• ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง

    ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่

    ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม)

    ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด

    คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี

    จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน

    และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น

    แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง

    ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

    นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1
    http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html
    https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่ ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม) ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760 https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1 http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 109 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原)

    เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ

    ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้

    เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น

    เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ

    อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่

    ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง

    บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต

    Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29
    https://www.sohu.com/a/390828068_120445432
    https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html
    https://www.shicile.com/detail/6070192050078
    https://www.sohu.com/a/680570874_121124391

    #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原) เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่ ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่ กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29 https://www.sohu.com/a/390828068_120445432 https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html https://www.shicile.com/detail/6070192050078 https://www.sohu.com/a/680570874_121124391 #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน

    “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง
    หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่
    ไฟป่าเผาไม่มอด
    ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก”
    - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ>

    บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’

    บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า

    ปลายทางอันไกลโพ้น
    ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง
    ส่งลาราชนัดดาอีกครา
    ทุ่งขจีแฝงความอาดูร

    (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท)

    จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน

    เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ...

    บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป

    ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน

    ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละคร
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97
    https://www.sohu.com/a/708520507_389451
    https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html
    https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148
    https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316

    #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่ ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก” - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ> บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’ บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า ปลายทางอันไกลโพ้น ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง ส่งลาราชนัดดาอีกครา ทุ่งขจีแฝงความอาดูร (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท) จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ... บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละคร Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97 https://www.sohu.com/a/708520507_389451 https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148 https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316 #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 312 มุมมอง 0 รีวิว
  • การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี

    วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย

    มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย

    และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง

    การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย

    และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย

    แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ

    จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้

    อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
    https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
    http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
    http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้ อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560 http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 431 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขนมไหว้พระจันทร์นี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Baoxiang Pattern Mooncake ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 เซนติเมตร และทำจากแป้งสาลี มันถูกขุดพบในสุสานหมายเลข 230 ของอัสตานาในทูร์ปันในปี 1972 พิพิธภัณฑ์ซินเจียง#พิพิธภัณฑ์ #ขนมไหว้พระจันทร์ #ขนมโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    ขนมไหว้พระจันทร์นี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Baoxiang Pattern Mooncake ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 เซนติเมตร และทำจากแป้งสาลี มันถูกขุดพบในสุสานหมายเลข 230 ของอัสตานาในทูร์ปันในปี 1972 พิพิธภัณฑ์ซินเจียง#พิพิธภัณฑ์ #ขนมไหว้พระจันทร์ #ขนมโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 286 มุมมอง 32 0 รีวิว
  • 🤠#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 01.🤠

    😎#ออกจากประตูหยก😎

    🥸การเดินทางของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปทางทิศตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะนั้นเป็นการกระทำส่วนตัวโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางการ แต่ด้วยเหตุนี้ มุมมองของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่มีต่อภูมิภาคตะวันตกจึงมีความเป็นพลเรือนมากกว่า เป็นกลางมากกว่า และเป็นจริงมากกว่า🥸

    🥸ต่อไปนี้เชิญท่านมาเผชิญหน้ากับท่ามกลางท้องฟ้าอันเต็มไปด้วยลมและทราย เดินย่ำเหยียบฝ่าหมอกควันทะเลทราย เริ่มต้นเข้าร่วมกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ในการเดินทางอันน่ามหัศจรรย์ของเขาเพื่อร่างขอบเขตดินแดนของภูมิภาคตะวันตก🥸

