• เขมรแห่ถ่ายรูปเป็นหมู่คณะใหญ่ใน“ตาเมือนธม” ผิดปกติ พร้อมเน้นชูมือ คาดเลี่ยงกฎแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
    https://www.thai-tai.tv/news/20098/
    .
    #ปราสาทตาเมือนธม #ชายแดนสุรินทร์ #กัมพูชา #พระสงฆ์กัมพูชา #ปราสาทพระวิหาร #มรดกโลก #ฮุนมาเนต #ฮุนเซน #แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ #ทหารไทย #นักท่องเที่ยว #หมุดจีพีเอส #ความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา
    เขมรแห่ถ่ายรูปเป็นหมู่คณะใหญ่ใน“ตาเมือนธม” ผิดปกติ พร้อมเน้นชูมือ คาดเลี่ยงกฎแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ https://www.thai-tai.tv/news/20098/ . #ปราสาทตาเมือนธม #ชายแดนสุรินทร์ #กัมพูชา #พระสงฆ์กัมพูชา #ปราสาทพระวิหาร #มรดกโลก #ฮุนมาเนต #ฮุนเซน #แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ #ทหารไทย #นักท่องเที่ยว #หมุดจีพีเอส #ความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 96 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวเขมรพระสงฆ์กัมพูชาแห่เข้ามาเที่ยวถ่ายรูปเป็นหมู่คณะใหญ่ใน “ปราสาทตาเมือนธม” ชายแดนสุรินทร์ ผิดปกติ เน้นถ่ายรูปชูมือชูนิ้ว คาดหวังเลี่ยงกฎห้ามแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ในวันครบรอบ 17 ปี ปราสาทพระวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000064016

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    ชาวเขมรพระสงฆ์กัมพูชาแห่เข้ามาเที่ยวถ่ายรูปเป็นหมู่คณะใหญ่ใน “ปราสาทตาเมือนธม” ชายแดนสุรินทร์ ผิดปกติ เน้นถ่ายรูปชูมือชูนิ้ว คาดหวังเลี่ยงกฎห้ามแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ในวันครบรอบ 17 ปี ปราสาทพระวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000064016 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 371 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนเชียงใหม่หัวใจรักชาติรวมตัวชุมนุมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้อง“แพทองธาร” ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกรณีคลิปหลุดการสนทนากับสมเด็จฮุนเซน เจรจาปัญหาความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ส่อชัดเกรงใจลุงมากกว่าผลประโยชน์ประเทศชาติ ลั่นเตรียมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมทบชุมนุมใหญ่วันที่ 28 มิ.ย.68

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000060311

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    คนเชียงใหม่หัวใจรักชาติรวมตัวชุมนุมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้อง“แพทองธาร” ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกรณีคลิปหลุดการสนทนากับสมเด็จฮุนเซน เจรจาปัญหาความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ส่อชัดเกรงใจลุงมากกว่าผลประโยชน์ประเทศชาติ ลั่นเตรียมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมทบชุมนุมใหญ่วันที่ 28 มิ.ย.68 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000060311 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 685 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีเพื่อนส่งบทความข่าวจาก TOJO News ผมยังไม่ได้อ่าน เห็นแค่หัวข้อคำสัมภาษณ์ ผมอยากจะขออธิบาย ถึงคนที่มีไมค์ต่อปาก หรือบรรดาอินฟรูเอนเซอร์ ที่เห็นต่างจากการเชิญชวนคนออกมาแสดงพลังคนไทยรักชาติ ให้กำลังใจกองทัพ บอกคนมีหน้าที่กล้าตัดสินใจ ให้กล้าทำหน้าที่ดังนี้

    ต้องดูคนพูดเป็นใคร เขาอาจพูดถูก ถ้าทุกคนคิดอย่างนั้น

    เราทุกคนมีหน้าที่ เราไม่ควรรอคนอื่นทำก่อน การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ แค่บอกให้พวกนักการเมือง เกรงใจ คนมีหน้าที่กล้าตัดสินใจ

    ถามว่ามีแต่คนแก่ไปชุมนุม เด็กวัยรุ่น ที่ออกไปดินแดง รวมถึงกลุ่มเรียกร้องสมัยลุง มันหายหัวไปไหน ไม่มีผลตอบแทนไม่ทำหรือ
    แสดงว่าการเลี้ยงดูของครอบครัวคนไทย ใส่จิตสำนึกน้อยมาก เหมือนการจราจรอย่างนั้น

    กลับมาที่คนพูด ถ้าเขาเป็นคนไทย แม้เห็นต่าง ก็ควรหุบปาก ไม่ควรทำให้คนลังเล ไม่รู้หน้าที่เขว คนน้อยมั้ง ขี้เกียจอ่ะ

