• “สุริยะ’หวั่นภาระค่าดอกเบี้ย สั่งเร่งหารือรายละเอียดและขั้นตอนกฎหมายปมค่างานเพิ่มเติม รถไฟสายสีแดงหลังศาลปค.กลาง สั่ง รฟท.จ่ายเงิน 4,204 ล้านบาทให้เอกชนภายใน 60 วัน ตามคำชี้ขาดอนุญาโตฯ เผยสายสีแดงเปิดใช้แล้วแต่ค่าก่อสร้างบานไม่หยุดต่อทะลุแสนล้าน

    รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อ วันที่ 12 เม.ย. 2568 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการตามข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 79/2564 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 79/2565 เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2565 โดยให้ รฟท.ชำระเงินให้ กิจการร่วมค้า เอส ยู ที่มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญา โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สัญญา 1 งานโยธาสำหรับสถานีรถไฟบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งรฟท. ลงนามสัญญา กิจการร่วมค้า เอส ยู เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2556 ในวงเงินสัญญา 29,826,973,512 บาท ตามคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน เพิ่มเติม (Variation order - VO) จำนวน 4,204,286,694.83 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 27,654,882.90 บาท โดยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000035222

    #MGROnline #โครงการระบบรถไฟชานเมือง #สายสีแดง
    “สุริยะ’หวั่นภาระค่าดอกเบี้ย สั่งเร่งหารือรายละเอียดและขั้นตอนกฎหมายปมค่างานเพิ่มเติม รถไฟสายสีแดงหลังศาลปค.กลาง สั่ง รฟท.จ่ายเงิน 4,204 ล้านบาทให้เอกชนภายใน 60 วัน ตามคำชี้ขาดอนุญาโตฯ เผยสายสีแดงเปิดใช้แล้วแต่ค่าก่อสร้างบานไม่หยุดต่อทะลุแสนล้าน • รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อ วันที่ 12 เม.ย. 2568 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการตามข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 79/2564 ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 79/2565 เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2565 โดยให้ รฟท.ชำระเงินให้ กิจการร่วมค้า เอส ยู ที่มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญา โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สัญญา 1 งานโยธาสำหรับสถานีรถไฟบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งรฟท. ลงนามสัญญา กิจการร่วมค้า เอส ยู เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2556 ในวงเงินสัญญา 29,826,973,512 บาท ตามคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน เพิ่มเติม (Variation order - VO) จำนวน 4,204,286,694.83 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 27,654,882.90 บาท โดยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000035222 • #MGROnline #โครงการระบบรถไฟชานเมือง #สายสีแดง
    Sad
    1
    0 Comments 0 Shares 139 Views 0 Reviews
  • รฟฟท. ส่งทีมงานวิศวกรและทีมงานความปลอดภัย เร่งตรวจสอบความปลอดภัยรถไฟสายสีแดงทุกระบบ โดยละเอียด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ

    จากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นวันนี้ (28 มี.ค.68) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ได้ส่งทีมงานวิศวกรและทีมงานด้านความปลอดภัยลงพื้นที่เพื่อดำเนินการตรวจสอบระบบต่างๆทันที ได้แก่ ระบบรางรถไฟฟ้า ระบบสายส่งกระแสไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร รวมถึงอาคารสถานีทุกสถานีอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้โดยสารเกิดความมั่นใจว่า รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงมีมาตรการด้านความปลอดภัยสูงสุดเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชน

    โดยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง มีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ ยังไม่พบสิ่งผิดปกติ หรือความเสียหายที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการเปิดให้บริการประชาชน โดยบริษัทฯจะดำเนินการตรวจสอบทุกระบบตามขั้นตอนโดยละเอียด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้บริการ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000029783