    😎ออกจากประตูหยก(玉门)ไปทางทิศตะวันตก 😎

    🥸ในปีคริสตศักราช 629 ภัยพิบัติน้ำแข็งเกิดขึ้นในพื้นที่กวนจง(关中) ราชวงศ์ถัง(唐)ออกคำสั่งให้พระภิกษุและฆราวาสในพื้นที่ คยองกี(Gyeonggi京畿) ย้ายไปยังสถานที่อื่นเพื่อหาอาหารและหลีกเลี่ยงหลบหนีจากความอดอยาก พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ซึ่งแต่เดิมต้องการออกจากด่านทางผ่าน แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากราชสำนักจึงใช้โอกาสนี้ออกจากฉางอาน(长安)🥸 เขาเดินทางผ่านหลานโจว(兰州)และเหลียงโจว(凉州) เขาหลีกเลี่ยงการติดตามจัยกุมของทางการโดยการเดินทางเวลากลางคืนและพักเวลากลางวัน ต่อมา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เสี่ยงภัยเดินทางผ่าน กวัวโจว(瓜州) และ อวี้เหมินกวน(Yumen Pass玉门关) ผ่านหอคอยสัญญาณไฟ 5 แห่งที่มีกองทหารคุ้มกันตามลำดับรายทาง ด้วยความช่วยเหลือจากทหารรักษาชายแดนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ข้ามทะเลทรายโกบีด้วยพลังแห่งความศรัทธาและความอุตสาหะอย่างแรงกล้าก่อนจะไปถึงอีหวู(伊吾) และเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตก

    🥸สถานีแรกของการเดินทาง อีหวู(伊吾) ได้มีการส่งมอบการมาถึงอย่างกะทันหันของพระภิกษุให้กับเกาชาง(Gaochang高昌) (ปัจจุบันคือเมืองถูหลู่ฟาน(Turfan 吐鲁番) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์(Xinjiang Uygur Autonomous Region 新疆维吾尔自治区)) เจ้าเหนือหัวองค์น้อยทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตกในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ริมแอ่งถูหลู่ฟาน(Turfan Depression吐鲁番盆地)🥸

    🥸หลังจากได้ยินข่าวว่า พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)มาถึงแล้ว กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) เสนาบดี และสาวใช้ออกมาจากพระราชวังในเวลากลางคืน ทรงจุดเทียน และเข้าแถวเพื่อต้อนรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เข้าสู่พระราชวังด้วยความเคารพ🥸 หลังจากเห็น พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) แล้ว ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ดีใจมากและบอกกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ว่า: นับตั้งแต่ฉันรู้ชื่ออาจารย์ ฉันมีความสุขมากจนลืมกินลืมนอน ฉันรู้ว่าพระภิกษุผู้แสวงธรรมจากตะวันออกจะมาคืนนี้ ฉันก็เลยพร้อมกับพระราชินีและเจ้าชายทรงพากันสวดมนต์ตลอดทั้งคืนรอการมาถึงของพระอาจารย์

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ถูกจัดให้อยู่ที่สนามหลวงทางพิธีกรรมของศาสนาถัดจากพระราชวังกษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) และจัดขันทีให้ดูแลอาหารและชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)

    รัฐเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)เป็นนครรัฐที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก และถูกปกครองโดยผู้รอดชีวิตจากราชวงศ์ฮั่น(汉)และเว่ย(魏) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่รวมหู(胡)และฮั่น(汉)เข้าด้วยกัน ในบรรดาพลเมืองนั้น ไม่เพียงแต่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่น(汉)เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนจากภูมิภาคตะวันตกด้วย เช่น ชาวซ็อกเดียน(Sogdians粟特) ชาวซานซาน(Shanshan鄯善人)และชาวเติร์ก(Turks突厥人) 🥸ก่อนที่ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)จะมาถึง ประเทศนี้ก็ก่อตั้งขึ้นที่นั่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เขารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พบว่าข้อมูลจำเพาะของเมืองที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเมืองฉางอัน(长安)ในราชวงศ์ซุย(隋)และราชวงศ์ถัง(唐)มาก นอกจากนี้ยังมีรูปของ ดยุคไอแห่งหลู่(鲁哀公)สอดถามขงจื๊อ(孔子)เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่แขวนอยู่ในพระราชวังของอาณาจักร เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)🥸

    😎การต้อนรับด้วยมารยาทอันสูงส่ง😎

    🥸ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และบิดาของเขาเดินทางไปยังราชวงศ์สุย(隋)ในยุครุ่งเรืองเพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิสุยหยางตี้(隋炀帝)🥸 เขาไม่เพียงแต่เดินทางไปยังฉางอาน(长安) ล่อหยาง(洛阳) เฝินหยาง(汾阳) เอี้ยนตี้(燕地) ไต้ตี้(代地) และเมืองสำคัญอื่นๆ และได้เห็นวัฒนธรรมฮั่น(汉)ของที่ราบตอนกลางดั้งเดิม แต่เขายังไปเยี่ยมคารวะพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงและผู้มีคุณธรรมอีกมากมาย และเขาก็ชื่นชมที่ราบภาคกลางที่เป็นบ้านเกิดทางวัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างมาก แต่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)รู้สึกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงในอดีตของราชวงศ์ซุย ความฉลาดสามารถของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)นั้นเหนือกว่ามาก

