• #วัดธาตุทอง
    #กรุงเทพมหานครฯ

    วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ

    ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง

    พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481

    ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน

    สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม

    ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​

    เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดธาตุทอง #กรุงเทพมหานครฯ วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​ เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 217 มุมมอง 0 รีวิว
  • 17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498
    วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต

    หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า

    “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8”

    ————

    "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด"


    ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด

    เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน

    สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่

    1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้:

    “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

    ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้

    แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น

    บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย

    ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498”

    ................

    2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต

    ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว

    ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ

    แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น

    ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’”

    ..................

    3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้:

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’”

    ----------

    ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม

    จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว

    ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

    ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า)

    ………

    ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

    —————-

    ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้:


    “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา

    น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ

    น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

    ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย

    ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย)

    มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.”

    (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)

    ------------

    จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ

    แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…”

    ……….

    ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย

    จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ

    ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
    ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498 วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8” ———— "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด" ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่ 1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้: “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้ แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498” ................ 2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้ “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’” .................. 3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้: “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’” ---------- ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า) ……… ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย —————- ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้: “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย) มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.” (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย) ------------ จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…” ………. ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 287 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระกลีบบัวอาจารย์ชุม ไชยคีรี วัดพระบรมธาตุ ปี2497

    พระกลีบบัวปางมารวิชัย อาจารย์ชุม ไชยคีรี วัดพระบรมธาตุ ปี2497 // พระดีพิธีใหญ่ จัดเป็นพิมพ์พิเศษที่สร้างในพิธี จำนวนสร้างน้อย หายากมาก // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณสูงแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหนียว ฟันแทงไม่เข้า ได้โชค ได้ลาภ เสริมด้านเมตตา มหานิยม ด้านโภคทรัพย์และมีโชคมีลาภ >>

    ** มวลสารที่รวบรวมมามีพระกรุสุดยอดพระเครื่องจากทั่วประเทศ มาดำเนินการสร้างพระนี้ จากการรวบรวมปรากฎว่าได้พระกรุมากว่า 108 กรุ ว่านยาอีก 108 ชนิด รวมทั้งผงวิเศษ อาทิเช่น พระกรุนางตรา-ท่าเรือ, กรุท้าวโคตร, สมเด็จวัดระฆัง, สมเด็จบางขุนพรหม, พระผงสุพรรณ, ผงดำผงแดงหุ่นพยนต์, หลวงพ่อเกตุ วัดขวิด, ขุนแผนวัดพระรูปและวัดบ้านกร่าง, พระนางพญาวัดนางพญาและวัดต้นจันทร์ สุพรรณบุรี, พระกรุต่าง ๆ ในกำแพงเพชร, พระกรุต่าง ๆ ในสุโขทัย, หูยานลพบุรี, ท่ากระดานหูไห กาญจนบุรี, พระกรุวัดท่ามะปราง, พระวัดชินราช พิษณุโลก, พระหลวงพ่อจุก, พระจุฬามณี พิษณุโลก, พระรอด พระคง พระเปิม-ลำพูน, มหาว่านวัดเขาอ้อ-พัทลุง, และพระกรุศรีวิชัยฯลฯ พิธีปลุกเสกได้นิมนต์พระเถราจารย์ ผู้เรืองเวทวิทยาคม 108 รูป มาร่วมประกอบพิธี มีท่านเจ้าคุณภัทรมุขมุณี วัดพระบรมธาตุฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สำหรับพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกขอยกมาเป็นบางส่วน ได้แก่ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จันดี, หลวงพ่อโอภาสี บางมด ธนบุรี, หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน, หลวงพ่อเมือง วัดท่าพญา, หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย, หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำ ปากพนัง, หลวงพ่อแดง วัดโท ท่าศาลา, หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง ร่อนพิบูลย์, หลวงพ่อแดง วัดเขาหลัก ทุ่งใหญ่, หลวงพ่อตุด วัดทุ่งกง กระบี่, หลวงพ่อวัน มะนะโส วัดประสิทธิชัย, หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ตรัง, หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ. หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก, หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง ตะวันออก พัทลุง, หลวงพ่อพัว วัดเขาราหู (วัดบางเดือน). หลวงพ่อแดง วัดคลองไทร, หลวงพ่อวิรัช วัดกะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี, หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน, หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย, หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู, หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน ชุมพร, หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ บางสะพาน, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม ฯลฯ อาจารย์ที่เป็นฆราวาสได้แก่ อ.ชุม ไชยคีรี, อ.นำ แก้วจันทร์, พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ ราชเดช การปลุกเสกเน้นเด่นเฉพาะทาง แบ่งออกเป็นช่วง ช่วงละ 7 วัน เช่น ปลุกเสกเน้นด้านคงกระพันชาตรี 7 วัน มหาอุด 7 วัน ป้องกันสัตว์ร้ายและโจรร้าย 7 วัน ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและภูตผีปีศาจ 7 วัน เมตตามหานิยม 7 วัน >>

    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    พระกลีบบัวอาจารย์ชุม ไชยคีรี วัดพระบรมธาตุ ปี2497 พระกลีบบัวปางมารวิชัย อาจารย์ชุม ไชยคีรี วัดพระบรมธาตุ ปี2497 // พระดีพิธีใหญ่ จัดเป็นพิมพ์พิเศษที่สร้างในพิธี จำนวนสร้างน้อย หายากมาก // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณสูงแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เหนียว ฟันแทงไม่เข้า ได้โชค ได้ลาภ เสริมด้านเมตตา มหานิยม ด้านโภคทรัพย์และมีโชคมีลาภ >> ** มวลสารที่รวบรวมมามีพระกรุสุดยอดพระเครื่องจากทั่วประเทศ มาดำเนินการสร้างพระนี้ จากการรวบรวมปรากฎว่าได้พระกรุมากว่า 108 กรุ ว่านยาอีก 108 ชนิด รวมทั้งผงวิเศษ อาทิเช่น พระกรุนางตรา-ท่าเรือ, กรุท้าวโคตร, สมเด็จวัดระฆัง, สมเด็จบางขุนพรหม, พระผงสุพรรณ, ผงดำผงแดงหุ่นพยนต์, หลวงพ่อเกตุ วัดขวิด, ขุนแผนวัดพระรูปและวัดบ้านกร่าง, พระนางพญาวัดนางพญาและวัดต้นจันทร์ สุพรรณบุรี, พระกรุต่าง ๆ ในกำแพงเพชร, พระกรุต่าง ๆ ในสุโขทัย, หูยานลพบุรี, ท่ากระดานหูไห กาญจนบุรี, พระกรุวัดท่ามะปราง, พระวัดชินราช พิษณุโลก, พระหลวงพ่อจุก, พระจุฬามณี พิษณุโลก, พระรอด พระคง พระเปิม-ลำพูน, มหาว่านวัดเขาอ้อ-พัทลุง, และพระกรุศรีวิชัยฯลฯ พิธีปลุกเสกได้นิมนต์พระเถราจารย์ ผู้เรืองเวทวิทยาคม 108 รูป มาร่วมประกอบพิธี มีท่านเจ้าคุณภัทรมุขมุณี วัดพระบรมธาตุฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สำหรับพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกขอยกมาเป็นบางส่วน ได้แก่ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จันดี, หลวงพ่อโอภาสี บางมด ธนบุรี, หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน, หลวงพ่อเมือง วัดท่าพญา, หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย, หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำ ปากพนัง, หลวงพ่อแดง วัดโท ท่าศาลา, หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง ร่อนพิบูลย์, หลวงพ่อแดง วัดเขาหลัก ทุ่งใหญ่, หลวงพ่อตุด วัดทุ่งกง กระบี่, หลวงพ่อวัน มะนะโส วัดประสิทธิชัย, หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ตรัง, หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ. หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก, หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง ตะวันออก พัทลุง, หลวงพ่อพัว วัดเขาราหู (วัดบางเดือน). หลวงพ่อแดง วัดคลองไทร, หลวงพ่อวิรัช วัดกะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี, หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน, หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย, หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู, หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน ชุมพร, หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ บางสะพาน, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม ฯลฯ อาจารย์ที่เป็นฆราวาสได้แก่ อ.ชุม ไชยคีรี, อ.นำ แก้วจันทร์, พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ ราชเดช การปลุกเสกเน้นเด่นเฉพาะทาง แบ่งออกเป็นช่วง ช่วงละ 7 วัน เช่น ปลุกเสกเน้นด้านคงกระพันชาตรี 7 วัน มหาอุด 7 วัน ป้องกันสัตว์ร้ายและโจรร้าย 7 วัน ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและภูตผีปีศาจ 7 วัน เมตตามหานิยม 7 วัน >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 254 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “สุชาติ ตระกูลเกษมสุข” เป็นประธาน ป.ป.ช. แทน พล.ต.อ.วัชรพล ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    .
    วันนี้ (12 ก.พ.) ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่าตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจริตแห่งชาติ ตามประกาศลงวันที่ 30 ธ.ค.2558 นั้น ต่อมาพลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ได้พ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ เป็นเหตุให้ตำแหน่งว่างลง
    .
    บัดนี้ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่มีอยู่จำนวนเจ็ดคนได้ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แล้ว
    .
    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 232 ของรัฐธธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
    .
    ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    .
    ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2568 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน
    .
    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
    นายมงคล สุระสัจจะ
    ประธานวุฒิสภา
    .
    อนึ่ง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ 5 ต่อ 2 เลือกนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ให้เป็นประธาน ป.ป.ช.คนใหม่ ซึ่งจะทำหน้าที่ไปจนถึงวันที่ 9 ก.ค. 2570 โดยนายสุชาติสำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย โดยก่อนหน้านี้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งมีนบุรี ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2563 โดยผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014173
    ..............
    Sondhi X
    มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “สุชาติ ตระกูลเกษมสุข” เป็นประธาน ป.ป.ช. แทน พล.ต.อ.วัชรพล ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป . วันนี้ (12 ก.พ.) ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่าตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจริตแห่งชาติ ตามประกาศลงวันที่ 30 ธ.ค.2558 นั้น ต่อมาพลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ได้พ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ เป็นเหตุให้ตำแหน่งว่างลง . บัดนี้ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่มีอยู่จำนวนเจ็ดคนได้ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แล้ว . อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 232 ของรัฐธธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ . ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป . ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2568 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน . ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา . อนึ่ง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ 5 ต่อ 2 เลือกนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ให้เป็นประธาน ป.ป.ช.คนใหม่ ซึ่งจะทำหน้าที่ไปจนถึงวันที่ 9 ก.ค. 2570 โดยนายสุชาติสำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย โดยก่อนหน้านี้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งมีนบุรี ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2563 โดยผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563 . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014173 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2048 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระสีวลี กรุวัดอุโมงค์ จ.ลำพูน

