• “ทราย สก๊อต” ไม้ขีดไฟประกายแสงแห่งความจริง : คนเคาะข่าว 30-04-68
    ร่วมสนทนา
    ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์
    #ทรายสก๊อต #ทะเลไทย #นักอนุรักษ์
    #คนเคาะข่าว #news1
    “ทราย สก๊อต” ไม้ขีดไฟประกายแสงแห่งความจริง : คนเคาะข่าว 30-04-68 ร่วมสนทนา ทราย สิรณัฐ สก๊อต นักอนุรักษ์ทะเล ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์ #ทรายสก๊อต #ทะเลไทย #นักอนุรักษ์ #คนเคาะข่าว #news1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • "ทราย สก๊อต"ไปเหยียบตีนใคร ที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ในทะเลไทย
    .
    “ทราย สก๊อต” หรือ สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี อินฟลูเอนเซอร์หนุ่มลูกครึ่งไทย-สกอตต์แลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของคุณจำนงค์ ภิรมย์ภักดี อดีตประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ทรายเรียนจบการศึกษาปริญญาตรีทางด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกาและเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเล 30 กม.ได้รับฉายาเป็น“อควาแมนเมืองไทย” ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯนายอรรถพล เจริญชันษา เมื่อต้นปี 2567 ด้วยภาพลักษณ์คนรุ่นใหม่ รักษ์ทะเล จริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อม และสื่อสารเก่งผ่านโซเชียล
    .
    เขาทำงานเชิงรุกในภาคสนามอย่างเข้มข้น ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ผ่อนปรน ยอมหักไม่ยอมงอ ทั้งเตือนนักท่องเที่ยว ใช้กฎหมายจัดการผู้ละเมิดกฎอุทยาน ไม่เว้นแม้แต่บริษัทเรือหรือไกด์ทัวร์ที่ให้อาหารสัตว์ทะเลหรือเหยียบปะการัง จนเกิดความไม่พอใจจากบางกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเกินขอบเขต ทำคอนเทนต์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และพูดจาเหยียดหยามเจ้าหน้าที่
    .
    เหตุการณ์เริ่มต้นจากคลิป “หนีห่าว” ที่ทรายเข้าไปตักเตือนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่พูดจาเหยียดคนไทย ตามด้วยคดีฟ้องหมิ่นประมาทจากบริษัทเรือ ก่อกระแสโต้กลับหนักบนโซเชียลและในวงราชการ กระทั่งวันที่ 21 เม.ย. 2568 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาตินายอรรถพล เจริญชันษา มีคำสั่งปลดทรายออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่า “มีความประพฤติไม่เหมาะสม เตือนแล้วก็ไม่แก้ไขปรับปรุง ทำงานร่วมกับใครไม่ได้”
    .
    สังคมออนไลน์กลับมองต่าง ช่วยกันติดแฮชแท็ก #Saveทราย #คืนทรายให้ทะเล พร้อมตั้งคำถามว่า “เขาไปเหยียบตีนใครหรือเปล่า?” เพราะสิ่งที่ทรายพูดอาจเป็นการสะกิดรอยรั่วของระบบอุทยานฯ โดยเฉพาะพื้นที่ “ทำเงิน”ในอุทยานทางทะเล 4 แห่งคืออุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดภูเก็ต, อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดกระบี่, อุทยานแห่งชาติแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง, อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ก็ฟาดไปกว่าปีละ 500 ล้านบาท
    .
    ทรายยืนยันว่า “ไม่ได้ล้ำเส้น แค่ใช้กฎให้ถูกต้อง” พร้อมเปรยว่า “ผมเห็นเยอะเกินไป” เป็นประโยคที่หลายคนตีความว่า เขาอาจสัมผัสปัญหาหรือความหย่อนยานเชิงโครงสร้างในระบบราชการที่ไม่มีใครกล้าพูด
    .
    ขบวนการผลประโยชน์ที่ "ทราย สก๊อต" มองเห็นอยู่ ย่อมไม่มีผลดีต่อพวกที่คิดชั่ว ทำชั่วระบบเวียนตั๋ว-อุปถัมภ์-ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ใช่แค่โกงตั๋ว ยังมีการจัดซื้อจัดจ้าง ส่อแววเอื้อพวกพ้อง ทั้งที่รายได้จากอุทยานทั่วประเทศปี 2567 พุ่งถึง 2,200 ล้านบาท แต่สวัสดิการพื้นฐานของเจ้าหน้าที่อุทยาน เช่น ประกันภัยยังแทบไม่มี “ทราย สก๊อต” เคยเสนอแนวคิดใช้เงินตรงนี้ดูแลคนทำงานจริง กลับถูกต้านจากระบบ เป็นไปได้หรือไม่ว่าตัวจริงเป็น "ไอ้โม่ง" ที่อยู่ข้างหลัง คือตัวเบิ้มๆ ที่คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
    .
    นี่ล่ะ คือเบื้องหน้าเบื้องหลังของกรณี "หนีห่าว" ของ "ทราย สก๊อต" ที่ไม่ได้จบแค่เรื่องการเหยียดคนไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่ยังสะท้อนถึงปัญหาเชิงระบบ ปัญหาเรื่องผลประโยชน์นับพันล้านของกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเงื้อมมือของข้าราชการและนักการเมืองที่ตัดไม่ได้ขายไม่ออกด้วย
    .
    สำหรับคุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน นั้น ท่านก็เคยมีวีรกรรมของท่านมากมายเหลือเกินสมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ แล้วก็มีเรื่องนี้ที่เกิดขึ้น ผมไม่รู้ว่าการสั่งซื้อเรือราคาหลายร้อยล้านบาทนั้น มันออกมาจากคนไหน ท่านรัฐมนตรีฯ เฉลิมชัย เป็นคนกระซิบคุณอริยะ เชื้อชม ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติหรือเปล่า ผมไม่ทราบ ผมรู้แต่ว่า คุณเฉลิมชัย อยู่ที่ไหน ที่นั่นไม่ค่อยจะสงบสุขเลย
    "ทราย สก๊อต"ไปเหยียบตีนใคร ที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ในทะเลไทย . “ทราย สก๊อต” หรือ สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี อินฟลูเอนเซอร์หนุ่มลูกครึ่งไทย-สกอตต์แลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของคุณจำนงค์ ภิรมย์ภักดี อดีตประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ทรายเรียนจบการศึกษาปริญญาตรีทางด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกาและเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเล 30 กม.ได้รับฉายาเป็น“อควาแมนเมืองไทย” ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานฯนายอรรถพล เจริญชันษา เมื่อต้นปี 2567 ด้วยภาพลักษณ์คนรุ่นใหม่ รักษ์ทะเล จริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อม และสื่อสารเก่งผ่านโซเชียล . เขาทำงานเชิงรุกในภาคสนามอย่างเข้มข้น ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ผ่อนปรน ยอมหักไม่ยอมงอ ทั้งเตือนนักท่องเที่ยว ใช้กฎหมายจัดการผู้ละเมิดกฎอุทยาน ไม่เว้นแม้แต่บริษัทเรือหรือไกด์ทัวร์ที่ให้อาหารสัตว์ทะเลหรือเหยียบปะการัง จนเกิดความไม่พอใจจากบางกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเกินขอบเขต ทำคอนเทนต์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และพูดจาเหยียดหยามเจ้าหน้าที่ . เหตุการณ์เริ่มต้นจากคลิป “หนีห่าว” ที่ทรายเข้าไปตักเตือนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่พูดจาเหยียดคนไทย ตามด้วยคดีฟ้องหมิ่นประมาทจากบริษัทเรือ ก่อกระแสโต้กลับหนักบนโซเชียลและในวงราชการ กระทั่งวันที่ 21 เม.