• ในหลวง-พระราชินี ทรงห่วงใยกำลังพล-ราษฎรบาดเจ็บชายแดน ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์
    https://www.thai-tai.tv/news/20518/
    .
    #ในหลวง #พระราชินี #พระบรมราชานุเคราะห์ #ชายแดนไทยกัมพูชา #อุบลราชธานี #ทหารบาดเจ็บ #ราษฎรบาดเจ็บ #ทุ่นระเบิด #พระมหากรุณาธิคุณ #โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
    ในหลวง-พระราชินี ทรงห่วงใยกำลังพล-ราษฎรบาดเจ็บชายแดน ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ https://www.thai-tai.tv/news/20518/ . #ในหลวง #พระราชินี #พระบรมราชานุเคราะห์ #ชายแดนไทยกัมพูชา #อุบลราชธานี #ทหารบาดเจ็บ #ราษฎรบาดเจ็บ #ทุ่นระเบิด #พระมหากรุณาธิคุณ #โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 46 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดย...วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาหลายครั้ง ทรงพบว่าประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลมีความทุกข์ยากอันเนื่องมาจากขาดโอกาสทางการศึกษาและความยากลำบากในการเข้ารับการศึกษาของเด็กชาวกัมพูชา ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับปัญหาในประเทศไทย จึงมีพระราชดำริพระราชทานความช่วยเหลือแก่กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาและการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมราชองครักษ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสนองพระราชดำริ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งคณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานในราชอาณาจักรกัมพูชา และทรงรับเป็นประธานโครงการ

    รัฐบาลกัมพูชาโดยฮุนเซน นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณ และยินดีรับสนองพระราชดำริอย่างเต็มที่ และน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 45 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลซ็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม สำหรับเป็นพื้นที่ก่อสร้างวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

    วันที่ 17 พ.ค. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2544 ต่อมามีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกจำนวนมากและขยายพื้นที่ออกไปอีก 72 ไร่ รวมเป็น 117 ไร่ การก่อสร้างทั้งหมดเสร็จสิ้นในเดือน เม.ย. 2548

    วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เปิดสอนทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ปัจจุบันมีนักเรียนรวมประมาณ 1,200 คน โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนกัมพูชามีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น ดังพระราชดำรัสในพิธีเปิดวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ณ จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2548 ความตอนหนึ่งว่า

    “... ข้าพเจ้ามาศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศกัมพูชาหลายครั้งทุกครั้งที่มารัฐบาลแห่งประเทศกัมพูชา อีกทั้งประชาชนชาวกัมพูชาต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดียิ่ง สะท้อนให้เห็นความเป็นมิตรที่ดีต่อกันมานาน ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจไมตรีของรัฐบาลและประชาชนกัมพูชา และมีใจปรารถนาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการสนองตอบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีสิ่งใดดีไปกว่าการส่งเสริมการศึกษา เพื่อให้เยาวชนมีความรู้และมีอนาคต จึงได้คิดโครงการสร้างสถานศึกษาขึ้น ณที่นี้ เมื่อเริ่มต้นโครงการก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่าย จากทั้งสองประเทศ และผู้มีจิตศรัทธาร่วมช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก... วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลนี้ จะเป็นเสมือนอนุสรณ์แห่งสายสัมพันธ์อันมั่นคงและยั่งยืนระหว่างเราสองประเทศสืบไปตราบนานเท่านาน ...”

    นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาของวิทยาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนแก่นักเรียนเพื่อให้มาศึกษาต่อในประเทศไทยในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อนำความรู้กลับไปสอนและพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานเครื่องดนตรีปี่พาทย์ครบชุด และพระราชทานทรัพย์สำหรับจ้างครูท้องถิ่นผู้ชำนาญการสอนนาฏศิลป์และดนตรี

    ต่อมาในปี 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในพระราชฐานะทูตสันถวไมตรีขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร่วมมือกับราชอาณาจักรกัมพูชา ทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนใน 3 จังหวัด คือโรงเรียนประถมศึกษาดอมเบย (Domber Primary School) ในจังหวัดกำปงจาม (Kampong Cham Province) โรงเรียนประถมศึกษาทมปุง (Tompung Primary School) ในจังหวัดกำปงสะปือ (Kampong Speu Province) และโรงเรียนประถมศึกษาปุนเลย (Ponlei Primary School) ในจังหวัดเปรแวง (Prey Veng Province) ที่มีกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานขนาดเล็ก พัฒนาแหล่งน้ำประจำโรงเรียน การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งการพัฒนาอนามัยส่วนบุคคลและสุขาภิบาล การดำเนินงานโครงการครอบคลุมเด็กนักเรียน 2,348 คน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนและชุมชนอื่นๆ ต่อไป

    โดย...วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาหลายครั้ง ทรงพบว่าประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลมีความทุกข์ยากอันเนื่องมาจากขาดโอกาสทางการศึกษาและความยากลำบากในการเข้ารับการศึกษาของเด็กชาวกัมพูชา ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับปัญหาในประเทศไทย จึงมีพระราชดำริพระราชทานความช่วยเหลือแก่กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาและการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมราชองครักษ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสนองพระราชดำริ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งคณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานในราชอาณาจักรกัมพูชา และทรงรับเป็นประธานโครงการ รัฐบาลกัมพูชาโดยฮุนเซน นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณ และยินดีรับสนองพระราชดำริอย่างเต็มที่ และน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 45 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลซ็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม สำหรับเป็นพื้นที่ก่อสร้างวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล วันที่ 17 พ.ค. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2544 ต่อมามีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกจำนวนมากและขยายพื้นที่ออกไปอีก 72 ไร่ รวมเป็น 117 ไร่ การก่อสร้างทั้งหมดเสร็จสิ้นในเดือน เม.ย. 2548 วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เปิดสอนทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ปัจจุบันมีนักเรียนรวมประมาณ 1,200 คน โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนกัมพูชามีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น ดังพระราชดำรัสในพิธีเปิดวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ณ จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2548 ความตอนหนึ่งว่า “... ข้าพเจ้ามาศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศกัมพูชาหลายครั้งทุกครั้งที่มารัฐบาลแห่งประเทศกัมพูชา อีกทั้งประชาชนชาวกัมพูชาต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดียิ่ง สะท้อนให้เห็นความเป็นมิตรที่ดีต่อกันมานาน ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจไมตรีของรัฐบาลและประชาชนกัมพูชา และมีใจปรารถนาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการสนองตอบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีสิ่งใดดีไปกว่าการส่งเสริมการศึกษา เพื่อให้เยาวชนมีความรู้และมีอนาคต จึงได้คิดโครงการสร้างสถานศึกษาขึ้น ณที่นี้ เมื่อเริ่มต้นโครงการก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่าย จากทั้งสองประเทศ และผู้มีจิตศรัทธาร่วมช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก... วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลนี้ จะเป็นเสมือนอนุสรณ์แห่งสายสัมพันธ์อันมั่นคงและยั่งยืนระหว่างเราสองประเทศสืบไปตราบนานเท่านาน ...” นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาของวิทยาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนแก่นักเรียนเพื่อให้มาศึกษาต่อในประเทศไทยในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อนำความรู้กลับไปสอนและพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานเครื่องดนตรีปี่พาทย์ครบชุด และพระราชทานทรัพย์สำหรับจ้างครูท้องถิ่นผู้ชำนาญการสอนนาฏศิลป์และดนตรี ต่อมาในปี 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในพระราชฐานะทูตสันถวไมตรีขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร่วมมือกับราชอาณาจักรกัมพูชา ทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนใน 3 จังหวัด คือโรงเรียนประถมศึกษาดอมเบย (Domber Primary School) ในจังหวัดกำปงจาม (Kampong Cham Province) โรงเรียนประถมศึกษาทมปุง (Tompung Primary School) ในจังหวัดกำปงสะปือ (Kampong Speu Province) และโรงเรียนประถมศึกษาปุนเลย (Ponlei Primary School) ในจังหวัดเปรแวง (Prey Veng Province) ที่มีกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานขนาดเล็ก พัฒนาแหล่งน้ำประจำโรงเรียน การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งการพัฒนาอนามัยส่วนบุคคลและสุขาภิบาล การดำเนินงานโครงการครอบคลุมเด็กนักเรียน 2,348 คน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนและชุมชนอื่นๆ ต่อไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 356 มุมมอง 0 รีวิว
  • โคราช ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568

    วันนี้ (3 มิถุนายน 2568) ที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันสวดมนต์เจริญพระพุทธมนต์ และนั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี รวมถึงส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และสร้างความสามัคคีสืบไป.
    โคราช ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 วันนี้ (3 มิถุนายน 2568) ที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันสวดมนต์เจริญพระพุทธมนต์ และนั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี รวมถึงส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และสร้างความสามัคคีสืบไป.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 204 มุมมอง 0 รีวิว
  • โคราช ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568

