ม็อบไล่นายกฯ อันวาร์ พรรคพาสลั่นอย่างต่ำ 5 หมื่น
มรสุมการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และประธานอาเซียนในปี 2025 ไม่ต่างจาก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ก่อนหน้านี้การชุมนุม 28 มิ.ย. เรียกร้องให้ลาออก กรณีคลิปเสียงขายชาติกับ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา สร้างแรงสั่นสะเทือนการเมืองไทย คราวนี้นายอันวาร์ต้องเจอกับการชุมนุมประท้วงตั้งแต่ม็อบ Turun Anwar (อันวาร์ลาออกเถอะ) การประท้วงของชาวบ้านต่อกฎหมายฟื้นฟูเมือง (URA) ล่าสุดกลุ่มทนายความและนักกฎหมาย ชุมนุมที่พระราชวังแห่งความยุติธรรม ปุตราจายา เรียกร้องความเป็นอิสระของสถาบันตุลาการ และความโปร่งใสในการแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของประเทศ
เป็นห้วงเวลาก่อนการนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 26 ก.ค. ที่จตุรัสเมอร์เดกา กรุงกัวลาลัมเปอร์ เรียกร้องให้นายอันวาร์ลาออกด้วยข้อหาบริหารประเทศล้มเหลว ทั้งการปฎิรูปการเมือง การปิดกั้นเสรีภาพ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ล่าสุดขยายกรอบภาษีการขายและบริการ (SST) ทำให้ต้องซื้อสินค้าและบริการที่แพงขึ้น
นายทาคิยุดดิน ฮัสซัน เลขาธิการพรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) แถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (12 ก.ค.) ว่าจะมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 50,000 คน ขณะนี้กำลังระดมมวลชนครอบคลุมทุกระดับ รวมถึงเขตเลือกตั้งรัฐสภาและสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (DUN) ทั่วประเทศ รถบัสอย่างน้อยหนึ่งคันจะถูกส่งไปยังเขตเลือกตั้งของแต่ละรัฐ แต่บางเขตจองไว้แล้วนับสิบคัน ยืนยันว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมอย่างสงบตามรัฐธรรมนูญ พรรคพาสและกลุ่มพันธมิตรแห่งชาติ (Perikatan Nasional หรือ PN) จะไม่ยอมจำนนต่อความพยายามปิดกั้นเสียงประชาชน
นายอัฟนัน ฮามิมี ไทบ์ อาซามุดเดน หัวหน้ากลุ่มเยาวชนพรรคพาส ยืนยันว่าข้อเรียกร้องที่ให้นายอันวาร์ลาออก เพราะต้องการปกป้องมาเลเซีย ส่วนแถลงการณ์ของรัฐบาลที่อ้างว่าการชุมนุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายเสถียรภาพของประเทศ เป็นการข่มขู่ที่สะท้อนให้เห็นถึงความกลัวเสียงประชาชน คนที่พูดว่าการชุมนุมครั้งนี้ต้องการสร้างความวุ่นวายให้ประเทศชาติแท้จริงแล้วเป็นคนลงมือทำเอง เราเป็นฝ่ายค้านที่เป็นผู้ใหญ่ใช้ช่องทางประชาธิปไตย ไม่เหมือนฝ่ายค้านในอดีตที่ใช้ความรุนแรงบนท้องถนน
สำหรับพรรคพาส ถือเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่และเป็นพรรคอิสลามในมาเลเซีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2494 มีฝ่ายยุวชนพรรค และเครือข่ายโรงเรียนสอนศาสนาทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ห่างไกล มีความคิดแบบอนุรักษนิยม มีฐานเสียงในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย และชนะเลือกตั้งยาวนานในรัฐกลันตัน จุดยืนของพรรคคือผลักดันรัฐอิสลาม (Islamic State)
#Newskit
มรสุมการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และประธานอาเซียนในปี 2025 ไม่ต่างจาก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ก่อนหน้านี้การชุมนุม 28 มิ.ย. เรียกร้องให้ลาออก กรณีคลิปเสียงขายชาติกับ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา สร้างแรงสั่นสะเทือนการเมืองไทย คราวนี้นายอันวาร์ต้องเจอกับการชุมนุมประท้วงตั้งแต่ม็อบ Turun Anwar (อันวาร์ลาออกเถอะ) การประท้วงของชาวบ้านต่อกฎหมายฟื้นฟูเมือง (URA) ล่าสุดกลุ่มทนายความและนักกฎหมาย ชุมนุมที่พระราชวังแห่งความยุติธรรม ปุตราจายา เรียกร้องความเป็นอิสระของสถาบันตุลาการ และความโปร่งใสในการแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของประเทศ
เป็นห้วงเวลาก่อนการนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 26 ก.ค. ที่จตุรัสเมอร์เดกา กรุงกัวลาลัมเปอร์ เรียกร้องให้นายอันวาร์ลาออกด้วยข้อหาบริหารประเทศล้มเหลว ทั้งการปฎิรูปการเมือง การปิดกั้นเสรีภาพ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ล่าสุดขยายกรอบภาษีการขายและบริการ (SST) ทำให้ต้องซื้อสินค้าและบริการที่แพงขึ้น
นายทาคิยุดดิน ฮัสซัน เลขาธิการพรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) แถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (12 ก.ค.) ว่าจะมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 50,000 คน ขณะนี้กำลังระดมมวลชนครอบคลุมทุกระดับ รวมถึงเขตเลือกตั้งรัฐสภาและสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (DUN) ทั่วประเทศ รถบัสอย่างน้อยหนึ่งคันจะถูกส่งไปยังเขตเลือกตั้งของแต่ละรัฐ แต่บางเขตจองไว้แล้วนับสิบคัน ยืนยันว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมอย่างสงบตามรัฐธรรมนูญ พรรคพาสและกลุ่มพันธมิตรแห่งชาติ (Perikatan Nasional หรือ PN) จะไม่ยอมจำนนต่อความพยายามปิดกั้นเสียงประชาชน
