• เที่ยว #ซาปา #ฮานอย 4วัน 3คืน😍
    งบน้อย ก็เที่ยวได้สบาย😱🔥

    ✈️ เดินทางโดย : VU-เวียดทราเวล แอร์ไลน์ส
    📢 รหัสทัวร์ : A05273
    🏢 โรงแรม : ⭐️⭐️⭐️

    📍 เมืองซาปา
    📍 โมอาน่าคาเฟ่
    📍 หมู่บ้านต่าฟาน
    📍 เมืองฮานอย
    📍 เจดีย์วัดเฉินก๊วก
    📍 โบสถ์เซนต์โจเซฟ
    📍 ทะเลสาบคืนดาบ
    📍 ช้อปปิ้งถนน 36 สาย

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8
    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์เวียดนาม #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    เที่ยว #ซาปา #ฮานอย 4วัน 3คืน😍 งบน้อย ก็เที่ยวได้สบาย😱🔥 ✈️ เดินทางโดย : VU-เวียดทราเวล แอร์ไลน์ส 📢 รหัสทัวร์ : A05273 🏢 โรงแรม : ⭐️⭐️⭐️ 📍 เมืองซาปา 📍 โมอาน่าคาเฟ่ 📍 หมู่บ้านต่าฟาน 📍 เมืองฮานอย 📍 เจดีย์วัดเฉินก๊วก 📍 โบสถ์เซนต์โจเซฟ 📍 ทะเลสาบคืนดาบ 📍 ช้อปปิ้งถนน 36 สาย รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์เวียดนาม #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2632 มุมมอง 720 0 รีวิว
  • 🤠#เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน01🤠

    ในปี 1975 เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

    แม้ว่าเวียดนามจะรวมเป็นหนึ่งเดียว แต่เวียดนามก็ค่อย ๆ พัฒนาโครงสร้างอำนาจสูงสุดที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในทางการเมือง และในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังได้ก่อให้เกิดสิ่งที่โลกภายนอกเรียกว่าโครงสร้าง "รถเทียมม้าสี่ตัว"

    สิ่งที่เรียกว่า"รถเทียมม้าสี่ตัว" กล่าวคือ มีสี่คนดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภาเวียดนาม ตามลำดับ และแทบจะไม่มีปรากฏการณ์ทำงวนควบตำแหน่งเกิดขึ้นเลย

    นี่เป็นระบบสมดุลเหนือใต้ที่มีเอกลักษณ์และยังเป็นกฎที่ไม่ได้เขียนไว้สำหรับองค์ประกอบของอำนาจ

    ไม่เพียงเท่านี้ โดยทั่วไปแล้วผู้นำจากทางเหนือจะทำหน้าที่เป็นเลขาธิการทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าเวียดกงจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง พร้อมทั้งรักษาความสัมพันธ์กับจีนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของประเทศให้มีเสถียรภาพ

    และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำที่กระตือรือร้นใส่ใจในทางเศรษฐกิจซึ่งมาจากภาคใต้ รับผิดชอบงานเศรษฐกิจและการปฏิรูปเศรษฐกิจ

    โครงสร้างอำนาจนี้ดูมีเสถียรภาพ แต่จริงๆ แล้วเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนและการประนีประนอมกันหลายครั้งในแวดวงการเมืองเวียดนาม และไม่มีเสถียรภาพมากนัก ในขณะที่การปฏิรูปของเวียดนามยังคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น การต่อสู้เพื่ออำนาจและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

    สิ่งนี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้

    ส่งผลให้เศรษฐกิจการเมืองของเวียดนามแสดงออกถึงความแตกแยก

    ทางตอนเหนือซึ่งมีฮานอยเป็นศูนย์กลางทางการเมือง มีแนวโน้มไปทางลัทธิสังคมนิยมมากกว่า ในขณะที่ทางตอนใต้ที่มีโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นเมืองไซง่อนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และเป็นสังคมทุนนิยมมากกว่า

    โฮจิมินห์ซิตี้ยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามและเป็นแรงผลักดันหลักในการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเวียดนาม

    ภูมิทัศน์ทางการเมืองในปัจจุบันในเวียดนามก็เป็นสถานการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย"รถเทียมม้าสี่ตัว"เช่นกัน ในสถานการณ์ที่ต้องคำนึงถึงภาคเหนือและภาคใต้ ทั้งภาคเหนือและภาคใต้มักจะผลัดกันรับผิดชอบดูแลซึ่งกันและกัน ดังนั้นด้วยความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ,เวียดนามจะแตกแยกอีกไหม?

    ในความเป็นจริง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 เวียดนามอยู่ในยุคแห่งการแบ่งแยกและการเผชิญหน้าระหว่างเหนือและใต้มาเป็นเวลานาน เนื่องจากการแตกแยกในระยะยาว ช่องว่างและความบาดหมางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนาม ก็กว้างขึ้นเรื่อยๆ

    หากดูแผนที่ของเวียดนามจะพบว่าภูมิประเทศของเวียดนามนั้นยาวและแคบ เป็นรูปตัว S มีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,600 กิโลเมตร และจุดที่แคบที่สุดจากตะวันออกไปตะวันตกเพียง 50 กิโลเมตร เหมือนงูยาวที่เกาะอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน

    เนื่องจากลำตัวของงูยาวตัวนี้เรียวเกินไป จึงสามารถตัดที่เอวได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้

    ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของจีน เวียดนามตอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของจีนมายาวนาน จนกระทั่งสมัยห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร(五代十国) เวียดนามถือโอกาสจากการแตกแยกล่มสลายของจีน ปลดตนเองจากการควบคุมของจีนและสถาปนาประเทศเอกราช

    บางทีอาจเป็นเพราะการแยกทางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาว เวียดนามยังเผชิญการเผชิญหน้าระหว่างเหนือ-ใต้เช่นเดียวกับราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ(南北朝)ของจีน และไม่ใช่แค่ครั้งเดียว

