อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง
สัทธรรมลำดับที่ : 591
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=591
ชื่อบทธรรม :- ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง
เนื้อความทั้งหมด :-
--ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง
(พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่ภิกษุชื่อเถระ
ผู้มีปกติชอบอยู่คนเดียวจนเป็นที่เล่าลือกัน ในหมู่ภิกษุ, ว่า :-
)​
--ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวอย่างของเธอ
ก็มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี ;
แต่ว่ายังมีการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์พิสดาร
กว่าชนิดของเธอ, เธอจงตั้งใจฟังให้ดี,
เราจักกล่าว.
--ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวชนิดที่บริบูรณ์พิสดารกว่าชนิดของเธอนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
+--ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวในกรณีนี้คือ
สิ่งเป็นอดีตก็ละได้แล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้น
ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน ก็นำออกแล้วหมดสิ้น.
+--ดูก่อนเถระ ! อย่างนี้แล #เป็นการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์
พิสดารกว่าการอยู่คนเดียวชนิดของเธอ.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
นรชนผู้มีปัญญาดี ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้
รู้ธรรมทั้งปวง ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งหลายทั้งสิ้น
ละอุปธิทั้งปวง หลุดพ้นพิเศษแล้วในธรรมเป็นที่ สิ้นตัณหา
นั้นเราเรียกเขาว่า ผู้มีปกติอยู่คนเดียว.
http://etipitaka.com/read/pali/16/330/?keywords=ตณฺหกฺขเย

(ข้อความที่มีปัญหายากแก่การแปลในสูตรนี้ มีอยู่ คือข้อความที่ว่า
“ปจฺจุปฺปนฺเนสุจอตฺตภาวปฏิลาเภสุ ฉนฺทราโค” ;
http://etipitaka.com/read/pali/16/330/?keywords=ฉนฺทราโค
หลังจากใคร่ครวญ ทบทวนดูแล้ว เห็นว่าต้องแปลว่า
“ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน”
หมายความว่า
ฉันทราคะ มีในอัตตภาพ ซึ่งได้แล้วมากครั้งในปัจจุบัน ไม่ใช่ฉันทราคะมีในการได้.
อัตภาพในกรณีเช่นนี้ หมายถึงภพหรือความมีความเป็นในรูปแบบหนึ่ง ๆ
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ในวิถีแห่งการปรุงแต่งทางจิต
ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทอันเกิดขึ้นทุกขณะที่มีตัณหาอันเกิดจากเวทนา
ซึ่งวันหนึ่งก็มีได้หลายครั้ง ท่านจึงใช้รูปศัพท์เป็นพหุพจน์ คือ ปฏิลาเภสุ
และจัดเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของปัจจุบัน;
ดังนั้น การไม่ข้องติดจึงมีครบชุด คือ อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ;
ผู้หลุดพ้นเสียได้ครบถ้วน เรียกว่า ผู้อยู่คนเดียวในระดับที่สมบูรณ์ ลึกซึ้งที่สุด
).
*---นิทาน. สํ. ๑๖/๓๒๙-๓๓๐/๗๑๙-๗๒๑.
http://etipitaka.com/read/pali/16/329/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%91%E0%B9%99

--กายของผู้ที่สิ้นตัณหาแล้วก็ยังตั้งอยู่ชั่วขณะ(นิโรธมิใช่ความตาย)
--ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตนี้
มีตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพถูกตถาคตถอนขึ้น เสียได้แล้ว, ดำรงอยู่.
กายนี้ยังดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ยังคงได้เห็นตถาคตนั้น อยู่เพียงนั้น.
เพราะการทำลายแห่งกาย, หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคตนั้นเลย.
http://etipitaka.com/read/pali/9/59/?keywords=ตถาคตสฺส

--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว
มะม่วงทั้งหลายเหล่าใด ที่เนื่องขั้วเดียวกัน
มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของตกตามไปด้วยกัน. นี้ฉันใด ;
--ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตก็ฉันนั้น
: กายของตถาคต มีตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพอันตถาคตถอนขึ้นเสียได้แล้ว, ดำรงอยู่.
กายนี้ดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ยังคงเห็นตถาคตอยู่ชั่วเวลาเพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย,
หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จักไม่เห็นตถาคตเลย.-
http://etipitaka.com/read/pali/9/59/?keywords=ตถาคตสฺส

#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/43/90.
http://etipitaka.com/read/thai/9/43/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๕๙/๙๐.
http://etipitaka.com/read/pali/9/59/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90
ศึกษาเพิ่มเตืม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=591
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39&id=591
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39
ลำดับสาธยายธรรม : 39 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_39.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง สัทธรรมลำดับที่ : 591 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=591 ชื่อบทธรรม :- ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เนื้อความทั้งหมด :- --ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง (พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่ภิกษุชื่อเถระ ผู้มีปกติชอบอยู่คนเดียวจนเป็นที่เล่าลือกัน ในหมู่ภิกษุ, ว่า :- )​ --ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวอย่างของเธอ ก็มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี ; แต่ว่ายังมีการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์พิสดาร กว่าชนิดของเธอ, เธอจงตั้งใจฟังให้ดี, เราจักกล่าว. --ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวชนิดที่บริบูรณ์พิสดารกว่าชนิดของเธอนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? +--ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวในกรณีนี้คือ สิ่งเป็นอดีตก็ละได้แล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้น ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน ก็นำออกแล้วหมดสิ้น. +--ดูก่อนเถระ ! อย่างนี้แล #เป็นการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์ พิสดารกว่าการอยู่คนเดียวชนิดของเธอ. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) นรชนผู้มีปัญญาดี ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้ รู้ธรรมทั้งปวง ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งหลายทั้งสิ้น ละอุปธิทั้งปวง หลุดพ้นพิเศษแล้วในธรรมเป็นที่ สิ้นตัณหา นั้นเราเรียกเขาว่า ผู้มีปกติอยู่คนเดียว. http://etipitaka.com/read/pali/16/330/?keywords=ตณฺหกฺขเย (ข้อความที่มีปัญหายากแก่การแปลในสูตรนี้ มีอยู่ คือข้อความที่ว่า “ปจฺจุปฺปนฺเนสุจอตฺตภาวปฏิลาเภสุ ฉนฺทราโค” ; http://etipitaka.com/read/pali/16/330/?keywords=ฉนฺทราโค หลังจากใคร่ครวญ ทบทวนดูแล้ว เห็นว่าต้องแปลว่า “ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน” หมายความว่า ฉันทราคะ มีในอัตตภาพ ซึ่งได้แล้วมากครั้งในปัจจุบัน ไม่ใช่ฉันทราคะมีในการได้. อัตภาพในกรณีเช่นนี้ หมายถึงภพหรือความมีความเป็นในรูปแบบหนึ่ง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ในวิถีแห่งการปรุงแต่งทางจิต ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทอันเกิดขึ้นทุกขณะที่มีตัณหาอันเกิดจากเวทนา ซึ่งวันหนึ่งก็มีได้หลายครั้ง ท่านจึงใช้รูปศัพท์เป็นพหุพจน์ คือ ปฏิลาเภสุ และจัดเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของปัจจุบัน; ดังนั้น การไม่ข้องติดจึงมีครบชุด คือ อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ; ผู้หลุดพ้นเสียได้ครบถ้วน เรียกว่า ผู้อยู่คนเดียวในระดับที่สมบูรณ์ ลึกซึ้งที่สุด ). *---นิทาน. สํ. ๑๖/๓๒๙-๓๓๐/๗๑๙-๗๒๑. http://etipitaka.com/read/pali/16/329/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%91%E0%B9%99 --กายของผู้ที่สิ้นตัณหาแล้วก็ยังตั้งอยู่ชั่วขณะ(นิโรธมิใช่ความตาย) --ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตนี้ มีตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพถูกตถาคตถอนขึ้น เสียได้แล้ว, ดำรงอยู่. กายนี้ยังดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงได้เห็นตถาคตนั้น อยู่เพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย, หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคตนั้นเลย. http://etipitaka.com/read/pali/9/59/?keywords=ตถาคตสฺส --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว มะม่วงทั้งหลายเหล่าใด ที่เนื่องขั้วเดียวกัน มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของตกตามไปด้วยกัน. นี้ฉันใด ; --ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตก็ฉันนั้น : กายของตถาคต มีตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพอันตถาคตถอนขึ้นเสียได้แล้ว, ดำรงอยู่. กายนี้ดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงเห็นตถาคตอยู่ชั่วเวลาเพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย, หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นตถาคตเลย.- http://etipitaka.com/read/pali/9/59/?keywords=ตถาคตสฺส #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/43/90. http://etipitaka.com/read/thai/9/43/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๕๙/๙๐. http://etipitaka.com/read/pali/9/59/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90 ศึกษาเพิ่มเตืม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=591 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39&id=591 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=39 ลำดับสาธยายธรรม : 39 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_39.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง
-ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง (พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่ภิกษุชื่อเถระ ผู้มีปกติชอบอยู่คนเดียวจนเป็นที่เล่าลือกัน ในหมู่ภิกษุ, ว่า :-) ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวอย่างของเธอ ก็มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี ; แต่ว่ายังมีการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์พิสดาร กว่าชนิดของเธอ, เธอจงตั้งใจฟังให้ดี, เราจักกล่าว. ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวชนิดที่บริบูรณ์พิสดารกว่าชนิดของเธอนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวในกรณีนี้คือ สิ่งเป็นอดีตก็ละได้แล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้น ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน ก็นำออกแล้วหมดสิ้น. ดูก่อนเถระ ! อย่างนี้แล เป็นการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์พิสดารกว่าการอยู่คนเดียวชนิดของเธอ. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) นรชนผู้มีปัญญาดี ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้ รู้ธรรมทั้งปวง ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งหลายทั้งสิ้น ละอุปธิทั้งปวง หลุดพ้นพิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา นั้นเราเรียกเขาว่า ผู้มีปกติอยู่คนเดียว. นิทาน. สํ. ๑๖/๓๒๙-๓๓๐/๗๑๙-๗๒๑. (ข้อความที่มีปัญหายากแก่การแปลในสูตรนี้ มีอยู่ คือข้อความที่ว่า “ปจฺจุปฺปนฺเนสุจอตฺตภาวปฏิลาเภสุ ฉนฺทราโค” ; หลังจากใคร่ครวญ ทบทวนดูแล้ว เห็นว่าต้องแปลว่า “ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน” หมายความว่า ฉันทราคะ มีในอัตตภาพ ซึ่งได้แล้วมากครั้งในปัจจุบัน ไม่ใช่ฉันทราคะมีในการได้. อัตภาพในกรณีเช่นนี้ หมายถึงภพหรือความมีความเป็นในรูปแบบหนึ่ง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ในวิถีแห่งการปรุงแต่งทางจิต ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทอันเกิดขึ้นทุกขณะที่มีตัณหาอันเกิดจากเวทนา ซึ่งวันหนึ่งก็มีได้หลายครั้ง ท่านจึงใช้รูปศัพท์เป็นพหุพจน์ คือ....ปฏิลาเภสุ และจัดเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของปัจจุบัน; ดังนั้น การไม่ข้องติดจึงมีครบชุด คืออดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ; ผู้หลุดพ้นเสียได้ครบถ้วน เรียกว่า ผู้อยู่คนเดียวในระดับที่สมบูรณ์ ลึกซึ้งที่สุด). กายของผู้ที่สิ้นตัณหาแล้วก็ยังตั้งอยู่ชั่วขณะ (นิโรธมิใช่ความตาย) ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตนี้ มีตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพถูกตถาคตถอนขึ้น เสียได้แล้ว, ดำรงอยู่. กายนี้ยังดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงได้เห็นตถาคตนั้น อยู่เพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย, หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคตนั้นเลย. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว มะม่วงทั้งหลายเหล่าใด ที่เนื่องขั้วเดียวกัน มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของตกตามไปด้วยกัน. นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตก็ฉันนั้น : กายของตถาคต มีตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพอันตถาคตถอนขึ้นเสียได้แล้ว, ดำรงอยู่. กายนี้ดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงเห็นตถาคตอยู่ชั่วเวลาเพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย, หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นตถาคตเลย.
0 Comments 0 Shares 60 Views 0 Reviews