• ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ

    ความมีอยู่ว่า
    ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง

    ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้

    จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย)

    จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว

    ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ

    Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html
    https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ ความมีอยู่ว่า ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย) จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 121 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭

    สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน”
    (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย)

    เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง

    ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก

    ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน

    จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด

    คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้?

    ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน

    แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง

    เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด

    เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว

    และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

    นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ

    กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว

    ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ

    กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้

    และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml
    https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm
    https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html
    https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx
    https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm

    #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭 สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน” (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย) เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้? ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้ และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    WWW.COSMOPOLITAN.COM
    陸劇《柳舟記》結局!崔眠夫婦歸隱江湖,張晚意願當王楚然的小嬌夫!帝后CP先婚後愛好嗑,敲碗番外篇
    《柳舟記》劇情從頭到尾都在線!而且除了崔眠夫婦好嗑,帝后CP也很讓人愛啊~
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 177 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน
    ความมีอยู่ว่า

    ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ...

    - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน
    (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร?

    ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม

    แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล

    ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇)

    และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน

    เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ

    Credit รูปภาพจาก:
    https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html
    http://www.bgushi.com/archives/2236
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html
    http://www.3yan.cn/question/982793

    #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน ความมีอยู่ว่า ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ... - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร? ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇) และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html http://www.bgushi.com/archives/2236 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html http://www.3yan.cn/question/982793 #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    DRAMAPANDA.COM
    The Story of Minglan wedding between Minglan and Gu Tingye - DramaPanda
    The latest developments in The Story of Minglan 知否知否应是绿肥红瘦 have been pure bliss and a stark contrast to the tragedy dealt in past episodes. With their separate storylines finally converging, Gu Tingye succeeds in pursuing Minglan and they get married (this happens on episode 40)! Truth be told, I started the show mainly for Zhao Liying, more so because it’s her drama with real-life hubby Feng Shaofeng though it didn’t take long before I was completely hooked to everything else about it. Despite complaints about the slow pace, I wouldn’t have it any other way because even as the characters go about dealing with the most
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว
  • สกุลถานไถ

    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน

    แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl)

    จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥)

    เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ

    ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง

    เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง

    ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา

    ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง)

    นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน

    ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm
    http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html
    https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx
    http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm
    https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/

    #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    สกุลถานไถ วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl) จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥) เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง) นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/ #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 234 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว
  • สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ

    ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱)

    ‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย

    แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ?

    จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า

    ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง

    ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย)

    จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น

    ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’

    แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

    Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน

    ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs
    http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html
    https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html
    https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html
    http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml
    http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm#
    http://economy.guoxue.com/?p=888

    #ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
    สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱) ‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ? จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย) จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm# http://economy.guoxue.com/?p=888 #ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
    WWW.THEMOVIEDB.ORG
    神探同盟
    故事改編自內地網絡作家大風颳過撰寫嘅原創長篇網絡小說《張公案》.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 281 มุมมอง 0 รีวิว
  • บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน

    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง

    การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง

    การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง

    ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ
    1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡)

    อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย

    นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒)

    2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน

    แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ

    Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน)

    ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี

    ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว

    ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ

    Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/省试/7492071
    https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374
    https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904
    https://core.ac.uk/download/41444977.pdf
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb
    https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ 1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡) อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒) 2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน) ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/省试/7492071 https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374 https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904 https://core.ac.uk/download/41444977.pdf https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    FASHION.ETTODAY.NET
    《灼灼風流》10金句:不是所有的陪伴都必須以夫妻的名義 | ET Fashion | ETtoday新聞雲
    陸劇《灼灼風流》改編自隨宇而安的小說《曾風流》,由景甜、馮紹峰出演,講述了擺脫傳統女子命運、想科舉求仕的女官慕灼華,與驍勇善戰的議政王劉衍相知相守、並肩而行,開創女子可入仕的新局面。當中以不少經典台詞道出了男女之間互相尊重,簡單又美好的愛情理念,不妨一起來看看!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 247 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน

    Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี

    ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้

    หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)

    กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ?

    จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา

    ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก

    แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น

    ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344
    https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767
    https://www.sohu.com/a/365640681_100296378
    http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/

    #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้ หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ? จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344 https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767 https://www.sohu.com/a/365640681_100296378 http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/ #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 346 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา

    สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น

    และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง

    เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้

    ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย

    จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ

    มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓)

    มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง

    ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา

    ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน

    ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้

    เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย

    เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร

    แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

    สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด

    ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346
    https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166
    https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html
    https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html
    https://www.gugong.net/wenhua/39062.html
    https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้ ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓) มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้ เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346 https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166 https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html https://www.gugong.net/wenhua/39062.html https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    WWW.WPZYSQ.COM
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023-4K专区-网盘资源社
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023的网盘资源剧集简介该剧改编自随宇而安的小说《曾风流》。反抗传统婚姻制度、一心考取功名的事业脑女官慕灼华(景甜饰)与沙场沐血折戟、背负国仇家恨的美强惨战神刘衍(冯绍峰饰)彼此救赎、相知相爱,携手攘外安内、守卫国家,终成一代风流人物的故事。[ttreply]2023.灼灼风流4K
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 334 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง

    ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue)

    ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี

    ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร

    ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม

    นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้

    นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง

    ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์)

    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง

    มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร

    แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน

    ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่?

    จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.niusnews.com/=P0123ga33
    https://n.znds.com/article/39071.html
    http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads
    https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B
    https://kknews.cc/history/6o6lop.html
    https://kknews.cc/news/e8orjvn.html
    https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue) ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้ นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์) ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่? จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.niusnews.com/=P0123ga33 https://n.znds.com/article/39071.html http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B https://kknews.cc/history/6o6lop.html https://kknews.cc/news/e8orjvn.html https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 312 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 302 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง

    สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่?

    ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น

    ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้

    นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก

    ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น

    ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน

    ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย

    สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด

    จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿)

    เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648
    https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://gushiju.net/ju/279740
    https://www.sohu.com/a/199347205_527107
    https://www.sohu.com/a/199977205_653164
    https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283
    https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html
    http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่? ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้ นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿) เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648 https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://gushiju.net/ju/279740 https://www.sohu.com/a/199347205_527107 https://www.sohu.com/a/199977205_653164 https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283 https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域 #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 383 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง

    สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้

    เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว

    เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย

    นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา)

    อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน

    จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://xinzhuobu.com/?p=4593
    http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959
    https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663
    http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html
    http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890
    http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。
    https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm
    https://www.sohu.com/a/515579803_422134
    https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml

    #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้ เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา) อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://xinzhuobu.com/?p=4593 http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959 https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663 http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890 http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。 https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm https://www.sohu.com/a/515579803_422134 https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 442 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่มาอัพเรื่องให้อ่านช้า (อีกแล้ว) เพราะ Storyฯ หมดเวลาไปกับการเตรียมทริปเที่ยวหน้าหนาวค่ะ วันนี้ยังคงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> มาเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับชื่อของนางเอกเฉินเซ่าซาง ที่ในละครมีกล่าวถึงหลายครั้งว่าแปลว่า ‘สายพิณ’ และถึงขนาดองค์ฮองเฮายังตรัสชมว่าเป็นชื่อที่ดี

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้รู้สึกงงกันบ้างไหมว่า มีชื่อเป็นสายพิณมันดียังไงคะ?

    แน่นอนว่าเรากำลังคุยกันถึงพิณโบราณของจีนหรือที่เรียกว่า ‘กู่ฉิน’ (古琴) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดมาก่อนยุคสมัยชุนชิวและการดีดพิณถือเป็นศิลปะชั้นสูงที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาชีวิต โดยมีการกล่าวถึงปรัชญาเหล่านี้ในบันทึกเกี่ยวกับพิธีการโบราณสมัยราชวงศ์โจว วันนี้ Storyฯ จะกล่าวถึงชื่อเรียกและปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสายพิณ

    แรกเริ่มเลยกู่ฉินมีเพียงสายพิณห้าเส้น เรียกกันว่า ‘กงซางเจวี๋ยจื่ออวี่’ ซึ่งชื่อเรียกเหล่านี้มาจากดวงดาว สรุปได้ดังนี้
    1. กง (宫) : เป็นเส้นที่ใหญ่สุด เสียงทุ้มหนักแน่น เป็นสัญลักษณ์แห่งราชัน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการปกครองและความเป็นเจ้าคนนายคน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุดินหรือ ‘ดาวดิน’ (คือชื่อเรียกภาษาจีนของดาวเสาร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘โด’ นั่นเอง
    2. ซาง (商) : เป็นสัญลักษณ์ของข้าราชสำนักหรือรัฐบุรุษ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการบริหารงาน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุทองหรือ ‘ดาวทอง’ (ดาวศุกร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘เร’
    3. เจวี๋ย (角) : เป็นสัญลักษณ์ของประชาชน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเติบโตจากผืนดิน และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไม้หรือ ‘ดาวไม้’ (ดาวพฤหัส) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘มี’
    4. จื่อ (徵) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเจริญงอกงาม และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไฟหรือ ‘ดาวไฟ’ (ดาวอังคาร) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ฟา’
    5. อวี่ (羽) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการหล่อหลอมกลมเกลียวและเป็นตัวแทนแห่งธาตุน้ำหรือ ‘ดาวน้ำ’ (ดาวพุธ) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ซอล’

    ต่อมากู่ฉินจึงถูกเพิ่มสายพิณขึ้นมาอีกสองเส้น จนครบคีย์ ‘ลา’ และ ‘ที’

    โดยเส้นที่หกเรียกว่า ‘เซ่ากง’ (少宫) เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบุ๋น’ (文星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘เหวิน’ เป็นหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่หกนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวเหวินหวาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว (ปี 1152-1050 ก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นที่ระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ไป สายพิณเซ่ากงนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความอ่อนโยนเข้าสยบความแข็งแกร่ง

