อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา
เมื่อไม่นานมานี้เกิดกรณีดราม่าที่มีละครซีรี่ย์เรื่อง “แม่หยัว” ของช่อง ONE 31 ได้ถ่ายทำฉากใน EP.5 ที่มี "แมวดำ" กินน้ำผสมยาพิษ หลังจากนั้นแมวตัวดังกล่าว มีอาการชักกระตุกหลายครั้ง ขย้อนอาหารออกจากปาก ตาเบิกโพลง มีลักษณะเกร็งตัวและนอนแน่นิ่งไป
โดยการถ่ายทำฉากดังกล่าว เป็นการใช้แมวจริงที่ถูกวางยาสลบ โดยนาย สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้กำกับการแสดง ได้ออกมาชี้แจงใน Facebook ของตนในภายหลังว่า เป็นการถ่ายทำที่มีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแลอย่างดีในทุกขั้นตอน แต่ทว่าภาพที่สื่อออกมากลับสะท้อนถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ ซึ่งเข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์อย่างชัดเจน กรณีนี้ก่อให้เกิดกระแสในสังคมออนไลน์เรียกร้องให้บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์แสดงความรับผิดชอบ และเกิดการเคลื่อนไหวให้ "แบน" ละครดังกล่าวในวงกว้าง
การนำสัตว์เข้าฉากเพื่อแสดงความเจ็บปวดหรือการวางยาสลบจริง ๆ ไม่เพียงแต่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรมและความเห็นใจต่อสัตว์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของสังคมในด้านการปฏิบัติต่อสัตว์ในวงการบันเทิง กรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สะท้อนถึงความละเลยและขาดมาตรฐานด้านจริยธรรมและการดูแลสัตว์ในกระบวนการผลิตของสื่อบันเทิงไทย โดยเฉพาะเมื่อละครดังกล่าวออกอากาศในวงกว้างและมีผู้ชมหลายกลุ่มอายุรวมไปถึงเยาวชน ย่อมส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อวงการบันเทิงไทยโดยรวม และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในหมู่เยาวชน
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำที่ถือเป็นการทารุณสัตว์ทุกประเภท โดยเฉพาะกรณีการทำร้ายสัตว์จนเกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. นี้ ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร" การทำให้สัตว์ทุกข์ทรมานหรือเจ็บปวดจนเสียชีวิตหรือได้รับความเสียหาย “อย่างไม่จำเป็น” ถือว่าเข้าข่ายการทารุณกรรม กรณีของการวางยาสลบสัตว์จริงโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ จึงถือเป็นความไม่จำเป็นและอาจเข้าข่ายเป็นการการละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เมื่อพิจารณาจากถ้อยคำของนายสันต์ ผู้กำกับการแสดง จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ว่าคือใคร ใช่สัตว์แพทย์หรือไม่ และเจ้าของที่ว่าคือเจ้าของจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ผู้ควบคุมและเลี้ยงดูสัตว์เหล่านั้นไว้เพียงเพื่อประโยชน์ทางการค้า และแมวตัวที่นำมากล่าวอ้างว่าปัจจุบันสุขกายสบายดีนั้น แท้จริงแล้วใช่แมวตัวเดียวกันกับที่ถ่ายทำหรือไม่ จะพิสูจน์อย่างไร และกรณีแมวดำเป็นกรณีแรกหรือไม่ หรือว่ามีกรณีอื่นๆก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงแต่ไม่เคยถูกตรวจสอบ และจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าที่ผ่านมา มีการทารุณกรรมสัตว์ในการถ่ายทำ จนกลายเป็นปกติประเพณีไปแล้ว ประชาชนตั้งคำถามและประชาชน.......ต้องการคำตอบ
แม้ตัวบทกฎหมายจะกล่าวเอาไว้ว่า “ผู้ใดกล่าวหา ผู้นั้นพิสูจน์” แต่ในกรณีนี้ คงไม่ใช่การเดินหมากที่ฉลาดนักของผู้บริหารช่องฯรวมไปถึงกลุ่มคนที่มีส่วนร่วม และควรต้องรีบชี้แจ้งข้อเท็จจริงโดยละเอียดให้เร็วที่สุด เพื่อแสดงความโปร่งใส และควรบอกแต่ความจริงเท่านั้น
ดังนั้น การชี้แจ้งและกล่าวเพียงคำขอโทษผ่าน Instragram ของช่อง one31thailand เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จึงไม่แสดงถึงความจริงใจ ไม่เพียงพอและไม่ได้สัดส่วนต่อสิ่งที่ได้กระทำขึ้น
