• กองทัพอากาศไทย ส่งเครื่อง F16 และ Gripen บินทิ้งระเบิดถล่มปืนใหญ่ BM21 ฐานทหารเขมร ที่ปราสาทตาควาย-ตาเมือนธม หลังเขมรไม่สนใดๆ ยิงทำลายปราสาท โบราณสถาน หวังโจมตีทหารไทย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000070889

    #News1Feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    กองทัพอากาศไทย ส่งเครื่อง F16 และ Gripen บินทิ้งระเบิดถล่มปืนใหญ่ BM21 ฐานทหารเขมร ที่ปราสาทตาควาย-ตาเมือนธม หลังเขมรไม่สนใดๆ ยิงทำลายปราสาท โบราณสถาน หวังโจมตีทหารไทย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000070889 #News1Feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 22 มุมมอง 1 รีวิว
  • สร้างประวัติศาสตร์! "กริพเพ่น" ของไทย ใช้อาวุธจริงครั้งแรกในโลก โจมตีเป้าหมายรบจริงชายแดนไทย-กัมพูชา
    https://www.thai-tai.tv/news/20564/
    .
    #กริพเพ่น #Gripen #JAS39Gripen #กองทัพอากาศไทย #ทอไทย #ชายแดนไทยกัมพูชา #การรบจริง #อาวุธจริง #สถิติโลก #ป้องกันประเทศ #ไทยไท

    สร้างประวัติศาสตร์! "กริพเพ่น" ของไทย ใช้อาวุธจริงครั้งแรกในโลก โจมตีเป้าหมายรบจริงชายแดนไทย-กัมพูชา https://www.thai-tai.tv/news/20564/ . #กริพเพ่น #Gripen #JAS39Gripen #กองทัพอากาศไทย #ทอไทย #ชายแดนไทยกัมพูชา #การรบจริง #อาวุธจริง #สถิติโลก #ป้องกันประเทศ #ไทยไท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 61 มุมมอง 0 รีวิว
  • สถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ International Institute for Strategic Studies (IISS) แห่งสหราชอาณาจักร ระบุไว้เมื่อต้นปี 2025 ขณะเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับจำนวนกำลังพลของกองทัพทั่วโลก ว่า ไทยมี “กองทัพขนาดใหญ่และได้รับงบประมาณสนับสนุนอย่างดี"

    งบประมาณกลาโหมของไทยในปีนี้ อยู่ที่ประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ กัมพูชา มีงบประมาณต่ำกว่ามาก อยู่ที่เพียง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของ IISS

    1. กองทัพอากาศ
    IISS ระบุว่า “กองทัพอากาศของไทย ถือเป็นหนึ่งในกองทัพอากาศที่มีอุปกรณ์และการฝึกอบรมดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

    ณ ต้นปี 2025 ไทยมี เครื่องบินรบที่พร้อมปฏิบัติการ 112 ลำ รวมถึง F-16 จำนวน 46 ลำ (หลายรุ่น)

    นอกจากนี้ ไทยยังมี เครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 แบบ Gripen ของสวีเดน จำนวนหนึ่ง
    แม้ Gripen และ F-16 จะไม่ใช่เครื่องบินรุ่นที่ 5 (เช่น F-35 หรือ F-22) แต่ถ้าบำรุงรักษาอย่างดี ก็ถือว่ามีขีดความสามารถสูง

    ไทยกำลังทยอยปลดประจำการ F-16 รุ่นเก่า และเพิ่มจำนวน Gripen แทน
    กองทัพอากาศไทยที่มีกำลังพลประมาณ 46,000 นาย ยังมี เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าแบบ Erieye 2 ลำ ซึ่งทำงานร่วมกับ Gripen

    กัมพูชาไม่มีเครื่องบินขับไล่ ภายใต้กองทัพอากาศขนาดเล็กเพียง 1,500 นาย แต่มี เฮลิคอปเตอร์ 26 ลำ หลายประเภท

    จอห์น เฮมมิงส์ รองผู้อำนวยการด้านภูมิรัฐศาสตร์แห่งสถาบัน Council on Geostrategy สหราชอาณาจักร กล่าวว่า:

    “กองทัพอากาศไทยมี F-16 จากสหรัฐฯ ซึ่งใช้โจมตีเป้าหมายทางทหารของกัมพูชาเมื่อวันพุธโดยไม่มีแรงต้าน ขณะที่กัมพูชาไม่มีเครื่องบินขับไล่ประจำการเลย”

