• “ไหหลำ vs ฮ่องกง” เมื่อจีนกำลังสร้างพื้นที่การค้าเสรีใหญ่ที่สุด
    .
    บูรพาไม่แพ้เพิ่งมีโอกาสเดินทางไปมณฑลไห่หนาน เมื่อปลายเดือนมีนาคม ซึ่งปี 2568 นี้เป็นปีสำคัญที่ มณฑลไห่หนานได้เปิดพื้นที่การค้าเสรีแบบทั้งมณฑล เราได้ไปเห็นเศรษฐกิจในไห่หนาน ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านการท่องเที่ยว, การเป็นเมืองท่าการค้า รวมถึงเป็นศูนย์ชอปปิ้งสินค้าปลอดภาษี หรือ ดิวตี้ฟรี ซึ่งก็มีต้นแบบมาจาก ฮ่องกง
    .
    พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในวันนี้ จะเล่าเรื่องของ มณฑลไห่หนาน หรือเกาะไหหลำ ว่าจะเทียบชั้นกับ ฮ่องกง ได้หรือไม่ และการสร้างพื้นที่ทางการค้าเสรีของไห่หนาน มีความสำเร็จและสิ่งที่ต้องปรับปรุงอะไรอีกบ้าง?
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=J3TuiUKxq2g
    .
    #บูรพาไม่แพ้ #ไห่หนาน #ไหหลำ #ฮ่องกง
    “ไหหลำ vs ฮ่องกง” เมื่อจีนกำลังสร้างพื้นที่การค้าเสรีใหญ่ที่สุด . บูรพาไม่แพ้เพิ่งมีโอกาสเดินทางไปมณฑลไห่หนาน เมื่อปลายเดือนมีนาคม ซึ่งปี 2568 นี้เป็นปีสำคัญที่ มณฑลไห่หนานได้เปิดพื้นที่การค้าเสรีแบบทั้งมณฑล เราได้ไปเห็นเศรษฐกิจในไห่หนาน ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านการท่องเที่ยว, การเป็นเมืองท่าการค้า รวมถึงเป็นศูนย์ชอปปิ้งสินค้าปลอดภาษี หรือ ดิวตี้ฟรี ซึ่งก็มีต้นแบบมาจาก ฮ่องกง . พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในวันนี้ จะเล่าเรื่องของ มณฑลไห่หนาน หรือเกาะไหหลำ ว่าจะเทียบชั้นกับ ฮ่องกง ได้หรือไม่ และการสร้างพื้นที่ทางการค้าเสรีของไห่หนาน มีความสำเร็จและสิ่งที่ต้องปรับปรุงอะไรอีกบ้าง? . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=J3TuiUKxq2g . #บูรพาไม่แพ้ #ไห่หนาน #ไหหลำ #ฮ่องกง
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 138 Views 0 Reviews
  • เที่ยว #จีน #ฉงชิ่ง 🔥
    ทัวร์ไม่ถึงหมื่นอีกแล้วนะจ๊ะ 🤩

    🗓 จำนวนวัน 4 วัน 3 คืน
    ✈ HU-ไห่หนานแอร์ไลน์
    🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐

    📍 ตึกตะเกียบ
    📍 ถนนโบราณหลงเหมินฮ่าว
    📍 ถนนคนเดินเจียฟางเป่ย

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21 ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8

    LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์จีน #ทัวร์ฉงชิ่ง #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้
    #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1
    #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    เที่ยว #จีน #ฉงชิ่ง 🔥 ทัวร์ไม่ถึงหมื่นอีกแล้วนะจ๊ะ 🤩 🗓 จำนวนวัน 4 วัน 3 คืน ✈ HU-ไห่หนานแอร์ไลน์ 🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐ 📍 ตึกตะเกียบ 📍 ถนนโบราณหลงเหมินฮ่าว 📍 ถนนคนเดินเจียฟางเป่ย รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21 ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์จีน #ทัวร์ฉงชิ่ง #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 Comments 0 Shares 263 Views 8 0 Reviews
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.114 : Make Thailand Great Again มุมมองจาก ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม
    .
    รายการวันนี้มีความพิเศษ คือ คุณศุภชัยรายงานตรง มาจากเวทีการประชุมใหญ่ประจำปีของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่เกาะไห่หนาน หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า ไหหลำ ในประเทศจีน
    .
    สำหรับ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม เป็นการประชุมระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้นโดยมี ประเทศจีน เป็นแกนนำ พร้อมด้วยความร่วมมือของ 26 ประเทศในเอเชีย และออสเตรเลีย โดยชื่อของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ก็มาจากชื่อตำบลป๋ออ๋าว ในมณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นที่จัดการประชุมหลักเป็นประจำทุกปี
    .
    โดยเวทีการประชุมป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่คุณศุภชัยไปร่วมงานในขณะนี้นั้น ถูกเรียกกันว่าเป็น “การประชุมดาวอสแห่งเอเชีย” เพราะว่ามีบทบาทคล้ายกับเวที World Economic Forum ที่จัดขึ้นเป็นประจำที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย “เวทีดาวอส” ส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องของเศรษฐกิจโลกในทัศนะ หรือ มุมมองของชาติตะวันตก แต่ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม จะให้ความสำคัญกับชาติเอเชียเป็นหลัก ......
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=5YsjpZNbVkI
    .
    #บูรพาไม่แพ้ #BoaoForum #ป๋ออ่าวฟอรั่ม
    บูรพาไม่แพ้ Ep.114 : Make Thailand Great Again มุมมองจาก ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม . รายการวันนี้มีความพิเศษ คือ คุณศุภชัยรายงานตรง มาจากเวทีการประชุมใหญ่ประจำปีของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่เกาะไห่หนาน หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า ไหหลำ ในประเทศจีน . สำหรับ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม เป็นการประชุมระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้นโดยมี ประเทศจีน เป็นแกนนำ พร้อมด้วยความร่วมมือของ 26 ประเทศในเอเชีย และออสเตรเลีย โดยชื่อของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ก็มาจากชื่อตำบลป๋ออ๋าว ในมณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นที่จัดการประชุมหลักเป็นประจำทุกปี . โดยเวทีการประชุมป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่คุณศุภชัยไปร่วมงานในขณะนี้นั้น ถูกเรียกกันว่าเป็น “การประชุมดาวอสแห่งเอเชีย” เพราะว่ามีบทบาทคล้ายกับเวที World Economic Forum ที่จัดขึ้นเป็นประจำที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย “เวทีดาวอส” ส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องของเศรษฐกิจโลกในทัศนะ หรือ มุมมองของชาติตะวันตก แต่ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม จะให้ความสำคัญกับชาติเอเชียเป็นหลัก ...... . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=5YsjpZNbVkI . #บูรพาไม่แพ้ #BoaoForum #ป๋ออ่าวฟอรั่ม
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 450 Views 0 Reviews
  • จีนได้ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงจำนวน 400 ตัว ใต้ทะเลบริเวณหลิงสุ่ย เกาะไห่หนาน เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้สามารถทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์เกมมิ่งความแรงสูงถึง 30,000 ตัวพร้อมกัน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานและเพิ่มความปลอดภัยได้ เซิร์ฟเวอร์นี้ถูกออกแบบให้สามารถทำการคำนวณที่ใช้เวลาหนึ่งปีของคอมพิวเตอร์ปกติได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งวินาที และช่วยให้ DeepSeek ระบบผู้ช่วย AI ของจีนสามารถจัดการการสนทนาได้ถึง 7,000 รายการต่อวินาที

    โครงสร้างนี้มีขนาด 18 เมตร ยาวและ 3.6 เมตร กว้าง และเชื่อมต่อกับสถานที่ทำงานที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ที่รองรับการใช้งาน AI มากมาย Xu Tan รองประธานของ Highlander บริษัทเทคโนโลยีทางทะเลในเซินเจิ้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในโครงการนี้กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลใต้น้ำมีข้อดีมาก เช่น การรับมือกับการเจริญเติบโตของข้อมูลในยุค 5G และ 6G โดยศูนย์ข้อมูลใต้น้ำแห่งนี้เริ่มเปิดใช้งานในปี 2023 และเป็นโครงการเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก

    ตามแผนระยะยาว โครงการนี้จะมีการติดตั้งห้องข้อมูลใต้น้ำถึง 100 ห้องในหลายระยะ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจีนในการเสริมสร้างความสามารถด้าน AI ซึ่งได้เปิดตัวศูนย์คอมพิวเตอร์อัจฉริยะ 219 แห่งใน 81 เมือง ระหว่างปี 2022 ถึง 2024

    เกือบ 10 บริษัทได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อใช้พลังการคำนวณของศูนย์ข้อมูลใต้น้ำนี้เพื่อการฝึกโมเดล AI การจำลองทางอุตสาหกรรม การพัฒนาเกม และการวิจัยทางทะเล อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่จมใต้น้ำเป็นจำนวนมาก และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ยังไม่ชัดเจน แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะใช้ AI accelerators ประสิทธิภาพสูง เช่น Nvidia H100 หรือ Huawei Ascend 910

