• 33 ปี สิ้น “หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง” พระเถราจารย์แห่งอุบลราชธานี ผู้สร้างวัดสาขาต่างประเทศมากมาย

    ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และทั่วโลกต้องเศร้าโศก เมื่อหลวงปู่ชา สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พระเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพรัก ทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้ละสังขารอย่างสงบ หลังจากอาพาธ มายาวนาน

    หลวงปู่ชาไม่เพียงเป็น ผู้นำทางจิตวิญญาณ แต่ยังเป็นบุคคลสำคัญ ที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปสู่ชาวต่างชาติ ผ่านการปฏิบัติธรรม และการสร้างวัดสาขามากมาย ทั้งในและนอกประเทศไทย แม้ว่าท่านจะพูดได้เพียงภาษาไทย แต่ด้วยคำสอน และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย กลับสร้างแรงศรัทธา ให้แก่คนทั่วโลก

    วัยเยาว์หลวงปู่
    หลวงปู่ชา สุภัทโท เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ตามปฏิทินจันทรคติ ที่บ้านก่อ (เดิมชื่อบ้านก้นถ้วย) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดามารดาของท่านคือนายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ หลวงปู่ชาเป็นบุตรคนที่ 5 จากพี่น้องทั้งหมด 10 คน

    เริ่มต้นชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์
    เมื่อหลวงปู่ชามีอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาที่วัดบ้านก่อนอก ร่วมกับเพื่อนๆ หลายคน แต่ไม่นานท่านก็ลาสิกขาออกมา เพื่อช่วยครอบครัว อย่างไรก็ตาม ความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ได้ผลักดันให้ท่าน หันกลับมาสู่เส้นทางธรรมอีกครั้ง

    เมื่ออายุครบ 21 ปี หลังทราบว่า ไม่ติดทหารเกณฑ์ หลวงปู่ชาจึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "สุภัทโท" ซึ่งแปลว่า "ผู้เจริญด้วยดี"

    ธุดงค์พบทางธรรม
    หลวงปู่ชาได้ออกเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ผู้มีความรู้ทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ โดยเดินทางไกล ผ่านหลายจังหวัดของประเทศไทย รวมถึงการไปศึกษาธรรมกับ "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ สายวิปัสสนากรรมฐาน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น

    หลวงปู่ชาเล่าถึงความประทับใจ เมื่อได้พบหลวงปู่มั่นว่า การได้ฟังธรรมะจากท่าน ทำให้จิตใจของหลวงปู่ชา สงบลึกในทันที และทำให้เกิดความมั่นใจ ในแนวทางการปฏิบัติธรรม

    ตั้งวัดหนองป่าพง
    หลังจากธุดงค์ ยาวนานกว่า 8 ปี ในที่สุดหลวงปู่ชา ได้กลับมาที่บ้านเกิด และก่อตั้งวัดหนองป่าพง ขึ้นในปี พ.ศ. 2497 โดยพื้นที่ดั้งเดิมของวัด เป็นป่าอันเงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงปู่ชาใช้วิถีชีวิตเรียบง่าย และเน้นการปฏิบัติ เพื่อสร้างแบบอย่างให้ศิษย์เห็น

    วัดหนองป่าพง เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ในหมู่คนไทย แต่ยังรวมถึงชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาศึกษาธรรม กับหลวงปู่ชา

    เผยแผ่พุทธศาสนาไปต่างประเทศ
    หนึ่งในสิ่งที่น่าทึ่งที่สุด เกี่ยวกับหลวงปู่ชา คือความสามารถ ในการถ่ายทอดธรรมะ ให้แก่ชาวต่างชาติ แม้ว่าท่าน จะไม่ได้พูดภาษาอังกฤษก็ตาม ท่านสอนด้วยการกระทำเป็นหลัก โดยมักกล่าวว่า

    “น้ำร้อนก็มี น้ำฮ้อนก็มี ฮอตวอเตอร์ก็มี มันเป็นแต่ชื่อหรอก ถ้าเอามือจุ่มลงไป ก็ไม่ต้องใช้ภาษาหรอก คนชาติไหนก็รู้ได้เอง”