    และเส้นที่เจ็ดเรียกว่า เซ่าซาง (少商)เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบู๊’ (武星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘อู่’ เป็นอีกหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่เช่นกัน) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่เจ็ดนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวอู่หวางแห่งราชวงศ์โจว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ สายพิณเซ่าซางนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความแข็งแกร่งเข้าสยบความอ่อนแอ

    ดังนั้น ชื่อของนางเอกที่คนเขาชมว่าความหมายดีนั้น ก็คือแปลว่าเป็นคนเข้มแข็งเป็นผู้ชนะค่ะ และเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ดาราจักรรักลำนำใจ> คงพอจำได้ว่านางเอกมีพี่ชายฝาแฝดนามว่า เซ่ากง ที่มีบุคลิกเป็นคนนุ่มนิ่มอยู่หนึ่งคน ทีนี้คงพอเข้าใจถึงความหมายแฝงอันบ่งบอกบุคลิกของสองพี่น้องฝาแฝดคู่นี้อันมาจากชื่อเซ่ากงและเซ่าซางแล้วนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g40713266/love-like-the-galaxy-ending/
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/21940180
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    บทความเรื่อง “คัมภีร์พิณ ดนตรีแห่งลมปราณและจิตวิญญาณ” โดย ดร.อัญชลี กิ๊บบินส์
    https://www.jianshu.com/p/11cc57a753ad
    https://baike.baidu.com/item/宫商角徵羽/85388
    https://baike.baidu.com/item/少商/10047831
    https://www.sohu.com/a/566244575_120498438

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #สายพิณจีน #เซ่าซาง #เซ่ากง #กู่ฉิน
    ขออภัยที่มาอัพเรื่องให้อ่านช้า (อีกแล้ว) เพราะ Storyฯ หมดเวลาไปกับการเตรียมทริปเที่ยวหน้าหนาวค่ะ วันนี้ยังคงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> มาเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับชื่อของนางเอกเฉินเซ่าซาง ที่ในละครมีกล่าวถึงหลายครั้งว่าแปลว่า ‘สายพิณ’ และถึงขนาดองค์ฮองเฮายังตรัสชมว่าเป็นชื่อที่ดี เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้รู้สึกงงกันบ้างไหมว่า มีชื่อเป็นสายพิณมันดียังไงคะ? แน่นอนว่าเรากำลังคุยกันถึงพิณโบราณของจีนหรือที่เรียกว่า ‘กู่ฉิน’ (古琴) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดมาก่อนยุคสมัยชุนชิวและการดีดพิณถือเป็นศิลปะชั้นสูงที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาชีวิต โดยมีการกล่าวถึงปรัชญาเหล่านี้ในบันทึกเกี่ยวกับพิธีการโบราณสมัยราชวงศ์โจว วันนี้ Storyฯ จะกล่าวถึงชื่อเรียกและปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสายพิณ แรกเริ่มเลยกู่ฉินมีเพียงสายพิณห้าเส้น เรียกกันว่า ‘กงซางเจวี๋ยจื่ออวี่’ ซึ่งชื่อเรียกเหล่านี้มาจากดวงดาว สรุปได้ดังนี้ 1. กง (宫) : เป็นเส้นที่ใหญ่สุด เสียงทุ้มหนักแน่น เป็นสัญลักษณ์แห่งราชัน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการปกครองและความเป็นเจ้าคนนายคน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุดินหรือ ‘ดาวดิน’ (คือชื่อเรียกภาษาจีนของดาวเสาร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘โด’ นั่นเอง 2. ซาง (商) : เป็นสัญลักษณ์ของข้าราชสำนักหรือรัฐบุรุษ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการบริหารงาน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุทองหรือ ‘ดาวทอง’ (ดาวศุกร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘เร’ 3. เจวี๋ย (角) : เป็นสัญลักษณ์ของประชาชน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเติบโตจากผืนดิน และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไม้หรือ ‘ดาวไม้’ (ดาวพฤหัส) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘มี’ 4. จื่อ (徵) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเจริญงอกงาม และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไฟหรือ ‘ดาวไฟ’ (ดาวอังคาร) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ฟา’ 5. อวี่ (羽) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการหล่อหลอมกลมเกลียวและเป็นตัวแทนแห่งธาตุน้ำหรือ ‘ดาวน้ำ’ (ดาวพุธ) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ซอล’ ต่อมากู่ฉินจึงถูกเพิ่มสายพิณขึ้นมาอีกสองเส้น จนครบคีย์ ‘ลา’ และ ‘ที’ โดยเส้นที่หกเรียกว่า ‘เซ่ากง’ (少宫) เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบุ๋น’ (文星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘เหวิน’ เป็นหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่หกนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวเหวินหวาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว (ปี 1152-1050 ก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นที่ระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ไป สายพิณเซ่ากงนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความอ่อนโยนเข้าสยบความแข็งแกร่ง และเส้นที่เจ็ดเรียกว่า เซ่าซาง (少商)เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบู๊’ (武星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘อู่’ เป็นอีกหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่เช่นกัน) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่เจ็ดนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวอู่หวางแห่งราชวงศ์โจว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ สายพิณเซ่าซางนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความแข็งแกร่งเข้าสยบความอ่อนแอ ดังนั้น ชื่อของนางเอกที่คนเขาชมว่าความหมายดีนั้น ก็คือแปลว่าเป็นคนเข้มแข็งเป็นผู้ชนะค่ะ และเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ดาราจักรรักลำนำใจ> คงพอจำได้ว่านางเอกมีพี่ชายฝาแฝดนามว่า เซ่ากง ที่มีบุคลิกเป็นคนนุ่มนิ่มอยู่หนึ่งคน ทีนี้คงพอเข้าใจถึงความหมายแฝงอันบ่งบอกบุคลิกของสองพี่น้องฝาแฝดคู่นี้อันมาจากชื่อเซ่ากงและเซ่าซางแล้วนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g40713266/love-like-the-galaxy-ending/ https://zhuanlan.zhihu.com/p/21940180 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: บทความเรื่อง “คัมภีร์พิณ ดนตรีแห่งลมปราณและจิตวิญญาณ” โดย ดร.อัญชลี กิ๊บบินส์ https://www.jianshu.com/p/11cc57a753ad https://baike.baidu.com/item/宫商角徵羽/85388 https://baike.baidu.com/item/少商/10047831 https://www.sohu.com/a/566244575_120498438 #ดาราจักรรักลำนำใจ #สายพิณจีน #เซ่าซาง #เซ่ากง #กู่ฉิน
    WWW.HARPERSBAZAAR.COM
    《星漢燦爛》第一部結局趙露思、吳磊定親!「疑商夫婦」高甜名場景回顧,凌不疑化身男友力頂級教科書
    《星漢燦爛》趙露思、吳磊的感情線看得太不過癮,期待《月升滄海》開始大撒糖!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 485 มุมมอง 0 รีวิว
  • กินเกี๊ยวรับตรุษจีน

    สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน

    วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

    ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ
    มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง

    แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว?

    จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง

    นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่>

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่

    อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/
    https://www.shuge.org/meet/topic/19030/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/饺子/28977
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595
    https://www.sohu.com/a/449146748_401284
    https://www.sohu.com/a/367953600_120207616

    #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    กินเกี๊ยวรับตรุษจีน สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว? จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่ อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/ https://www.shuge.org/meet/topic/19030/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/饺子/28977 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595 https://www.sohu.com/a/449146748_401284 https://www.sohu.com/a/367953600_120207616 #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 472 มุมมอง 0 รีวิว
  • โยวโจวคือสถานที่ใด?

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน

    เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง

    ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县)

    สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน

    <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง)

    แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1)

    หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน

    แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง

    โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/
    https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html
    https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370
    https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史
    https://www.sohu.com/a/674479826_121180648
    https://www.sohu.com/a/277568460_628936

    #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    โยวโจวคือสถานที่ใด? สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县) สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง) แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1) หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/ https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370 https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史 https://www.sohu.com/a/674479826_121180648 https://www.sohu.com/a/277568460_628936 #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 509 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนี่ว์ฮู่ ‘ครัวเรือนสตรี’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงจำกันได้ว่าในช่วงตอนท้ายๆ ของเรื่อง นางเอกของเราแยกออกมาอยู่เอง Storyฯ ไม่แน่ใจว่าในซับไทยแปลว่าอย่างไรแต่ในภาษาจีนนางบอกว่าจะแยกออกมาตั้งครัวเรือนสตรีหรือที่เรียกว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ (女户) ซึ่งคำว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ เป็นศัพท์เฉพาะที่หมายถึงครัวเรือนที่จดทะเบียนให้สตรีเป็นเจ้าบ้าน วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    ความเป็นเจ้าบ้านในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ เพื่อนเพจไม่สามารถใช้นิยามและบริบทของเราท่านชาวไทยสมัยนี้มาเปรียบเทียบ เพราะสำหรับเราในยุคไทยปัจจุบันคำว่า ‘เจ้าบ้าน’ ในทะเบียนบ้านไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ดินหรือสินทรัพย์ในบ้าน แต่ในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ ‘เจ้าบ้าน’ หรือ ‘ฮู่จู่’ (户主) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้นๆ ซึ่งคนจีนโบราณอาจอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่รวมหลายรุ่น (เช่นมีลูกชายหลายคน ทุกคนแต่งเมียเข้าบ้านมีลูกมีหลานอยู่รวมกัน) หรืออาจมีบางคนแยกบ้านออกไปตามความจำเป็นและค่านิยมของสังคมแต่ละยุคสมัย แต่ตราบใดที่อยู่ในบ้านในฐานะสมาชิกครอบครัวจะเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยและอาจมีเบี้ยเลี้ยงรายเดือน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เป็นของครัวเรือนนั้น มีสินทรัพย์ส่วนตัวได้เฉพาะที่เก็บหอมรอมริบหรือได้รับกำนัลมาเป็นการส่วนตัว เพื่อนเพจเชื้อสายจีนที่คุ้นเคยกับระบบกงสีจะเข้าใจบริบทนี้ได้ง่าย