นายอัฟนัน ฮามิมี ไทบ์ อาซามุดเดน หัวหน้ากลุ่มเยาวชนพรรคพาส ยืนยันว่าข้อเรียกร้องที่ให้นายอันวาร์ลาออก เพราะต้องการปกป้องมาเลเซีย ส่วนแถลงการณ์ของรัฐบาลที่อ้างว่าการชุมนุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายเสถียรภาพของประเทศ เป็นการข่มขู่ที่สะท้อนให้เห็นถึงความกลัวเสียงประชาชน คนที่พูดว่าการชุมนุมครั้งนี้ต้องการสร้างความวุ่นวายให้ประเทศชาติแท้จริงแล้วเป็นคนลงมือทำเอง เราเป็นฝ่ายค้านที่เป็นผู้ใหญ่ใช้ช่องทางประชาธิปไตย ไม่เหมือนฝ่ายค้านในอดีตที่ใช้ความรุนแรงบนท้องถนน
สำหรับพรรคพาส ถือเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่และเป็นพรรคอิสลามในมาเลเซีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2494 มีฝ่ายยุวชนพรรค และเครือข่ายโรงเรียนสอนศาสนาทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ห่างไกล มีความคิดแบบอนุรักษนิยม มีฐานเสียงในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย และชนะเลือกตั้งยาวนานในรัฐกลันตัน จุดยืนของพรรคคือผลักดันรัฐอิสลาม (Islamic State)
#Newskit
ม็อบไล่นายกฯ อันวาร์ พรรคพาสลั่นอย่างต่ำ 5 หมื่น
มรสุมการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และประธานอาเซียนในปี 2025 ไม่ต่างจาก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ก่อนหน้านี้การชุมนุม 28 มิ.ย. เรียกร้องให้ลาออก กรณีคลิปเสียงขายชาติกับ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา สร้างแรงสั่นสะเทือนการเมืองไทย คราวนี้นายอันวาร์ต้องเจอกับการชุมนุมประท้วงตั้งแต่ม็อบ Turun Anwar (อันวาร์ลาออกเถอะ) การประท้วงของชาวบ้านต่อกฎหมายฟื้นฟูเมือง (URA) ล่าสุดกลุ่มทนายความและนักกฎหมาย ชุมนุมที่พระราชวังแห่งความยุติธรรม ปุตราจายา เรียกร้องความเป็นอิสระของสถาบันตุลาการ และความโปร่งใสในการแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของประเทศ
เป็นห้วงเวลาก่อนการนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 26 ก.ค. ที่จตุรัสเมอร์เดกา กรุงกัวลาลัมเปอร์ เรียกร้องให้นายอันวาร์ลาออกด้วยข้อหาบริหารประเทศล้มเหลว ทั้งการปฎิรูปการเมือง การปิดกั้นเสรีภาพ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ล่าสุดขยายกรอบภาษีการขายและบริการ (SST) ทำให้ต้องซื้อสินค้าและบริการที่แพงขึ้น
นายทาคิยุดดิน ฮัสซัน เลขาธิการพรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) แถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (12 ก.ค.) ว่าจะมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 50,000 คน ขณะนี้กำลังระดมมวลชนครอบคลุมทุกระดับ รวมถึงเขตเลือกตั้งรัฐสภาและสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (DUN) ทั่วประเทศ รถบัสอย่างน้อยหนึ่งคันจะถูกส่งไปยังเขตเลือกตั้งของแต่ละรัฐ แต่บางเขตจองไว้แล้วนับสิบคัน ยืนยันว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมอย่างสงบตามรัฐธรรมนูญ พรรคพาสและกลุ่มพันธมิตรแห่งชาติ (Perikatan Nasional หรือ PN) จะไม่ยอมจำนนต่อความพยายามปิดกั้นเสียงประชาชน
นายอัฟนัน ฮามิมี ไทบ์ อาซามุดเดน หัวหน้ากลุ่มเยาวชนพรรคพาส ยืนยันว่าข้อเรียกร้องที่ให้นายอันวาร์ลาออก เพราะต้องการปกป้องมาเลเซีย ส่วนแถลงการณ์ของรัฐบาลที่อ้างว่าการชุมนุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายเสถียรภาพของประเทศ เป็นการข่มขู่ที่สะท้อนให้เห็นถึงความกลัวเสียงประชาชน คนที่พูดว่าการชุมนุมครั้งนี้ต้องการสร้างความวุ่นวายให้ประเทศชาติแท้จริงแล้วเป็นคนลงมือทำเอง เราเป็นฝ่ายค้านที่เป็นผู้ใหญ่ใช้ช่องทางประชาธิปไตย ไม่เหมือนฝ่ายค้านในอดีตที่ใช้ความรุนแรงบนท้องถนน
สำหรับพรรคพาส ถือเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่และเป็นพรรคอิสลามในมาเลเซีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2494 มีฝ่ายยุวชนพรรค และเครือข่ายโรงเรียนสอนศาสนาทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ห่างไกล มีความคิดแบบอนุรักษนิยม มีฐานเสียงในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย และชนะเลือกตั้งยาวนานในรัฐกลันตัน จุดยืนของพรรคคือผลักดันรัฐอิสลาม (Islamic State)
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
1 มุมมอง
0 รีวิว