    พระสีวลี (ขนาดใหญ๋ สูง 4 นิ้ว) กรุวัดอุโมงค์ จ.ลำพูน อายุ ราว700ปี กรุเก่าเดิมไม่ล้าง เนื้อดินแกร่ง // เนื้อดินผสมแร่เหล็ก แร่วิเศษต่างๆมากมาย เก่าแกร่ง //สวย คม ชัด ลึก คราบกรุเก่า //พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี มหาอำนาจ เมตตามหานิยม และโชคลาภ สุดยอดโภคทรัพย์ ทำมาค้าขาย เงินทองไหลมา เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง และแคล้วคลาดเป็นเลิศ ติดต่อหน้าที่การงานเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ จะได้มีชัยชนะ >>

    ** พระกรุวัดอุโมงค์ ต.อุโมงค์ จ.ลำพูน เนื้อดิน เก่าแกร่ง มีคราบกรุเก่าเดิม อายุ ราว700ปี ถูกค้นพบที่วัดอุโมงค์ ปีพ.ศ. 2529 เป็นพระเนื้อดินผสมแร่วิเศษต่างๆมากมาย เมื่อเผาและฝังไว้ในดินนับพันปี เนื้อแกร่งจนเป็นหินหรือเกือบเป็นหิน >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    พระสีวลี กรุวัดอุโมงค์ จ.ลำพูน พระสีวลี (ขนาดใหญ๋ สูง 4 นิ้ว) กรุวัดอุโมงค์ จ.ลำพูน อายุ ราว700ปี กรุเก่าเดิมไม่ล้าง เนื้อดินแกร่ง // เนื้อดินผสมแร่เหล็ก แร่วิเศษต่างๆมากมาย เก่าแกร่ง //สวย คม ชัด ลึก คราบกรุเก่า //พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี มหาอำนาจ เมตตามหานิยม และโชคลาภ สุดยอดโภคทรัพย์ ทำมาค้าขาย เงินทองไหลมา เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง และแคล้วคลาดเป็นเลิศ ติดต่อหน้าที่การงานเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ จะได้มีชัยชนะ >> ** พระกรุวัดอุโมงค์ ต.อุโมงค์ จ.ลำพูน เนื้อดิน เก่าแกร่ง มีคราบกรุเก่าเดิม อายุ ราว700ปี ถูกค้นพบที่วัดอุโมงค์ ปีพ.ศ. 2529 เป็นพระเนื้อดินผสมแร่วิเศษต่างๆมากมาย เมื่อเผาและฝังไว้ในดินนับพันปี เนื้อแกร่งจนเป็นหินหรือเกือบเป็นหิน >> ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 86 มุมมอง 0 รีวิว
  • 129 ปี สิ้น “เจ้าเหมพินธุไพจิตร” เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ผู้ใฝ่ในเกษตรกรรม

    📅 ย้อนไปเมื่อ 129 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 นับเป็นวันที่ราชวงศ์ทิพย์จักร ต้องเผชิญกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อ "เจ้าเหมพินธุไพจิตร" เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ด้วยพระโรคอุจจาระ ธาตุพิการ รวมสิริชนมายุได้ 75 ปี แม้จะทรงครองนครลำพูนเพียง 2 ปี แต่พระราชกรณียกิจที่ทรงฝากไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ โดยเฉพาะบทบาท ในการส่งเสริมการเกษตรกรรม และพัฒนานครลำพูน ให้เจริญรุ่งเรือง ✨

    🛕 จาก "เจ้าน้อยคำหยาด" สู่ "เจ้าเหมพินธุไพจิตร" 👑
    พระนามเดิมของ เจ้าเหมพินธุไพจิตร คือ "เจ้าน้อยคำหยาด" ประสูติในปี พ.ศ. 2364 ณ เมืองนครลำพูน พระองค์เป็นโอรสใน เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ (เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6) กับ แม่เจ้าคำจ๋าราชเทวี และเป็นพระนัดดาของ พระยาคำฟั่น (เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3)

    🩷 ราชอนุชาและราชขนิษฐา ของพระองค์ ได้แก่
    เจ้าหญิงแสน ณ ลำพูน (ชายา "เจ้าหนานยศ ณ ลำพูน")
    เจ้าน้อยบุ ณ ลำพูน
    เจ้าน้อยหล้า ณ ลำพูน (พิราลัยแต่เยาว์วัย)

    🏛 เส้นทางสู่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำพูน 📜
    🔹 วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2405 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "เจ้าราชบุตร" เมืองนครลำพูน
    🔹 วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น "เจ้าอุปราช" เมืองนครลำพูน
    🔹 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 ได้รับโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น "เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8" ต่อจาก เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ ผู้เป็นราชเชษฐา ต่างพระราชมารดา

    พระนามเต็มของพระองค์ เมื่อขึ้นครองนครลำพูน คือ
    👉 "เจ้าเหมพินธุไพจิตร ศุภกิจเกียรติโศภน วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ ตทรรคเจดียบูชากร ราษฎรธุรธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี"

    🚜 การเกษตรกรรม และระบบชลประทาน 🌾
    แม้จะครองนครลำพูนเพียง 2 ปี แต่เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงให้ความสำคัญ กับการพัฒนาเกษตรกรรม อย่างมาก พระองค์ทรงส่งเสริม ให้ราษฎรทำการเกษตร ในลักษณะที่มีการจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ เช่น
    ✅ สร้างเหมืองฝาย เพื่อทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
    ✅ ขุดลอกเหมืองเก่า เพื่อให้น้ำไหลเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ได้ดีขึ้น
    ✅ ปรับปรุงที่ดอน ให้สามารถใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้

    💡 พระองค์มีพระราชดำริให้ราษฎร ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก และเมื่อนาเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ก็ให้ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น เช่น หอม กระเทียม และใบยา เพื่อเพิ่มรายได้

    🛕 บำรุงพระพุทธศาสนา และโครงสร้างพื้นฐาน
    🙏 ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
    เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด และส่งเสริมให้ราษฎร บำรุงพระพุทธศาสนา เช่น
    ✔️ บูรณะวัดเก่าแก่ ให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง
    ✔️ สร้างวิหาร กุฏิ และโบสถ์ ตามวัดสำคัญทั้งในเมือง และนอกเมืองลำพูน
    ✔️ ชักชวนราษฎรปั้นอิฐ ก่อกำแพงวัด และขุดสระน้ำในวัด