    วัดหนองป่าพง และวัดสาขาของหลวงปู่ชา กลายเป็นจุดหมายของชาวต่างชาติ ที่สนใจปฏิบัติธรรม ปัจจุบันวัดหนองป่าพง มีวัดสาขาทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศรวมกว่า 141 แห่ง โดยแบ่งเป็น 133 สาขา ในประเทศไทย และ 8 สาขา ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และสวิตเซอร์แลนด์

    คำสอนเรียบง่ายลึกซึ้ง
    คำสอนของหลวงปู่ชา เน้นไปที่การปฏิบัติจริง ในชีวิตประจำวัน ท่านสอนให้ศิษย์รักษาศีล เจริญสมาธิ และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาในชีวิต โดยหลวงปู่ชาเคยกล่าวไว้ว่า

    “พึงทำตน ให้ตั้งอยู่ในคุณธรรม อันสมควรเสียก่อน จึงค่อยสอนผู้อื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตทราม”

    ท่านยังเน้นย้ำว่า การปฏิบัติธรรมจะสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากการรักษาศีล เพราะศีลจะนำไปสู่สมาธิ และสมาธิจะนำไปสู่ปัญญา ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ ต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

    บั้นปลายชีวิต
    ในปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่ชาเริ่มอาพาธ และแม้ว่าท่าน จะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ และเผยแผ่ธรรมะจนถึงที่สุด

    หลวงปู่ชาได้ละสังขารเมื่อ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ณ วัดหนองป่าพง โดยทิ้งมรดกทางธรรม และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย ให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วโลก

    33 ปี หลังการละสังขารของหลวงปู่ชา คำสอนและวัตรปฏิบัติของท่าน ยังคงมีชีวิตอยู่ในใจ ของศิษยานุศิษย์ และผู้ปฏิบัติธรรมทั่วโลก วัดหนองป่าพง ยังคงเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนา และแหล่งเผยแผ่ธรรมะ ที่ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่ขยายไปสู่ชาวต่างชาติ

    หลวงปู่ชาเป็นตัวอย่าง ของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และยึดมั่นในคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างแท้จริง

