มารู้จักพระสุตตันตปิฎกกัน

เนื้อหาโดยสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระสุตตันตปิฎก คือประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะสมกับบุคคล เหตุการณ์ และโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในรูปแบบหรือองค์ต่าง ๆ (มี ๙ องค์ ที่เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” เช่น สุตตะ เคยยะ) รวมถึงพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายของพระสาวกพระสาวิกาที่กล่าวตามแนวพระพุทธพจน์ในบริบทต่าง ๆ ด้วย
พระสุตตันตปิฎกแบ่งออกเป็น ๕ หมวด เรียกว่า นิกาย คือ (๑) ทีฆนิกาย (หมวดยาว) (๒) มัชฌิมนิกาย (หมวดปานกลาง) (๓) สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหา) (๔) อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) (๕) ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) การจัดแบ่งพระสูตรเป็น ๕ นิกายนี้ ถ้าพิจารณาเนื้อหาโดยรวมของแต่ละนิกาย จะพบว่าท่านอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้
๑. แบ่งตามความยาวของพระสูตร คือรวบรวมพระสูตรที่มีความยาวมากไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า ทีฆนิกาย รวบรวมพระสูตรที่มีความยาวปานกลางไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า มัชฌิมนิกาย ส่วนพระสูตรที่มีขนาดความยาวน้อยกว่านั้น แยกไปจัดแบ่งไว้ในหมวดอื่นและด้วยวิธีอื่นดังจะกล่าวในข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ตามลำดับ
๒. แบ่งตามเนื้อหาสาระของพระสูตร คือประมวลพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระประเภทเดียวกัน จัดไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหาสาระ) เช่นประมวลเรื่องที่เกี่ยวกับพระมหากัสสปเถระเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า กัสสปสังยุต
๓. แบ่งตามลำดับจำนวนองค์ธรรมหรือหัวข้อธรรม คือรวบรวมพระสูตรที่มีหัวข้อธรรมเท่ากันเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) และมีชื่อกำกับหมวดย่อยว่า นิบาต มี ๑๑ นิบาต คือหมวดพระสูตรที่มีหัวข้อธรรม ๑ ข้อ เรียกว่า เอกกนิบาต ที่มี ๒ ข้อ เรียกว่า ทุกนิบาต ที่มี ๓ ข้อ เรียกว่าติกนิบาต ที่มี ๔ ข้อ เรียกว่า จตุกกนิบาต ที่มี ๕ ข้อ เรียกว่า ปัญจกนิบาต ที่มี ๖ ข้อ เรียกว่า ฉักกนิบาต ที่มี ๗ ข้อ เรียกว่า สัตตกนิบาต ที่มี ๘ ข้อ เรียกว่า อัฏฐกนิบาต ที่มี ๙ ข้อ เรียกว่า นวกนิบาต ที่มี ๑๐ ข้อ เรียกว่า ทสกนิบาต และที่มี ๑๑ ข้อ เรียกว่า เอกาทสกนิบาต
๔.จัดแยกพระสูตรที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้ง ๓ ข้างต้นไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) แบ่งตามหัวข้อใหญ่เป็น ๑๕ เรื่อง คือ (๑) ขุททกปาฐะ (๒) ธัมมปทะ (ธรรมบท) (๓) อุทาน (๔) อิติวุตตกะ (๕) สุตตนิบาต (๖) วิมานวัตถุ (๗) เปตวัตถุ (๘) เถรคาถา (๙) เถรีคาถา (๑๐) ชาตกะ (๑๑) นิทเทส (มหานิทเทสและจูฬนิทเทส) (๑๒) ปฏิสัมภิทามรรค (๑๓) อปทาน (๑๔) พุทธวังสะ (พุทธวงศ์) (๑๕) จริยาปิฎก นอกจากนี้ท่านยังจัดพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกเข้าไว้ในขุททกนิกายนี้ด้วย
๑. เนื้อหาโดยสังเขปของทีฆนิกาย
ทีฆนิกาย มีพระสูตรขนาดยาวจำนวน ๓๔ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค (ตอน) คือ (๑) สีลขันธวรรค (๒) มหาวรรค (๓) ปาฏิกวรรค
สีลขันธวรรค ว่าด้วยศีล และทิฏฐิ (ลัทธิ) มีจำนวน ๑๓ สูตร
มหาวรรค ว่าด้วยเรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๖ พระองค์ มีพระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้น และพระประวัติของพระองค์เอง เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องมหาปรินิพพาน มีจำนวน ๑๐ สูตร
