• คณิตศาสตร์การเมือง สนามเลือกตั้งราชบุรี

    การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2567 นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา หรือกำนันตุ้ย อดีตนายก อบจ.ราชบุรี ได้ 242,297 คะแนน เอาชนะ นายชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ หรือ หวุน ผู้สมัครจากพรรคประชาชน อดีตพรรคก้าวไกล ได้ 175,353 คะแนน ห่างกัน 66,944 คะแนน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 455,400 คน คิดเป็น 67.31% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 676,526 คน มีบัตรดี 417,650 ใบ บัตรเสีย 16,500 ใบ และบัตรไม่เลือกผู้สมัครรายใด 21,250 ใบ คิดเป็น 4.67%

    เมื่อพิจารณาผลคะแนนเลือกตั้งแบบรายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ พบว่านายชัยรัตน์มีคะแนนสูสีกับนายวิวัฒน์ในอำเภอเมืองราชบุรี นายชัยรัตน์ได้ 43,584 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 45,390 คะแนน ห่างกัน 1,806 คะแนน หรือ 3.98% และอำเภอสวนผึ้ง นายชัยรัตน์ได้ 7,468 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 8,027 คะแนน ห่างกัน 559 คะแนน หรือ 6.96% ส่วนอำเภอที่มีคะแนนห่างกันมากที่สุด คืออำเภอโพธาราม นายชัยรัตน์ได้ 27,833 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 46,354 คะแนน ห่างกัน 18,521 คะแนน หรือ 39.96%

    ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับผลการเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน พบว่า นายวิวัฒน์ได้ 241,952 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 345 คะแนน ส่วนนางภรมน นรการกุมพล ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้าของนายธนาธร ได้ 74,929 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 100,424 คะแนน อันดับสาม นายอรรถพงศ์ ห้องริ้ว ผู้สมัครกลุ่ม New Gen ที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน ได้ 54,153 คะแนน

    เนื่องจากการเลือกตั้ง อบจ.ราชบุรีครั้งนี้ พรรคประชาชนและผู้สนับสนุนคนสำคัญลงพื้นที่ อาทิ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และ สส.พรรคคนอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชนให้พื้นที่ข่าวนายชัยรัตน์ เปรียบได้กับสนามการเมืองระดับชาติ แต่นายวิวัฒน์แทบไม่มีพื้นที่ข่าวบนหน้าสื่อมวลชนเลย จึงต้องพิจารณาสนามเลือกตั้ง สส.ราชบุรี เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา

    แม้เก้าอี้ สส.แบบแบ่งเขตจะเป็นของพรรคพลังประชารัฐ 3 ที่นั่ง และพรรครวมไทยสร้างชาติ 2 ที่นั่ง แต่คะแนนบัตรเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พบว่า พรรคก้าวไกลนำเป็นอันดับหนึ่ง รวม 5 เขตได้ไป 233,608 คะแนน ส่วนอันดับ 2 เป็นของพรรคเพื่อไทย แม้จะไม่ได้ สส. แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์มากถึง 102,757 คะแนน ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 90,598 คะแนน และพรรคพลังประชารัฐ ได้ 10,192 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว คะแนนพรรคก้าวไกลหายไป 58,255 คะแนน

    นักการเมืองในพื้นที่ราชบุรีวิเคราะห์กันว่า คะแนนนิยมของนายชัยรัตน์และพรรคประชาชนช่วงแรก โดยเฉพาะหลังยุบพรรคก้าวไกลคะแนนดีมาก ทำให้ตระกูลนิติกาญจนาหวั่นไหวพอสมควร แต่ถูกโจมตีจากการปราศรัยพาดพิงโรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ขณะที่หลายกลุ่มการเมืองในราชบุรีช่วยกันจับมือช่วยนายวิวัฒน์สู้กับพรรคประชาชน หลังพรรคก้าวไกลแม้ไม่ได้ สส.เขต แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์อันดับหนึ่ง จึงช่วยกันสกัดไม่ให้พรรคประชาชนแจ้งเกิดการเมืองท้องถิ่นที่นี่

    #Newskit #อบจราชบุรี #เลือกตั้งราชบุรี
    คณิตศาสตร์การเมือง สนามเลือกตั้งราชบุรี การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2567 นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา หรือกำนันตุ้ย อดีตนายก อบจ.ราชบุรี ได้ 242,297 คะแนน เอาชนะ นายชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ หรือ หวุน ผู้สมัครจากพรรคประชาชน อดีตพรรคก้าวไกล ได้ 175,353 คะแนน ห่างกัน 66,944 คะแนน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 455,400 คน คิดเป็น 67.31% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 676,526 คน มีบัตรดี 417,650 ใบ บัตรเสีย 16,500 ใบ และบัตรไม่เลือกผู้สมัครรายใด 21,250 ใบ คิดเป็น 4.67% เมื่อพิจารณาผลคะแนนเลือกตั้งแบบรายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ พบว่านายชัยรัตน์มีคะแนนสูสีกับนายวิวัฒน์ในอำเภอเมืองราชบุรี นายชัยรัตน์ได้ 43,584 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 45,390 คะแนน ห่างกัน 1,806 คะแนน หรือ 3.98% และอำเภอสวนผึ้ง นายชัยรัตน์ได้ 7,468 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 8,027 คะแนน ห่างกัน 559 คะแนน หรือ 6.96% ส่วนอำเภอที่มีคะแนนห่างกันมากที่สุด คืออำเภอโพธาราม นายชัยรัตน์ได้ 27,833 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 46,354 คะแนน ห่างกัน 18,521 คะแนน หรือ 39.96% ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับผลการเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน พบว่า นายวิวัฒน์ได้ 241,952 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 345 คะแนน ส่วนนางภรมน นรการกุมพล ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้าของนายธนาธร ได้ 74,929 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 100,424 คะแนน อันดับสาม นายอรรถพงศ์ ห้องริ้ว ผู้สมัครกลุ่ม New Gen ที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน ได้ 54,153 คะแนน เนื่องจากการเลือกตั้ง อบจ.ราชบุรีครั้งนี้ พรรคประชาชนและผู้สนับสนุนคนสำคัญลงพื้นที่ อาทิ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และ สส.พรรคคนอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชนให้พื้นที่ข่าวนายชัยรัตน์ เปรียบได้กับสนามการเมืองระดับชาติ แต่นายวิวัฒน์แทบไม่มีพื้นที่ข่าวบนหน้าสื่อมวลชนเลย จึงต้องพิจารณาสนามเลือกตั้ง สส.ราชบุรี เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา แม้เก้าอี้ สส.แบบแบ่งเขตจะเป็นของพรรคพลังประชารัฐ 3 ที่นั่ง และพรรครวมไทยสร้างชาติ 2 ที่นั่ง แต่คะแนนบัตรเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พบว่า พรรคก้าวไกลนำเป็นอันดับหนึ่ง รวม 5 เขตได้ไป 233,608 คะแนน ส่วนอันดับ 2 เป็นของพรรคเพื่อไทย แม้จะไม่ได้ สส. แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์มากถึง 102,757 คะแนน ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 90,598 คะแนน และพรรคพลังประชารัฐ ได้ 10,192 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว คะแนนพรรคก้าวไกลหายไป 58,255 คะแนน นักการเมืองในพื้นที่ราชบุรีวิเคราะห์กันว่า คะแนนนิยมของนายชัยรัตน์และพรรคประชาชนช่วงแรก โดยเฉพาะหลังยุบพรรคก้าวไกลคะแนนดีมาก ทำให้ตระกูลนิติกาญจนาหวั่นไหวพอสมควร แต่ถูกโจมตีจากการปราศรัยพาดพิงโรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ขณะที่หลายกลุ่มการเมืองในราชบุรีช่วยกันจับมือช่วยนายวิวัฒน์สู้กับพรรคประชาชน หลังพรรคก้าวไกลแม้ไม่ได้ สส.เขต แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์อันดับหนึ่ง จึงช่วยกันสกัดไม่ให้พรรคประชาชนแจ้งเกิดการเมืองท้องถิ่นที่นี่ #Newskit #อบจราชบุรี #เลือกตั้งราชบุรี
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 466 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชวนกรีดดีลฟ้า-แดง "คนรุ่นใหม่หาประโยชน์"