    เมื่อใดก็ตามที่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)บรรยายธรรมแก่ขุนนางของเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ในเต็นท์ใหญ่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ถือกระถางธูปเพื่อเคลียร์นำทางให้พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงด้วยตนเอง เมื่อพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปที่แท่นธรรมาสน์เพื่อขึ้นเทศนาธรรม กษัตริย์แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ถึงกับคุกเข่าโน้มตัวลง และทำหน้าที่เป็นบันไดให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ก้าวขึ้นแท่นธรรมาสน์ การปฏิบัตินี้ไม่สอดคล้องกับประเพณีตะวันออก แต่ก็มีบันทึกไว้ในหนังสือดั้งเดิมของอินเดียบางเรื่อง สิ่งนี้พิสูจน์ได้จากสิ่งแวดล้อมข้วงเคียงว่า เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)คือจุดทางสี่แยกของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการบูชาสักการะอย่างสูงสุดต่อ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ยังคัดเลือกพระภิกษุในท้องถิ่นหลายแห่งใน เกาชาง(Gaochang高昌)ให้เป็นนักเรียนและคนรับใช้ นิสัยปกิบัติในการรับลูกศิษย์ไปตลอดทางนี้ กลายเป็นต้นแบบทางประวัติศาสตร์สำหรับทีมอาจารย์และลูกศิษย์ของภิกษุราชวงศ์ถัง(唐)ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน "บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก(Journey to the West西游记)" แม้ว่ากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)จะชื่นชมพรสวรรค์และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เขาถึงกับมีความคิดหน่วงรั้งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้ที่เกาชาง(Gaochang高昌)ด้วยซ้ำ และขอให้ประทับอยู่ที่นี่ตลอดไป แสดงธรรมสั่งสอนให้ความรู้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป จนกระทั่งเป็นพระอาจารย์ระดับชาติของ เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เห็นด้วยเพราะมีตวามเห็นว่าเรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่กว่า กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)เห็นว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) มีความมุ่งมั่นดังนั้นเขาจึงจำต้องโยนไพ่ตายทางเลือกสุดท้ายของเขาออกไป: 🥸ถ้าพระคุณท่านไม่ปรารถนาอยู่ในเกาชาง(Gaochang高昌) ข้าพระเจ้าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากส่งท่านอาจารย์กลับไปทางทิศตะวันออก🥸

    เมื่อต้องเผชิญกับกลยุทธ์ไม้แข็งและไม้อ่อนร่วมกันของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) กล่าวด้วยท่าทีที่ไม่ถ่อมตัวหรือหยิ่งผยองว่า: 🥸พระองค์สามารถจะเพียงได้รับกระดูกของอาตมาเอาไว้ได้ แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดยั้งความตั้งใจของอาตมาที่จะไปทางตะวันตกได้🥸

    😎หนทางเบื้องหน้าอันยาวไกล😎

    🥸ด้วยเหตุนี้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) จึงอดอาหารเป็นเวลาสามวันเพื่อแสดงความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตก🥸 ในฐานะเป็นอาณาจักรในภูมิภาคตะวันตกที่นับถือศาสนาพุทธ หากมีพระภิกษุที่แสวงหาธรรมะมาอดอยากจนตายภายในดินแดนของตน ชื่อเสียงสู่ภายนอกของเกาชาง(Gaochang高昌)ในภูมิภาคตะวันตกจะเสียหายอย่างมาก และเขาจะพลอยได้รับชื่อเสียงเสื่อมเสียงจากการทำร้ายพระภิกษุที่มีชื่อเสียงด้วย ยิ่งไปกว่านั้นความจริงแล้ว การขัดขวางการเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตกของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ด้วยเพื่อความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวของเขาเองก็เป็นการขัดแย้งกับความตั้งใจเดิมของเขา