    ในขณะที่จีนเดินหน้าติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ใต้น้ำสูงสุด 40,000 ตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัทอเมริกันเลือกแนวทางที่รอบคอบมากกว่า Microsoft เคยทดลองใช้ศูนย์ข้อมูลใต้น้ำที่สหราชอาณาจักรในปี 2018 แต่หลังจากการเก็บข้อมูลในปี 2020 บริษัทก็ยุติโครงการนี้

    https://www.techradar.com/pro/china-sinks-400-servers-equivalent-to-30-000-gaming-pcs-as-it-powers-ahead-with-massive-underwater-data-center-project-but-i-wonder-what-gpu-they-use
    จีนได้ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงจำนวน 400 ตัว ใต้ทะเลบริเวณหลิงสุ่ย เกาะไห่หนาน เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้สามารถทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์เกมมิ่งความแรงสูงถึง 30,000 ตัวพร้อมกัน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานและเพิ่มความปลอดภัยได้ เซิร์ฟเวอร์นี้ถูกออกแบบให้สามารถทำการคำนวณที่ใช้เวลาหนึ่งปีของคอมพิวเตอร์ปกติได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งวินาที และช่วยให้ DeepSeek ระบบผู้ช่วย AI ของจีนสามารถจัดการการสนทนาได้ถึง 7,000 รายการต่อวินาที โครงสร้างนี้มีขนาด 18 เมตร ยาวและ 3.6 เมตร กว้าง และเชื่อมต่อกับสถานที่ทำงานที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ที่รองรับการใช้งาน AI มากมาย Xu Tan รองประธานของ Highlander บริษัทเทคโนโลยีทางทะเลในเซินเจิ้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในโครงการนี้กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลใต้น้ำมีข้อดีมาก เช่น การรับมือกับการเจริญเติบโตของข้อมูลในยุค 5G และ 6G โดยศูนย์ข้อมูลใต้น้ำแห่งนี้เริ่มเปิดใช้งานในปี 2023 และเป็นโครงการเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก ตามแผนระยะยาว โครงการนี้จะมีการติดตั้งห้องข้อมูลใต้น้ำถึง 100 ห้องในหลายระยะ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจีนในการเสริมสร้างความสามารถด้าน AI ซึ่งได้เปิดตัวศูนย์คอมพิวเตอร์อัจฉริยะ 219 แห่งใน 81 เมือง ระหว่างปี 2022 ถึง 2024 เกือบ 10 บริษัทได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อใช้พลังการคำนวณของศูนย์ข้อมูลใต้น้ำนี้เพื่อการฝึกโมเดล AI การจำลองทางอุตสาหกรรม การพัฒนาเกม และการวิจัยทางทะเล อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่จมใต้น้ำเป็นจำนวนมาก และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ยังไม่ชัดเจน แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะใช้ AI accelerators ประสิทธิภาพสูง เช่น Nvidia H100 หรือ Huawei Ascend 910 ในขณะที่จีนเดินหน้าติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ใต้น้ำสูงสุด 40,000 ตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัทอเมริกันเลือกแนวทางที่รอบคอบมากกว่า Microsoft เคยทดลองใช้ศูนย์ข้อมูลใต้น้ำที่สหราชอาณาจักรในปี 2018 แต่หลังจากการเก็บข้อมูลในปี 2020 บริษัทก็ยุติโครงการนี้ https://www.techradar.com/pro/china-sinks-400-servers-equivalent-to-30-000-gaming-pcs-as-it-powers-ahead-with-massive-underwater-data-center-project-but-i-wonder-what-gpu-they-use
    0 Comments 0 Shares 368 Views 0 Reviews
  • พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน!
    "ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย
    นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ
    .
    วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก
    .
    สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก
    .
    นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า !
    .
    ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก”
    .
    ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า
    .
    จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว
    .
    ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน

    “ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ
    .
    ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้
    .
    จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี
    .
    คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย
    >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0
    .
    .
    อ้างอิง :
    • Scientists find key nutrient missing in China-grown durian
    https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian
    • ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com
    พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน! "ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ . วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก . สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก . นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า ! . ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก” . ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า . จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว . ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน “ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ . ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้ . จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี . คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0 . . อ้างอิง : • Scientists find key nutrient missing in China-grown durian https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian • ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com
    Like
    Love
    5
    0 Comments 1 Shares 927 Views 0 Reviews