    การประชุมคณะกรรมการบริหารและ สส. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 ส.ค. มีเพียงวาระเดียว คือการเข้าร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย (พท.) ตามที่นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือเชิญแก่นายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางกระแสข่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีความพยายามร่วมรัฐบาลของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเก้าอี้ 1 รัฐมนตรี และ 1 รัฐมนตรีช่วยรออยู่

    เป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคการเมืองของนายทักษิณ ชินวัตร ต่อสู้ทางการเมืองมานานกว่า 23 ปี ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ผ่านความขัดแย้งทั้งในสภาและนอกสภาในการชุมนุมกลุ่ม กปปส.

    แต่สัญญาณในการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (2566) นายเดชอิศม์เดินทางไปพบนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ฮ่องกง ก่อนที่นายทักษิณกลับมารับโทษที่ประเทศไทย ทีแรกปฎิเสธไม่พูดถึง ตอนหลังยอมรับไปเจอกันจริง และเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรร่วมรัฐบาลเพื่อผลักดันนโยบายพรรค กระทั่งการโหวตเลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่ามี สส.ปชป. 16 คน นำโดยนายเดชอิศม์ โหวตสวนมติพรรค หนุนนายเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรี

    แต่ในการโหวตเลือก น.ส.แพทองธาร ครั้งล่าสุด สส.ปชป. 25 คน งดออกเสียง ตามมติพรรคที่ออกมาก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้ สส.ปชป. กลุ่มนายเฉลิมชัย 21 คน สนใจที่จะเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว มีเพียง 4 สส. ที่ไม่ยอม ได้แก่ นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ และนายสรรเพชร บุญญามณี สส.สงขลา แต่ก็ไม่อาจต้านทานกลุ่มนายเฉลิมชัยซึ่งเป็นเสียงข้างมากได้

    นายเดชอิศม์ อ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้ง มีแต่ความรัก ความเข้าใจ และการให้อภัยกัน ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์เมื่อ 20-30 ปีที่ผ่านมา กับปัจจุบันไม่เหมือนกัน ปัญหาของประเทศ แนวคิด การพัฒนาประเทศ ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พอถึงเวลาที่เราพูดคุยกันได้ ที่เรารักกัน เป็นสิ่งที่ดีงาม ส่วนที่นายชวนคัดค้านนั้น ก่อนหน้านี้อาจมีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย แต่เมื่อมีมติของพรรคก็ต้องปฏิบัติตาม จากนี้ถ้ามีคนในพรรคโหวตแตกต่างจากมติของพรรคคงทำเช่นนั้นไม่ได้

    ส่วนนายสรวงศ์ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยได้พูดคุยกับนายเฉลิมชัยและนายเดชอิศม์ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ว่าจะยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารประเทศ และเป็นรัฐบาลร่วมกัน ส่วนโควตารัฐมนตรีเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีตนไม่ขอก้าวล่วง ส่วนความขัดแย้งระหว่างสองพรรค เมื่อก่อนก็คือเมื่อก่อน แต่ปัจจุบันมั่นใจว่าในสภาฯ ทุกคน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติไปได้ด้วยดี

    "ไม่มี สส.พรรคเพื่อไทยคัดค้าน ขอให้นำคำสัมภาษณ์ของนายเดชอิศม์เป็นที่ตั้ง ว่าประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ ทุกอย่างผ่านไปแล้ว ประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ พรรคของพวกเราร่วมต่อสู้กันมานาน แต่วันนี้มาถึงคนรุ่นใหม่ ที่มาดูแลพรรค ส่วนอุดมการณ์ทางการเมือง ก็เป็นเรื่องของอุดมการณ์ ส่วนแนวทางการทำงานเราไปด้วยกันได้แน่นอน"

    นายสรวงศ์ กล่าวว่า ในอดีตอุดมการณ์ทางการเมืองของเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ ไม่เหมือนกันเลย แต่วันนี้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารพรรค หัวหน้าทั้ง 2 พรรค รวมถึงเลขาฯ และสมาชิกพรรคทุกคน มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น เพราะประเทศชาติถอยหลังไปมาก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินหน้าร่วมกัน อะไรไม่เข้าใจกันหรือความขัดแย้งต้องทิ้งไว้ข้างหลัง

    ส่วนข้อกล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทยตระบัดสัตย์นั้น นายสรวงศ์ กล่าวว่า คำนี้ฮิตเหลือเกิน ก็แล้วแต่ ทุกอย่างมองกันที่ผลงาน ต่อจากนี้ไปอีก 3 ปี ตนขออย่างเดียวให้โอกาสนายกฯ และ ครม.ชุดใหม่ได้ทำงาน ถ้าทำอะไรผิด หรือไม่ดีค่อยร้องเรียน ไม่ใช่ออกมาพูดเพียงอย่างเดียว ขอให้ดูที่ผลงาน ส่วนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นร้องเรียนกรณีซุกหุ้นของ น.ส.แพทองธาร มีทีมกฎหมายดูอยู่แล้ว และคิดว่าจะไม่เป็นประเด็น

    อย่างไรก็ตาม นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส่วนตัวขอยืนยันในจุดยืนเดิม ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีตั้งแต่วันแรกที่การตั้งรัฐบาลชุด ของนายเศรษฐา ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะไม่สามารถทรยศประชาชนได้ ซึ่งตนเป็นคนขอร้องประชาชนไม่ให้เลือกพรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่เพราะความขัดแย้งส่วนตัว แต่เป็นเพราะพรรคเหล่านั้น ประกาศชัดเจนที่จะพัฒนาจังหวัดที่เลือกเขาก่อน ส่วนจังหวัดอื่นไว้ทีหลัง