    เค้าจัดที่อนุสาวรีย์ชัน อำนวยความสะดวกขนาดนี้ อนุสาวรีย์ชัย มีสัญลักษณ์ของชัยชนะสงครามที่บรรพบุรุษเสียสละ คนที่จะเกาะความมั่นคงแบบเสียภาษีอย่างเดียว ก็สุดๆ แล้ว พวกคุณคือ ประชาชน ไม่ใช่ พลเมือง คำสองคำนี้ ความหมายต่างกัน
    มีเพื่อนส่งบทความข่าวจาก TOJO News ผมยังไม่ได้อ่าน เห็นแค่หัวข้อคำสัมภาษณ์ ผมอยากจะขออธิบาย ถึงคนที่มีไมค์ต่อปาก หรือบรรดาอินฟรูเอนเซอร์ ที่เห็นต่างจากการเชิญชวนคนออกมาแสดงพลังคนไทยรักชาติ ให้กำลังใจกองทัพ บอกคนมีหน้าที่กล้าตัดสินใจ ให้กล้าทำหน้าที่ดังนี้ ต้องดูคนพูดเป็นใคร เขาอาจพูดถูก ถ้าทุกคนคิดอย่างนั้น เราทุกคนมีหน้าที่ เราไม่ควรรอคนอื่นทำก่อน การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ แค่บอกให้พวกนักการเมือง เกรงใจ คนมีหน้าที่กล้าตัดสินใจ ถามว่ามีแต่คนแก่ไปชุมนุม เด็กวัยรุ่น ที่ออกไปดินแดง รวมถึงกลุ่มเรียกร้องสมัยลุง มันหายหัวไปไหน ไม่มีผลตอบแทนไม่ทำหรือ แสดงว่าการเลี้ยงดูของครอบครัวคนไทย ใส่จิตสำนึกน้อยมาก เหมือนการจราจรอย่างนั้น กลับมาที่คนพูด ถ้าเขาเป็นคนไทย แม้เห็นต่าง ก็ควรหุบปาก ไม่ควรทำให้คนลังเล ไม่รู้หน้าที่เขว คนน้อยมั้ง ขี้เกียจอ่ะ เค้าจัดที่อนุสาวรีย์ชัน อำนวยความสะดวกขนาดนี้ อนุสาวรีย์ชัย มีสัญลักษณ์ของชัยชนะสงครามที่บรรพบุรุษเสียสละ คนที่จะเกาะความมั่นคงแบบเสียภาษีอย่างเดียว ก็สุดๆ แล้ว พวกคุณคือ ประชาชน ไม่ใช่ พลเมือง คำสองคำนี้ ความหมายต่างกัน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 210 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน

    สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา

    แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี

    และล่าสุด...

    เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ

    นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น?

    พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้

    ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด

    5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา

    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!"

    บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม

    วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย

    ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง

    แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา?

    ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

    เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่
    1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด
    2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ
    3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง

    ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ

    นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม

    เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง"

    เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา

    เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง

    หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย?

    กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา

    วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา
    - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน
    - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ
    - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป

    ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร?
    รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง
    เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด
    ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม

    นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด!

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568

    #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน 🔥 สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา 🇰🇭 แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี และล่าสุด... 💥 เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ 🔴 นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น? 👤 พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้ 📌 ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด 5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!" บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย 🇹🇭 ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง 🔴 แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา? 📍 ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 🏛️ เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่ 1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด 2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ 3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง 🔎 ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ 👉 นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม 🎭 เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง" 📌 เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา 📌 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง 🇰🇭 หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย? 🔴 กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา 📌 วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป 🇹🇭 ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร? ✅ รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง ✅ เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด ✅ ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม 🔥 นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด! ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568 #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1450 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ทนายอั๋น" พร้อมหวังเฉา-หม่าฮั่น บุกขอดูหน้า "อิทธิพร-แสวง" เชื่อ DSl มีอำนาจทำคดีอาญาเอาผิดฮั้วเลือกสว. 100% บุกทำกิจกรรม เหน็บกกต.ไม่ให้ข้อมูลระวังโดนข้อหาร่วมขบวนการอั้งยี่ซ่องโจร

    วันนี้ (26 ก.พ.) นายภัทรพงศ์ ศุภักษร หรือ ทนายอั๋น บุรีรัมย์ พากลุ่มอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. มาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยมีคนที่แต่งกายเลียนแบบเป็น"หวังเฉา" กับ "หม่าฮั่น" นำตัวนักโทษอั้งยี่ซ่องโจรมาประหารตามคำสั่งท่านเปาบุ้นจิ้น

    โดยนายภัทรพงศ์ กล่าวว่า วันนี้ไม่ได้มายื่นหนังสือใดๆกับกกต. อีกแล้ว เพราะถือว่าการสื่อสารระหว่างตัวเองกับ กกต. สิ้นสุดลงแล้วนับแต่กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาว่าจะรับกรณีฮั้วเลือก สว. เป็นคดีพิเศษหรือไม่

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/politics/detail/9680000019023

    #MGROnline #ทนายอั๋น
    "ทนายอั๋น" พร้อมหวังเฉา-หม่าฮั่น บุกขอดูหน้า "อิทธิพร-แสวง" เชื่อ DSl มีอำนาจทำคดีอาญาเอาผิดฮั้วเลือกสว. 100% บุกทำกิจกรรม เหน็บกกต.ไม่ให้ข้อมูลระวังโดนข้อหาร่วมขบวนการอั้งยี่ซ่องโจร • วันนี้ (26 ก.พ.) นายภัทรพงศ์ ศุภักษร หรือ ทนายอั๋น บุรีรัมย์ พากลุ่มอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. มาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยมีคนที่แต่งกายเลียนแบบเป็น"หวังเฉา" กับ "หม่าฮั่น" นำตัวนักโทษอั้งยี่ซ่องโจรมาประหารตามคำสั่งท่านเปาบุ้นจิ้น • โดยนายภัทรพงศ์ กล่าวว่า วันนี้ไม่ได้มายื่นหนังสือใดๆกับกกต. อีกแล้ว เพราะถือว่าการสื่อสารระหว่างตัวเองกับ กกต. สิ้นสุดลงแล้วนับแต่กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาว่าจะรับกรณีฮั้วเลือก สว. เป็นคดีพิเศษหรือไม่ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/politics/detail/9680000019023 • #MGROnline #ทนายอั๋น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 723 มุมมอง 0 รีวิว
  • 22 ปี จากจลาจลกัมพูชา สู่ปฏิบัติการโปเชนตง เบื้องหลังความขัดแย้ง ปฏิบัติการที่โลกต้องจดจำ

    ย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงพนมเปญ
    ประเทศกัมพูชา ไม่เพียงแต่สร้างความสูญเสีย ทางกายภาพ แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุจลาจลครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากบทความ ในหนังสือพิมพ์กัมพูชา"รัศมี อังกอร์" ที่พาดพิงถึงนักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" ว่าได้กล่าวหากัมพูชาเรื่องนครวัด จนนำไปสู่ความโกรธแค้น และความรุนแรง ที่ลุกลามไปถึงการเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ

    จากบทความหนังสือพิมพ์ สู่ความโกลาหล
    ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 หนังสือพิมพ์ "รัศมี อังกอร์" ของกัมพูชา ได้ตีพิทพ์เผยแพร่บทความ ที่กล่าวอ้างว่า นักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" พูดว่านครวัดเป็นของไทย และกัมพูชาเป็นฝ่ายที่ "ขโมย" นครวัดไป ข้อความนี้แพร่กระจาย ออกไปอย่างรวดเร็ว สร้างกระแสความโกรธเคือง ในหมู่ชาวกัมพูชา แม้ว่ากบ-สุวนันท์ จะออกมาปฏิเสธว่า เธอไม่เคยพูดเช่นนั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้ง กระแสความไม่พอใจได้

    การตอบสนองของฮุนเซ็น
    นายกรัฐมนตรีกัมพูชา "ฮุนเซ็น" ได้กล่าวสนับสนุนข้อความ ในบทความดังกล่าว โดยเปรียบเทียบว่า นักแสดงชาวไทยคนนี้ "ไม่มีค่าเทียบเท่าใบหญ้า ที่ขึ้นใกล้นครวัด" พร้อมทั้งสั่งให้สถานีโทรทัศน์กัมพูชา หยุดการเผยแพร่ละครไทยทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการปลุกระดม ให้ประชาชนกัมพูชา ระลึกถึงรากเหง้าของตนเอง ซึ่งยิ่งกระพือความไม่พอใจ ในวงกว้าง

    จากชุมนุมสู่เหตุการณ์จลาจล เริ่มต้นที่สถานทูตไทย
    เช้าวันที่ 29 มกราคม 2546 กลุ่มชาวกัมพูชาหลายร้อยคน เริ่มรวมตัวกัน ที่หน้าสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ การประท้วงเริ่มจาก การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาธงชาติไทย และป้ายของสถานทูต ก่อนที่จะบานปลายไปสู่ความรุนแรง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกเข้าไป ในบริเวณสถานทูต