ปาฏิกวรรค ว่าด้วยเรื่องนักบวชนอกพระพุทธศาสนา มีนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เป็นต้น เรื่องจักรวรรดิวัตร เรื่องมูลกำเนิดของโลก เรื่องมหาปุริสลักษณะ (ลักษณะมหาบุรุษ) เรื่องการสังคายนาพระธรรมวินัย เป็นต้น มีจำนวน ๑๑ สูตร
๒. เนื้อหาโดยสังเขปของมัชฌิมนิกาย
มัชฌิมนิกาย มีพระสูตรขนาดปานกลาง จำนวน ๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ (หมวดละ ๕๐ สูตร) คือ (๑) มูลปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ต้น) (๒) มัชฌิมปัณณาสก์ (ปัณณาสก์กลาง) (๓) อุปริปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ปลาย) แต่ละปัณณาสก์ แบ่งย่อยเป็นวรรค (หมวดหรือตอน) ได้ ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร ยกเว้นวิภังควรรคของอุปริปัณณาสก์ ซึ่งท่านเพิ่มให้เป็น ๑๒ สูตร ดังนี้
มูลปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) มูลปริยายวรรค ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมซึ่งปรากฏในมูลปริยายสูตร เป็นต้น (๒) สีหนาทวรรค ว่าด้วยการบันลือสีหนาท ดังปรากฏในจูฬสีหนาทสูตร มหาสีหนาทสูตร เป็นต้น (๓) โอปัมมวรรค ว่าด้วยข้ออุปมา เช่นอุปมาด้วยเลื่อย อุปมาด้วยอรสรพิษ ดังปรากฏในกกจูปมสูตร อลคัททูปมสูตร เป็นต้น (๔) มหายมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดใหญ่ เช่นเหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน ๒ เหตุการณ์ ดังปรากฏในจูฬโคสิงคสูตร และมหาโคสิงคสูตร เป็นต้น (๕) จูฬยมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดเล็ก เช่น การสันทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญาของบุคคล ๒ คู่ ดังปรากฏในมหาเวทัลลสูตร จูฬเวทัลลสูตร
มัชฌิมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) คหปติวรรค ว่าด้วยคหบดี (๒) ภิกขุวรรค ว่าด้วยภิกษุ (๓) ปริพพาชกวรรค ว่าด้วยปริพาชก (๔) ราชวรรค ว่าด้วยพระราชา (๕) พราหมณวรรค ว่าด้วยพราหมณ์อุปริปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) เทวทหวรรค ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม เป็นต้น ดังปรากฏในเทวทหสูตร (๒) อนุปทวรรค ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท เป็นต้น ดังปรากฏในอนุปทสูตร (๓) สุญญตวรรค ว่าด้วยสุญญตา เป็นต้น ดังปรากฏในจูฬสุญญตสูตร และมหาสุญญตสูตร (๔) วิภังควรรค ว่าด้วยการจำแนกธรรม (๕) สฬายตนวรรค ว่าด้วยอายตนะ ๖
๓. เนื้อหาโดยสังเขปของสังยุตตนิกาย
สังยุตตนิกาย มีพระสูตรที่ปรากฏจำนวน ๒,๗๕๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๗,๗๖๒ สูตร : วิ.อ. ๑/๑๗) แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ตามเนื้อหาสาระหรือรูปแบบที่เข้ากันได้กลุ่มละ ๑ วรรค คือ
๑. สคาถวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีรูปแบบเป็นคาถาประพันธ์ มีจำนวน ๒๗๑ สูตร จัดเป็นสังยุต (ประมวลเนื้อหาเป็นเรื่อง ๆ) ได้ ๑๑ สังยุต
๒. นิทานวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต้นเหตุแห่งการเกิดและการดับแห่งทุกข์ มีจำนวน ๓๓๗ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต
๓. ขันธวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับขันธ์ ๕ มีจำนวน ๗๑๖ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๓ สังยุต
๔. สฬายตนวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอายตนะ ๖ มีจำนวน ๔๒๐ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต
๕. มหาวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับธรรมหมวดใหญ่ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และหมวดธรรมที่เกี่ยวข้อง มีจำนวน ๑,๐๐๘ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๒ สังยุต