    🥸เมื่อเขาคิดมาถึง ณ จุดนี้ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ก้มหัวให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เพื่อขอโทษ🥸 ความคิดที่เห็นแก่ตัวของเขาที่มีต่อเกาชาง(Gaochang高昌) ก็ถูกขจัดออกไปในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นมีเมตตาที่จะช่วยสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกันกับขณะที่รู้สึกประทับใจกับความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะแสวงหาธรรมะโดยปราศจากสิ่งภายนอกมาบั่นทอนความตั้งใจ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ได้สาบานต่อฟ้าดินสัญญาเป็นพี่น้องกัน ภายใต้การอุปถัมภ์จากแม่ของแผ่นดินเจ้าจอมมารดา จาง(张太妃) เพื่อให้พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เดินทางไปถึงอินเดียได้อย่างราบรื่น กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) ทรงสั่งการให้จัดทีมงานเล็กๆ ประกอบด้วยม้า 30 ตัว พนักงานข้าราชการเกาชาง(Gaochang高昌)1 คน ผู้ติดตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 25 คน และพระภิกษุหนุ่ม 4 รูป เพื่อดูแลเรื่องอาหาร เสื้อผ้า และชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมหน้ากากและหมวกพิเศษสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สำหรับการเดินทางผ่านภูเขาและทะเลทรายที่เต็มไปด้วยหิมะ รวมถึงเสื้อคลุมสำหรับพระสงฆ์ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับเขตภูมิอากาศต่างๆ จัดทหารม้าขนนำทองคำ เงิน และผ้าไหมจำนวนมากไว้สำหรับการครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เพียงแต่จะไม่ต้องทนทุกข์จากความหิวโหยระหว่างทางไปอินเดียเท่านั้น แต่ยังมีเงินเพียงพอที่จะทำทานอีกด้วย ในสิ่งแต่งเคิมเหล่านี้เป็นรายละเอียดด้านที่อ่อนโยนของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่มีต่ออัครสาวก

    🥸นอกจากทรัพย์สินแล้ว เนื่องจากเจ้าผู้ครองแคว้นตะวันตกในขณะนั้น คือ ข่านเตอร์กตะวันตก(西突厥)ได้สมรสกับราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ยังมีจดหมายแสดงความเคารพที่กษัตริย์แห่งเกาชาง(Gaochang高昌)มอบให้กับข่านแห่งเติร์กตะวันตก(西突厥) อธิบายถึงความตั้งใจของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะไปทางดินแดนแคว้นตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะ🥸 ภายใต้การคุ้มครองของเตอร์กข่านตะวันตก (西突厥) ทุกประเทศในภูมิภาคตะวันตกตลอดเส้นทางให้ความเคารพแก่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) และให้การสนับสนุนทางทหารที่เข้มแข็งและมีควาทปลอดภัยที่สุดสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)และคณะเดินทางของเขา และจดหมายแสดงความเคารพของกษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ถึงพระมหากษัตริย์ของยี่สิบสี่ประเทศในภูมิภาคตะวันตกจะช่วยให้การเดินทางของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก

    🥸ในช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการอำลาอาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌) บรรดาราชวงศ์และชาวเกาชาง(Gaochang高昌)ก็ออกจากเมืองเพื่อส่งอำลา🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สัญญาว่า เมื่อเดินทางผ่านเกาชาง(Gaochang高昌)หลังจากกลับจากการศึกษาในอินเดียจะแสดงเทศนาธรรมอีก จากนั้นเขาก็กล่าวคำอำลากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ด้วยน้ำตา พวกบรรดาราชวงศ์ เกาชาง(Gaochang高昌)เจ้าหน้าที่และประชาชนชาวพุทธต่างพากันออกจากเมืองส่งเสียงอำลาดังลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งถิ่น ราวกับว่ามือแห่งโชคชะตาได้ฉีกหัวใจและจิตวิญญาณออกจากร่างกายของชาวเกาชาง(Gaochang高昌) ทำให้พวกเขาสูญเสียสมบัติของชาติไปตลอดกาล

    บรรดาพวกราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ส่งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ออกไปนอกเมืองหลายสิบลี้ แม้ว่าพระภิกษุสมณเพศจะมองเห็นบรรลุแล้วการจากแยกอำลาในทางโลกแล้วก็ตาม แต่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ผู้ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนและยังคงเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็ยังมีอารมณ์อ่อนไหวมาก เขาขอบคุณต่ออาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌)อย่างสุดซึ้งอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนอย่างมีน้ำใจ ราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังจับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง ร่ำไห้ราวกับสายฝนกล่าวว่า 🥸ในเมื่อพระคุณท่านถือเป็นพี่น้องกัน สัตว์พาหนะต่าง ๆ ในประเทศก็มีเจ้าของคนเดียวกัน แล้วเหตุใดจึงต้องขอบคุณพวกเขาด้วย?🥸