    "วิธีเหล่านี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา 90 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหน ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากการยึดอำนาจ ยิ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จะให้ความเป็นธรรมกับทุกภาคอย่างยุติธรรม โดยไม่สนใจว่าใครจะเลือกใครเป็นรัฐบาล แต่จัดการบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม"

    "ต้องยอมรับว่าเรื่องการเลือกปฏิบัติ ผมต่อสู้มาเพียงลำพัง ด้วยการขอว่าอย่าเลือกเขานะ ไม่ได้ไปกลั่นแกล้งหรือทำร้ายอย่างที่ นายราเมศ รัตนะเชวง อดีดโฆษกพรรคฯ เคยถูกกระทำ ทำให้เขาได้รับเลือกน้อยมาก ไม่มี สส.ภาคใต้แม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากที่ผมรณรงค์ แล้ววันหนึ่งจะมาบอกให้ผมสนับสนุนพรรคที่ผมบอกว่าอย่าเลือก มันชัดเจนว่าเป็นการทรยศชาวบ้านผมทำไม่ได้ จึงขอยืนยันว่า แม้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี แต่จุดยืนผมยังเหมือนเดิม"

    นายชวนกล่าวอีกว่า มติของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่การเห็นด้วย เพราะมีการติดต่อกันแล้ว ที่มาถามว่า เขามาเชิญ ความจริง ตนคิดว่าคนของเราไปติดต่อเขาก่อนเขาเชิญ หรือสงสัยว่าไปขอให้เขามาเชิญด้วยซ้ำ แต่ตามมารยาท ก็มาเชิญด้วยวิธีนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะก่อนหน้าที่จะมีหนังสือเชิญ คนของเราบางคนก็ไปประสานติดต่อ จึงถูกสื่อมวลชนเรียกว่า พรรคอีแอบ พรรครอเสียบ จึงอยากขออย่าเรียกพรรคประชาธิปัตย์ แบบนี้ เพราะเป็นพฤติกรรมของคนส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่คนส่วนใหญ่

    "การเรียกแบบนี้ทำให้พรรคเสื่อมเสีย ตนอยากปกป้องเกียรติภูมิของพรรค เราไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้คนใดคนหนึ่งได้เป็นนายกฯ อยู่สัก 1-2 สมัยแล้วล้มไป แต่พรรคประชาธิปัตย์ อยู่มาเกือบ 80 ปี ปฏิบัติตามอุดมการณ์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน ไม่อยากให้เสื่อมเสียด้วยการกระทำของ กก.บห.พรรคชุดปัจจุบัน"

    "ยอมรับว่าผมเป็นเสียงข้างน้อยในพรรคฯ ที่ชัดเจนตั้งแต่มีการลงมติเลือกนายเศรษฐาเป็นนายกฯ และผมได้หารือกับนายบัญญัติ นายจุรินทร์ และนายสรรเพชญ ว่าอย่างน้อย 4 คน จะยังคงยืนยันในจุดยืนเดิม แต่ไม่ว่ามติของพรรคฯเป็นอย่างไร ก็พร้อมจะเคารพ เพียงแต่ไม่เห็นด้วยที่จะร่วมกับพรรคการเมืองที่เคยกลั่นแกล้งประชาชน และเชื่อว่าการตัดสินใจร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ จะส่งผลต่อฐานเสียงภาคใต้ไม่น้อย"

    เมื่อถามว่าคนรุ่นใหม่มองว่าหมดยุคของนายชวนแล้ว นายชวน กล่าวว่า มันไม่มีกำหนดอายุ มีคนคิดเหมือนกันว่าตนเป็นขวากหนามของเขา ทำให้ไปร่วมรัฐบาลไม่ได้ จึงพยายามพูดว่าหมดยุคของผู้อาวุโส แต่ในความจริงแล้ว ตนเป็นผู้สร้างมากกว่าผู้ทำลาย และคนที่พูดเหล่านั้นอาศัยบารมีพรรค ที่พวกตนทำเอาไว้ แต่คนเหล่านั้นยังไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับพรรคเลย เพียงแต่อาศัยชื่อพรรคเพื่อเข้ามาเป็นนักการเมือง ตนก็เคยได้ยินเรื่องนี้แต่ไม่ได้โกรธ แม้กระทั่ง เรื่องที่จะขับพ้นออกจากพรรค ก็มาดูว่าใครเป็นคนพูด พอทราบก็เข้าใจเพราะเขาก็เพิ่งเข้าพรรคมาอาศัยบารมีของพรรคที่คนรุ่นก่อนเขาสะสมสร้างมา นายเฉลิมชัย เป็นหัวหน้าพรรคฯ คนที่ 9 ยังไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้พรรคฯเท่ากับรุ่นก่อน

    "ดังนั้น ใครที่คิดจะปลดต้องดูกฎหมาย ซึ่งไม่ได้กำหนดอายุ ผมยังคงทำหน้าที่ของตัวเองอยู่ ผมกลายเป็นคนหัวคัดค้าน ทั้งที่มีหลายคนไม่เห็นด้วย แต่เขาไม่อยากเปลืองตัว เป็นการกระทำของคนบางกลุ่ม ทำให้คนทั่วไปยังเข้าใจว่า ประชาธิปัตย์ยังพอใช้ได้อยู่ เพียงแต่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้ามาใช้ตำแหน่งในพรรคเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งคนกลุ่มนั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับผม จนพยายามจะบอกว่าขัดแย้งมาแล้ว 20 ปี จึงอยากถามว่าขัดแย้งเรื่องอะไร ไม่ได้ทะเลาะเพื่อประโยชน์ส่วนตัวกัน แต่เป็นเรื่องของประชาชน"

    เมื่อถามว่านายชวนจะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ไม่สามารถยืนยันชัดเจนได้ เพราะไม่อยากพูดอะไรไปล่วงหน้า