๔. เนื้อหาโดยสังเขปของอังคุตตรนิกาย
อังคุตตรนิกายมีพระสูตรตามที่ปรากฏจำนวน ๗,๙๐๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๙,๕๕๗ สูตร : วิ.อ. ๑/๒๕) แบ่งเป็น ๑๑ นิบาต (หมวดย่อย) ดังนี้
๑. เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๖๑๙ สูตร แบ่งเป็น ๒๐ วรรค
๒. ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๗๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๕ วรรค กับ ๔ หัวข้อเปยยาล (หมวดธรรมที่แสดงไว้โดยย่อ)
๓. ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๓๕๓ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๖ วรรค กับ ๒ หัวข้อเปยยาล
๔. จตุกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๔ ประการ มี ๗๘๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๗ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
๕. ปัญจกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๕ ประการ มี ๑,๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๖ วรรค กับ ๓ หัวข้อเปยยาล
๖. ฉักกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๖ ประการ มี ๖๔๙ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
๗. สัตตกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๗ ประการ มี ๑,๑๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๑ ปัณณาสก์ ๕ วรรค และอีก ๕ วรรค (ไม่จัดเป็นปัณณาสก์) กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
๘. อักฐกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๘ ประการ มี ๖๒๖ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๐ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
๙. นวกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๙ ประการ มี ๔๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๙ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
๑๐. ทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๐ ประการ มี ๗๔๖ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
๑๑. เอกาทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๑ ประการ มี ๖๗๑ สูตร แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล
๕. เนื้อหาโดยสังเขปของขุททกนิกาย
ขุททกนิกายมีหัวข้อธรรมจำนวน ๑๕ เรื่อง ๑๕ คัมภีร์ แต่ละคัมภีร์มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้
๑. ขุททกปาฐะ ว่าด้วยบทสวดสั้น ๆ จำนวน ๙ บท ๙ สูตร เช่น สรณคมน์ มงคลสูตร รัตนสูตร
๒. ธัมมปทะ (ธรรมบท) ว่าด้วยธรรมภาษิตสั้น ๆ จำนวน ๔๒๓ บท ๔๒๗ คาถา ๓๐๕ เรื่อง แบ่งเป็นวรรคได้ ๒๖ วรรค
๓. อุทาน ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ทรงเปล่งออกมาด้วยกำลังปีติโสมนัส มี ๘๐ สูตร ๙๕ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๘ วรรค
๔. อิติวุตตกะ ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ยกมาอ้างอิง จำนวน ๑๑๒ สูตร แบ่งเป็นนิบาตได้ ๔ นิบาต ดังนี้
๔.๑ เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๒๗ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค
๔.๒ ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๑๒ สูตร ไม่แบ่งเป็นวรรค
๔.๓ ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๕ วรรค
๕. สุตตนิบาต ว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาเป็นประเภทร้อยกรอง (คาถา) และบางส่วนเป็นประเภทร้อยกรองผสมร้อยแก้ว (เคยยะ) มี ๗๐ สูตร ๑,๑๕๖ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๕ วรรค
