ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭)
ความมีอยู่ว่า
ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...”
- จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ
(หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้
ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง)
คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง
ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย
ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html
http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9
https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk
#หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
ความมีอยู่ว่า
ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...”
- จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ
(หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้
ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง)
คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง
ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย
ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html
http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9
https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk
#หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭)
ความมีอยู่ว่า
ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...”
- จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ
(หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้
ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง)
คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง
ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย
ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html
http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9
https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk
#หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
2 Comments
0 Shares
45 Views
0 Reviews