    #Newskit #พรรคประชาธิปัตย์ #รัฐบาลแพทองธาร
    ชวนกรีดดีลฟ้า-แดง "คนรุ่นใหม่หาประโยชน์" การประชุมคณะกรรมการบริหารและ สส. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 ส.ค. มีเพียงวาระเดียว คือการเข้าร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย (พท.) ตามที่นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือเชิญแก่นายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางกระแสข่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีความพยายามร่วมรัฐบาลของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเก้าอี้ 1 รัฐมนตรี และ 1 รัฐมนตรีช่วยรออยู่ เป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคการเมืองของนายทักษิณ ชินวัตร ต่อสู้ทางการเมืองมานานกว่า 23 ปี ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ผ่านความขัดแย้งทั้งในสภาและนอกสภาในการชุมนุมกลุ่ม กปปส. แต่สัญญาณในการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (2566) นายเดชอิศม์เดินทางไปพบนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ฮ่องกง ก่อนที่นายทักษิณกลับมารับโทษที่ประเทศไทย ทีแรกปฎิเสธไม่พูดถึง ตอนหลังยอมรับไปเจอกันจริง และเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรร่วมรัฐบาลเพื่อผลักดันนโยบายพรรค กระทั่งการโหวตเลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่ามี สส.ปชป. 16 คน นำโดยนายเดชอิศม์ โหวตสวนมติพรรค หนุนนายเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในการโหวตเลือก น.ส.แพทองธาร ครั้งล่าสุด สส.ปชป. 25 คน งดออกเสียง ตามมติพรรคที่ออกมาก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้ สส.ปชป. กลุ่มนายเฉลิมชัย 21 คน สนใจที่จะเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว มีเพียง 4 สส. ที่ไม่ยอม ได้แก่ นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ และนายสรรเพชร บุญญามณี สส.สงขลา แต่ก็ไม่อาจต้านทานกลุ่มนายเฉลิมชัยซึ่งเป็นเสียงข้างมากได้ นายเดชอิศม์ อ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้ง มีแต่ความรัก ความเข้าใจ และการให้อภัยกัน ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์เมื่อ 20-30 ปีที่ผ่านมา กับปัจจุบันไม่เหมือนกัน ปัญหาของประเทศ แนวคิด การพัฒนาประเทศ ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พอถึงเวลาที่เราพูดคุยกันได้ ที่เรารักกัน เป็นสิ่งที่ดีงาม ส่วนที่นายชวนคัดค้านนั้น ก่อนหน้านี้อาจมีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย แต่เมื่อมีมติของพรรคก็ต้องปฏิบัติตาม จากนี้ถ้ามีคนในพรรคโหวตแตกต่างจากมติของพรรคคงทำเช่นนั้นไม่ได้ ส่วนนายสรวงศ์ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยได้พูดคุยกับนายเฉลิมชัยและนายเดชอิศม์ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ว่าจะยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารประเทศ และเป็นรัฐบาลร่วมกัน ส่วนโควตารัฐมนตรีเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีตนไม่ขอก้าวล่วง ส่วนความขัดแย้งระหว่างสองพรรค เมื่อก่อนก็คือเมื่อก่อน แต่ปัจจุบันมั่นใจว่าในสภาฯ ทุกคน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติไปได้ด้วยดี "ไม่มี สส.พรรคเพื่อไทยคัดค้าน ขอให้นำคำสัมภาษณ์ของนายเดชอิศม์เป็นที่ตั้ง ว่าประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ ทุกอย่างผ่านไปแล้ว ประเทศชาติต้องเดินหน้าต่อ พรรคของพวกเราร่วมต่อสู้กันมานาน แต่วันนี้มาถึงคนรุ่นใหม่ ที่มาดูแลพรรค ส่วนอุดมการณ์ทางการเมือง ก็เป็นเรื่องของอุดมการณ์ ส่วนแนวทางการทำงานเราไปด้วยกันได้แน่นอน" นายสรวงศ์ กล่าวว่า ในอดีตอุดมการณ์ทางการเมืองของเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ ไม่เหมือนกันเลย แต่วันนี้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารพรรค หัวหน้าทั้ง 2 พรรค รวมถึงเลขาฯ และสมาชิกพรรคทุกคน มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น เพราะประเทศชาติถอยหลังไปมาก ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินหน้าร่วมกัน อะไรไม่เข้าใจกันหรือความขัดแย้งต้องทิ้งไว้ข้างหลัง ส่วนข้อกล่าวหาว่า พรรคเพื่อไทยตระบัดสัตย์นั้น นายสรวงศ์ กล่าวว่า คำนี้ฮิตเหลือเกิน ก็แล้วแต่ ทุกอย่างมองกันที่ผลงาน ต่อจากนี้ไปอีก 3 ปี ตนขออย่างเดียวให้โอกาสนายกฯ และ ครม.ชุดใหม่ได้ทำงาน ถ้าทำอะไรผิด หรือไม่ดีค่อยร้องเรียน ไม่ใช่ออกมาพูดเพียงอย่างเดียว ขอให้ดูที่ผลงาน ส่วนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นร้องเรียนกรณีซุกหุ้นของ น.ส.