    🛤 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
    พระองค์ยังทรงให้ความสำคัญ กับการพัฒนาเมืองลำพูน ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น โดย
    🚧 สร้างสะพาน เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเดินทาง
    🚧 ยกระดับถนนในหมู่บ้าน เพื่อให้ล้อเกวียนสัญจรได้สะดวก
    🚧 ขุดร่องระบายน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน

    ⚰️ เสด็จสู่สวรรคาลัย และมรดกที่ฝากไว้
    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 เจ้าเหมพินธุไพจิตรทรงประชวร ด้วยพระโรคอุจจาระ ธาตุพิการ และเสด็จสวรรคตด้วย สิริชนมายุ 75 ปี

    แม้รัชสมัยของพระองค์จะสั้นเพียง 2 ปี แต่พระราชกรณียกิจของพระองค์ ยังคงปรากฏ เป็นมรดกที่สำคัญ ของลำพูน ทั้งในด้านเกษตรกรรม การบำรุงพระพุทธศาสนา และการพัฒนาเมือง

    🌟 รดกของเจ้าเหมพินธุไพจิตร
    ✅ ส่งเสริมการเกษตร และระบบชลประทาน
    ✅ ฟื้นฟู และบูรณะพระพุทธศาสนา
    ✅ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของนครลำพูน
    ✅ เป็นต้นแบบของผู้นำ ที่ใส่ใจประชาชน

    เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็นบุคคลสำคัญ ที่ส่งผลต่อเมืองลำพูน ทั้งในด้านการเกษตร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม 🏞

    📌 คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
    ❓ เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่เท่าไหร่?
    ✅ พระองค์เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

    ❓ พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คืออะไร?
    ✅ การส่งเสริมการเกษตร บูรณะพระพุทธศาสนา และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

    ❓ เหตุใดพระองค์จึงเสด็จสวรรคต?
    ✅ ทรงประชวรด้วยพระโรคอุจจาระ ธาตุพิการ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439

    ❓ พระองค์ครองนครลำพูนกี่ปี?
    ✅ ครองนครลำพูนเพียง 2 ปี (พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2439)

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 052147 ก.พ. 2568

    🔖 #เจ้าเหมพินธุไพจิตร #นครลำพูน #ประวัติศาสตร์ไทย #ราชวงศ์ทิพย์จักร #เกษตรกรรม #วัฒนธรรมล้านนา #ผู้ปกครองล้านนา #เมืองลำพูน #เล่าเรื่องเมืองลำพูน #ล้านนาประวัติศาสตร์
    129 ปี สิ้น “เจ้าเหมพินธุไพจิตร” เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ผู้ใฝ่ในเกษตรกรรม 📅 ย้อนไปเมื่อ 129 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 นับเป็นวันที่ราชวงศ์ทิพย์จักร ต้องเผชิญกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อ "เจ้าเหมพินธุไพจิตร" เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ด้วยพระโรคอุจจาระ ธาตุพิการ รวมสิริชนมายุได้ 75 ปี แม้จะทรงครองนครลำพูนเพียง 2 ปี แต่พระราชกรณียกิจที่ทรงฝากไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ โดยเฉพาะบทบาท ในการส่งเสริมการเกษตรกรรม และพัฒนานครลำพูน ให้เจริญรุ่งเรือง ✨ 🛕 จาก "เจ้าน้อยคำหยาด" สู่ "เจ้าเหมพินธุไพจิตร" 👑 พระนามเดิมของ เจ้าเหมพินธุไพจิตร คือ "เจ้าน้อยคำหยาด" ประสูติในปี พ.ศ. 2364 ณ เมืองนครลำพูน พระองค์เป็นโอรสใน เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ (เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6) กับ แม่เจ้าคำจ๋าราชเทวี และเป็นพระนัดดาของ พระยาคำฟั่น (เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3) 🩷 ราชอนุชาและราชขนิษฐา ของพระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงแสน ณ ลำพูน (ชายา "เจ้าหนานยศ ณ ลำพูน") เจ้าน้อยบุ ณ ลำพูน เจ้าน้อยหล้า ณ ลำพูน (พิราลัยแต่เยาว์วัย) 🏛 เส้นทางสู่ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำพูน 📜 🔹 วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2405 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "เจ้าราชบุตร" เมืองนครลำพูน 🔹 วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น "เจ้าอุปราช" เมืองนครลำพูน 🔹 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 ได้รับโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น "เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8" ต่อจาก เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ ผู้เป็นราชเชษฐา ต่างพระราชมารดา พระนามเต็มของพระองค์ เมื่อขึ้นครองนครลำพูน คือ 👉 "เจ้าเหมพินธุไพจิตร ศุภกิจเกียรติโศภน วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ ตทรรคเจดียบูชากร ราษฎรธุรธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี" 🚜 การเกษตรกรรม และระบบชลประทาน 🌾 แม้จะครองนครลำพูนเพียง 2 ปี แต่เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงให้ความสำคัญ กับการพัฒนาเกษตรกรรม อย่างมาก พระองค์ทรงส่งเสริม ให้ราษฎรทำการเกษตร ในลักษณะที่มีการจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ เช่น ✅ สร้างเหมืองฝาย เพื่อทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ✅ ขุดลอกเหมืองเก่า เพื่อให้น้ำไหลเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ได้ดีขึ้น ✅ ปรับปรุงที่ดอน ให้สามารถใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้ 💡 พระองค์มีพระราชดำริให้ราษฎร ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก และเมื่อนาเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ก็ให้ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น เช่น หอม กระเทียม และใบยา เพื่อเพิ่มรายได้ 🛕 บำรุงพระพุทธศาสนา และโครงสร้างพื้นฐาน 🙏 ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด และส่งเสริมให้ราษฎร บำรุงพระพุทธศาสนา เช่น ✔️ บูรณะวัดเก่าแก่ ให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง ✔️ สร้างวิหาร กุฏิ และโบสถ์ ตามวัดสำคัญทั้งในเมือง และนอกเมืองลำพูน ✔️ ชักชวนราษฎรปั้นอิฐ ก่อกำแพงวัด และขุดสระน้ำในวัด 🛤 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พระองค์ยังทรงให้ความสำคัญ กับการพัฒนาเมืองลำพูน ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น โดย 🚧 สร้างสะพาน เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเดินทาง 🚧 ยกระดับถนนในหมู่บ้าน เพื่อให้ล้อเกวียนสัญจรได้สะดวก 🚧 ขุดร่องระบายน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน ⚰️ เสด็จสู่สวรรคาลัย และมรดกที่ฝากไว้ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 เจ้าเหมพินธุไพจิตรทรงประชวร ด้วยพระโรคอุจจาระ ธาตุพิการ และเสด็จสวรรคตด้วย สิริชนมายุ 75 ปี แม้รัชสมัยของพระองค์จะสั้นเพียง 2 ปี แต่พระราชกรณียกิจของพระองค์ ยังคงปรากฏ เป็นมรดกที่สำคัญ ของลำพูน ทั้งในด้านเกษตรกรรม การบำรุงพระพุทธศาสนา และการพัฒนาเมือง 🌟 รดกของเจ้าเหมพินธุไพจิตร ✅ ส่งเสริมการเกษตร และระบบชลประทาน ✅ ฟื้นฟู และบูรณะพระพุทธศาสนา ✅ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของนครลำพูน ✅ เป็นต้นแบบของผู้นำ ที่ใส่ใจประชาชน เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็นบุคคลสำคัญ ที่ส่งผลต่อเมืองลำพูน ทั้งในด้านการเกษตร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม 🏞 📌 คำถามที่พบบ่อย (FAQs) ❓ เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่เท่าไหร่? ✅ พระองค์เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ❓ พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คืออะไร? ✅ การส่งเสริมการเกษตร บูรณะพระพุทธศาสนา และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ❓ เหตุใดพระองค์จึงเสด็จสวรรคต? ✅ ทรงประชวรด้วยพระโรคอุจจาระ ธาตุพิการ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ❓ พระองค์ครองนครลำพูนกี่ปี? ✅ ครองนครลำพูนเพียง 2 ปี (พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2439) ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 052147 ก.พ. 2568 🔖 #เจ้าเหมพินธุไพจิตร #นครลำพูน #ประวัติศาสตร์ไทย #ราชวงศ์ทิพย์จักร #เกษตรกรรม #วัฒนธรรมล้านนา #ผู้ปกครองล้านนา #เมืองลำพูน #เล่าเรื่องเมืองลำพูน #ล้านนาประวัติศาสตร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 463 มุมมอง 0 รีวิว
  • วัดอรุณฯ ศาสนสถานงานศิลป์ชั้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    หากเอ่ยถึง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดอรุณฯ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน แถมยังตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก อีกทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามประเมินค่าไม่ได้ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า หากได้ไปไหว้พระวัดอรุณฯ ชีวิตจะรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน วันนี้เราเลยถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวพร้อมทำความรู้จักกับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ให้มากขึ้นกัน

