รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 12 อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน
.
การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุก หลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทอง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย
.
บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงิน ยังไม่ตระหนักถึงสภานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจเป็นตัวแทนของไฟแดงกระพริบได้แก่ (1) รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที (2) จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ด้วยจำนวนเงินต่ำที่สุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอมให้ได้ (3) ใช้เงินเต็มวงกู้ของบัตรเครดิต (4) ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่น มาจ่ายชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน (5) ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลายสิ่งทั้ง ๆ ที่แต่เดิมใช้เงินสด (6) ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเกินกำหนดเวลาอยู่เนืองๆ (7) ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย ๆ (8) ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ (9) หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที (10) นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ
.
สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่า กำลังกินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขแรกคือ ต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า ยกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหนทาง
.
การแก้ไขด้วยวิธีแรกนั้นยากมาก และไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือนกับไล่จับเงาตัวเอง หามาได้เท่าใดก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธี หรือใช้วิธีที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ มีเหตุมีผลมากกว่า เพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็กระทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และที่สำคัญที่สุด เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว
.
อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไข จะจ้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อนของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้ หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่า ปัญหาเริ่มจากความต้องการที่ไม่มีวันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มาสโลว์ กล่าวไว้ โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรักและมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้องการการบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อมทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
.
สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักนึกว่าการดำเนินชีวิตของผู้คนและครอบครัวกังที่ปรากฏในสื่อ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องบริโภคในลักษณะนั้นๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิต และมีค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน
.
สาเหตุที่ 3 คือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโทรศัพท์สื่อโซเชี่ยลมิเดียหลายแพลทฟอร์ม เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มีหลายครั้งที่ผู้โฆษณาพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้น หรือไปสถานที่นี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะเป็น “คนมีระดับ” จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับ และ “คนปกติ” เขาก็ปฎิบัติเช่นนั้น การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย
.
ทั้งสามสาเหตุ นำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็นเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน
.
ผู้ที่ดื่มด่ำกับการบริโภคในปัจจุบันจนลึมนึกถึงอนาคต ลืมนึกถึงความมั่นคงในชีวิตตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า มักจะนึกเอาว่า เอาไว้อีกสักพักค่อยออมเงินเพื่อสร้างอนาคตก็ได้ แต่ “สักพัก” นั้นก็ไม่มาถึงซักที พร้อมกับจมดิ่งลงไปในหนี้สินที่พอกพูนขึ้นทุกวัน สำหรับคนเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะออมได้เลย แค่มีเงินใช้จ่ายให้ตลอดเดือนได้ก็ยากเต็มทีแล้ว
.
กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ต้องมองโลกในแง่ใหม่ ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เท่ากับเปิดช่องให้เงินเป็นศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงินเป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน
(2) อยู่กินต่ำกว่าฐานะ
(3) ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม
(4) ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ ไม่ใช้เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความต้องการของตนเองให้ได้
.
การอยู่กินอย่างเดือดร้อน คือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม
.
การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุก หลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทอง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย
.
บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงิน ยังไม่ตระหนักถึงสภานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจเป็นตัวแทนของไฟแดงกระพริบได้แก่ (1) รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที (2) จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ด้วยจำนวนเงินต่ำที่สุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอมให้ได้ (3) ใช้เงินเต็มวงกู้ของบัตรเครดิต (4) ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่น มาจ่ายชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน (5) ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลายสิ่งทั้ง ๆ ที่แต่เดิมใช้เงินสด (6) ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเกินกำหนดเวลาอยู่เนืองๆ (7) ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย ๆ (8) ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ (9) หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที (10) นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ
.
สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่า กำลังกินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขแรกคือ ต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า ยกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหนทาง
.
การแก้ไขด้วยวิธีแรกนั้นยากมาก และไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือนกับไล่จับเงาตัวเอง หามาได้เท่าใดก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธี หรือใช้วิธีที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ มีเหตุมีผลมากกว่า เพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็กระทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และที่สำคัญที่สุด เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว
.
อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไข จะจ้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อนของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้ หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่า ปัญหาเริ่มจากความต้องการที่ไม่มีวันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มาสโลว์ กล่าวไว้ โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรักและมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้องการการบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อมทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
.
สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักนึกว่าการดำเนินชีวิตของผู้คนและครอบครัวกังที่ปรากฏในสื่อ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องบริโภคในลักษณะนั้นๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิต และมีค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน
.