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ตอบว่า: 🥸ฉันจะไม่มีวันลืมความเมตตาของเสด็จพี่ตลอดชีวิตของอาตมา ในวันที่อาตมากลับจากนำพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากลับมา อาตมาจะอยู่สอนธรรมะในเกาชาง(Gaochang高昌)เป็นเวลาสามปีเป็นการตอบแทน!🥸

    หลายปีต่อมาในฉางอาน(长安) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าประทับใจนี้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากให้เหล่าสาวกฟัง มิตรภาพฉันท์พี่น้องที่มีต่อราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังคงเกินคำบรรยาย ดูเหมือนราวกับว่าพิธีอำลาที่หรูหราและยิ่งใหญ่นั้นได่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง ตอนนั้นเขาไม่รู้ 🥸นี่ยังจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้พบกับพี่ชายร่วมสาบานของเขา🥸

    🥳โปรดติดตามบทความ#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 02.
    #อาณาจักรคาราซาห์และคูชาที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 01.🤠 😎#ออกจากประตูหยก😎 🥸การเดินทางของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปทางทิศตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะนั้นเป็นการกระทำส่วนตัวโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางการ แต่ด้วยเหตุนี้ มุมมองของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่มีต่อภูมิภาคตะวันตกจึงมีความเป็นพลเรือนมากกว่า เป็นกลางมากกว่า และเป็นจริงมากกว่า🥸 🥸ต่อไปนี้เชิญท่านมาเผชิญหน้ากับท่ามกลางท้องฟ้าอันเต็มไปด้วยลมและทราย เดินย่ำเหยียบฝ่าหมอกควันทะเลทราย เริ่มต้นเข้าร่วมกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ในการเดินทางอันน่ามหัศจรรย์ของเขาเพื่อร่างขอบเขตดินแดนของภูมิภาคตะวันตก🥸 😎ออกจากประตูหยก(玉门)ไปทางทิศตะวันตก 😎 🥸ในปีคริสตศักราช 629 ภัยพิบัติน้ำแข็งเกิดขึ้นในพื้นที่กวนจง(关中) ราชวงศ์ถัง(唐)ออกคำสั่งให้พระภิกษุและฆราวาสในพื้นที่ คยองกี(Gyeonggi京畿) ย้ายไปยังสถานที่อื่นเพื่อหาอาหารและหลีกเลี่ยงหลบหนีจากความอดอยาก พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ซึ่งแต่เดิมต้องการออกจากด่านทางผ่าน แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากราชสำนักจึงใช้โอกาสนี้ออกจากฉางอาน(长安)🥸 เขาเดินทางผ่านหลานโจว(兰州)และเหลียงโจว(凉州) เขาหลีกเลี่ยงการติดตามจัยกุมของทางการโดยการเดินทางเวลากลางคืนและพักเวลากลางวัน ต่อมา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เสี่ยงภัยเดินทางผ่าน กวัวโจว(瓜州) และ อวี้เหมินกวน(Yumen Pass玉门关) ผ่านหอคอยสัญญาณไฟ 5 แห่งที่มีกองทหารคุ้มกันตามลำดับรายทาง ด้วยความช่วยเหลือจากทหารรักษาชายแดนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ข้ามทะเลทรายโกบีด้วยพลังแห่งความศรัทธาและความอุตสาหะอย่างแรงกล้าก่อนจะไปถึงอีหวู(伊吾) และเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตก 🥸สถานีแรกของการเดินทาง อีหวู(伊吾) ได้มีการส่งมอบการมาถึงอย่างกะทันหันของพระภิกษุให้กับเกาชาง(Gaochang高昌) (ปัจจุบันคือเมืองถูหลู่ฟาน(Turfan 吐鲁番) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์(Xinjiang Uygur Autonomous Region 新疆维吾尔自治区)) เจ้าเหนือหัวองค์น้อยทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตกในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ริมแอ่งถูหลู่ฟาน(Turfan Depression吐鲁番盆地)🥸 🥸หลังจากได้ยินข่าวว่า พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)มาถึงแล้ว กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) เสนาบดี และสาวใช้ออกมาจากพระราชวังในเวลากลางคืน ทรงจุดเทียน และเข้าแถวเพื่อต้อนรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เข้าสู่พระราชวังด้วยความเคารพ🥸 หลังจากเห็น พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) แล้ว ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ดีใจมากและบอกกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ว่า: นับตั้งแต่ฉันรู้ชื่ออาจารย์ ฉันมีความสุขมากจนลืมกินลืมนอน ฉันรู้ว่าพระภิกษุผู้แสวงธรรมจากตะวันออกจะมาคืนนี้ ฉันก็เลยพร้อมกับพระราชินีและเจ้าชายทรงพากันสวดมนต์ตลอดทั้งคืนรอการมาถึงของพระอาจารย์ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ถูกจัดให้อยู่ที่สนามหลวงทางพิธีกรรมของศาสนาถัดจากพระราชวังกษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) และจัดขันทีให้ดูแลอาหารและชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) รัฐเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)เป็นนครรัฐที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก และถูกปกครองโดยผู้รอดชีวิตจากราชวงศ์ฮั่น(汉)และเว่ย(魏) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่รวมหู(胡)และฮั่น(汉)เข้าด้วยกัน ในบรรดาพลเมืองนั้น ไม่เพียงแต่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่น(汉)เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนจากภูมิภาคตะวันตกด้วย เช่น ชาวซ็อกเดียน(Sogdians粟特) ชาวซานซาน(Shanshan鄯善人)และชาวเติร์ก(Turks突厥人) 🥸ก่อนที่ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)จะมาถึง ประเทศนี้ก็ก่อตั้งขึ้นที่นั่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เขารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พบว่าข้อมูลจำเพาะของเมืองที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเมืองฉางอัน(长安)ในราชวงศ์ซุย(隋)และราชวงศ์ถัง(唐)มาก นอกจากนี้ยังมีรูปของ ดยุคไอแห่งหลู่(鲁哀公)สอดถามขงจื๊อ(孔子)เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่แขวนอยู่ในพระราชวังของอาณาจักร เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)🥸 😎การต้อนรับด้วยมารยาทอันสูงส่ง😎 🥸ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และบิดาของเขาเดินทางไปยังราชวงศ์สุย(隋)ในยุครุ่งเรืองเพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิสุยหยางตี้(隋炀帝)🥸 เขาไม่เพียงแต่เดินทางไปยังฉางอาน(长安) ล่อหยาง(洛阳) เฝินหยาง(汾阳) เอี้ยนตี้(燕地) ไต้ตี้(代地) และเมืองสำคัญอื่นๆ และได้เห็นวัฒนธรรมฮั่น(汉)ของที่ราบตอนกลางดั้งเดิม แต่เขายังไปเยี่ยมคารวะพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงและผู้มีคุณธรรมอีกมากมาย และเขาก็ชื่นชมที่ราบภาคกลางที่เป็นบ้านเกิดทางวัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างมาก แต่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)รู้สึกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงในอดีตของราชวงศ์ซุย ความฉลาดสามารถของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)นั้นเหนือกว่ามาก เมื่อใดก็ตามที่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)บรรยายธรรมแก่ขุนนางของเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ในเต็นท์ใหญ่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ถือกระถางธูปเพื่อเคลียร์นำทางให้พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงด้วยตนเอง เมื่อพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปที่แท่นธรรมาสน์เพื่อขึ้นเทศนาธรรม กษัตริย์แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ถึงกับคุกเข่าโน้มตัวลง และทำหน้าที่เป็นบันไดให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ก้าวขึ้นแท่นธรรมาสน์ การปฏิบัตินี้ไม่สอดคล้องกับประเพณีตะวันออก แต่ก็มีบันทึกไว้ในหนังสือดั้งเดิมของอินเดียบางเรื่อง สิ่งนี้พิสูจน์ได้จากสิ่งแวดล้อมข้วงเคียงว่า เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)คือจุดทางสี่แยกของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการบูชาสักการะอย่างสูงสุดต่อ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ยังคัดเลือกพระภิกษุในท้องถิ่นหลายแห่งใน เกาชาง(Gaochang高昌)ให้เป็นนักเรียนและคนรับใช้ นิสัยปกิบัติในการรับลูกศิษย์ไปตลอดทางนี้ กลายเป็นต้นแบบทางประวัติศาสตร์สำหรับทีมอาจารย์และลูกศิษย์ของภิกษุราชวงศ์ถัง(唐)ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน "บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก(Journey to the West西游记)" แม้ว่ากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)จะชื่นชมพรสวรรค์และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เขาถึงกับมีความคิดหน่วงรั้งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้ที่เกาชาง(Gaochang高昌)ด้วยซ้ำ และขอให้ประทับอยู่ที่นี่ตลอดไป แสดงธรรมสั่งสอนให้ความรู้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป จนกระทั่งเป็นพระอาจารย์ระดับชาติของ เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เห็นด้วยเพราะมีตวามเห็นว่าเรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่กว่า กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)เห็นว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) มีความมุ่งมั่นดังนั้นเขาจึงจำต้องโยนไพ่ตายทางเลือกสุดท้ายของเขาออกไป: 🥸ถ้าพระคุณท่านไม่ปรารถนาอยู่ในเกาชาง(Gaochang高昌) ข้าพระเจ้าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากส่งท่านอาจารย์กลับไปทางทิศตะวันออก🥸 เมื่อต้องเผชิญกับกลยุทธ์ไม้แข็งและไม้อ่อนร่วมกันของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) กล่าวด้วยท่าทีที่ไม่ถ่อมตัวหรือหยิ่งผยองว่า: 🥸พระองค์สามารถจะเพียงได้รับกระดูกของอาตมาเอาไว้ได้ แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดยั้งความตั้งใจของอาตมาที่จะไปทางตะวันตกได้🥸 😎หนทางเบื้องหน้าอันยาวไกล😎 🥸ด้วยเหตุนี้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) จึงอดอาหารเป็นเวลาสามวันเพื่อแสดงความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตก🥸 ในฐานะเป็นอาณาจักรในภูมิภาคตะวันตกที่นับถือศาสนาพุทธ หากมีพระภิกษุที่แสวงหาธรรมะมาอดอยากจนตายภายในดินแดนของตน ชื่อเสียงสู่ภายนอกของเกาชาง(Gaochang高昌)ในภูมิภาคตะวันตกจะเสียหายอย่างมาก และเขาจะพลอยได้รับชื่อเสียงเสื่อมเสียงจากการทำร้ายพระภิกษุที่มีชื่อเสียงด้วย ยิ่งไปกว่านั้นความจริงแล้ว การขัดขวางการเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตกของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ด้วยเพื่อความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวของเขาเองก็เป็นการขัดแย้งกับความตั้งใจเดิมของเขา 🥸เมื่อเขาคิดมาถึง ณ จุดนี้ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ก้มหัวให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เพื่อขอโทษ🥸 ความคิดที่เห็นแก่ตัวของเขาที่มีต่อเกาชาง(Gaochang高昌) ก็ถูกขจัดออกไปในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นมีเมตตาที่จะช่วยสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกันกับขณะที่รู้สึกประทับใจกับความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะแสวงหาธรรมะโดยปราศจากสิ่งภายนอกมาบั่นทอนความตั้งใจ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ได้สาบานต่อฟ้าดินสัญญาเป็นพี่น้องกัน ภายใต้การอุปถัมภ์จากแม่ของแผ่นดินเจ้าจอมมารดา จาง(张太妃) เพื่อให้พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เดินทางไปถึงอินเดียได้อย่างราบรื่น กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) ทรงสั่งการให้จัดทีมงานเล็กๆ ประกอบด้วยม้า 30 ตัว พนักงานข้าราชการเกาชาง(Gaochang高昌)1 คน ผู้ติดตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 25 คน และพระภิกษุหนุ่ม 4 รูป เพื่อดูแลเรื่องอาหาร เสื้อผ้า และชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมหน้ากากและหมวกพิเศษสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สำหรับการเดินทางผ่านภูเขาและทะเลทรายที่เต็มไปด้วยหิมะ รวมถึงเสื้อคลุมสำหรับพระสงฆ์ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับเขตภูมิอากาศต่างๆ จัดทหารม้าขนนำทองคำ เงิน และผ้าไหมจำนวนมากไว้สำหรับการครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เพียงแต่จะไม่ต้องทนทุกข์จากความหิวโหยระหว่างทางไปอินเดียเท่านั้น แต่ยังมีเงินเพียงพอที่จะทำทานอีกด้วย