    และด้วยวัดอรุณฯเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดดเด่นด้วยพระปรางค์สีทองที่สูงตระหง่าน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงมีมักมีผู้ศรัทธามาวัดอรุณเพื่อสักการะพระปรางค์ ไหว้พระ และขอพร พิธีการขอพรที่พบเห็นโดยทั่วไปคือจะจุดธูป เทียน และดอกไม้ ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ แล้วเดินรอบพระปรางค์ บ้างก็สวดเทวะมันตรา และตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพศรัทธา เชื่อกันว่าการขอพรที่วัดอรุณฯจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา

    ประวัติวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

    วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แรกเรียกว่า วัดมะกอก มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงนำกองทัพมาเพื่อเลือกชัยภูมิในการสร้างราชธานีใหม่ พระองค์เสด็จฯ ถึงวัดมะกอกในเวลารุ่งแจ้ง เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงทรงปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดแจ้ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสถาปนาพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่ พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวราราม

    วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และประกาศระวางแนวเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 14 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

    วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ไหน?

    วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ทั้งยังอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม
    ที่ตั้ง : เลขที่ 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    วัดอรุณฯ ศาสนสถานงานศิลป์ชั้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากเอ่ยถึง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดอรุณฯ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน แถมยังตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก อีกทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามประเมินค่าไม่ได้ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า หากได้ไปไหว้พระวัดอรุณฯ ชีวิตจะรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน วันนี้เราเลยถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวพร้อมทำความรู้จักกับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ให้มากขึ้นกัน และด้วยวัดอรุณฯเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดดเด่นด้วยพระปรางค์สีทองที่สูงตระหง่าน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงมีมักมีผู้ศรัทธามาวัดอรุณเพื่อสักการะพระปรางค์ ไหว้พระ และขอพร พิธีการขอพรที่พบเห็นโดยทั่วไปคือจะจุดธูป เทียน และดอกไม้ ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ แล้วเดินรอบพระปรางค์ บ้างก็สวดเทวะมันตรา และตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพศรัทธา เชื่อกันว่าการขอพรที่วัดอรุณฯจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา ประวัติวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แรกเรียกว่า วัดมะกอก มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงนำกองทัพมาเพื่อเลือกชัยภูมิในการสร้างราชธานีใหม่ พระองค์เสด็จฯ ถึงวัดมะกอกในเวลารุ่งแจ้ง เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงทรงปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดแจ้ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสถาปนาพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่ พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวราราม วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และประกาศระวางแนวเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 14 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ไหน? วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ทั้งยังอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม ที่ตั้ง : เลขที่ 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 358 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨พระกรุวัดตะล่อมพิมพ์สมาธิข้างขีด สององค์นี้เป็นความพิเศษที่จากการอยู่ในกรุร่วมกันมานานจนองค์พระติดกันเป็นแฝดสยามตามธรรมชาติ

    ว่ากันว่า พระกรุวัดตะล่อม ก็คือพระกรุท้ายตลาดที่นำมาฝากไว้นั่นเอง โดยเป็นพระที่ตามประวัติการจัดสร้างมีมากว่าหนึ่งร้อยสามสิบปีมาแล้ว

    ในด้านพุทธคุณผู้ที่มีไว้บูชาต่างทราบกันดีว่าท่านเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ทำมาค้าขายดีนักแล
    ✨พระกรุวัดตะล่อมพิมพ์สมาธิข้างขีด สององค์นี้เป็นความพิเศษที่จากการอยู่ในกรุร่วมกันมานานจนองค์พระติดกันเป็นแฝดสยามตามธรรมชาติ ว่ากันว่า พระกรุวัดตะล่อม ก็คือพระกรุท้ายตลาดที่นำมาฝากไว้นั่นเอง โดยเป็นพระที่ตามประวัติการจัดสร้างมีมากว่าหนึ่งร้อยสามสิบปีมาแล้ว ในด้านพุทธคุณผู้ที่มีไว้บูชาต่างทราบกันดีว่าท่านเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ทำมาค้าขายดีนักแล
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 425 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้

    เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน

    สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท

    สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน

    องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้ เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 634 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาจารย์ชิดตะวันพูดอยู่ตอนหนึ่งว่า "...คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือว่าประเทศไทย มันคือตัวคนคนนั้นเป็นคนเช่นไร คือต้องมีทั้งความรอบรู้ และก็ต้องเป็นคนดี..."

    ผมก็เลยขอขยายความเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ

    เพราะว่าพออาจารย์พูดขึ้นมา ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542 ความสำคัญตอนหนึ่งว่า

    "...ถ้านับดูปีนี้ที่น่าจะมีความเสียหายหมื่นล้าน ไม่ต้องเสีย ที่ไม่ต้องเสียนี้ก็ทำให้เกิดมีผลผลิต โดยเฉพาะอย่างเกษตร เขามีผลผลิตได้ แม้จะปีนี้ ซึ่งเขื่อนยังไม่ได้ทำงานในด้านชลประทาน ก็ทำให้ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ ก็เป็นเงินหลายพันล้าน ฉะนั้นในปีเดียวเขื่อนป่าสักนี้ได้คุ้มแล้ว

    ...หมายความว่ากิจการเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ก็พอเพียงเพราะว่าถ้าทำแล้ว คนอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการนี้มากมาย ทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์และจะทำให้เจริญ

    ...ไม่ใช่เป็นแต่เหมือนทฤษฎีใหม่ 15 ไร่ แล้วก็สามารถจะปลูกข้าวพอกิน นี่ใหญ่กว่า แต่อันนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก คนนึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง

    ...ในเมืองไทยนี้ถ้าทำกิจการ หมายความว่าปกครอง หรือดำเนินกิจการ ทั้งในด้านการเมือง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านธุรกิจ ในด้านอาชีพ มีทุจริต เมืองไทยพัง ของเรา เมืองไทยที่ยังไม่พังแท้ ก็เพราะว่าเมืองไทยนี้นับว่าแข็งมาก..."

    สรุปก็คือ ต่อให้เป็นการทำโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีกระแสหลักของ Harrod-Domar [deltaY/Y = s/k โดยที่ S=I]) ถ้าทำโดยมี "ประโยชน์สุข" ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีความ "คุ้มค่า" เมื่อเทียบต้นทุนกับผลได้ และ "ปราศจากการทุจริต" ก็ถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน

    ฉะนั้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (โดยเฉพาะ Harrod-Domar model ซึ่งเก่ามากแล้ว - ตั้งแต่ปี 2482) แม้จะมี "จุดอ่อน" แต่ถ้าเอามาใช้ โดยกำกับด้วย "สติปัญญา" และ "คุณธรรม" (2 เงื่อนไขในแผนภาพปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ

    อ้างอิง:

    พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับไม่เป็นทางการ). (2555). เครือข่ายกาญจนาภิเษก. http://kanchanapisek.or.th/speeches/1999/1223.th.html

    อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพ และพระกรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ ๙. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต. https://anyflip.com/tocrx/skhf/

