• #ศีลสมบัติเป็นรุ่งอรุณแห่งอริยมรรค

    เมื่ออาทิตย์อุทัยขึ้น
    การขึ้นมาแห่งอรุณ (แสงเงินแสงทอง)
    ย่อมเป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตที่แลเห็นก่อน
    ฉันใดก็ฉันนั้น เพื่อ ความเกิดขึ้น
    แห่ง #อริยมรรคมีองค์๘
    ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
    ย่อมเป็นหลักเบื้องต้น เป็นนิมิตเบื้องต้น
    .
    จากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 224
    .
    .
    .
    #happynewyear2025
    #สวัสดีปีใหม่2568
    #ThewordoftheBuddha
    #thewordofbuddha
    #dharmaofbuddha
    #คำสอนของพระพุทธเจ้า
    #ธรรมะของพระพุทธเจ้า
    #พระสูตร #พระไตรปิฎก
    #walkontheways
    #orgabotaessence
    #orgabotaessenceproducts
    #ศีลสมบัติเป็นรุ่งอรุณแห่งอริยมรรค เมื่ออาทิตย์อุทัยขึ้น การขึ้นมาแห่งอรุณ (แสงเงินแสงทอง) ย่อมเป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตที่แลเห็นก่อน ฉันใดก็ฉันนั้น เพื่อ ความเกิดขึ้น แห่ง #อริยมรรคมีองค์๘ ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ย่อมเป็นหลักเบื้องต้น เป็นนิมิตเบื้องต้น . จากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์หน้า 224 . . . #happynewyear2025 #สวัสดีปีใหม่2568 #ThewordoftheBuddha #thewordofbuddha #dharmaofbuddha #คำสอนของพระพุทธเจ้า #ธรรมะของพระพุทธเจ้า #พระสูตร #พระไตรปิฎก #walkontheways #orgabotaessence #orgabotaessenceproducts
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 330 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนที่ฟังดีเบตวันนี้แล้วบอกว่าไม่มีประโยชน์ จะสรุปง่ายๆ ให้อ่านค่ะ ว่า สาระมีตรงไหนบ้าง รวมได้ 6 ข้อ สิ่งที่ครูณัฐสอน อ่านค่ะ 👇1. ตอนอ่านหนังสือธรรมะ อ่านหนังสืออะไรก็ได้ สำหรับคนทั่วไปที่อยากศึกษา แต่ถ้าจะเอามาสอนคนอื่น ต้องมาตรวจดูพระไตรปิฎกเสมอว่าพระสูตรนั้น มีในพระไตรปิฎกจริงไหม ถูกต้องไหมและไม่มีหนังสืออะไรใช้แทนพระไตรปิฎกได้ ——-2. ถ้าคำสอนใดไม่มีในพระไตรปิฎก แต่เป็นความเห็นของผู้สอนเอง ให้แจ้งว่า เป็นความเห็นของตน อย่าบอกว่า พระไตรปิฎกเขียนไว้ชัด ———3. ถ้าอ่านพยัญชนะผิด = อรรถ ผิด หมายความว่า เวลาเราอ่านหนังสือ หากเขียนผิดหรือเราอ่านผิด ความหมายก็ผิดตามเช่น คำว่า ทำนาย - หากเขียนผิดเป็น ทำลาย - ผิด 1 ตัว ความหมายเปลี่ยน หรืออ่านผิด เข้าใจผิด ก็ผิดไปหมดทั้งยวง ได้เช่นกัน———4.แม่มดที่กลายเป็นเปรต (ที่พระโมคคัลลานะเห็น ) คือแม่มดที่เป็นทาสยักษ์ ยักษ์ที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎกในเนื้อเรื่องที่คุยกันคือยักษ์ชั่วร้ายที่กินเด็ก ไม่ใช่ยักษ์ท้าวเวสสุวรรณ เพราะท้าวเวสสุวรรณ เป็นพระโสดาบัน 🙏———-5.เดรัจฉานวิชา ไม่ใช่แค่หมอดู แต่มีหลายวิชาชีพ ในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่า เดรัจฉานวิชา แม้กระทั่งหมอผ่าตัด หมอยา หมอสูติ และอื่นๆ ฯลฯ พระพุทธเจ้าห้ามมิให้ภิษุ ใช้เดรัจฉานวิชา เพื่อเลี้ยงชีพ ** ห้ามเฉพาะใช้ทำเพื่อเลี้ยงชีพ เพราะเดรัจฉาน แปลว่า ขวาง เดรัจฉานวิชา คือวิชาที่ขวางการไปนิพพานของภิกษุ👉แต่ฆราวาส ไม่ได้ห้าม ————-6.พระไตรปิฎกไม่ได้เข้าถึงยากอย่างที่คิด อ่านฟรีในเว็บ 84000.org ได้ฟรีนะทุกคน ใครอยากเรียนรู้ ไปตามเรียนที่เฟซครูณัฐต่อได้เลย ( ข้อสุดท้ายความเห็น ผู้เขียน ) ————กราบขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่ท่านชี้แนะ 🙏แม้การปกป้องคำสอนที่ถูกต้องด้วยใจที่รักพระไตรปิฎก จะต้องแลกกับการฝ่ากระแสคำวิพากษ์วิจารณ์ว่าหาแสงบ้าง ว่าเป็นพวกเดียวกับหมอดูบ้าง แต่สุดท้ายความไม่จริง จะแพ้ความจริงเสมอ “ เพราะความจริงคือสิ่งที่มันจะจริงตลอดไป ”ขอส่งความรัก ให้ครูณัฐค่ะ ❤️#อาจารย์ควีนมหาเลียบ
    คนที่ฟังดีเบตวันนี้แล้วบอกว่าไม่มีประโยชน์ จะสรุปง่ายๆ ให้อ่านค่ะ ว่า สาระมีตรงไหนบ้าง รวมได้ 6 ข้อ สิ่งที่ครูณัฐสอน อ่านค่ะ 👇1. ตอนอ่านหนังสือธรรมะ อ่านหนังสืออะไรก็ได้ สำหรับคนทั่วไปที่อยากศึกษา แต่ถ้าจะเอามาสอนคนอื่น ต้องมาตรวจดูพระไตรปิฎกเสมอว่าพระสูตรนั้น มีในพระไตรปิฎกจริงไหม ถูกต้องไหมและไม่มีหนังสืออะไรใช้แทนพระไตรปิฎกได้ ——-2. ถ้าคำสอนใดไม่มีในพระไตรปิฎก แต่เป็นความเห็นของผู้สอนเอง ให้แจ้งว่า เป็นความเห็นของตน อย่าบอกว่า พระไตรปิฎกเขียนไว้ชัด ———3. ถ้าอ่านพยัญชนะผิด = อรรถ ผิด หมายความว่า เวลาเราอ่านหนังสือ หากเขียนผิดหรือเราอ่านผิด ความหมายก็ผิดตามเช่น คำว่า ทำนาย - หากเขียนผิดเป็น ทำลาย - ผิด 1 ตัว ความหมายเปลี่ยน หรืออ่านผิด เข้าใจผิด ก็ผิดไปหมดทั้งยวง ได้เช่นกัน———4.แม่มดที่กลายเป็นเปรต (ที่พระโมคคัลลานะเห็น ) คือแม่มดที่เป็นทาสยักษ์ ยักษ์ที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎกในเนื้อเรื่องที่คุยกันคือยักษ์ชั่วร้ายที่กินเด็ก ไม่ใช่ยักษ์ท้าวเวสสุวรรณ เพราะท้าวเวสสุวรรณ เป็นพระโสดาบัน 🙏———-5.เดรัจฉานวิชา ไม่ใช่แค่หมอดู แต่มีหลายวิชาชีพ ในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่า เดรัจฉานวิชา แม้กระทั่งหมอผ่าตัด หมอยา หมอสูติ และอื่นๆ ฯลฯ พระพุทธเจ้าห้ามมิให้ภิษุ ใช้เดรัจฉานวิชา เพื่อเลี้ยงชีพ ** ห้ามเฉพาะใช้ทำเพื่อเลี้ยงชีพ เพราะเดรัจฉาน แปลว่า ขวาง เดรัจฉานวิชา คือวิชาที่ขวางการไปนิพพานของภิกษุ👉แต่ฆราวาส ไม่ได้ห้าม ————-6.พระไตรปิฎกไม่ได้เข้าถึงยากอย่างที่คิด อ่านฟรีในเว็บ 84000.org ได้ฟรีนะทุกคน ใครอยากเรียนรู้ ไปตามเรียนที่เฟซครูณัฐต่อได้เลย ( ข้อสุดท้ายความเห็น ผู้เขียน ) ————กราบขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่ท่านชี้แนะ 🙏แม้การปกป้องคำสอนที่ถูกต้องด้วยใจที่รักพระไตรปิฎก จะต้องแลกกับการฝ่ากระแสคำวิพากษ์วิจารณ์ว่าหาแสงบ้าง ว่าเป็นพวกเดียวกับหมอดูบ้าง แต่สุดท้ายความไม่จริง จะแพ้ความจริงเสมอ “ เพราะความจริงคือสิ่งที่มันจะจริงตลอดไป ”ขอส่งความรัก ให้ครูณัฐค่ะ ❤️#อาจารย์ควีนมหาเลียบ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 322 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตามแนวทางพระสูตรว่าด้วยญาณหยั่งรู้ ‘จุตูปปาตญาณ’ แสดงให้เห็นว่า ชีวิตของเราถูกขับเคลื่อนด้วยกองบุญและกองบาปที่สั่งสมไว้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการพบเจอคนและเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งหมดเป็นการจัดสรรของกรรม ซึ่งนำพาเราไปสู่เหตุการณ์ที่บางครั้งอาจดูเหมือนเป็นเพียงบังเอิญ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพราะการทำหน้าที่ตามผลกรรมในแต่ละขณะ

    เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การขับรถแล้วชนสัตว์หรือชนคน นั่นเป็นหน้าที่ที่เราถูกจัดสรรให้กระทำโดยไร้เจตนาในทางกรรม เพราะไม่มีเจตนาฆ่าทำให้กรรมข้อปาณาติบาตไม่เกิด แต่สิ่งนี้ยังเป็นเครื่องเตือนสติให้เราเห็นถึงการกระทำที่มาจากการสะสมกรรมเก่า หรือในบางครั้ง บุคคลอื่นอาจเข้ามาในชีวิตเพื่อให้เราได้เรียนรู้หรือสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้จากความรัก การได้รับแรงบันดาลใจจากใครบางคน หรือแม้แต่เหตุการณ์เล็กๆ อย่างการเดินชนคน ที่ทำให้เรารู้สึกไม่พอใจ

    ทุกคนและทุกเหตุการณ์ในชีวิตล้วนมีผลต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือแม้กระทั่งผู้ที่ดูเหมือนจะไม่มีค่าอะไรสำหรับเรา แต่ก็มีส่วนช่วยกำหนดเส้นทางของกรรมทั้งสิ้น การสะท้อนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในชีวิตผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการตระหนักว่า เรามีส่วนสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ให้กับคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือสำคัญแค่ไหนก็ตาม

    ดังนั้น การมีหน้าที่ในชีวิตนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยิ่งใหญ่หรือความเล็กน้อย แต่มาจากการทำหน้าที่ในแต่ละบทบาทให้ดีที่สุด โดยมีสติรู้ถึงผลกรรมของเราต่อคนอื่น เพราะเราทุกคนล้วนมีส่วนในการกำหนดเส้นทางชีวิตของกันและกัน
    ตามแนวทางพระสูตรว่าด้วยญาณหยั่งรู้ ‘จุตูปปาตญาณ’ แสดงให้เห็นว่า ชีวิตของเราถูกขับเคลื่อนด้วยกองบุญและกองบาปที่สั่งสมไว้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการพบเจอคนและเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งหมดเป็นการจัดสรรของกรรม ซึ่งนำพาเราไปสู่เหตุการณ์ที่บางครั้งอาจดูเหมือนเป็นเพียงบังเอิญ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพราะการทำหน้าที่ตามผลกรรมในแต่ละขณะ เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การขับรถแล้วชนสัตว์หรือชนคน นั่นเป็นหน้าที่ที่เราถูกจัดสรรให้กระทำโดยไร้เจตนาในทางกรรม เพราะไม่มีเจตนาฆ่าทำให้กรรมข้อปาณาติบาตไม่เกิด แต่สิ่งนี้ยังเป็นเครื่องเตือนสติให้เราเห็นถึงการกระทำที่มาจากการสะสมกรรมเก่า หรือในบางครั้ง บุคคลอื่นอาจเข้ามาในชีวิตเพื่อให้เราได้เรียนรู้หรือสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้จากความรัก การได้รับแรงบันดาลใจจากใครบางคน หรือแม้แต่เหตุการณ์เล็กๆ อย่างการเดินชนคน ที่ทำให้เรารู้สึกไม่พอใจ ทุกคนและทุกเหตุการณ์ในชีวิตล้วนมีผลต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือแม้กระทั่งผู้ที่ดูเหมือนจะไม่มีค่าอะไรสำหรับเรา แต่ก็มีส่วนช่วยกำหนดเส้นทางของกรรมทั้งสิ้น การสะท้อนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในชีวิตผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการตระหนักว่า เรามีส่วนสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ให้กับคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือสำคัญแค่ไหนก็ตาม ดังนั้น การมีหน้าที่ในชีวิตนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยิ่งใหญ่หรือความเล็กน้อย แต่มาจากการทำหน้าที่ในแต่ละบทบาทให้ดีที่สุด โดยมีสติรู้ถึงผลกรรมของเราต่อคนอื่น เพราะเราทุกคนล้วนมีส่วนในการกำหนดเส้นทางชีวิตของกันและกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 234 มุมมอง 0 รีวิว
  • ธรรมที่เป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม

    ๑. ภิกษุไม่ฟังธรรม ไม่เล่าเรียนธรรม ไม่ทรงจำธรรม โดยเคารพ

    ๒. ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ

    ๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ

    ๔. ภิกษุในธรรมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

    ๕. ภิกษุไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร

    ๖. ภิกษุไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร

    ๗. ภิกษุไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร

    ๘. ภิกษุไม่ตรึกตรองไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร

    ๙. ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและพยัญชนะ
    ที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความมีนัยไม่ดี

    ๑๐. ภิกษุเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมกระทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ

    ๑๑. ภิกษุที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง
    มาติกา ไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก

    ๑๒. ภิกษุผู้เถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง

    ๑๓. สงฆ์เป็นผู้แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน
    บริภาษกันและกัน แช่งกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง
    ธรรมที่เป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๑. ภิกษุไม่ฟังธรรม ไม่เล่าเรียนธรรม ไม่ทรงจำธรรม โดยเคารพ ๒. ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๔. ภิกษุในธรรมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ๕. ภิกษุไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ๖. ภิกษุไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ๗. ภิกษุไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ๘. ภิกษุไม่ตรึกตรองไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ๙. ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความมีนัยไม่ดี ๑๐. ภิกษุเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมกระทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ ๑๑. ภิกษุที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง มาติกา ไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก ๑๒. ภิกษุผู้เถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ๑๓. สงฆ์เป็นผู้แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน แช่งกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 106 มุมมอง 0 รีวิว
  • อานิสงส์ของการสวดกรณียเมตตสูตร
    เนื่องจากบทสวดกรณียเมตตสูตร ค่อนข้างยาว ไม่มีแบบย่อ ผู้ที่จะสวดภาวนาจะต้องมีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง เมื่อสวดแล้วจะเป็นการเจริญสติสมาธิไปในตัว เชื่อว่าผู้ที่สวดเป็นประจำจะเป็นที่รักของเหล่าเทวดา ได้รับการดูแลคุ้มครองภัย ผู้คนรักใคร่ มีใบหน้าผ่องใส นอนหลับสนิท ไม่ฝันร้าย ชีวิตพบเจอแต่สิ่งที่เป็นมงคล

    ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์โค้ชและนักฟุตบอลทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิต ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เมื่อปี 2561 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เคยเชิญชวนให้คนไทยร่วมกันสวดกรณียเมตตสูตร พร้อมทั้งศึกษาความหมายของพระสูตรบทนี้ให้กระจ่าง เพื่อส่งกำลังใจและเมตตาธรรมไปยังทุกชีวิตที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น
    อานิสงส์ของการสวดกรณียเมตตสูตร เนื่องจากบทสวดกรณียเมตตสูตร ค่อนข้างยาว ไม่มีแบบย่อ ผู้ที่จะสวดภาวนาจะต้องมีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง เมื่อสวดแล้วจะเป็นการเจริญสติสมาธิไปในตัว เชื่อว่าผู้ที่สวดเป็นประจำจะเป็นที่รักของเหล่าเทวดา ได้รับการดูแลคุ้มครองภัย ผู้คนรักใคร่ มีใบหน้าผ่องใส นอนหลับสนิท ไม่ฝันร้าย ชีวิตพบเจอแต่สิ่งที่เป็นมงคล ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์โค้ชและนักฟุตบอลทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิต ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เมื่อปี 2561 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เคยเชิญชวนให้คนไทยร่วมกันสวดกรณียเมตตสูตร พร้อมทั้งศึกษาความหมายของพระสูตรบทนี้ให้กระจ่าง เพื่อส่งกำลังใจและเมตตาธรรมไปยังทุกชีวิตที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น
    Like
    Love
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 330 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระพุทธเจ้าแบ่งดอกบัวออกเป็น 3 เหล่า!
    มีคนมาถามว่าการที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่านั้น มาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน คำถามนี้ดูเหมือนกับว่าผู้ถามจะเชื่ออย่างสนิทใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่าจริง ความเชื่อนี้ส่วนหนึ่งคงได้มาจากหลักสูตรนักธรรมชั้นโทเป็นแน่ เมื่อตอบไปว่าดอกบัวมีเพียงสามเหล่า คนถามแสดงอาการว่าเริ่มจะไม่เห็นด้วยกับคำตอบที่ได้รับ
    เมื่อเห็นอาการจึงได้เปิดพระไตรปิฎกมาอ้างว่าที่มาของดอกบัวสามเหล่านั้นมาจากพระวินัยไตรปิฎก มหาวรรค(4/9/11) ความว่า

    เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆนั้น ทรงเกิดวิตกว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นมีความลึกซึ้งยากที่คนจะเข้าใจ จนกระทั่งท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมยังมีอยู่
    ในตอนนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ความว่า

    พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี มากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ #บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ #บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ #บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว

    จึงได้รับอาราธนาท้าวสหัมบดีพรหมเพื่อที่จะแสดงธรรมแก่สรรพสัตว์

    ข้อความที่ปรากฎในพระวินัยตอนนี้ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัวสามเหล่าคือบางเหล่าจมน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ

    แต่คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลเหมือนกับดอกบัวสี่เหล่า เพราะในอีกพระสูตรหนึ่งได้แสดงว่า

    ว่าด้วยบุคคลสี่ประเภท คือ
    (1) อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแค่เมื่อท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
    (2) วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น (3) เนยยะ ผู้พอแนะนำได้
    (4) ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลสี่จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

    ต้องแยกประเด็นกันระหว่าง 'ดอกบัว3เหล่า' กับ 'บุคคล4ประเภท' และเนื้อหาในพระไตรปิฎกไม่ได้เปรียบเทียบกันแต่อย่างใด แยกกันแสดงคนละครั้ง ต่างกรรมต่างวาระกัน ส่วนการเปรียบเทียบกันนั้นมีปรากฎในอรรถกถาหลายครั้งหลายหน ดังที่แสดงในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 1 หน้าที่ 148 ได้เปรียบเทียบบุคคลสี่จำพวกกับดอกบัวสี่เหล่าความว่า

    “บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัวสี่เหล่านั้นแล
    (1) อุคฆฏิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง
    (2) วิปจิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร
    (3) เนยยะ บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร
    (4) ปทปรมะ บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้นแม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก
    อีกแห่งหนึ่งมีคำอธิบายในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 452 ความว่า “ในดอกอุบลเหล่านี้ เหล่าใดขึ้นพ้นน้ำรออยู่เหล่านั้น คอยรับสัมผัสแสงอาทิตย์จะบานในวันนี้ เหล่าใดตั้งอยู่เสมอน้ำ เหล่านั้นก็จะบานในวันพรุ่งนี้ เหล่าใดจมเหล่านั้นก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านแสดงไว้ยังไม่ขึ้นสู่บาลีก็พึงแสดง

    เหมือนกับว่า ดอกไม้สี่อย่างเหล่านั้นฉันใด บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงดอกบัวไว้สามเหล่า แต่ได้แสดงบุคคลไว้สี่จำพวก เมื่อนำมาอธิบายเปรียบเทียบกับดอกบัว พระอรรถกถาจารย์เลยอาจจะเล็งเห็นว่าดอกบัวประเภทสุดท้ายคือประเภทที่สี่ ยังไม่ได้ผุดขึ้นมาจากดิน พระพุทธเจ้าจึงมิได้ยกขึ้นมาแสดงไว้ พระอรรถกถาจารย์เลยบอกไว้จากหลักฐานที่ว่า
    ‎ดอกบัวเหล่าใดจมก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านยังไม่ยกขึ้นสู่บาลี คำว่า "ไม่ยกขึ้นสู่บาลี" หมายถึงไม่ได้แสดงในพระไตรปิฎก ดังนั้นคนประเภทสุดท้ายคือผู้ที่สอนไม่ได้ก็เหมือนกับดอกบัวที่ยังไม่ได้เกิดนั่นแล

    เพราะเหตุนี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนและแตกต่างกันออกไป

    พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
    เรียบเรียง 02/03/53

    โปรดแชร์เป็นธรรมทาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
    ‎การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    พระพุทธเจ้าแบ่งดอกบัวออกเป็น 3 เหล่า! มีคนมาถามว่าการที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่านั้น มาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน คำถามนี้ดูเหมือนกับว่าผู้ถามจะเชื่ออย่างสนิทใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่าจริง ความเชื่อนี้ส่วนหนึ่งคงได้มาจากหลักสูตรนักธรรมชั้นโทเป็นแน่ เมื่อตอบไปว่าดอกบัวมีเพียงสามเหล่า คนถามแสดงอาการว่าเริ่มจะไม่เห็นด้วยกับคำตอบที่ได้รับ เมื่อเห็นอาการจึงได้เปิดพระไตรปิฎกมาอ้างว่าที่มาของดอกบัวสามเหล่านั้นมาจากพระวินัยไตรปิฎก มหาวรรค(4/9/11) ความว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆนั้น ทรงเกิดวิตกว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นมีความลึกซึ้งยากที่คนจะเข้าใจ จนกระทั่งท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมยังมีอยู่ ในตอนนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ความว่า พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี มากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ #บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ #บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ #บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว จึงได้รับอาราธนาท้าวสหัมบดีพรหมเพื่อที่จะแสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ ข้อความที่ปรากฎในพระวินัยตอนนี้ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัวสามเหล่าคือบางเหล่าจมน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ แต่คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลเหมือนกับดอกบัวสี่เหล่า เพราะในอีกพระสูตรหนึ่งได้แสดงว่า ว่าด้วยบุคคลสี่ประเภท คือ (1) อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแค่เมื่อท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง (2) วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น (3) เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ (4) ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลสี่จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ต้องแยกประเด็นกันระหว่าง 'ดอกบัว3เหล่า' กับ 'บุคคล4ประเภท' และเนื้อหาในพระไตรปิฎกไม่ได้เปรียบเทียบกันแต่อย่างใด แยกกันแสดงคนละครั้ง ต่างกรรมต่างวาระกัน ส่วนการเปรียบเทียบกันนั้นมีปรากฎในอรรถกถาหลายครั้งหลายหน ดังที่แสดงในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 1 หน้าที่ 148 ได้เปรียบเทียบบุคคลสี่จำพวกกับดอกบัวสี่เหล่าความว่า “บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัวสี่เหล่านั้นแล (1) อุคฆฏิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง (2) วิปจิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร (3) เนยยะ บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร (4) ปทปรมะ บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้นแม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก อีกแห่งหนึ่งมีคำอธิบายในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 452 ความว่า “ในดอกอุบลเหล่านี้ เหล่าใดขึ้นพ้นน้ำรออยู่เหล่านั้น คอยรับสัมผัสแสงอาทิตย์จะบานในวันนี้ เหล่าใดตั้งอยู่เสมอน้ำ เหล่านั้นก็จะบานในวันพรุ่งนี้ เหล่าใดจมเหล่านั้นก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านแสดงไว้ยังไม่ขึ้นสู่บาลีก็พึงแสดง เหมือนกับว่า ดอกไม้สี่อย่างเหล่านั้นฉันใด บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ‎ ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงดอกบัวไว้สามเหล่า แต่ได้แสดงบุคคลไว้สี่จำพวก เมื่อนำมาอธิบายเปรียบเทียบกับดอกบัว พระอรรถกถาจารย์เลยอาจจะเล็งเห็นว่าดอกบัวประเภทสุดท้ายคือประเภทที่สี่ ยังไม่ได้ผุดขึ้นมาจากดิน พระพุทธเจ้าจึงมิได้ยกขึ้นมาแสดงไว้ พระอรรถกถาจารย์เลยบอกไว้จากหลักฐานที่ว่า ‎ดอกบัวเหล่าใดจมก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านยังไม่ยกขึ้นสู่บาลี คำว่า "ไม่ยกขึ้นสู่บาลี" หมายถึงไม่ได้แสดงในพระไตรปิฎก ดังนั้นคนประเภทสุดท้ายคือผู้ที่สอนไม่ได้ก็เหมือนกับดอกบัวที่ยังไม่ได้เกิดนั่นแล เพราะเหตุนี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนและแตกต่างกันออกไป พระมหาบุญไทย ปุญญมโน เรียบเรียง 02/03/53 โปรดแชร์เป็นธรรมทาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ‎การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 392 มุมมอง 0 รีวิว
  • มารู้จักพระสุตตันตปิฎกกัน