    วันนี้ (3 มิถุนายน 2568) ที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันสวดมนต์เจริญพระพุทธมนต์ และนั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี รวมถึงส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และสร้างความสามัคคีสืบไป
    โคราช ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 วันนี้ (3 มิถุนายน 2568) ที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันสวดมนต์เจริญพระพุทธมนต์ และนั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี รวมถึงส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และสร้างความสามัคคีสืบไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ้าไหมแพรวา สายใยศิลป์ จากใจ คมศักดิ์ ชมภูจักร์
    ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักร ภูฏานอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25 - 28 เมษายน 2568 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บจาก “ผ้าไหมแพรวา” ฝีมือกลุ่มสมาชิกศิลปาชีพบ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์
    ผ้าไหมแพรวาผืนนี้ถักทอด้วยเทคนิค “จก” และ “ขิด” ผสานเส้นไหมหลากสีอย่างละเอียดอ่อน ถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวผู้ไทที่สืบทอดกันมานานนับชั่วอายุคน จนเกิดเป็นลวดลายเปี่ยมความหมายสะท้อน ความประณีตของศิลปะแห่งแผ่นดินไทย
    ผ้าผืนดังกล่าวได้รับการจัดซื้อจากโรงฝึกศิลปาชีพพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งดำเนินงานภายใต้พระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เพื่อสืบสานหัตถศิลป์ไทยให้ยังคงอยู่คู่ชาติ
    เบื้องหลังผืนผ้าอันทรงคุณค่านี้ คือ นายคมศักดิ์ ชมภูจักร์ วัย 62 ปี อดีตทหารเกณฑ์จาก ต.โพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ผู้ได้รับพระเมตตาให้เข้าร่วมโครงการศิลปาชีพฯ ตั้งแต่อายุ 34 ปี ด้วยภูมิปัญญา ที่สืบทอดจากครอบครัวช่างทอ เขาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์ศิลปาชีพบ้านโพน ทั้งในบทบาท ช่างฝีมือและคณะกรรมการศูนย์ฯ รวมถึงการนำผลงานผ้าสไบ 11 ลายเข้าร่วมประกวด ณ พระตำหนัก ภูพานฯ
    การที่ผ้าทอฝีมือชาวบ้าน ได้ถวายใช้เป็นฉลองพระองค์สมเด็จพระราชินีในโอกาสทรงเยือน ต่างประเทศครั้งนี้ ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้และเป็นเกียรติยศสูงสุดของผู้สืบสานผืนผ้าไทย สะท้อนถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เปล่งประกายสู่เวทีนานาชาติอย่างงดงาม “พวกเรารู้สึกดีใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผ้าไหมแพรวาที่ทอขึ้นจากศูนย์บ้านโพนได้ใช้เป็นฉลองพระองค์ของสมเด็จพระราชินีในครั้งนี้มันเป็นเรื่องที่เราไม่เคยคาดคิดแต่ก็เป็นแรงใจสำคัญสำหรับคนทำงานผ้าอย่างเราและต้องขอขอบคุณมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ที่เปิดโอกาสให้พวกเรามีวันนี้และทำให้ผ้าพื้นถิ่นได้มีที่ยืนในเวทีที่กว้างขึ้น” คำกล่าวจากนายคมศักดิ์ ชมภูจักร์
    ---------
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Facebook : มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ , มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ (งานกิจกรรม)
    ผ้าไหมแพรวา สายใยศิลป์ จากใจ คมศักดิ์ ชมภูจักร์ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักร ภูฏานอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25 - 28 เมษายน 2568 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บจาก “ผ้าไหมแพรวา” ฝีมือกลุ่มสมาชิกศิลปาชีพบ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ผ้าไหมแพรวาผืนนี้ถักทอด้วยเทคนิค “จก” และ “ขิด” ผสานเส้นไหมหลากสีอย่างละเอียดอ่อน ถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวผู้ไทที่สืบทอดกันมานานนับชั่วอายุคน จนเกิดเป็นลวดลายเปี่ยมความหมายสะท้อน ความประณีตของศิลปะแห่งแผ่นดินไทย ผ้าผืนดังกล่าวได้รับการจัดซื้อจากโรงฝึกศิลปาชีพพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งดำเนินงานภายใต้พระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เพื่อสืบสานหัตถศิลป์ไทยให้ยังคงอยู่คู่ชาติ เบื้องหลังผืนผ้าอันทรงคุณค่านี้ คือ นายคมศักดิ์ ชมภูจักร์ วัย 62 ปี อดีตทหารเกณฑ์จาก ต.โพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ผู้ได้รับพระเมตตาให้เข้าร่วมโครงการศิลปาชีพฯ ตั้งแต่อายุ 34 ปี ด้วยภูมิปัญญา ที่สืบทอดจากครอบครัวช่างทอ เขาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์ศิลปาชีพบ้านโพน ทั้งในบทบาท ช่างฝีมือและคณะกรรมการศูนย์ฯ รวมถึงการนำผลงานผ้าสไบ 11 ลายเข้าร่วมประกวด ณ พระตำหนัก ภูพานฯ การที่ผ้าทอฝีมือชาวบ้าน ได้ถวายใช้เป็นฉลองพระองค์สมเด็จพระราชินีในโอกาสทรงเยือน ต่างประเทศครั้งนี้ ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้และเป็นเกียรติยศสูงสุดของผู้สืบสานผืนผ้าไทย สะท้อนถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เปล่งประกายสู่เวทีนานาชาติอย่างงดงาม “พวกเรารู้สึกดีใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผ้าไหมแพรวาที่ทอขึ้นจากศูนย์บ้านโพนได้ใช้เป็นฉลองพระองค์ของสมเด็จพระราชินีในครั้งนี้มันเป็นเรื่องที่เราไม่เคยคาดคิดแต่ก็เป็นแรงใจสำคัญสำหรับคนทำงานผ้าอย่างเราและต้องขอขอบคุณมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ที่เปิดโอกาสให้พวกเรามีวันนี้และทำให้ผ้าพื้นถิ่นได้มีที่ยืนในเวทีที่กว้างขึ้น” คำกล่าวจากนายคมศักดิ์ ชมภูจักร์ --------- #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida Facebook : มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ , มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ (งานกิจกรรม)
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 571 มุมมอง 0 รีวิว
  • มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สนับสนุนค่าพาหนะ และเครื่องอุปโภคบริโภค ให้แก่ผู้รับขาเทียม ช่างและอาสาสมัคร ในโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    .
    วานนี้ (วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานขาเทียมแก่คนพิการขาขาด ของมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ กรรมการ และนางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำทีมแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ลงพื้นที่ มอบค่าพาหนะ พร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป ขนม ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ครีมอาบน้ำ โลชั่นทากันยุง ทิชชูเปียก ทิชชูแห้ง และถุงขยะ บรรจุถุงผ้าดิบ ให้แก่ผู้รับขาเทียม และช่างอาสาสมัคร ที่เข้าร่วมโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 รวมจำนวน 250 คน รวมงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้น 259,312.50 บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้าพันสามร้อยสิบสองบาทห้าสิบสตางค์) โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้น ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลถวายรายงาน และกราบบังคมทูลเบิกผู้สนับสนุนกิจการมูลนิธิขาเทียมฯ พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    .
    การสนับสนุนโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ให้การสนับสนุน อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ตั้งแต่การดำเนินการครั้งที่ 165 รวม 10 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท
    .
    ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต
    .
    ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
    .
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    #แอปพลิเคชัน และ #สายด่วน ป่อเต็กตึ๊ง1418
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สนับสนุนค่าพาหนะ และเครื่องอุปโภคบริโภค ให้แก่ผู้รับขาเทียม ช่างและอาสาสมัคร ในโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 จังหวัดสุราษฎร์ธานี . วานนี้ (วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานขาเทียมแก่คนพิการขาขาด ของมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ กรรมการ และนางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำทีมแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ลงพื้นที่ มอบค่าพาหนะ พร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป ขนม ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ครีมอาบน้ำ โลชั่นทากันยุง ทิชชูเปียก ทิชชูแห้ง และถุงขยะ บรรจุถุงผ้าดิบ ให้แก่ผู้รับขาเทียม และช่างอาสาสมัคร ที่เข้าร่วมโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 รวมจำนวน 250 คน รวมงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้น 259,312.50 บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้าพันสามร้อยสิบสองบาทห้าสิบสตางค์) โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้น ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลถวายรายงาน และกราบบังคมทูลเบิกผู้สนับสนุนกิจการมูลนิธิขาเทียมฯ พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี . การสนับสนุนโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ให้การสนับสนุน อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ตั้งแต่การดำเนินการครั้งที่ 165 รวม 10 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท . ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต . ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung . มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” #แอปพลิเคชัน และ #สายด่วน ป่อเต็กตึ๊ง1418
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 585 มุมมอง 0 รีวิว
  • มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สนับสนุนค่าพาหนะ และเครื่องอุปโภคบริโภค ให้แก่ผู้รับขาเทียม ช่างและอาสาสมัคร ในโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    .
    วานนี้ (วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานขาเทียมแก่คนพิการขาขาด ของมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ กรรมการ และนางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำทีมแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ลงพื้นที่ มอบค่าพาหนะ พร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป ขนม ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ครีมอาบน้ำ โลชั่นทากันยุง ทิชชูเปียก ทิชชูแห้ง และถุงขยะ บรรจุถุงผ้าดิบ ให้แก่ผู้รับขาเทียม และช่างอาสาสมัคร ที่เข้าร่วมโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 รวมจำนวน 250 คน รวมงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้น 259,312.50 บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้าพันสามร้อยสิบสองบาทห้าสิบสตางค์) โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้น ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลถวายรายงาน และกราบบังคมทูลเบิกผู้สนับสนุนกิจการมูลนิธิขาเทียมฯ พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    .
    การสนับสนุนโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ให้การสนับสนุน อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ตั้งแต่การดำเนินการครั้งที่ 165 รวม 10 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท
    .
    ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต
    .
    ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
    .
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    #แอปพลิเคชัน และ #สายด่วน ป่อเต็กตึ๊ง1418
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สนับสนุนค่าพาหนะ และเครื่องอุปโภคบริโภค ให้แก่ผู้รับขาเทียม ช่างและอาสาสมัคร ในโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 จังหวัดสุราษฎร์ธานี . วานนี้ (วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานขาเทียมแก่คนพิการขาขาด ของมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ กรรมการ และนางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำทีมแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ลงพื้นที่ มอบค่าพาหนะ พร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป ขนม ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ครีมอาบน้ำ โลชั่นทากันยุง ทิชชูเปียก ทิชชูแห้ง และถุงขยะ บรรจุถุงผ้าดิบ ให้แก่ผู้รับขาเทียม และช่างอาสาสมัคร ที่เข้าร่วมโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ ครั้งที่ 174 รวมจำนวน 250 คน รวมงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้น 259,312.50 บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้าพันสามร้อยสิบสองบาทห้าสิบสตางค์) โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และประธานกรรมการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้น ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลถวายรายงาน และกราบบังคมทูลเบิกผู้สนับสนุนกิจการมูลนิธิขาเทียมฯ พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี . การสนับสนุนโครงการออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ให้การสนับสนุน อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ตั้งแต่การดำเนินการครั้งที่ 165 รวม 10 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท . ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต . ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung . มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” #แอปพลิเคชัน และ #สายด่วน ป่อเต็กตึ๊ง1418
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 588 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดินแดนแห่งหนึ่งเป็นเกาะชื่ออาโอเตอะโรอา มีชนเผ่าที่อาศัยอยู่มานานกว่าสองหมื่นปีมีชื่อเรียกว่า เมาริ พูดภาษาออสโตรนีเชียน-โพลีนีเชียน มียีนเดียวกับคนเอเชียอย่างเราคือวายโครโมโซมแฮพโลกรุ๊ป โอ.. มียีนแม่เป็นออสตราอะบอริจิ้นคือไมโตคอนเดรียล บี และ เอ็ม
    .
    วันหนึ่งมีพวกอังกฤษ นำมาก่อนโดยกัปตันชื่อคุ๊ก บุกมายึดดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรแห่งนี้ ขนเอาคนยุโรปมาแย่งแผ่นดินและกดขี่ปกครองพวกเมาริ เปลี่ยนชื่อดินแดนของพวกเขาใหม่ว่า New Zealand "แผ่นดินทะเลใหม่"!! ปล้นไปอย่างไร้ยางอาย และบีบบังคับให้ชาวเมารินับถือศาสนาคริสต์ ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ต่างๆ
    .
    เวลาผ่านไปมาจนถึงปัจจุบัน คนพื้นเมืองเมาริพวกนี้ก็ยังเป็นประชาชนชั้นสอง ไม่ได้มีเกียรติศักดิ์ฐานะเช่นฝรั่งผิวขาวเลย บนดินแดนที่ได้ถูกอ้างใหม่ว่าเป็นสิทธิแห่งพระราชินีของจักรวรรดิ์อังกฤษ บ้านเกิดของพวกเขากลายเป็นดินแดนของโจรล่าอาณานิคม ไม่เคยมีการแสดงออกถึงความสำนึกในบาปนี้ แม้เคยมีการแสดงออกมาขอโทษ แต่ก็กระทำอย่างไม่จริงใจ ในขณะที่การเหยียดเชื้อชาติยังดำเนินอยู่ในชนชั้นปกครองและคนยุโรปที่มีฐานะ พวกเมาริไม่เคยมีสิทธิในการบริหารประเทศ นอกจากได้ที่นั่งไม่กี่ที่ในรัฐสภา โดยที่ความเห็นและข้อเรียกร้องต่างๆ ถูกเมินเฉยไม่แยแสเสมอ
    .
    พวกเขาเป็นพี่น้องของเราทุกท่าน
    พวกเขายังคงถูกกดให้ต้อยต่ำ
    เป็นบทเรียนที่เราต้องไตร่ตรองให้ดี
    ว่าการที่บุรพกษัตริย์ของเรา พาเรารอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมนั้น
    เป็นพระมหากรุณาธิคุณเอนกอนันต์เพียงใด
    .
    =================================================
    หัวข้อข่าวจาก THE STATES TIMES (15 พ.ค. 68)
    .
    สื่ออังกฤษ เดอะการ์เดียน รายงานว่า ฮานา-ราวิตี ไมปี-คลาร์ก สส.ชาวเมารีจากนิวซีแลนด์ อาจถูกลงโทษพักงาน 1 สัปดาห์ ฐานดูหมิ่นรัฐสภาและข่มขู่สมาชิกคนอื่น จากเหตุการณ์เต้นฮากาและฉีกเอกสารร่างกฎหมายกลางสภาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งคลิปดังกล่าวกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์
    .
    ขณะเดียวกัน คณะกรรมการจริยธรรมของรัฐสภายังเสนอพักงาน ราไวรี ไวติติ และเดบบี้ งาเรวา-แพคเกอร์ หัวหน้าร่วมพรรคเมารี เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ฐานความผิดเดียวกัน โดยชี้ว่าแม้การเต้นฮากาเคยเกิดขึ้นในสภามาก่อน แต่กรณีนี้ถือว่าผิดกาลเทศะและขัดขวางการลงมติร่างกฎหมายสำคัญ
    .
    ทางคณะกรรมการระบุว่า การลงโทษครั้งนี้แม้จะรุนแรง แต่จำเป็นเพื่อรักษามารยาทในสภา และเน้นย้ำว่าการข่มขู่หรือคุกคามสมาชิกคนอื่นไม่ใช่พฤติกรรมที่ยอมรับได้
    .
    พรรคเมารีออกแถลงการณ์ตอบโต้ว่า การลงโทษนี้เป็น “บทลงโทษสูงสุด” ที่สะท้อนถึงการกดทับเสียงต่อต้านอำนาจอาณานิคม พร้อมระบุว่าร่างกฎหมายที่เป็นชนวนเหตุ ซึ่งตีความสนธิสัญญากับชาวเมารีใหม่นั้น เป็นการพยายามลิดรอนสิทธิของชุมชนชาวพื้นเมือง แม้ท้ายที่สุดร่างดังกล่าวจะถูกโหวตคว่ำไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
    .
    ==================================================
    .
    เพื่อให้เข้าใจบริบทของการประท้วงที่เกิดขึ้นในนิวซีแลนด์ ขออธิบายว่า ในปัจจุบัน เอกสารรัฐธรรมนูญที่สำคัญที่สุดของนิวซีแลนด์คือสนธิสัญญา Waitangi ซึ่งตกลงกันในปี 1840 ในฐานะหุ้นส่วนระหว่างชาวเมารีและราชวงศ์อังกฤษ เอกสารดังกล่าวรับรองการคุ้มครองบางประการแก่ชาวเมารี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและทรัพยากร) ในขณะที่อนุญาตให้จัดตั้งรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐบาลนิวซีแลนด์
    .
    ในความเป็นจริง ตั้งแต่ปี 1840 รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ละเมิดการคุ้มครองที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา Waitangi ในประวัติศาสตร์ล่าสุดของนิวซีแลนด์ มีการกำหนดหลักการทางกฎหมายและสถาบันเพื่อดำเนินการตามกระบวนการยาวนานเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้และผลลัพธ์ทางสังคม ร่างกฎหมายฉบับปัจจุบันทำลายกระบวนการเหล่านี้
    .
    โดยพื้นฐานแล้ว ชาวเมารีไม่ได้รับการปรึกษาหารือก่อนที่จะมีการเสนอร่างกฎหมายที่ขัดแย้งโดยตรงกับอนุสัญญาที่มีมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในนิวซีแลนด์ รวมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาในฐานะหุ้นส่วน ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการเสนอโดยพรรคการเมืองเล็ก (ซึ่งมีที่นั่งในรัฐสภาถึง 8%) เนื่องมาจากกระบวนการเลือกตั้ง MMP ในปัจจุบัน ซึ่งมักส่งผลให้พรรคการเมืองใหญ่ต้องเจรจาข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเล็กเพื่อให้ได้เสียงข้างมากในสภา
    .
    เป็นการปล้นซ้ำ ในยุคที่จิตสำนึกอุบาทย์แบบอาณานิคมกำลังเติบโตขึ้นอีกครั้ง
    .
    ดินแดนแห่งหนึ่งเป็นเกาะชื่ออาโอเตอะโรอา มีชนเผ่าที่อาศัยอยู่มานานกว่าสองหมื่นปีมีชื่อเรียกว่า เมาริ พูดภาษาออสโตรนีเชียน-โพลีนีเชียน มียีนเดียวกับคนเอเชียอย่างเราคือวายโครโมโซมแฮพโลกรุ๊ป โอ.. มียีนแม่เป็นออสตราอะบอริจิ้นคือไมโตคอนเดรียล บี และ เอ็ม . วันหนึ่งมีพวกอังกฤษ นำมาก่อนโดยกัปตันชื่อคุ๊ก บุกมายึดดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรแห่งนี้ ขนเอาคนยุโรปมาแย่งแผ่นดินและกดขี่ปกครองพวกเมาริ เปลี่ยนชื่อดินแดนของพวกเขาใหม่ว่า New Zealand "แผ่นดินทะเลใหม่"!! ปล้นไปอย่างไร้ยางอาย และบีบบังคับให้ชาวเมารินับถือศาสนาคริสต์ ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ต่างๆ . เวลาผ่านไปมาจนถึงปัจจุบัน คนพื้นเมืองเมาริพวกนี้ก็ยังเป็นประชาชนชั้นสอง ไม่ได้มีเกียรติศักดิ์ฐานะเช่นฝรั่งผิวขาวเลย บนดินแดนที่ได้ถูกอ้างใหม่ว่าเป็นสิทธิแห่งพระราชินีของจักรวรรดิ์อังกฤษ บ้านเกิดของพวกเขากลายเป็นดินแดนของโจรล่าอาณานิคม ไม่เคยมีการแสดงออกถึงความสำนึกในบาปนี้ แม้เคยมีการแสดงออกมาขอโทษ แต่ก็กระทำอย่างไม่จริงใจ ในขณะที่การเหยียดเชื้อชาติยังดำเนินอยู่ในชนชั้นปกครองและคนยุโรปที่มีฐานะ พวกเมาริไม่เคยมีสิทธิในการบริหารประเทศ นอกจากได้ที่นั่งไม่กี่ที่ในรัฐสภา โดยที่ความเห็นและข้อเรียกร้องต่างๆ ถูกเมินเฉยไม่แยแสเสมอ . พวกเขาเป็นพี่น้องของเราทุกท่าน พวกเขายังคงถูกกดให้ต้อยต่ำ เป็นบทเรียนที่เราต้องไตร่ตรองให้ดี ว่าการที่บุรพกษัตริย์ของเรา พาเรารอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมนั้น เป็นพระมหากรุณาธิคุณเอนกอนันต์เพียงใด . ================================================= หัวข้อข่าวจาก THE STATES TIMES (15 พ.ค. 68) . สื่ออังกฤษ เดอะการ์เดียน รายงานว่า ฮานา-ราวิตี ไมปี-คลาร์ก สส.ชาวเมารีจากนิวซีแลนด์ อาจถูกลงโทษพักงาน 1 สัปดาห์ ฐานดูหมิ่นรัฐสภาและข่มขู่สมาชิกคนอื่น จากเหตุการณ์เต้นฮากาและฉีกเอกสารร่างกฎหมายกลางสภาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งคลิปดังกล่าวกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ . ขณะเดียวกัน คณะกรรมการจริยธรรมของรัฐสภายังเสนอพักงาน ราไวรี ไวติติ และเดบบี้ งาเรวา-แพคเกอร์ หัวหน้าร่วมพรรคเมารี เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ฐานความผิดเดียวกัน โดยชี้ว่าแม้การเต้นฮากาเคยเกิดขึ้นในสภามาก่อน แต่กรณีนี้ถือว่าผิดกาลเทศะและขัดขวางการลงมติร่างกฎหมายสำคัญ . ทางคณะกรรมการระบุว่า การลงโทษครั้งนี้แม้จะรุนแรง แต่จำเป็นเพื่อรักษามารยาทในสภา และเน้นย้ำว่าการข่มขู่หรือคุกคามสมาชิกคนอื่นไม่ใช่พฤติกรรมที่ยอมรับได้ . พรรคเมารีออกแถลงการณ์ตอบโต้ว่า การลงโทษนี้เป็น “บทลงโทษสูงสุด” ที่สะท้อนถึงการกดทับเสียงต่อต้านอำนาจอาณานิคม พร้อมระบุว่าร่างกฎหมายที่เป็นชนวนเหตุ ซึ่งตีความสนธิสัญญากับชาวเมารีใหม่นั้น เป็นการพยายามลิดรอนสิทธิของชุมชนชาวพื้นเมือง แม้ท้ายที่สุดร่างดังกล่าวจะถูกโหวตคว่ำไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา . ================================================== . เพื่อให้เข้าใจบริบทของการประท้วงที่เกิดขึ้นในนิวซีแลนด์ ขออธิบายว่า ในปัจจุบัน เอกสารรัฐธรรมนูญที่สำคัญที่สุดของนิวซีแลนด์คือสนธิสัญญา Waitangi ซึ่งตกลงกันในปี 1840 ในฐานะหุ้นส่วนระหว่างชาวเมารีและราชวงศ์อังกฤษ เอกสารดังกล่าวรับรองการคุ้มครองบางประการแก่ชาวเมารี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและทรัพยากร) ในขณะที่อนุญาตให้จัดตั้งรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐบาลนิวซีแลนด์ . ในความเป็นจริง ตั้งแต่ปี 1840 รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ละเมิดการคุ้มครองที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา Waitangi ในประวัติศาสตร์ล่าสุดของนิวซีแลนด์ มีการกำหนดหลักการทางกฎหมายและสถาบันเพื่อดำเนินการตามกระบวนการยาวนานเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้และผลลัพธ์ทางสังคม ร่างกฎหมายฉบับปัจจุบันทำลายกระบวนการเหล่านี้ . โดยพื้นฐานแล้ว ชาวเมารีไม่ได้รับการปรึกษาหารือก่อนที่จะมีการเสนอร่างกฎหมายที่ขัดแย้งโดยตรงกับอนุสัญญาที่มีมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในนิวซีแลนด์ รวมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาในฐานะหุ้นส่วน ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการเสนอโดยพรรคการเมืองเล็ก (ซึ่งมีที่นั่งในรัฐสภาถึง 8%) เนื่องมาจากกระบวนการเลือกตั้ง MMP ในปัจจุบัน ซึ่งมักส่งผลให้พรรคการเมืองใหญ่ต้องเจรจาข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเล็กเพื่อให้ได้เสียงข้างมากในสภา . เป็นการปล้นซ้ำ ในยุคที่จิตสำนึกอุบาทย์แบบอาณานิคมกำลังเติบโตขึ้นอีกครั้ง .
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 647 มุมมอง 13 0 รีวิว
  • ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๘

    วันคล้ายวันเสด็จสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    พระผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย

    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
    ข้าพระพุทธเจ้า​ นาย​พัฒน์​ดนัย​ วาริ​พัฒน์
    ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๘ วันคล้ายวันเสด็จสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า​ นาย​พัฒน์​ดนัย​ วาริ​พัฒน์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 159 มุมมอง 0 รีวิว
  • น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
    น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 76 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออธิบายให้ความรู้นิดนึงนะครับในหลวงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ครูที่เสียชีวิต ไม่ทอดทิ้งนักเรียน เมื่อรถบัสทัศนศึกษาไฟไหม้ จำนวนสามท่านไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ!!!! อันนี้ชัดเจนว่า หน่วยราชการหรือรัฐบาลไม่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานให้จึงเป็นราชการส่วนพระองค์ (Royal affair) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 15 ต้องไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการไม่ใช่ราชการแผ่นดิน (Government affair) ซึ่งต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ครูสามท่านนี้ จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวง เป็นการส่วนพระองค์ ให้แก่ผู้วายชนม์ และครอบครัว ไม่ใช่ว่ารัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กราบบังคมทูลพระมหากรุณาขอพระราชทานให้นับว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดแก่ผู้วายชนม์ และครอบครัว ที่ในหลวง ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานให้เป็นส่วนพระองค์ ด้วยพระองค์เอง แสดงว่าทรงเห็นคนเล็กคนน้อย ที่ทำงานด้วยความเสียสละ ทุ่มเทในหน้าที่ ไม่ทอดทิ้งหน้าที่ จึงทรงอยากจะยกย่อง พระราชทานเกียรติยศให้ด้วยพระองค์เอง ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่คนไทยควรรู้ฟ้ามีตา แผ่นดินมีใจขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก Arnold Sakworawich
    ขออธิบายให้ความรู้นิดนึงนะครับในหลวงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ครูที่เสียชีวิต ไม่ทอดทิ้งนักเรียน เมื่อรถบัสทัศนศึกษาไฟไหม้ จำนวนสามท่านไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ!!!! อันนี้ชัดเจนว่า หน่วยราชการหรือรัฐบาลไม่ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานให้จึงเป็นราชการส่วนพระองค์ (Royal affair) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 15 ต้องไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการไม่ใช่ราชการแผ่นดิน (Government affair) ซึ่งต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ครูสามท่านนี้ จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวง เป็นการส่วนพระองค์ ให้แก่ผู้วายชนม์ และครอบครัว ไม่ใช่ว่ารัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กราบบังคมทูลพระมหากรุณาขอพระราชทานให้นับว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดแก่ผู้วายชนม์ และครอบครัว ที่ในหลวง ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานให้เป็นส่วนพระองค์ ด้วยพระองค์เอง แสดงว่าทรงเห็นคนเล็กคนน้อย ที่ทำงานด้วยความเสียสละ ทุ่มเทในหน้าที่ ไม่ทอดทิ้งหน้าที่ จึงทรงอยากจะยกย่อง พระราชทานเกียรติยศให้ด้วยพระองค์เอง ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่คนไทยควรรู้ฟ้ามีตา แผ่นดินมีใจขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก Arnold Sakworawich
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 595 มุมมอง 0 รีวิว
  • 243 ปี สำเร็จโทษ “พระเจ้าตาก” กษัตริย์ผู้กอบกู้ นักรบผู้เดียวดาย สู่ตำนานมหาราช เบื้องหลังความจริงของวันประหาร ที่ยังเป็นปริศนา

    เรื่องราวสุดลึกซึ้งของ "พระเจ้าตากสินมหาราช" วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช สู่ฉากอวสานที่ยังคลุมเครือ หลังผ่านมา 243 ปี ความจริงของวันสำเร็จโทษ ยังรอการค้นหา ข้อเท็จจริงและปริศนา ที่ยังรอการคลี่คลาย

    "พระเจ้าตาก" ตำนานนักรบผู้เดียวดาย ที่ยังไม่ถูกลืม วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย วันนั้นไม่ใช่เพียงการเริ่มต้นราชวงศ์จักรีเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ “พระเจ้ากรุงธนบุรี” เสด็จสวรรคตอย่างเป็นทางการ... หรืออาจจะไม่?

    243 ปี ผ่านไป เรื่องราวของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียง ทั้งในแวดวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ และสังคมไทยโดยรวม เพราะแม้จะได้รับการยกย่อง ให้เป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้ชาติ แต่จุดจบของพระองค์ กลับเต็มไปด้วยข้อสงสัย ความคลุมเครือ และคำถามที่ไม่เคยได้รับคำตอบอย่างแท้จริง

    ย้อนเวลากลับไปสำรวจเรื่องราวของ "พระเจ้าตากสิน" ตั้งแต่วีรกรรมกู้ชาติ ไปจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพื่อค้นหาความจริง และความหมายที่ซ่อนอยู่ในตำนานของพระองค์

    "พระเจ้าตากสิน" กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี

    จากนายทหาร สู่กษัตริย์ผู้กอบกู้ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นบุตรของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยทรงเข้ารับราชการในสมัย "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" รัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง

    เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 พระยาตากคือผู้นำที่ยืนหยัด และฝ่าทัพพม่าออกไปตั้งหลักที่จันทบุรี พร้อมกับรวบรวมผู้คนและกำลังพล จนสามารถกลับมากู้ชาติ และยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ได้ภายในเวลาเพียง 7 เดือน

    หลังจากนั้น ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี พร้อมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนา “อาณาจักรธนบุรี”

    พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ "พระเจ้าตากสิน" มิได้เป็นเพียงนักรบ แต่ทรงเป็นนักปกครอง ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พระองค์ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังสงคราม อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม

    ส่งเสริมการค้ากับจีนและต่างประเทศ

    ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยให้มีการอุปสมบทพระสงฆ์ใหม่จำนวนมาก

    ส่งเสริมวรรณกรรม และการศึกษา

    รวบรวมดินแดนที่แตกแยก กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    พระองค์ยังได้รับ การถวายพระราชสมัญญานามว่า “มหาราช” โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

    จุดจบที่เป็นปริศนา วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสิน แม้พระองค์จะทรงกู้ชาติ และสร้างบ้านแปงเมือง แต่พระเจ้าตากก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายใน และการทรยศจากผู้ใกล้ชิด

    ในปี พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อการกบฏ อ้างว่าพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ยกทัพกลับจากเขมรเข้ากรุงธนบุรี และสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินโดยการ “ตัดศีรษะ” ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2325

    พระชนมพรรษา 48 ปี ครองราชย์รวม 15 ปี

    แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? หลักฐานและคำบอกเล่าต่างๆ กลับชี้ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน...

    พงศาวดาร หลากหลายข้อสันนิษฐาน

    1️⃣ ฉบับพระราชหัตถเลขา ประหารโดยตัดศีรษะ เล่าว่า... พระเจ้าตากถูกตัดศีรษะโดยเพชฌฆาต ไม่มีการใช้คำว่า “สวรรคต” แต่ใช้คำว่า “ถึงแก่พิราลัย” แสดงว่าอาจถูกริดรอนพระยศ ก่อนที่สำเร็จโทษ

    2️⃣ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ม็อบพาไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง ระบุว่า... “ทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้น นำเอาพระเจ้าแผ่นดินไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง” โดยไม่ระบุวิธี

    3️⃣ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ชนหมู่มากฆ่าพระองค์ กล่าวว่า... “ชนทั้งหลายมีความโกรธ ชวนกันกำจัดเสียจากราชสมบัติ แล้วพิฆาฎฆ่าเสีย”

    4️⃣ พระยาทัศดาจัตุรงค์ หัวใจวายเฉียบพลัน เขียนว่า... “เกิดวิกลดลจิตประจุบัน ท้าวดับชีวัน” ซึ่งแปลว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยอาการหัวใจวาย

    เรื่องเล่าหลัง 2475 สร้างตำนานใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เรื่องราวของพระเจ้าตาก ถูกนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบใหม่ โดยเน้นไปที่... การเป็นวีรกษัตริย์ของประชาชน อาทิ วรรณกรรมเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ของภิกษุณีโพธิสัตว์ "วรมัย กบิลสิงห์" ซึ่งอ้างว่า “พระองค์ไม่ถูกประหาร แต่สับเปลี่ยนตัวกับนายมั่น”

    จุดมุ่งหมายคือ การสร้างความรู้สึกร่วมของคนไทย สร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย และเน้นความสามัคคีแห่งชาติ

    ข้อวิเคราะห์ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

    พระเจ้าตากเสียสติจริงหรือ? เอกสารหลายฉบับระบุว่า พระองค์มีพระสติวิปลาส แต่บทสนทนาก่อนประหารที่ว่า “ขอเข้าเฝ้าสนทนาอีกสักสองสามคำ” นั้นชัดเจน และเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ

    มีการสับเปลี่ยนตัวจริงหรือ? ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนใด ๆ รองรับ แต่แนวคิดนี้ ปรากฏอย่างแพร่หลายในวรรณกรรม และความเชื่อของประชาชน

    วันที่พระองค์ถูกลืม? วันที่ 6 เมษายน ถูกกำหนดให้เป็น "วันจักรี" เพื่อระลึกถึงการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าตากเลย ทั้งที่วันเดียวกันนั้น คือวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เช่นกัน

    ทำให้เกิดคำถามในใจใครหลายคนว่า พระเจ้าตากถูก “กลบ” จากประวัติศาสตร์หรือไม่?

    พระเจ้าตากในความทรงจำของประชาชน แม้ประวัติศาสตร์ทางการจะบอกว่า พระองค์ถูกประหารชีวิต แต่ในความเชื่อของประชาชนทั่วไป พระเจ้าตากยังคงเป็น “วีรกษัตริย์ผู้ไม่เคยพ่าย”

    มีการสักการะพระบรมรูปที่วงเวียนใหญ่ คนไทยเชื้อสายจีนเรียกพระองค์ว่า “แต่อ่วงกง” มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพระองค์

    จากความจริง...สู่ตำนาน 243 ปีผ่านไป...วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราช ยังคงเต็มไปด้วยคำถาม ปริศนา และความรู้สึกค้างคาใจ ของคนไทยจำนวนมาก

    แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ... พระเจ้าตากมิใช่เพียงนักรบผู้เดียวดาย แต่คือบุคคลผู้เปลี่ยนชะตากรรมของแผ่นดินนี้ ไว้ในช่วงเวลาที่ยากที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 060744 เม.ย. 2568

    #พระเจ้าตาก #สมเด็จพระเจ้าตากสิน #ประวัติศาสตร์ไทย #243ปีพระเจ้าตาก #ตำนานพระเจ้าตาก #วันประหารพระเจ้าตาก #วันจักรี #ราชวงศ์ธนบุรี #วีรกษัตริย์ไทย #กษัตริย์ผู้กอบกู้
    243 ปี สำเร็จโทษ “พระเจ้าตาก” กษัตริย์ผู้กอบกู้ นักรบผู้เดียวดาย สู่ตำนานมหาราช เบื้องหลังความจริงของวันประหาร ที่ยังเป็นปริศนา 📌 เรื่องราวสุดลึกซึ้งของ "พระเจ้าตากสินมหาราช" วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช สู่ฉากอวสานที่ยังคลุมเครือ หลังผ่านมา 243 ปี ความจริงของวันสำเร็จโทษ ยังรอการค้นหา ข้อเท็จจริงและปริศนา ที่ยังรอการคลี่คลาย ✨ 🔥 "พระเจ้าตาก" ตำนานนักรบผู้เดียวดาย ที่ยังไม่ถูกลืม วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 วันนั้นไม่ใช่เพียงการเริ่มต้นราชวงศ์จักรีเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ “พระเจ้ากรุงธนบุรี” เสด็จสวรรคตอย่างเป็นทางการ... หรืออาจจะไม่? 243 ปี ผ่านไป เรื่องราวของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียง 😢 ทั้งในแวดวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ และสังคมไทยโดยรวม เพราะแม้จะได้รับการยกย่อง ให้เป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้ชาติ แต่จุดจบของพระองค์ กลับเต็มไปด้วยข้อสงสัย ความคลุมเครือ และคำถามที่ไม่เคยได้รับคำตอบอย่างแท้จริง ย้อนเวลากลับไปสำรวจเรื่องราวของ "พระเจ้าตากสิน" ตั้งแต่วีรกรรมกู้ชาติ ไปจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพื่อค้นหาความจริง และความหมายที่ซ่อนอยู่ในตำนานของพระองค์ 👑 "พระเจ้าตากสิน" กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี 🌊 จากนายทหาร สู่กษัตริย์ผู้กอบกู้ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นบุตรของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยทรงเข้ารับราชการในสมัย "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" รัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 พระยาตากคือผู้นำที่ยืนหยัด และฝ่าทัพพม่าออกไปตั้งหลักที่จันทบุรี 🐎 พร้อมกับรวบรวมผู้คนและกำลังพล จนสามารถกลับมากู้ชาติ และยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ได้ภายในเวลาเพียง 7 เดือน ✨ หลังจากนั้น ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี พร้อมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนา “อาณาจักรธนบุรี” 🏰 🌟 พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ "พระเจ้าตากสิน" มิได้เป็นเพียงนักรบ แต่ทรงเป็นนักปกครอง ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พระองค์ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังสงคราม อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม 🎨📚 🔸 ส่งเสริมการค้ากับจีนและต่างประเทศ 🔸 ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยให้มีการอุปสมบทพระสงฆ์ใหม่จำนวนมาก 🔸 ส่งเสริมวรรณกรรม และการศึกษา 🔸 รวบรวมดินแดนที่แตกแยก กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์ยังได้รับ การถวายพระราชสมัญญานามว่า “มหาราช” โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ 💖 ⚔️ จุดจบที่เป็นปริศนา วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสิน แม้พระองค์จะทรงกู้ชาติ และสร้างบ้านแปงเมือง แต่พระเจ้าตากก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายใน และการทรยศจากผู้ใกล้ชิด ในปี พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อการกบฏ อ้างว่าพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ยกทัพกลับจากเขมรเข้ากรุงธนบุรี และสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินโดยการ “ตัดศีรษะ” ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2325 👑 🕯️ พระชนมพรรษา 48 ปี ครองราชย์รวม 15 ปี แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? หลักฐานและคำบอกเล่าต่างๆ กลับชี้ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน... 📚 พงศาวดาร หลากหลายข้อสันนิษฐาน 1️⃣ ฉบับพระราชหัตถเลขา ประหารโดยตัดศีรษะ เล่าว่า... พระเจ้าตากถูกตัดศีรษะโดยเพชฌฆาต ไม่มีการใช้คำว่า “สวรรคต” แต่ใช้คำว่า “ถึงแก่พิราลัย” แสดงว่าอาจถูกริดรอนพระยศ ก่อนที่สำเร็จโทษ 2️⃣ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ม็อบพาไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง ระบุว่า... “ทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้น นำเอาพระเจ้าแผ่นดินไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง” โดยไม่ระบุวิธี 3️⃣ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ชนหมู่มากฆ่าพระองค์ กล่าวว่า... “ชนทั้งหลายมีความโกรธ ชวนกันกำจัดเสียจากราชสมบัติ แล้วพิฆาฎฆ่าเสีย” 4️⃣ พระยาทัศดาจัตุรงค์ หัวใจวายเฉียบพลัน เขียนว่า... “เกิดวิกลดลจิตประจุบัน ท้าวดับชีวัน” ซึ่งแปลว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยอาการหัวใจวาย 🕵️‍♂️ เรื่องเล่าหลัง 2475 สร้างตำนานใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เรื่องราวของพระเจ้าตาก ถูกนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบใหม่ โดยเน้นไปที่... การเป็นวีรกษัตริย์ของประชาชน อาทิ วรรณกรรมเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ของภิกษุณีโพธิสัตว์ "วรมัย กบิลสิงห์" ซึ่งอ้างว่า “พระองค์ไม่ถูกประหาร แต่สับเปลี่ยนตัวกับนายมั่น” 🔍 จุดมุ่งหมายคือ การสร้างความรู้สึกร่วมของคนไทย สร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย และเน้นความสามัคคีแห่งชาติ 🇹🇭 🧠 ข้อวิเคราะห์ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ❓ พระเจ้าตากเสียสติจริงหรือ? เอกสารหลายฉบับระบุว่า พระองค์มีพระสติวิปลาส แต่บทสนทนาก่อนประหารที่ว่า “ขอเข้าเฝ้าสนทนาอีกสักสองสามคำ” นั้นชัดเจน และเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ 🤔 ❓ มีการสับเปลี่ยนตัวจริงหรือ? ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนใด ๆ รองรับ แต่แนวคิดนี้ ปรากฏอย่างแพร่หลายในวรรณกรรม และความเชื่อของประชาชน 📜 วันที่พระองค์ถูกลืม? วันที่ 6 เมษายน ถูกกำหนดให้เป็น "วันจักรี" เพื่อระลึกถึงการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าตากเลย ทั้งที่วันเดียวกันนั้น คือวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เช่นกัน ทำให้เกิดคำถามในใจใครหลายคนว่า พระเจ้าตากถูก “กลบ” จากประวัติศาสตร์หรือไม่? 😢 🛕 พระเจ้าตากในความทรงจำของประชาชน แม้ประวัติศาสตร์ทางการจะบอกว่า พระองค์ถูกประหารชีวิต แต่ในความเชื่อของประชาชนทั่วไป พระเจ้าตากยังคงเป็น “วีรกษัตริย์ผู้ไม่เคยพ่าย” 🙏 มีการสักการะพระบรมรูปที่วงเวียนใหญ่ คนไทยเชื้อสายจีนเรียกพระองค์ว่า “แต่อ่วงกง” มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพระองค์ 🧾 จากความจริง...สู่ตำนาน 243 ปีผ่านไป...วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราช ยังคงเต็มไปด้วยคำถาม ปริศนา และความรู้สึกค้างคาใจ ของคนไทยจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ... พระเจ้าตากมิใช่เพียงนักรบผู้เดียวดาย แต่คือบุคคลผู้เปลี่ยนชะตากรรมของแผ่นดินนี้ ไว้ในช่วงเวลาที่ยากที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 060744 เม.ย. 2568 📱 #พระเจ้าตาก #สมเด็จพระเจ้าตากสิน #ประวัติศาสตร์ไทย #243ปีพระเจ้าตาก #ตำนานพระเจ้าตาก #วันประหารพระเจ้าตาก #วันจักรี #ราชวงศ์ธนบุรี #วีรกษัตริย์ไทย #กษัตริย์ผู้กอบกู้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1173 มุมมอง 0 รีวิว
  • ๑ เมษายน วันเลิกทาส

    ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔"
    ๑ เมษายน วันเลิกทาส 🙏🙏🙏 ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 192 มุมมอง 0 รีวิว
  • 31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง

    วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์”

    เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง”

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี

    พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี

    ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ ขยายเส้นทางการค้า และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต

    จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ”

    รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก

    พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน

    “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่”

    พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม

    ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน

    เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ

    ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

    ตัวเลขที่มากมาย
    ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์
    เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์
    รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น

    แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน

    ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง

    หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส
    หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5”
    พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์

    ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ

    วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้

    พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า”

    ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่
    - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍
    - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย
    - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย

    วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓

    รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด

    “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568

    #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง ✨ วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม ✨ วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์” 💛 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง” 💰 🏯 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี 🏰 พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ 📈 ขยายเส้นทางการค้า 🌏 และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต 🇹🇭 👑 จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ” ✨ 🧭 รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก 🌐 พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน 🚤 📚 “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่” 💼 📌 พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน 💸 📆 เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ 🔥 ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย 💣 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 🧾 ตัวเลขที่มากมาย ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์ เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์ รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น 📤 แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน 😌 🧠 ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ 🤔 มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง 📖 หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส 📚 หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5” 📜 พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ 🚢 🔍 วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ 🌎💹 📖 พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่ - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍 - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย 🚢 - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย 🌿 🧡 วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓🇹🇭 💬 รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด 💼💪 “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568 📌 #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1193 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน จ.ปัตตานี ปี2535
    เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน อำเภอไม้แก่น จ.ปัตตานี ปี2535 //พระเกจิ ปลายด้ามขวาน ที่ศพแข็งเหมือนหิน พระดีมีประสบการณ์มาก //พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ >> รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด ไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >>

    ** หลวงพ่อบุญ ติสสโร เป็นพระภิกษุที่ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดีของพระสงฆ์ และท่านทบทวนบทสวดมนต์สม่ำเสมอ โดยใช้เวลานั่งสวดมนต์หน้าพระประธานบนกุฏิหลังใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมท่านพระครูบุณยโสภณ และสนทนาธรรม พระองค์มีความเลื่อมใส ในการปฏิบัติธรรมของ ท่านพระครูบุณยโสภณ จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นค่าภัตตาหารประจำทุกปีๆ ละ 10,000 บาท

    เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จวันสารวัน และมีกระแสรับสั่งผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายพลากร สุวรรณรัฐ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระวัดในวัง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ให้ฌาปนกิจศพท่าน พระครูบุณยโสภณ ซึ่งญาติโยมไม่กล้าทำพิธีฌาปนกิจ เพราะศพท่านมีลักษณะ แข็งเหมือนหิน ไม่เน่าเปื่อย เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรเก็บไว้บูชาต่อไป หลังจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ประชุมชี้แจงชาวบ้านญาติโยมสารวัน จนเป็นที่เข้าใจตรงกันในพระมหากรุณาธิคุณ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระได้ประชุมชาวบ้านสารวันและใกล้เคียง แล้วกำหนดวัน พระราชทานเพิลงศพท่านพระครูบุณยโสภณ ตรงกับวันที่ 10 เมษายน 2537 >>


    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน จ.ปัตตานี ปี2535 เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน อำเภอไม้แก่น จ.ปัตตานี ปี2535 //พระเกจิ ปลายด้ามขวาน ที่ศพแข็งเหมือนหิน พระดีมีประสบการณ์มาก //พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ >> รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด ไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >> ** หลวงพ่อบุญ ติสสโร เป็นพระภิกษุที่ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดีของพระสงฆ์ และท่านทบทวนบทสวดมนต์สม่ำเสมอ โดยใช้เวลานั่งสวดมนต์หน้าพระประธานบนกุฏิหลังใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมท่านพระครูบุณยโสภณ และสนทนาธรรม พระองค์มีความเลื่อมใส ในการปฏิบัติธรรมของ ท่านพระครูบุณยโสภณ จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นค่าภัตตาหารประจำทุกปีๆ ละ 10,000 บาท เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จวันสารวัน และมีกระแสรับสั่งผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายพลากร สุวรรณรัฐ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระวัดในวัง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ให้ฌาปนกิจศพท่าน พระครูบุณยโสภณ ซึ่งญาติโยมไม่กล้าทำพิธีฌาปนกิจ เพราะศพท่านมีลักษณะ แข็งเหมือนหิน ไม่เน่าเปื่อย เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรเก็บไว้บูชาต่อไป หลังจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ประชุมชี้แจงชาวบ้านญาติโยมสารวัน จนเป็นที่เข้าใจตรงกันในพระมหากรุณาธิคุณ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระได้ประชุมชาวบ้านสารวันและใกล้เคียง แล้วกำหนดวัน พระราชทานเพิลงศพท่านพระครูบุณยโสภณ ตรงกับวันที่ 10 เมษายน 2537 >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 873 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
    #ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 304 มุมมอง 0 รีวิว
  • 33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

    ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย

    หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

    น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์

    เส้นทางการศึกษา
    มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
    มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ
    ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476)

    หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว

    จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์
    ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496

    ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า

    เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่
    การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์
    การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า
    การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า
    การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า

    หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น
    สัตว์ป่าเมืองไทย
    วัวแดง
    แรดไทย
    ช้างไทย

    รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

    ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า
    หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า

    ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น
    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย
    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย

    พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ
    ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ

    แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น
    กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
    อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย
    หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์
    แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่

    "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568

    #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 📅 ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน 🌳🌿 🔎 น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ 📚 เส้นทางการศึกษา ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ ✅ ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476) หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว 🌿 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์ ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496 🏡 ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า 📖 เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่ ✅ การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ✅ การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า ✅ การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ✅ การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น 📗 สัตว์ป่าเมืองไทย 📘 วัวแดง 📕 แรดไทย 📗 ช้างไทย รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ⚖️ ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย 📜 ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า 🎯 ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น 🌳 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย 🌲 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย 👑 พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ 🎗️ แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ✅ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ ✅ อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย ✅ หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์ ✅ แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ 💚 "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล 🌏 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568 📌 #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1667 มุมมอง 0 รีวิว
  • 5/2/68

    โรงเรียนพระดาบส
    รับสมัครศิษย์พระดาบส
    รุ่นที่ 48 สำหรับปีการศึกษา 2568
    เปิดรับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567 - 21 มีนาคม 2568

    คุณสมบัติของผู้สมัคร ชายและหญิง อายุระหว่าง 18 - 35 ปี

    หลักสูตร 1 ปี ใน 9 หลักสูตร

    • ช่างไฟฟ้า

    ช่างอิเล็กทรอนิกส์

    ช่างยนต์

    ช่างซ่อมบำรุง

    ช่างเชื่อม

    ช่างไม้เครื่องเรือนและช่างสี

    • เคหบริบาล

    • การเกษตรพอเพียง

    ช่างก่อสร้าง

    สามารถดาวน์โหลด
    ใบสมัครได้ที่นี่
    สามารถสมัคร
    เรียนออนไลน์ได้ที่นี่

    เรียนฟรี
    ในระหว่างการศึกษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นโดยจะได้รับพระราชทาน
    พระมหากรุณาธิคุณเป็นทุนการศึกษา ที่รวมถึงค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียน อาหารและที่พักอาศัย

    เปิดรับสมัคย วันจันทร์ - ศุกย์ (ยกเว้นวันหยุดขายการและนักขัตฤกษ์)
    เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ณ โรงเรียนพระดาบสสามารถสมครด้วยตัวเองหรือสแกน OR Gode เพื่อนดาวน์โหลดใบสมัคร
    0-2282-7000
    5/2/68 โรงเรียนพระดาบส รับสมัครศิษย์พระดาบส รุ่นที่ 48 สำหรับปีการศึกษา 2568 เปิดรับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567 - 21 มีนาคม 2568 คุณสมบัติของผู้สมัคร ชายและหญิง อายุระหว่าง 18 - 35 ปี หลักสูตร 1 ปี ใน 9 หลักสูตร • ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ช่างซ่อมบำรุง ช่างเชื่อม ช่างไม้เครื่องเรือนและช่างสี • เคหบริบาล • การเกษตรพอเพียง ช่างก่อสร้าง สามารถดาวน์โหลด ใบสมัครได้ที่นี่ สามารถสมัคร เรียนออนไลน์ได้ที่นี่ เรียนฟรี ในระหว่างการศึกษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นโดยจะได้รับพระราชทาน พระมหากรุณาธิคุณเป็นทุนการศึกษา ที่รวมถึงค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียน อาหารและที่พักอาศัย เปิดรับสมัคย วันจันทร์ - ศุกย์ (ยกเว้นวันหยุดขายการและนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ณ โรงเรียนพระดาบสสามารถสมครด้วยตัวเองหรือสแกน OR Gode เพื่อนดาวน์โหลดใบสมัคร 📞0-2282-7000
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 591 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
    #ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้

    เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน

    สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท

    สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน

    องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้ เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1081 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
    #ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในหลวง-พระราชินี ทรงเปิด “สะพานทศราชัน” •เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 เวลา 17.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “สะพานทศราชัน” ณ สะพานทศราชัน ทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร• เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงบริเวณสะพานทศมราชัน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้บริหาร และข้าราชการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล จบ เสร็จแล้ว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายบัตร Easy Passที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศราชัน” โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก •จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังแท่นพิธี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “สะพานทศราชัน” พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้อง ประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ เสร็จแล้ว เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายรัชนัย เปรมปราคิน ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กราบบังคมทูลเบิกผู้มีอุปการคุณ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศนราชัน”รูปแบบและแนวคิดในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของสะพานทศมราชัน จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และนายชาตรี ตันศิริ รองผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (วิศวกรรมและบำรุงรักษา) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย ในสมุดที่ระลึก สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ• สะพานทศมราชัน” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เป็นสะพานคู่ขนานแม่น้ำเจ้าพระยาคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาวสะพาน 781.2 เมตร ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้มีแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมสะพานแห่งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ของสะพานจะสื่อถึงพระองค์ท่าน ดังนี้ • ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก และความห่วงใยต่อพสกนิกร และพสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า • สายเคเบิล เป็นสีเหลือง เพื่อสื่อถึงวันพระบรมราชสมภพ คือ วันจันทร์ •รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทอง อยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ • รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ • โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกจากการเดินทางจากภาคใต้สู่กรุงเทพมหานคร และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษช่วงบางโคล่ - คาวคะนอง และถนนพระรามที่ ๒ ช่วงดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร • ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสะพานนี้ว่า “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ เนื่องในโอกาสพระราชทานพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ด้วย
    ในหลวง-พระราชินี ทรงเปิด “สะพานทศราชัน” •เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 เวลา 17.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “สะพานทศราชัน” ณ สะพานทศราชัน ทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร• เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงบริเวณสะพานทศมราชัน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้บริหาร และข้าราชการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล จบ เสร็จแล้ว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายบัตร Easy Passที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศราชัน” โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก •จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังแท่นพิธี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “สะพานทศราชัน” พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้อง ประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ เสร็จแล้ว เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายรัชนัย เปรมปราคิน ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กราบบังคมทูลเบิกผู้มีอุปการคุณ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศนราชัน”รูปแบบและแนวคิดในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของสะพานทศมราชัน จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และนายชาตรี ตันศิริ รองผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (วิศวกรรมและบำรุงรักษา) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย ในสมุดที่ระลึก สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ• สะพานทศมราชัน” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เป็นสะพานคู่ขนานแม่น้ำเจ้าพระยาคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาวสะพาน 781.2 เมตร ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้มีแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมสะพานแห่งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ของสะพานจะสื่อถึงพระองค์ท่าน ดังนี้ • ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก และความห่วงใยต่อพสกนิกร และพสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า • สายเคเบิล เป็นสีเหลือง เพื่อสื่อถึงวันพระบรมราชสมภพ คือ วันจันทร์ •รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทอง อยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ • รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ • โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกจากการเดินทางจากภาคใต้สู่กรุงเทพมหานคร และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษช่วงบางโคล่ - คาวคะนอง และถนนพระรามที่ ๒ ช่วงดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร • ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสะพานนี้ว่า “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ เนื่องในโอกาสพระราชทานพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ด้วย
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1446 มุมมอง 0 รีวิว
  • น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
    ทรงมีพระอัจฉริยภาพสุดลึกซึ้ง
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระอัจฉริยภาพสุดลึกซึ้ง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 145 มุมมอง 0 รีวิว
  • CIB RUN 2024 งานวิ่งรวมตำรวจขาแรง

    เป็นงานวิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติฯ CIB RUN 2024 เคียงข้างประชาชน ซีซัน 2 โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ที่สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2567 โดยได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ใช้สถานที่จัดการแข่งขัน

    กิจกรรมนี้ได้ บริษัท ไตรลีก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเคยจัดงานระดับนานาชาติทั้ง Amazing Thailand Marathon, พัทยามาราธอน, ไตรกีฬาโตโยต้าไอรอนแมน ฯลฯ ปีที่แล้วเปิดให้สมัครฟรีปรากฎว่าเจอซื้อ-ขายเบอร์แข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่ต้องการแบบนั้น จึงกำหนดให้มีค่าสมัครทุกระยะ แต่คิดแบบไม่หวังผลกำไร 23 กิโลเมตร (กม.) ค่าสมัคร 350 บาท 10 กม. 300 บาท และ 3 กม. 250 บาท เปิดระบบรับสมัครเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 พ.ย. 2567

    ผลก็คือมีนักวิ่งสนใจลงสมัครล้นหลามจนเว็บล่ม ก่อนเต็มจำนวนเพียงไม่กี่ชั่วโมง รวม 8,223 คน แบ่งเป็น 23 กม. 3,205 คน, 10 กม. 4,312 คน และ 3 กม. 706 คน

    มาถึงการจัดงาน เปิดสนามตั้งแต่เวลา 03.00 น. ก่อนปล่อยตัวนักวิ่ง 23 กม. เวลา 05.00 น. โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้แสลม นักร้องชื่อดังมาให้กำลังใจนักวิ่งอีกด้วย ส่วนนักวิ่ง 10 กม. ปล่อยตัวที่ กม.14 ของสนามลู่ปั่น (ทางเข้าสนามบินฯ ด้านถนนบางนา-ตราด) เวลา 05.03 น. โดยพบว่านอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีข้าราชการตำรวจ ที่ถือโอกาสเจอเพื่อนร่วมรุ่นที่ไม่ได้พบกันมานานไปในตัว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม แต่งกายเต็มยศให้กำลังใจก่อนเข้าเส้นชัยอีกด้วย

    สำหรับผู้ชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปชาย 23 กม. ได้แก่ ร.ต.อ.ปฏิการ เพชรศรีชา ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาที ส่วนประเภทบุคคลทั่วไปหญิง 23 กม. ได้แก่ น.ส.อรอนงค์ วงศร ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 35 นาที

    พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานรางวัลชนะเลิศแก่นักวิ่ง ขอขอบคุณประชาชนที่เข้าร่วมสมัครในปีนี้อย่างล้นหลาม หลายคนรอคอยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เชื่อว่าการออกกำลังทุกประเภทส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายจากความเครียด ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือสิ่งที่พบเจอในแต่ละวันได้ และขอขอบคุณที่ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สนับสนุนการออกกำลังกายให้กับพี่น้องคนไทยทุกคน

    #Newskit
    CIB RUN 2024 งานวิ่งรวมตำรวจขาแรง เป็นงานวิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติฯ CIB RUN 2024 เคียงข้างประชาชน ซีซัน 2 โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ที่สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2567 โดยได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ใช้สถานที่จัดการแข่งขัน กิจกรรมนี้ได้ บริษัท ไตรลีก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเคยจัดงานระดับนานาชาติทั้ง Amazing Thailand Marathon, พัทยามาราธอน, ไตรกีฬาโตโยต้าไอรอนแมน ฯลฯ ปีที่แล้วเปิดให้สมัครฟรีปรากฎว่าเจอซื้อ-ขายเบอร์แข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่ต้องการแบบนั้น จึงกำหนดให้มีค่าสมัครทุกระยะ แต่คิดแบบไม่หวังผลกำไร 23 กิโลเมตร (กม.) ค่าสมัคร 350 บาท 10 กม. 300 บาท และ 3 กม. 250 บาท เปิดระบบรับสมัครเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 พ.ย. 2567 ผลก็คือมีนักวิ่งสนใจลงสมัครล้นหลามจนเว็บล่ม ก่อนเต็มจำนวนเพียงไม่กี่ชั่วโมง รวม 8,223 คน แบ่งเป็น 23 กม. 3,205 คน, 10 กม. 4,312 คน และ 3 กม. 706 คน มาถึงการจัดงาน เปิดสนามตั้งแต่เวลา 03.00 น. ก่อนปล่อยตัวนักวิ่ง 23 กม. เวลา 05.00 น. โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้แสลม นักร้องชื่อดังมาให้กำลังใจนักวิ่งอีกด้วย ส่วนนักวิ่ง 10 กม. ปล่อยตัวที่ กม.14 ของสนามลู่ปั่น (ทางเข้าสนามบินฯ ด้านถนนบางนา-ตราด) เวลา 05.03 น. โดยพบว่านอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีข้าราชการตำรวจ ที่ถือโอกาสเจอเพื่อนร่วมรุ่นที่ไม่ได้พบกันมานานไปในตัว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม แต่งกายเต็มยศให้กำลังใจก่อนเข้าเส้นชัยอีกด้วย สำหรับผู้ชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปชาย 23 กม. ได้แก่ ร.ต.อ.ปฏิการ เพชรศรีชา ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาที ส่วนประเภทบุคคลทั่วไปหญิง 23 กม. ได้แก่ น.ส.อรอนงค์ วงศร ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 35 นาที พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานรางวัลชนะเลิศแก่นักวิ่ง ขอขอบคุณประชาชนที่เข้าร่วมสมัครในปีนี้อย่างล้นหลาม หลายคนรอคอยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เชื่อว่าการออกกำลังทุกประเภทส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายจากความเครียด ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือสิ่งที่พบเจอในแต่ละวันได้ และขอขอบคุณที่ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สนับสนุนการออกกำลังกายให้กับพี่น้องคนไทยทุกคน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1171 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง

    เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา

    สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

    พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก

    ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1

    #Newskit
    สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1 #Newskit
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1056 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts