• ไปเที่ยวจีนจ่าย ซื้อสินค้าด้วยบัตรหรือ app ไหน ได้อัตราแลกเปลี่ยน เท่าไรกันบ้างมาดูกันครับ

    K Plus 100CNY = 480.6025
    AliPay 100CNY = 476.42
    Krungthai Unionpay Travel card 100CNY = 476.3

    ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 24/10/67 12.55น. เวลาไทย

    จะเห็นได้ว่าบัตรกรุงไทยยูเนี่ยนเพย์ใช้travel card จะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด ใน 3 ตัวเลือกนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูด้วยว่าร้านค้ารับชำระเป็นบัตร หรือสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านแอปด้วยนะครับ จะได้เลือกใช้ได้ถูกต้องและครอบคลุม

    #เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สังคม
    #ตัวแทนพลังบุญ
    #ที่ปรึกษาประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
    #ประกันชีวิตควบการลงทุน
    #ที่ปรึกษาการลงทุน
    #ประสบการณ์ด้านการประกันกว่า20ปี
    ไปเที่ยวจีนจ่าย ซื้อสินค้าด้วยบัตรหรือ app ไหน ได้อัตราแลกเปลี่ยน เท่าไรกันบ้างมาดูกันครับ K Plus 100CNY = 480.6025 AliPay 100CNY = 476.42 Krungthai Unionpay Travel card 100CNY = 476.3 ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 24/10/67 12.55น. เวลาไทย จะเห็นได้ว่าบัตรกรุงไทยยูเนี่ยนเพย์ใช้travel card จะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด ใน 3 ตัวเลือกนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูด้วยว่าร้านค้ารับชำระเป็นบัตร หรือสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านแอปด้วยนะครับ จะได้เลือกใช้ได้ถูกต้องและครอบคลุม #เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สังคม #ตัวแทนพลังบุญ #ที่ปรึกษาประกันชีวิตและประกันวินาศภัย #ประกันชีวิตควบการลงทุน #ที่ปรึกษาการลงทุน #ประสบการณ์ด้านการประกันกว่า20ปี
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 29 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥อยากรู้ว่า พระสงฆ์ที่เข้าไปลงทุน
    ในธุรกิจแชร์ลูกโซ่ กับบริษัท เทรด Forex (อัตราแลกเปลี่ยน)
    แล้วเกิดความเสียหายรวมกว่า 1,000 ล้านบาท
    ท่านจะกล้าไปแจ้งความมั้ย?
    คำถามต่อมาคือ พระสงฆ์สามารถซื้อหุ้น
    หรือ ไปลงทุนใน Forex ได้เหรอ? 🤔

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥อยากรู้ว่า พระสงฆ์ที่เข้าไปลงทุน ในธุรกิจแชร์ลูกโซ่ กับบริษัท เทรด Forex (อัตราแลกเปลี่ยน) แล้วเกิดความเสียหายรวมกว่า 1,000 ล้านบาท ท่านจะกล้าไปแจ้งความมั้ย? คำถามต่อมาคือ พระสงฆ์สามารถซื้อหุ้น หรือ ไปลงทุนใน Forex ได้เหรอ? 🤔 #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    Like
    1
    2 Comments 0 Shares 209 Views 0 Reviews
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

    16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567

    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว

    ธนาคารแห่งประเทศไทย
    16 ตุลาคม 2567

    #Thaitimes
    คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที 16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ธนาคารแห่งประเทศไทย 16 ตุลาคม 2567 #Thaitimes
    Like
    Love
    3
    1 Comments 0 Shares 288 Views 0 Reviews
  • มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที
    .
    วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
    .
    โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
    .
    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง
    .
    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567
    .
    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
    .
    ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว
    .............
    Sondhi X
    มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที . วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที . โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า . เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง . อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 . ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ . ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ............. Sondhi X
    Like
    7
    0 Comments 0 Shares 701 Views 0 Reviews
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (3)

    มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ นอกจากข้อดี-ข้อเสีย จากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่า แล้วยังปัจจัยอื่น ที่มีผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ เมื่อดูจาก NAV ของกองทุน เช่น