    อพยพเจ้าหน้าที่สถานทูต
    เอกอัครราชทูตไทย ประจำกัมพูชาในขณะนั้น "ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ" ตัดสินใจสั่งการ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูต อพยพออกจากอาคาร โดยปีนรั้วด้านหลังของสถานทูต ไปยังแม่น้ำบาสัก และบางส่วนหลบหนีไปยังสถานทูตญี่ปุ่น ที่อยู่ติดกัน การตัดสินใจที่เด็ดขาดนี้ ช่วยรักษาชีวิตของทุกคน ไว้ได้อย่างปลอดภัย

    ทำลายสถานทูตไทย
    ในช่วงเวลาต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมได้เผา และปล้นสดมสถานทูตไทย รวมถึงทำลายทรัพย์สิ นของธุรกิจไทยในกรุงพนมเปญ เช่น โรงแรม สำนักงาน และร้านค้าต่าง ๆ เหตุการณ์นี้ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อมีข่าวลือว่า คนกัมพูชาถูกทำร้ายในประเทศไทย ซึ่งทำให้การจลาจลในพนมเปญ รุนแรงขึ้นไปอีก

    ปฏิบัติการโปเชนตง ความช่วยเหลือจากฟากฟ้า
    หลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจล รัฐบาลไทยภายใต้การนำ ของนายกรัฐมนตรี "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ได้ตัดสินใจเปิดปฏิบัติการ "โปเชนตง" เพื่ออพยพคนไทยออกจากกัมพูชา โดยใช้สนามบินเก่า "โปเชนตง" ในกรุงพนมเปญ เป็นจุดรับส่ง โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลกัมพูชา ที่เริ่มเปลี่ยนท่าที และยินยอมให้เครื่องบินทหารไทยเข้าประเทศ

    รายละเอียดของปฏิบัติการ
    วันที่ 30 มกราคม 2546 เวลา 05.15 น. เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130H และ G-222 พร้อมหน่วยรบพิเศษ ได้บินจากฐานทัพดอนเมือง ไปยังสนามบินโปเชนตง เพื่ออพยพคนไทยกว่า 700 คน การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการคุ้มกันอย่างเข้มงวด โดยสามารถนำคนไทย กลับมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด ในวันเดียว

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา
    เหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เลวร้ายลงอย่างมาก ไทยตัดสินใจ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และปิดชายแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค

    เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญ ของการสื่อสารระหว่างประเทศ และการป้องกันการปลุกระดม ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง การตอบสนองที่รวดเร็ว และเด็ดขาดของรัฐบาลไทยในครั้งนั้น ยังเป็นตัวอย่างของการจัดการวิกฤต ที่มีประสิทธิภาพ

    22 ปี หลังเหตุการณ์จลาจลในพนมเปญ และปฏิบัติการโปเชนตง ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทยและกัมพูชา ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการจัดการวิกฤตระดับชาติ เหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึง ความสำคัญของความร่วมมือ ความเข้าใจ และการสื่อสารที่ถูกต้อง ระหว่างประชาชน และผู้นำของทั้งสองประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 290850 ม.ค. 2568

    #จลาจลกัมพูชา #ปฏิบัติการโปเชนตง #ไทยกัมพูชา #สถานทูตไทย #ประวัติศาสตร์ไทย #การเมืองระหว่างประเทศ #บทเรียนความขัดแย้ง #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เหตุการณ์ในอดีต