แพทองธาร มีทีมกฎหมายดูอยู่แล้ว และคิดว่าจะไม่เป็นประเด็น อย่างไรก็ตาม นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส่วนตัวขอยืนยันในจุดยืนเดิม ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีตั้งแต่วันแรกที่การตั้งรัฐบาลชุด ของนายเศรษฐา ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะไม่สามารถทรยศประชาชนได้ ซึ่งตนเป็นคนขอร้องประชาชนไม่ให้เลือกพรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่เพราะความขัดแย้งส่วนตัว แต่เป็นเพราะพรรคเหล่านั้น ประกาศชัดเจนที่จะพัฒนาจังหวัดที่เลือกเขาก่อน ส่วนจังหวัดอื่นไว้ทีหลัง "วิธีเหล่านี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา 90 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหน ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากการยึดอำนาจ ยิ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จะให้ความเป็นธรรมกับทุกภาคอย่างยุติธรรม โดยไม่สนใจว่าใครจะเลือกใครเป็นรัฐบาล แต่จัดการบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม" "ต้องยอมรับว่าเรื่องการเลือกปฏิบัติ ผมต่อสู้มาเพียงลำพัง ด้วยการขอว่าอย่าเลือกเขานะ ไม่ได้ไปกลั่นแกล้งหรือทำร้ายอย่างที่ นายราเมศ รัตนะเชวง อดีดโฆษกพรรคฯ เคยถูกกระทำ ทำให้เขาได้รับเลือกน้อยมาก ไม่มี สส.ภาคใต้แม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากที่ผมรณรงค์ แล้ววันหนึ่งจะมาบอกให้ผมสนับสนุนพรรคที่ผมบอกว่าอย่าเลือก มันชัดเจนว่าเป็นการทรยศชาวบ้านผมทำไม่ได้ จึงขอยืนยันว่า แม้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี แต่จุดยืนผมยังเหมือนเดิม" นายชวนกล่าวอีกว่า มติของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่การเห็นด้วย เพราะมีการติดต่อกันแล้ว ที่มาถามว่า เขามาเชิญ ความจริง ตนคิดว่าคนของเราไปติดต่อเขาก่อนเขาเชิญ หรือสงสัยว่าไปขอให้เขามาเชิญด้วยซ้ำ แต่ตามมารยาท ก็มาเชิญด้วยวิธีนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะก่อนหน้าที่จะมีหนังสือเชิญ คนของเราบางคนก็ไปประสานติดต่อ จึงถูกสื่อมวลชนเรียกว่า พรรคอีแอบ พรรครอเสียบ จึงอยากขออย่าเรียกพรรคประชาธิปัตย์ แบบนี้ เพราะเป็นพฤติกรรมของคนส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ "การเรียกแบบนี้ทำให้พรรคเสื่อมเสีย ตนอยากปกป้องเกียรติภูมิของพรรค เราไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้คนใดคนหนึ่งได้เป็นนายกฯ อยู่สัก 1-2 สมัยแล้วล้มไป แต่พรรคประชาธิปัตย์ อยู่มาเกือบ 80 ปี ปฏิบัติตามอุดมการณ์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน ไม่อยากให้เสื่อมเสียด้วยการกระทำของ กก.บห.พรรคชุดปัจจุบัน" "ยอมรับว่าผมเป็นเสียงข้างน้อยในพรรคฯ ที่ชัดเจนตั้งแต่มีการลงมติเลือกนายเศรษฐาเป็นนายกฯ และผมได้หารือกับนายบัญญัติ นายจุรินทร์ และนายสรรเพชญ ว่าอย่างน้อย 4 คน จะยังคงยืนยันในจุดยืนเดิม แต่ไม่ว่ามติของพรรคฯเป็นอย่างไร ก็พร้อมจะเคารพ เพียงแต่ไม่เห็นด้วยที่จะร่วมกับพรรคการเมืองที่เคยกลั่นแกล้งประชาชน และเชื่อว่าการตัดสินใจร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ จะส่งผลต่อฐานเสียงภาคใต้ไม่น้อย" เมื่อถามว่าคนรุ่นใหม่มองว่าหมดยุคของนายชวนแล้ว นายชวน กล่าวว่า มันไม่มีกำหนดอายุ มีคนคิดเหมือนกันว่าตนเป็นขวากหนามของเขา ทำให้ไปร่วมรัฐบาลไม่ได้ จึงพยายามพูดว่าหมดยุคของผู้อาวุโส แต่ในความจริงแล้ว ตนเป็นผู้สร้างมากกว่าผู้ทำลาย และคนที่พูดเหล่านั้นอาศัยบารมีพรรค ที่พวกตนทำเอาไว้ แต่คนเหล่านั้นยังไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับพรรคเลย เพียงแต่อาศัยชื่อพรรคเพื่อเข้ามาเป็นนักการเมือง ตนก็เคยได้ยินเรื่องนี้แต่ไม่ได้โกรธ แม้กระทั่ง เรื่องที่จะขับพ้นออกจากพรรค ก็มาดูว่าใครเป็นคนพูด พอทราบก็เข้าใจเพราะเขาก็เพิ่งเข้าพรรคมาอาศัยบารมีของพรรคที่คนรุ่นก่อนเขาสะสมสร้างมา นายเฉลิมชัย เป็นหัวหน้าพรรคฯ คนที่ 9 ยังไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือให้พรรคฯเท่ากับรุ่นก่อน "ดังนั้น ใครที่คิดจะปลดต้องดูกฎหมาย ซึ่งไม่ได้กำหนดอายุ ผมยังคงทำหน้าที่ของตัวเองอยู่ ผมกลายเป็นคนหัวคัดค้าน ทั้งที่มีหลายคนไม่เห็นด้วย แต่เขาไม่อยากเปลืองตัว เป็นการกระทำของคนบางกลุ่ม ทำให้คนทั่วไปยังเข้าใจว่า ประชาธิปัตย์ยังพอใช้ได้อยู่ เพียงแต่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้ามาใช้ตำแหน่งในพรรคเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งคนกลุ่มนั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับผม จนพยายามจะบอกว่าขัดแย้งมาแล้ว 20 ปี จึงอยากถามว่าขัดแย้งเรื่องอะไร ไม่ได้ทะเลาะเพื่อประโยชน์ส่วนตัวกัน แต่เป็นเรื่องของประชาชน" เมื่อถามว่านายชวนจะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ไม่สามารถยืนยันชัดเจนได้ เพราะไม่อยากพูดอะไรไปล่วงหน้า #Newskit #พรรคประชาธิปัตย์ #รัฐบาลแพทองธาร
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 618 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567

