• 💥💥SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชณ์ ได้คาดการณ์
    ภาวะเศรษฐกิจไทย ในปีหน้า 2568 ดังนี้

    1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (GDP ประเทศไทย)

    SCB EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 เหลือ 2.4%
    จากเดิมที่คาดไว้ 2.6% เนื่องจากผลกระทบของนโยบาย
    "Trump 2.0" ที่อาจเพิ่มความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
    และการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย
    ผ่านช่องทางการค้า การผลิต และการลงทุนเป็นหลัก

    สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2567 SCB EIC ปรับเพิ่มคาดการณ์
    การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็น 2.7% จากเดิม 2.5%
    โดยเหตุผลหลักมาจากมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท
    เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เริ่มตั้งแต่ปลายไตรมาส 3
    การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งเบิกงบประมาณ
    รวมถึงการส่งออกสินค้าที่กลับมาฟื้นตัว

    นอกจากนี้ ยังมีการเร่งตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
    ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

    1.2 อัตราเงินเฟ้อของไทย
    SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567
    จะอยู่ที่ 0.5% สำหรับปีหน้า (2568) จะอยู่ที่ 1%
    (ประเมิน ณ เดือน พ.ย. 2567)

    1.3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย
    SCB EIC คาดการณ์ว่า ในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้ กนง.
    จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เช่นเดิม ตามแนวทางที่ กนง.
    สื่อสารไว้เกี่ยวกับการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน
    (Policy space) เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิ
    จและการเงินของไทยในอนาคต

    อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่า กนง. อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ย
    นโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมเดือน ก.พ. 2568
    เพื่อช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม
    และเศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงด้านลบเพิ่มขึ้นจากนโยบาย
    Trump 2.0

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ภาวะเศรษฐกิจไทย2568
    #SCBEIC #thaitimes
    💥💥SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชณ์ ได้คาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจไทย ในปีหน้า 2568 ดังนี้ 1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (GDP ประเทศไทย) SCB EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 เหลือ 2.4% จากเดิมที่คาดไว้ 2.6% เนื่องจากผลกระทบของนโยบาย "Trump 2.0" ที่อาจเพิ่มความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านช่องทางการค้า การผลิต และการลงทุนเป็นหลัก สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2567 SCB EIC ปรับเพิ่มคาดการณ์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็น 2.7% จากเดิม 2.5% โดยเหตุผลหลักมาจากมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เริ่มตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งเบิกงบประมาณ รวมถึงการส่งออกสินค้าที่กลับมาฟื้นตัว นอกจากนี้ ยังมีการเร่งตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 1.2 อัตราเงินเฟ้อของไทย SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567 จะอยู่ที่ 0.5% สำหรับปีหน้า (2568) จะอยู่ที่ 1% (ประเมิน ณ เดือน พ.ย. 2567) 1.3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย SCB EIC คาดการณ์ว่า ในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้ กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เช่นเดิม ตามแนวทางที่ กนง. สื่อสารไว้เกี่ยวกับการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy space) เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิ จและการเงินของไทยในอนาคต อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่า กนง. อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ย นโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมเดือน ก.พ. 2568 เพื่อช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม และเศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงด้านลบเพิ่มขึ้นจากนโยบาย Trump 2.0 ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ภาวะเศรษฐกิจไทย2568 #SCBEIC #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 468 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่ข้อมูล
    ธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
    ส่งผลต่อภาวะต้นทุนทางการเงินที่เริ่มผ่อนคลาย
    สู่ตลาดสินเชื่อ

    ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน
    หรือ กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อวันที่
    16 ต.ค. 2567 (จากระดับ 2.50% มาที่ 2.25%)
    ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทยอยประกาศปรับลด
    อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% โดยให้มีผล
    ต้นเดือนพ.ย. 2567 พร้อมๆ กับต่ออายุมาตรการ
    ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางไปจนถึงสิ้นปี 2567

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทยอยปรับลด
    อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในครั้งนี้
    เป็นหนึ่งในกลไกการส่งผ่านต้นทุนทางการเงิน
    ที่ปรับผ่อนคลายลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
    มาสู่ตลาดสินเชื่อ โดยคาดว่า สัดส่วนสินเชื่อรายย่อย
    และสินเชื่อธุรกิจ ที่น่าจะได้รับอานิสงส์จากการปรับลด
    อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนสิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 40.9%
    ของสินเชื่อรวมทั้งระบบแบงก์ไทย

    ขณะที่ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว
    ของธนาคารพาณิชย์ในรอบนี้จะทำให้ภาระดอกเบี้ย
    ของลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจปรับลดลงเกือบ
    1,300 ล้านบาท
    (คำนวณผลของภาระดอกเบี้ยที่จะปรับลดลง
    เฉพาะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2567 โดยยังไม่ได้นับรวม
    สินเชื่อ ส่วนที่จะเข้าสู่ช่วงการปรับอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า)
    ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
    #thaitimes
    💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่ข้อมูล ธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่งผลต่อภาวะต้นทุนทางการเงินที่เริ่มผ่อนคลาย สู่ตลาดสินเชื่อ ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2567 (จากระดับ 2.50% มาที่ 2.25%) ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทยอยประกาศปรับลด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% โดยให้มีผล ต้นเดือนพ.ย. 2567 พร้อมๆ กับต่ออายุมาตรการ ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางไปจนถึงสิ้นปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทยอยปรับลด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกลไกการส่งผ่านต้นทุนทางการเงิน ที่ปรับผ่อนคลายลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มาสู่ตลาดสินเชื่อ โดยคาดว่า สัดส่วนสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อธุรกิจ ที่น่าจะได้รับอานิสงส์จากการปรับลด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนสิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 40.9% ของสินเชื่อรวมทั้งระบบแบงก์ไทย ขณะที่ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว ของธนาคารพาณิชย์ในรอบนี้จะทำให้ภาระดอกเบี้ย ของลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจปรับลดลงเกือบ 1,300 ล้านบาท (คำนวณผลของภาระดอกเบี้ยที่จะปรับลดลง เฉพาะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2567 โดยยังไม่ได้นับรวม สินเชื่อ ส่วนที่จะเข้าสู่ช่วงการปรับอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า) ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 507 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥16/10/2567 ตลาดหุ้นไทย
    วันนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ หลังจาก
    คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)
    ได้มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%
    จากเดิม 2.50% เป็น 2.25% และมีผลทันที

    🚩ทำให้วันนี้ตลาดหุ้นไทยได้รับข่าวดีนี้
    และ บวกไป ประมาณ 20 จุด โดยดัชนีปิดที่
    1485.01 จุด (เพิ่มขึ้น 1.36%)
    ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 77,184 ล้านบาท

    🟢สำหรับนักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นไทยในวันนี้หลักๆคือ
    1.กองทุน 2.โบรก 3.นักลงทุนต่างประเทศ

    🚩*นักลงทุนต่างประเทศหลังจากขายหุ้นไทย
    มาต่อเนื่อง 12 วันทำการ วันนี้ได้กลับมาซื้อหุ้นไทย
    เป็นวันแรก

    🔴*ส่วนนักลงทุนในประเทศ คือ กลุ่มที่ขายหุุ้นไทยในวันนี้

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ตลาดหุ้นไทย #SET
    #thaitimes
    💥💥16/10/2567 ตลาดหุ้นไทย วันนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ หลังจาก คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากเดิม 2.50% เป็น 2.25% และมีผลทันที 🚩ทำให้วันนี้ตลาดหุ้นไทยได้รับข่าวดีนี้ และ บวกไป ประมาณ 20 จุด โดยดัชนีปิดที่ 1485.01 จุด (เพิ่มขึ้น 1.36%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 77,184 ล้านบาท 🟢สำหรับนักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นไทยในวันนี้หลักๆคือ 1.กองทุน 2.โบรก 3.นักลงทุนต่างประเทศ 🚩*นักลงทุนต่างประเทศหลังจากขายหุ้นไทย มาต่อเนื่อง 12 วันทำการ วันนี้ได้กลับมาซื้อหุ้นไทย เป็นวันแรก 🔴*ส่วนนักลงทุนในประเทศ คือ กลุ่มที่ขายหุุ้นไทยในวันนี้ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ตลาดหุ้นไทย #SET #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 367 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
    ครั้งที่ 5 ในวันพุธ ที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้
    ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง
    ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25% ต่อปี
    จากเดิม 2.50% เป็น 2.25%
    โดยให้มีผลในทันที

    ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กนง.
    #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย #thaitimes
    💥💥ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5 ในวันพุธ ที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้ ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25% ต่อปี จากเดิม 2.50% เป็น 2.25% โดยให้มีผลในทันที ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กนง. #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย #thaitimes
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 347 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

    16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567

    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว

    ธนาคารแห่งประเทศไทย
    16 ตุลาคม 2567

    #Thaitimes
    คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที 16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ธนาคารแห่งประเทศไทย 16 ตุลาคม 2567 #Thaitimes
    Like
    Love
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 700 มุมมอง 0 รีวิว
  • มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที
    .
    วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
    .
    โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
    .
    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง
    .
    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567
    .
    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
    .
    ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว
    .............
    Sondhi X
    มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที . วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที . โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า . เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง . อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 . ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ . ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ............. Sondhi X
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1133 มุมมอง 0 รีวิว
  • 20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow

    ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

    รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย

    แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง

    ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง

    แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์

    อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

    ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ

    ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น

    ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’

    [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ]

    ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ

    1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่
    2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่
    3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ

    ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ

    แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง

    ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’

    ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้

    [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ]

    เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น

    ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ

    ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่

    หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่

    ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’

    ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น

    [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ]

    ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว

    ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ

    สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด

    แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า

    ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท)

    ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง

    ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf
    ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF

    #Thaitimes
    20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’ [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ] ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ 1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่ 2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่ 3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’ ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้ [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ] เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่ หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่ ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’ ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ] ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF #Thaitimes
    Like
    Yay
    9
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2283 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC
    ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย
    ใน 3 มิติ ดังนี้

    🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย)

    SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567
    เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6%
    ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว

    สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
    จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน
    บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์
    ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่

    🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567
    จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง
    ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้
    และต่อเนื่องไปในปีหน้า

    🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
    ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50%
    และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268
    จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น
    ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย
    #thaitimes
    💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย ใน 3 มิติ ดังนี้ 🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย) SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6% ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์ ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่ 🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567 จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ และต่อเนื่องไปในปีหน้า 🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268 จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1316 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567

    “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน

    ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว)

    แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม

    แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้

    หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ

    อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว

    ผลเป็นไงคงพอจำกันได้

    บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ

    แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที

    อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้

    แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ

    ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร

    ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ

    แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ

    ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน

    สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้

    ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน

    ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ

    สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ

    ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป

    แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป

    นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย

    ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน

    แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก

    ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า

    วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้

    อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ

    งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้

    นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที

    ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว

    ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ

    อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน

    เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้

    ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว

    เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ

    การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว

    จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ

    ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง

    เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท

    รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท

    นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท

    อันนี้น่าสนใจ

    ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป

    แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต

    เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ

    แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้

    แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที

    แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

    ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน

    พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้

    แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น

    แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย

    เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย

    ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต

    แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย

    พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่

    เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก

    แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที

    การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ


    ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้

    การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน

    ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย

    สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ

    งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ

    บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง

    ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย


    วีระ ธีรภัทร
    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567”

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E

    Thaitimes
    รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567 “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว) แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้ หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว ผลเป็นไงคงพอจำกันได้ บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้ ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้ อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้ นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้น่าสนใจ ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้ แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้ แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่ เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย วีระ ธีรภัทร วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567” ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1446 มุมมอง 0 รีวิว