    คลิปรายการของไทยโพสต์:
    https://www.youtube.com/watch?v=lQfWzMHWRWs
    อาจารย์ชิดตะวันพูดอยู่ตอนหนึ่งว่า "...คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือว่าประเทศไทย มันคือตัวคนคนนั้นเป็นคนเช่นไร คือต้องมีทั้งความรอบรู้ และก็ต้องเป็นคนดี..." ผมก็เลยขอขยายความเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ เพราะว่าพออาจารย์พูดขึ้นมา ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542 ความสำคัญตอนหนึ่งว่า "...ถ้านับดูปีนี้ที่น่าจะมีความเสียหายหมื่นล้าน ไม่ต้องเสีย ที่ไม่ต้องเสียนี้ก็ทำให้เกิดมีผลผลิต โดยเฉพาะอย่างเกษตร เขามีผลผลิตได้ แม้จะปีนี้ ซึ่งเขื่อนยังไม่ได้ทำงานในด้านชลประทาน ก็ทำให้ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ ก็เป็นเงินหลายพันล้าน ฉะนั้นในปีเดียวเขื่อนป่าสักนี้ได้คุ้มแล้ว ...หมายความว่ากิจการเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ก็พอเพียงเพราะว่าถ้าทำแล้ว คนอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการนี้มากมาย ทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์และจะทำให้เจริญ ...ไม่ใช่เป็นแต่เหมือนทฤษฎีใหม่ 15 ไร่ แล้วก็สามารถจะปลูกข้าวพอกิน นี่ใหญ่กว่า แต่อันนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก คนนึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง ...ในเมืองไทยนี้ถ้าทำกิจการ หมายความว่าปกครอง หรือดำเนินกิจการ ทั้งในด้านการเมือง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านธุรกิจ ในด้านอาชีพ มีทุจริต เมืองไทยพัง ของเรา เมืองไทยที่ยังไม่พังแท้ ก็เพราะว่าเมืองไทยนี้นับว่าแข็งมาก..." สรุปก็คือ ต่อให้เป็นการทำโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีกระแสหลักของ Harrod-Domar [deltaY/Y = s/k โดยที่ S=I]) ถ้าทำโดยมี "ประโยชน์สุข" ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีความ "คุ้มค่า" เมื่อเทียบต้นทุนกับผลได้ และ "ปราศจากการทุจริต" ก็ถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน ฉะนั้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (โดยเฉพาะ Harrod-Domar model ซึ่งเก่ามากแล้ว - ตั้งแต่ปี 2482) แม้จะมี "จุดอ่อน" แต่ถ้าเอามาใช้ โดยกำกับด้วย "สติปัญญา" และ "คุณธรรม" (2 เงื่อนไขในแผนภาพปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ อ้างอิง: พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับไม่เป็นทางการ). (2555). เครือข่ายกาญจนาภิเษก. http://kanchanapisek.or.th/speeches/1999/1223.th.html อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพ และพระกรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ ๙. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต. https://anyflip.com/tocrx/skhf/ คลิปรายการของไทยโพสต์: https://www.youtube.com/watch?v=lQfWzMHWRWs
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 438 มุมมอง 0 รีวิว
  • พ่อ-ลูกครู ตชด. เหยื่อผู้ก่อความไม่สงบ

    เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของ พ.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ ครูใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (รร.ตชด.) บ้านบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 และ ด.ต.โดม ช่วยเทวฤทธิ์ ครู รร.ตชด.บ้านตืองอฯ บุตรชาย ที่บ้านเลขที่ 293 หมู่ 3 ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของครู ตชด. ทั้ง 2 นายด้วย

    พ.ต.ท.สุวิทย์ ครูใหญ่ และลูกชาย ด.ต.โดม ครูวิชาเกษตรโรงเรียนเดียวกัน ถูกคนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่องซุกใต้ถนนดักถล่มแล้วยิงซ้ำ เสียชีวิต 2 ราย พร้อมขโมยปืนไป 2 กระบอก เหตุเกิดบนถนนศรีสาคร-ลูโบ๊ะยือริง ช่วงบ้านไอร์กือแด หมู่ 4 ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2568 สร้างความสะเทือนใจให้แก่วงการตำรวจ และแวดวงการศึกษา เนื่องจาก พ.ต.ท.สุวิทย์เป็นครูที่ทุ่มเทเสียสละสอนนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยมานานกว่า 30 ปี และถือเป็นครูต้นแบบให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ทั้งหมด 12 แห่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

    นางสุปรีดา ช่วยเทวฤทธิ์ ภรรยา พ.ต.ท.สุวิทย์ กล่าวว่า “พี่แกไปดีแล้ว และสมความตั้งใจในหน้าที่การงาน แกไปไม่คิดขอย้ายจากที่นี่ ทั้งมีโอกาส แกบอกแกรักคนที่นี่ แต่สุดท้าย มีไม่กี่คนที่เกลียดแก แกไปดีแล้ว” สอดคล้องกับ จ.ส.ต.หญิง ฮานีบะห์ สานิ ครูโรงเรียน ตชด.บ้านตืองอฯ ตามรายงานข่าวของศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา กล่าวว่า ทั้งโรงเรียนมีครูผู้ชายอยู่ 2 คน คือครูใหญ่สุวิทย์และครูโดม ที่เหลือเป็นครูผู้หญิง 11 คน ต้องดูแลเด็กนักเรียน 120 ชีวิต เรานั่งเรือด้วยกัน แต่คนขับเรือไม่อยู่แล้ว แล้วใครจะขับต่อ แล้วจะไปต่ออย่างไร วันข้างหน้าเราไม่รู้ว่าจะเจออะไร อุปสรรคอะไร แล้วจะไปต่อถึงฝั่งได้อย่างไร

    เฟซบุ๊กของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มหนึ่ง กล่าวอ้างพระนามแห่งอัลเลาะห์ ระบุว่าทั้งสองคนเป็นพลรบสยามไทย นอกจากเป็นครูแล้วยังมีสถานะพลรบด้วย แม้จะเสียดายผู้มากด้วยฝีมือและประสบการณ์ แต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการต่อสู้และทำลายได้ ขณะที่ศาลจังหวัดนราธิวาส อนุมัติออกหมายจับนายอับดุลเลาะห์ สาเมาะ อายุ 30 ปี และนายอับดุลเลาะ บูละ อายุ 40 ปี มีหมายจับในคดีความมั่นคงหลายคดี รวม 14 หมายจับ มาจากหลักฐานดีเอ็นเอในที่เกิดเหตุ

    #Newskit
    พ่อ-ลูกครู ตชด. เหยื่อผู้ก่อความไม่สงบ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของ พ.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ ครูใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (รร.ตชด.) บ้านบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 และ ด.ต.โดม ช่วยเทวฤทธิ์ ครู รร.ตชด.บ้านตืองอฯ บุตรชาย ที่บ้านเลขที่ 293 หมู่ 3 ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของครู ตชด. ทั้ง 2 นายด้วย พ.ต.ท.สุวิทย์ ครูใหญ่ และลูกชาย ด.ต.โดม ครูวิชาเกษตรโรงเรียนเดียวกัน ถูกคนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่องซุกใต้ถนนดักถล่มแล้วยิงซ้ำ เสียชีวิต 2 ราย พร้อมขโมยปืนไป 2 กระบอก เหตุเกิดบนถนนศรีสาคร-ลูโบ๊ะยือริง ช่วงบ้านไอร์กือแด หมู่ 4 ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2568 สร้างความสะเทือนใจให้แก่วงการตำรวจ และแวดวงการศึกษา เนื่องจาก พ.ต.ท.สุวิทย์เป็นครูที่ทุ่มเทเสียสละสอนนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยมานานกว่า 30 ปี และถือเป็นครูต้นแบบให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ทั้งหมด 12 แห่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นางสุปรีดา ช่วยเทวฤทธิ์ ภรรยา พ.ต.ท.สุวิทย์ กล่าวว่า “พี่แกไปดีแล้ว และสมความตั้งใจในหน้าที่การงาน แกไปไม่คิดขอย้ายจากที่นี่ ทั้งมีโอกาส แกบอกแกรักคนที่นี่ แต่สุดท้าย มีไม่กี่คนที่เกลียดแก แกไปดีแล้ว” สอดคล้องกับ จ.ส.ต.หญิง ฮานีบะห์ สานิ ครูโรงเรียน ตชด.บ้านตืองอฯ ตามรายงานข่าวของศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา กล่าวว่า ทั้งโรงเรียนมีครูผู้ชายอยู่ 2 คน คือครูใหญ่สุวิทย์และครูโดม ที่เหลือเป็นครูผู้หญิง 11 คน ต้องดูแลเด็กนักเรียน 120 ชีวิต เรานั่งเรือด้วยกัน แต่คนขับเรือไม่อยู่แล้ว แล้วใครจะขับต่อ แล้วจะไปต่ออย่างไร วันข้างหน้าเราไม่รู้ว่าจะเจออะไร อุปสรรคอะไร แล้วจะไปต่อถึงฝั่งได้อย่างไร เฟซบุ๊กของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มหนึ่ง กล่าวอ้างพระนามแห่งอัลเลาะห์ ระบุว่าทั้งสองคนเป็นพลรบสยามไทย นอกจากเป็นครูแล้วยังมีสถานะพลรบด้วย แม้จะเสียดายผู้มากด้วยฝีมือและประสบการณ์ แต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการต่อสู้และทำลายได้ ขณะที่ศาลจังหวัดนราธิวาส อนุมัติออกหมายจับนายอับดุลเลาะห์ สาเมาะ อายุ 30 ปี และนายอับดุลเลาะ บูละ อายุ 40 ปี มีหมายจับในคดีความมั่นคงหลายคดี รวม 14 หมายจับ มาจากหลักฐานดีเอ็นเอในที่เกิดเหตุ #Newskit
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 527 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้วิธีคัดกรองผู้คนที่จะฟังธรรมของพระองค์ด้วยการด่า เพื่อผลักคนที่จิตใจอ่อนแอไม่ให้มาฟังธรรม และคัดเลือกเฉพาะคนที่ทนการด่าได้ให้เข้ามาฟังธรรม พระพุทธเจ้ามีพระกรุณาแก่ทุกคนเสมอกันในการให้ธรรมทาน แต่จะเลือกโปรด คือ แสดงธรรมเฉพาะบุคคลที่ทรงทราบด้วยข่ายพระญานว่าบุคคลนี้มีอัธยาศัยบรรลุธรรม จึงจะโปรดเฉพาะส่วนพระองค์

    พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกระทบกิเลส เพราะเหตุนี้คนที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจึงซาบซึ้งเพราะธรรมของพระพุทธเจ้ากระทบกิเลสของทุกคน แต่ปุถุชนอย่างเราๆ ไม่มีความสามารถ ไม่มีปฏิสัมภิทาในการแสดงพยัญชนะและอรรถได้ลึกซึ่งเท่าพระองค์ ขนาดผู้ทรงพระไตรปิฎกยังทำไม่ได้ จะกล่าวไปใยถึงคนที่รู้พยัญชนะน้อย รู้อรรถน้อยอย่างเราๆ ท่านๆ ความตั้งใจกระทบกิเลสคนอื่นมันจึงกลายเป็นความยกตนด้วยมานะกระทบคนอื่นด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า

    "อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย

    ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

    ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

    ภิกษุพึงตั้งใจว่า
    ๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ (แสดงโดยอนุบุพิกถา)

    ๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ (แสดงเหตุในเนื้อธรรมนั้นๆ)

    ๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (ตั้งจิตไว้ในเมตตาแล้วจึงแสดงธรรม)

    ๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส แสดงธรรม (ไม่หวังผลประโยชน์จากการแสดงธรรม เพราะถ้าหวังผลประโยชน์คอนเท้นท์ต่างๆ จะตามมา การแสดงธรรมจะไม่ตรงไปตรงมา)

    ๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น (ไม่แสดงธรรมโดยยกตนว่าดี ข่มคนอื่นว่าไม่ดี)"

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] อุทายีสูตร

    ปฏิสัมภิทา ได้แก่

    ๑.อัตถปฏิสัมภิทาความรู้แตกฉานในอรรถ คือผล

    ๓. ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในธรรมคือเหตุ

    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทั้งอรรถทั้งธรรม คือทั้งเหตุทั้งผล รวมทั้งแตกฉานในภาษา

    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาในการไขปัญหา ในการกล่าวถ้อยคำ

    วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น
    วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนไม่ชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น นอกจากนี้ไม่กล่าว (รู้กาละเทศะในการกล่าว)

    ขอบคุณภาพ AI จากเพื่อนสมาชิกค่ะ
    พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้วิธีคัดกรองผู้คนที่จะฟังธรรมของพระองค์ด้วยการด่า เพื่อผลักคนที่จิตใจอ่อนแอไม่ให้มาฟังธรรม และคัดเลือกเฉพาะคนที่ทนการด่าได้ให้เข้ามาฟังธรรม พระพุทธเจ้ามีพระกรุณาแก่ทุกคนเสมอกันในการให้ธรรมทาน แต่จะเลือกโปรด คือ แสดงธรรมเฉพาะบุคคลที่ทรงทราบด้วยข่ายพระญานว่าบุคคลนี้มีอัธยาศัยบรรลุธรรม จึงจะโปรดเฉพาะส่วนพระองค์ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกระทบกิเลส เพราะเหตุนี้คนที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจึงซาบซึ้งเพราะธรรมของพระพุทธเจ้ากระทบกิเลสของทุกคน แต่ปุถุชนอย่างเราๆ ไม่มีความสามารถ ไม่มีปฏิสัมภิทาในการแสดงพยัญชนะและอรรถได้ลึกซึ่งเท่าพระองค์ ขนาดผู้ทรงพระไตรปิฎกยังทำไม่ได้ จะกล่าวไปใยถึงคนที่รู้พยัญชนะน้อย รู้อรรถน้อยอย่างเราๆ ท่านๆ ความตั้งใจกระทบกิเลสคนอื่นมันจึงกลายเป็นความยกตนด้วยมานะกระทบคนอื่นด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า "อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า ๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ (แสดงโดยอนุบุพิกถา) ๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ (แสดงเหตุในเนื้อธรรมนั้นๆ) ๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (ตั้งจิตไว้ในเมตตาแล้วจึงแสดงธรรม) ๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส แสดงธรรม (ไม่หวังผลประโยชน์จากการแสดงธรรม เพราะถ้าหวังผลประโยชน์คอนเท้นท์ต่างๆ จะตามมา การแสดงธรรมจะไม่ตรงไปตรงมา) ๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น (ไม่แสดงธรรมโดยยกตนว่าดี ข่มคนอื่นว่าไม่ดี)" พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] อุทายีสูตร ปฏิสัมภิทา ได้แก่ ๑.อัตถปฏิสัมภิทาความรู้แตกฉานในอรรถ คือผล ๓. ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในธรรมคือเหตุ ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทั้งอรรถทั้งธรรม คือทั้งเหตุทั้งผล รวมทั้งแตกฉานในภาษา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาในการไขปัญหา ในการกล่าวถ้อยคำ วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนไม่ชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น นอกจากนี้ไม่กล่าว (รู้กาละเทศะในการกล่าว) ขอบคุณภาพ AI จากเพื่อนสมาชิกค่ะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์นความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ในการที่ นายเจมส์ คาร์เตอร์ (Mr. James Carter) อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2567 ความว่า

    ข้าพเจ้าและพระราชินีรู้สึกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการจากไป ของ ฯพณฯ นายเจมส์ เอิร์ล คาร์เตอร์ จูเนียร์ อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้ที่เป็นดั่งมิตรแท้และได้รับความไว้วางใจ ของประเทศไทย การจากไปของท่านอดีตประธานาธิบดี นับเป็นการสูญเสียรัฐบุรุษซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของโลก ที่อุทิศตนเพื่อประเทศและมวลมนุษยชาติ เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องนับถือ และการชื่นชมจากนานาประเทศมายาวนาน

    ท่านอดีตประธานาธิบดีคาร์เตอร์เป็นแบบอย่างของความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลก และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกกาส อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งได้ยังผลให้มิตรภาพที่มีมายาวนานระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยแน่นแฟ้นเป็นอย่างยิ่ง ประเทศของเราทั้งสองได้ร่วมมือกันอย่างไม่ลดละเพื่อสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังความขัดแย้ง และในการเผชิญความท้าทายที่ตามมาจากการหลั่งไหลของผู้อพยพจำนวนมาก ภายใต้การนำของท่านอดีตประธานาธิบดี ยังได้เกิดความเป็นหุ้นส่วนสำคัญระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นในด้านการค้า การลงทุนและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

    ประเทศไทยระลึกถึงการมาเยือนเป็นการส่วนตัวของท่านอดีตประธานาธิบดีถึงสองครั้ง ในปี 2549 และปี 2552 ซึ่งการเยือนดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินโครงการด้านมนุษยธรรมของท่านภายใต้มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติประสบผลสำเร็จ คุณูปการจากการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และห่วงใยของท่านอดีตประธานาธิบดีคาร์เตอร์ได้นำมาซึ่งความหวังและการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งแก่ผู้คนทั้งหลายทั้งในสหรัฐอเมริกา ประเทศไทย และภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก

    ข้าพเจ้าและพระราชินีขอร่วมไว้อาลัยกับประชาชนของสหรัฐอเมริกา ต่อการสูญเสียผู้นำคนสำคัญ และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ในนามของประชาชนชาวไทย มายังท่านประธานาธิบดี ตลอดถึงครอบครัวของท่านอดีตประธานาธิบดีคาร์เตอร์ และประชาชนของสหรัฐอเมริกา ในการสูญเสียที่นำมาซึ่งความโศกเศร้าและไม่อาจทดแทนได้นี้