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161017 ม.ค. 2568

    #หลวงปู่ชา #วัดหนองป่าพง #ธรรมะ #พระป่ากรรมฐาน #ปฏิบัติธรรม #ศาสนาพุทธ #คำสอนหลวงปู่ชา #พระพุทธศาสนา #ธรรมะอินเตอร์ #วัดสาขาต่างประเทศ
    33 ปี สิ้น “หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง” พระเถราจารย์แห่งอุบลราชธานี ผู้สร้างวัดสาขาต่างประเทศมากมาย ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และทั่วโลกต้องเศร้าโศก เมื่อหลวงปู่ชา สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พระเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพรัก ทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้ละสังขารอย่างสงบ หลังจากอาพาธ มายาวนาน หลวงปู่ชาไม่เพียงเป็น ผู้นำทางจิตวิญญาณ แต่ยังเป็นบุคคลสำคัญ ที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปสู่ชาวต่างชาติ ผ่านการปฏิบัติธรรม และการสร้างวัดสาขามากมาย ทั้งในและนอกประเทศไทย แม้ว่าท่านจะพูดได้เพียงภาษาไทย แต่ด้วยคำสอน และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย กลับสร้างแรงศรัทธา ให้แก่คนทั่วโลก วัยเยาว์หลวงปู่ หลวงปู่ชา สุภัทโท เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ตามปฏิทินจันทรคติ ที่บ้านก่อ (เดิมชื่อบ้านก้นถ้วย) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดามารดาของท่านคือนายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ หลวงปู่ชาเป็นบุตรคนที่ 5 จากพี่น้องทั้งหมด 10 คน เริ่มต้นชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อหลวงปู่ชามีอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาที่วัดบ้านก่อนอก ร่วมกับเพื่อนๆ หลายคน แต่ไม่นานท่านก็ลาสิกขาออกมา เพื่อช่วยครอบครัว อย่างไรก็ตาม ความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ได้ผลักดันให้ท่าน หันกลับมาสู่เส้นทางธรรมอีกครั้ง เมื่ออายุครบ 21 ปี หลังทราบว่า ไม่ติดทหารเกณฑ์ หลวงปู่ชาจึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "สุภัทโท" ซึ่งแปลว่า "ผู้เจริญด้วยดี" ธุดงค์พบทางธรรม หลวงปู่ชาได้ออกเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ผู้มีความรู้ทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ โดยเดินทางไกล ผ่านหลายจังหวัดของประเทศไทย รวมถึงการไปศึกษาธรรมกับ "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ สายวิปัสสนากรรมฐาน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น หลวงปู่ชาเล่าถึงความประทับใจ เมื่อได้พบหลวงปู่มั่นว่า การได้ฟังธรรมะจากท่าน ทำให้จิตใจของหลวงปู่ชา สงบลึกในทันที และทำให้เกิดความมั่นใจ ในแนวทางการปฏิบัติธรรม ตั้งวัดหนองป่าพง หลังจากธุดงค์ ยาวนานกว่า 8 ปี ในที่สุดหลวงปู่ชา ได้กลับมาที่บ้านเกิด และก่อตั้งวัดหนองป่าพง ขึ้นในปี พ.ศ. 2497 โดยพื้นที่ดั้งเดิมของวัด เป็นป่าอันเงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงปู่ชาใช้วิถีชีวิตเรียบง่าย และเน้นการปฏิบัติ เพื่อสร้างแบบอย่างให้ศิษย์เห็น วัดหนองป่าพง เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ในหมู่คนไทย แต่ยังรวมถึงชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาศึกษาธรรม กับหลวงปู่ชา เผยแผ่พุทธศาสนาไปต่างประเทศ หนึ่งในสิ่งที่น่าทึ่งที่สุด เกี่ยวกับหลวงปู่ชา คือความสามารถ ในการถ่ายทอดธรรมะ ให้แก่ชาวต่างชาติ แม้ว่าท่าน จะไม่ได้พูดภาษาอังกฤษก็ตาม ท่านสอนด้วยการกระทำเป็นหลัก โดยมักกล่าวว่า “น้ำร้อนก็มี น้ำฮ้อนก็มี ฮอตวอเตอร์ก็มี มันเป็นแต่ชื่อหรอก ถ้าเอามือจุ่มลงไป ก็ไม่ต้องใช้ภาษาหรอก คนชาติไหนก็รู้ได้เอง” วัดหนองป่าพง และวัดสาขาของหลวงปู่ชา กลายเป็นจุดหมายของชาวต่างชาติ ที่สนใจปฏิบัติธรรม ปัจจุบันวัดหนองป่าพง มีวัดสาขาทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศรวมกว่า 141 แห่ง โดยแบ่งเป็น 133 สาขา ในประเทศไทย และ 8 สาขา ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และสวิตเซอร์แลนด์ คำสอนเรียบง่ายลึกซึ้ง คำสอนของหลวงปู่ชา เน้นไปที่การปฏิบัติจริง ในชีวิตประจำวัน ท่านสอนให้ศิษย์รักษาศีล เจริญสมาธิ และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาในชีวิต โดยหลวงปู่ชาเคยกล่าวไว้ว่า “พึงทำตน ให้ตั้งอยู่ในคุณธรรม อันสมควรเสียก่อน จึงค่อยสอนผู้อื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตทราม” ท่านยังเน้นย้ำว่า การปฏิบัติธรรมจะสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากการรักษาศีล เพราะศีลจะนำไปสู่สมาธิ และสมาธิจะนำไปสู่ปัญญา ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ ต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน บั้นปลายชีวิต ในปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่ชาเริ่มอาพาธ และแม้ว่าท่าน จะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ และเผยแผ่ธรรมะจนถึงที่สุด หลวงปู่ชาได้ละสังขารเมื่อ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ณ วัดหนองป่าพง โดยทิ้งมรดกทางธรรม และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย ให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วโลก 33 ปี หลังการละสังขารของหลวงปู่ชา คำสอนและวัตรปฏิบัติของท่าน ยังคงมีชีวิตอยู่ในใจ ของศิษยานุศิษย์ และผู้ปฏิบัติธรรมทั่วโลก วัดหนองป่าพง ยังคงเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนา และแหล่งเผยแผ่ธรรมะ ที่ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่ขยายไปสู่ชาวต่างชาติ หลวงปู่ชาเป็นตัวอย่าง ของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และยึดมั่นในคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างแท้จริง ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161017 ม.ค. 2568 #หลวงปู่ชา #วัดหนองป่าพง #ธรรมะ #พระป่ากรรมฐาน #ปฏิบัติธรรม #ศาสนาพุทธ #คำสอนหลวงปู่ชา #พระพุทธศาสนา #ธรรมะอินเตอร์ #วัดสาขาต่างประเทศ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 211 มุมมอง 0 รีวิว
  • 29 ปี สิ้น “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เจ้าแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร พระมหาเถราจารย์ สายวิปัสสนานครลำปาง