    “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน

    ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว)

    แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม

    แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้

    หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ

    อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว

    ผลเป็นไงคงพอจำกันได้

    บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ

    แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที

    อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้

    แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ

    ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร

    ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ

    แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ

    ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน

    สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้

    ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน

    ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ

    สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ

    ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป

    แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป

    นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย

    ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน

    แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก

    ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า

    วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้

    อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ

    งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้

    นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที

    ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว

    ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ

    อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน

    เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้

    ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว

    เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ

    การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว

    จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ

    ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง

    เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท

    รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท

    นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท

    อันนี้น่าสนใจ

    ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป

    แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต

    เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ

    แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้

    แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที

    แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

    ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน

    พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้

    แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น

    แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย

    เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย

    ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต

    แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย

    พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่

    เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก

    แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที

    การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ


    ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้

    การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน

    ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย

    สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ

    งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ

    บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง

    ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย


    วีระ ธีรภัทร
    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567”

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E

    Thaitimes
    รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567 “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว) แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้ หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว ผลเป็นไงคงพอจำกันได้ บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้ ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้ อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้ นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้น่าสนใจ ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้ แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้ แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่ เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย วีระ ธีรภัทร วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567” ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 760 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยังไม่ยอมแพ้ แม้สังขารไม่ไหว..
    ถึงขั้นหิ้วปีกขึ้นรถ หลังรู้ว่าพรรคตกต่ำเป็นบุหรี่แบ่งขาย!!😵‍💫
    #เจ็ดดอกจิก
    #ลุงป้อมหิ้วปีก
    #พรรคพลังประชารัฐ
    ♣️ ยังไม่ยอมแพ้ แม้สังขารไม่ไหว.. ถึงขั้นหิ้วปีกขึ้นรถ หลังรู้ว่าพรรคตกต่ำเป็นบุหรี่แบ่งขาย!!😵‍💫 #เจ็ดดอกจิก #ลุงป้อมหิ้วปีก #พรรคพลังประชารัฐ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 191 มุมมอง 0 รีวิว
  • สถานการณ์พลิกอีก “บิ๊กป้อม” กลับลำออกแถลงการณ์หวานเจี๊ยบ ส่ง 4 ชื่อ รมต.เดิมยุค ”เศรษฐา" ร่วมรัฐบาล "อุ๊งอิ๊ง" ให้ตรวจคุณสมบัติแล้ว ลั่น พปชร.มี 40 ที่นั่ง
    .
    วันนี้(21 ส.ค.) พรรคพลังประชารัฐ ออกแถลงการณ์ ใจความว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐในขณะนี้นั้น พรรคพลังประชารัฐ ขอเรียนชี้แจงต่อสมาชิกพรรค พี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนเพื่อทราบ ดังนี้
    .
    ที่ผ่านมาพรรคพลังประชารัฐได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอดตั้งแต่รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคพลังประชารัฐได้มีมติเข้าร่วมรัฐบาลกับ พรรคเพื่อไทยโดยได้มีการแถลงข่าวร่วมกับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลอื่นๆไปเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 และในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคพลังประชารัฐได้ลงมติเห็นชอบให้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
    .
    ซึ่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้ส่งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของพรรค จำนวน 4 ท่าน ไปให้นายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ผ่านนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี แล้วโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและบุคคลใดๆ (เป็นบุคคลและตำแหน่งเดิมในสมัยรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมา) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนของทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จะได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติตามกระบวนการต่อไป
    .
    ปัจจุบันพรรคพลังประชารัฐยังคงมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 40 ท่าน ที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อสนับสนุนนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ และพี่น้อง ประชาชนต่อไป
    สถานการณ์พลิกอีก “บิ๊กป้อม” กลับลำออกแถลงการณ์หวานเจี๊ยบ ส่ง 4 ชื่อ รมต.เดิมยุค ”เศรษฐา" ร่วมรัฐบาล "อุ๊งอิ๊ง" ให้ตรวจคุณสมบัติแล้ว ลั่น พปชร.มี 40 ที่นั่ง . วันนี้(21 ส.ค.) พรรคพลังประชารัฐ ออกแถลงการณ์ ใจความว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวเกี่ยวกับพรรคพลังประชารัฐในขณะนี้นั้น พรรคพลังประชารัฐ ขอเรียนชี้แจงต่อสมาชิกพรรค พี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนเพื่อทราบ ดังนี้ . ที่ผ่านมาพรรคพลังประชารัฐได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอดตั้งแต่รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคพลังประชารัฐได้มีมติเข้าร่วมรัฐบาลกับ พรรคเพื่อไทยโดยได้มีการแถลงข่าวร่วมกับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลอื่นๆไปเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 และในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคพลังประชารัฐได้ลงมติเห็นชอบให้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี . ซึ่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้ส่งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของพรรค จำนวน 4 ท่าน ไปให้นายกรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ผ่านนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี แล้วโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและบุคคลใดๆ (เป็นบุคคลและตำแหน่งเดิมในสมัยรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมา) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนของทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จะได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติตามกระบวนการต่อไป . ปัจจุบันพรรคพลังประชารัฐยังคงมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 40 ท่าน ที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อสนับสนุนนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ และพี่น้อง ประชาชนต่อไป
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1644 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ธรรมนัส"ประกาศอิสรภาพ แยกทาง "บิ๊กป้อม" ย้ายออก พปชร. ลั่น "6 ปีรับใช้มาพอแล้ว"
    .
    วันนี้ (20 ส.ค.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เรื่องที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐให้สัมภาษณ์นั้น ตนเพิ่งเดินทางกลับมาจากจังหวัดพะเยา ไปงานทำบุญวันคล้ายวันเกิด ก็ยังไม่รู้สถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นในพรรคพลังประชารัฐ แต่ก็อยากจะเรียนด้วยความเคารพว่า ผมไม่ทะเลาะกับใคร ประสบการณ์ 6 ปีที่ผ่านมาผมรับใช้บุคคลๆ หนึ่ง พรรคๆ หนึ่งมาพอสมควรแล้ว มันถึงเวลาที่ผมต้องเดินออกมาแบบไม่ทะเลาะกับใคร
    .
    เมื่อถามว่า จะไปอยู่พรรคใด ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ชีวิตผมไม่จำเป็นต้องไปอยู่ที่ไหน และชีวิตผมไม่จำเป็นต้องฝากให้กับการเป็นนักการเมือง ปี 2561 ผมเข้ามาสู่เวทีการเมืองด้วยความบังเอิญ และมาสร้างพรรคพลังประชารัฐกับพี่น้อง ซึ่งแต่ละคนก็เกษียณไปหมดแล้ว เหลือผมยังอยู่คนเดียว ดังนั้น วันนี้มันคงถึงเวลาที่ผมต้องประกาศความเป็นอิสรภาพของตนเอง
    .
    ส่วนเรื่องเก้าอี้รัฐมนตรี ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า เราต้องเคารพในการตัดสินใจของผู้นำรัฐบาล ไม่ใช่ใครคิดจะเขียนหรือเสนอชื่อใคร ผู้นำรัฐบาลจะต้องเอาตามนั้น หลังจากนี้ผมพร้อมกับกลุ่มพี่น้องก็พร้อมที่จะไปไหนก็ได้ที่มีความสุข ไม่แสวงหาความทุกข์เข้าตัวเอง
    .
    เมื่อถามว่า คุยกับ พล.อ.ประวิตรแล้วหรือไม่ ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า "ไม่คุย คุยทำไม ในเมื่อท่านไม่ใช้ผมแล้ว ผมก็ไม่จำเป็นต้องคุย" เมื่อถามว่าจะไปยังไง "ก็อยู่กันอย่างนี้แหละ" ถามว่ากี่คน ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า "เดี๋ยวก็รู้ว่ากี่คน" และว่า เอาเป็นว่าเราแยกออกมาให้มันชัดเจนไปเลยว่าจะอยู่อย่างไรกัน แต่ผมจะไม่ทำลายบ้านเมืองและทำลายรัฐบาล
    .
    คลิกอ่านข่าว >> https://sondhitalk.com/detail/9670000076550
    ......
    Sondhi X
    "ธรรมนัส"ประกาศอิสรภาพ แยกทาง "บิ๊กป้อม" ย้ายออก พปชร. ลั่น "6 ปีรับใช้มาพอแล้ว" . วันนี้ (20 ส.ค.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เรื่องที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐให้สัมภาษณ์นั้น ตนเพิ่งเดินทางกลับมาจากจังหวัดพะเยา ไปงานทำบุญวันคล้ายวันเกิด ก็ยังไม่รู้สถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นในพรรคพลังประชารัฐ แต่ก็อยากจะเรียนด้วยความเคารพว่า ผมไม่ทะเลาะกับใคร ประสบการณ์ 6 ปีที่ผ่านมาผมรับใช้บุคคลๆ หนึ่ง พรรคๆ หนึ่งมาพอสมควรแล้ว มันถึงเวลาที่ผมต้องเดินออกมาแบบไม่ทะเลาะกับใคร . เมื่อถามว่า จะไปอยู่พรรคใด ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ชีวิตผมไม่จำเป็นต้องไปอยู่ที่ไหน และชีวิตผมไม่จำเป็นต้องฝากให้กับการเป็นนักการเมือง ปี 2561 ผมเข้ามาสู่เวทีการเมืองด้วยความบังเอิญ และมาสร้างพรรคพลังประชารัฐกับพี่น้อง ซึ่งแต่ละคนก็เกษียณไปหมดแล้ว เหลือผมยังอยู่คนเดียว ดังนั้น วันนี้มันคงถึงเวลาที่ผมต้องประกาศความเป็นอิสรภาพของตนเอง . ส่วนเรื่องเก้าอี้รัฐมนตรี ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า เราต้องเคารพในการตัดสินใจของผู้นำรัฐบาล ไม่ใช่ใครคิดจะเขียนหรือเสนอชื่อใคร ผู้นำรัฐบาลจะต้องเอาตามนั้น หลังจากนี้ผมพร้อมกับกลุ่มพี่น้องก็พร้อมที่จะไปไหนก็ได้ที่มีความสุข ไม่แสวงหาความทุกข์เข้าตัวเอง . เมื่อถามว่า คุยกับ พล.อ.ประวิตรแล้วหรือไม่ ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า "ไม่คุย คุยทำไม ในเมื่อท่านไม่ใช้ผมแล้ว ผมก็ไม่จำเป็นต้องคุย" เมื่อถามว่าจะไปยังไง "ก็อยู่กันอย่างนี้แหละ" ถามว่ากี่คน ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า "เดี๋ยวก็รู้ว่ากี่คน" และว่า เอาเป็นว่าเราแยกออกมาให้มันชัดเจนไปเลยว่าจะอยู่อย่างไรกัน แต่ผมจะไม่ทำลายบ้านเมืองและทำลายรัฐบาล . คลิกอ่านข่าว >> https://sondhitalk.com/detail/9670000076550 ...... Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 589 มุมมอง 154 0 รีวิว
  • บิ๊กป้อมวุฒิภาวะต่ำ โปรดรับผิดชอบด้วย