คำถามสำคัญที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคบคิดต่อไปก็คือ แม้เราจะมีกฎหมาย แต่กฎหมายกลับไม่ได้กำหนดมาตรการการควบคุมที่เฉพาะเจาะจงในกรณีที่มีการใช้สัตว์ในงานบันเทิง เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายและบทลงโทษในต่างประเทศ พบว่าในต่างประเทศมีกฎหมายที่คุ้มครองสัตว์เข้มงวดกว่าประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมาย Animal Welfare Act (AWA) ที่มีการกำหนดมาตรฐานสูงในการใช้สัตว์ในงานบันเทิง โดยกำหนดให้ต้องมีการขอใบอนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดทุกขั้นตอน รวมถึงการมีองค์กรอย่าง American Humane Association (AHA) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้สัตว์ในวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะ หากพบว่ามีการละเมิด อาจถูกปรับเป็นเงินจำนวนมากและอาจถูกห้ามไม่ให้ใช้สัตว์ในสื่อบันเทิงอีกต่อไป
หรืออย่างในประเทษอังกฤษ มี The Animal Welfare Act 2006 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมการดูแลสัตว์ในวงการบันเทิง โดยห้ามการใช้วิธีการที่ทำให้สัตว์เจ็บปวดโดยไม่จำเป็น และหากพบการกระทำที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี รวมถึงปรับเงินตามความร้ายแรงของกรณี ดังนั้น เมื่อเทียบกับบทลงโทษของไทย ยังถือว่าเบากว่าต่างประเทศหลายเท่านัก
สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์และป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ดังนั้น ในการแก้ปัญหาการใช้สัตว์อย่างไม่เหมาะสม กรมปศุสัตว์ควรพิจารณามาตรการ เช่น การจัดทำมาตรฐานแนวทางการใช้สัตว์ในสื่อบันเทิง ควรจัดทำคู่มือและข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับการใช้สัตว์ในการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร และสื่อบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ การตรวจสอบสุขภาพสัตว์ก่อนและหลัง และการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ปลอดภัยตลอดกระบวนการถ่ายทำ โดยอาจนำตัวอย่างแนวทางจากต่างประเทศ เช่น American Humane Association ของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้
กรมปศุสัตว์ควรเสนอให้เพิ่มบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมสัตว์ โดยเพิ่มค่าปรับหรือโทษจำคุกที่หนักขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อเกิดความยับยั้งชั่งใจและมีความรับผิดชอบในการใช้สัตว์ อีกทั้งควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและติดตามผลหลังจากที่มีการลงโทษเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ และควรร่วมมือกับองค์กรที่มีประสบการณ์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ เช่น มูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการติดตามและตรวจสอบการใช้สัตว์ในวงการบันเทิง
จากใจแม่ที่มีลูกเป็นหมาสองตัว อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้น เรื่องนี้กรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง........ต้องไปให้สุดซอย ! ส่วนเราในฐานะภาคประชาชน ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบในแบบที่เราถนัดต่อไป คือ การค้นหาความจริง และ การจับโกหก
เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (อ.สนธิ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน กล่าวไว้)
นักศึกษากฎหมายระบายทุกข์
ที่มา :
Thai PBS
Instagram : one31thailand
The Animal Welfare Act (AWA) 1966
The Animal Welfare Act 2006
The American Humane Association
พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 20
