมีการก่อสร้างทางยกระดับพระรามที่ 2 รวม 3 โครงการ และโครงการทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างบนถนนสายนี้ยังไม่หมดไป เพราะยังมีโครงการขยายถนนออกเป็น 14 ช่องจราจร ช่วงแยกบ้านแพ้วถึงนาโคก ระยะทาง 14.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ

    #Newskit #พระราม2 #Motorway82
    แน่หรือ?พระราม 2 สุริยะบอกเสร็จ มิ.ย.68 สามโครงการ สองหน่วยงาน ที่ทำถนนพระรามที่ 2 ประตูสู่ภาคใต้ เกิดการจราจรติดขัดเวลานี้ คือ โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างทางยกระดับทางหลวงหมายเลข 35 ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว รวมระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร เรียกเสียงบ่นแก่ผู้มช้รถใช้ถนน สมญานามถนนเจ็ดชั่วโคตร มาคราวนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ระบุว่า ภายใน 11 เดือนข้างหน้า ทั้งสามโครงการจะต้องแล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายในเดือน มิ.ย. 2568 พร้อมสั่งการให้ทั้งสองหน่วยงานติดตามงานอย่างใกล้ชิด และรายงานความคืบหน้าทุกเดือน ซึ่งจากรายงานในช่วงที่ผ่านมา พบว่าทุกอย่างมีความพร้อมทั้งหมด รวมทั้งก่อนหน้านี้ทั้งสองหน่วยงานได้ไปดูกระบวนการตั้งแต่การหล่อคานที่โรงงานว่าทำได้กี่ตัว แล้วเสร็จทันไหม ดังนั้น อีก 11 เดือนที่เหลือ เชื่อว่าจะแล้วเสร็จได้ทันทั้งหมด สำหรับภาพรวมการก่อสร้าง พบว่าโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ ตะวันตก คืบหน้า 80.92% โดยสะพานทศมราชัน หรือสะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2567 ส่วนโครงการก่อสร้างทางยกระดับฯ ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย คืบหน้าเฉลี่ย 95.42% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2567 โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการชั่วคราว ระหว่างด่านพันท้ายนรสิงห์ ถึงด่านมหาชัย ระยะทาง 4 กิโลเมตร ภายในปลายปีนี้ ส่วนโครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว แบ่งออกเป็น 10 ตอน คืบหน้าเฉลี่ย 57.50% โดยพบว่าคืบหน้ามากที่สุดตอนที่ 9 คืบหน้า 82.885% น้อยที่สุดตอนที่ 7 คืบหน้า 35.851% แต่ระยะเวลาแล้วเสร็จส่วนใหญ่ มิ.ย. 2568 ถนนพระรามที่ 2 ประสบปัญหาการจราจรติดขัด เกี่ยวพันมาแล้ว 3 รัฐบาล นับตั้งแต่ปี 2561 ที่มีโครงการปรับปรุงถนนพระรามที่ 2 ช่วงทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย กระทั่งมีการก่อสร้างทางยกระดับพระรามที่ 2 รวม 3 โครงการ และโครงการทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างบนถนนสายนี้ยังไม่หมดไป เพราะยังมีโครงการขยายถนนออกเป็น 14 ช่องจราจร ช่วงแยกบ้านแพ้วถึงนาโคก ระยะทาง 14.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ #Newskit #พระราม2 #Motorway82
    Like
    Haha
    Yay
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1294 มุมมอง 0 รีวิว