๖. วิมานวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของผู้เกิดในวิมาน คือเทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลาย มี ๘๕ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ อิตถีวิมาน (วิมานของเทพธิดา) และปุริสวิมาน (วิมานของเทพบุตร) อิตถีวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค ปุริสวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค
๗. เปตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของเปรต มี ๕๑ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เปตวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้ชาย) และเปติวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้หญิง) ทั้ง ๒ ประเภทแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค โดยไม่ได้แยกออกจากกัน
๘. เถรคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถระจำนวน ๒๖๔ รูป ๒๖๔ เรื่อง ๑,๓๖๐ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๒๑ นิบาต จัดเรียงตามลำดับนิบาตที่มีคาถาน้อยไปหานิบาตที่มีคาถามาก
๙. เถรีคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถรีจำนวน ๗๓ รูป ๗๓ เรื่อง ๕๒๖ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๖ นิบาต
๑๐. ชาตกะ (ชาดก) ว่าด้วยพระประวัติในอดีตของพระผู้มีพระภาคในรูปแบบของคาถาประพันธ์ล้วน มี ๕๔๗ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ มี ๕๒๕ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๗ นิบาต ภาค ๒ มี ๒๒ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๕ นิบาต (นับต่อจากนิบาตที่ ๑๗ ในภาค ๑ เป็นนิบาตที่ ๑๘ - ๒๒)
๑๑. นิทเทส ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะย่อในรูปคาถาให้มีความหมายกว้างขวางดุจมหาสมุทรและมหาปฐพี แบ่งออกเป็น ๒ คัมภีร์ คือ มหานิทเทส (นิทเทสใหญ่) และจูฬนิทเทส (นิทเทสน้อย) เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร มหานิทเทสอธิบายพระพุทธวจนะในพระสูตร ๑๖ สูตร ที่ปรากฏในอัฏฐกวรรค (หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยการไม่ติดอยู่ในกาม) แห่งสุตตนิบาต (คัมภีร์ที่ ๕ ของขุททกนิกาย) มีกามสูตร เป็นต้น ส่วนจูฬนิทเทสอธิบายปัญหาของมาณพ (ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ๑๖ คน ที่ปรากฏในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาตเช่นเดียวกัน
๑๒. ปฏิสัมภิทามรรค ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะที่เกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา อย่างกว้างขวางยิ่ง เพื่อให้เกิดความรู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ คือ (๑) อรรถปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในอรรถ) (๒) ธรรมปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในธรรม) (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในนิรุกติหรือภาษา) (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในปฏิภาณ) มี ๓๐ เรื่อง เรียกว่า กถา แบ่งเป็น ๓ วรรค เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร
๑๓. อปทาน ว่าด้วยอัตชีวประวัติของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเถระและพระเถรี รวม ๖๔๓ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ ประกอบด้วยพุทธาปทาน ๑ เรื่อง ปัจเจกพุทธาปทาน ๔๑ เรื่อง และเถราปทาน (ตอนต้น) ๔๑๐ เรื่อง ภาค ๒ ประกอบด้วยเถราปทาน (ตอนปลาย) ๑๕๑ เรื่อง และเถริยาปทาน ๔๐ เรื่อง
๑๔. พุทธวงศ์ ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า และพระประวัติของพระพุทธเจ้าของเรา คือพระโคตมพุทธเจ้า ทรงเน้นว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์นี้
๑๕. จริยาปิฎก ว่าด้วยพุทธจริยาสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระองค์ มี ๓๕ เรื่อง ใน ๓๕ ชาติ แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค

มารู้จักพระสุตตันตปิฎกกัน เนื้อหาโดยสังเขปของพระสุตตันตปิฎก พระสุตตันตปิฎก คือประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะสมกับบุคคล เหตุการณ์ และโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในรูปแบบหรือองค์ต่าง ๆ (มี ๙ องค์ ที่เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” เช่น สุตตะ เคยยะ) รวมถึงพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยายของพระสาวกพระสาวิกาที่กล่าวตามแนวพระพุทธพจน์ในบริบทต่าง ๆ ด้วย พระสุตตันตปิฎกแบ่งออกเป็น ๕ หมวด เรียกว่า นิกาย คือ (๑) ทีฆนิกาย (หมวดยาว) (๒) มัชฌิมนิกาย (หมวดปานกลาง) (๓) สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหา) (๔) อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) (๕) ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) การจัดแบ่งพระสูตรเป็น ๕ นิกายนี้ ถ้าพิจารณาเนื้อหาโดยรวมของแต่ละนิกาย จะพบว่าท่านอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑. แบ่งตามความยาวของพระสูตร คือรวบรวมพระสูตรที่มีความยาวมากไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า ทีฆนิกาย รวบรวมพระสูตรที่มีความยาวปานกลางไว้เป็นหมวดหนึ่ง เรียกว่า มัชฌิมนิกาย ส่วนพระสูตรที่มีขนาดความยาวน้อยกว่านั้น แยกไปจัดแบ่งไว้ในหมวดอื่นและด้วยวิธีอื่นดังจะกล่าวในข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ตามลำดับ ๒. แบ่งตามเนื้อหาสาระของพระสูตร คือประมวลพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระประเภทเดียวกัน จัดไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหาสาระ) เช่นประมวลเรื่องที่เกี่ยวกับพระมหากัสสปเถระเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า กัสสปสังยุต ๓. แบ่งตามลำดับจำนวนองค์ธรรมหรือหัวข้อธรรม คือรวบรวมพระสูตรที่มีหัวข้อธรรมเท่ากันเข้าไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์) และมีชื่อกำกับหมวดย่อยว่า นิบาต มี ๑๑ นิบาต คือหมวดพระสูตรที่มีหัวข้อธรรม ๑ ข้อ เรียกว่า เอกกนิบาต ที่มี ๒ ข้อ เรียกว่า ทุกนิบาต ที่มี ๓ ข้อ เรียกว่าติกนิบาต ที่มี ๔ ข้อ เรียกว่า จตุกกนิบาต ที่มี ๕ ข้อ เรียกว่า ปัญจกนิบาต ที่มี ๖ ข้อ เรียกว่า ฉักกนิบาต ที่มี ๗ ข้อ เรียกว่า สัตตกนิบาต ที่มี ๘ ข้อ เรียกว่า อัฏฐกนิบาต ที่มี ๙ ข้อ เรียกว่า นวกนิบาต ที่มี ๑๐ ข้อ เรียกว่า ทสกนิบาต และที่มี ๑๑ ข้อ เรียกว่า เอกาทสกนิบาต ๔.จัดแยกพระสูตรที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้ง ๓ ข้างต้นไว้เป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย) แบ่งตามหัวข้อใหญ่เป็น ๑๕ เรื่อง คือ (๑) ขุททกปาฐะ (๒) ธัมมปทะ (ธรรมบท) (๓) อุทาน (๔) อิติวุตตกะ (๕) สุตตนิบาต (๖) วิมานวัตถุ (๗) เปตวัตถุ (๘) เถรคาถา (๙) เถรีคาถา (๑๐) ชาตกะ (๑๑) นิทเทส (มหานิทเทสและจูฬนิทเทส) (๑๒) ปฏิสัมภิทามรรค (๑๓) อปทาน (๑๔) พุทธวังสะ (พุทธวงศ์) (๑๕) จริยาปิฎก นอกจากนี้ท่านยังจัดพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกเข้าไว้ในขุททกนิกายนี้ด้วย ๑. เนื้อหาโดยสังเขปของทีฆนิกาย ทีฆนิกาย มีพระสูตรขนาดยาวจำนวน ๓๔ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค (ตอน) คือ (๑) สีลขันธวรรค (๒) มหาวรรค (๓) ปาฏิกวรรค สีลขันธวรรค ว่าด้วยศีล และทิฏฐิ (ลัทธิ) มีจำนวน ๑๓ สูตร มหาวรรค ว่าด้วยเรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๖ พระองค์ มีพระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้น และพระประวัติของพระองค์เอง เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องมหาปรินิพพาน มีจำนวน ๑๐ สูตร ปาฏิกวรรค ว่าด้วยเรื่องนักบวชนอกพระพุทธศาสนา มีนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เป็นต้น เรื่องจักรวรรดิวัตร เรื่องมูลกำเนิดของโลก เรื่องมหาปุริสลักษณะ (ลักษณะมหาบุรุษ) เรื่องการสังคายนาพระธรรมวินัย เป็นต้น มีจำนวน ๑๑ สูตร ๒. เนื้อหาโดยสังเขปของมัชฌิมนิกาย มัชฌิมนิกาย มีพระสูตรขนาดปานกลาง จำนวน ๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ (หมวดละ ๕๐ สูตร) คือ (๑) มูลปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ต้น) (๒) มัชฌิมปัณณาสก์ (ปัณณาสก์กลาง) (๓) อุปริปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ปลาย) แต่ละปัณณาสก์ แบ่งย่อยเป็นวรรค (หมวดหรือตอน) ได้ ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร ยกเว้นวิภังควรรคของอุปริปัณณาสก์ ซึ่งท่านเพิ่มให้เป็น ๑๒ สูตร ดังนี้ มูลปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) มูลปริยายวรรค ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมซึ่งปรากฏในมูลปริยายสูตร เป็นต้น (๒) สีหนาทวรรค ว่าด้วยการบันลือสีหนาท ดังปรากฏในจูฬสีหนาทสูตร มหาสีหนาทสูตร เป็นต้น (๓) โอปัมมวรรค ว่าด้วยข้ออุปมา เช่นอุปมาด้วยเลื่อย อุปมาด้วยอรสรพิษ ดังปรากฏในกกจูปมสูตร อลคัททูปมสูตร เป็นต้น (๔) มหายมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดใหญ่ เช่นเหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน ๒ เหตุการณ์ ดังปรากฏในจูฬโคสิงคสูตร และมหาโคสิงคสูตร เป็นต้น (๕) จูฬยมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดเล็ก เช่น การสันทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญาของบุคคล ๒ คู่ ดังปรากฏในมหาเวทัลลสูตร จูฬเวทัลลสูตร มัชฌิมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) คหปติวรรค ว่าด้วยคหบดี (๒) ภิกขุวรรค ว่าด้วยภิกษุ (๓) ปริพพาชกวรรค ว่าด้วยปริพาชก (๔) ราชวรรค ว่าด้วยพระราชา (๕) พราหมณวรรค ว่าด้วยพราหมณ์อุปริปัณณาสก์ มี ๕ วรรค คือ (๑) เทวทหวรรค ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม เป็นต้น ดังปรากฏในเทวทหสูตร (๒) อนุปทวรรค ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท เป็นต้น ดังปรากฏในอนุปทสูตร (๓) สุญญตวรรค ว่าด้วยสุญญตา เป็นต้น ดังปรากฏในจูฬสุญญตสูตร และมหาสุญญตสูตร (๔) วิภังควรรค ว่าด้วยการจำแนกธรรม (๕) สฬายตนวรรค ว่าด้วยอายตนะ ๖ ๓. เนื้อหาโดยสังเขปของสังยุตตนิกาย สังยุตตนิกาย มีพระสูตรที่ปรากฏจำนวน ๒,๗๕๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๗,๗๖๒ สูตร : วิ.อ. ๑/๑๗) แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ตามเนื้อหาสาระหรือรูปแบบที่เข้ากันได้กลุ่มละ ๑ วรรค คือ ๑. สคาถวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีรูปแบบเป็นคาถาประพันธ์ มีจำนวน ๒๗๑ สูตร จัดเป็นสังยุต (ประมวลเนื้อหาเป็นเรื่อง ๆ) ได้ ๑๑ สังยุต ๒. นิทานวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต้นเหตุแห่งการเกิดและการดับแห่งทุกข์ มีจำนวน ๓๓๗ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต ๓. ขันธวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับขันธ์ ๕ มีจำนวน ๗๑๖ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๓ สังยุต ๔. สฬายตนวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอายตนะ ๖ มีจำนวน ๔๒๐ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๐ สังยุต ๕. มหาวารวรรค คือกลุ่มพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับธรรมหมวดใหญ่ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และหมวดธรรมที่เกี่ยวข้อง มีจำนวน ๑,๐๐๘ สูตร จัดเป็นสังยุตได้ ๑๒ สังยุต ๔. เนื้อหาโดยสังเขปของอังคุตตรนิกาย อังคุตตรนิกายมีพระสูตรตามที่ปรากฏจำนวน ๗,๙๐๒ สูตร (อรรถกถาพระวินัยว่ามี ๙,๕๕๗ สูตร : วิ.