สาเหตุที่ 3 คือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโทรศัพท์สื่อโซเชี่ยลมิเดียหลายแพลทฟอร์ม เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มีหลายครั้งที่ผู้โฆษณาพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้น หรือไปสถานที่นี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะเป็น “คนมีระดับ” จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับ และ “คนปกติ” เขาก็ปฎิบัติเช่นนั้น การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย
.
ทั้งสามสาเหตุ นำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็นเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน
.
ผู้ที่ดื่มด่ำกับการบริโภคในปัจจุบันจนลึมนึกถึงอนาคต ลืมนึกถึงความมั่นคงในชีวิตตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า มักจะนึกเอาว่า เอาไว้อีกสักพักค่อยออมเงินเพื่อสร้างอนาคตก็ได้ แต่ “สักพัก” นั้นก็ไม่มาถึงซักที พร้อมกับจมดิ่งลงไปในหนี้สินที่พอกพูนขึ้นทุกวัน สำหรับคนเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะออมได้เลย แค่มีเงินใช้จ่ายให้ตลอดเดือนได้ก็ยากเต็มทีแล้ว
.
กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ต้องมองโลกในแง่ใหม่ ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เท่ากับเปิดช่องให้เงินเป็นศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงินเป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน
(2) อยู่กินต่ำกว่าฐานะ
(3) ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม
(4) ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ ไม่ใช้เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความต้องการของตนเองให้ได้
.
การอยู่กินอย่างเดือดร้อน คือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 12 อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน
.
การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุก หลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทอง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย
.
บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงิน ยังไม่ตระหนักถึงสภานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจเป็นตัวแทนของไฟแดงกระพริบได้แก่ (1) รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที (2) จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ด้วยจำนวนเงินต่ำที่สุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอมให้ได้ (3) ใช้เงินเต็มวงกู้ของบัตรเครดิต (4) ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่น มาจ่ายชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน (5) ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลายสิ่งทั้ง ๆ ที่แต่เดิมใช้เงินสด (6) ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเกินกำหนดเวลาอยู่เนืองๆ (7) ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย ๆ (8) ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ (9) หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที (10) นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ
.
สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่า กำลังกินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขแรกคือ ต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า ยกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหนทาง
.
การแก้ไขด้วยวิธีแรกนั้นยากมาก และไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือนกับไล่จับเงาตัวเอง หามาได้เท่าใดก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธี หรือใช้วิธีที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ มีเหตุมีผลมากกว่า เพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็กระทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และที่สำคัญที่สุด เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว
.
อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไข จะจ้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อนของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้ หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่า ปัญหาเริ่มจากความต้องการที่ไม่มีวันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มาสโลว์ กล่าวไว้ โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรักและมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้องการการบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อมทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
.
สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักนึกว่าการดำเนินชีวิตของผู้คนและครอบครัวกังที่ปรากฏในสื่อ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องบริโภคในลักษณะนั้นๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิต และมีค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน
.
สาเหตุที่ 3 คือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโทรศัพท์สื่อโซเชี่ยลมิเดียหลายแพลทฟอร์ม เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มีหลายครั้งที่ผู้โฆษณาพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้น หรือไปสถานที่นี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะเป็น “คนมีระดับ” จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับ และ “คนปกติ” เขาก็ปฎิบัติเช่นนั้น การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย
.
ทั้งสามสาเหตุ นำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็นเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน
.
ผู้ที่ดื่มด่ำกับการบริโภคในปัจจุบันจนลึมนึกถึงอนาคต ลืมนึกถึงความมั่นคงในชีวิตตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า มักจะนึกเอาว่า เอาไว้อีกสักพักค่อยออมเงินเพื่อสร้างอนาคตก็ได้ แต่ “สักพัก” นั้นก็ไม่มาถึงซักที พร้อมกับจมดิ่งลงไปในหนี้สินที่พอกพูนขึ้นทุกวัน สำหรับคนเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะออมได้เลย แค่มีเงินใช้จ่ายให้ตลอดเดือนได้ก็ยากเต็มทีแล้ว
.
กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ต้องมองโลกในแง่ใหม่ ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เท่ากับเปิดช่องให้เงินเป็นศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงินเป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน
(2) อยู่กินต่ำกว่าฐานะ
(3) ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม
(4) ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ ไม่ใช้เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความต้องการของตนเองให้ได้
.
การอยู่กินอย่างเดือดร้อน คือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม
0 Comments
0 Shares
124 Views
0 Reviews