    2. กองทัพบกและกองทัพเรือ
    ตามข้อมูลจาก IISS:

    กองทัพบกกัมพูชา มีทหารประมาณ 75,000 นาย และ รถถังราว 200 คัน

    ในจำนวนนี้มี รถถังหลักประมาณ 50 คัน เป็นรุ่น T-54 ของจีน (ซึ่งพัฒนาจากโซเวียตรุ่น T-54)

    อีก 150 คันขึ้นไป เป็นรถถังรุ่น T-54 และ T-55 (รุ่นเก่าจากยุค 1950)

    กัมพูชายังมี รถรบทหารราบแบบ BMP-1 จำนวน 70 คัน ซึ่งเป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบกรุ่นโซเวียตที่เคยถูกใช้ในยุโรปตะวันออกโดยรัสเซียและยูเครน

    กองทัพบกไทย มีทหารประจำการ 130,000 นาย และมีเกณฑ์ทหารเพิ่มใกล้เคียงอีกจำนวนหนึ่ง

    มีรถถังหลักประมาณ 400 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถถังสัญชาติสหรัฐฯ รุ่นเก่า

    ไทยยังมี เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ และ เรือฟริเกต 7 ลำ

    กัมพูชาไม่มีเรือรบ หรือกองทัพเรือในเชิงยุทธศาสตร์

    เฮมมิงส์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า:

    “ไทยมีรถถังหลักที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค เช่น VT4 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะที่กัมพูชายังคงใช้ T-54 จากยุคปี 1950 เป็นหลัก”

    ทั้งสองประเทศมีอาวุธปืนใหญ่ในรูปแบบต่าง ๆ:

    ระบบจรวดนำวิถีแบบติดตั้งบนรถยนต์

    ปืนใหญ่ลากจูงทั่วไป

    “ระบบของกัมพูชาส่วนใหญ่ยังคงใช้ของเก่า เช่น BM-21 จากยุคสงครามเย็น และมีระบบจากจีนยุค 1990 ปะปนอยู่เล็กน้อย
    ส่วนของไทย มีส่วนผสมของระบบจากสหรัฐฯ อิสราเอล และจีน ซึ่งบางระบบเป็นของใหม่กว่า”