    ย้อนไปเมื่อ 29 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ถือเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก พระมหาเถราจารย์ ผู้เป็นที่เคารพรัก ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง สิริอายุ 83 ปี หลังจากที่พักรักษาอาการอาพาธ มาเป็นเวลานาน การจากไปของท่าน ไม่เพียงแต่สร้างความเศร้าโศก ให้กับชาวจังหวัดลำปางเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือน ต่อผู้เคารพศรัทธา ทั่วประเทศไทย

    ต้นกำเนิดหลวงพ่อเกษม
    "หลวงพ่อเกษม เขมโก" หรือชื่อเดิม "เจ้าเกษม ณ ลำปาง" เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 ท่านเป็นบุตรของ เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น "มณีอรุณ") ผู้รับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านาย ในราชวงศ์ทิพย์จักร โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก ยังเป็นราชปนัดดา (หลานเหลน) ของ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย

    บรรพชาในวัยเยาว์
    ในวัยเด็ก หลวงพ่อเกษม เขมโก ถูกเล่าขานว่า เป็นเด็กที่ซุกซนแต่ฉลาดเฉลียว มีครั้งหนึ่ง ท่านเคยปีนต้นฝรั่ง แล้วพลัดตก จนเกิดแผลเป็นที่ศีรษะ ซึ่งกลายเป็น เครื่องหมายแห่งความทรงจำ ในวัยเยาว์ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ที่วัดป่าดั๊ว เพื่อบวชหน้าไฟเจ้าอาวาส ที่มรณภาพ หลังจากนั้น 7 วันจึงลาสิกขา ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ท่านบรรพชาอีกครั้ง และจำวัด ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ในช่วงเวลานี้ ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม อย่างจริงจัง และสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ในปี พ.ศ. 2474

    อุปสมบท
    ในปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ท่านอายุ 20 ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญวาทย์วิหาร โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร และอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม”

    หลังอุปสมบท ท่านเริ่มศึกษาภาษาบาลี ที่วัดศรีล้อม และต่อมาย้ายไปศึกษาในแผนกนักธรรม ที่วัดเชียงราย ท่านสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. 2479 พร้อมความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการเขียน และแปลภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง ถึงแม้ว่า ท่านจะไม่สอบ เอาวุฒิทางวิชาการสูง ๆ ก็ตาม เนื่องจากเป้าหมายของท่าน คือการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อนำไปปฏิบัติ

    วิถีแห่งวิปัสสนา
    หลังจากสำเร็จการศึกษา ด้านปริยัติธรรม หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้แสวงหาครูบาอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญในสายวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งท่านได้พบกับ "ครูบาแก่น สุมโน" พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเริ่มออกธุดงค์ไปยังป่าลึก เพื่อแสวงหาความวิเวก และปฏิบัติธรรม ในสถานที่สงบเงียบ

    ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ท่านมีความเคร่งครัด ในธุดงควัตร (ข้อปฏิบัติสำหรับพระธุดงค์) โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ การฝึกสมาธิ และการเจริญวิปัสสนาของท่าน เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

    พระสายวิปัสสนาธุระแห่งลำปาง
    ในช่วงชีวิตที่เหลือ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้ตัดสินใจปลีกวิเวก และปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ท่านใช้ชีวิตเรียบง่ายในสถานที่แห่งนี้ โดยไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือยศศักดิ์ใด ๆ แม้กระทั่งตำแหน่ง เจ้าอาวาสที่วัดบุญยืน ซึ่งท่านได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ได้ลาออก เพื่อมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของท่านเอง

    ศรัทธาประชาชน
    ด้วยความสมถะ และการปฏิบัติที่เคร่งครัด "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้รับความเคารพนับถือ จากประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยเสด็จ ไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม ด้วยพระองค์เอง

    ละสังขารปาฏิหาริย์สรีระ
    หลวงพ่อเกษม เขมโก ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ณ โรงพยาบาลลำปาง สร้างความอาลัยอย่างยิ่ง ให้กับสานุศิษย์ทั่วประเทศ สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ สรีระของหลวงพ่อเกษม ไม่เน่าเปื่อย และยังคงสภาพสมบูรณ์ ทำให้ผู้ที่เคารพศรัทธา ยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระของท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์ จนถึงปัจจุบัน

    ปณิธานแห่งความเรียบง่าย
    คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก เน้นความเรียบง่ายในชีวิต และการยึดมั่นในธรรมะ ท่านสอนให้พุทธศาสนิกชน ละความยึดติดกับวัตถุ และกิเลส รวมถึงการเจริญวิปัสสนา เพื่อความสงบสุข และหลุดพ้น

    มรดกธรรมที่ยังคงอยู่
    แม้จะผ่านมา 29 ปีแล้ว หลังการละสังขารของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แต่ความศรัทธา และคำสอนของท่าน ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นสมบัติล้ำค่า ของพระพุทธศาสนาไทย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 150927 ม.ค. 2568