    ในปีคริสตศักราช 1428 จักรพรรดิเล ท้าย โต๋( Lê Thái Tổ 黎太祖)มีพระนามเดิมว่า เล เหล่ย (Lê Lợi, 黎利)ได้สถาปนาราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ขึ้นในเมืองทังล็อง(Thăng Long升龙)ซึ่งปัจจุบันคือฮานอย หนึ่งร้อยปีหลังจากการสถาปนาประเทศ เจ้าหน้าที่ข้าราชการผู้มีอำนาจในราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้แย่งชิงบัลลังก์ ประกาศตนเป็นจักรพรรดิ์ และสังหารหมู่ตระกูลราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ราชวงศ์หมัก (เหนือ)( Nhà Mạc 莫朝)

    แต่ต่อมาขุนนางผู้ภักดี ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)แห่งราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้พบทายาทของราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ทางตอนใต้ของเวียดนาม ให้เคารพเขาในฐานะจักรพรรดิ และสถาปนาราชวงศ์ ราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝) ขึ้นมาใหม่ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างระบอบการปกครองทางเหนือและทางใต้

    ในช่วงการแบ่งแยกเหนือใต้ ระบอบแบ่งแยกดินแดนในท้องถิ่นก็ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การสูญเสียอำนาจและการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอำนาจทางการเมือง

    ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวียดนามก็อยู่ในช่วงแห่งการแบ่งแยกเนื่องจากข้อพิพาทระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ภาคเหนือและภาคใต้ได้ทำสงครามกันหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะกำหนดผลลัพธ์ของการแพ้ชนะ และในท้ายที่สุดพวกเขาก็ได้แต่กำหนดเขตแดน ก่อให้เกิดสถานการณ์ของ ภาคใต้ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)และภาคเหนือตระกูลตรินห์(Trinh鄭)

    ผู้ปกครองเหงียน (Nguyen阮)ทางตอนใต้เติบโตในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 และก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 การปกครองของพวกเขากินเวลานานถึงสองศตวรรษและใช้มาตรการต่างๆ มากมายในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ

    การต่อต้านและการแบ่งแยกโดยพฤตินัยนี้ทำให้ความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รุนแรงขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และแม้แต่วัฒนธรรมของเวียดนามในรุ่นต่อ ๆ ไป

    เมื่อพูดถึงเวียดนามยังเป็นเช่นนี้ การแบ่งแยกภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาวย่อมนำไปสู่ความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและประเพณีความแตกต่างเหล่านี้สะท้อนถึงความหลากหลายของประเทศในยามสงบอย่างแน่นอน

    อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศและในประเทศไม่มั่นคง ก็อาจเป็นอันตรายที่ซ่อนอยู่และสามารถถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่ายโดยผู้ที่มีเจตนาร้าย ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้

    ในยุคปัจจุบัน เวียดนามถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามใต้และเวียดนามเหนืออีกครั้ง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเหนือ-ใต้โดยพฤตินัย

    แต่เช่นเดียวกับจีน เนื่องจากความเคยชินทางประวัติศาสตร์ เวียดนามมีประสบการณ์ในการรวมชาติเหนือและภาคใต้เข้าด้วยกัน พลังการรวมเข้าสู่ศูนย์กลางของชาติในประเทศนั้นแข็งแกร่งมาก และในที่สุดประเทศก็รวมเป็นหนึ่งเดียวในช่วงกลางทศวรรษ 1970

    แม้ว่าจะมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเนื่องด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การแทรกแซงของอาณานิคมของยุโรปและการมาถึงของยุคอาณานิคมทำให้การแบ่งแยกระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น

    ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศสมีความสนใจเวียดนามดินแดนมหาสมบัติแห่งนี้ และขยายอาณาเขตอาณานิคมของตนมาถึงที่นี่ ในเวลานั้น รัฐบาลชิง(清)เป็นเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) ของเวียดนาม แต่ด้วยการลงนามใน “สนธิสัญญาเทียนจิน (The Treaty of Tianjin中法新約)” รัฐบาลชิง(清)ที่ล้าหลังและไร้ความสามารถถูกบังคับให้สละอำนาจของเจ้านครสมัยศักดินา (suzerainty宗主权)ของตน

    ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1884 ฝรั่งเศสและเวียดนามลงนามในสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ซึ่งถือเป็นการล่มสลายของเวียดนามโดยสมบูรณ์ อาณานิคมฝรั่งเศสในอินโดจีน( Indochina印度支那) และการสถาปนาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นสู่ยุคอาณานิคมของเวียดนาม

    เพื่อให้ปกครองอาณานิคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวฝรั่งเศสจึงใช้กลยุทธ์ "แบ่งแยกและปกครอง"และแบ่งเวียดนามออกเป็นสามส่วน ได้แก่ เขตแดนตอนเหนือ.....ตังเกี๋ย (Tonkin东京) เขตแดนตอนกลาง.....อันนัม(Annam安南)และเขตแดนตอนใต้.....โคชินชินา(Cochinchina交趾支那)

    ยิ่งไปกว่านั้น เขตแดนตอนใต้ยังเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง เขตแดนตอนกลางเป็นรัฐในอารักขา และเขตแดนตอนเหนือเป็นกึ่งอารักขา

    ตามบทบัญญัติของสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ฝรั่งเศสได้จัดตั้ง "ระบบการอารักขา(protectorate保护)" ในตังเกี๋ย (Tonkin东京)และอันนัม(Annam安南) ซึ่งอนุญาตให้ราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)ปกครองในนาม โดยแท้จริงแล้วจักรพรรดิได้กลายเป็นหุ่นเชิดไปแล้ว

    จากมุมมองของระบบการเมืองเวียดนามโดยพื้นฐานแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ทางใต้เป็นดินแดนภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง และทางเหนือเป็นระบอบการปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส

    ด้วยการแทรกแซงของฝรั่งเศสความแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจน ประกอบกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขา

    ในขณะที่ภาคใต้มีภูมิประเทศที่ราบเรียบ และยังมีอ่าวทะเลธรรมชาติและสวยงามเหมาะกับท่าเรือมากมายหลายแห่ง ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ที่กองกำลังต่างชาติที่รุกรานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ ในขณะที่กองกำลังต่อต้านแห่งชาติของเวียดนามกระจุกตัวอยู่ที่ภาคเหนือ

    ก่อนการมาถึงของฝรั่งเศส ระบบรัฐของเวียดนามเป็นแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามแบบอย่างของจีนในการคัดเลือกข้าราชการผ่านระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制) ระบบการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแบบโรงเรียนเอกชน และเรื่องของอุดมการณ์ยังคงเป็นวัฒนธรรมขงจื๊อแบบดั้งเดิม

    อย่างไรก็ตาม ด้วยการมาถึงของนักล่าอาณานิคม อุดมการณ์ตัวหลักของเวียดนามก็ได้รับผลกระทบ และความแตกต่างในระดับภูมิภาคก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเผชิญหน้าระหว่างเวียดนามใต้และเวียดนามเหนือเมื่อชาวอเมริกันเข้ามาแทรกแซง เนื่องจากระบบการเมืองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อุดมการณ์และวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

    ดังจะเห็นได้จากคาบสมุทรเกาหลีที่ภาคเหนือและภาคใต้ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่

    หลังจากที่ฝรั่งเศสสถาปนาการปกครองอาณานิคมแล้ว ฝรั่งเศสย่อมดำเนินนโยบายการดูดซึมหลอมสลายอาณานิคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เผยแพร่ความคิดอุดมการณ์และวัฒนธรรมของเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) และดำเนินการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม เพื่อจัดหาอาวุธทางอุดมการณ์อันทรงพลังเพื่อเสริมสร้างและรวบรวมการปกครองให้เข้าด้วยกันของอาณานิคม

    ชาวฝรั่งเศสก็เช่นกัน เพื่อเสริมสร้างการควบคุมเวียดนามและฝึกอบรมนักแปล ฝรั่งเศสได้เปิดโรงเรียนสองภาษาในเวียดนามตอนใต้ และกำหนดนโยบาย "การดูดซึมหลอมสลาย" ขึ้นในปี ค.ศ. 1897 เพื่อเตรียมขยายการศึกษาแนวรูปแบบฝรั่งเศสสมัยใหม่ไปยังทุกหนทุกแห่งของภาคใต้ .

    อย่างไรก็ตาม ทางภาคเหนือยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮) ดังนั้นการสอบคัดเลือกโดยการสอบของจักรพรรดิ(科举制)แบบดั้งเดิมจึงยังคงถูกนำมาใช้ในภูมิภาคนี้ และการศึกษายังคงขึ้นอยู่กับระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)เป็นหลัก พลังของการศึกษาสไตล์แบบตะวันตกนั้นยังอ่อนแอมาก

    เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)ของเวียดนามจนกระทั่งปีค.ศ. 1919 จึงค่อยถูกยกเลิก ซึ่งช้ากว่าจีนถึงสิบสี่ปี จากสิ่งเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกและความแตกต่างในด้านการศึกษาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้

    ความแตกต่างในระบบการศึกษานี้นำไปสู่ความแตกต่างทางความคิดอุดมการณ์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ผลกระทบของความแตกต่างนี้มีมายาวนานและกว้างขวาง

    ในช่วงทศวรรษที่ 1940 เวียดนามตอนใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากการศึกษาของตะวันตก ลัทธิขงจื๊อแบบคลาสสิกถูกละทิ้งไปนานแล้ว และเริ่มคิดถึงแนวคิดสมัยใหม่ เช่น วิทยาศาสตร์ ความสามารถพิเศษ และอารยธรรม อย่างไรก็ตาม ครอบครัวข้าราชการท้องถิ่นในภาคเหนือยังคงถือว่าลัทธิขงจื๊อเป็นวัฒนธรรมและถือเป็นสมบัติ

    หลังจากที่ชาวอเมริกันรับช่วงต่อจากฝรั่งเศสในฐานะผู้ควบคุมที่แท้จริงของเวียดนามใต้ พวกเขายังคงมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติจริงและความคิดริเริ่มของนักเรียน ส่งเสริมการฝึกฝนผู้มีความสามารถในภาคใต้ ในขณะที่ภาคเหนือเน้นปลูกฝังความรักชาติและการรู้หนังสือการอ่านออกเขียนได้ และเสนอให้เผยแพร่การศึกษาแก่คนส่วนใหญ่ของประชาชนในหมู่คนทำงาน

    กล่าวได้ง่ายๆว่า เวียดนามทางภาคใต้สิ่งที่ดำเนินการคือการศึกษาชั้นยอดระดับหัวกะทิ และมุ่งเน้นไปที่การปลูกฝังความสามารถพิเศษของบุคคล ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในภาคเหนือคือการเผยแพร่ระดับมาตรฐานการรู้หนังสือ

    ลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันระหว่างภาคเหนือและภาคใต้นำไปสู่การขยายความแตกต่างทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมระหว่างภาคเหนือและภาคใต้โดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วเวียดนามทางภาคใต้ได้รับอิทธิพลเปลี่ยนแปลงเอนเอียงไปทางตะวันตก ในขณะที่เวียดนามทางภาคเหนือได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากแนวคิดคอมมิวนิสต์ การแตกแยกจากกันและความแตกต่างเช่นนี้ แม้หลังจากการรวมตัวกันของภาคเหนือและภาคใต้อีกครั้ง เนื่องจากความเคยชินเฉื่อยชาและความสนใจทางประวัติศาสตร์รวมทั้งผลประโยขน์ต่างๆ ทั้งสองก็ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ในเวลาอันสั้น