    (พระปรมาภิไธย) มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์นความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ในการที่ นายเจมส์ คาร์เตอร์ (Mr. James Carter) อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2567 ความว่า ข้าพเจ้าและพระราชินีรู้สึกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการจากไป ของ ฯพณฯ นายเจมส์ เอิร์ล คาร์เตอร์ จูเนียร์ อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้ที่เป็นดั่งมิตรแท้และได้รับความไว้วางใจ ของประเทศไทย การจากไปของท่านอดีตประธานาธิบดี นับเป็นการสูญเสียรัฐบุรุษซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของโลก ที่อุทิศตนเพื่อประเทศและมวลมนุษยชาติ เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องนับถือ และการชื่นชมจากนานาประเทศมายาวนาน ท่านอดีตประธานาธิบดีคาร์เตอร์เป็นแบบอย่างของความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลก และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกกาส อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งได้ยังผลให้มิตรภาพที่มีมายาวนานระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยแน่นแฟ้นเป็นอย่างยิ่ง ประเทศของเราทั้งสองได้ร่วมมือกันอย่างไม่ลดละเพื่อสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังความขัดแย้ง และในการเผชิญความท้าทายที่ตามมาจากการหลั่งไหลของผู้อพยพจำนวนมาก ภายใต้การนำของท่านอดีตประธานาธิบดี ยังได้เกิดความเป็นหุ้นส่วนสำคัญระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นในด้านการค้า การลงทุนและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ประเทศไทยระลึกถึงการมาเยือนเป็นการส่วนตัวของท่านอดีตประธานาธิบดีถึงสองครั้ง ในปี 2549 และปี 2552 ซึ่งการเยือนดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินโครงการด้านมนุษยธรรมของท่านภายใต้มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติประสบผลสำเร็จ คุณูปการจากการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และห่วงใยของท่านอดีตประธานาธิบดีคาร์เตอร์ได้นำมาซึ่งความหวังและการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งแก่ผู้คนทั้งหลายทั้งในสหรัฐอเมริกา ประเทศไทย และภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก ข้าพเจ้าและพระราชินีขอร่วมไว้อาลัยกับประชาชนของสหรัฐอเมริกา ต่อการสูญเสียผู้นำคนสำคัญ และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ในนามของประชาชนชาวไทย มายังท่านประธานาธิบดี ตลอดถึงครอบครัวของท่านอดีตประธานาธิบดีคาร์เตอร์ และประชาชนของสหรัฐอเมริกา ในการสูญเสียที่นำมาซึ่งความโศกเศร้าและไม่อาจทดแทนได้นี้ (พระปรมาภิไธย) มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 394 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ทำไมเราจะต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของยุคสมัยต่างๆ# ...ภาพนี้อธิบายความได้ชัดเจน...ด้านหน้าเป็นพระขุนแผนเคลือบในยุคอยุธยา อายุประมาณ 400 ปี..ด้านหลังเป็นพระรอดมหาวัน ศิลปะ หริภุญไชย อายุเกินกว่า 1200 ปี...ฉะนั้นในความเป็นจริง..มันจะอยู่ร่วมกันในวัตถุชิ้นเดียวกัน #ไม่ได้# ...หลักความรู้แบบนี้ (ประวัติศาสตร์) ใช้ดู ศิลปะ พระบูชา (ยุคสมัย) และ พระกรุ ได้...แบบนี้จึงเก๊ตาปล่าว..
    #ทำไมเราจะต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของยุคสมัยต่างๆ# ...ภาพนี้อธิบายความได้ชัดเจน...ด้านหน้าเป็นพระขุนแผนเคลือบในยุคอยุธยา อายุประมาณ 400 ปี..ด้านหลังเป็นพระรอดมหาวัน ศิลปะ หริภุญไชย อายุเกินกว่า 1200 ปี...ฉะนั้นในความเป็นจริง..มันจะอยู่ร่วมกันในวัตถุชิ้นเดียวกัน #ไม่ได้# ...หลักความรู้แบบนี้ (ประวัติศาสตร์) ใช้ดู ศิลปะ พระบูชา (ยุคสมัย) และ พระกรุ ได้...แบบนี้จึงเก๊ตาปล่าว..
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 297 มุมมอง 0 รีวิว
  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องถอดถอนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพ้นจากตำแหน่ง

    ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายชัยเลิศ พิชิตพรชัย ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2556 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีวาระการงตำแหน่งสี่ปีและครบกำหนดตามวาระในวันที่ 30 มกราคม 2560 นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15(6) และมาตรา 20 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2521

    ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8/2559 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 ได้มีมติให้ถอดถอน นายชัยเลิศ พิชิตพรชัย ออกจากตำแหน่งอธิการบดื่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2559 แต่โดยที่ได้มีกรณีฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่มีมติให้ถอดถอนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชออกจากตำแหน่ง

    ซึ่งต่อมาศาลปกครองสูงสุดมีดมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช (วาระลับ) ครั้งที่ 5/2567 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว

    บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมถอดอน นายชัยเลิศ พิชิตพรชัย พ้นจากตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2559

    ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2568 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี
    ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องถอดถอนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพ้นจากตำแหน่ง ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายชัยเลิศ พิชิตพรชัย ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2556 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีวาระการงตำแหน่งสี่ปีและครบกำหนดตามวาระในวันที่ 30 มกราคม 2560 นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15(6) และมาตรา 20 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2521 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8/2559 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 ได้มีมติให้ถอดถอน นายชัยเลิศ พิชิตพรชัย ออกจากตำแหน่งอธิการบดื่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2559 แต่โดยที่ได้มีกรณีฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่มีมติให้ถอดถอนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชออกจากตำแหน่ง ซึ่งต่อมาศาลปกครองสูงสุดมีดมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช (วาระลับ) ครั้งที่ 5/2567 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมถอดอน นายชัยเลิศ พิชิตพรชัย พ้นจากตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2559 ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2568 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 414 มุมมอง 0 รีวิว
  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง ความว่า

    ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลาออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว

    ทั้งนี้ นาย ‘สุพิศ พิทักษ์ธรรม’ ลาออกจากอธิบดีฯ เพื่อชิงตำแหน่งนายก อบจ.สงขลา หมายเลข 5 โดยยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญปี 2536 ทุกประการ
    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง ความว่า ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลาออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว ทั้งนี้ นาย ‘สุพิศ พิทักษ์ธรรม’ ลาออกจากอธิบดีฯ เพื่อชิงตำแหน่งนายก อบจ.สงขลา หมายเลข 5 โดยยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญปี 2536 ทุกประการ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 303 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานปฏิทิน ธรรมนาวาวัง พ.ศ.๒๕๖๘ /2025 เพื่อเป็นของขวัญแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ 🙏🏼✨

    ที่มา : หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานปฏิทิน ธรรมนาวาวัง พ.ศ.๒๕๖๘ /2025 เพื่อเป็นของขวัญแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ 🙏🏼✨ ที่มา : หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 268 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานปฏิทิน ธรรมนาวาวัง พ.ศ.๒๕๖๘ /2025 เพื่อเป็นของขวัญแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ 🙏🏼✨

    ที่มา : หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานปฏิทิน ธรรมนาวาวัง พ.ศ.๒๕๖๘ /2025 เพื่อเป็นของขวัญแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ 🙏🏼✨ ที่มา : หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานปฏิทิน ธรรมนาวาวัง พ.ศ.๒๕๖๘ /2025 เพื่อเป็นของขวัญแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ 🙏🏼✨

    ที่มา : หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานปฏิทิน ธรรมนาวาวัง พ.ศ.๒๕๖๘ /2025 เพื่อเป็นของขวัญแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ 🙏🏼✨ ที่มา : หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 282 มุมมอง 0 รีวิว
  • จัดทัพ ขรก.มหาดไทย ล็อตใหญ่ 33 เก้าอี้ ก่อนเลือกตั้ง อบจ.
    .
    น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า วันนี้ (24 ธ.ค. 67) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง สังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 33 ราย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป ดังนี้
    .
    1. ให้นายชูชีพ พงษ์ไชย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดตาก
    .
    2. ให้นายชยชัย แสงอินทร์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการพัฒนาชุมชน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
    .
    3.ให้นายทศพล เผื่อนอุดม ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
    .
    4. ให้นางรณิดา เหลืองฐิติกุล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุดรธานี ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูบสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
    .
    5. ให้นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
    .
    6. ให้นายสมบัติ ไตรศักดิ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดชัยภูมิ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
    .
    7. ให้นายสันติ รังษิรุจิ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดจันทบุรี ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
    .
    8.ให้นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับต้น) จังหวัดศรีสะเกษ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
    .
    9. ให้นายอธิสรรค์ อินทร์ตรา ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดกาญจนบุรี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกาญจนบุรี
    .
    10.ให้นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชุมพร
    .
    11. ให้นายชานน วาสิกศิริ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครนายก ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก
    .
    12. ให้นางสาวอโรชา นันทมนตรี ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครปฐม ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครปฐม
    .
    13.ให้นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับต้น) จังหวัดนครพนม ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครพนม
    .
    14. ให้นายสมชาย ลีหล้าน้อย ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครศรีธรรมราช
    .
    15. ให้นางสาวชุติพร เสชัง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครสวรรค์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครสวรรค์
    .
    16.ให้นายปิยะ ปิจนำ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดบุรีรัมย์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดบุรีรัมย์
    .
    17. ให้นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    .
    18. ให้นายไพรัตน์ เพชรยวน ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพังงา ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพังงา
    .
    19. ให้นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดหนองคาย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพัทพัทลุง
    .
    20. ให้นางสาวธนียา นัยพินิจ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพิจิตร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพิจิตร
    .
    21. ให้ร้อยตำรวจโท ภพชนก ชลานุเคราะห์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเพชรบุรี
    .
    22.ให้นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแพร่
    .
    23.ให้นายเอกวิทย์ มีเพียร ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    .
    24.ให้นายชาญชัย ศรศรีวิชัย ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดยโสธร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดยโสธร
    .
    25. ให้นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดร้อยเอ็ด ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดร้อยเอ็ด
    .
    26. ให้นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดระนอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดระนอง
    .
    27. ให้นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดขลบุรี ดำรงต้าแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกศรอง ระดับสูป จังหวัดราชบุรี
    .
    28. ให้นายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดมุกดาหาร ดำรงตำแหน่งผู้ว่ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลำพูน
    .
    29. ให้นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุโขทัย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุโขทัย
    .
    30.ให้นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    .
    31. ให้นายสุรศักดิ์ อักษรกุล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดหนองบัวลำภู ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองบัวลำภู
    .
    32. ให้นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับต้น) จังหวัดอ่างทอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอ่างทอง
    .
    33. ให้นายณรงค์ เทพเสนา ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอำนาจเจริญ ดำรงตำแหน่งน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอำนาจเจริญ
    ..............
    Sondhi X
    จัดทัพ ขรก.มหาดไทย ล็อตใหญ่ 33 เก้าอี้ ก่อนเลือกตั้ง อบจ. . น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า วันนี้ (24 ธ.ค. 67) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง สังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 33 ราย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป ดังนี้ . 1. ให้นายชูชีพ พงษ์ไชย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดตาก . 2. ให้นายชยชัย แสงอินทร์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการพัฒนาชุมชน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง . 3.ให้นายทศพล เผื่อนอุดม ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง . 4. ให้นางรณิดา เหลืองฐิติกุล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุดรธานี ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูบสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง . 5. ให้นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง . 6. ให้นายสมบัติ ไตรศักดิ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดชัยภูมิ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง . 7. ให้นายสันติ รังษิรุจิ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดจันทบุรี ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง . 8.ให้นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับต้น) จังหวัดศรีสะเกษ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง . 9. ให้นายอธิสรรค์ อินทร์ตรา ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดกาญจนบุรี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกาญจนบุรี . 10.ให้นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชุมพร . 11. ให้นายชานน วาสิกศิริ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครนายก ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก . 12. ให้นางสาวอโรชา นันทมนตรี ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครปฐม ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครปฐม . 13.ให้นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับต้น) จังหวัดนครพนม ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครพนม . 14. ให้นายสมชาย ลีหล้าน้อย ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครศรีธรรมราช . 15. ให้นางสาวชุติพร เสชัง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครสวรรค์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครสวรรค์ . 16.ให้นายปิยะ ปิจนำ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดบุรีรัมย์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดบุรีรัมย์ . 17. ให้นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ . 18. ให้นายไพรัตน์ เพชรยวน ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพังงา ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพังงา . 19. ให้นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดหนองคาย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพัทพัทลุง . 20. ให้นางสาวธนียา นัยพินิจ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพิจิตร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพิจิตร . 21. ให้ร้อยตำรวจโท ภพชนก ชลานุเคราะห์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเพชรบุรี . 22.ให้นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแพร่ . 23.ให้นายเอกวิทย์ มีเพียร ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน . 24.ให้นายชาญชัย ศรศรีวิชัย ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดยโสธร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดยโสธร . 25. ให้นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดร้อยเอ็ด ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดร้อยเอ็ด . 26. ให้นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดระนอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดระนอง . 27. ให้นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดขลบุรี ดำรงต้าแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกศรอง ระดับสูป จังหวัดราชบุรี . 28. ให้นายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดมุกดาหาร ดำรงตำแหน่งผู้ว่ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลำพูน . 29. ให้นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุโขทัย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุโขทัย . 30.ให้นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุราษฎร์ธานี . 31. ให้นายสุรศักดิ์ อักษรกุล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดหนองบัวลำภู ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองบัวลำภู . 32. ให้นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับต้น) จังหวัดอ่างทอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอ่างทอง . 33. ให้นายณรงค์ เทพเสนา ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอำนาจเจริญ ดำรงตำแหน่งน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอำนาจเจริญ .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1386 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 725 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในหลวง-พระราชินี ทรงเปิด “สะพานทศราชัน” •เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 เวลา 17.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “สะพานทศราชัน” ณ สะพานทศราชัน ทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร• เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงบริเวณสะพานทศมราชัน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้บริหาร และข้าราชการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล จบ เสร็จแล้ว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายบัตร Easy Passที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศราชัน” โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก •จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังแท่นพิธี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “สะพานทศราชัน” พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้อง ประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ เสร็จแล้ว เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายรัชนัย เปรมปราคิน ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กราบบังคมทูลเบิกผู้มีอุปการคุณ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศนราชัน”รูปแบบและแนวคิดในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของสะพานทศมราชัน จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และนายชาตรี ตันศิริ รองผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (วิศวกรรมและบำรุงรักษา) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย ในสมุดที่ระลึก สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ• สะพานทศมราชัน” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เป็นสะพานคู่ขนานแม่น้ำเจ้าพระยาคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาวสะพาน 781.2 เมตร ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้มีแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมสะพานแห่งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ของสะพานจะสื่อถึงพระองค์ท่าน ดังนี้ • ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก และความห่วงใยต่อพสกนิกร และพสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า • สายเคเบิล เป็นสีเหลือง เพื่อสื่อถึงวันพระบรมราชสมภพ คือ วันจันทร์ •รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทอง อยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ • รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ • โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกจากการเดินทางจากภาคใต้สู่กรุงเทพมหานคร และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษช่วงบางโคล่ - คาวคะนอง และถนนพระรามที่ ๒ ช่วงดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร • ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสะพานนี้ว่า “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ เนื่องในโอกาสพระราชทานพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ด้วย
    ในหลวง-พระราชินี ทรงเปิด “สะพานทศราชัน” •เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2567 เวลา 17.25 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “สะพานทศราชัน” ณ สะพานทศราชัน ทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร• เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงบริเวณสะพานทศมราชัน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้บริหาร และข้าราชการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล จบ เสร็จแล้ว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายบัตร Easy Passที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศราชัน” โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก •จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังแท่นพิธี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “สะพานทศราชัน” พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ชาวพนักงานลั่นฆ้อง ประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ เสร็จแล้ว เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายรัชนัย เปรมปราคิน ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กราบบังคมทูลเบิกผู้มีอุปการคุณ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้าง “สะพานทศนราชัน”รูปแบบและแนวคิดในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของสะพานทศมราชัน จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และนายชาตรี ตันศิริ รองผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (วิศวกรรมและบำรุงรักษา) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย ในสมุดที่ระลึก สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ• สะพานทศมราชัน” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เป็นสะพานคู่ขนานแม่น้ำเจ้าพระยาคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาวสะพาน 781.2 เมตร ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้มีแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมสะพานแห่งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ของสะพานจะสื่อถึงพระองค์ท่าน ดังนี้ • ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก และความห่วงใยต่อพสกนิกร และพสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า • สายเคเบิล เป็นสีเหลือง เพื่อสื่อถึงวันพระบรมราชสมภพ คือ วันจันทร์ •รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทอง อยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ • รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ • โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกจากการเดินทางจากภาคใต้สู่กรุงเทพมหานคร และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษช่วงบางโคล่ - คาวคะนอง และถนนพระรามที่ ๒ ช่วงดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร • ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสะพานนี้ว่า “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ เนื่องในโอกาสพระราชทานพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ด้วย
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 839 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง

    เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา

    สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

    พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก

    ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1

    #Newskit
    สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1 #Newskit
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 691 มุมมอง 0 รีวิว
  • #วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ เพื่อระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย
    #วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการ เพื่อระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 266 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9/12/67

    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม

    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ

    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ

    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ

    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย

    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก

    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว

    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย

    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน

    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน

    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที

    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป

    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง

    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    9/12/67 เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 816 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts