ประเมิน 2 สาเหตุใหญ่ โครงสร้างอ่อนแอ เครนถล่มพระราม 2
.
เหตุการณ์โครงถักเหล็กเลื่อน อุปกรณ์ใช้ก่อสร้างทางยกระดับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว (ช่วงที่ 3) ตอนที่ 1 อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมาบนพื้นที่ กม.21+600-กม.22+100 ถนนพระราม 2 ขาออกกรุงเทพฯ หมู่ 2 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร มีคนงานเสียชีวิต 6 ศพ กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกครั้งบนถนนสายนี้ จนหลายฝ่ายเกิดข้อกังขาทำไมการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถึงได้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง
.
ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุสลดครั้งล่าสุดว่า จากการได้ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติในทางวิศวกรรม โดยขณะนี้ มีการตั้งสมมุติฐานไว้ 2 แนวทางคือ 1.โครงเหล็กวิบัติที่ตัวโครงเหล็กเอง หรือ 2.ฐานรองรับโครงเหล็กหลุดจากเสา และทำให้โครงเหล็กวิบัติตามมา โดยส่วนตัวให้น้ำหนักไปที่สมมุติฐานข้อที่ 2 นั่นคือ ฐานรองโครงเหล็กหลุดจากเสาก่อน เพราะสามารถอธิบายได้ว่าหลังจากฐานรองรับหลุดแล้ว โครงเหล็กพังถล่มตามลงมาเนื่องจากการกระแทก และการกระชากของชิ้นส่วนที่ห้อยแขวนอยู่ ซึ่งจะอธิบายรูปแบบการวิบัติที่ปรากฏได้ อย่างไรก็ตามทั้งสองข้อข้างต้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้สรุปสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
.
"เหตุการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นว่า การก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ยังเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าต่อคนงานหรือต่อประชาชนที่ต้องใช้ทางสัญจร ปัญหารากเหง้าคือการก่อสร้างโดยใช้โครงเหล็กเลื่อนเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้วิศวกรรมระดับสูง ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับจะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้จริงถึง ไม่ใช่ปล่อยให้คนงานขึ้นไปทำกันเอง"
.
สำหรับมาตรการที่จำเป็นต้องมีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควรประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ต้องทบทวนมาตรฐานการทำงาน ของโครงการก่อสร้างอื่นทุกโครงการ ที่ใช้โครงเหล็กเลื่อนในการก่อสร้าง ได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบการเชื่อมต่อ ความแข็งแรงของโครงเหล็ก ตลอดจนผู้ที่จะไปขึ้นทำงานต้องผ่านการอบรม ทั้งในด้านความปลอดภัยและในด้านการปฏิบัติทางวิศวกรรม 2.ระยะกลาง-ระยะยาว รัฐควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการก่อสร้างที่ใช้ระบบโครงเหล็กเลื่อน ให้เป็น “การก่อสร้างควบคุม” หรือ “Controlled Construction” โดยควบคุมตั้งแต่วิศวกรที่วางแผนและกำกับการทำงาน หัวหน้าคนงาน ผู้บังคับโครงเหล็กเลื่อน ตลอดจนคนงานที่ขึ้นไปปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบได้รับใบอนุญาต จึงจะขึ้นไปปฏิบัติงานได้ และการขอขึ้นไปปฏิบัติงานแต่ละครั้งต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานความปลอดภัยตรวจสอบใบอนุญาตการทำงานเสียก่อน 3.รัฐควรออกระเบียบ ให้ขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาที่ทำงานโครงเหล็กเลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนมารับงานได้
...............
Sondhi X
ประเมิน 2 สาเหตุใหญ่ โครงสร้างอ่อนแอ เครนถล่มพระราม 2 . เหตุการณ์โครงถักเหล็กเลื่อน อุปกรณ์ใช้ก่อสร้างทางยกระดับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว (ช่วงที่ 3) ตอนที่ 1 อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมาบนพื้นที่ กม.21+600-กม.22+100 ถนนพระราม 2 ขาออกกรุงเทพฯ หมู่ 2 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร มีคนงานเสียชีวิต 6 ศพ กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกครั้งบนถนนสายนี้ จนหลายฝ่ายเกิดข้อกังขาทำไมการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถึงได้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง . ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุสลดครั้งล่าสุดว่า จากการได้ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติในทางวิศวกรรม โดยขณะนี้ มีการตั้งสมมุติฐานไว้ 2 แนวทางคือ 1.โครงเหล็กวิบัติที่ตัวโครงเหล็กเอง หรือ 2.ฐานรองรับโครงเหล็กหลุดจากเสา และทำให้โครงเหล็กวิบัติตามมา โดยส่วนตัวให้น้ำหนักไปที่สมมุติฐานข้อที่ 2 นั่นคือ ฐานรองโครงเหล็กหลุดจากเสาก่อน เพราะสามารถอธิบายได้ว่าหลังจากฐานรองรับหลุดแล้ว โครงเหล็กพังถล่มตามลงมาเนื่องจากการกระแทก และการกระชากของชิ้นส่วนที่ห้อยแขวนอยู่ ซึ่งจะอธิบายรูปแบบการวิบัติที่ปรากฏได้ อย่างไรก็ตามทั้งสองข้อข้างต้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้สรุปสาเหตุที่แท้จริงต่อไป . "เหตุการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นว่า การก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ยังเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าต่อคนงานหรือต่อประชาชนที่ต้องใช้ทางสัญจร ปัญหารากเหง้าคือการก่อสร้างโดยใช้โครงเหล็กเลื่อนเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้วิศวกรรมระดับสูง ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับจะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้จริงถึง ไม่ใช่ปล่อยให้คนงานขึ้นไปทำกันเอง" . สำหรับมาตรการที่จำเป็นต้องมีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควรประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ต้องทบทวนมาตรฐานการทำงาน ของโครงการก่อสร้างอื่นทุกโครงการ ที่ใช้โครงเหล็กเลื่อนในการก่อสร้าง ได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบการเชื่อมต่อ ความแข็งแรงของโครงเหล็ก ตลอดจนผู้ที่จะไปขึ้นทำงานต้องผ่านการอบรม ทั้งในด้านความปลอดภัยและในด้านการปฏิบัติทางวิศวกรรม 2.ระยะกลาง-ระยะยาว รัฐควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการก่อสร้างที่ใช้ระบบโครงเหล็กเลื่อน ให้เป็น “การก่อสร้างควบคุม” หรือ “Controlled Construction” โดยควบคุมตั้งแต่วิศวกรที่วางแผนและกำกับการทำงาน หัวหน้าคนงาน ผู้บังคับโครงเหล็กเลื่อน ตลอดจนคนงานที่ขึ้นไปปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบได้รับใบอนุญาต จึงจะขึ้นไปปฏิบัติงานได้ และการขอขึ้นไปปฏิบัติงานแต่ละครั้งต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานความปลอดภัยตรวจสอบใบอนุญาตการทำงานเสียก่อน 3.รัฐควรออกระเบียบ ให้ขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาที่ทำงานโครงเหล็กเลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนมารับงานได้ ............... Sondhi X
Like
Sad
Angry
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 770 มุมมอง 0 รีวิว