    ใครก็ตามที่คุ้นเคยกับเวียดนามจะรู้ดีว่าช่องว่างระหว่างเวียดนามเหนือและใต้นั้นค่อนข้างใหญ่ และช่องว่างก็มีแนวโน้มกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เวียดนามตอนเหนือส่วนใหณ่เป็นภูเขา ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียบ และมีอ่าวทะเลเหมาะกับทำท่าเรือและสถานที่ท่องเที่ยวรีสอร์ทที่ดีเยี่ยมหลายแห่ง ซึ่งทำให้สภาพเงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคใต้โดยธรรมชาติแล้วดีกว่าทางภาคเหนือ

    เช่นเดียวกับจีน โฮจิมินห์ซิตี้ทางตอนใต้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามในฐานะเมืองหลวงของเวียดนามใต้

    ก่อนการรวมตัวของประเทศ โฮจิมินห์ซิตี้เป็นที่รู้จักในนามไซ่ง่อน เป็นศูนย์กลางการปกครองและเขตปกครองหลายแห่งของมหาอำนาจตะวันตก และยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "ปารีสน้อยแห่งตะวันออก"

    😎โปรดติดตามบทความ #เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน02 ที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า😎

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰


    🤠#เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน01🤠 ในปี 1975 เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้ว่าเวียดนามจะรวมเป็นหนึ่งเดียว แต่เวียดนามก็ค่อย ๆ พัฒนาโครงสร้างอำนาจสูงสุดที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในทางการเมือง และในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังได้ก่อให้เกิดสิ่งที่โลกภายนอกเรียกว่าโครงสร้าง "รถเทียมม้าสี่ตัว" สิ่งที่เรียกว่า"รถเทียมม้าสี่ตัว" กล่าวคือ มีสี่คนดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภาเวียดนาม ตามลำดับ และแทบจะไม่มีปรากฏการณ์ทำงวนควบตำแหน่งเกิดขึ้นเลย นี่เป็นระบบสมดุลเหนือใต้ที่มีเอกลักษณ์และยังเป็นกฎที่ไม่ได้เขียนไว้สำหรับองค์ประกอบของอำนาจ ไม่เพียงเท่านี้ โดยทั่วไปแล้วผู้นำจากทางเหนือจะทำหน้าที่เป็นเลขาธิการทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าเวียดกงจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง พร้อมทั้งรักษาความสัมพันธ์กับจีนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของประเทศให้มีเสถียรภาพ และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำที่กระตือรือร้นใส่ใจในทางเศรษฐกิจซึ่งมาจากภาคใต้ รับผิดชอบงานเศรษฐกิจและการปฏิรูปเศรษฐกิจ โครงสร้างอำนาจนี้ดูมีเสถียรภาพ แต่จริงๆ แล้วเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนและการประนีประนอมกันหลายครั้งในแวดวงการเมืองเวียดนาม และไม่มีเสถียรภาพมากนัก ในขณะที่การปฏิรูปของเวียดนามยังคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น การต่อสู้เพื่ออำนาจและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งนี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ส่งผลให้เศรษฐกิจการเมืองของเวียดนามแสดงออกถึงความแตกแยก ทางตอนเหนือซึ่งมีฮานอยเป็นศูนย์กลางทางการเมือง มีแนวโน้มไปทางลัทธิสังคมนิยมมากกว่า ในขณะที่ทางตอนใต้ที่มีโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นเมืองไซง่อนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และเป็นสังคมทุนนิยมมากกว่า โฮจิมินห์ซิตี้ยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามและเป็นแรงผลักดันหลักในการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเวียดนาม ภูมิทัศน์ทางการเมืองในปัจจุบันในเวียดนามก็เป็นสถานการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย"รถเทียมม้าสี่ตัว"เช่นกัน ในสถานการณ์ที่ต้องคำนึงถึงภาคเหนือและภาคใต้ ทั้งภาคเหนือและภาคใต้มักจะผลัดกันรับผิดชอบดูแลซึ่งกันและกัน ดังนั้นด้วยความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ,เวียดนามจะแตกแยกอีกไหม? ในความเป็นจริง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 เวียดนามอยู่ในยุคแห่งการแบ่งแยกและการเผชิญหน้าระหว่างเหนือและใต้มาเป็นเวลานาน เนื่องจากการแตกแยกในระยะยาว ช่องว่างและความบาดหมางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนาม ก็กว้างขึ้นเรื่อยๆ หากดูแผนที่ของเวียดนามจะพบว่าภูมิประเทศของเวียดนามนั้นยาวและแคบ เป็นรูปตัว S มีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,600 กิโลเมตร และจุดที่แคบที่สุดจากตะวันออกไปตะวันตกเพียง 50 กิโลเมตร เหมือนงูยาวที่เกาะอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน เนื่องจากลำตัวของงูยาวตัวนี้เรียวเกินไป จึงสามารถตัดที่เอวได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้ ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของจีน เวียดนามตอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของจีนมายาวนาน จนกระทั่งสมัยห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร(五代十国) เวียดนามถือโอกาสจากการแตกแยกล่มสลายของจีน ปลดตนเองจากการควบคุมของจีนและสถาปนาประเทศเอกราช บางทีอาจเป็นเพราะการแยกทางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาว เวียดนามยังเผชิญการเผชิญหน้าระหว่างเหนือ-ใต้เช่นเดียวกับราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ(南北朝)ของจีน และไม่ใช่แค่ครั้งเดียว ในปีคริสตศักราช 1428 จักรพรรดิเล ท้าย โต๋( Lê Thái Tổ 黎太祖)มีพระนามเดิมว่า เล เหล่ย (Lê Lợi, 黎利)ได้สถาปนาราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ขึ้นในเมืองทังล็อง(Thăng Long升龙)ซึ่งปัจจุบันคือฮานอย หนึ่งร้อยปีหลังจากการสถาปนาประเทศ เจ้าหน้าที่ข้าราชการผู้มีอำนาจในราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้แย่งชิงบัลลังก์ ประกาศตนเป็นจักรพรรดิ์ และสังหารหมู่ตระกูลราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ราชวงศ์หมัก (เหนือ)( Nhà Mạc 莫朝) แต่ต่อมาขุนนางผู้ภักดี ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)แห่งราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้พบทายาทของราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ทางตอนใต้ของเวียดนาม ให้เคารพเขาในฐานะจักรพรรดิ และสถาปนาราชวงศ์ ราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝) ขึ้นมาใหม่ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างระบอบการปกครองทางเหนือและทางใต้ ในช่วงการแบ่งแยกเหนือใต้ ระบอบแบ่งแยกดินแดนในท้องถิ่นก็ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การสูญเสียอำนาจและการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอำนาจทางการเมือง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวียดนามก็อยู่ในช่วงแห่งการแบ่งแยกเนื่องจากข้อพิพาทระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ภาคเหนือและภาคใต้ได้ทำสงครามกันหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะกำหนดผลลัพธ์ของการแพ้ชนะ และในท้ายที่สุดพวกเขาก็ได้แต่กำหนดเขตแดน ก่อให้เกิดสถานการณ์ของ ภาคใต้ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)และภาคเหนือตระกูลตรินห์(Trinh鄭) ผู้ปกครองเหงียน (Nguyen阮)ทางตอนใต้เติบโตในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 และก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 การปกครองของพวกเขากินเวลานานถึงสองศตวรรษและใช้มาตรการต่างๆ มากมายในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ การต่อต้านและการแบ่งแยกโดยพฤตินัยนี้ทำให้ความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รุนแรงขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และแม้แต่วัฒนธรรมของเวียดนามในรุ่นต่อ ๆ ไป เมื่อพูดถึงเวียดนามยังเป็นเช่นนี้ การแบ่งแยกภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาวย่อมนำไปสู่ความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและประเพณีความแตกต่างเหล่านี้สะท้อนถึงความหลากหลายของประเทศในยามสงบอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศและในประเทศไม่มั่นคง ก็อาจเป็นอันตรายที่ซ่อนอยู่และสามารถถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่ายโดยผู้ที่มีเจตนาร้าย ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในยุคปัจจุบัน เวียดนามถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามใต้และเวียดนามเหนืออีกครั้ง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเหนือ-ใต้โดยพฤตินัย แต่เช่นเดียวกับจีน เนื่องจากความเคยชินทางประวัติศาสตร์ เวียดนามมีประสบการณ์ในการรวมชาติเหนือและภาคใต้เข้าด้วยกัน พลังการรวมเข้าสู่ศูนย์กลางของชาติในประเทศนั้นแข็งแกร่งมาก และในที่สุดประเทศก็รวมเป็นหนึ่งเดียวในช่วงกลางทศวรรษ 1970 แม้ว่าจะมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเนื่องด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การแทรกแซงของอาณานิคมของยุโรปและการมาถึงของยุคอาณานิคมทำให้การแบ่งแยกระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศสมีความสนใจเวียดนามดินแดนมหาสมบัติแห่งนี้ และขยายอาณาเขตอาณานิคมของตนมาถึงที่นี่ ในเวลานั้น รัฐบาลชิง(清)เป็นเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) ของเวียดนาม แต่ด้วยการลงนามใน “สนธิสัญญาเทียนจิน (The Treaty of Tianjin中法新約)” รัฐบาลชิง(清)ที่ล้าหลังและไร้ความสามารถถูกบังคับให้สละอำนาจของเจ้านครสมัยศักดินา (suzerainty宗主权)ของตน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1884 ฝรั่งเศสและเวียดนามลงนามในสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ซึ่งถือเป็นการล่มสลายของเวียดนามโดยสมบูรณ์ อาณานิคมฝรั่งเศสในอินโดจีน( Indochina印度支那) และการสถาปนาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นสู่ยุคอาณานิคมของเวียดนาม เพื่อให้ปกครองอาณานิคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวฝรั่งเศสจึงใช้กลยุทธ์ "แบ่งแยกและปกครอง"และแบ่งเวียดนามออกเป็นสามส่วน ได้แก่ เขตแดนตอนเหนือ.....ตังเกี๋ย (Tonkin东京) เขตแดนตอนกลาง.....อันนัม(Annam安南)และเขตแดนตอนใต้.....โคชินชินา(Cochinchina交趾支那) ยิ่งไปกว่านั้น เขตแดนตอนใต้ยังเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง เขตแดนตอนกลางเป็นรัฐในอารักขา และเขตแดนตอนเหนือเป็นกึ่งอารักขา ตามบทบัญญัติของสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ฝรั่งเศสได้จัดตั้ง "ระบบการอารักขา(protectorate保护)" ในตังเกี๋ย (Tonkin东京)และอันนัม(Annam安南) ซึ่งอนุญาตให้ราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)ปกครองในนาม โดยแท้จริงแล้วจักรพรรดิได้กลายเป็นหุ่นเชิดไปแล้ว จากมุมมองของระบบการเมืองเวียดนามโดยพื้นฐานแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ทางใต้เป็นดินแดนภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง และทางเหนือเป็นระบอบการปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส ด้วยการแทรกแซงของฝรั่งเศสความแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจน ประกอบกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขา ในขณะที่ภาคใต้มีภูมิประเทศที่ราบเรียบ และยังมีอ่าวทะเลธรรมชาติและสวยงามเหมาะกับท่าเรือมากมายหลายแห่ง ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ที่กองกำลังต่างชาติที่รุกรานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ ในขณะที่กองกำลังต่อต้านแห่งชาติของเวียดนามกระจุกตัวอยู่ที่ภาคเหนือ ก่อนการมาถึงของฝรั่งเศส ระบบรัฐของเวียดนามเป็นแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามแบบอย่างของจีนในการคัดเลือกข้าราชการผ่านระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制) ระบบการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแบบโรงเรียนเอกชน และเรื่องของอุดมการณ์ยังคงเป็นวัฒนธรรมขงจื๊อแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ด้วยการมาถึงของนักล่าอาณานิคม อุดมการณ์ตัวหลักของเวียดนามก็ได้รับผลกระทบ และความแตกต่างในระดับภูมิภาคก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเผชิญหน้าระหว่างเวียดนามใต้และเวียดนามเหนือเมื่อชาวอเมริกันเข้ามาแทรกแซง เนื่องจากระบบการเมืองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อุดมการณ์และวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากคาบสมุทรเกาหลีที่ภาคเหนือและภาคใต้ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่ หลังจากที่ฝรั่งเศสสถาปนาการปกครองอาณานิคมแล้ว ฝรั่งเศสย่อมดำเนินนโยบายการดูดซึมหลอมสลายอาณานิคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เผยแพร่ความคิดอุดมการณ์และวัฒนธรรมของเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) และดำเนินการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม เพื่อจัดหาอาวุธทางอุดมการณ์อันทรงพลังเพื่อเสริมสร้างและรวบรวมการปกครองให้เข้าด้วยกันของอาณานิคม ชาวฝรั่งเศสก็เช่นกัน เพื่อเสริมสร้างการควบคุมเวียดนามและฝึกอบรมนักแปล ฝรั่งเศสได้เปิดโรงเรียนสองภาษาในเวียดนามตอนใต้ และกำหนดนโยบาย "การดูดซึมหลอมสลาย" ขึ้นในปี ค.ศ. 1897 เพื่อเตรียมขยายการศึกษาแนวรูปแบบฝรั่งเศสสมัยใหม่ไปยังทุกหนทุกแห่งของภาคใต้ . อย่างไรก็ตาม ทางภาคเหนือยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮) ดังนั้นการสอบคัดเลือกโดยการสอบของจักรพรรดิ(科举制)แบบดั้งเดิมจึงยังคงถูกนำมาใช้ในภูมิภาคนี้ และการศึกษายังคงขึ้นอยู่กับระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)เป็นหลัก พลังของการศึกษาสไตล์แบบตะวันตกนั้นยังอ่อนแอมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)ของเวียดนามจนกระทั่งปีค.ศ. 1919 จึงค่อยถูกยกเลิก ซึ่งช้ากว่าจีนถึงสิบสี่ปี จากสิ่งเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกและความแตกต่างในด้านการศึกษาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ความแตกต่างในระบบการศึกษานี้นำไปสู่ความแตกต่างทางความคิดอุดมการณ์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ผลกระทบของความแตกต่างนี้มีมายาวนานและกว้างขวาง ในช่วงทศวรรษที่ 1940 เวียดนามตอนใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากการศึกษาของตะวันตก ลัทธิขงจื๊อแบบคลาสสิกถูกละทิ้งไปนานแล้ว และเริ่มคิดถึงแนวคิดสมัยใหม่ เช่น วิทยาศาสตร์ ความสามารถพิเศษ และอารยธรรม อย่างไรก็ตาม ครอบครัวข้าราชการท้องถิ่นในภาคเหนือยังคงถือว่าลัทธิขงจื๊อเป็นวัฒนธรรมและถือเป็นสมบัติ หลังจากที่ชาวอเมริกันรับช่วงต่อจากฝรั่งเศสในฐานะผู้ควบคุมที่แท้จริงของเวียดนามใต้ พวกเขายังคงมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติจริงและความคิดริเริ่มของนักเรียน ส่งเสริมการฝึกฝนผู้มีความสามารถในภาคใต้ ในขณะที่ภาคเหนือเน้นปลูกฝังความรักชาติและการรู้หนังสือการอ่านออกเขียนได้ และเสนอให้เผยแพร่การศึกษาแก่คนส่วนใหญ่ของประชาชนในหมู่คนทำงาน กล่าวได้ง่ายๆว่า เวียดนามทางภาคใต้สิ่งที่ดำเนินการคือการศึกษาชั้นยอดระดับหัวกะทิ และมุ่งเน้นไปที่การปลูกฝังความสามารถพิเศษของบุคคล ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในภาคเหนือคือการเผยแพร่ระดับมาตรฐานการรู้หนังสือ ลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันระหว่างภาคเหนือและภาคใต้นำไปสู่การขยายความแตกต่างทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมระหว่างภาคเหนือและภาคใต้โดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วเวียดนามทางภาคใต้ได้รับอิทธิพลเปลี่ยนแปลงเอนเอียงไปทางตะวันตก ในขณะที่เวียดนามทางภาคเหนือได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากแนวคิดคอมมิวนิสต์ การแตกแยกจากกันและความแตกต่างเช่นนี้ แม้หลังจากการรวมตัวกันของภาคเหนือและภาคใต้อีกครั้ง เนื่องจากความเคยชินเฉื่อยชาและความสนใจทางประวัติศาสตร์รวมทั้งผลประโยขน์ต่างๆ ทั้งสองก็ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ในเวลาอันสั้น ใครก็ตามที่คุ้นเคยกับเวียดนามจะรู้ดีว่าช่องว่างระหว่างเวียดนามเหนือและใต้นั้นค่อนข้างใหญ่ และช่องว่างก็มีแนวโน้มกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เวียดนามตอนเหนือส่วนใหณ่เป็นภูเขา ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียบ และมีอ่าวทะเลเหมาะกับทำท่าเรือและสถานที่ท่องเที่ยวรีสอร์ทที่ดีเยี่ยมหลายแห่ง ซึ่งทำให้สภาพเงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคใต้โดยธรรมชาติแล้วดีกว่าทางภาคเหนือ เช่นเดียวกับจีน โฮจิมินห์ซิตี้ทางตอนใต้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามในฐานะเมืองหลวงของเวียดนามใต้ ก่อนการรวมตัวของประเทศ โฮจิมินห์ซิตี้เป็นที่รู้จักในนามไซ่ง่อน เป็นศูนย์กลางการปกครองและเขตปกครองหลายแห่งของมหาอำนาจตะวันตก และยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "ปารีสน้อยแห่งตะวันออก" 😎โปรดติดตามบทความ #เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน02 ที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า😎 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1287 มุมมอง 0 รีวิว
  • ส่อง 7 เมืองอาเซียน เหมาะเที่ยวคนเดียว

    นักท่องเที่ยวคนเดียว (Solo Traveler) กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะคนโสด เพราะไม่ว่าจะทริปสั้นหรือทริปยาว ทริปเพื่อพักผ่อน หรือเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน เรากำหนดและตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องมีแบบแผนยืดยาว แค่เตรียมความพร้อมหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก อ่านรีวิวเมือง สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร หรือโรงแรมเพื่อทำการบ้านแบบคร่าวๆ เท่านั้น

    บทความในเว็บไซต์ Lonely Planet หัวข้อ "7 of the best places in Southeast Asia for solo travelers" ที่เขียนโดย Morgan Awyong ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ได้ยก 7 เมืองที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับนักท่องเที่ยวคนเดียว โดยยกจุดเด่นของแต่ละเมืองในแต่ละหัวข้อ ดังนี้

    1. สิงคโปร์ เมืองที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เดินทางคนเดียวครั้งแรก เพราะโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยที่โดดเด่น คนในท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษ และสถานที่ท่องเที่ยวเข้าถึงง่าย โดยแนะนำศูนย์อาหารริมถนนที่มีเมนูทั้งข้าวมันไก่ไหหนาน บักกุ๊ตเต๋ และอาหารท้องถิ่นอื่นๆ เดินทางได้ทั่วเกาะด้วยรถไฟฟ้า MRT พร้อมแนะนำวัดเทียนฮกเก๋ง ย่านปาร์ควิวสแควร์

    2. ปีนัง (มาเลเซีย) เมืองสตรีทฟู้ดมีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างสรรค์ โดยมีย่านจอร์จทาวน์ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโก้ ผสมผสานร้านกาแฟน่ารักและงานศิลปะที่แปลกใหม่ แผงขายอาหารย่าน New Lane, Kimberly St และ Chulia St เปิดเฉพาะเช้าและเย็น มีทั้งเกี๊ยวน้ำ และมื้อหนักอย่างปีนังลักซา คนที่ทานข้าวคนเดียว อิ่มอร่อยในราคาประหยัดเพียง 10 ริงกิตเท่านั้น

    3. ดานัง (เวียดนาม) เมืองที่หลีกหนีความวุ่นวายด้วยชายฝั่งงดงาม และประสบการณ์หลากหลาย ความวุ่นวายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหลวง เดินทางสะดวกด้วยแกร็บที่ค่าโดยสารไม่แพง ห้องพักราคาเฉลี่ย 1 ล้านดอง ชายหาดเหมาะกับการเดินเล่นคนเดียว ได้เห็นชาวประมงพื้นบ้าน และมีร้านกาแฟมากมาย ที่เหมาะกับนักท่องเที่ยวและดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad)

    4. เสียมราฐ (กัมพูชา) เมืองเล็กๆ เป็นส่วนตัว และการท่องเที่ยวเชิงจริยธรรม นอกจากจะมีนครวัด ปราสาทตาพรหมและปราสาทบันทายศรีแล้ว ยังมีตลาดงานฝีมือเล็กๆ ร้านอาหารริมถนนบรรยากาศสบายๆ มีย่านถนนกลางคืนอย่าง Pub Street และยังมีผู้ประกอบการที่ตอบแทนสังคม เช่น โรงเรียนละครสัตว์ Phare Circus ร้านอาหาร Haven และฟาร์มบัว Lotus Farm

    5. กรุงเทพฯ (ไทย) เมืองที่ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ระหว่างการจราจรในกรุงเทพฯ หาบเร่แผงลอย และห้างสรรพสินค้า ย่านถนนข้าวสารยังมีวัดที่เงียบสงบเช่นวัดโพธิ์และวัดอรุณ ผ่อนคลายความเมื่อยล้าด้วยการนวด โรงแรมแข่งขันด้านราคาทำให้มีห้องพักราคาถูก และยืนหนึ่งด้านสิทธิ LGBTIQ+ ในภูมิภาค ความลับอยู่ที่ผู้คนที่อบอุ่น รอยยิ้มที่เรียบง่าย และจิตใจที่เปิดกว้าง

    6. ฮานอย (เวียดนาม) เมืองที่ผู้คนอยู่กันอย่างไม่โอ้อวด คำนึงถึงความยืดหยุ่น และวิถีทางที่ช้าแต่มั่นคง สามารถเดินเล่นในย่านเมืองเก่าอันมีเสน่ห์ พักสมองร้านกาแฟท้องถิ่น หรือสัมผัสบรรยากาศที่ทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม ที่มีกิจกรรมนันทนาการ และยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปแหล่งท่องเที่ยวทางเวียดนามเหนือ เช่น อ่าวฮาลอง อ่าวลันฮา เมืองนิญบิ่ญ และเมืองหนาวอย่างซาปา

    7. บาหลี (อินโดนีเซีย) เมืองสำหรับสุขภาพองค์รวม ชายหาด และดิจิทัลนอร์แมด ถูกพัฒนาให้เป็นเมืองสำหรับบำบัดสุขภาพทางเลือก มีกิจกรรมเรียนโยคะ บีชคลับและพูลวิลล่าที่หาดกูตา กิจกรรมเดินป่าผ่านนาข้าวในอูบุด พักผ่อนริมชายหาดกูตาตอนใต้ ปีนภูเขาบาตูร์ชมพระอาทิตย์ขึ้น ชาวดิจิทัลนอร์แมดมักรวมตัวที่ Canggu สร้างความสัมพันธ์และมิตรภาพได้อย่างง่ายดาย

    ป.ล. ดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad) คือ คนที่สามารถทำงานได้จากทุกแห่งในโลก โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ขอมีเพียงแค่สัญญาณอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

    #Newskit #SoloTraveler #ASEAN
    ส่อง 7 เมืองอาเซียน เหมาะเที่ยวคนเดียว นักท่องเที่ยวคนเดียว (Solo Traveler) กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะคนโสด เพราะไม่ว่าจะทริปสั้นหรือทริปยาว ทริปเพื่อพักผ่อน หรือเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน เรากำหนดและตัดสินใจได้เองโดยไม่ต้องมีแบบแผนยืดยาว แค่เตรียมความพร้อมหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก อ่านรีวิวเมือง สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร หรือโรงแรมเพื่อทำการบ้านแบบคร่าวๆ เท่านั้น บทความในเว็บไซต์ Lonely Planet หัวข้อ "7 of the best places in Southeast Asia for solo travelers" ที่เขียนโดย Morgan Awyong ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ได้ยก 7 เมืองที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับนักท่องเที่ยวคนเดียว โดยยกจุดเด่นของแต่ละเมืองในแต่ละหัวข้อ ดังนี้ 1. สิงคโปร์ เมืองที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เดินทางคนเดียวครั้งแรก เพราะโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยที่โดดเด่น คนในท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษ และสถานที่ท่องเที่ยวเข้าถึงง่าย โดยแนะนำศูนย์อาหารริมถนนที่มีเมนูทั้งข้าวมันไก่ไหหนาน บักกุ๊ตเต๋ และอาหารท้องถิ่นอื่นๆ เดินทางได้ทั่วเกาะด้วยรถไฟฟ้า MRT พร้อมแนะนำวัดเทียนฮกเก๋ง ย่านปาร์ควิวสแควร์ 2. ปีนัง (มาเลเซีย) เมืองสตรีทฟู้ดมีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างสรรค์ โดยมีย่านจอร์จทาวน์ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโก้ ผสมผสานร้านกาแฟน่ารักและงานศิลปะที่แปลกใหม่ แผงขายอาหารย่าน New Lane, Kimberly St และ Chulia St เปิดเฉพาะเช้าและเย็น มีทั้งเกี๊ยวน้ำ และมื้อหนักอย่างปีนังลักซา คนที่ทานข้าวคนเดียว อิ่มอร่อยในราคาประหยัดเพียง 10 ริงกิตเท่านั้น 3. ดานัง (เวียดนาม) เมืองที่หลีกหนีความวุ่นวายด้วยชายฝั่งงดงาม และประสบการณ์หลากหลาย ความวุ่นวายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหลวง เดินทางสะดวกด้วยแกร็บที่ค่าโดยสารไม่แพง ห้องพักราคาเฉลี่ย 1 ล้านดอง ชายหาดเหมาะกับการเดินเล่นคนเดียว ได้เห็นชาวประมงพื้นบ้าน และมีร้านกาแฟมากมาย ที่เหมาะกับนักท่องเที่ยวและดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad) 4. เสียมราฐ (กัมพูชา) เมืองเล็กๆ เป็นส่วนตัว และการท่องเที่ยวเชิงจริยธรรม นอกจากจะมีนครวัด ปราสาทตาพรหมและปราสาทบันทายศรีแล้ว ยังมีตลาดงานฝีมือเล็กๆ ร้านอาหารริมถนนบรรยากาศสบายๆ มีย่านถนนกลางคืนอย่าง Pub Street และยังมีผู้ประกอบการที่ตอบแทนสังคม เช่น โรงเรียนละครสัตว์ Phare Circus ร้านอาหาร Haven และฟาร์มบัว Lotus Farm 5. กรุงเทพฯ (ไทย) เมืองที่ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ระหว่างการจราจรในกรุงเทพฯ หาบเร่แผงลอย และห้างสรรพสินค้า ย่านถนนข้าวสารยังมีวัดที่เงียบสงบเช่นวัดโพธิ์และวัดอรุณ ผ่อนคลายความเมื่อยล้าด้วยการนวด โรงแรมแข่งขันด้านราคาทำให้มีห้องพักราคาถูก และยืนหนึ่งด้านสิทธิ LGBTIQ+ ในภูมิภาค ความลับอยู่ที่ผู้คนที่อบอุ่น รอยยิ้มที่เรียบง่าย และจิตใจที่เปิดกว้าง 6. ฮานอย (เวียดนาม) เมืองที่ผู้คนอยู่กันอย่างไม่โอ้อวด คำนึงถึงความยืดหยุ่น และวิถีทางที่ช้าแต่มั่นคง สามารถเดินเล่นในย่านเมืองเก่าอันมีเสน่ห์ พักสมองร้านกาแฟท้องถิ่น หรือสัมผัสบรรยากาศที่ทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม ที่มีกิจกรรมนันทนาการ และยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปแหล่งท่องเที่ยวทางเวียดนามเหนือ เช่น อ่าวฮาลอง อ่าวลันฮา เมืองนิญบิ่ญ และเมืองหนาวอย่างซาปา 7. บาหลี (อินโดนีเซีย) เมืองสำหรับสุขภาพองค์รวม ชายหาด และดิจิทัลนอร์แมด ถูกพัฒนาให้เป็นเมืองสำหรับบำบัดสุขภาพทางเลือก มีกิจกรรมเรียนโยคะ บีชคลับและพูลวิลล่าที่หาดกูตา กิจกรรมเดินป่าผ่านนาข้าวในอูบุด พักผ่อนริมชายหาดกูตาตอนใต้ ปีนภูเขาบาตูร์ชมพระอาทิตย์ขึ้น ชาวดิจิทัลนอร์แมดมักรวมตัวที่ Canggu สร้างความสัมพันธ์และมิตรภาพได้อย่างง่ายดาย ป.ล. ดิจิทัลนอร์แมด (Digital Normad) คือ คนที่สามารถทำงานได้จากทุกแห่งในโลก โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ขอมีเพียงแค่สัญญาณอินเทอร์เน็ตเท่านั้น #Newskit #SoloTraveler #ASEAN
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1160 มุมมอง 0 รีวิว