อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2

โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต

เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ

สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน

ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น

#Newskit
อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2 โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น #Newskit
Like
Sad
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 436 มุมมอง 0 รีวิว