เมื่อไม่นานมานี้เกิดกรณีดราม่าที่มีละครซีรี่ย์เรื่อง “แม่หยัว” ของช่อง ONE 31 ได้ถ่ายทำฉากใน EP.5 ที่มี "แมวดำ" กินน้ำผสมยาพิษ หลังจากนั้นแมวตัวดังกล่าว มีอาการชักกระตุกหลายครั้ง ขย้อนอาหารออกจากปาก ตาเบิกโพลง มีลักษณะเกร็งตัวและนอนแน่นิ่งไป
โดยการถ่ายทำฉากดังกล่าว เป็นการใช้แมวจริงที่ถูกวางยาสลบ โดยนาย สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้กำกับการแสดง ได้ออกมาชี้แจงใน Facebook ของตนในภายหลังว่า เป็นการถ่ายทำที่มีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแลอย่างดีในทุกขั้นตอน แต่ทว่าภาพที่สื่อออกมากลับสะท้อนถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ ซึ่งเข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์อย่างชัดเจน กรณีนี้ก่อให้เกิดกระแสในสังคมออนไลน์เรียกร้องให้บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์แสดงความรับผิดชอบ และเกิดการเคลื่อนไหวให้ "แบน" ละครดังกล่าวในวงกว้าง
การนำสัตว์เข้าฉากเพื่อแสดงความเจ็บปวดหรือการวางยาสลบจริง ๆ ไม่เพียงแต่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรมและความเห็นใจต่อสัตว์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของสังคมในด้านการปฏิบัติต่อสัตว์ในวงการบันเทิง กรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สะท้อนถึงความละเลยและขาดมาตรฐานด้านจริยธรรมและการดูแลสัตว์ในกระบวนการผลิตของสื่อบันเทิงไทย โดยเฉพาะเมื่อละครดังกล่าวออกอากาศในวงกว้างและมีผู้ชมหลายกลุ่มอายุรวมไปถึงเยาวชน ย่อมส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อวงการบันเทิงไทยโดยรวม และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในหมู่เยาวชน
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำที่ถือเป็นการทารุณสัตว์ทุกประเภท โดยเฉพาะกรณีการทำร้ายสัตว์จนเกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. นี้ ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร" การทำให้สัตว์ทุกข์ทรมานหรือเจ็บปวดจนเสียชีวิตหรือได้รับความเสียหาย “อย่างไม่จำเป็น” ถือว่าเข้าข่ายการทารุณกรรม กรณีของการวางยาสลบสัตว์จริงโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ จึงถือเป็นความไม่จำเป็นและอาจเข้าข่ายเป็นการการละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เมื่อพิจารณาจากถ้อยคำของนายสันต์ ผู้กำกับการแสดง จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ว่าคือใคร ใช่สัตว์แพทย์หรือไม่ และเจ้าของที่ว่าคือเจ้าของจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ผู้ควบคุมและเลี้ยงดูสัตว์เหล่านั้นไว้เพียงเพื่อประโยชน์ทางการค้า และแมวตัวที่นำมากล่าวอ้างว่าปัจจุบันสุขกายสบายดีนั้น แท้จริงแล้วใช่แมวตัวเดียวกันกับที่ถ่ายทำหรือไม่ จะพิสูจน์อย่างไร และกรณีแมวดำเป็นกรณีแรกหรือไม่ หรือว่ามีกรณีอื่นๆก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงแต่ไม่เคยถูกตรวจสอบ และจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าที่ผ่านมา มีการทารุณกรรมสัตว์ในการถ่ายทำ จนกลายเป็นปกติประเพณีไปแล้ว ประชาชนตั้งคำถามและประชาชน.......ต้องการคำตอบ
แม้ตัวบทกฎหมายจะกล่าวเอาไว้ว่า “ผู้ใดกล่าวหา ผู้นั้นพิสูจน์” แต่ในกรณีนี้ คงไม่ใช่การเดินหมากที่ฉลาดนักของผู้บริหารช่องฯรวมไปถึงกลุ่มคนที่มีส่วนร่วม และควรต้องรีบชี้แจ้งข้อเท็จจริงโดยละเอียดให้เร็วที่สุด เพื่อแสดงความโปร่งใส และควรบอกแต่ความจริงเท่านั้น
ดังนั้น การชี้แจ้งและกล่าวเพียงคำขอโทษผ่าน Instragram ของช่อง one31thailand เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จึงไม่แสดงถึงความจริงใจ ไม่เพียงพอและไม่ได้สัดส่วนต่อสิ่งที่ได้กระทำขึ้น