    ที่มา : How Thailand and Cambodia's Militaries Compare, Newsweek, Jul 25, 2025
    สถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ International Institute for Strategic Studies (IISS) แห่งสหราชอาณาจักร ระบุไว้เมื่อต้นปี 2025 ขณะเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับจำนวนกำลังพลของกองทัพทั่วโลก ว่า ไทยมี “กองทัพขนาดใหญ่และได้รับงบประมาณสนับสนุนอย่างดี" งบประมาณกลาโหมของไทยในปีนี้ อยู่ที่ประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ กัมพูชา มีงบประมาณต่ำกว่ามาก อยู่ที่เพียง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของ IISS 1. กองทัพอากาศ IISS ระบุว่า “กองทัพอากาศของไทย ถือเป็นหนึ่งในกองทัพอากาศที่มีอุปกรณ์และการฝึกอบรมดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ณ ต้นปี 2025 ไทยมี เครื่องบินรบที่พร้อมปฏิบัติการ 112 ลำ รวมถึง F-16 จำนวน 46 ลำ (หลายรุ่น) นอกจากนี้ ไทยยังมี เครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 แบบ Gripen ของสวีเดน จำนวนหนึ่ง แม้ Gripen และ F-16 จะไม่ใช่เครื่องบินรุ่นที่ 5 (เช่น F-35 หรือ F-22) แต่ถ้าบำรุงรักษาอย่างดี ก็ถือว่ามีขีดความสามารถสูง ไทยกำลังทยอยปลดประจำการ F-16 รุ่นเก่า และเพิ่มจำนวน Gripen แทน กองทัพอากาศไทยที่มีกำลังพลประมาณ 46,000 นาย ยังมี เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าแบบ Erieye 2 ลำ ซึ่งทำงานร่วมกับ Gripen กัมพูชาไม่มีเครื่องบินขับไล่ ภายใต้กองทัพอากาศขนาดเล็กเพียง 1,500 นาย แต่มี เฮลิคอปเตอร์ 26 ลำ หลายประเภท จอห์น เฮมมิงส์ รองผู้อำนวยการด้านภูมิรัฐศาสตร์แห่งสถาบัน Council on Geostrategy สหราชอาณาจักร กล่าวว่า: “กองทัพอากาศไทยมี F-16 จากสหรัฐฯ ซึ่งใช้โจมตีเป้าหมายทางทหารของกัมพูชาเมื่อวันพุธโดยไม่มีแรงต้าน ขณะที่กัมพูชาไม่มีเครื่องบินขับไล่ประจำการเลย” 2. กองทัพบกและกองทัพเรือ ตามข้อมูลจาก IISS: กองทัพบกกัมพูชา มีทหารประมาณ 75,000 นาย และ รถถังราว 200 คัน ในจำนวนนี้มี รถถังหลักประมาณ 50 คัน เป็นรุ่น T-54 ของจีน (ซึ่งพัฒนาจากโซเวียตรุ่น T-54) อีก 150 คันขึ้นไป เป็นรถถังรุ่น T-54 และ T-55 (รุ่นเก่าจากยุค 1950) กัมพูชายังมี รถรบทหารราบแบบ BMP-1 จำนวน 70 คัน ซึ่งเป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบกรุ่นโซเวียตที่เคยถูกใช้ในยุโรปตะวันออกโดยรัสเซียและยูเครน กองทัพบกไทย มีทหารประจำการ 130,000 นาย และมีเกณฑ์ทหารเพิ่มใกล้เคียงอีกจำนวนหนึ่ง มีรถถังหลักประมาณ 400 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถถังสัญชาติสหรัฐฯ รุ่นเก่า ไทยยังมี เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ และ เรือฟริเกต 7 ลำ กัมพูชาไม่มีเรือรบ หรือกองทัพเรือในเชิงยุทธศาสตร์ เฮมมิงส์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า: “ไทยมีรถถังหลักที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค เช่น VT4 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะที่กัมพูชายังคงใช้ T-54 จากยุคปี 1950 เป็นหลัก” ทั้งสองประเทศมีอาวุธปืนใหญ่ในรูปแบบต่าง ๆ: ระบบจรวดนำวิถีแบบติดตั้งบนรถยนต์ ปืนใหญ่ลากจูงทั่วไป “ระบบของกัมพูชาส่วนใหญ่ยังคงใช้ของเก่า เช่น BM-21 จากยุคสงครามเย็น และมีระบบจากจีนยุค 1990 ปะปนอยู่เล็กน้อย ส่วนของไทย มีส่วนผสมของระบบจากสหรัฐฯ อิสราเอล และจีน ซึ่งบางระบบเป็นของใหม่กว่า” ที่มา : How Thailand and Cambodia's Militaries Compare, Newsweek, Jul 25, 2025
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 113 มุมมอง 0 รีวิว
  • เครื่องบินรบ JAS 39 Gripen ของสวีเดน เผชิญหน้ากับเครื่องบินขับไล่ Su-30 ของกองทัพอากาศรัสเซียเหนือทะเลบอลติก
    เครื่องบินรบ JAS 39 Gripen ของสวีเดน เผชิญหน้ากับเครื่องบินขับไล่ Su-30 ของกองทัพอากาศรัสเซียเหนือทะเลบอลติก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 239 มุมมอง 12 0 รีวิว
  • กองทัพอากาศแถลงซื้อเครื่องบินรบ Gripen E/F เกือบ 2 หมื่นล้านบาท ยันคุ้มค่าภาษี เตรียมลงนามร่วมสวีเดนถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง
    https://www.thai-tai.tv/news/19169/
    กองทัพอากาศแถลงซื้อเครื่องบินรบ Gripen E/F เกือบ 2 หมื่นล้านบาท ยันคุ้มค่าภาษี เตรียมลงนามร่วมสวีเดนถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง https://www.thai-tai.tv/news/19169/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทอ.แถลงพรุ่งนี้! ซื้อ GRIPEN จากสวีเดน เชิญ "วิโรจน์–รังสิมันต์" ร่วมฟัง
    https://www.thai-tai.tv/news/19153/
    ทอ.แถลงพรุ่งนี้! ซื้อ GRIPEN จากสวีเดน เชิญ "วิโรจน์–รังสิมันต์" ร่วมฟัง https://www.thai-tai.tv/news/19153/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 119 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ' อ้างหมายจับคดี 112 ทำอำนาจต่อรองไทยน้อยลง ซื้อเครื่องบิน F-16 ยากขึ้น