ในสิ่งแต่งเคิมเหล่านี้เป็นรายละเอียดด้านที่อ่อนโยนของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่มีต่ออัครสาวก 🥸นอกจากทรัพย์สินแล้ว เนื่องจากเจ้าผู้ครองแคว้นตะวันตกในขณะนั้น คือ ข่านเตอร์กตะวันตก(西突厥)ได้สมรสกับราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ยังมีจดหมายแสดงความเคารพที่กษัตริย์แห่งเกาชาง(Gaochang高昌)มอบให้กับข่านแห่งเติร์กตะวันตก(西突厥) อธิบายถึงความตั้งใจของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะไปทางดินแดนแคว้นตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะ🥸 ภายใต้การคุ้มครองของเตอร์กข่านตะวันตก (西突厥) ทุกประเทศในภูมิภาคตะวันตกตลอดเส้นทางให้ความเคารพแก่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) และให้การสนับสนุนทางทหารที่เข้มแข็งและมีควาทปลอดภัยที่สุดสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)และคณะเดินทางของเขา และจดหมายแสดงความเคารพของกษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ถึงพระมหากษัตริย์ของยี่สิบสี่ประเทศในภูมิภาคตะวันตกจะช่วยให้การเดินทางของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก 🥸ในช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการอำลาอาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌) บรรดาราชวงศ์และชาวเกาชาง(Gaochang高昌)ก็ออกจากเมืองเพื่อส่งอำลา🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สัญญาว่า เมื่อเดินทางผ่านเกาชาง(Gaochang高昌)หลังจากกลับจากการศึกษาในอินเดียจะแสดงเทศนาธรรมอีก จากนั้นเขาก็กล่าวคำอำลากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ด้วยน้ำตา พวกบรรดาราชวงศ์ เกาชาง(Gaochang高昌)เจ้าหน้าที่และประชาชนชาวพุทธต่างพากันออกจากเมืองส่งเสียงอำลาดังลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งถิ่น ราวกับว่ามือแห่งโชคชะตาได้ฉีกหัวใจและจิตวิญญาณออกจากร่างกายของชาวเกาชาง(Gaochang高昌) ทำให้พวกเขาสูญเสียสมบัติของชาติไปตลอดกาล บรรดาพวกราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ส่งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ออกไปนอกเมืองหลายสิบลี้ แม้ว่าพระภิกษุสมณเพศจะมองเห็นบรรลุแล้วการจากแยกอำลาในทางโลกแล้วก็ตาม แต่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ผู้ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนและยังคงเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็ยังมีอารมณ์อ่อนไหวมาก เขาขอบคุณต่ออาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌)อย่างสุดซึ้งอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนอย่างมีน้ำใจ ราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังจับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง ร่ำไห้ราวกับสายฝนกล่าวว่า 🥸ในเมื่อพระคุณท่านถือเป็นพี่น้องกัน สัตว์พาหนะต่าง ๆ ในประเทศก็มีเจ้าของคนเดียวกัน แล้วเหตุใดจึงต้องขอบคุณพวกเขาด้วย?🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ตอบว่า: 🥸ฉันจะไม่มีวันลืมความเมตตาของเสด็จพี่ตลอดชีวิตของอาตมา ในวันที่อาตมากลับจากนำพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากลับมา อาตมาจะอยู่สอนธรรมะในเกาชาง(Gaochang高昌)เป็นเวลาสามปีเป็นการตอบแทน!🥸 หลายปีต่อมาในฉางอาน(长安) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าประทับใจนี้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากให้เหล่าสาวกฟัง มิตรภาพฉันท์พี่น้องที่มีต่อราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังคงเกินคำบรรยาย ดูเหมือนราวกับว่าพิธีอำลาที่หรูหราและยิ่งใหญ่นั้นได่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง ตอนนั้นเขาไม่รู้ 🥸นี่ยังจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้พบกับพี่ชายร่วมสาบานของเขา🥸 🥳โปรดติดตามบทความ#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 02. #อาณาจักรคาราซาห์และคูชาที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 591 มุมมอง 0 รีวิว