    เนื้อหาโดยสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
    พระสุตตันตปิฎก คือประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะสมกับบุคคล เหตุการณ์ และโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในรูปแบบหรือองค์ต่าง ๆ (มี ๙ องค์ ที่เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” เช่น สุตตะ เคยยะ) รวมถึงพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายของพระสาวกพระสาวิกาที่กล่าวตามแนวพระพุทธพจน์ในบริบทต่าง ๆ ด้วย
    พระสุตตันตปิฎกแบ่งออกเป็น ๕ หมวด เรียกว่า นิกาย คือ (๑) ทีฆนิกาย (หมวดยาว) (๒) มัชฌิมนิกาย (หมวดปานกลาง) (๓) สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหา) (๔) อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) (๕) ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) การจัดแบ่งพระสูตรเป็น ๕ นิกายนี้ ถ้าพิจารณาเนื้อหาโดยรวมของแต่ละนิกาย จะพบว่าท่านอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้
    ๑. แบ่งตามความยาวของพระสูตร คือรวบรวมพระสูตรที่มีความยาวมากไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า ทีฆนิกาย รวบรวมพระสูตรที่มีความยาวปานกลางไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า มัชฌิมนิกาย ส่วนพระสูตรที่มีขนาดความยาวน้อยกว่านั้น แยกไปจัดแบ่งไว้ในหมวดอื่นและด้วยวิธีอื่นดังจะกล่าวในข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ตามลำดับ
    ๒. แบ่งตามเนื้อหาสาระของพระสูตร คือประมวลพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระประเภทเดียวกัน จัดไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหาสาระ) เช่นประมวลเรื่องที่เกี่ยวกับพระมหากัสสปเถระเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า กัสสปสังยุต
    ๓. แบ่งตามลำดับจำนวนองค์ธรรมหรือหัวข้อธรรม คือรวบรวมพระสูตรที่มีหัวข้อธรรมเท่ากันเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) และมีชื่อกำกับหมวดย่อยว่า นิบาต มี ๑๑ นิบาต คือหมวดพระสูตรที่มีหัวข้อธรรม ๑ ข้อ เรียกว่า เอกกนิบาต ที่มี ๒ ข้อ เรียกว่า ทุกนิบาต ที่มี ๓ ข้อ เรียกว่าติกนิบาต ที่มี ๔ ข้อ เรียกว่า จตุกกนิบาต ที่มี ๕ ข้อ เรียกว่า ปัญจกนิบาต ที่มี ๖ ข้อ เรียกว่า ฉักกนิบาต ที่มี ๗ ข้อ เรียกว่า สัตตกนิบาต ที่มี ๘ ข้อ เรียกว่า อัฏฐกนิบาต ที่มี ๙ ข้อ เรียกว่า นวกนิบาต ที่มี ๑๐ ข้อ เรียกว่า ทสกนิบาต และที่มี ๑๑ ข้อ เรียกว่า เอกาทสกนิบาต
    ๔.จัดแยกพระสูตรที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้ง ๓ ข้างต้นไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) แบ่งตามหัวข้อใหญ่เป็น ๑๕ เรื่อง คือ (๑) ขุททกปาฐะ (๒) ธัมมปทะ (ธรรมบท) (๓) อุทาน (๔) อิติวุตตกะ (๕) สุตตนิบาต (๖) วิมานวัตถุ (๗) เปตวัตถุ (๘) เถรคาถา (๙) เถรีคาถา (๑๐) ชาตกะ (๑๑) นิทเทส (มหานิทเทสและจูฬนิทเทส) (๑๒) ปฏิสัมภิทามรรค (๑๓) อปทาน (๑๔) พุทธวังสะ (พุทธวงศ์) (๑๕) จริยาปิฎก นอกจากนี้ท่านยังจัดพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกเข้าไว้ในขุททกนิกายนี้ด้วย
    ๑. เนื้อหาโดยสังเขปของทีฆนิกาย
    ทีฆนิกาย มีพระสูตรขนาดยาวจำนวน ๓๔ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค (ตอน) คือ (๑) สีลขันธวรรค (๒) มหาวรรค (๓) ปาฏิกวรรค
    สีลขันธวรรค ว่าด้วยศีล และทิฏฐิ (ลัทธิ) มีจำนวน ๑๓ สูตร
    มหาวรรค ว่าด้วยเรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๖ พระองค์ มีพระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้น และพระประวัติของพระองค์เอง เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องมหาปรินิพพาน มีจำนวน ๑๐ สูตร
    ปาฏิกวรรค ว่าด้วยเรื่องนักบวชนอกพระพุทธศาสนา มีนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เป็นต้น เรื่องจักรวรรดิวัตร เรื่องมูลกำเนิดของโลก เรื่องมหาปุริสลักษณะ (ลักษณะมหาบุรุษ) เรื่องการสังคายนาพระธรรมวินัย เป็นต้น มีจำนวน ๑๑ สูตร
    ๒. เนื้อหาโดยสังเขปของมัชฌิมนิกาย
    มัชฌิมนิกาย มีพระสูตรขนาดปานกลาง จำนวน ๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ (หมวดละ ๕๐ สูตร) คือ (๑) มูลปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ต้น) (๒) มัชฌิมปัณณาสก์ (ปัณณาสก์กลาง) (๓) อุปริปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ปลาย) แต่ละปัณณาสก์ แบ่งย่อยเป็นวรรค (หมวดหรือตอน) ได้ ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร ยกเว้นวิภังควรรคของอุปริปัณณาสก์ ซึ่งท่านเพิ่มให้เป็น ๑๒ สูตร ดังนี้
    มูลปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) มูลปริยายวรรค ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมซึ่งปรากฏในมูลปริยายสูตร เป็นต้น (๒) สีหนาทวรรค ว่าด้วยการบันลือสีหนาท ดังปรากฏในจูฬสีหนาทสูตร มหาสีหนาทสูตร เป็นต้น (๓) โอปัมมวรรค ว่าด้วยข้ออุปมา เช่นอุปมาด้วยเลื่อย อุปมาด้วยอรสรพิษ ดังปรากฏในกกจูปมสูตร อลคัททูปมสูตร เป็นต้น (๔) มหายมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดใหญ่ เช่นเหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน ๒ เหตุการณ์ ดังปรากฏในจูฬโคสิงคสูตร และมหาโคสิงคสูตร เป็นต้น (๕) จูฬยมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดเล็ก เช่น การสันทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญาของบุคคล ๒ คู่ ดังปรากฏในมหาเวทัลลสูตร จูฬเวทัลลสูตร
    มัชฌิมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) คหปติวรรค ว่าด้วยคหบดี (๒) ภิกขุวรรค ว่าด้วยภิกษุ (๓) ปริพพาชกวรรค ว่าด้วยปริพาชก (๔) ราชวรรค ว่าด้วยพระราชา (๕) พราหมณวรรค ว่าด้วยพราหมณ์อุปริปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) เทวทหวรรค ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม เป็นต้น ดังปรากฏในเทวทหสูตร (๒) อนุปทวรรค ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท เป็นต้น ดังปรากฏในอนุปทสูตร (๓) สุญญตวรรค ว่าด้วยสุญญตา เป็นต้น ดังปรากฏในจูฬสุญญตสูตร และมหาสุญญตสูตร (๔) วิภังควรรค ว่าด้วยการจำแนกธรรม (๕) สฬายตนวรรค ว่าด้วยอายตนะ ๖
    ๓. เนื้อหาโดยสังเขปของสังยุตตนิกาย
    สังยุตตนิกาย มีพระสูตรที่ปรากฏจำนวน ๒,๗๕๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๗,๗๖๒ สูตร : วิ.อ. ๑/๑๗) แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ตามเนื้อหาสาระหรือรูปแบบที่เข้ากันได้กลุ่มละ ๑ วรรค คือ
    ๑. สคาถวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีรูปแบบเป็นคาถาประพันธ์ มีจำนวน ๒๗๑ สูตร จัดเป็นสังยุต (ประมวลเนื้อหาเป็นเรื่อง ๆ) ได้ ๑๑ สังยุต
    ๒. นิทานวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต้นเหตุแห่งการเกิดและการดับแห่งทุกข์ มีจำนวน ๓๓๗ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต
    ๓. ขันธวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับขันธ์ ๕ มีจำนวน ๗๑๖ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๓ สังยุต
    ๔. สฬายตนวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอายตนะ ๖ มีจำนวน ๔๒๐ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต
    ๕. มหาวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับธรรมหมวดใหญ่ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และหมวดธรรมที่เกี่ยวข้อง มีจำนวน ๑,๐๐๘ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๒ สังยุต
    ๔. เนื้อหาโดยสังเขปของอังคุตตรนิกาย
    อังคุตตรนิกายมีพระสูตรตามที่ปรากฏจำนวน ๗,๙๐๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๙,๕๕๗ สูตร : วิ.อ. ๑/๒๕) แบ่งเป็น ๑๑ นิบาต (หมวดย่อย) ดังนี้
    ๑. เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๖๑๙ สูตร แบ่งเป็น ๒๐ วรรค
    ๒. ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๗๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๕ วรรค กับ ๔ หัวข้อเปยยาล (หมวดธรรมที่แสดงไว้โดยย่อ)
    ๓. ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๓๕๓ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๖ วรรค กับ ๒ หัวข้อเปยยาล
    ๔. จตุกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๔ ประการ มี ๗๘๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๗ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
    ๕. ปัญจกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๕ ประการ มี ๑,๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๖ วรรค กับ ๓ หัวข้อเปยยาล
    ๖. ฉักกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๖ ประการ มี ๖๔๙ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
    ๗. สัตตกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๗ ประการ มี ๑,๑๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๑ ปัณณาสก์ ๕ วรรค และอีก ๕ วรรค (ไม่จัดเป็นปัณณาสก์) กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
    ๘. อักฐกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๘ ประการ มี ๖๒๖ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๐ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
    ๙. นวกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๙ ประการ มี ๔๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๙ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
    ๑๐. ทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๐ ประการ มี ๗๔๖ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
    ๑๑. เอกาทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๑ ประการ มี ๖๗๑ สูตร แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
    ๕. เนื้อหาโดยสังเขปของขุททกนิกาย
    ขุททกนิกายมีหัวข้อธรรมจำนวน ๑๕ เรื่อง ๑๕ คัมภีร์ แต่ละคัมภีร์มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้
    ๑. ขุททกปาฐะ ว่าด้วยบทสวดสั้น ๆ จำนวน ๙ บท ๙ สูตร เช่น สรณคมน์ มงคลสูตร รัตนสูตร
    ๒. ธัมมปทะ (ธรรมบท) ว่าด้วยธรรมภาษิตสั้น ๆ จำนวน ๔๒๓ บท ๔๒๗ คาถา ๓๐๕ เรื่อง แบ่งเป็นวรรคได้ ๒๖ วรรค
    ๓. อุทาน ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ทรงเปล่งออกมาด้วยกำลังปีติโสมนัส มี ๘๐ สูตร ๙๕ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๘ วรรค
    ๔. อิติวุตตกะ ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ยกมาอ้างอิง จำนวน ๑๑๒ สูตร แบ่งเป็นนิบาตได้ ๔ นิบาต ดังนี้
    ๔.๑ เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๒๗ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค
    ๔.๒ ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๑๒ สูตร ไม่แบ่งเป็นวรรค
    ๔.๓ ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๕ วรรค
    ๕. สุตตนิบาต ว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาเป็นประเภทร้อยกรอง (คาถา) และบางส่วนเป็นประเภทร้อยกรองผสมร้อยแก้ว (เคยยะ) มี ๗๐ สูตร ๑,๑๕๖ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๕ วรรค
    ๖. วิมานวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของผู้เกิดในวิมาน คือเทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลาย มี ๘๕ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ อิตถีวิมาน (วิมานของเทพธิดา) และปุริสวิมาน (วิมานของเทพบุตร) อิตถีวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค ปุริสวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค
    ๗. เปตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของเปรต มี ๕๑ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เปตวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้ชาย) และเปติวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้หญิง) ทั้ง ๒ ประเภทแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค โดยไม่ได้แยกออกจากกัน
    ๘. เถรคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถระจำนวน ๒๖๔ รูป ๒๖๔ เรื่อง ๑,๓๖๐ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๒๑ นิบาต จัดเรียงตามลำดับนิบาตที่มีคาถาน้อยไปหานิบาตที่มีคาถามาก
    ๙. เถรีคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถรีจำนวน ๗๓ รูป ๗๓ เรื่อง ๕๒๖ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๖ นิบาต
    ๑๐. ชาตกะ (ชาดก) ว่าด้วยพระประวัติในอดีตของพระผู้มีพระภาคในรูปแบบของคาถาประพันธ์ล้วน มี ๕๔๗ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ มี ๕๒๕ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๗ นิบาต ภาค ๒ มี ๒๒ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๕ นิบาต (นับต่อจากนิบาตที่ ๑๗ ในภาค ๑ เป็นนิบาตที่ ๑๘ - ๒๒)
    ๑๑. นิทเทส ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะย่อในรูปคาถาให้มีความหมายกว้างขวางดุจมหาสมุทรและมหาปฐพี แบ่งออกเป็น ๒ คัมภีร์ คือ มหานิทเทส (นิทเทสใหญ่) และจูฬนิทเทส (นิทเทสน้อย) เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร มหานิทเทสอธิบายพระพุทธวจนะในพระสูตร ๑๖ สูตร ที่ปรากฏในอัฏฐกวรรค (หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยการไม่ติดอยู่ในกาม) แห่งสุตตนิบาต (คัมภีร์ที่ ๕ ของขุททกนิกาย) มีกามสูตร เป็นต้น ส่วนจูฬนิทเทสอธิบายปัญหาของมาณพ (ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ๑๖ คน ที่ปรากฏในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาตเช่นเดียวกัน
    ๑๒. ปฏิสัมภิทามรรค ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะที่เกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา อย่างกว้างขวางยิ่ง เพื่อให้เกิดความรู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ คือ (๑) อรรถปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในอรรถ) (๒) ธรรมปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในธรรม) (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในนิรุกติหรือภาษา) (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในปฏิภาณ) มี ๓๐ เรื่อง เรียกว่า กถา แบ่งเป็น ๓ วรรค เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร
    ๑๓. อปทาน ว่าด้วยอัตชีวประวัติของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเถระและพระเถรี รวม ๖๔๓ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ ประกอบด้วยพุทธาปทาน ๑ เรื่อง ปัจเจกพุทธาปทาน ๔๑ เรื่อง และเถราปทาน (ตอนต้น) ๔๑๐ เรื่อง ภาค ๒ ประกอบด้วยเถราปทาน (ตอนปลาย) ๑๕๑ เรื่อง และเถริยาปทาน ๔๐ เรื่อง
    ๑๔. พุทธวงศ์ ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า และพระประวัติของพระพุทธเจ้าของเรา คือพระโคตมพุทธเจ้า ทรงเน้นว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์นี้
    ๑๕. จริยาปิฎก ว่าด้วยพุทธจริยาสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระองค์ มี ๓๕ เรื่อง ใน ๓๕ ชาติ แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค

    มารู้จักพระสุตตันตปิฎกกัน เนื้อหาโดยสังเขปของพระสุตตันตปิฎก พระสุตตันตปิฎก คือประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะสมกับบุคคล เหตุการณ์ และโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในรูปแบบหรือองค์ต่าง ๆ (มี ๙ องค์ ที่เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” เช่น สุตตะ เคยยะ) รวมถึงพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายของพระสาวกพระสาวิกาที่กล่าวตามแนวพระพุทธพจน์ในบริบทต่าง ๆ ด้วย พระสุตตันตปิฎกแบ่งออกเป็น ๕ หมวด เรียกว่า นิกาย คือ (๑) ทีฆนิกาย (หมวดยาว) (๒) มัชฌิมนิกาย (หมวดปานกลาง) (๓) สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหา) (๔) อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) (๕) ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) การจัดแบ่งพระสูตรเป็น ๕ นิกายนี้ ถ้าพิจารณาเนื้อหาโดยรวมของแต่ละนิกาย จะพบว่าท่านอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑. แบ่งตามความยาวของพระสูตร คือรวบรวมพระสูตรที่มีความยาวมากไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า ทีฆนิกาย รวบรวมพระสูตรที่มีความยาวปานกลางไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า มัชฌิมนิกาย ส่วนพระสูตรที่มีขนาดความยาวน้อยกว่านั้น แยกไปจัดแบ่งไว้ในหมวดอื่นและด้วยวิธีอื่นดังจะกล่าวในข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ตามลำดับ ๒. แบ่งตามเนื้อหาสาระของพระสูตร คือประมวลพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระประเภทเดียวกัน จัดไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหาสาระ) เช่นประมวลเรื่องที่เกี่ยวกับพระมหากัสสปเถระเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า กัสสปสังยุต ๓. แบ่งตามลำดับจำนวนองค์ธรรมหรือหัวข้อธรรม คือรวบรวมพระสูตรที่มีหัวข้อธรรมเท่ากันเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) และมีชื่อกำกับหมวดย่อยว่า นิบาต มี ๑๑ นิบาต คือหมวดพระสูตรที่มีหัวข้อธรรม ๑ ข้อ เรียกว่า เอกกนิบาต ที่มี ๒ ข้อ เรียกว่า ทุกนิบาต ที่มี ๓ ข้อ เรียกว่าติกนิบาต ที่มี ๔ ข้อ เรียกว่า จตุกกนิบาต ที่มี ๕ ข้อ เรียกว่า ปัญจกนิบาต ที่มี ๖ ข้อ เรียกว่า ฉักกนิบาต ที่มี ๗ ข้อ เรียกว่า สัตตกนิบาต ที่มี ๘ ข้อ เรียกว่า อัฏฐกนิบาต ที่มี ๙ ข้อ เรียกว่า นวกนิบาต ที่มี ๑๐ ข้อ เรียกว่า ทสกนิบาต และที่มี ๑๑ ข้อ เรียกว่า เอกาทสกนิบาต ๔.จัดแยกพระสูตรที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้ง ๓ ข้างต้นไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) แบ่งตามหัวข้อใหญ่เป็น ๑๕ เรื่อง คือ (๑) ขุททกปาฐะ (๒) ธัมมปทะ (ธรรมบท) (๓) อุทาน (๔) อิติวุตตกะ (๕) สุตตนิบาต (๖) วิมานวัตถุ (๗) เปตวัตถุ (๘) เถรคาถา (๙) เถรีคาถา (๑๐) ชาตกะ (๑๑) นิทเทส (มหานิทเทสและจูฬนิทเทส) (๑๒) ปฏิสัมภิทามรรค (๑๓) อปทาน (๑๔) พุทธวังสะ (พุทธวงศ์) (๑๕) จริยาปิฎก นอกจากนี้ท่านยังจัดพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกเข้าไว้ในขุททกนิกายนี้ด้วย ๑. เนื้อหาโดยสังเขปของทีฆนิกาย ทีฆนิกาย มีพระสูตรขนาดยาวจำนวน ๓๔ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค (ตอน) คือ (๑) สีลขันธวรรค (๒) มหาวรรค (๓) ปาฏิกวรรค สีลขันธวรรค ว่าด้วยศีล และทิฏฐิ (ลัทธิ) มีจำนวน ๑๓ สูตร มหาวรรค ว่าด้วยเรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๖ พระองค์ มีพระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้น และพระประวัติของพระองค์เอง เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องมหาปรินิพพาน มีจำนวน ๑๐ สูตร ปาฏิกวรรค ว่าด้วยเรื่องนักบวชนอกพระพุทธศาสนา มีนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เป็นต้น เรื่องจักรวรรดิวัตร เรื่องมูลกำเนิดของโลก เรื่องมหาปุริสลักษณะ (ลักษณะมหาบุรุษ) เรื่องการสังคายนาพระธรรมวินัย เป็นต้น มีจำนวน ๑๑ สูตร ๒. เนื้อหาโดยสังเขปของมัชฌิมนิกาย มัชฌิมนิกาย มีพระสูตรขนาดปานกลาง จำนวน ๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ (หมวดละ ๕๐ สูตร) คือ (๑) มูลปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ต้น) (๒) มัชฌิมปัณณาสก์ (ปัณณาสก์กลาง) (๓) อุปริปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ปลาย) แต่ละปัณณาสก์ แบ่งย่อยเป็นวรรค (หมวดหรือตอน) ได้ ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร ยกเว้นวิภังควรรคของอุปริปัณณาสก์ ซึ่งท่านเพิ่มให้เป็น ๑๒ สูตร ดังนี้ มูลปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) มูลปริยายวรรค ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมซึ่งปรากฏในมูลปริยายสูตร เป็นต้น (๒) สีหนาทวรรค ว่าด้วยการบันลือสีหนาท ดังปรากฏในจูฬสีหนาทสูตร มหาสีหนาทสูตร เป็นต้น (๓) โอปัมมวรรค ว่าด้วยข้ออุปมา เช่นอุปมาด้วยเลื่อย อุปมาด้วยอรสรพิษ ดังปรากฏในกกจูปมสูตร อลคัททูปมสูตร เป็นต้น (๔) มหายมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดใหญ่ เช่นเหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน ๒ เหตุการณ์ ดังปรากฏในจูฬโคสิงคสูตร และมหาโคสิงคสูตร เป็นต้น (๕) จูฬยมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดเล็ก เช่น การสันทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญาของบุคคล ๒ คู่ ดังปรากฏในมหาเวทัลลสูตร จูฬเวทัลลสูตร มัชฌิมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) คหปติวรรค ว่าด้วยคหบดี (๒) ภิกขุวรรค ว่าด้วยภิกษุ (๓) ปริพพาชกวรรค ว่าด้วยปริพาชก (๔) ราชวรรค ว่าด้วยพระราชา (๕) พราหมณวรรค ว่าด้วยพราหมณ์อุปริปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) เทวทหวรรค ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม เป็นต้น ดังปรากฏในเทวทหสูตร (๒) อนุปทวรรค ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท เป็นต้น ดังปรากฏในอนุปทสูตร (๓) สุญญตวรรค ว่าด้วยสุญญตา เป็นต้น ดังปรากฏในจูฬสุญญตสูตร และมหาสุญญตสูตร (๔) วิภังควรรค ว่าด้วยการจำแนกธรรม (๕) สฬายตนวรรค ว่าด้วยอายตนะ ๖ ๓. เนื้อหาโดยสังเขปของสังยุตตนิกาย สังยุตตนิกาย มีพระสูตรที่ปรากฏจำนวน ๒,๗๕๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๗,๗๖๒ สูตร : วิ.อ. ๑/๑๗) แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ตามเนื้อหาสาระหรือรูปแบบที่เข้ากันได้กลุ่มละ ๑ วรรค คือ ๑. สคาถวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีรูปแบบเป็นคาถาประพันธ์ มีจำนวน ๒๗๑ สูตร จัดเป็นสังยุต (ประมวลเนื้อหาเป็นเรื่อง ๆ) ได้ ๑๑ สังยุต ๒. นิทานวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต้นเหตุแห่งการเกิดและการดับแห่งทุกข์ มีจำนวน ๓๓๗ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต ๓. ขันธวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับขันธ์ ๕ มีจำนวน ๗๑๖ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๓ สังยุต ๔. สฬายตนวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอายตนะ ๖ มีจำนวน ๔๒๐ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต ๕. มหาวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับธรรมหมวดใหญ่ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และหมวดธรรมที่เกี่ยวข้อง มีจำนวน ๑,๐๐๘ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๒ สังยุต ๔. เนื้อหาโดยสังเขปของอังคุตตรนิกาย อังคุตตรนิกายมีพระสูตรตามที่ปรากฏจำนวน ๗,๙๐๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๙,๕๕๗ สูตร : วิ.อ. ๑/๒๕) แบ่งเป็น ๑๑ นิบาต (หมวดย่อย) ดังนี้ ๑. เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๖๑๙ สูตร แบ่งเป็น ๒๐ วรรค ๒. ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๗๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๕ วรรค กับ ๔ หัวข้อเปยยาล (หมวดธรรมที่แสดงไว้โดยย่อ) ๓. ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๓๕๓ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๖ วรรค กับ ๒ หัวข้อเปยยาล ๔. จตุกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๔ ประการ มี ๗๘๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๗ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๕. ปัญจกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๕ ประการ มี ๑,๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๖ วรรค กับ ๓ หัวข้อเปยยาล ๖. ฉักกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๖ ประการ มี ๖๔๙ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๗. สัตตกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๗ ประการ มี ๑,๑๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๑ ปัณณาสก์ ๕ วรรค และอีก ๕ วรรค (ไม่จัดเป็นปัณณาสก์) กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๘. อักฐกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๘ ประการ มี ๖๒๖ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๐ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๙. นวกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๙ ประการ มี ๔๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๙ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๑๐. ทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๐ ประการ มี ๗๔๖ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๑๑. เอกาทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๑ ประการ มี ๖๗๑ สูตร แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๕. เนื้อหาโดยสังเขปของขุททกนิกาย ขุททกนิกายมีหัวข้อธรรมจำนวน ๑๕ เรื่อง ๑๕ คัมภีร์ แต่ละคัมภีร์มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้ ๑. ขุททกปาฐะ ว่าด้วยบทสวดสั้น ๆ จำนวน ๙ บท ๙ สูตร เช่น สรณคมน์ มงคลสูตร รัตนสูตร ๒. ธัมมปทะ (ธรรมบท) ว่าด้วยธรรมภาษิตสั้น ๆ จำนวน ๔๒๓ บท ๔๒๗ คาถา ๓๐๕ เรื่อง แบ่งเป็นวรรคได้ ๒๖ วรรค ๓. อุทาน ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ทรงเปล่งออกมาด้วยกำลังปีติโสมนัส มี ๘๐ สูตร ๙๕ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๘ วรรค ๔. อิติวุตตกะ ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ยกมาอ้างอิง จำนวน ๑๑๒ สูตร แบ่งเป็นนิบาตได้ ๔ นิบาต ดังนี้ ๔.๑ เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๒๗ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค ๔.๒ ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๑๒ สูตร ไม่แบ่งเป็นวรรค ๔.๓ ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๕ วรรค ๕. สุตตนิบาต ว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาเป็นประเภทร้อยกรอง (คาถา) และบางส่วนเป็นประเภทร้อยกรองผสมร้อยแก้ว (เคยยะ) มี ๗๐ สูตร ๑,๑๕๖ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๕ วรรค ๖. วิมานวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของผู้เกิดในวิมาน คือเทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลาย มี ๘๕ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ อิตถีวิมาน (วิมานของเทพธิดา) และปุริสวิมาน (วิมานของเทพบุตร) อิตถีวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค ปุริสวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค ๗. เปตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของเปรต มี ๕๑ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เปตวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้ชาย) และเปติวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้หญิง) ทั้ง ๒ ประเภทแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค โดยไม่ได้แยกออกจากกัน ๘. เถรคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถระจำนวน ๒๖๔ รูป ๒๖๔ เรื่อง ๑,๓๖๐ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๒๑ นิบาต จัดเรียงตามลำดับนิบาตที่มีคาถาน้อยไปหานิบาตที่มีคาถามาก ๙. เถรีคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถรีจำนวน ๗๓ รูป ๗๓ เรื่อง ๕๒๖ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๖ นิบาต ๑๐. ชาตกะ (ชาดก) ว่าด้วยพระประวัติในอดีตของพระผู้มีพระภาคในรูปแบบของคาถาประพันธ์ล้วน มี ๕๔๗ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ มี ๕๒๕ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๗ นิบาต ภาค ๒ มี ๒๒ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๕ นิบาต (นับต่อจากนิบาตที่ ๑๗ ในภาค ๑ เป็นนิบาตที่ ๑๘ - ๒๒) ๑๑. นิทเทส ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะย่อในรูปคาถาให้มีความหมายกว้างขวางดุจมหาสมุทรและมหาปฐพี แบ่งออกเป็น ๒ คัมภีร์ คือ มหานิทเทส (นิทเทสใหญ่) และจูฬนิทเทส (นิทเทสน้อย) เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร มหานิทเทสอธิบายพระพุทธวจนะในพระสูตร ๑๖ สูตร ที่ปรากฏในอัฏฐกวรรค (หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยการไม่ติดอยู่ในกาม) แห่งสุตตนิบาต (คัมภีร์ที่ ๕ ของขุททกนิกาย) มีกามสูตร เป็นต้น ส่วนจูฬนิทเทสอธิบายปัญหาของมาณพ (ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ๑๖ คน ที่ปรากฏในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาตเช่นเดียวกัน ๑๒. ปฏิสัมภิทามรรค ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะที่เกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา อย่างกว้างขวางยิ่ง เพื่อให้เกิดความรู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ คือ (๑) อรรถปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในอรรถ) (๒) ธรรมปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในธรรม) (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในนิรุกติหรือภาษา) (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในปฏิภาณ) มี ๓๐ เรื่อง เรียกว่า กถา แบ่งเป็น ๓ วรรค เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร ๑๓. อปทาน ว่าด้วยอัตชีวประวัติของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเถระและพระเถรี รวม ๖๔๓ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ ประกอบด้วยพุทธาปทาน ๑ เรื่อง ปัจเจกพุทธาปทาน ๔๑ เรื่อง และเถราปทาน (ตอนต้น) ๔๑๐ เรื่อง ภาค ๒ ประกอบด้วยเถราปทาน (ตอนปลาย) ๑๕๑ เรื่อง และเถริยาปทาน ๔๐ เรื่อง ๑๔. พุทธวงศ์ ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า และพระประวัติของพระพุทธเจ้าของเรา คือพระโคตมพุทธเจ้า ทรงเน้นว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์นี้ ๑๕. จริยาปิฎก ว่าด้วยพุทธจริยาสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระองค์ มี ๓๕ เรื่อง ใน ๓๕ ชาติ แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 261 มุมมอง 0 รีวิว
  • บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม
    กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง

    1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘)
    มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘

    2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์
    ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ

    3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ
    ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง

    4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ
    1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล
    2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล
    3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต
    พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน
    ดังข้อความว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
    ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
    คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า

    5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ
    “ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ;
    เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.
    "พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม
    ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ
    การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์

    6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้
    ๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี
    เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
    "อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ."
    วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙.
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8

    ๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
    สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล”
    (วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.)

    วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ
    (๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช)

    7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร
    เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
    (ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.)

    8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน
    โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น
    จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ

    9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า
    “อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์
    วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20
    หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด

    10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า
    “ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
    คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก .
    ๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง
    ๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
    ๗. ไม่ชักนำในอฐานะ
    ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
    ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
    อธิบายความ
    1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
    2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา
    3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ
    4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)

    11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม

    12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ
    ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า
    “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
    เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
    “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
    (ที.มหา.10/134/78.)
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
    คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน
    ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้

    13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ
    ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต
    ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น.

    14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา
    ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย

    15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด
    การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่
    (มี ต่อ 16-18)

    อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
    บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง 1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘) มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘ 2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์ ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ 3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง 4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ 1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล 2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล 3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย” ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า 5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ “ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ; เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ. "พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์ 6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้ ๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด "อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ." วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8 ๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล” (วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.) วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ (๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช) 7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย” (ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.) 8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ 9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า “อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์ วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20 หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด 10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า “ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม; คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก . ๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง ๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ๗. ไม่ชักนำในอฐานะ ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม อธิบายความ 1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓) 2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา 3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ 4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓) 11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม 12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” (ที.มหา.10/134/78.) https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3 คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้ 13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น. 14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย 15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่ (มี ต่อ 16-18) อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 976 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภพภูมิเทวดา มีการนับภพย่อยแตกต่างกัน 386

    การนับชั้นเทวดา บางพระสูตรอาจไม่ตรงกัน (ภพย่อยแตกต่างกัน)
    เช่น เทวดารูปภพชั้น “สุภกิณหะ” ประกอบด้วย สุภกิณหะ อัปปมาณสุภา ปริตสุภา บางพระสูตรกล่าว แต่เพียง สุภกิณหะ แต่ไม่ลงรายละเอียด

    1) แผนภูมิพุทธวจน (เทวดา 15 ชั้น..ชั้นอรูป 4 ชั้นพรหม5 ชั้นกามภพ6)
    2) เวรัญชกสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๒ หน้า ๓๗๖) (เทวดา 18 ชั้น.. อรูป 4 พรหม8 กามภพ 6)
    3) สังขารูปปัตติสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๒) (เทวดา 26 ชั้น..อรูป 4 พรหม 17 กามภพ5)
    ภพภูมิเทวดา มีการนับภพย่อยแตกต่างกัน 386 การนับชั้นเทวดา บางพระสูตรอาจไม่ตรงกัน (ภพย่อยแตกต่างกัน) เช่น เทวดารูปภพชั้น “สุภกิณหะ” ประกอบด้วย สุภกิณหะ อัปปมาณสุภา ปริตสุภา บางพระสูตรกล่าว แต่เพียง สุภกิณหะ แต่ไม่ลงรายละเอียด 1) แผนภูมิพุทธวจน (เทวดา 15 ชั้น..ชั้นอรูป 4 ชั้นพรหม5 ชั้นกามภพ6) 2) เวรัญชกสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๒ หน้า ๓๗๖) (เทวดา 18 ชั้น.. อรูป 4 พรหม8 กามภพ 6) 3) สังขารูปปัตติสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๒) (เทวดา 26 ชั้น..อรูป 4 พรหม 17 กามภพ5)
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 92 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภพภูมิเทวดา มีการนับภพย่อยแตกต่างกัน 386

    การนับชั้นเทวดา บางพระสูตรอาจไม่ตรงกัน (ภพย่อยแตกต่างกัน)
    เช่น เทวดารูปภพชั้น “สุภกิณหะ” ประกอบด้วย สุภกิณหะ อัปปมาณสุภา ปริตสุภา บางพระสูตรกล่าว แต่เพียง สุภกิณหะ แต่ไม่ลงรายละเอียด

    1) แผนภูมิพุทธวจน (เทวดา 15 ชั้น..ชั้นอรูป 4 ชั้นพรหม5 ชั้นกามภพ6)
    2) เวรัญชกสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๒ หน้า ๓๗๖) (เทวดา 18 ชั้น.. อรูป 4 พรหม8 กามภพ 6)
    3) สังขารูปปัตติสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๒) (เทวดา 26 ชั้น..อรูป 4 พรหม 17 กามภพ5)


    1) แผนภูมิพุทธวจน ( เทวดา 15 ชั้น) อรูป 4 พรหม5 กามภพ6
    เทวดาชั้น อรูป (สูงสุด) มี 4 ชั้น อายุโดยประมาณ
    ชั้นที่ 4
    เนวสัญญานาสัญญายตน 84,000 กัป
    ชั้นที่ 3
    อากิญจัญญายตน 60,000 กัป
    ชั้นที่ 2
    วิญญาณัญจายตน 40,000 กัป
    ชั้นที่ 1
    อากาสานัญจายตน 20,000 กัป
    เทวดาชั้นพรหม มี 5 ชั้น พระพุทธเจ้าหายตัวมาปรากฎที่ชั้นนี้ /
    ชั้นที่ 5
    สุทธาวาส
    (ชั้นย่อย 5ชั้น) อกนิฏฐา อายุ 16,000 กัป*
    สุทัสสี อายุ 8,000 กัป *
    สุทัสสา อายุ 4,000 กัป*
    อตัปปา อายุ 2,000 กัป*
    อวิหา * อายุ 1,000 กัป*
    * อายุเทวดาสุทธาวาส ใช้วิธีเทียบเคียงจาก เวหับผละ 500 กัป - อากาสา 20,000 กัป)
    ชั้นที่ 4
    เวหับผละอายุ 500 กัป
    ชั้นที่ 3
    สุภกิณหะ
    (ชั้นย่อย 3ชั้น) สุภกิณหะ อายุ 4 กัป
    อัปปมาณสุภา
    ปริตสุภา
    ชั้นที่ 2
    อาภัสระ
    (ชั้นย่อย 4ชั้น) อาภัสรา อายุ 2 กัป
    อัปปมาณาภา
    ปริตตภา
    อาภา
    ชั้นที่ 1พรหมกายิกา (พรหมชั้นต่ำสุด) อายุ 1 กัป
    เทวดาชั้น กามภพ มี 6 ชั้น
    ชั้นที่ 6
    ปรนิมมิตสวัตดี (กามภพชั้นสูงสุด) 16,000 ปีทิพย์ (9,216 ล้านปีมนุษย์)
    ชั้นที่ 5
    นิมมานรดี 8,400 ปีทิพย์ (2,304 ล้านปีมนุษย์)
    ชั้นที่ 4
    ดุสิต 4,000 ปีทิพย์ (576 ล้านปีมนุษย์)
    ชั้นที่ 3
    ยามา 2,000 ปีทิพย์ (144 ล้านปีมนุษย์)
    ชั้นที่ 2
    ดาวดึงส์ 1,000 ปีทิพย์ (36 ล้านปีมนุษย์)
    ชั้นที่ 1
    จาตุมหาราชิกา (กามภพชั้นต่ำสุด) 500 ปีทิพย์ (9 ล้านปีมนุษย์)
    เทวดาชั้นต่ำ:ยักษ์ คนธรรพ์ ครุฑ อสูร เทวดานับเนื่องในหมู่ วลาหก เทวดาเหล่ามนาปกายิกา
    ภพภูมิเทวดา มีการนับภพย่อยแตกต่างกัน 386 การนับชั้นเทวดา บางพระสูตรอาจไม่ตรงกัน (ภพย่อยแตกต่างกัน) เช่น เทวดารูปภพชั้น “สุภกิณหะ” ประกอบด้วย สุภกิณหะ อัปปมาณสุภา ปริตสุภา บางพระสูตรกล่าว แต่เพียง สุภกิณหะ แต่ไม่ลงรายละเอียด 1) แผนภูมิพุทธวจน (เทวดา 15 ชั้น..ชั้นอรูป 4 ชั้นพรหม5 ชั้นกามภพ6) 2) เวรัญชกสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๒ หน้า ๓๗๖) (เทวดา 18 ชั้น.. อรูป 4 พรหม8 กามภพ 6) 3) สังขารูปปัตติสูตร (ฉบับหลวงเล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๒) (เทวดา 26 ชั้น..อรูป 4 พรหม 17 กามภพ5) 1) แผนภูมิพุทธวจน ( เทวดา 15 ชั้น) อรูป 4 พรหม5 กามภพ6 เทวดาชั้น อรูป (สูงสุด) มี 4 ชั้น อายุโดยประมาณ ชั้นที่ 4 เนวสัญญานาสัญญายตน 84,000 กัป ชั้นที่ 3 อากิญจัญญายตน 60,000 กัป ชั้นที่ 2 วิญญาณัญจายตน 40,000 กัป ชั้นที่ 1 อากาสานัญจายตน 20,000 กัป เทวดาชั้นพรหม มี 5 ชั้น พระพุทธเจ้าหายตัวมาปรากฎที่ชั้นนี้ / ชั้นที่ 5 สุทธาวาส (ชั้นย่อย 5ชั้น) อกนิฏฐา อายุ 16,000 กัป* สุทัสสี อายุ 8,000 กัป * สุทัสสา อายุ 4,000 กัป* อตัปปา อายุ 2,000 กัป* อวิหา * อายุ 1,000 กัป* * อายุเทวดาสุทธาวาส ใช้วิธีเทียบเคียงจาก เวหับผละ 500 กัป - อากาสา 20,000 กัป) ชั้นที่ 4 เวหับผละอายุ 500 กัป ชั้นที่ 3 สุภกิณหะ (ชั้นย่อย 3ชั้น) สุภกิณหะ อายุ 4 กัป อัปปมาณสุภา ปริตสุภา ชั้นที่ 2 อาภัสระ (ชั้นย่อย 4ชั้น) อาภัสรา อายุ 2 กัป อัปปมาณาภา ปริตตภา อาภา ชั้นที่ 1พรหมกายิกา (พรหมชั้นต่ำสุด) อายุ 1 กัป เทวดาชั้น กามภพ มี 6 ชั้น ชั้นที่ 6 ปรนิมมิตสวัตดี (กามภพชั้นสูงสุด) 16,000 ปีทิพย์ (9,216 ล้านปีมนุษย์) ชั้นที่ 5 นิมมานรดี 8,400 ปีทิพย์ (2,304 ล้านปีมนุษย์) ชั้นที่ 4 ดุสิต 4,000 ปีทิพย์ (576 ล้านปีมนุษย์) ชั้นที่ 3 ยามา 2,000 ปีทิพย์ (144 ล้านปีมนุษย์) ชั้นที่ 2 ดาวดึงส์ 1,000 ปีทิพย์ (36 ล้านปีมนุษย์) ชั้นที่ 1 จาตุมหาราชิกา (กามภพชั้นต่ำสุด) 500 ปีทิพย์ (9 ล้านปีมนุษย์) เทวดาชั้นต่ำ:ยักษ์ คนธรรพ์ ครุฑ อสูร เทวดานับเนื่องในหมู่ วลาหก เทวดาเหล่ามนาปกายิกา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 89 มุมมอง 0 รีวิว