อ. ๑/๒๕) แบ่งเป็น ๑๑ นิบาต (หมวดย่อย) ดังนี้ ๑. เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๖๑๙ สูตร แบ่งเป็น ๒๐ วรรค ๒. ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๗๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๕ วรรค กับ ๔ หัวข้อเปยยาล (หมวดธรรมที่แสดงไว้โดยย่อ) ๓. ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๓๕๓ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ ๑๖ วรรค กับ ๒ หัวข้อเปยยาล ๔. จตุกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๔ ประการ มี ๗๘๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๗ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๕. ปัญจกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๕ ประการ มี ๑,๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๖ วรรค กับ ๓ หัวข้อเปยยาล ๖. ฉักกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๖ ประการ มี ๖๔๙ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๗. สัตตกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๗ ประการ มี ๑,๑๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๑ ปัณณาสก์ ๕ วรรค และอีก ๕ วรรค (ไม่จัดเป็นปัณณาสก์) กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๘. อักฐกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๘ ประการ มี ๖๒๖ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๐ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๙. นวกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๙ ประการ มี ๔๓๒ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๙ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๑๐. ทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๐ ประการ มี ๗๔๖ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๒ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๑๑. เอกาทสกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑๑ ประการ มี ๖๗๑ สูตร แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค กับ ๑ หัวข้อเปยยาล ๕. เนื้อหาโดยสังเขปของขุททกนิกาย ขุททกนิกายมีหัวข้อธรรมจำนวน ๑๕ เรื่อง ๑๕ คัมภีร์ แต่ละคัมภีร์มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้ ๑. ขุททกปาฐะ ว่าด้วยบทสวดสั้น ๆ จำนวน ๙ บท ๙ สูตร เช่น สรณคมน์ มงคลสูตร รัตนสูตร ๒. ธัมมปทะ (ธรรมบท) ว่าด้วยธรรมภาษิตสั้น ๆ จำนวน ๔๒๓ บท ๔๒๗ คาถา ๓๐๕ เรื่อง แบ่งเป็นวรรคได้ ๒๖ วรรค ๓. อุทาน ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ทรงเปล่งออกมาด้วยกำลังปีติโสมนัส มี ๘๐ สูตร ๙๕ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๘ วรรค ๔. อิติวุตตกะ ว่าด้วยพระพุทธพจน์ที่ยกมาอ้างอิง จำนวน ๑๑๒ สูตร แบ่งเป็นนิบาตได้ ๔ นิบาต ดังนี้ ๔.๑ เอกกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๑ ประการ มี ๒๗ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค ๔.๒ ทุกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๒ ประการ มี ๑๒ สูตร ไม่แบ่งเป็นวรรค ๔.