ย. 2568 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาตินายอรรถพล เจริญชันษา มีคำสั่งปลดทรายออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่า “มีความประพฤติไม่เหมาะสม เตือนแล้วก็ไม่แก้ไขปรับปรุง ทำงานร่วมกับใครไม่ได้” . สังคมออนไลน์กลับมองต่าง ช่วยกันติดแฮชแท็ก #Saveทราย #คืนทรายให้ทะเล พร้อมตั้งคำถามว่า “เขาไปเหยียบตีนใครหรือเปล่า?” เพราะสิ่งที่ทรายพูดอาจเป็นการสะกิดรอยรั่วของระบบอุทยานฯ โดยเฉพาะพื้นที่ “ทำเงิน”ในอุทยานทางทะเล 4 แห่งคืออุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดภูเก็ต, อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดกระบี่, อุทยานแห่งชาติแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง, อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ก็ฟาดไปกว่าปีละ 500 ล้านบาท . ทรายยืนยันว่า “ไม่ได้ล้ำเส้น แค่ใช้กฎให้ถูกต้อง” พร้อมเปรยว่า “ผมเห็นเยอะเกินไป” เป็นประโยคที่หลายคนตีความว่า เขาอาจสัมผัสปัญหาหรือความหย่อนยานเชิงโครงสร้างในระบบราชการที่ไม่มีใครกล้าพูด . ขบวนการผลประโยชน์ที่ "ทราย สก๊อต" มองเห็นอยู่ ย่อมไม่มีผลดีต่อพวกที่คิดชั่ว ทำชั่วระบบเวียนตั๋ว-อุปถัมภ์-ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ใช่แค่โกงตั๋ว ยังมีการจัดซื้อจัดจ้าง ส่อแววเอื้อพวกพ้อง ทั้งที่รายได้จากอุทยานทั่วประเทศปี 2567 พุ่งถึง 2,200 ล้านบาท แต่สวัสดิการพื้นฐานของเจ้าหน้าที่อุทยาน เช่น ประกันภัยยังแทบไม่มี “ทราย สก๊อต” เคยเสนอแนวคิดใช้เงินตรงนี้ดูแลคนทำงานจริง กลับถูกต้านจากระบบ เป็นไปได้หรือไม่ว่าตัวจริงเป็น "ไอ้โม่ง" ที่อยู่ข้างหลัง คือตัวเบิ้มๆ ที่คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ . นี่ล่ะ คือเบื้องหน้าเบื้องหลังของกรณี "หนีห่าว" ของ "ทราย สก๊อต" ที่ไม่ได้จบแค่เรื่องการเหยียดคนไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่ยังสะท้อนถึงปัญหาเชิงระบบ ปัญหาเรื่องผลประโยชน์นับพันล้านของกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเงื้อมมือของข้าราชการและนักการเมืองที่ตัดไม่ได้ขายไม่ออกด้วย . สำหรับคุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน นั้น ท่านก็เคยมีวีรกรรมของท่านมากมายเหลือเกินสมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ แล้วก็มีเรื่องนี้ที่เกิดขึ้น ผมไม่รู้ว่าการสั่งซื้อเรือราคาหลายร้อยล้านบาทนั้น มันออกมาจากคนไหน ท่านรัฐมนตรีฯ เฉลิมชัย เป็นคนกระซิบคุณอริยะ เชื้อชม ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติหรือเปล่า ผมไม่ทราบ ผมรู้แต่ว่า คุณเฉลิมชัย อยู่ที่ไหน ที่นั่นไม่ค่อยจะสงบสุขเลย
    Like
    Love
    19
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1013 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทะเลไทยสร้างรายได้มหาศาล - แต่เงินเข้ารัฐครบทุกบาทหรือยัง? เปิดเส้นทางผลประโยชน์ในพื้นที่สงวนที่ไม่เคยมีใครอยากพูดถึง

    #อุทยานทะเล #พื้นที่สีเทาในเงาราชการ #อุทยานทะเลอุทยานทะเล #สนทะเลทอง #ผลประโยชน์ทางทะเล #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    ทะเลไทยสร้างรายได้มหาศาล - แต่เงินเข้ารัฐครบทุกบาทหรือยัง? เปิดเส้นทางผลประโยชน์ในพื้นที่สงวนที่ไม่เคยมีใครอยากพูดถึง #อุทยานทะเล #พื้นที่สีเทาในเงาราชการ #อุทยานทะเลอุทยานทะเล #สนทะเลทอง #ผลประโยชน์ทางทะเล #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1302 มุมมอง 12 0 รีวิว
  • ถือเป็นอีกหนึ่งทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ อันร้อนแรงบนสังคมโซเชียลบ้านเราต่อกรณี “ทราย สก๊อต” ที่แม้จะถูกปลดออกจากหน้าที่ แต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่ทำมาหากินกับท้องทะเลไทยในพื้นที่ได้อย่างใหญ่หลวง

    “ทราย สก๊อต” หรือ “สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี” เป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของจำนง ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกา

    ทราย สก๊อต สร้างชื่อจากการเป็นเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเลข้ามเกาะโดยไม่ใช่เครื่องช่วยชีวิตรวดเดียว 30 กิโลเมตร จนได้รับฉายาว่า “อควาแมนเมืองไทย” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอินฟลูคนดังด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลของเมืองไทย

    ทราย สก๊อต ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ซึ่งเขาถูกยกให้เป็นนักอนุรักษ์ทะเลไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ไม่ว่าจะเป็น เป็นลูกคนรวย เก่ง มีการศึกษาดี ภาษาอังกฤษเยี่ยม และเชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียล

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037394

    #MGROnline #ทรายสก๊อต #อุทยาน #ทะเลภาคใต้ #กรมอุทยานแห่งชาติ
    ถือเป็นอีกหนึ่งทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ อันร้อนแรงบนสังคมโซเชียลบ้านเราต่อกรณี “ทราย สก๊อต” ที่แม้จะถูกปลดออกจากหน้าที่ แต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่ทำมาหากินกับท้องทะเลไทยในพื้นที่ได้อย่างใหญ่หลวง • “ทราย สก๊อต” หรือ “สิรณัฐ ภิรมย์ภักดี” เป็นหนุ่มลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ ทายาทสิงห์รุ่น 4 หลานชายของจำนง ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านแอนิเมชันจากสหรัฐอเมริกา • ทราย สก๊อต สร้างชื่อจากการเป็นเจ้าของสถิติว่ายน้ำทะเลข้ามเกาะโดยไม่ใช่เครื่องช่วยชีวิตรวดเดียว 30 กิโลเมตร จนได้รับฉายาว่า “อควาแมนเมืองไทย” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอินฟลูคนดังด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลของเมืองไทย • ทราย สก๊อต ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ซึ่งเขาถูกยกให้เป็นนักอนุรักษ์ทะเลไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ไม่ว่าจะเป็น เป็นลูกคนรวย เก่ง มีการศึกษาดี ภาษาอังกฤษเยี่ยม และเชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียล • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9680000037394 • #MGROnline #ทรายสก๊อต #อุทยาน #ทะเลภาคใต้ #กรมอุทยานแห่งชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 303 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรายรักทะเลไทย กลายเป็นแพะหรือทำเกินหน้าที่?
    ทรายรักทะเลไทย กลายเป็นแพะหรือทำเกินหน้าที่?
    Like
    Haha
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 392 มุมมอง 30 0 รีวิว
  • ความล่าช้าของโครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 สร้างไม่เสร็จซักที จนถูกเรียกเป็น ‘ถนน 7 ชั่วโคตร’ กับอุบัติเหตุความสูญเสียที่เกิดขึ้นซ้ำซาก แต่กระทรวงคมนาคม ยังมั่นใจจะปิดตำนาน‘ถนน 7 ชั่วโคตร’ภายในปี68 !! รวมทั้งดรามา สะพานลอยคนเดินข้าม หน้าตลาดทะเลไทย บริเวณการก่อสร้าง มอเตอร์เวย์ M82 จะใช้ทางเดินเบี่ยงถึง 15 ต.ค.68 ติดตั้งสะพานลอยใหม่แล้วเสร็จ 1 พ.ย.68
    ความล่าช้าของโครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 สร้างไม่เสร็จซักที จนถูกเรียกเป็น ‘ถนน 7 ชั่วโคตร’ กับอุบัติเหตุความสูญเสียที่เกิดขึ้นซ้ำซาก แต่กระทรวงคมนาคม ยังมั่นใจจะปิดตำนาน‘ถนน 7 ชั่วโคตร’ภายในปี68 !! รวมทั้งดรามา สะพานลอยคนเดินข้าม หน้าตลาดทะเลไทย บริเวณการก่อสร้าง มอเตอร์เวย์ M82 จะใช้ทางเดินเบี่ยงถึง 15 ต.ค.68 ติดตั้งสะพานลอยใหม่แล้วเสร็จ 1 พ.ย.68
    Haha
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1253 มุมมอง 57 0 รีวิว
  • ทะเลไทย@TikTok@psiscott #ทรายมนุษย์เงือกtiktok #อุทยาน #สิมิลัน #ขยะ #เริ่มที่ตัวเรา #ว่างว่างก็แวะมา
    ทะเลไทย@TikTok@psiscott #ทรายมนุษย์เงือกtiktok #อุทยาน #สิมิลัน #ขยะ #เริ่มที่ตัวเรา #ว่างว่างก็แวะมา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 387 มุมมอง 0 0 รีวิว
  • หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด.ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง.ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด.ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล.คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้.ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ.รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม.มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด.ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง.ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด.ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล.คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้.ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ.รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม.มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 933 มุมมอง 0 รีวิว
  • หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด
    .
    ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง
    .
    ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด
    .
    ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล
    .
    คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้
    .
    ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ
    .
    รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม
    .
    มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด . ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง . ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด . ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล . คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้ . ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ . รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม . มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    Like
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1406 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2

    โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต

    เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

    แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ

    สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน

    ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น

    #Newskit
    อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2 โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น #Newskit
    Like
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 881 มุมมอง 0 รีวิว
  • 8 พฤศจิกายน 2567- รายงานประชาติธุรกิจ ระบุว่า “ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข” นักรัฐศาสตร์ด้านความมั่นคง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความวิชาการถึง การอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ข้อสังเกตทางรัฐศาสตร์ รวมทั้งหมด 32 ข้อ

    https://www.prachachat.net/politics/news-1691393

    #Thaitimes
    8 พฤศจิกายน 2567- รายงานประชาติธุรกิจ ระบุว่า “ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข” นักรัฐศาสตร์ด้านความมั่นคง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความวิชาการถึง การอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ข้อสังเกตทางรัฐศาสตร์ รวมทั้งหมด 32 ข้อ https://www.prachachat.net/politics/news-1691393 #Thaitimes
    WWW.PRACHACHAT.NET
    สุรชาติ : เจรจาพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ไม่มี The Winner Take All
    พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา กลายเป็นประเด็นร้อนแรงทางการเมือง พรรคพลังประชารัฐเดินหน้าภายใต้การสั่งการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 912 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    13
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1033 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา

    4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน

    ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป
    อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ

    หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

    ที่มา NBT CONNEXT

    #Thaitimes
    นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา 4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ที่มา NBT CONNEXT #Thaitimes
    Like
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 748 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1831 มุมมอง 0 รีวิว
  • หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

    ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้

    หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น

    ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้

    โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย

    ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

    ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“

    การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว

    การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า

    “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“

    ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า

    “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“

    นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน

    เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด

    ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง

    การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73

    ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

    เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว

    ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย

    ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ

    พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้”

    แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย

    แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย

    หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น

    ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้

    และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    23 ตุลาคม 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/?

    #Thaitimes
    หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“ ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้ โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“ การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“ ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้” แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้ และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/? #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1706 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกาะโลซิน แหล่งดำน้ำทรงคุณค่าแห่งอาณาจักรทะเลไทย

    หากใครไม่เคยรู้จักหรือเห็นภาพ “เกาะโลซิน” มาก่อน ก็คงนึกภาพไม่ออกว่าเกาะที่เป็นแหล่งดำน้ำสำคัญของไทยแห่งนี้หน้าตาเป็นอย่างไร และอาจจะจินตนาการถึงเกาะในแบบที่คุ้นตาซึ่งต้องมีชายหาด ทิวมะพร้าว เรือหางยาวจอดสวยๆซักลำ

    ความจริงแล้วเกาะโลซิน เสมือนกองหินกลางทะเลที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือน้ำประมาณสิบเมตรเท่านั้น สิ่งเดียวที่เห็นคือแนวหินกับประภาคารเล็กๆโดดเดี่ยวตั้งอยู่ห่างไกลจากฝั่งมากที่สุดของอ่าวไทย ระยะประมาณ 72 กิโลเมตรจากชายฝั่งจังหวัดปัตตานี
    แต่ทว่าเกาะจิ๋วแห่งนี้ มีคุณค่าต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล เพราะตามหลักอาณาเขตน่านน้ำสากลแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่จากจากเกาะโลซินออกไปอีกถึง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่มิอาจประเมินค่าได้ และที่นี่ยังเป็นแหล่งดำน้ำที่อุดมสมบูรณ์มากท่สุดแห่งหนึ่งของอ่าวไทยอีกด้วย

    ใต้ผืนน้ำของเกาะโลซินมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ เป็นบริเวณกว้าง ถ้านับแค่รอบๆเกาะก็มีพื้นที่ราว 2 สนามฟุตบอล มีฝูงปลา สัตว์ทะเลชนิดต่างๆจำนวนมาก เพราะยังไม่ค่อยถูกรบกวนจากการประมงมากนัก นักดำน้ำมีโอกาสสามารถพบฉลามวาฬได้ง่าย เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีเรือประมงทำให้ฉลามวาฬเชื่องกับนักดำน้ำ มักว่ายมาวนให้ถ่ายรูปได้อย่างน่าประทับใจ นอกจากนี้ยังมีปลาโรนิน หรือปลากระเบนท้องน้ำ ที่ไม่ค่อยพบเห็นได้ง่ายจากที่อื่น



    เกาะโลซิน แหล่งดำน้ำทรงคุณค่าแห่งอาณาจักรทะเลไทย หากใครไม่เคยรู้จักหรือเห็นภาพ “เกาะโลซิน” มาก่อน ก็คงนึกภาพไม่ออกว่าเกาะที่เป็นแหล่งดำน้ำสำคัญของไทยแห่งนี้หน้าตาเป็นอย่างไร และอาจจะจินตนาการถึงเกาะในแบบที่คุ้นตาซึ่งต้องมีชายหาด ทิวมะพร้าว เรือหางยาวจอดสวยๆซักลำ ความจริงแล้วเกาะโลซิน เสมือนกองหินกลางทะเลที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือน้ำประมาณสิบเมตรเท่านั้น สิ่งเดียวที่เห็นคือแนวหินกับประภาคารเล็กๆโดดเดี่ยวตั้งอยู่ห่างไกลจากฝั่งมากที่สุดของอ่าวไทย ระยะประมาณ 72 กิโลเมตรจากชายฝั่งจังหวัดปัตตานี แต่ทว่าเกาะจิ๋วแห่งนี้ มีคุณค่าต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล เพราะตามหลักอาณาเขตน่านน้ำสากลแล้ว ทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่จากจากเกาะโลซินออกไปอีกถึง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่มิอาจประเมินค่าได้ และที่นี่ยังเป็นแหล่งดำน้ำที่อุดมสมบูรณ์มากท่สุดแห่งหนึ่งของอ่าวไทยอีกด้วย ใต้ผืนน้ำของเกาะโลซินมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ เป็นบริเวณกว้าง ถ้านับแค่รอบๆเกาะก็มีพื้นที่ราว 2 สนามฟุตบอล มีฝูงปลา สัตว์ทะเลชนิดต่างๆจำนวนมาก เพราะยังไม่ค่อยถูกรบกวนจากการประมงมากนัก นักดำน้ำมีโอกาสสามารถพบฉลามวาฬได้ง่าย เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีเรือประมงทำให้ฉลามวาฬเชื่องกับนักดำน้ำ มักว่ายมาวนให้ถ่ายรูปได้อย่างน่าประทับใจ นอกจากนี้ยังมีปลาโรนิน หรือปลากระเบนท้องน้ำ ที่ไม่ค่อยพบเห็นได้ง่ายจากที่อื่น
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 524 มุมมอง 0 รีวิว