    22 ปี จากจลาจลกัมพูชา สู่ปฏิบัติการโปเชนตง เบื้องหลังความขัดแย้ง ปฏิบัติการที่โลกต้องจดจำ ย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ไม่เพียงแต่สร้างความสูญเสีย ทางกายภาพ แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุจลาจลครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากบทความ ในหนังสือพิมพ์กัมพูชา"รัศมี อังกอร์" ที่พาดพิงถึงนักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" ว่าได้กล่าวหากัมพูชาเรื่องนครวัด จนนำไปสู่ความโกรธแค้น และความรุนแรง ที่ลุกลามไปถึงการเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ จากบทความหนังสือพิมพ์ สู่ความโกลาหล ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 หนังสือพิมพ์ "รัศมี อังกอร์" ของกัมพูชา ได้ตีพิทพ์เผยแพร่บทความ ที่กล่าวอ้างว่า นักแสดงหญิงชาวไทย "กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง" พูดว่านครวัดเป็นของไทย และกัมพูชาเป็นฝ่ายที่ "ขโมย" นครวัดไป ข้อความนี้แพร่กระจาย ออกไปอย่างรวดเร็ว สร้างกระแสความโกรธเคือง ในหมู่ชาวกัมพูชา แม้ว่ากบ-สุวนันท์ จะออกมาปฏิเสธว่า เธอไม่เคยพูดเช่นนั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้ง กระแสความไม่พอใจได้ การตอบสนองของฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา "ฮุนเซ็น" ได้กล่าวสนับสนุนข้อความ ในบทความดังกล่าว โดยเปรียบเทียบว่า นักแสดงชาวไทยคนนี้ "ไม่มีค่าเทียบเท่าใบหญ้า ที่ขึ้นใกล้นครวัด" พร้อมทั้งสั่งให้สถานีโทรทัศน์กัมพูชา หยุดการเผยแพร่ละครไทยทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการปลุกระดม ให้ประชาชนกัมพูชา ระลึกถึงรากเหง้าของตนเอง ซึ่งยิ่งกระพือความไม่พอใจ ในวงกว้าง จากชุมนุมสู่เหตุการณ์จลาจล เริ่มต้นที่สถานทูตไทย เช้าวันที่ 29 มกราคม 2546 กลุ่มชาวกัมพูชาหลายร้อยคน เริ่มรวมตัวกัน ที่หน้าสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ การประท้วงเริ่มจาก การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาธงชาติไทย และป้ายของสถานทูต ก่อนที่จะบานปลายไปสู่ความรุนแรง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มบุกเข้าไป ในบริเวณสถานทูต อพยพเจ้าหน้าที่สถานทูต เอกอัครราชทูตไทย ประจำกัมพูชาในขณะนั้น "ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ" ตัดสินใจสั่งการ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูต อพยพออกจากอาคาร โดยปีนรั้วด้านหลังของสถานทูต ไปยังแม่น้ำบาสัก และบางส่วนหลบหนีไปยังสถานทูตญี่ปุ่น ที่อยู่ติดกัน การตัดสินใจที่เด็ดขาดนี้ ช่วยรักษาชีวิตของทุกคน ไว้ได้อย่างปลอดภัย ทำลายสถานทูตไทย ในช่วงเวลาต่อมา กลุ่มผู้ชุมนุมได้เผา และปล้นสดมสถานทูตไทย รวมถึงทำลายทรัพย์สิ นของธุรกิจไทยในกรุงพนมเปญ เช่น โรงแรม สำนักงาน และร้านค้าต่าง ๆ เหตุการณ์นี้ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อมีข่าวลือว่า คนกัมพูชาถูกทำร้ายในประเทศไทย ซึ่งทำให้การจลาจลในพนมเปญ รุนแรงขึ้นไปอีก ปฏิบัติการโปเชนตง ความช่วยเหลือจากฟากฟ้า หลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจล รัฐบาลไทยภายใต้การนำ ของนายกรัฐมนตรี "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ได้ตัดสินใจเปิดปฏิบัติการ "โปเชนตง" เพื่ออพยพคนไทยออกจากกัมพูชา โดยใช้สนามบินเก่า "โปเชนตง" ในกรุงพนมเปญ เป็นจุดรับส่ง โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลกัมพูชา ที่เริ่มเปลี่ยนท่าที และยินยอมให้เครื่องบินทหารไทยเข้าประเทศ รายละเอียดของปฏิบัติการ วันที่ 30 มกราคม 2546 เวลา 05.15 น. เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130H และ G-222 พร้อมหน่วยรบพิเศษ ได้บินจากฐานทัพดอนเมือง ไปยังสนามบินโปเชนตง เพื่ออพยพคนไทยกว่า 700 คน การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการคุ้มกันอย่างเข้มงวด โดยสามารถนำคนไทย กลับมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด ในวันเดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา เหตุการณ์ครั้งนี้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา เลวร้ายลงอย่างมาก ไทยตัดสินใจ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และปิดชายแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในภูมิภาค เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญ ของการสื่อสารระหว่างประเทศ และการป้องกันการปลุกระดม ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง การตอบสนองที่รวดเร็ว และเด็ดขาดของรัฐบาลไทยในครั้งนั้น ยังเป็นตัวอย่างของการจัดการวิกฤต ที่มีประสิทธิภาพ 22 ปี หลังเหตุการณ์จลาจลในพนมเปญ และปฏิบัติการโปเชนตง ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทยและกัมพูชา ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการจัดการวิกฤตระดับชาติ เหตุการณ์นี้เน้นย้ำถึง ความสำคัญของความร่วมมือ ความเข้าใจ และการสื่อสารที่ถูกต้อง ระหว่างประชาชน และผู้นำของทั้งสองประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 290850 ม.ค. 2568 #จลาจลกัมพูชา #ปฏิบัติการโปเชนตง #ไทยกัมพูชา #สถานทูตไทย #ประวัติศาสตร์ไทย #การเมืองระหว่างประเทศ #บทเรียนความขัดแย้ง #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เหตุการณ์ในอดีต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1265 มุมมอง 0 รีวิว
  • หมดบารมี ประชาธิปปัตย์ นับถอยหลังปิดตำนาน
    นับถอยหลัง เหลืออีกไม่กี่เดือน จะถึงวันหยอดบัตรเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศในวันเสาร์ที่1 กุมภาพันธ์จํานวน 47 จังหวัด ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้จะรวมทั้งการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาจังหวัดด้วย
    ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศไทยนั้นมีบรรยากาศความเข้มข้นแตกต่างจากการเลือกตั้งระดับประเทศอย่างสิ้นเชิง การเลือกตั้งส.ส.ระดับประเทศแม้จะเป็นการช่วงชิงอํานาจในการบริหารประเทศ แต่มุมหนึ่งก็ไม่ได้มีการวางเดิมพันที่สูงเหมือนกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
    โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความเข้มข้น เพราะนั่นหมายถึงการควบคุมทรัพยากรของรัฐที่เป็นเอกเทศจากฝ่ายบริหารส่วนกลาง จึงไม่แปลกที่จะมีเหตุการณ์ไข้โป้งและเหตุการณ์ความรุนแรงให้เห็นเป็นระยะหนึ่งในสนามที่มีการแข่งขันที่ดุเดือดอย่างคาดไม่ถึงคือจังหวัดตรัง ซึ่งเวลานี้ ภูมิรัฐศาสตร์ทางการเมืองของจังหวัดตรัง มีโฉมหน้าแตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง โดยในอดีตเป็นฐานที่มั่นสําคัญของพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากหลายทศวรรษพรรคประชาธิปัตย์สามารถครองเก้าอี้ส.ส.ของจังหวัดนี้ได้มาตลอด แต่ปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนแปลงจนถึงฐานราก
    วันนี้จังหวัดตรังไม่ได้ถูกปกคลุมด้วยอิทธิพลของพรรคประชาธิปัตย์แบบเด็ดขาดเหมือนในอดีต ภายหลังพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติสามารถเข้ามาคล้องเก้าอี้ส.ส.ระบบแบ่งเขตเลือกตั้งจังหวัดตรังไปได้บางส่วน
    หรือแม้แต่คะแนนส สบัญชีรายชื่อเฉพาะตรังก็พบว่าประชาธิปัตย์อยู่อันดับที่3ตามหลังพรรคอันดับหนึ่งอย่างพรรคก้าวไกล
    ที่ปัจจุบันเป็นพรรคประชาชนเกือบ100 000 คะแนนประกอบกับสถานการณ์ภายในพรรคประชาธิปัตย์ก็เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือภายหลังเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย
    ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าชวนหลีกภัยไม่ได้มีความหมายต่อพรรคประชาธิปัตย์แบบอดีตอีกแล้วเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนแปลง จึงทําให้สมรภูมิเลือกตั้งท้องถิ่นตรังเปลี่ยนไปด้วยระดับประเทศครั้งต่อไป
    ติดตามข่าวซีฟๆแบบนี้ได้ที่ #คิงส์โพธิ์ดำ
    หมดบารมี ประชาธิปปัตย์ นับถอยหลังปิดตำนาน นับถอยหลัง เหลืออีกไม่กี่เดือน จะถึงวันหยอดบัตรเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศในวันเสาร์ที่1 กุมภาพันธ์จํานวน 47 จังหวัด ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้จะรวมทั้งการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาจังหวัดด้วย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศไทยนั้นมีบรรยากาศความเข้มข้นแตกต่างจากการเลือกตั้งระดับประเทศอย่างสิ้นเชิง การเลือกตั้งส.ส.ระดับประเทศแม้จะเป็นการช่วงชิงอํานาจในการบริหารประเทศ แต่มุมหนึ่งก็ไม่ได้มีการวางเดิมพันที่สูงเหมือนกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความเข้มข้น เพราะนั่นหมายถึงการควบคุมทรัพยากรของรัฐที่เป็นเอกเทศจากฝ่ายบริหารส่วนกลาง จึงไม่แปลกที่จะมีเหตุการณ์ไข้โป้งและเหตุการณ์ความรุนแรงให้เห็นเป็นระยะหนึ่งในสนามที่มีการแข่งขันที่ดุเดือดอย่างคาดไม่ถึงคือจังหวัดตรัง ซึ่งเวลานี้ ภูมิรัฐศาสตร์ทางการเมืองของจังหวัดตรัง มีโฉมหน้าแตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง โดยในอดีตเป็นฐานที่มั่นสําคัญของพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากหลายทศวรรษพรรคประชาธิปัตย์สามารถครองเก้าอี้ส.ส.ของจังหวัดนี้ได้มาตลอด แต่ปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนแปลงจนถึงฐานราก วันนี้จังหวัดตรังไม่ได้ถูกปกคลุมด้วยอิทธิพลของพรรคประชาธิปัตย์แบบเด็ดขาดเหมือนในอดีต ภายหลังพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติสามารถเข้ามาคล้องเก้าอี้ส.ส.ระบบแบ่งเขตเลือกตั้งจังหวัดตรังไปได้บางส่วน หรือแม้แต่คะแนนส สบัญชีรายชื่อเฉพาะตรังก็พบว่าประชาธิปัตย์อยู่อันดับที่3ตามหลังพรรคอันดับหนึ่งอย่างพรรคก้าวไกล ที่ปัจจุบันเป็นพรรคประชาชนเกือบ100 000 คะแนนประกอบกับสถานการณ์ภายในพรรคประชาธิปัตย์ก็เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือภายหลังเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าชวนหลีกภัยไม่ได้มีความหมายต่อพรรคประชาธิปัตย์แบบอดีตอีกแล้วเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนแปลง จึงทําให้สมรภูมิเลือกตั้งท้องถิ่นตรังเปลี่ยนไปด้วยระดับประเทศครั้งต่อไป ติดตามข่าวซีฟๆแบบนี้ได้ที่ #คิงส์โพธิ์ดำ
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1217 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ภูมิธรรม'ท่องสคริปเป๊ะ รัฐบาลทำเต็มที่ คดีตากใบจบแล้ว
    .
    สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังเป็นที่จับตามองอีกครั้ง ภายหลังอายุคดีการสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หมดอายุความ ทำให้ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องขึ้นศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
    .
    นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า สถานการณ์ในพื้นที่เป็นเรื่องที่มีความกังวลตั้งแต่ต้นมาโดยตลอด เพราะสถานการณ์ความรุนแรงยังไม่จบ ทั้งท่าทีที่ฝ่ายรัฐบาลได้พยายามจบคดีนี้ตั้งแต่แรก และใช้เวลา 4-5 ปีในการติดตามแก้ไขปัญหา
    .
    "ส่วนที่บอกว่ารัฐบาลไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้มีกระบวนการยุติธรรม ยืนยันว่ารัฐบาลมีกระบวนการยุติธรรม อย่างที่ตนเคยบอกว่า เคยนำคดีเข้าสู่ศาลฯ อย่างน้อย 4 คดี เพราะฉะนั้นกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำมา ก็ได้ทำมาอย่างยาวนาน และที่ศาลฯ ได้ตัดสินในช่วง 5 ปีแรกจนถึงตอนนี้ผ่านมาแล้วกว่า 15 ปี ไม่เคยมีการหยิบหยก ทั้ง ๆ ที่ผ่านมาแล้วหลายรัฐบาล แต่เหตุการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเสียใจกับเรื่องที่ไม่สามารถทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ และไม่สามารถออก พ.ร.ก.แก้ไขอายุความ ตามที่มีหลายฝ่ายเสนอมาได้"
    .
    นายภูมิธรรม ย้ำว่า ได้ให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง อย่าให้มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยาก และไม่ใช่เรื่องที่จะไปคาดการณ์ให้เลวร้ายที่สุด แต่เราดูแลป้องกันตลอดอยู่แล้ว เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ยิ่งการแสดงเชิงสัญลักษณ์ของแต่ละฝ่าย เห็นพูดกันในสภาฯ ว่ามีคนเสียชีวิตกว่า 700 กว่าคน แต่ความจริงมีเพียง 70 กว่าคน ถ้าจะนำคนเสียชีวิต 700 กว่าคน ซึ่งต้องนับรวมทหารที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย หากจะพูดกันแบบตรงไปตรงมา เรื่องนี้ถือว่า จบแล้ว
    .
    ขณะที่ การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่นั้นเริ่มมีการปรับแนวทางการทำงานเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อกรณีคดีตากใบ เชื่อมโยงกรณีตากใบอีก
    พันตำรวจเอก ประยงค์ โคตรสาขา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ยกระดับคุมเข้ม4มุมเมือง ด่านทุกปรากการมีการตรวจ จยย. และรถยนต์ที่เข้าออกปัตตานี ร่วมถึงตรวจบุคคลที่มีรายชื่ออยู่สารระบบ หวั่นคนร้ายก่อเหตุในช่วงระหว่างนี้ หลังหน่วยความมั่นคงทราบว่ามีการนำอาวุธ และระเบิดพักค่อยเตรียมก่อเหตุอีกครั้งในพื้นที่
    .
    นอกจากนี้ ภายหลังเกิดกรณีคนร้ายก่อเหตุคาร์บอมบ์ หน้า สภ.อ.ปะนาเระ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจด่วน ประกอบด้วย ผกก.ปะนาเระ รองสืบสวน 3 นาย รองฝ่ายป้องกันปราบปราม อ.ปะนาเระ 2 นาย
    ..............
    Sondhi X
    'ภูมิธรรม'ท่องสคริปเป๊ะ รัฐบาลทำเต็มที่ คดีตากใบจบแล้ว . สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังเป็นที่จับตามองอีกครั้ง ภายหลังอายุคดีการสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หมดอายุความ ทำให้ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องขึ้นศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม . นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า สถานการณ์ในพื้นที่เป็นเรื่องที่มีความกังวลตั้งแต่ต้นมาโดยตลอด เพราะสถานการณ์ความรุนแรงยังไม่จบ ทั้งท่าทีที่ฝ่ายรัฐบาลได้พยายามจบคดีนี้ตั้งแต่แรก และใช้เวลา 4-5 ปีในการติดตามแก้ไขปัญหา . "ส่วนที่บอกว่ารัฐบาลไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้มีกระบวนการยุติธรรม ยืนยันว่ารัฐบาลมีกระบวนการยุติธรรม อย่างที่ตนเคยบอกว่า เคยนำคดีเข้าสู่ศาลฯ อย่างน้อย 4 คดี เพราะฉะนั้นกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำมา ก็ได้ทำมาอย่างยาวนาน และที่ศาลฯ ได้ตัดสินในช่วง 5 ปีแรกจนถึงตอนนี้ผ่านมาแล้วกว่า 15 ปี ไม่เคยมีการหยิบหยก ทั้ง ๆ ที่ผ่านมาแล้วหลายรัฐบาล แต่เหตุการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเสียใจกับเรื่องที่ไม่สามารถทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ และไม่สามารถออก พ.ร.ก.แก้ไขอายุความ ตามที่มีหลายฝ่ายเสนอมาได้" . นายภูมิธรรม ย้ำว่า ได้ให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง อย่าให้มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยาก และไม่ใช่เรื่องที่จะไปคาดการณ์ให้เลวร้ายที่สุด แต่เราดูแลป้องกันตลอดอยู่แล้ว เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ยิ่งการแสดงเชิงสัญลักษณ์ของแต่ละฝ่าย เห็นพูดกันในสภาฯ ว่ามีคนเสียชีวิตกว่า 700 กว่าคน แต่ความจริงมีเพียง 70 กว่าคน ถ้าจะนำคนเสียชีวิต 700 กว่าคน ซึ่งต้องนับรวมทหารที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย หากจะพูดกันแบบตรงไปตรงมา เรื่องนี้ถือว่า จบแล้ว . ขณะที่ การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่นั้นเริ่มมีการปรับแนวทางการทำงานเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อกรณีคดีตากใบ เชื่อมโยงกรณีตากใบอีก พันตำรวจเอก ประยงค์ โคตรสาขา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ยกระดับคุมเข้ม4มุมเมือง ด่านทุกปรากการมีการตรวจ จยย. และรถยนต์ที่เข้าออกปัตตานี ร่วมถึงตรวจบุคคลที่มีรายชื่ออยู่สารระบบ หวั่นคนร้ายก่อเหตุในช่วงระหว่างนี้ หลังหน่วยความมั่นคงทราบว่ามีการนำอาวุธ และระเบิดพักค่อยเตรียมก่อเหตุอีกครั้งในพื้นที่ . นอกจากนี้ ภายหลังเกิดกรณีคนร้ายก่อเหตุคาร์บอมบ์ หน้า สภ.อ.ปะนาเระ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี มีคำสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจด่วน ประกอบด้วย ผกก.ปะนาเระ รองสืบสวน 3 นาย รองฝ่ายป้องกันปราบปราม อ.ปะนาเระ 2 นาย .............. Sondhi X
    Sad
    Like
    Love
    Haha
    Angry
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1401 มุมมอง 0 รีวิว