    • ค่าธรรมเนียมกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
    • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ผลตอบแทนของ Feeder Fund ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก (Master Fund) เป็นหลัก
    • นโยบายการลงทุนของกองทุน แต่ละกองทุนจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับ
    • เมื่อค่าเงินบาทแข็ง มักพบว่าหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (Feeder Fund) ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มี NAV ลดลง เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนคล้ายกัน แต่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หมายความว่าเงินบาทมีค่ามากกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เมื่อแปลงกลับมูลค่าหน่วยลงทุนส่วนของเรา ที่แฝงอยู่ในหน่วยลงทุนหลักที่ปลายทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์ มีค่าลดลง เช่น ตอนเริ่มต้นลงทุน สมมุติว่าเราซื้อหน่วยลงทุน 1,000 หน่วย ตอนที่ค่าเงินบาทเท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และ NAV ของกองทุนอยู่ที่ 35 บาทต่อหน่วย หมายความว่า เงินของเรา 35,000 บาท จะถูกแปลงเป็นเงินดอลลาร์ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ เพื่อไปลงทุนใน GLD ETF แต่พอต่อมาหลังจากนั้นสักระยะหนึ่งเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่ามูลค่าของทองคำใน GLD ETF จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อนำเงินกลับมาแปลงเป็นเงินบาท จะได้เงินบาทน้อยลง กลายเป็น 30,000 บาท ทำให้ NAV ของกองทุนลดลงเหลือ 30 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าของหน่วยลงทุนของเราลดลง
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (3) มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ นอกจากข้อดี-ข้อเสีย จากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่า แล้วยังปัจจัยอื่น ที่มีผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ เมื่อดูจาก NAV ของกองทุน เช่น • ค่าธรรมเนียมกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ผลตอบแทนของ Feeder Fund ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก (Master Fund) เป็นหลัก • นโยบายการลงทุนของกองทุน แต่ละกองทุนจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับ • เมื่อค่าเงินบาทแข็ง มักพบว่าหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (Feeder Fund) ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มี NAV ลดลง เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนคล้ายกัน แต่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หมายความว่าเงินบาทมีค่ามากกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เมื่อแปลงกลับมูลค่าหน่วยลงทุนส่วนของเรา ที่แฝงอยู่ในหน่วยลงทุนหลักที่ปลายทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์ มีค่าลดลง เช่น ตอนเริ่มต้นลงทุน สมมุติว่าเราซื้อหน่วยลงทุน 1,000 หน่วย ตอนที่ค่าเงินบาทเท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และ NAV ของกองทุนอยู่ที่ 35 บาทต่อหน่วย หมายความว่า เงินของเรา 35,000 บาท จะถูกแปลงเป็นเงินดอลลาร์ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ เพื่อไปลงทุนใน GLD ETF แต่พอต่อมาหลังจากนั้นสักระยะหนึ่งเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่ามูลค่าของทองคำใน GLD ETF จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อนำเงินกลับมาแปลงเป็นเงินบาท จะได้เงินบาทน้อยลง กลายเป็น 30,000 บาท ทำให้ NAV ของกองทุนลดลงเหลือ 30 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าของหน่วยลงทุนของเราลดลง
    0 Comments 0 Shares 250 Views 0 Reviews
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (2)

    ข้อดีของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น

    1. อาจได้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง คือเมื่อซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ จะช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งหมดลง ทำให้ในอนาคตเมื่อราคาฟื้นตัว อาจได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น
    • หลักคิดคือ เมื่อราคาของ Master Fund ฟื้นตัวขึ้น (NAV เพิ่มขึ้น) หน่วยลงทุนที่เราซื้อในราคาต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนดีขึ้น เช่น สมมติว่าซื้อหน่วยลงทุนใน Feeder Fund เมื่อ NAV ของ Master Fund อยู่ที่ $100 และซื้อเพิ่มอีกครั้งเมื่อ NAV ลดลงเหลือ $80 ต้นทุนเฉลี่ยของเราอาจอยู่ที่ประมาณ $90 ซึ่งเมื่อราคาของ Master Fund กลับมาที่ $100 บาทอีกครั้ง ก็จะมีกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น
    • ลดต้นทุนเฉลี่ย หมายถึงการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งราคาต่ำในที่นี้หมายถึง การที่เราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์สหรัฐ

    2. เป็นโอกาสในการซื้อในตอนราคาน่าสนใจ คือถ้าเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ เช่น ทองคำ การซื้อในช่วงที่ราคาต่ำอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อในราคาที่น่าสนใจ
    • ราคาน่าสนใจ หรือราคาต่ำ แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับหลักคิดของแต่ละคน เช่น บางคนมองกราฟราคา บางคนวางกรอบราคาระยะสั้น-ยาว บางคนก็ศึกษามาเอง บางคนใช้ความเชื่อ บางคนฟังเขามาอีกที

    ข้อเสียของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น

    ต้นทุนเฉลี่ยอาจไม่ได้ลดลงจริง คือ กองทุนรวม Feeder Fund จะมีระบบบริหารงานภายใน เพื่อให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ควบคุมได้ เช่น
    • เงินดอลลาร์ที่ใช้หมุนเวียน กองทุน Feeder Fund จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์เพื่อนำไปลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ซึ่งมักจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินก้อนนี้ถือเป็นต้นทุนคงที่ของกองทุน กองทุนจึงต้องบริหารเงินทุนนี้ให้มีต้นทุนที่ไม่ผันผวนนัก
    • อาจไม่ได้รับผลจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก นักลงทุนรายย่อยซื้อเพิ่มเข้ามาอีกในจำนวนที่ไม่มากนัก อาจไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของกองทุนมากเท่าไร คือจริงๆ แล้วกองทุนอาจจ่ายเงินดอลลาร์ออกไป ด้วยต้นทุนเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้วไม่ต่างจากตอนปกติเท่าไรนัก นอกจากนี้ กองทุนอาจมีกลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนที่ซับซ้อน เช่น การใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (2) ข้อดีของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น 1. อาจได้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง คือเมื่อซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ จะช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งหมดลง ทำให้ในอนาคตเมื่อราคาฟื้นตัว อาจได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น • หลักคิดคือ เมื่อราคาของ Master Fund ฟื้นตัวขึ้น (NAV เพิ่มขึ้น) หน่วยลงทุนที่เราซื้อในราคาต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนดีขึ้น เช่น สมมติว่าซื้อหน่วยลงทุนใน Feeder Fund เมื่อ NAV ของ Master Fund อยู่ที่ $100 และซื้อเพิ่มอีกครั้งเมื่อ NAV ลดลงเหลือ $80 ต้นทุนเฉลี่ยของเราอาจอยู่ที่ประมาณ $90 ซึ่งเมื่อราคาของ Master Fund กลับมาที่ $100 บาทอีกครั้ง ก็จะมีกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น • ลดต้นทุนเฉลี่ย หมายถึงการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งราคาต่ำในที่นี้หมายถึง การที่เราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์สหรัฐ 2. เป็นโอกาสในการซื้อในตอนราคาน่าสนใจ คือถ้าเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ เช่น ทองคำ การซื้อในช่วงที่ราคาต่ำอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อในราคาที่น่าสนใจ • ราคาน่าสนใจ หรือราคาต่ำ แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับหลักคิดของแต่ละคน เช่น บางคนมองกราฟราคา บางคนวางกรอบราคาระยะสั้น-ยาว บางคนก็ศึกษามาเอง บางคนใช้ความเชื่อ บางคนฟังเขามาอีกที ข้อเสียของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ต้นทุนเฉลี่ยอาจไม่ได้ลดลงจริง คือ กองทุนรวม Feeder Fund จะมีระบบบริหารงานภายใน เพื่อให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ควบคุมได้ เช่น • เงินดอลลาร์ที่ใช้หมุนเวียน กองทุน Feeder Fund จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์เพื่อนำไปลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ซึ่งมักจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินก้อนนี้ถือเป็นต้นทุนคงที่ของกองทุน กองทุนจึงต้องบริหารเงินทุนนี้ให้มีต้นทุนที่ไม่ผันผวนนัก • อาจไม่ได้รับผลจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก นักลงทุนรายย่อยซื้อเพิ่มเข้ามาอีกในจำนวนที่ไม่มากนัก อาจไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของกองทุนมากเท่าไร คือจริงๆ แล้วกองทุนอาจจ่ายเงินดอลลาร์ออกไป ด้วยต้นทุนเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้วไม่ต่างจากตอนปกติเท่าไรนัก นอกจากนี้ กองทุนอาจมีกลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนที่ซับซ้อน เช่น การใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    0 Comments 0 Shares 262 Views 0 Reviews
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (1)

    คำถาม :
    ถ้ากองทุน feeder fund ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ลงทุนในกองทุนแม่ GLD ETF เป็นกอง Master Fund แล้วตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถ้าตอนนี้ NAV ของ Feeder Fund ที่ว่านี้ติดลบ ถ้าซื้อถัวไปอีก จะมีข้อดี-เสีย ยังไง

    ทั้งนี้
    • Feeder Fund คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ในต่างประเทศ
    • Master Fund ในที่นี้คือ GLD ETF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำ
    • ค่าเงินบาทแข็งค่า หมายความว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
    • NAV ติดลบ: หมายถึง มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุนของกองทุนลดลง

    ตอบ :
    ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเวลานั้น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีปัจจัยภายในของกองทุน เช่น ขนาดของเงินทุนที่กองทุนมีอยู่ กลยุทธ์การบริหารเงินทุน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ล้วนมีส่วนสำคัญในการกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (1) คำถาม : ถ้ากองทุน feeder fund ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ลงทุนในกองทุนแม่ GLD ETF เป็นกอง Master Fund แล้วตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถ้าตอนนี้ NAV ของ Feeder Fund ที่ว่านี้ติดลบ ถ้าซื้อถัวไปอีก จะมีข้อดี-เสีย ยังไง ทั้งนี้ • Feeder Fund คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ในต่างประเทศ • Master Fund ในที่นี้คือ GLD ETF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำ • ค่าเงินบาทแข็งค่า หมายความว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ • NAV ติดลบ: หมายถึง มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุนของกองทุนลดลง ตอบ : ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเวลานั้น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีปัจจัยภายในของกองทุน เช่น ขนาดของเงินทุนที่กองทุนมีอยู่ กลยุทธ์การบริหารเงินทุน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ล้วนมีส่วนสำคัญในการกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ
    0 Comments 0 Shares 84 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥 แอดมิน ได้มีโอกาสคุยกับน้องที่มาจาก
    เวียงจันทน์ ประเทศลาว
    เลยลองถามเหตุผลว่า ทำไมถึงมาทำงานที่เมืองไทย?
    และค่าครองชีพ ที่ไทยกับเวียงจันทน์ ที่ไหนสูงกว่ากัน?

    น้องตอบว่า :

    🚩1. สาเหตุที่มาทำงานที่เมืองไทย เพราะค่าเงินบาท
    แข็งค่ากว่า ค่าเงินกีบ(ลาว) เมื่อนำไปแลกที่เวียงจันทน์ จะได้
    จำนวนเงินที่เยอะกว่า (ดูอัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 10 ก.ย.2567
    ค่าเงิน 1 บาท= 653.01 กีบ)

    🚩2. ค่าครองชีพ ไม่น่าเชื่อว่าที่เมืองไทยจะถูกกว่า น้องบอกว่า
    ที่นี่สามารถซื้อหมูปิ้ง และไก่ย่าง ไม้ละ 5-10 บาท ได้
    แต่ที่เวียงจันทน์ อย่างต่ำต้องเจอไม้ละ 20 บาท
    เมืองไทยสามารถอยู่ได้สบายๆ
    (อัตราเงินเฟ้อที่ลาว ปัจจุบัน อยู่ที่ 25%) ทำให้สินค้าอุปโภค
    บริโภคภายในประเทศมีราคาที่สูง)


    เรื่องนี้สะท้อนได้หลายเรื่อง ที่สำคัญคือ

    🚩*การเคลื่อนย้ายแรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้าน
    เพื่อเข้ามาทำงานที่เมืองไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น

    🚩*ค่าครองชีพ ที่เมืองไทย ถือว่า อยู่ในระดับที่ไม่สูง
    ดังนั้น ชาวต่างชาติ จึงสนใจเข้ามาอยู่ที่เมืองไทย
    มีแนวโน้มที่สูงขึ้น จุดนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญ
    ของเมืองไทย


    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥 แอดมิน ได้มีโอกาสคุยกับน้องที่มาจาก เวียงจันทน์ ประเทศลาว เลยลองถามเหตุผลว่า ทำไมถึงมาทำงานที่เมืองไทย? และค่าครองชีพ ที่ไทยกับเวียงจันทน์ ที่ไหนสูงกว่ากัน? น้องตอบว่า : 🚩1. สาเหตุที่มาทำงานที่เมืองไทย เพราะค่าเงินบาท แข็งค่ากว่า ค่าเงินกีบ(ลาว) เมื่อนำไปแลกที่เวียงจันทน์ จะได้ จำนวนเงินที่เยอะกว่า (ดูอัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 10 ก.ย.2567 ค่าเงิน 1 บาท= 653.01 กีบ) 🚩2. ค่าครองชีพ ไม่น่าเชื่อว่าที่เมืองไทยจะถูกกว่า น้องบอกว่า ที่นี่สามารถซื้อหมูปิ้ง และไก่ย่าง ไม้ละ 5-10 บาท ได้ แต่ที่เวียงจันทน์ อย่างต่ำต้องเจอไม้ละ 20 บาท เมืองไทยสามารถอยู่ได้สบายๆ (อัตราเงินเฟ้อที่ลาว ปัจจุบัน อยู่ที่ 25%) ทำให้สินค้าอุปโภค บริโภคภายในประเทศมีราคาที่สูง) เรื่องนี้สะท้อนได้หลายเรื่อง ที่สำคัญคือ 🚩*การเคลื่อนย้ายแรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเข้ามาทำงานที่เมืองไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น 🚩*ค่าครองชีพ ที่เมืองไทย ถือว่า อยู่ในระดับที่ไม่สูง ดังนั้น ชาวต่างชาติ จึงสนใจเข้ามาอยู่ที่เมืองไทย มีแนวโน้มที่สูงขึ้น จุดนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญ ของเมืองไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 651 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥พบปัญหาการขาดทุนอื้อ
    เมื่อผู้ฝากเงินบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit)
    เมื่อคิดจะถอนเงินในบัญชีตอนนี้ จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที
    จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น

    🚩โดยบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) คือ บัญชีเงินฝาก
    สำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ต้องการฝากเงิน
    เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร, หยวน เป็นต้น

    🚩เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ณ ปัจจุบัน จะส่งผลให้ ผู้ฝากเงิน
    ที่จะถอนเงินดังกล่าว ในช่วงเวลานี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

    🚩ดังนั้น บัญชีเงินฝากแบบ FCD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
    ที่ผู้ใช้บริการต้องศึกษาให้ดี เพราะข้อดีคือช่วยปิดความเสี่ยง
    จากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วมีกำไร แต่ข้อเสียคือ ก็สามารถ
    ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน

    ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #FCD #อัตราแลกเปลี่ยน
    #thaitimes
    🔥🔥พบปัญหาการขาดทุนอื้อ เมื่อผู้ฝากเงินบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) เมื่อคิดจะถอนเงินในบัญชีตอนนี้ จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น 🚩โดยบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) คือ บัญชีเงินฝาก สำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ต้องการฝากเงิน เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร, หยวน เป็นต้น 🚩เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ณ ปัจจุบัน จะส่งผลให้ ผู้ฝากเงิน ที่จะถอนเงินดังกล่าว ในช่วงเวลานี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 🚩ดังนั้น บัญชีเงินฝากแบบ FCD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่ผู้ใช้บริการต้องศึกษาให้ดี เพราะข้อดีคือช่วยปิดความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วมีกำไร แต่ข้อเสียคือ ก็สามารถ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #FCD #อัตราแลกเปลี่ยน #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 752 Views 0 Reviews