    สหรัฐฯ บีบ ทอ.เหมา F-16 แลกลดภาษี “ผบ.ทอ.” ยืนยันต้อง Gripen 

    https://www.thaipost.net/x-cite-news/770608/

    https://www.topnews.co.th/news/1202858
    'ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ' อ้างหมายจับคดี 112 ทำอำนาจต่อรองไทยน้อยลง ซื้อเครื่องบิน F-16 ยากขึ้น สหรัฐฯ บีบ ทอ.เหมา F-16 แลกลดภาษี “ผบ.ทอ.” ยืนยันต้อง Gripen  https://www.thaipost.net/x-cite-news/770608/ https://www.topnews.co.th/news/1202858
    Angry
    Like
    Sad
    6
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • โปรตุเกสยกเลิกแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 โดยอ้างว่าต้องการต่อต้านนโยบายถอยห่างที่มีต่อยุโรปของทรัมป์

    แต่เหตุผลของโปรตุเกสดูแล้วมีความขัดแย้งในตัวเอง โดยที่ก่อนหน้านั้นในเดือนเมษายน 2024 พลเอก João Cartaxo Alves ผู้บัญชาการกองทัพอากาศโปรตุเกส ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของโปรตุเกส ยืนยันแผนของกองทัพอากาศในการสั่งซื้อ F-35 Lightning II เพื่อเข้ามาแทนที่ F-16 ที่ประจำการอยู่ เขายังกล่าวด้วยว่า โครงการนี้ได้เริ่มต้นไปแล้ว และจะใช้เวลาประมาณสองทศวรรษ โดยมีงบประมาณประมาณ 5,500 ล้านยูโร

    ในระหว่างนี้ กระทรวงกลาโหมไม่ได้ออกมายืนยันข่าวดังกล่าว แต่ก็มีรายงานการเคลื่อนไหวในการติดต่อสั่งซื้อจากลาโหมโปรตุเกสมาตลอด ซึ่งในช่วงเวลานั้นปัญหาของ F-35 ได้ถูกนำมาพิจารณาอีกครั้ง ทั้งเรื่องการส่งมอบล่าช้า และปัญหาทางด้านซอฟท์แวร์