คำถามสำคัญที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคบคิดต่อไปก็คือ แม้เราจะมีกฎหมาย แต่กฎหมายกลับไม่ได้กำหนดมาตรการการควบคุมที่เฉพาะเจาะจงในกรณีที่มีการใช้สัตว์ในงานบันเทิง เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายและบทลงโทษในต่างประเทศ พบว่าในต่างประเทศมีกฎหมายที่คุ้มครองสัตว์เข้มงวดกว่าประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมาย Animal Welfare Act (AWA) ที่มีการกำหนดมาตรฐานสูงในการใช้สัตว์ในงานบันเทิง โดยกำหนดให้ต้องมีการขอใบอนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดทุกขั้นตอน รวมถึงการมีองค์กรอย่าง American Humane Association (AHA) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้สัตว์ในวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะ หากพบว่ามีการละเมิด อาจถูกปรับเป็นเงินจำนวนมากและอาจถูกห้ามไม่ให้ใช้สัตว์ในสื่อบันเทิงอีกต่อไป
หรืออย่างในประเทษอังกฤษ มี The Animal Welfare Act 2006 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมการดูแลสัตว์ในวงการบันเทิง โดยห้ามการใช้วิธีการที่ทำให้สัตว์เจ็บปวดโดยไม่จำเป็น และหากพบการกระทำที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี รวมถึงปรับเงินตามความร้ายแรงของกรณี ดังนั้น เมื่อเทียบกับบทลงโทษของไทย ยังถือว่าเบากว่าต่างประเทศหลายเท่านัก
สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์และป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ดังนั้น ในการแก้ปัญหาการใช้สัตว์อย่างไม่เหมาะสม กรมปศุสัตว์ควรพิจารณามาตรการ เช่น การจัดทำมาตรฐานแนวทางการใช้สัตว์ในสื่อบันเทิง ควรจัดทำคู่มือและข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับการใช้สัตว์ในการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร และสื่อบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ การตรวจสอบสุขภาพสัตว์ก่อนและหลัง และการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ปลอดภัยตลอดกระบวนการถ่ายทำ โดยอาจนำตัวอย่างแนวทางจากต่างประเทศ เช่น American Humane Association ของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้
กรมปศุสัตว์ควรเสนอให้เพิ่มบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมสัตว์ โดยเพิ่มค่าปรับหรือโทษจำคุกที่หนักขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อเกิดความยับยั้งชั่งใจและมีความรับผิดชอบในการใช้สัตว์ อีกทั้งควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและติดตามผลหลังจากที่มีการลงโทษเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ และควรร่วมมือกับองค์กรที่มีประสบการณ์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ เช่น มูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการติดตามและตรวจสอบการใช้สัตว์ในวงการบันเทิง
จากใจแม่ที่มีลูกเป็นหมาสองตัว อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้น เรื่องนี้กรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง........ต้องไปให้สุดซอย ! ส่วนเราในฐานะภาคประชาชน ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบในแบบที่เราถนัดต่อไป คือ การค้นหาความจริง และ การจับโกหก
เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (อ.สนธิ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน กล่าวไว้)
นักศึกษากฎหมายระบายทุกข์
ที่มา :
Thai PBS
Instagram : one31thailand
The Animal Welfare Act (AWA) 1966
The Animal Welfare Act 2006
The American Humane Association
พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 20
อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา
เมื่อไม่นานมานี้เกิดกรณีดราม่าที่มีละครซีรี่ย์เรื่อง “แม่หยัว” ของช่อง ONE 31 ได้ถ่ายทำฉากใน EP.5 ที่มี "แมวดำ" กินน้ำผสมยาพิษ หลังจากนั้นแมวตัวดังกล่าว มีอาการชักกระตุกหลายครั้ง ขย้อนอาหารออกจากปาก ตาเบิกโพลง มีลักษณะเกร็งตัวและนอนแน่นิ่งไป
โดยการถ่ายทำฉากดังกล่าว เป็นการใช้แมวจริงที่ถูกวางยาสลบ โดยนาย สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้กำกับการแสดง ได้ออกมาชี้แจงใน Facebook ของตนในภายหลังว่า เป็นการถ่ายทำที่มีผู้เชี่ยวชาญควบคุมดูแลอย่างดีในทุกขั้นตอน แต่ทว่าภาพที่สื่อออกมากลับสะท้อนถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ ซึ่งเข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์อย่างชัดเจน กรณีนี้ก่อให้เกิดกระแสในสังคมออนไลน์เรียกร้องให้บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์แสดงความรับผิดชอบ และเกิดการเคลื่อนไหวให้ "แบน" ละครดังกล่าวในวงกว้าง
การนำสัตว์เข้าฉากเพื่อแสดงความเจ็บปวดหรือการวางยาสลบจริง ๆ ไม่เพียงแต่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรมและความเห็นใจต่อสัตว์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของสังคมในด้านการปฏิบัติต่อสัตว์ในวงการบันเทิง กรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สะท้อนถึงความละเลยและขาดมาตรฐานด้านจริยธรรมและการดูแลสัตว์ในกระบวนการผลิตของสื่อบันเทิงไทย โดยเฉพาะเมื่อละครดังกล่าวออกอากาศในวงกว้างและมีผู้ชมหลายกลุ่มอายุรวมไปถึงเยาวชน ย่อมส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อวงการบันเทิงไทยโดยรวม และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในหมู่เยาวชน
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำที่ถือเป็นการทารุณสัตว์ทุกประเภท โดยเฉพาะกรณีการทำร้ายสัตว์จนเกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ. นี้ ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร" การทำให้สัตว์ทุกข์ทรมานหรือเจ็บปวดจนเสียชีวิตหรือได้รับความเสียหาย “อย่างไม่จำเป็น” ถือว่าเข้าข่ายการทารุณกรรม กรณีของการวางยาสลบสัตว์จริงโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ จึงถือเป็นความไม่จำเป็นและอาจเข้าข่ายเป็นการการละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เมื่อพิจารณาจากถ้อยคำของนายสันต์ ผู้กำกับการแสดง จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ว่าคือใคร ใช่สัตว์แพทย์หรือไม่ และเจ้าของที่ว่าคือเจ้าของจริงที่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ผู้ควบคุมและเลี้ยงดูสัตว์เหล่านั้นไว้เพียงเพื่อประโยชน์ทางการค้า และแมวตัวที่นำมากล่าวอ้างว่าปัจจุบันสุขกายสบายดีนั้น แท้จริงแล้วใช่แมวตัวเดียวกันกับที่ถ่ายทำหรือไม่ จะพิสูจน์อย่างไร และกรณีแมวดำเป็นกรณีแรกหรือไม่ หรือว่ามีกรณีอื่นๆก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงแต่ไม่เคยถูกตรวจสอบ และจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าที่ผ่านมา มีการทารุณกรรมสัตว์ในการถ่ายทำ จนกลายเป็นปกติประเพณีไปแล้ว ประชาชนตั้งคำถามและประชาชน.......ต้องการคำตอบ
แม้ตัวบทกฎหมายจะกล่าวเอาไว้ว่า “ผู้ใดกล่าวหา ผู้นั้นพิสูจน์” แต่ในกรณีนี้ คงไม่ใช่การเดินหมากที่ฉลาดนักของผู้บริหารช่องฯรวมไปถึงกลุ่มคนที่มีส่วนร่วม และควรต้องรีบชี้แจ้งข้อเท็จจริงโดยละเอียดให้เร็วที่สุด เพื่อแสดงความโปร่งใส และควรบอกแต่ความจริงเท่านั้น
ดังนั้น การชี้แจ้งและกล่าวเพียงคำขอโทษผ่าน Instragram ของช่อง one31thailand เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา จึงไม่แสดงถึงความจริงใจ ไม่เพียงพอและไม่ได้สัดส่วนต่อสิ่งที่ได้กระทำขึ้น
คำถามสำคัญที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันคบคิดต่อไปก็คือ แม้เราจะมีกฎหมาย แต่กฎหมายกลับไม่ได้กำหนดมาตรการการควบคุมที่เฉพาะเจาะจงในกรณีที่มีการใช้สัตว์ในงานบันเทิง เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายและบทลงโทษในต่างประเทศ พบว่าในต่างประเทศมีกฎหมายที่คุ้มครองสัตว์เข้มงวดกว่าประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมาย Animal Welfare Act (AWA) ที่มีการกำหนดมาตรฐานสูงในการใช้สัตว์ในงานบันเทิง โดยกำหนดให้ต้องมีการขอใบอนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดทุกขั้นตอน รวมถึงการมีองค์กรอย่าง American Humane Association (AHA) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้สัตว์ในวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะ หากพบว่ามีการละเมิด อาจถูกปรับเป็นเงินจำนวนมากและอาจถูกห้ามไม่ให้ใช้สัตว์ในสื่อบันเทิงอีกต่อไป
หรืออย่างในประเทษอังกฤษ มี The Animal Welfare Act 2006 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมการดูแลสัตว์ในวงการบันเทิง โดยห้ามการใช้วิธีการที่ทำให้สัตว์เจ็บปวดโดยไม่จำเป็น และหากพบการกระทำที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี รวมถึงปรับเงินตามความร้ายแรงของกรณี ดังนั้น เมื่อเทียบกับบทลงโทษของไทย ยังถือว่าเบากว่าต่างประเทศหลายเท่านัก
สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์และป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ดังนั้น ในการแก้ปัญหาการใช้สัตว์อย่างไม่เหมาะสม กรมปศุสัตว์ควรพิจารณามาตรการ เช่น การจัดทำมาตรฐานแนวทางการใช้สัตว์ในสื่อบันเทิง ควรจัดทำคู่มือและข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับการใช้สัตว์ในการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร และสื่อบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ การตรวจสอบสุขภาพสัตว์ก่อนและหลัง และการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ปลอดภัยตลอดกระบวนการถ่ายทำ โดยอาจนำตัวอย่างแนวทางจากต่างประเทศ เช่น American Humane Association ของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้
กรมปศุสัตว์ควรเสนอให้เพิ่มบทลงโทษสำหรับการทารุณกรรมสัตว์ โดยเพิ่มค่าปรับหรือโทษจำคุกที่หนักขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อเกิดความยับยั้งชั่งใจและมีความรับผิดชอบในการใช้สัตว์ อีกทั้งควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและติดตามผลหลังจากที่มีการลงโทษเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ และควรร่วมมือกับองค์กรที่มีประสบการณ์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ เช่น มูลนิธิต่างๆ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการติดตามและตรวจสอบการใช้สัตว์ในวงการบันเทิง
จากใจแม่ที่มีลูกเป็นหมาสองตัว อย่าปล่อยให้การทารุณสัตว์ในสื่อบันเทิงไทย....กลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้น เรื่องนี้กรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง........ต้องไปให้สุดซอย ! ส่วนเราในฐานะภาคประชาชน ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบในแบบที่เราถนัดต่อไป คือ การค้นหาความจริง และ การจับโกหก
เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (อ.สนธิ และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน กล่าวไว้)
นักศึกษากฎหมายระบายทุกข์
ที่มา :
Thai PBS
Instagram : one31thailand
The Animal Welfare Act (AWA) 1966
The Animal Welfare Act 2006
The American Humane Association
พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 20
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
145 มุมมอง
0 รีวิว