    #MGROnline #รถไฟสายสีแดง #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา
    รฟฟท. ส่งทีมงานวิศวกรและทีมงานความปลอดภัย เร่งตรวจสอบความปลอดภัยรถไฟสายสีแดงทุกระบบ โดยละเอียด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ • จากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นวันนี้ (28 มี.ค.68) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ได้ส่งทีมงานวิศวกรและทีมงานด้านความปลอดภัยลงพื้นที่เพื่อดำเนินการตรวจสอบระบบต่างๆทันที ได้แก่ ระบบรางรถไฟฟ้า ระบบสายส่งกระแสไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร รวมถึงอาคารสถานีทุกสถานีอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้โดยสารเกิดความมั่นใจว่า รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงมีมาตรการด้านความปลอดภัยสูงสุดเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชน • โดยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง มีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ ยังไม่พบสิ่งผิดปกติ หรือความเสียหายที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการเปิดให้บริการประชาชน โดยบริษัทฯจะดำเนินการตรวจสอบทุกระบบตามขั้นตอนโดยละเอียด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้บริการ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000029783 • #MGROnline #รถไฟสายสีแดง #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา
    0 Comments 0 Shares 410 Views 0 Reviews
  • สุริยะมัดรวมรถทัวร์ ไปกรุงเทพอภิวัฒน์

    ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ สำหรับความพยายามของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการย้ายสถานีขนส่ง 3 แห่ง ได้แก่ หมอชิต 2, เอกมัย และสายใต้ใหม่ มารวมกันที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟ ร.ฟ.ท. รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีน้ำเงิน สอดรับกับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่นายสุริยะอ้างว่าจะครอบคลุมทุกสี ทุกสาย ภายในเดือน ก.ย. 2568

    นายสุริยะอ้างว่าจะใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น รูปแบบที่สถานีฮากาตะ จังหวัดฟูกูโอกะ เป็นสถานีโดยสารแบบอาคารสูง ภายในอาคารจะมีศูนย์อาหารและแหล่งอำนวยความสะดวก แต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง แบ่งตามภูมิภาค และแบ่งจังหวัดอย่างชัดเจน โดยการก่อสร้างจะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่จะให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. นำที่ดินสถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย ที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านบาทให้เช่าหรือขาย เพื่อนำเงินมาลงทุนพัฒนาอาคารสถานีแห่งใหม่

    แนวคิดของนายสุริยะเรียกเสียงวิจารณ์จากประชาชน เพราะปกติถนนพหลโยธิน และถนนกำแพงเพชร 2 รถติดเป็นประจำในช่วงเช้าและเย็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะหน้าสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบรรดาสารพัดรถสาธารณะจอดเต็มไปหมด อีกทั้งที่ผ่านมาการแยกสถานีขนส่งตั้งแต่หมอชิต 2 สำหรับรถสายเหนือ สายอีสาน สถานีขนส่งเอกมัย สำหรับรถสายตะวันออก และสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน สำหรับรถสายใต้ ประชาชนคุ้นเคยไม่สับสนอยู่แล้ว กังขาว่าทำไมนายสุริยะถึงผลักดันย้ายสถานีขนส่งแบบสุดลิ่มทิ่มประตู

    ความจริงก็คือ ปัจจุบันสถานีขนส่งของ บขส. มีเพียงสถานีขนส่งเอกมัยแห่งเดียว ตั้งอยู่บนที่ดินตัวเอง เนื้อที่ 7 ไร่ เปิดให้บริการเมื่อ 1 ม.ค. 2503 หรือ 65 ปีก่อน นอกนั้น สถานีขนส่งหมอชิต 2 เช่าพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย 58 ไร่ แต่ บขส. มีกรณีพิพาทกับการรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2548 เพราะตกลงค่าเช่าไม่ได้ บขส.ต้องการจ่ายปีละ 21 ล้านบาท แต่การรถไฟฯ ปรับเพิ่มค่าเช่า 5% ทุกปี ขณะที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน เนื้อที่ 37 ไร่ สัญญาจ่ายส่วนแบ่งรายได้กับเอกชนใกล้จะหมดลง