    เหตุการณ์ไม่คาดคิดระหว่างสื่อมวลชนกำลังสัมภาษณ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ปรากฎว่า พล.อ.ประวิตร ใช้มือตบศีรษะ ดวงทิพย์ เยี่ยมภพ ผู้สื่อข่าวสายทหาร สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส พร้อมกล่าวว่า "ถามไร...ถามไร" ก่อนขึ้นรถยนต์

    พล.อ.ประวิตร ย้ำว่า "ถามอะไรก็ไม่ได้ยิน แล้วยังจะถามอีก" และเมื่อถามถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้รับโหวตเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ตอบว่า "วู้...ถามอะไรวะ" ก่อนที่รถจะเคลื่อนออกไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่สำนักงานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (บ้านอัมพวัน) เมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา (16 ส.ค.)

    ทันทีที่วีดีโอคลิปจากผู้สื่อข่าวภาคสนามเป็นไวรัล บรรดาเพื่อนสื่อมวลชนต่างแสดงความไม่พอใจถึงวุฒิภาวะของ พล.อ.ประวิตร หรือ บิ๊กป้อม อดีตนายทหารและนักการเมืองวัย 79 ปีผู้นี้ พร้อมตั้งคำถามถึงการกระทำดังกล่าวว่า มีสิทธิ์อะไรมาตีผู้สื่อข่าวแบบนี้ ทั้งที่สิ่งที่นักข่าวถามไม่ได้ล่วงเกิน หรือรุนแรงอะไร

    ทันใดนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลพฤติกรรมคุกคามสื่อ เรียกร้องให้เกียรติผู้ปฏิบัติหน้าที่ โดยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่าย ข่มขู่ คุกคามสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จึงขอให้ พล.อ.ประวิตร แสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว

    "ขณะเดียวกัน ขอเตือนไปยังบุคคลใดก็ตามพึงระมัดระวังการใช้อารมณ์รุนแรงชั่ววูบอันอาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ และขอให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมคุกคามเหล่านี้ สิ่งสำคัญควรให้เกียรติผู้ปฏิบัติงานในแต่ละวิชาชีพ รวมถึงเคารพการทำหน้าที่ซึ่งกันและกันด้วย" แถลงการณ์สมาคมนักข่าวฯ ระบุ

    ด้านองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส ออกแถลงการณ์ระบุว่า ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการคุกคามการทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว

    "การตั้งคำถามด้วยถ้อยคำ และท่าทีสุภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังปรากฎในคลิปวีดีโอ ที่ถูกเผยแพร่เป็นที่ประจักษ์นั้น ชัดเจนว่า เป็นการทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวโดยสุจริต การถูกกระทำทางกายจากแหล่งข่าวเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ และถือเป็นพฤติกรรมที่ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึกปลอดภัยของผู้สื่อข่าว-ช่างภาพ ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์เดียวกันด้วย" แถลงการณ์ไทยพีบีเอส ระบุ

    ไทยพีบีเอส เรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร แสดงความรับผิดชอบต่อการคุกคามผู้สื่อข่าวครั้งนี้ และขอให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่างๆ ร่วมหามาตรการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสื่อมวลชนต่อไป

    มีรายงานว่า พล.อ.ประวิตร ได้ให้นายทหารคนสนิท อย่าง พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม โทรศัพท์สายตรงมาถึงผู้สื่อข่าว อ้างว่าเรื่องดังกล่าวไม่ได้ตั้งใจ หลังจากนั้นได้ส่งสายโทรศัพท์ให้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่าตนเองไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีเจตนาอะไรเลย เพราะปกติแล้วตนเองก็ได้พูดล้อเล่น และแหย่เล่นกับผู้สื่อข่าวที่คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นประจำอยู่แล้ว

    แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งความโกรธแค้นของคนที่รับรู้เรื่องราว ต่างเรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร แสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างถึงที่สุด

    #Newskit #ประวิตร #คุกคามสื่อ
    บิ๊กป้อมวุฒิภาวะต่ำ โปรดรับผิดชอบด้วย เหตุการณ์ไม่คาดคิดระหว่างสื่อมวลชนกำลังสัมภาษณ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ปรากฎว่า พล.อ.ประวิตร ใช้มือตบศีรษะ ดวงทิพย์ เยี่ยมภพ ผู้สื่อข่าวสายทหาร สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส พร้อมกล่าวว่า "ถามไร...ถามไร" ก่อนขึ้นรถยนต์ พล.อ.ประวิตร ย้ำว่า "ถามอะไรก็ไม่ได้ยิน แล้วยังจะถามอีก" และเมื่อถามถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้รับโหวตเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ตอบว่า "วู้...ถามอะไรวะ" ก่อนที่รถจะเคลื่อนออกไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่สำนักงานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (บ้านอัมพวัน) เมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา (16 ส.ค.) ทันทีที่วีดีโอคลิปจากผู้สื่อข่าวภาคสนามเป็นไวรัล บรรดาเพื่อนสื่อมวลชนต่างแสดงความไม่พอใจถึงวุฒิภาวะของ พล.อ.ประวิตร หรือ บิ๊กป้อม อดีตนายทหารและนักการเมืองวัย 79 ปีผู้นี้ พร้อมตั้งคำถามถึงการกระทำดังกล่าวว่า มีสิทธิ์อะไรมาตีผู้สื่อข่าวแบบนี้ ทั้งที่สิ่งที่นักข่าวถามไม่ได้ล่วงเกิน หรือรุนแรงอะไร ทันใดนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลพฤติกรรมคุกคามสื่อ เรียกร้องให้เกียรติผู้ปฏิบัติหน้าที่ โดยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่าย ข่มขู่ คุกคามสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จึงขอให้ พล.อ.ประวิตร แสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว "ขณะเดียวกัน ขอเตือนไปยังบุคคลใดก็ตามพึงระมัดระวังการใช้อารมณ์รุนแรงชั่ววูบอันอาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ และขอให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมคุกคามเหล่านี้ สิ่งสำคัญควรให้เกียรติผู้ปฏิบัติงานในแต่ละวิชาชีพ รวมถึงเคารพการทำหน้าที่ซึ่งกันและกันด้วย" แถลงการณ์สมาคมนักข่าวฯ ระบุ ด้านองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส ออกแถลงการณ์ระบุว่า ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการคุกคามการทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว "การตั้งคำถามด้วยถ้อยคำ และท่าทีสุภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังปรากฎในคลิปวีดีโอ ที่ถูกเผยแพร่เป็นที่ประจักษ์นั้น ชัดเจนว่า เป็นการทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวโดยสุจริต การถูกกระทำทางกายจากแหล่งข่าวเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ และถือเป็นพฤติกรรมที่ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึกปลอดภัยของผู้สื่อข่าว-ช่างภาพ ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์เดียวกันด้วย" แถลงการณ์ไทยพีบีเอส ระบุ ไทยพีบีเอส เรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร แสดงความรับผิดชอบต่อการคุกคามผู้สื่อข่าวครั้งนี้ และขอให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่างๆ ร่วมหามาตรการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสื่อมวลชนต่อไป มีรายงานว่า พล.อ.ประวิตร ได้ให้นายทหารคนสนิท อย่าง พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม โทรศัพท์สายตรงมาถึงผู้สื่อข่าว อ้างว่าเรื่องดังกล่าวไม่ได้ตั้งใจ หลังจากนั้นได้ส่งสายโทรศัพท์ให้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่าตนเองไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีเจตนาอะไรเลย เพราะปกติแล้วตนเองก็ได้พูดล้อเล่น และแหย่เล่นกับผู้สื่อข่าวที่คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งความโกรธแค้นของคนที่รับรู้เรื่องราว ต่างเรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร แสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างถึงที่สุด #Newskit #ประวิตร #คุกคามสื่อ
    Sad
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 562 มุมมอง 0 รีวิว
  • สะพัด 'ชัยเกษม' นายกรัฐมนตรีคนที่ 31

    หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ จากกรณีนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายพิชิตเคยถูกศาลฎีกาสั่งจําคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล เป็นบุคคลที่กระทําการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ

    นับเป็นการปิดฉากนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย จากนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่นักการเมือง หลังดำรงตำแหน่งได้เพียง 358 วัน นับตั้งแต่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา

    เมื่อพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรยากาศทางการเมืองตกอยู่ในภาวะสูญญากาศ การหารือระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันที่ 14 ส.ค. โดยมีรายงานว่า พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในแคนดิเดต เป็นนายกรัฐมนตรี

    ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ โดยก่อนหน้านี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ว่า จำนวน สส.ในสภาปัจจุบันเท่าที่มีและปฏิบัติหน้าที่ได้ มีจำนวน 493 คน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ 247 คน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค

    ปัจจุบันเสียง สส.ฝ่ายรัฐบาล รวม 315 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 141 เสียง พรรคภูมิใจไทย 71 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย พรรคละ 1 เสียง หากเป็นไปในทิศทางเดียวกันย่อมได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งไม่ยาก เว้นเสียแต่การเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้

    สำหรับนายชัยเกษม นิติสิริ อายุ 75 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท กฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตประธาน ก.ล.ต. อดีตอัยการสูงสุด อดีต รมว.ยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการด้านประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และความเสมอภาคเท่าเทียม พรรคเพื่อไทย

    ก่อนหน้านี้นายชัยเกษมมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ป่วยกะทันหันหลังจากลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2566 เมื่อตรวจซีทีสแกนพบว่ามีก้อนเลือดแห้งอยู่ในสมอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สุขภาพกลับมาแข็งแรงแล้ว ที่ผ่านมาก็เข้ามาช่วยทำงานกับพรรคมาโดยตลอด

    #Newskit #ชัยเกษม #นายกรัฐมนตรี
    สะพัด 'ชัยเกษม' นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ จากกรณีนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายพิชิตเคยถูกศาลฎีกาสั่งจําคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล เป็นบุคคลที่กระทําการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ นับเป็นการปิดฉากนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย จากนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สู่นักการเมือง หลังดำรงตำแหน่งได้เพียง 358 วัน นับตั้งแต่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา เมื่อพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ปล่อยให้บรรยากาศทางการเมืองตกอยู่ในภาวะสูญญากาศ การหารือระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันที่ 14 ส.ค. โดยมีรายงานว่า พรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในแคนดิเดต เป็นนายกรัฐมนตรี ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. 2567 เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ โดยก่อนหน้านี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งต่อที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ว่า จำนวน สส.ในสภาปัจจุบันเท่าที่มีและปฏิบัติหน้าที่ได้ มีจำนวน 493 คน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ 247 คน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ปัจจุบันเสียง สส.ฝ่ายรัฐบาล รวม 315 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 141 เสียง พรรคภูมิใจไทย 71 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย พรรคละ 1 เสียง หากเป็นไปในทิศทางเดียวกันย่อมได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งไม่ยาก เว้นเสียแต่การเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้ สำหรับนายชัยเกษม นิติสิริ อายุ 75 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท กฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตประธาน ก.ล.ต. อดีตอัยการสูงสุด อดีต รมว.ยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการด้านประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และความเสมอภาคเท่าเทียม พรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้นายชัยเกษมมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ป่วยกะทันหันหลังจากลงพื้นที่หาเสียงช่วยผู้สมัคร ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ จ.น่าน เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2566 เมื่อตรวจซีทีสแกนพบว่ามีก้อนเลือดแห้งอยู่ในสมอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สุขภาพกลับมาแข็งแรงแล้ว ที่ผ่านมาก็เข้ามาช่วยทำงานกับพรรคมาโดยตลอด #Newskit #ชัยเกษม #นายกรัฐมนตรี
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 620 มุมมอง 0 รีวิว
  • ”สิงหาสับ“ นิด้าสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” เดือนแห่งการตัดสินผู้มีกรรมหนักคดีใหญ่ ในประเด็นร้อนโพลความเห็นทางการเมือง เรื่องเศรษฐากับการเปลี่ยนนายกฯ,ยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่และทักษิณพ้นโทษจะช่วยพรรคเพื่อไทยทำงานดีขึ้นหรือไม่?

    4 สิงหาคม 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

    จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้

    ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ที่มา : นิด้าโพล

    #Thaitimes
    ”สิงหาสับ“ นิด้าสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” เดือนแห่งการตัดสินผู้มีกรรมหนักคดีใหญ่ ในประเด็นร้อนโพลความเห็นทางการเมือง เรื่องเศรษฐากับการเปลี่ยนนายกฯ,ยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่และทักษิณพ้นโทษจะช่วยพรรคเพื่อไทยทำงานดีขึ้นหรือไม่? 4 สิงหาคม 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ที่มา : นิด้าโพล #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 577 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘วัน อยู่บำรุง’ สมัครสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ หลังลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000062358

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ‘วัน อยู่บำรุง’ สมัครสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ หลังลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000062358 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 905 มุมมอง 0 รีวิว