    ดังนั้น การเป็นเจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณผูกรวมกับการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้น และหมายรวมถึงอำนาจการปกครองและการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ในบ้าน และหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือการเสียภาษีให้รัฐ

    ในสมัยจีนโบราณนั้น โดยทั่วไป การเป็นเจ้าบ้านและการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของครอบครัวนั้นสืบทอดทางสายโลหิตจากรุ่นสู่รุ่นและสืบทอดผ่านบุรุษ และในบริบทนี้สตรีขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ก็ต่อเมื่อครอบครัวนั้นๆ ไร้ซึ่งบุรุษสืบทอดหรือที่เรียกว่าสภาวะ ‘ฮู่เจวี๋ย’ (户绝/สิ้นครัวเรือน) นี่คือเหตุผลที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นศัพท์เฉพาะ

    ว่ากันว่า หนี่ว์ฮู่มีมาแต่สมัยฮั่นตอนต้นซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประชากรเพศชายเสียชีวิตมากมายในสงคราม จึงจำเป็นต้องให้สิทธิ์สตรีดูแลตนเองได้โดยการตั้งครัวเรือนของตนเพื่อจะได้บริหารสินทรัพย์และเสียภาษีได้ในกรณีที่ไม่เหลือทายาทบุรุษในครอบครัวแล้ว และในสมัยอื่นๆ ต่อมาก็มีหลักการเดียวกันที่ว่า สตรีเป็นเจ้าบ้านได้ในกรณีที่ไร้ทายาทบุรุษ แต่ความแตกต่างของแต่ละสมัยขึ้นอยู่กับคำนิยามของ ‘ทายาทบุรุษ’ ผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น นับลูกหลานสายตรง หรือนับรวมพี่ชายน้องชายและลูกหลาน หรือนับรวมญาติสกุลเดียวกันที่ห่างออกไปอีก) ทำให้เกณฑ์ที่สตรีจะเข้าเงื่อนไขที่สามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามไปด้วย ทั้งนี้ สตรีที่เป็นเจ้าบ้านได้นั้นหมายรวมถึงมารดาม่าย ภรรยาม่าย หรือลูกสาวที่ยังไม่ออกเรือน

    นับแต่สมัยถังมามีการกำหนดกฎหมายมากมายที่ระบุสิทธิของสตรีให้ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นเรื่องสินเดิมเจ้าสาวและการหย่าร้างที่ Storyฯ เคยเขียนถึง และรวมถึงสิทธิในการสืบทอดมรดกอีกด้วย เป็นต้นว่าในสมัยถังและซ่ง หากไร้ทายาทบุรุษ ให้ขายสินทรัพย์ทั้งหมดรวมถึงบ่าวไพร่ในบ้าน นำเงินมาจัดงานศพแล้วหากมีเหลือจึงแบ่งกันระหว่างบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน เมื่อได้ส่วนแบ่งมรดกของตนแล้ว สตรีนั้นๆ สามารถตั้งครัวเรือนใหม่โดยขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ หรือหากไม่มีบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน บุตรีที่ออกเรือนไปแล้วมีสิทธิ์ในส่วนแบ่งมรดกแต่ในกรณีนี้นางอยู่กับครอบครัวสามีก็ไม่ตั้งครัวเรือนใหม่ ส่วนสตรีที่จัดตั้งหนี่ว์ฮู่ขึ้นแล้ว หากต่อมาแต่งงานโดยสามีแต่งเข้า (เรียกว่า จุ้ยซวี่) สตรีนั้นยังคงสิทธิ์เจ้าบ้านตามเดิม แต่หากแต่งออกไปอยู่บ้านสามีก็จะต้องยุบครัวเรือนนั้นทิ้งโดยสามารถนำทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนติดตัวไปด้วยได้ ทั้งนี้สิทธิเหล่านี้มีความแตกต่างในรายละเอียดตามยุคสมัย

    Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิในการครอบครองและสืบทอดสินทรัพย์ของแต่ละยุคสมัยจีนโบราณเพราะมันซับซ้อนเกินความสามารถ ประเด็นหลักที่จะสื่อในวันนี้ก็คือ ในสมัยโบราณสตรีสามารถจัดตั้งครัวเรือนเป็นเจ้าบ้านได้ และสามารถสืบทอดมรดกได้ แต่... เฉพาะในกรณีที่ครอบครัวไร้ทายาทบุรุษ ซึ่งเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับนิยามว่า ‘ทายาทบุรุษ’ ครอบคลุมญาติในวงแคบหรือวงกว้างเพียงใด

    อนึ่ง Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อนเพจสามารถอ่านย้อนหลังเพื่อทบทวนความทรงจำ จะได้เข้าใจต่อเนื่องในบทความข้างต้นได้ค่ะ:
    - เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02DGMdxYPJTbeiAS9n5zUXqo7Zfsn9WTLGbbHPCXcpBFChCxxHzWafnNr8wuNBJ63Tl
    - เกี่ยวกับสินเดิมเจ้าสาว https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1127226122739012
    - เกี่ยวกับเจ้าบ่าวที่แต่งเข้าเรือนหรือ ‘จุ้ยซวี่’ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02nZxNBtk2h6V7W1wReZ5td8nc2Aaj85o2wkWmPSRtpnGP6dqQSGyCbKaXJPUjHzEal

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61833754/are-you-the-one-8-highlights/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://legalinfo.moj.gov.cn/pub/sfbzhfx/zhfxfzwh/fzwhfsgs/202107/t20210702_429806.html
    http://e.mzyfz.org.cn/paper/1957/paper_52459_10896.html
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2023/05/id/7273412.shtml
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    https://baike.baidu.com/item/户绝

    #ซ่อนรักชายาลับ #หนี่ว์ฮู่ #ครัวเรือนสตรี #สิทธิการสืบทอดมรดกจีนโบราณ #เจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณ #สาระจีน
    หนี่ว์ฮู่ ‘ครัวเรือนสตรี’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงจำกันได้ว่าในช่วงตอนท้ายๆ ของเรื่อง นางเอกของเราแยกออกมาอยู่เอง Storyฯ ไม่แน่ใจว่าในซับไทยแปลว่าอย่างไรแต่ในภาษาจีนนางบอกว่าจะแยกออกมาตั้งครัวเรือนสตรีหรือที่เรียกว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ (女户) ซึ่งคำว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ เป็นศัพท์เฉพาะที่หมายถึงครัวเรือนที่จดทะเบียนให้สตรีเป็นเจ้าบ้าน วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน ความเป็นเจ้าบ้านในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ เพื่อนเพจไม่สามารถใช้นิยามและบริบทของเราท่านชาวไทยสมัยนี้มาเปรียบเทียบ เพราะสำหรับเราในยุคไทยปัจจุบันคำว่า ‘เจ้าบ้าน’ ในทะเบียนบ้านไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ดินหรือสินทรัพย์ในบ้าน แต่ในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ ‘เจ้าบ้าน’ หรือ ‘ฮู่จู่’ (户主) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้นๆ ซึ่งคนจีนโบราณอาจอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่รวมหลายรุ่น (เช่นมีลูกชายหลายคน ทุกคนแต่งเมียเข้าบ้านมีลูกมีหลานอยู่รวมกัน) หรืออาจมีบางคนแยกบ้านออกไปตามความจำเป็นและค่านิยมของสังคมแต่ละยุคสมัย แต่ตราบใดที่อยู่ในบ้านในฐานะสมาชิกครอบครัวจะเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยและอาจมีเบี้ยเลี้ยงรายเดือน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เป็นของครัวเรือนนั้น มีสินทรัพย์ส่วนตัวได้เฉพาะที่เก็บหอมรอมริบหรือได้รับกำนัลมาเป็นการส่วนตัว เพื่อนเพจเชื้อสายจีนที่คุ้นเคยกับระบบกงสีจะเข้าใจบริบทนี้ได้ง่าย ดังนั้น การเป็นเจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณผูกรวมกับการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้น และหมายรวมถึงอำนาจการปกครองและการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ในบ้าน และหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือการเสียภาษีให้รัฐ ในสมัยจีนโบราณนั้น โดยทั่วไป การเป็นเจ้าบ้านและการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของครอบครัวนั้นสืบทอดทางสายโลหิตจากรุ่นสู่รุ่นและสืบทอดผ่านบุรุษ และในบริบทนี้สตรีขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ก็ต่อเมื่อครอบครัวนั้นๆ ไร้ซึ่งบุรุษสืบทอดหรือที่เรียกว่าสภาวะ ‘ฮู่เจวี๋ย’ (户绝/สิ้นครัวเรือน) นี่คือเหตุผลที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นศัพท์เฉพาะ ว่ากันว่า หนี่ว์ฮู่มีมาแต่สมัยฮั่นตอนต้นซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประชากรเพศชายเสียชีวิตมากมายในสงคราม จึงจำเป็นต้องให้สิทธิ์สตรีดูแลตนเองได้โดยการตั้งครัวเรือนของตนเพื่อจะได้บริหารสินทรัพย์และเสียภาษีได้ในกรณีที่ไม่เหลือทายาทบุรุษในครอบครัวแล้ว และในสมัยอื่นๆ ต่อมาก็มีหลักการเดียวกันที่ว่า สตรีเป็นเจ้าบ้านได้ในกรณีที่ไร้ทายาทบุรุษ แต่ความแตกต่างของแต่ละสมัยขึ้นอยู่กับคำนิยามของ ‘ทายาทบุรุษ’ ผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น นับลูกหลานสายตรง หรือนับรวมพี่ชายน้องชายและลูกหลาน หรือนับรวมญาติสกุลเดียวกันที่ห่างออกไปอีก) ทำให้เกณฑ์ที่สตรีจะเข้าเงื่อนไขที่สามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามไปด้วย ทั้งนี้ สตรีที่เป็นเจ้าบ้านได้นั้นหมายรวมถึงมารดาม่าย ภรรยาม่าย หรือลูกสาวที่ยังไม่ออกเรือน นับแต่สมัยถังมามีการกำหนดกฎหมายมากมายที่ระบุสิทธิของสตรีให้ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นเรื่องสินเดิมเจ้าสาวและการหย่าร้างที่ Storyฯ เคยเขียนถึง และรวมถึงสิทธิในการสืบทอดมรดกอีกด้วย เป็นต้นว่าในสมัยถังและซ่ง หากไร้ทายาทบุรุษ ให้ขายสินทรัพย์ทั้งหมดรวมถึงบ่าวไพร่ในบ้าน นำเงินมาจัดงานศพแล้วหากมีเหลือจึงแบ่งกันระหว่างบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน เมื่อได้ส่วนแบ่งมรดกของตนแล้ว สตรีนั้นๆ สามารถตั้งครัวเรือนใหม่โดยขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ หรือหากไม่มีบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน บุตรีที่ออกเรือนไปแล้วมีสิทธิ์ในส่วนแบ่งมรดกแต่ในกรณีนี้นางอยู่กับครอบครัวสามีก็ไม่ตั้งครัวเรือนใหม่ ส่วนสตรีที่จัดตั้งหนี่ว์ฮู่ขึ้นแล้ว หากต่อมาแต่งงานโดยสามีแต่งเข้า (เรียกว่า จุ้ยซวี่) สตรีนั้นยังคงสิทธิ์เจ้าบ้านตามเดิม แต่หากแต่งออกไปอยู่บ้านสามีก็จะต้องยุบครัวเรือนนั้นทิ้งโดยสามารถนำทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนติดตัวไปด้วยได้ ทั้งนี้สิทธิเหล่านี้มีความแตกต่างในรายละเอียดตามยุคสมัย Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิในการครอบครองและสืบทอดสินทรัพย์ของแต่ละยุคสมัยจีนโบราณเพราะมันซับซ้อนเกินความสามารถ ประเด็นหลักที่จะสื่อในวันนี้ก็คือ ในสมัยโบราณสตรีสามารถจัดตั้งครัวเรือนเป็นเจ้าบ้านได้ และสามารถสืบทอดมรดกได้ แต่... เฉพาะในกรณีที่ครอบครัวไร้ทายาทบุรุษ ซึ่งเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับนิยามว่า ‘ทายาทบุรุษ’ ครอบคลุมญาติในวงแคบหรือวงกว้างเพียงใด อนึ่ง Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อนเพจสามารถอ่านย้อนหลังเพื่อทบทวนความทรงจำ จะได้เข้าใจต่อเนื่องในบทความข้างต้นได้ค่ะ: - เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02DGMdxYPJTbeiAS9n5zUXqo7Zfsn9WTLGbbHPCXcpBFChCxxHzWafnNr8wuNBJ63Tl - เกี่ยวกับสินเดิมเจ้าสาว https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1127226122739012 - เกี่ยวกับเจ้าบ่าวที่แต่งเข้าเรือนหรือ ‘จุ้ยซวี่’ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02nZxNBtk2h6V7W1wReZ5td8nc2Aaj85o2wkWmPSRtpnGP6dqQSGyCbKaXJPUjHzEal (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61833754/are-you-the-one-8-highlights/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://legalinfo.moj.gov.cn/pub/sfbzhfx/zhfxfzwh/fzwhfsgs/202107/t20210702_429806.html http://e.mzyfz.org.cn/paper/1957/paper_52459_10896.html https://www.chinacourt.org/article/detail/2023/05/id/7273412.shtml https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml https://baike.baidu.com/item/户绝 #ซ่อนรักชายาลับ #หนี่ว์ฮู่ #ครัวเรือนสตรี #สิทธิการสืบทอดมรดกจีนโบราณ #เจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 601 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาหารพกพายามเดินทางไกล

    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องเสบียงอาหารของกองทัพ ก็เลยมีความสงสัยว่า แล้วประชาชนธรรมดาเวลาเดินทางไกลกินอะไรกัน? วันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ เรื่องนี้ค่ะ

    ในสมัยนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่มีรถม้าและพักแรมกินอาหารตามโรงเตี๊ยมได้ ระยะทางก็ยาวไกล ไม่สะดวกแบกสัมภาระมาก ภาพที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์คือสะพายห่อผ้าเดินเท้ากัน และอาหารที่พกก็คือเปี๊ยะหรือแผ่นแป้งปิ้งที่คุยกันไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid021ovimRULhAa1TBPph1nXsGVcPHbNM5ABmNwrzEahckFTPhq1zhUQ4n1aNAjDVuGNl)

    จริงๆ แล้วการทำเปี๊ยะปิ้งไม่ใช่งานง่ายนัก กว่าจะนวดแป้ง (ไม่นับชาวบ้านชนบทที่อาจต้องโม่แป้งเอง) ไหนจะต้องคอยดูไฟไม่ให้แรงเกินไป คอยพลิกแผ่นเปี๊ยะไปมา ทั้งหมดต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง อีกทั้งข้าวสาลียังแพงกว่าข้าวฟ่าง ไม่ว่าจะทำเปี๊ยะเองหรือหาซื้อ ล้วนสิ้นเปลืองทุนทรัพย์ ดังนั้น หากมีทางเลือกที่ง่ายกว่าประหยัดกว่า ย่อมเป็นที่นิยมของชาวบ้าน

    อีกทางเลือกที่ว่านี้คือ ‘ฉิ่ว’ (糗) เป็นอาหารแห้งสมัยโบราณ คิดค้นกันขึ้นเมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่มีการกล่าวถึงในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจว หรือ บันทึกโจวหลี่ว่า ‘ฉิวเอ่อร์เฝิ่นฉือ’(糗饵粉飺) คือก้อนข้าวและแผ่นแป้ง แต่จริงๆ แผ่นแป้งที่ว่านี้ไม่ใช่เปี๊ยะ ส่วนผสมมันเหมือนกันกับฉิ่ว เพียงแต่ฉิ่วหมายถึงปั้นเป็นก้อน ในขณะที่ฉือคือบี้ให้แบนเป็นแผ่น

    แล้วมันคืออะไร?

    มันคือการเอาข้าวที่นึ่งสุกแล้วมาใส่น้ำเล็กน้อยแล้วบีบหรือทุบให้เละเพื่อจะได้จับตัวกัน เสร็จแล้วปั้นเป็นก้อน (คือฉิ่ว) หรือบี้แบนเป็นแผ่น (คือฉือ) แล้วนำไปตากแห้ง แห้งแล้วก็จะหน้าตาคล้ายข้าวตังบ้านเรา ปัจจุบันของจีนเขาก็มีขนมหน้าตาคล้ายกันเรียกว่า ‘กัวปา’ (锅巴) (ดูรูปประกอบ) ซึ่งข้าวที่ว่านี้ในสมัยโบราณก่อนยุคหมิงคือข้าวฟ่างเป็นหลัก

    หน้าตาคล้าย แต่รสชาติไม่กรอบร่วนเหมือนข้าวเกรียบกัวปาปัจจุบัน เนื้อของฉิ่วก็จะแน่นๆ แข็งๆ แน่นอนว่ามันเป็นอาหารกินกันตาย ไม่ใช่กินเพื่อความจรรโลงใจ ชาวบ้านยามเดินทางไกลก็ห่อฉิ่วในผ้าบางหรือตะกร้าเล็กซุกไว้ในห่อผ้า เก็บได้นานถึงเกือบครึ่งเดือน เวลาจะกินก็คล้ายกับการกินเปี๊ยะกัวคุยที่กล่าวถึงไปในสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวคือจิ้มน้ำจิ้มให้ชุ่มและนุ่มลงแล้วค่อยกิน บางคนก็มีผักดองหรือเนื้อหมักแห้งพกมากินแกล้มด้วย หรือหากมีโอกาสได้น้ำร้อนน้ำแกงก็เอาฉิ่วจุ้ม/แช่ให้นุ่มแล้วกินก็ได้เช่นกัน นึกภาพว่าข้าวชามหนึ่งสามารถอัดเป็นก้อนได้ขนาดเล็ก ดังนั้นเห็นก้อนเล็กๆ ก็อิ่มไม่น้อย พกจากบ้านไปก็ประหยัดทรัพย์ไปได้หลายวัน

    น้ำจิ้มที่ใช้ก็พวกถั่วหมักเค็มหรือเต้าเจี้ยว ใส่เครื่องปรุงอย่างอื่นบ้าง ใส่ขิงซอยขิงสับบ้าง แต่น้ำจิ้มเป็นน้ำ เขาพกพากันอย่างไร? ง่ายๆ คือเอาไปตากแดดจนน้ำระเหย จาก ‘น้ำ’ จิ้มก็กลายเป็น ‘เปียก’ จิ้ม... คือข้นๆ เหนียวๆ เสร็จแล้วก็ห่อในกระดาษน้ำมัน พกพาได้ง่าย เวลาจะกินก็แบ่งออกมาเติมน้ำผสมให้เหลวหน่อย

    น้ำจิ้มมันเค็มจึงมักมีการตัดเค็มด้วยน้ำส้มสายชู แต่วิธีการพกน้ำส้มสายชูเป็นอะไรที่ Storyฯ ยอมรับว่าเหนือความคาดหมายของข้าพเจ้าเอง สมัยนั้นมีไหมีขวดให้ใช้บรรจุน้ำส้มสายชูได้แต่ก็ไม่สามารถพกติดตัวได้ในปริมาณมาก อีกทั้งยังส่งกลิ่นแรง (มันซึมผ่านผ้าที่จุกฝา) ดังนั้นวิธีพกคือใช้ผ้าสะอาดตัดเป็นแถบแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู จากนั้นนำมาตากแห้ง พกเป็นผ้าไป เวลาจะกินก็ตัดผ้าชิ้นเล็กออกมาแช่ในน้ำก็จะได้รสชาติของน้ำส้มสายชูแล้ว

    และไม่ว่าจะเป็นฉิ่ว หรือน้ำจิ้ม หรือวิธีพกน้ำส้มสายชูที่กล่าวถึงข้างต้น ไม่เพียงใช้โดยชาวบ้านธรรมดา แต่ในกองทัพก็ใช้เช่นกัน Storyฯ หาไม่พบข้อมูลว่าฉิ่วหายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านตั้งแต่เมื่อไหร่ สันนิษฐานเอาเองว่าหายไปเมื่อสารพัดชนิดของเปี๊ยะมีมากขึ้นและราคาถูกลง

    เชื่อว่าวิธีเตรียมและพกพาอาหารแห้งเหล่านี้ ของไทยเราก็น่าจะมีอะไรคล้ายคลึงที่สืบทอดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาเช่นกัน แต่ Storyฯ ไม่รู้จักมากนัก ใครมีเรื่องเล่าที่ฟังมาจากผู้ใหญ่หรือคนรุ่นก่อน นำมาเล่าแบ่งปันกันด้วยนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://www.sohu.com/a/690825754_121115947
    https://www.sohu.com/a/712914583_121338666
    https://m.fx361.com/news/2022/0630/10495172.html
    https://www.sohu.com/a/443453413_120946747
    https://www.sohu.com/a/476806140_120018480
    https://cidian.qianp.com/ci/%E7%B3%97%E9%A5%B5
    https://www.zhihu.com/question/558888787/answer/2718324984
    https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/

    #สยบรักจอมเสเพล #กัวปา #ฉิ่ว #เสบียงแห้งโบราณ
    อาหารพกพายามเดินทางไกล สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องเสบียงอาหารของกองทัพ ก็เลยมีความสงสัยว่า แล้วประชาชนธรรมดาเวลาเดินทางไกลกินอะไรกัน? วันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ เรื่องนี้ค่ะ ในสมัยนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่มีรถม้าและพักแรมกินอาหารตามโรงเตี๊ยมได้ ระยะทางก็ยาวไกล ไม่สะดวกแบกสัมภาระมาก ภาพที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์คือสะพายห่อผ้าเดินเท้ากัน และอาหารที่พกก็คือเปี๊ยะหรือแผ่นแป้งปิ้งที่คุยกันไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid021ovimRULhAa1TBPph1nXsGVcPHbNM5ABmNwrzEahckFTPhq1zhUQ4n1aNAjDVuGNl) จริงๆ แล้วการทำเปี๊ยะปิ้งไม่ใช่งานง่ายนัก กว่าจะนวดแป้ง (ไม่นับชาวบ้านชนบทที่อาจต้องโม่แป้งเอง) ไหนจะต้องคอยดูไฟไม่ให้แรงเกินไป คอยพลิกแผ่นเปี๊ยะไปมา ทั้งหมดต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง อีกทั้งข้าวสาลียังแพงกว่าข้าวฟ่าง ไม่ว่าจะทำเปี๊ยะเองหรือหาซื้อ ล้วนสิ้นเปลืองทุนทรัพย์ ดังนั้น หากมีทางเลือกที่ง่ายกว่าประหยัดกว่า ย่อมเป็นที่นิยมของชาวบ้าน อีกทางเลือกที่ว่านี้คือ ‘ฉิ่ว’ (糗) เป็นอาหารแห้งสมัยโบราณ คิดค้นกันขึ้นเมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่มีการกล่าวถึงในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจว หรือ บันทึกโจวหลี่ว่า ‘ฉิวเอ่อร์เฝิ่นฉือ’(糗饵粉飺) คือก้อนข้าวและแผ่นแป้ง แต่จริงๆ แผ่นแป้งที่ว่านี้ไม่ใช่เปี๊ยะ ส่วนผสมมันเหมือนกันกับฉิ่ว เพียงแต่ฉิ่วหมายถึงปั้นเป็นก้อน ในขณะที่ฉือคือบี้ให้แบนเป็นแผ่น แล้วมันคืออะไร? มันคือการเอาข้าวที่นึ่งสุกแล้วมาใส่น้ำเล็กน้อยแล้วบีบหรือทุบให้เละเพื่อจะได้จับตัวกัน เสร็จแล้วปั้นเป็นก้อน (คือฉิ่ว) หรือบี้แบนเป็นแผ่น (คือฉือ) แล้วนำไปตากแห้ง แห้งแล้วก็จะหน้าตาคล้ายข้าวตังบ้านเรา ปัจจุบันของจีนเขาก็มีขนมหน้าตาคล้ายกันเรียกว่า ‘กัวปา’ (锅巴) (ดูรูปประกอบ) ซึ่งข้าวที่ว่านี้ในสมัยโบราณก่อนยุคหมิงคือข้าวฟ่างเป็นหลัก หน้าตาคล้าย แต่รสชาติไม่กรอบร่วนเหมือนข้าวเกรียบกัวปาปัจจุบัน เนื้อของฉิ่วก็จะแน่นๆ แข็งๆ แน่นอนว่ามันเป็นอาหารกินกันตาย ไม่ใช่กินเพื่อความจรรโลงใจ ชาวบ้านยามเดินทางไกลก็ห่อฉิ่วในผ้าบางหรือตะกร้าเล็กซุกไว้ในห่อผ้า เก็บได้นานถึงเกือบครึ่งเดือน เวลาจะกินก็คล้ายกับการกินเปี๊ยะกัวคุยที่กล่าวถึงไปในสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวคือจิ้มน้ำจิ้มให้ชุ่มและนุ่มลงแล้วค่อยกิน บางคนก็มีผักดองหรือเนื้อหมักแห้งพกมากินแกล้มด้วย หรือหากมีโอกาสได้น้ำร้อนน้ำแกงก็เอาฉิ่วจุ้ม/แช่ให้นุ่มแล้วกินก็ได้เช่นกัน นึกภาพว่าข้าวชามหนึ่งสามารถอัดเป็นก้อนได้ขนาดเล็ก ดังนั้นเห็นก้อนเล็กๆ ก็อิ่มไม่น้อย พกจากบ้านไปก็ประหยัดทรัพย์ไปได้หลายวัน น้ำจิ้มที่ใช้ก็พวกถั่วหมักเค็มหรือเต้าเจี้ยว ใส่เครื่องปรุงอย่างอื่นบ้าง ใส่ขิงซอยขิงสับบ้าง แต่น้ำจิ้มเป็นน้ำ เขาพกพากันอย่างไร? ง่ายๆ คือเอาไปตากแดดจนน้ำระเหย จาก ‘น้ำ’ จิ้มก็กลายเป็น ‘เปียก’ จิ้ม... คือข้นๆ เหนียวๆ เสร็จแล้วก็ห่อในกระดาษน้ำมัน พกพาได้ง่าย เวลาจะกินก็แบ่งออกมาเติมน้ำผสมให้เหลวหน่อย น้ำจิ้มมันเค็มจึงมักมีการตัดเค็มด้วยน้ำส้มสายชู แต่วิธีการพกน้ำส้มสายชูเป็นอะไรที่ Storyฯ ยอมรับว่าเหนือความคาดหมายของข้าพเจ้าเอง สมัยนั้นมีไหมีขวดให้ใช้บรรจุน้ำส้มสายชูได้แต่ก็ไม่สามารถพกติดตัวได้ในปริมาณมาก อีกทั้งยังส่งกลิ่นแรง (มันซึมผ่านผ้าที่จุกฝา) ดังนั้นวิธีพกคือใช้ผ้าสะอาดตัดเป็นแถบแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู จากนั้นนำมาตากแห้ง พกเป็นผ้าไป เวลาจะกินก็ตัดผ้าชิ้นเล็กออกมาแช่ในน้ำก็จะได้รสชาติของน้ำส้มสายชูแล้ว และไม่ว่าจะเป็นฉิ่ว หรือน้ำจิ้ม หรือวิธีพกน้ำส้มสายชูที่กล่าวถึงข้างต้น ไม่เพียงใช้โดยชาวบ้านธรรมดา แต่ในกองทัพก็ใช้เช่นกัน Storyฯ หาไม่พบข้อมูลว่าฉิ่วหายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านตั้งแต่เมื่อไหร่ สันนิษฐานเอาเองว่าหายไปเมื่อสารพัดชนิดของเปี๊ยะมีมากขึ้นและราคาถูกลง เชื่อว่าวิธีเตรียมและพกพาอาหารแห้งเหล่านี้ ของไทยเราก็น่าจะมีอะไรคล้ายคลึงที่สืบทอดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาเช่นกัน แต่ Storyฯ ไม่รู้จักมากนัก ใครมีเรื่องเล่าที่ฟังมาจากผู้ใหญ่หรือคนรุ่นก่อน นำมาเล่าแบ่งปันกันด้วยนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://www.sohu.com/a/690825754_121115947 https://www.sohu.com/a/712914583_121338666 https://m.fx361.com/news/2022/0630/10495172.html https://www.sohu.com/a/443453413_120946747 https://www.sohu.com/a/476806140_120018480 https://cidian.qianp.com/ci/%E7%B3%97%E9%A5%B5 https://www.zhihu.com/question/558888787/answer/2718324984 https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/ #สยบรักจอมเสเพล #กัวปา #ฉิ่ว #เสบียงแห้งโบราณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 503 มุมมอง 0 รีวิว
  • เสบียงของทหารจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครหรืออ่านนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จะเห็นว่าหนึ่งในสาระการเดินเรื่องที่สำคัญคือการจัดหาเสบียงไว้ใช้ในยามศึก แม้ว่าฉากหน้าร้านจะมีข้าวหลายชนิด แต่เวลาขนส่งเป็นกระสอบมักเป็นภาพของข้าวสารสีขาว ละครเรื่องอื่นส่วนใหญ่ก็เช่นกัน ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ไหมว่า ดำนาปลูกข้าวต้องใช้น้ำปริมาณมาก จีนโบราณเขาสามารถมีข้าวเป็นเสบียงได้มากมายเชียวหรือ?

    วันนี้เราเลยมาคุยกันเรื่องเสบียงของทหารจีนโบราณ

    ก่อนอื่นคุยกันเรื่องชนิดของข้าว ข้าวขาวเรียกว่า ‘หมี่’ (米) หรือ ‘ต้าหมี่’ หรือ ‘เต้าหมี่’ (大米 / 稻米) แต่จริงๆ แล้วคำว่า ‘หมี่’ ใช้หมายถึงข้าวชนิดอื่นได้ด้วยโดยเฉพาะเมื่อใช้ในบริบทของเสบียง ข้าวที่ใช้เป็นเสบียงอาหารหลักในสมัยจีนโบราณ (และเป็นอาหารของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินมากมาย) จริงๆ แล้วคือข้าวฟ่าง เรียกว่า ‘เสียวหมี่’ ( 小米 … ใช่ค่ะ คือชื่อแบรนด์มือถือและอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์จีนที่เราคุ้นหูกันดี) (ดูรูปประกอบ2) หรือที่ในละคร <สยบรักจอมเสเพล> เรียกว่า ‘หวงหมี่’ (แปลตรงตัวว่าข้าวเหลือง)

    ข้าวฟ่างถูกใช้เป็นเสบียงหลักของทหารมาหลายพันปี ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยฉินจนสมัยถัง และยังมีใช้บ้างในสมัยซ่ง ทั้งนี้ เพราะมันทนต่อสภาวะน้ำแล้ง จึงปลูกได้หลายพื้นที่ มีผลผลิตสูงเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยมีวิวัฒนาการด้านการเกษตร เมื่อผลผลิตสูงก็มีราคาต่ำกว่าข้าวชนิดอื่น ในบางยุคสมัยถูกกว่าถึงสองสามเท่า ใช้เป็นเสบียงได้ทั้งคนและม้าศึก นอกจากนี้ ข้าวฟ่างหุงสุกง่ายเพราะเปลือกไม่หนา และสามารถเก็บได้นานเป็น 9-10ปี ว่ากันว่าข้าวฟ่างในคลังหลวงของนครฉางอันภายหลังจากราชวงศ์สุยถูกล้มล้างลงนั้น ถูกใช้ต่อเนื่องมาในสมัยถังได้อีก 11 ปีเลยทีเดียว

    วิธีปรุงอาหารที่ง่ายที่สุดสำหรับกองทัพก็คือข้าวต้ม จึงไม่แปลกที่เราเห็นทหารยกชามข้าวซดกันในซีรีส์ ในสมัยนั้นมีการพกเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาตากแห้งไปกินแกล้ม แต่ก็มีล่าสัตว์เพิ่มเติมเวลาตั้งค่าย มีผักอะไรหาได้ก็ใส่ๆ ลงไป นั่นคืออาหารของทหารสมัยนั้น บางทีก็มีข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นผสม เช่นข้าวบาร์เลย์ แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีผลผลิตอะไรราคาถูกในพื้นที่นั้นๆ

    โจ๊กจึงเป็นอาหารหลักของกองทัพมาหลายยุคสมัย ภายหลังยุคชุนชิวก็มีหมั่นโถวมาเพิ่ม จวบจนสมัยชิงที่เน้นกินเนื้อสัตว์มากกว่าเน้นข้าว ทั้งนี้ เพื่อลดการขนส่งข้าวให้น้อยลงเพราะมันมีความยุ่งยากและสูญเสียมากระหว่างเดินทางไกล โดยมีการต้อนวัวและแกะไปพร้อมกับกองทัพ เวลาจะกินค่อยฆ่า ซึ่งภาพการเดินทัพและขนเสบียงแบบนี้ Storyฯ คิดว่าไม่เคยเห็นในซีรีส์ แต่ถ้าใครเคยผ่านตาแวะมาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ

    แต่จะต้มโจ๊กหรือนึ่งหมั่นโถวได้ต้องตั้งครัว ในยามที่ต้องเตรียมพร้อมรบอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่สะดวก จึงต้องมีเสบียงอย่างอื่นที่สะดวกต่อการพกพาไม่ต้องเสียเวลาตั้งครัว เสบียงที่ว่านี้คืออะไร?

    จริงแล้วในสมัยฮั่น มีการปลูกข้าวสาลีมากขึ้นกว่ายุคก่อน แต่ปริมาณยังน้อยกว่าข้าวฟ่าง ไม่เหมาะใช้กินเป็นอาหารหลัก แต่นิยมใช้บดเป็นแป้งมาทำเปี๊ยะ เรียกว่า ‘กัวคุย’ (锅盔 ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) ทำจากแป้งข้าวสาลีและน้ำเป็นหลัก นำมานาบและปิ้งในหม้อดินเผาด้วยไฟอ่อน พลิกไปพลิกมาจนสุก เปี๊ยะนี้ใหญ่และหนาเป็นนิ้ว เนื้อแป้งแน่นๆ แข็งๆ สามารถเก็บได้นาน 10-15 วัน แต่แน่นอนว่ารสชาติมันไม่ค่อยน่าพิสมัยเพราะแห้งมาก เวลากินจึงนิยมป้ายน้ำจิ้มลงไปให้มันนุ่มและมีรสชาติมากขึ้น ซึ่งน้ำจิ้มที่ว่านี้โดยหลักก็จะเป็นพวกถั่วหมักเค็มซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว หรือหากมีน้ำแกงหรือน้ำเต้าหู้ก็แช่จนนิ่มกินก็จะมีรสชาติมากขึ้น

    ว่ากันว่าในสมัยฉิน ทหารได้รับการแจกจ่ายเปี๊ยะกัวคุยกันคนละสองแผ่น แผ่นหนึ่งหนาประมาณเกือบนิ้วหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม เวลาพกก็เจาะรูร้อยเชือกหนังแขวนพาดบ่าไว้ แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหน้า แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหลัง เวลาโดนข้าศึกลอบยิงธนูใส่ยังสามารถใช้เป็นเกราะกำบัง! แต่เรื่องนี้ Storyฯ อ่านเจอก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จประการใด เอาเป็นว่า ให้เห็นภาพว่ากัวคุยนั้นหนาและแข็งก็แล้วกันนะคะ

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เสบียงที่ใช้พกพานั้นคือ ‘ซาวปิ่ง’ (烧饼) ในยุคนั้นมีทหารม้าจำนวนมาก การพกซาวปิ่งจึงกลายเป็นเสบียงหลักเพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และมันเป็นอาหารที่ถูกปากเหล่าทหารไม่น้อย เพราะซาวปิ่งในสมัยนั้นเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชน ทั้งเป็นอาหารหลักและของกินเล่น มันก็คือเปี๊ยะที่เอามาปิ้งหรือทอดที่เราเห็นบ่อยๆ ในซีรีส์ หน้าตาของซาวปิ่งมีส่วนคล้ายกัวคุยที่กล่าวถึงข้างต้น อ่านดูก็ไม่แน่ใจว่าต่างกันอย่างไร แต่เข้าใจว่าซาวปิ่งมีการปรุงแต่งมากกว่า เช่นเอาแป้งผสมเนื้อและต้นหอม ผสมเนยจามรี สุกแล้วกรอบนอกนุ่มใน เนื้อแป้งด้านในเป็นชั้นๆ (นึกภาพคล้ายเนื้อแป้งโรตี) ซึ่งแตกต่างจากกัวคุย (ดูรูปเปรียบเทียบในรูป 3) ปัจจุบันซาวปิ่งยังเป็นที่นิยมอยู่ในหลายพื้นที่ หน้าตาและส่วนผสมแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีทั้งแบบใส่ไส้และไม่ใส่ไส้

    ต่อมาในสมัยหมิงมีการพัฒนาเสบียงพกพาแบบใหม่ขึ้นอีกและเปลี่ยนมาใช้ข้าวขาวแทนข้าวฟ่าง เนื่องจากในยุคสมัยนี้ผลผลิตข้าวขาวสูงขึ้นมาก เกิดเป็นไอเดียเอาข้าวสุกตากแห้งพกเป็นเสบียง เวลาจะกินก็เติมน้ำอุ่นน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ กลายเป็นข้าวต้ม นับว่าเป็นอาหารจานด่วนโดยแท้ จะเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของโจ๊กและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ไหมนะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://k.sina.cn/article_5113022164_130c286d4040011jeu.html?from=ent&subch=oent
    http://www.foodwifi.net/jkys/201710/72511.html
    https://k.sina.cn/article_5899149139_15f9ddf5300100eewv.html
    http://m.qulishi.com/article/202105/513111.html
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c43040013i62.html
    https://www.zhihu.com/tardis/zm/art/351540381?source_id=1003
    https://www.sohu.com/a/239218972_155326
    http://m.qulishi.com/article/202011/453756.html#:~:text=锅盔是一种烙,锅盔都同样好吃
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/566492773
    https://www.toutiao.com/article/6967140332173656583/
    https://k.sina.cn/article_5502315099_147f6aa5b00100k0jm.html
    https://www.sohu.com/a/710019104_121119015
    https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/

    #สยบรักจอมเสเพล #เสบียงทหารโบราณ #ข้าวฟ่าง #แป้งปิ้ง
    เสบียงของทหารจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครหรืออ่านนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จะเห็นว่าหนึ่งในสาระการเดินเรื่องที่สำคัญคือการจัดหาเสบียงไว้ใช้ในยามศึก แม้ว่าฉากหน้าร้านจะมีข้าวหลายชนิด แต่เวลาขนส่งเป็นกระสอบมักเป็นภาพของข้าวสารสีขาว ละครเรื่องอื่นส่วนใหญ่ก็เช่นกัน ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ไหมว่า ดำนาปลูกข้าวต้องใช้น้ำปริมาณมาก จีนโบราณเขาสามารถมีข้าวเป็นเสบียงได้มากมายเชียวหรือ? วันนี้เราเลยมาคุยกันเรื่องเสบียงของทหารจีนโบราณ ก่อนอื่นคุยกันเรื่องชนิดของข้าว ข้าวขาวเรียกว่า ‘หมี่’ (米) หรือ ‘ต้าหมี่’ หรือ ‘เต้าหมี่’ (大米 / 稻米) แต่จริงๆ แล้วคำว่า ‘หมี่’ ใช้หมายถึงข้าวชนิดอื่นได้ด้วยโดยเฉพาะเมื่อใช้ในบริบทของเสบียง ข้าวที่ใช้เป็นเสบียงอาหารหลักในสมัยจีนโบราณ (และเป็นอาหารของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินมากมาย) จริงๆ แล้วคือข้าวฟ่าง เรียกว่า ‘เสียวหมี่’ ( 小米 … ใช่ค่ะ คือชื่อแบรนด์มือถือและอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์จีนที่เราคุ้นหูกันดี) (ดูรูปประกอบ2) หรือที่ในละคร <สยบรักจอมเสเพล> เรียกว่า ‘หวงหมี่’ (แปลตรงตัวว่าข้าวเหลือง) ข้าวฟ่างถูกใช้เป็นเสบียงหลักของทหารมาหลายพันปี ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยฉินจนสมัยถัง และยังมีใช้บ้างในสมัยซ่ง ทั้งนี้ เพราะมันทนต่อสภาวะน้ำแล้ง จึงปลูกได้หลายพื้นที่ มีผลผลิตสูงเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยมีวิวัฒนาการด้านการเกษตร เมื่อผลผลิตสูงก็มีราคาต่ำกว่าข้าวชนิดอื่น ในบางยุคสมัยถูกกว่าถึงสองสามเท่า ใช้เป็นเสบียงได้ทั้งคนและม้าศึก นอกจากนี้ ข้าวฟ่างหุงสุกง่ายเพราะเปลือกไม่หนา และสามารถเก็บได้นานเป็น 9-10ปี ว่ากันว่าข้าวฟ่างในคลังหลวงของนครฉางอันภายหลังจากราชวงศ์สุยถูกล้มล้างลงนั้น ถูกใช้ต่อเนื่องมาในสมัยถังได้อีก 11 ปีเลยทีเดียว วิธีปรุงอาหารที่ง่ายที่สุดสำหรับกองทัพก็คือข้าวต้ม จึงไม่แปลกที่เราเห็นทหารยกชามข้าวซดกันในซีรีส์ ในสมัยนั้นมีการพกเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาตากแห้งไปกินแกล้ม แต่ก็มีล่าสัตว์เพิ่มเติมเวลาตั้งค่าย มีผักอะไรหาได้ก็ใส่ๆ ลงไป นั่นคืออาหารของทหารสมัยนั้น บางทีก็มีข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นผสม เช่นข้าวบาร์เลย์ แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีผลผลิตอะไรราคาถูกในพื้นที่นั้นๆ โจ๊กจึงเป็นอาหารหลักของกองทัพมาหลายยุคสมัย ภายหลังยุคชุนชิวก็มีหมั่นโถวมาเพิ่ม จวบจนสมัยชิงที่เน้นกินเนื้อสัตว์มากกว่าเน้นข้าว ทั้งนี้ เพื่อลดการขนส่งข้าวให้น้อยลงเพราะมันมีความยุ่งยากและสูญเสียมากระหว่างเดินทางไกล โดยมีการต้อนวัวและแกะไปพร้อมกับกองทัพ เวลาจะกินค่อยฆ่า ซึ่งภาพการเดินทัพและขนเสบียงแบบนี้ Storyฯ คิดว่าไม่เคยเห็นในซีรีส์ แต่ถ้าใครเคยผ่านตาแวะมาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ แต่จะต้มโจ๊กหรือนึ่งหมั่นโถวได้ต้องตั้งครัว ในยามที่ต้องเตรียมพร้อมรบอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่สะดวก จึงต้องมีเสบียงอย่างอื่นที่สะดวกต่อการพกพาไม่ต้องเสียเวลาตั้งครัว เสบียงที่ว่านี้คืออะไร? จริงแล้วในสมัยฮั่น มีการปลูกข้าวสาลีมากขึ้นกว่ายุคก่อน แต่ปริมาณยังน้อยกว่าข้าวฟ่าง ไม่เหมาะใช้กินเป็นอาหารหลัก แต่นิยมใช้บดเป็นแป้งมาทำเปี๊ยะ เรียกว่า ‘กัวคุย’ (锅盔 ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) ทำจากแป้งข้าวสาลีและน้ำเป็นหลัก นำมานาบและปิ้งในหม้อดินเผาด้วยไฟอ่อน พลิกไปพลิกมาจนสุก เปี๊ยะนี้ใหญ่และหนาเป็นนิ้ว เนื้อแป้งแน่นๆ แข็งๆ สามารถเก็บได้นาน 10-15 วัน แต่แน่นอนว่ารสชาติมันไม่ค่อยน่าพิสมัยเพราะแห้งมาก เวลากินจึงนิยมป้ายน้ำจิ้มลงไปให้มันนุ่มและมีรสชาติมากขึ้น ซึ่งน้ำจิ้มที่ว่านี้โดยหลักก็จะเป็นพวกถั่วหมักเค็มซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว หรือหากมีน้ำแกงหรือน้ำเต้าหู้ก็แช่จนนิ่มกินก็จะมีรสชาติมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยฉิน ทหารได้รับการแจกจ่ายเปี๊ยะกัวคุยกันคนละสองแผ่น แผ่นหนึ่งหนาประมาณเกือบนิ้วหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม เวลาพกก็เจาะรูร้อยเชือกหนังแขวนพาดบ่าไว้ แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหน้า แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหลัง เวลาโดนข้าศึกลอบยิงธนูใส่ยังสามารถใช้เป็นเกราะกำบัง! แต่เรื่องนี้ Storyฯ อ่านเจอก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จประการใด เอาเป็นว่า ให้เห็นภาพว่ากัวคุยนั้นหนาและแข็งก็แล้วกันนะคะ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เสบียงที่ใช้พกพานั้นคือ ‘ซาวปิ่ง’ (烧饼) ในยุคนั้นมีทหารม้าจำนวนมาก การพกซาวปิ่งจึงกลายเป็นเสบียงหลักเพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และมันเป็นอาหารที่ถูกปากเหล่าทหารไม่น้อย เพราะซาวปิ่งในสมัยนั้นเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชน ทั้งเป็นอาหารหลักและของกินเล่น มันก็คือเปี๊ยะที่เอามาปิ้งหรือทอดที่เราเห็นบ่อยๆ ในซีรีส์ หน้าตาของซาวปิ่งมีส่วนคล้ายกัวคุยที่กล่าวถึงข้างต้น อ่านดูก็ไม่แน่ใจว่าต่างกันอย่างไร แต่เข้าใจว่าซาวปิ่งมีการปรุงแต่งมากกว่า เช่นเอาแป้งผสมเนื้อและต้นหอม ผสมเนยจามรี สุกแล้วกรอบนอกนุ่มใน เนื้อแป้งด้านในเป็นชั้นๆ (นึกภาพคล้ายเนื้อแป้งโรตี) ซึ่งแตกต่างจากกัวคุย (ดูรูปเปรียบเทียบในรูป 3) ปัจจุบันซาวปิ่งยังเป็นที่นิยมอยู่ในหลายพื้นที่ หน้าตาและส่วนผสมแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีทั้งแบบใส่ไส้และไม่ใส่ไส้ ต่อมาในสมัยหมิงมีการพัฒนาเสบียงพกพาแบบใหม่ขึ้นอีกและเปลี่ยนมาใช้ข้าวขาวแทนข้าวฟ่าง เนื่องจากในยุคสมัยนี้ผลผลิตข้าวขาวสูงขึ้นมาก เกิดเป็นไอเดียเอาข้าวสุกตากแห้งพกเป็นเสบียง เวลาจะกินก็เติมน้ำอุ่นน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ กลายเป็นข้าวต้ม นับว่าเป็นอาหารจานด่วนโดยแท้ จะเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของโจ๊กและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ไหมนะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://k.sina.cn/article_5113022164_130c286d4040011jeu.html?from=ent&subch=oent http://www.foodwifi.net/jkys/201710/72511.html https://k.sina.cn/article_5899149139_15f9ddf5300100eewv.html http://m.qulishi.com/article/202105/513111.html https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c43040013i62.html https://www.zhihu.com/tardis/zm/art/351540381?source_id=1003 https://www.sohu.com/a/239218972_155326 http://m.qulishi.com/article/202011/453756.html#:~:text=锅盔是一种烙,锅盔都同样好吃 https://zhuanlan.zhihu.com/p/566492773 https://www.toutiao.com/article/6967140332173656583/ https://k.sina.cn/article_5502315099_147f6aa5b00100k0jm.html https://www.sohu.com/a/710019104_121119015 https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/ #สยบรักจอมเสเพล #เสบียงทหารโบราณ #ข้าวฟ่าง #แป้งปิ้ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 515 มุมมอง 0 รีวิว
  • เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ

    เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ)

    วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้

    เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน
    ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่
    พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง
    ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า

    ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’

    แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ

    ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่

    ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง

    แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’)

    ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว

    เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน

    และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน

    ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm
    https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml
    https://kknews.cc/culture/3am8x23.html
    http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx
    https://www.soundofhope.org/post/468983
    https://baike.baidu.com/item/桃符

    #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ) วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้ เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่ พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’ แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่ ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’) ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml https://kknews.cc/culture/3am8x23.html http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620 https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx https://www.soundofhope.org/post/468983 https://baike.baidu.com/item/桃符 #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 558 มุมมอง 0 รีวิว
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 477 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระฆังจิ่งหยางจง

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับเกร็ดเล็กน้อยจากเรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    ในซีรีส์นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่มีการตีระฆังเรียกให้เหล่าขุนนางมาชุมนุมกัน ครั้งแรกที่แคว้นอู๋ตอนที่ประกาศเรื่องฮ่องเต้ถูกแคว้นอันจับตัวไป เหล่าขุนนางเรียกระฆังนี้ว่า ‘จิ่งหยางจง’ และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือที่หรูอี้ให้ตีระฆังเพื่อประกาศโทษของฮ่องเต้แคว้นอันต่อหน้าเหล่าขุนนาง ระฆังนี้มีชื่อว่า ‘อันหยางจง’

    ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติและดินแดนสมมุติ แต่ ‘จิ่งหยางจง’ (景阳钟) มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏข้อมูลที่กล่าวถึง ‘อันหยางจง’ จึงสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแคว้นอันในเรื่องนี้

    ข้อมูลเกี่ยวกับระฆังจิ่งหยางจงมีไม่มาก เพียงกล่าวไว้ว่ามีที่มาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ในรัชสมัยฮ่องเต้ฉีอู่ตี้ (ค.ศ. 440–493) ในตำราประวัติศาสตร์ฉีใต้ ‘หนานฉีซู’ บรรพที่ยี่สิบบันทึกไว้ว่า “เนื่องด้วยในพระราชฐานชั้นในไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากประตูตวนเหมิน จึงทรงให้จัดวางระฆังไว้บนหอจิ่งหยาง ข้าราชสำนักเมื่อได้ยินเสียงระฆังแต่เช้าก็ให้ตื่นขึ้นแต่งตัว... ระฆังดังเมื่อห้ากู่และสามกู่”

    อนึ่ง ประตูตวนเหมินเป็นชื่อประตูพระราชวังประตูบานหลักหน้าพระราชวัง (คือด้านทิศใต้) เป็นชื่อที่ถูกใช้มาหลายยุคสมัยหลายพระราชวังรวมถึงในสมัยราชวงศ์ฉีใต้ และในหลายยุคสมัยมีการจัดวางหอกลองหรือหอระฆังไว้ตีบอกเวลาหน้าประตูพระราชวัง ส่วนหอจิ่งหยางนั้น เป็นหอสูงในเขตพระราชวัง ณ เมืองเจี้ยนคัง (คือนานกิงปัจจุบัน)

    ในยุคสมัยต่อมามีการตั้งวางหอระฆังในพระราชวังเพื่อบอกเวลาเช่นกัน และมีการเรียกขานระฆังนี้กันต่อมาว่า ‘จิ่งหยางจง’ ลักษณะหน้าตาของจิ่งหยางจงนี้เป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าเป็นระฆังยักษ์ และการบอกเวลาโดยการตีระฆังจิ่งหยางจงนี้ถูกใช้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายรัชสมัย จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงมีการเอ่ยถึงชื่อ ‘จิ่งหยางจง’ นี้ในหลายบทกวีที่กล่าวถึงเวลารุ่งสางหรือเวลาที่ขุนนางต้องตื่นขึ้นมาเข้าเฝ้าที่ท้องพระโรงเมื่อได้ยินเสียงระฆังนี้ ซึ่งก็สอดคล้องตามวัตถุประสงค์เดิมที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้

    ส่วนเวลาที่ตีระฆังนั้น เดิมระบุว่าคือห้ากู่และสามกู่ ซึ่งในสมัยโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้าช่วงเวลาเรียกว่า ‘กู่’ หรือ ‘เกิง’ เวลาห้ากู่ก็คือช่วงเวลาประมาณตีสามถึงตีห้า (ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่ขุนนางต้องตื่นมาเตรียมประชุมท้องพระโรงดังที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว) และเวลาสามกู่คือช่วงเวลาประมาณห้าทุ่มถึงตีหนึ่ง ซึ่งเป็นการเตือนว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว

    ดังที่กล่าวไปข้างต้น ระฆังจิ่งหยางจงมีไว้บอกเวลายามเช้าและกลางคืน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อได้ยินเสียงของระฆังนี้ ให้เหล่าขุนนางมารวมตัวกัน Storyฯ ก็หาไม่พบข้อมูลว่านอกเหนือจากเวลาห้ากู่และสามกู่แล้ว ได้เคยปรากฏเหตุการณ์พิเศษที่ต้องมีตีระฆังจิ่งหยางจงนี้เพื่อเรียกชุมนุมเหล่าขุนนางหรือไม่

    นอกเหนือจากหอระฆังในพระราชวังแล้ว ยังมีหอระฆังในเมืองสำหรับบอกเวลาชาวบ้าน และมีหอระฆังตามวัดที่นอกจากจะใช้บอกเวลาแล้ว ยังใช้บอกเวลามีคนตายในละแวกนั้น ทั้งนี้แล้วแต่หลักปฏิบัติของแต่ละวัด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/642825978
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=262732&remap=gb
    https://www.arsomsiam.com/หน่วยเวลาและนาฬิกาจีน/
    https://baike.baidu.com/item/景阳钟
    https://www.zdic.net/hans/景阳钟

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #จิ่งหยางจง #หอระฆังพระราชวัง #ประชุมท้องพระโรง #ราชวงศ์ฉีใต้
    ระฆังจิ่งหยางจง สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับเกร็ดเล็กน้อยจากเรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ในซีรีส์นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่มีการตีระฆังเรียกให้เหล่าขุนนางมาชุมนุมกัน ครั้งแรกที่แคว้นอู๋ตอนที่ประกาศเรื่องฮ่องเต้ถูกแคว้นอันจับตัวไป เหล่าขุนนางเรียกระฆังนี้ว่า ‘จิ่งหยางจง’ และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือที่หรูอี้ให้ตีระฆังเพื่อประกาศโทษของฮ่องเต้แคว้นอันต่อหน้าเหล่าขุนนาง ระฆังนี้มีชื่อว่า ‘อันหยางจง’ ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติและดินแดนสมมุติ แต่ ‘จิ่งหยางจง’ (景阳钟) มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏข้อมูลที่กล่าวถึง ‘อันหยางจง’ จึงสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแคว้นอันในเรื่องนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับระฆังจิ่งหยางจงมีไม่มาก เพียงกล่าวไว้ว่ามีที่มาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ในรัชสมัยฮ่องเต้ฉีอู่ตี้ (ค.ศ. 440–493) ในตำราประวัติศาสตร์ฉีใต้ ‘หนานฉีซู’ บรรพที่ยี่สิบบันทึกไว้ว่า “เนื่องด้วยในพระราชฐานชั้นในไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากประตูตวนเหมิน จึงทรงให้จัดวางระฆังไว้บนหอจิ่งหยาง ข้าราชสำนักเมื่อได้ยินเสียงระฆังแต่เช้าก็ให้ตื่นขึ้นแต่งตัว... ระฆังดังเมื่อห้ากู่และสามกู่” อนึ่ง ประตูตวนเหมินเป็นชื่อประตูพระราชวังประตูบานหลักหน้าพระราชวัง (คือด้านทิศใต้) เป็นชื่อที่ถูกใช้มาหลายยุคสมัยหลายพระราชวังรวมถึงในสมัยราชวงศ์ฉีใต้ และในหลายยุคสมัยมีการจัดวางหอกลองหรือหอระฆังไว้ตีบอกเวลาหน้าประตูพระราชวัง ส่วนหอจิ่งหยางนั้น เป็นหอสูงในเขตพระราชวัง ณ เมืองเจี้ยนคัง (คือนานกิงปัจจุบัน) ในยุคสมัยต่อมามีการตั้งวางหอระฆังในพระราชวังเพื่อบอกเวลาเช่นกัน และมีการเรียกขานระฆังนี้กันต่อมาว่า ‘จิ่งหยางจง’ ลักษณะหน้าตาของจิ่งหยางจงนี้เป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าเป็นระฆังยักษ์ และการบอกเวลาโดยการตีระฆังจิ่งหยางจงนี้ถูกใช้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายรัชสมัย จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงมีการเอ่ยถึงชื่อ ‘จิ่งหยางจง’ นี้ในหลายบทกวีที่กล่าวถึงเวลารุ่งสางหรือเวลาที่ขุนนางต้องตื่นขึ้นมาเข้าเฝ้าที่ท้องพระโรงเมื่อได้ยินเสียงระฆังนี้ ซึ่งก็สอดคล้องตามวัตถุประสงค์เดิมที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ ส่วนเวลาที่ตีระฆังนั้น เดิมระบุว่าคือห้ากู่และสามกู่ ซึ่งในสมัยโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้าช่วงเวลาเรียกว่า ‘กู่’ หรือ ‘เกิง’ เวลาห้ากู่ก็คือช่วงเวลาประมาณตีสามถึงตีห้า (ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่ขุนนางต้องตื่นมาเตรียมประชุมท้องพระโรงดังที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว) และเวลาสามกู่คือช่วงเวลาประมาณห้าทุ่มถึงตีหนึ่ง ซึ่งเป็นการเตือนว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว ดังที่กล่าวไปข้างต้น ระฆังจิ่งหยางจงมีไว้บอกเวลายามเช้าและกลางคืน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อได้ยินเสียงของระฆังนี้ ให้เหล่าขุนนางมารวมตัวกัน Storyฯ ก็หาไม่พบข้อมูลว่านอกเหนือจากเวลาห้ากู่และสามกู่แล้ว ได้เคยปรากฏเหตุการณ์พิเศษที่ต้องมีตีระฆังจิ่งหยางจงนี้เพื่อเรียกชุมนุมเหล่าขุนนางหรือไม่ นอกเหนือจากหอระฆังในพระราชวังแล้ว ยังมีหอระฆังในเมืองสำหรับบอกเวลาชาวบ้าน และมีหอระฆังตามวัดที่นอกจากจะใช้บอกเวลาแล้ว ยังใช้บอกเวลามีคนตายในละแวกนั้น ทั้งนี้แล้วแต่หลักปฏิบัติของแต่ละวัด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/642825978 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=262732&remap=gb https://www.arsomsiam.com/หน่วยเวลาและนาฬิกาจีน/ https://baike.baidu.com/item/景阳钟 https://www.zdic.net/hans/景阳钟 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #จิ่งหยางจง #หอระฆังพระราชวัง #ประชุมท้องพระโรง #ราชวงศ์ฉีใต้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง

    ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่

    ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม)

    ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด

    คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี

    จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน

    และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น

    แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง

    ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

    นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1
    http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html
    https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่ ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม) ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760 https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1 http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 504 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนึ่งรำลึกกวนซาน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน

    ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่?

    จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน

    แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร

    ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก

    มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ

    ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด

    ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน
    ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://star.tom.com/202311/1572406490.html
    https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html
    https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap
    https://www.sohu.com/a/414709176_100091417
    https://www.sohu.com/a/497600136_100185418
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm
    https://www.gushiju.net/ju/1703370

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    หนึ่งรำลึกกวนซาน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่? จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://star.tom.com/202311/1572406490.html https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap https://www.sohu.com/a/414709176_100091417 https://www.sohu.com/a/497600136_100185418 https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm https://www.gushiju.net/ju/1703370 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 506 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts