ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5

แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท

สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน

ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย

จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572

#Newskit
ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5 แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572 #Newskit
Like
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 112 มุมมอง 0 รีวิว