    #หลวงพ่อเกษมเขมโก #พระเกจิอาจารย์ #สายวิปัสสนา #ศรัทธา #ปาฏิหาริย์ #ลำปาง #พระมหาเถราจารย์ #ธรรมะ #พุทธศาสนาไทย #ประวัติศาสตร์
    29 ปี สิ้น “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เจ้าแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร พระมหาเถราจารย์ สายวิปัสสนานครลำปาง ย้อนไปเมื่อ 29 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ถือเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก พระมหาเถราจารย์ ผู้เป็นที่เคารพรัก ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง สิริอายุ 83 ปี หลังจากที่พักรักษาอาการอาพาธ มาเป็นเวลานาน การจากไปของท่าน ไม่เพียงแต่สร้างความเศร้าโศก ให้กับชาวจังหวัดลำปางเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือน ต่อผู้เคารพศรัทธา ทั่วประเทศไทย ต้นกำเนิดหลวงพ่อเกษม "หลวงพ่อเกษม เขมโก" หรือชื่อเดิม "เจ้าเกษม ณ ลำปาง" เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 ท่านเป็นบุตรของ เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น "มณีอรุณ") ผู้รับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านาย ในราชวงศ์ทิพย์จักร โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก ยังเป็นราชปนัดดา (หลานเหลน) ของ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย บรรพชาในวัยเยาว์ ในวัยเด็ก หลวงพ่อเกษม เขมโก ถูกเล่าขานว่า เป็นเด็กที่ซุกซนแต่ฉลาดเฉลียว มีครั้งหนึ่ง ท่านเคยปีนต้นฝรั่ง แล้วพลัดตก จนเกิดแผลเป็นที่ศีรษะ ซึ่งกลายเป็น เครื่องหมายแห่งความทรงจำ ในวัยเยาว์ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ที่วัดป่าดั๊ว เพื่อบวชหน้าไฟเจ้าอาวาส ที่มรณภาพ หลังจากนั้น 7 วันจึงลาสิกขา ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ท่านบรรพชาอีกครั้ง และจำวัด ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ในช่วงเวลานี้ ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม อย่างจริงจัง และสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ในปี พ.ศ. 2474 อุปสมบท ในปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ท่านอายุ 20 ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญวาทย์วิหาร โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร และอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม” หลังอุปสมบท ท่านเริ่มศึกษาภาษาบาลี ที่วัดศรีล้อม และต่อมาย้ายไปศึกษาในแผนกนักธรรม ที่วัดเชียงราย ท่านสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. 2479 พร้อมความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการเขียน และแปลภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง ถึงแม้ว่า ท่านจะไม่สอบ เอาวุฒิทางวิชาการสูง ๆ ก็ตาม เนื่องจากเป้าหมายของท่าน คือการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อนำไปปฏิบัติ วิถีแห่งวิปัสสนา หลังจากสำเร็จการศึกษา ด้านปริยัติธรรม หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้แสวงหาครูบาอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญในสายวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งท่านได้พบกับ "ครูบาแก่น สุมโน" พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเริ่มออกธุดงค์ไปยังป่าลึก เพื่อแสวงหาความวิเวก และปฏิบัติธรรม ในสถานที่สงบเงียบ ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ท่านมีความเคร่งครัด ในธุดงควัตร (ข้อปฏิบัติสำหรับพระธุดงค์) โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ การฝึกสมาธิ และการเจริญวิปัสสนาของท่าน เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง พระสายวิปัสสนาธุระแห่งลำปาง ในช่วงชีวิตที่เหลือ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้ตัดสินใจปลีกวิเวก และปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ท่านใช้ชีวิตเรียบง่ายในสถานที่แห่งนี้ โดยไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือยศศักดิ์ใด ๆ แม้กระทั่งตำแหน่ง เจ้าอาวาสที่วัดบุญยืน ซึ่งท่านได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ได้ลาออก เพื่อมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของท่านเอง ศรัทธาประชาชน ด้วยความสมถะ และการปฏิบัติที่เคร่งครัด "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้รับความเคารพนับถือ จากประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยเสด็จ ไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม ด้วยพระองค์เอง ละสังขารปาฏิหาริย์สรีระ หลวงพ่อเกษม เขมโก ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ณ โรงพยาบาลลำปาง สร้างความอาลัยอย่างยิ่ง ให้กับสานุศิษย์ทั่วประเทศ สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ สรีระของหลวงพ่อเกษม ไม่เน่าเปื่อย และยังคงสภาพสมบูรณ์ ทำให้ผู้ที่เคารพศรัทธา ยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระของท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์ จนถึงปัจจุบัน ปณิธานแห่งความเรียบง่าย คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก เน้นความเรียบง่ายในชีวิต และการยึดมั่นในธรรมะ ท่านสอนให้พุทธศาสนิกชน ละความยึดติดกับวัตถุ และกิเลส รวมถึงการเจริญวิปัสสนา เพื่อความสงบสุข และหลุดพ้น มรดกธรรมที่ยังคงอยู่ แม้จะผ่านมา 29 ปีแล้ว หลังการละสังขารของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แต่ความศรัทธา และคำสอนของท่าน ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นสมบัติล้ำค่า ของพระพุทธศาสนาไทย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 150927 ม.ค. 2568 #หลวงพ่อเกษมเขมโก #พระเกจิอาจารย์ #สายวิปัสสนา #ศรัทธา #ปาฏิหาริย์ #ลำปาง #พระมหาเถราจารย์ #ธรรมะ #พุทธศาสนาไทย #ประวัติศาสตร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 237 มุมมอง 0 รีวิว