    หลังจากนั้น ข่าวจากกระทรวงกลาโหมโปรตุเกสได้เงียบหายไป และนิ่งเฉยมาตั้งแต่นั้น จนกระทั่งล่าสุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเดือนมีนาคม 2025 ทางกระทรวงกลาโหมได้ประกาศยกเลิกแผนการสั่งซื้อไปในที่สุด โดยอ้างเหตุผลว่านโยบายการเมืองของสหรัฐมีความไม่แน่นอนต่อยุโรป พร้อมกับกล่าวว่า ตัวเลือกต่างๆที่จะได้รับการพิจารณา จะเป็น Saab Gripen และ Eurofighter Typhoon โดยไม่มีการพูดถึง Lockheed Martin F-35 Lightning II แต่อย่างใด
    โปรตุเกสยกเลิกแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 โดยอ้างว่าต้องการต่อต้านนโยบายถอยห่างที่มีต่อยุโรปของทรัมป์ แต่เหตุผลของโปรตุเกสดูแล้วมีความขัดแย้งในตัวเอง โดยที่ก่อนหน้านั้นในเดือนเมษายน 2024 พลเอก João Cartaxo Alves ผู้บัญชาการกองทัพอากาศโปรตุเกส ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของโปรตุเกส ยืนยันแผนของกองทัพอากาศในการสั่งซื้อ F-35 Lightning II เพื่อเข้ามาแทนที่ F-16 ที่ประจำการอยู่ เขายังกล่าวด้วยว่า โครงการนี้ได้เริ่มต้นไปแล้ว และจะใช้เวลาประมาณสองทศวรรษ โดยมีงบประมาณประมาณ 5,500 ล้านยูโร ในระหว่างนี้ กระทรวงกลาโหมไม่ได้ออกมายืนยันข่าวดังกล่าว แต่ก็มีรายงานการเคลื่อนไหวในการติดต่อสั่งซื้อจากลาโหมโปรตุเกสมาตลอด ซึ่งในช่วงเวลานั้นปัญหาของ F-35 ได้ถูกนำมาพิจารณาอีกครั้ง ทั้งเรื่องการส่งมอบล่าช้า และปัญหาทางด้านซอฟท์แวร์ หลังจากนั้น ข่าวจากกระทรวงกลาโหมโปรตุเกสได้เงียบหายไป และนิ่งเฉยมาตั้งแต่นั้น จนกระทั่งล่าสุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเดือนมีนาคม 2025 ทางกระทรวงกลาโหมได้ประกาศยกเลิกแผนการสั่งซื้อไปในที่สุด โดยอ้างเหตุผลว่านโยบายการเมืองของสหรัฐมีความไม่แน่นอนต่อยุโรป พร้อมกับกล่าวว่า ตัวเลือกต่างๆที่จะได้รับการพิจารณา จะเป็น Saab Gripen และ Eurofighter Typhoon โดยไม่มีการพูดถึง Lockheed Martin F-35 Lightning II แต่อย่างใด
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 451 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7 มีนาคม 2568-เมื่อเวลา 08.55 น.วันที่ 7 มีนาคม 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในฉลองพระองค์ชุดนักบิน เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 กองทัพอากาศ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ประธานจัดงานการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการทหารอากาศ เฝ้าฯ รับเสด็จจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ แล้วพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศเอก คิดควร สดับ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และนางวริสรา สดับ ภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว ผู้บัญชาการทหารอากาศ กราบบังคมทูลรายงานการจัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศจากนั้น ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 1 ประกอบด้วย “การบินฟอร์เมชัน ดิสเพลย์ วิธ เนชันแนล คัลเลอร์ส สโมค” (Formation Display with National Colors Smoke) โดยเครื่องบิน AU-23, T-50TH และเครื่องบิน F-16MLU จากกองทัพอากาศไทย “การบินกริพเพน เดโม” (Gripen Demo) จากกองทัพอากาศไทย “การบินออกัสท์ เฟิร์ธ” (August 1ST) โดยเครื่องบิน J-10C จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ “การบินเอฟ-35เอ เดโม” (F-35A Demo) จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาภายหลังจบการแสดงการบินชุดที่ 1 แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จเข้าภายในอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกจากนั้น ทอดพระเนตรนิทรรศการและวีดิทัศน์ภารกิจเครื่องบิน “กริพเพน” (Gripen) บินลงจอดบนถนนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งทำการวิ่งขึ้นจาก สนามบินหาดใหญ่บินไปตามจุดที่กำหนดเพื่อทำการลงสนามแบบ Straight in approach โดยในเที่ยวแรกได้ทำ Low approach เพื่อทำความคุ้นเคยและในเที่ยวบินที่2 จึงทำการลงสนามจริง นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักบินแห่งราชวงศ์จักรี ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย และทรงพระปรีชาสามารถด้านการบินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเชี่ยวชาญ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาทางการทหารเมื่อพุทธศักราช 2522 ทรงเริ่มเข้ารับการฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก เมื่อพุทธศักราช 2523 และทรงฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศ ทรงสำเร็จตามหลักสูตร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2523 และได้ทรงบินเฮลิคอปเตอร์ด้วยพระองค์เอง เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2523 ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และทรงรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นความภูมิใจของกำลังพลของกองทัพอากาศ และพสกนิกรชาวไทยที่ได้มีพระมหากษัตริย์นักบิน เป็นมิ่งขวัญของแผ่นดินภายหลังจากทอดพระเนตรนิทรรศการเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จฯ ไปยังหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์กับเครื่องบิน ที-50 อากาศยานไอพ่นความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตี จากกองบิน 4 ตาคลี จ.นครสวรรค์ด้วยพระราชปณิธานในการเป็นนักบิน ทรงเข้ารับการถวายการฝึกบินกับอากาศยานปีกตรึงโดยกองทัพอากาศ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาเทคนิคการบินจากฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ฐานทัพอากาศเล็คแลนด์ เมืองแซนเอนโทนิโอ รัฐเท็กซัส ทรงจบหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่น ยุทธวิธีขั้นพื้นฐานจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 425 ฐานบินวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา ทรงเข้าศึกษาฝึกบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) ในหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่นทางยุทธวิธีชั้นสูง ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ กับทรงศึกษาหลักสูตรทางทหารเพิ่มเติม เช่น หลักสูตรต้นหนชั้นสูง การลาดตระเวน หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการบิ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยูเอช-1เอช (UH-1H) ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ณ ฟอร์ท แบรกก์ รัฐนอร์ธ แคโรไลนา และหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธแบบ เอเอช-1เอส คอบรา (AH-1S COBRA) ทรงฝึกฝนการบินอย่างสม่ำเสมอ และยังได้ทรงเข้าร่วมการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยทรงเข้าร่วมแข่งขันระหว่างพุทธศักราช 2526 ถึง 2530 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักบินขับไล่ไอพ่นพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงทำการบินกับเครื่องบินกองทัพอากาศได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานปีกหมุน อากาศยานปีกตรึงแบบใบพัด และเครื่องยนต์ไอพ่น และด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นนักบินขับไล่ที่มีชั่วโมงบินต่อเนื่องมากกว่า 2,800 ชั่วโมงบิน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำหรับนักบินขับไล่ทั่วโลกที่จะทำได้ และด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทรงมี ปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน พระราชทานการฝึกสอนทั้งวิชาการภาคพื้นและการฝึกบินให้แก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยพัฒนาและยกระดับการบินของชาติให้ทัดเทียมนานาประเทศ ทรงอุปถัมภ์งานด้านการบินอย่างต่อเนื่อง นับเป็นคุณูปการแก่กองทัพอากาศไทย และกิจการการบินของประเทศเป็นอย่างยิ่งจากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการเครื่องบินฝึกจำลอง (Gripen E/F Simulator) ของเครื่องบิน Gripen ด้วยความสนพระราชหฤทัย ในโอกาสนี้ มีพระราชปฏิสันถารกับนักบินในฝูงบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกาเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 2 “การบินสูรยกิรัณ” (Suryakiran) จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย ภายหลังจบการแสดงการบิน เสด็จออกจากที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกองทัพอากาศ จัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวาระที่กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะกรมทหารอากาศ ขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ตั้งแต่พุทธศักราช 2480 ซึ่งปฏิบัติภารกิจอย่างมุ่งมั่นเพื่อรักษาความมั่นคง ของชาติ และดํารงความพร้อมของกําลังทางอากาศ เพื่อรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ รวมทั้งการใช้ขีดความสามารถของ กองทัพอากาศทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเต็มความสามารถตลอด 88 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “AIR SOVEREIGNTY THROUGH UNBEATABLE COLLABORATION” หรือ “อธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงเกียรติประวัติความภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ และแสดงถึงขีดความสามารถของ กองทัพอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง การสนับสนุนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน การใช้ขีดความสามารถในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนแสดงถึงแผนการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต แสดงถึงความพร้อมของกองทัพอากาศ ในด้านการส่งเสริม ภาคอุตสาหกรรมการบิน และภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อันนำไปสู่ การเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือภายในประเทศ และเสริมสร้างมิตรภาพความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศ กับกองทัพอากาศมิตรประเทศโดยปีนี้ได้จัดแสดงอากาศยานของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมิตรประเทศ ทั้ง 3 ประเทศด้วยกัน ประกอบด้วย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา , กองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย และกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม ณ กองบิน 6 ท่าอากาศยานทหารดอนเมือง
    7 มีนาคม 2568-เมื่อเวลา 08.55 น.วันที่ 7 มีนาคม 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในฉลองพระองค์ชุดนักบิน เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 กองทัพอากาศ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ประธานจัดงานการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการทหารอากาศ เฝ้าฯ รับเสด็จจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ แล้วพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศเอก คิดควร สดับ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และนางวริสรา สดับ ภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว ผู้บัญชาการทหารอากาศ กราบบังคมทูลรายงานการจัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศจากนั้น ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 1 ประกอบด้วย “การบินฟอร์เมชัน ดิสเพลย์ วิธ เนชันแนล คัลเลอร์ส สโมค” (Formation Display with National Colors Smoke) โดยเครื่องบิน AU-23, T-50TH และเครื่องบิน F-16MLU จากกองทัพอากาศไทย “การบินกริพเพน เดโม” (Gripen Demo) จากกองทัพอากาศไทย “การบินออกัสท์ เฟิร์ธ” (August 1ST) โดยเครื่องบิน J-10C จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ “การบินเอฟ-35เอ เดโม” (F-35A Demo) จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาภายหลังจบการแสดงการบินชุดที่ 1 แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จเข้าภายในอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกจากนั้น ทอดพระเนตรนิทรรศการและวีดิทัศน์ภารกิจเครื่องบิน “กริพเพน” (Gripen) บินลงจอดบนถนนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งทำการวิ่งขึ้นจาก สนามบินหาดใหญ่บินไปตามจุดที่กำหนดเพื่อทำการลงสนามแบบ Straight in approach โดยในเที่ยวแรกได้ทำ Low approach เพื่อทำความคุ้นเคยและในเที่ยวบินที่2 จึงทำการลงสนามจริง นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักบินแห่งราชวงศ์จักรี ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย และทรงพระปรีชาสามารถด้านการบินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเชี่ยวชาญ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาทางการทหารเมื่อพุทธศักราช 2522 ทรงเริ่มเข้ารับการฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก เมื่อพุทธศักราช 2523 และทรงฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศ ทรงสำเร็จตามหลักสูตร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2523 และได้ทรงบินเฮลิคอปเตอร์ด้วยพระองค์เอง เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2523 ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และทรงรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นความภูมิใจของกำลังพลของกองทัพอากาศ และพสกนิกรชาวไทยที่ได้มีพระมหากษัตริย์นักบิน เป็นมิ่งขวัญของแผ่นดินภายหลังจากทอดพระเนตรนิทรรศการเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จฯ ไปยังหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์กับเครื่องบิน ที-50 อากาศยานไอพ่นความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตี จากกองบิน 4 ตาคลี จ.นครสวรรค์ด้วยพระราชปณิธานในการเป็นนักบิน ทรงเข้ารับการถวายการฝึกบินกับอากาศยานปีกตรึงโดยกองทัพอากาศ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาเทคนิคการบินจากฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ฐานทัพอากาศเล็คแลนด์ เมืองแซนเอนโทนิโอ รัฐเท็กซัส ทรงจบหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่น ยุทธวิธีขั้นพื้นฐานจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 425 ฐานบินวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา ทรงเข้าศึกษาฝึกบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) ในหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่นทางยุทธวิธีชั้นสูง ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ กับทรงศึกษาหลักสูตรทางทหารเพิ่มเติม เช่น หลักสูตรต้นหนชั้นสูง การลาดตระเวน หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการบิ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยูเอช-1เอช (UH-1H) ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ณ ฟอร์ท แบรกก์ รัฐนอร์ธ แคโรไลนา และหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธแบบ เอเอช-1เอส คอบรา (AH-1S COBRA) ทรงฝึกฝนการบินอย่างสม่ำเสมอ และยังได้ทรงเข้าร่วมการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยทรงเข้าร่วมแข่งขันระหว่างพุทธศักราช 2526 ถึง 2530 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักบินขับไล่ไอพ่นพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงทำการบินกับเครื่องบินกองทัพอากาศได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานปีกหมุน อากาศยานปีกตรึงแบบใบพัด และเครื่องยนต์ไอพ่น และด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นนักบินขับไล่ที่มีชั่วโมงบินต่อเนื่องมากกว่า 2,800 ชั่วโมงบิน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำหรับนักบินขับไล่ทั่วโลกที่จะทำได้ และด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทรงมี ปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน พระราชทานการฝึกสอนทั้งวิชาการภาคพื้นและการฝึกบินให้แก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยพัฒนาและยกระดับการบินของชาติให้ทัดเทียมนานาประเทศ ทรงอุปถัมภ์งานด้านการบินอย่างต่อเนื่อง นับเป็นคุณูปการแก่กองทัพอากาศไทย และกิจการการบินของประเทศเป็นอย่างยิ่งจากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการเครื่องบินฝึกจำลอง (Gripen E/F Simulator) ของเครื่องบิน Gripen ด้วยความสนพระราชหฤทัย ในโอกาสนี้ มีพระราชปฏิสันถารกับนักบินในฝูงบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกาเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 2 “การบินสูรยกิรัณ” (Suryakiran) จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย ภายหลังจบการแสดงการบิน เสด็จออกจากที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกองทัพอากาศ จัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวาระที่กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะกรมทหารอากาศ ขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ตั้งแต่พุทธศักราช 2480 ซึ่งปฏิบัติภารกิจอย่างมุ่งมั่นเพื่อรักษาความมั่นคง ของชาติ และดํารงความพร้อมของกําลังทางอากาศ เพื่อรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ รวมทั้งการใช้ขีดความสามารถของ กองทัพอากาศทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเต็มความสามารถตลอด 88 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “AIR SOVEREIGNTY THROUGH UNBEATABLE COLLABORATION” หรือ “อธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงเกียรติประวัติความภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ และแสดงถึงขีดความสามารถของ กองทัพอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง การสนับสนุนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน การใช้ขีดความสามารถในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนแสดงถึงแผนการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต แสดงถึงความพร้อมของกองทัพอากาศ ในด้านการส่งเสริม ภาคอุตสาหกรรมการบิน และภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อันนำไปสู่ การเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือภายในประเทศ และเสริมสร้างมิตรภาพความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศ กับกองทัพอากาศมิตรประเทศโดยปีนี้ได้จัดแสดงอากาศยานของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมิตรประเทศ ทั้ง 3 ประเทศด้วยกัน ประกอบด้วย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา , กองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย และกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม ณ กองบิน 6 ท่าอากาศยานทหารดอนเมือง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1362 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทัพสวีเดนได้ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีฝูงโดรนที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสามารถควบคุมโดรนได้ถึง 100 เครื่องโดยผู้ควบคุมเพียงคนเดียว ระบบนี้พัฒนาโดยความร่วมมือกับบริษัท Saab ผู้ผลิตเครื่องบินรบ Saab JAS 39 Gripen และใช้เวลาเพียง 12 เดือนในการสร้าง

    หน่วยทหารราบ I 13 ที่ตั้งอยู่ในเมืองฟาลุน สวีเดน จะเป็นหน่วยแรกที่ได้รับเทคโนโลยีนี้ และคาดว่าจะมีการทดสอบในระหว่างการฝึกซ้อมทางทหาร Arctic Strike ในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ การพัฒนานี้เป็นผลมาจากการใช้โดรนอย่างแพร่หลายในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยให้ยูเครนป้องกันการรุกราน

    ข้อได้เปรียบใหญ่ของระบบนี้คือไม่จำเป็นต้องใช้โดรนที่ออกแบบมาเฉพาะทางทหาร สามารถติดตั้งบนโดรนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและเปลี่ยนให้เป็นฝูงโดรนที่ทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ โดรนเหล่านี้สามารถใช้ในการสอดแนมและกลับมาชาร์จพลังงานเองเมื่อถึงขีดจำกัดของระยะการทำงาน

    นอกจากนี้ ระบบยังสามารถอัปเดตและเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ให้ตรงกับความต้องการของกองทัพได้ และมีการเสนอว่าอาจจะอัปเกรดให้โดรนสามารถบรรทุกระเบิดได้ ซึ่งจะทำให้สามารถโจมตีได้โดยไม่ต้องมีนักบินโดรนที่มีทักษะสูง

    แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะดูมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งาน โดยหวังว่า Saab และกองทัพสวีเดนจะเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในโปรแกรมของฝูงโดรน AI นี้ก่อนที่จะนำไปใช้ในการโจมตี

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/artificial-intelligence/swedish-armys-new-ai-drone-swarm-technology-can-control-up-to-100-devices
    กองทัพสวีเดนได้ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีฝูงโดรนที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสามารถควบคุมโดรนได้ถึง 100 เครื่องโดยผู้ควบคุมเพียงคนเดียว ระบบนี้พัฒนาโดยความร่วมมือกับบริษัท Saab ผู้ผลิตเครื่องบินรบ Saab JAS 39 Gripen และใช้เวลาเพียง 12 เดือนในการสร้าง หน่วยทหารราบ I 13 ที่ตั้งอยู่ในเมืองฟาลุน สวีเดน จะเป็นหน่วยแรกที่ได้รับเทคโนโลยีนี้ และคาดว่าจะมีการทดสอบในระหว่างการฝึกซ้อมทางทหาร Arctic Strike ในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ การพัฒนานี้เป็นผลมาจากการใช้โดรนอย่างแพร่หลายในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยให้ยูเครนป้องกันการรุกราน ข้อได้เปรียบใหญ่ของระบบนี้คือไม่จำเป็นต้องใช้โดรนที่ออกแบบมาเฉพาะทางทหาร สามารถติดตั้งบนโดรนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและเปลี่ยนให้เป็นฝูงโดรนที่ทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ โดรนเหล่านี้สามารถใช้ในการสอดแนมและกลับมาชาร์จพลังงานเองเมื่อถึงขีดจำกัดของระยะการทำงาน นอกจากนี้ ระบบยังสามารถอัปเดตและเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ให้ตรงกับความต้องการของกองทัพได้ และมีการเสนอว่าอาจจะอัปเกรดให้โดรนสามารถบรรทุกระเบิดได้ ซึ่งจะทำให้สามารถโจมตีได้โดยไม่ต้องมีนักบินโดรนที่มีทักษะสูง แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะดูมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งาน โดยหวังว่า Saab และกองทัพสวีเดนจะเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในโปรแกรมของฝูงโดรน AI นี้ก่อนที่จะนำไปใช้ในการโจมตี https://www.tomshardware.com/tech-industry/artificial-intelligence/swedish-armys-new-ai-drone-swarm-technology-can-control-up-to-100-devices
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 580 มุมมอง 0 รีวิว