๓ ติกนิบาต หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยหัวข้อธรรม สูตรละ ๓ ประการ มี ๕๐ สูตร แบ่งเป็น ๕ วรรค ๕. สุตตนิบาต ว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาเป็นประเภทร้อยกรอง (คาถา) และบางส่วนเป็นประเภทร้อยกรองผสมร้อยแก้ว (เคยยะ) มี ๗๐ สูตร ๑,๑๕๖ คาถา แบ่งเป็นวรรคได้ ๕ วรรค ๖. วิมานวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของผู้เกิดในวิมาน คือเทพบุตรและเทพธิดาทั้งหลาย มี ๘๕ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ อิตถีวิมาน (วิมานของเทพธิดา) และปุริสวิมาน (วิมานของเทพบุตร) อิตถีวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค ปุริสวิมานแบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค ๗. เปตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องหรือประวัติของเปรต มี ๕๑ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เปตวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้ชาย) และเปติวัตถุ (เรื่องของเปรตผู้หญิง) ทั้ง ๒ ประเภทแบ่งเป็นวรรคได้ ๔ วรรค โดยไม่ได้แยกออกจากกัน ๘. เถรคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถระจำนวน ๒๖๔ รูป ๒๖๔ เรื่อง ๑,๓๖๐ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๒๑ นิบาต จัดเรียงตามลำดับนิบาตที่มีคาถาน้อยไปหานิบาตที่มีคาถามาก ๙. เถรีคาถา ว่าด้วยคาถาหรือคำภาษิตของพระเถรีจำนวน ๗๓ รูป ๗๓ เรื่อง ๕๒๖ คาถา แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๖ นิบาต ๑๐. ชาตกะ (ชาดก) ว่าด้วยพระประวัติในอดีตของพระผู้มีพระภาคในรูปแบบของคาถาประพันธ์ล้วน มี ๕๔๗ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ มี ๕๒๕ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๑๗ นิบาต ภาค ๒ มี ๒๒ เรื่อง แบ่งเป็นนิบาตได้ ๕ นิบาต (นับต่อจากนิบาตที่ ๑๗ ในภาค ๑ เป็นนิบาตที่ ๑๘ - ๒๒) ๑๑. นิทเทส ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะย่อในรูปคาถาให้มีความหมายกว้างขวางดุจมหาสมุทรและมหาปฐพี แบ่งออกเป็น ๒ คัมภีร์ คือ มหานิทเทส (นิทเทสใหญ่) และจูฬนิทเทส (นิทเทสน้อย) เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร มหานิทเทสอธิบายพระพุทธวจนะในพระสูตร ๑๖ สูตร ที่ปรากฏในอัฏฐกวรรค (หมวดพระสูตรที่ว่าด้วยการไม่ติดอยู่ในกาม) แห่งสุตตนิบาต (คัมภีร์ที่ ๕ ของขุททกนิกาย) มีกามสูตร เป็นต้น ส่วนจูฬนิทเทสอธิบายปัญหาของมาณพ (ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ๑๖ คน ที่ปรากฏในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาตเช่นเดียวกัน ๑๒. ปฏิสัมภิทามรรค ว่าด้วยการอธิบายขยายความพระพุทธวจนะที่เกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา อย่างกว้างขวางยิ่ง เพื่อให้เกิดความรู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ คือ (๑) อรรถปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในอรรถ) (๒) ธรรมปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในธรรม) (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในนิรุกติหรือภาษา) (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ความรู้แตกฉานในปฏิภาณ) มี ๓๐ เรื่อง เรียกว่า กถา แบ่งเป็น ๓ วรรค เป็นผลงานของท่านพระสารีบุตร ๑๓. อปทาน ว่าด้วยอัตชีวประวัติของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเถระและพระเถรี รวม ๖๔๓ เรื่อง แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ ประกอบด้วยพุทธาปทาน ๑ เรื่อง ปัจเจกพุทธาปทาน ๔๑ เรื่อง และเถราปทาน (ตอนต้น) ๔๑๐ เรื่อง ภาค ๒ ประกอบด้วยเถราปทาน (ตอนปลาย) ๑๕๑ เรื่อง และเถริยาปทาน ๔๐ เรื่อง ๑๔. พุทธวงศ์ ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า และพระประวัติของพระพุทธเจ้าของเรา คือพระโคตมพุทธเจ้า ทรงเน้นว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์นี้ ๑๕. จริยาปิฎก ว่าด้วยพุทธจริยาสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระองค์ มี ๓๕ เรื่อง ใน ๓๕ ชาติ แบ่งเป็นวรรคได้ ๓ วรรค
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 117 มุมมอง 0 รีวิว