    ถึงกระนั้น บขส.ยังมีที่ดินแยกไฟฉาย เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา เคยประกาศให้เช่าเมื่อปี 2566 แต่ไม่มีเอกชนรายไหนสนใจ ส่วนที่ดินปิ่นเกล้า เนื้อที่ 15 ไร่ ปัจจุบันด้านหน้าเป็นจุดจอดรถตู้โดยสารและรถมินิบัสต่างจังหวัด ให้บริการเส้นทางภาคตะวันตกเป็นหลัก น่าสนใจว่า การพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ตามที่นายสุริยะกล่าวไว้จริงหรือไม่

    #Newskit
    สุริยะมัดรวมรถทัวร์ ไปกรุงเทพอภิวัฒน์ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ สำหรับความพยายามของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการย้ายสถานีขนส่ง 3 แห่ง ได้แก่ หมอชิต 2, เอกมัย และสายใต้ใหม่ มารวมกันที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟ ร.ฟ.ท. รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีน้ำเงิน สอดรับกับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่นายสุริยะอ้างว่าจะครอบคลุมทุกสี ทุกสาย ภายในเดือน ก.ย. 2568 นายสุริยะอ้างว่าจะใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น รูปแบบที่สถานีฮากาตะ จังหวัดฟูกูโอกะ เป็นสถานีโดยสารแบบอาคารสูง ภายในอาคารจะมีศูนย์อาหารและแหล่งอำนวยความสะดวก แต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง แบ่งตามภูมิภาค และแบ่งจังหวัดอย่างชัดเจน โดยการก่อสร้างจะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่จะให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. นำที่ดินสถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย ที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านบาทให้เช่าหรือขาย เพื่อนำเงินมาลงทุนพัฒนาอาคารสถานีแห่งใหม่ แนวคิดของนายสุริยะเรียกเสียงวิจารณ์จากประชาชน เพราะปกติถนนพหลโยธิน และถนนกำแพงเพชร 2 รถติดเป็นประจำในช่วงเช้าและเย็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะหน้าสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบรรดาสารพัดรถสาธารณะจอดเต็มไปหมด อีกทั้งที่ผ่านมาการแยกสถานีขนส่งตั้งแต่หมอชิต 2 สำหรับรถสายเหนือ สายอีสาน สถานีขนส่งเอกมัย สำหรับรถสายตะวันออก และสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน สำหรับรถสายใต้ ประชาชนคุ้นเคยไม่สับสนอยู่แล้ว กังขาว่าทำไมนายสุริยะถึงผลักดันย้ายสถานีขนส่งแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ความจริงก็คือ ปัจจุบันสถานีขนส่งของ บขส. มีเพียงสถานีขนส่งเอกมัยแห่งเดียว ตั้งอยู่บนที่ดินตัวเอง เนื้อที่ 7 ไร่ เปิดให้บริการเมื่อ 1 ม.ค. 2503 หรือ 65 ปีก่อน นอกนั้น สถานีขนส่งหมอชิต 2 เช่าพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย 58 ไร่ แต่ บขส. มีกรณีพิพาทกับการรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2548 เพราะตกลงค่าเช่าไม่ได้ บขส.ต้องการจ่ายปีละ 21 ล้านบาท แต่การรถไฟฯ ปรับเพิ่มค่าเช่า 5% ทุกปี ขณะที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน เนื้อที่ 37 ไร่ สัญญาจ่ายส่วนแบ่งรายได้กับเอกชนใกล้จะหมดลง ถึงกระนั้น บขส.ยังมีที่ดินแยกไฟฉาย เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา เคยประกาศให้เช่าเมื่อปี 2566 แต่ไม่มีเอกชนรายไหนสนใจ ส่วนที่ดินปิ่นเกล้า เนื้อที่ 15 ไร่ ปัจจุบันด้านหน้าเป็นจุดจอดรถตู้โดยสารและรถมินิบัสต่างจังหวัด ให้บริการเส้นทางภาคตะวันตกเป็นหลัก น่าสนใจว่า การพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ตามที่นายสุริยะกล่าวไว้จริงหรือไม่ #Newskit
    1 Comments 0 Shares 660 Views 0 Reviews
  • "สุริยะ” เปิดโปรเจกต์ลงทุน ”คมนาคม” ทั้งรถไฟ -ทางด่วน-มอเตอร์เวย์ ดันชง ครม.ต้นปี 68 มูลค่ารวม 6 แสนล้านบาท พร้อมสุด "สายสีแดง มธ.รังสิต” ลุ้นสภาพัฒน์ฯ เร่งเคาะ ทางคู่เฟส 2 อีก 6 เส้นทาง และไฮสปีดไทย-จีน ”โคราช-หนองคาย”

    นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2568 กระทรวงคมนาคม เตรียมพร้อมโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่คาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในช่วงต้นปี ได้แก่ โครงการลงทุนระบบราง โดยที่มีความพร้อมที่สุดคือ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง รังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงินลงทุน 6,473.98 ล้านบาท เสนอครม.เพื่อขอทบทวนมติครม.และปรับกรอบวงเงิน ซึ่งผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครบแล้ว และอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. มาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567

    การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและขออนุมัติรวมโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน -ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย -กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน -ศิริราช เข้าด้วยกัน เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นสัญญาเดียว ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ15,176.21 ล้านบาท

    ขณะนี้ อยู่ระหว่าง การพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ (สศช.)

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/business/detail/9680000000022

    #MGROnline #สุริยะ #คมนาคม #รถไฟ #ทางด่วน #มอเตอร์เวย์
    "สุริยะ” เปิดโปรเจกต์ลงทุน ”คมนาคม” ทั้งรถไฟ -ทางด่วน-มอเตอร์เวย์ ดันชง ครม.ต้นปี 68 มูลค่ารวม 6 แสนล้านบาท พร้อมสุด "สายสีแดง มธ.รังสิต” ลุ้นสภาพัฒน์ฯ เร่งเคาะ ทางคู่เฟส 2 อีก 6 เส้นทาง และไฮสปีดไทย-จีน ”โคราช-หนองคาย” • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2568 กระทรวงคมนาคม เตรียมพร้อมโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่คาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในช่วงต้นปี ได้แก่ โครงการลงทุนระบบราง โดยที่มีความพร้อมที่สุดคือ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง รังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงินลงทุน 6,473.98 ล้านบาท เสนอครม.เพื่อขอทบทวนมติครม.และปรับกรอบวงเงิน ซึ่งผ่านการพิจารณาความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครบแล้ว และอยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมครม. มาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567 • การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและขออนุมัติรวมโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน -ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย -กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน -ศิริราช เข้าด้วยกัน เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นสัญญาเดียว ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ15,176.21 ล้านบาท • ขณะนี้ อยู่ระหว่าง การพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ (สศช.) • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000000022 • #MGROnline #สุริยะ #คมนาคม #รถไฟ #ทางด่วน #มอเตอร์เวย์
    0 Comments 0 Shares 845 Views 0 Reviews
  • BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น

    เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง

    และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582

    มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน

    ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

    บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า

    อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน

    #Newskit
    BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582 มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 801 Views 0 Reviews
  • สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง

    เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา

    สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

    พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก

    ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1

    #Newskit
    สวนเปรมประชาวนารักษ์ ปอดแห่งใหม่ด้วยน้ำพระทัยในหลวง เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง จากท่าเทียบเรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังท่าเทียบเรือสวนเปรมประชาวนารักษ์ เพื่อทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเปรมประชาวนารักษ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกประดู่ป่า ที่เพาะเมล็ดจากต้นประดู่ป่าที่ทรงปลูกต้นที่ 100 ล้าน ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นพิกุล ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ หมายถึง การพัฒนาสายน้ำของผู้เป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริตามพระบรมราโชบาย ประกอบด้วย ชลวัฏวิถี ชลธีร์ราชทรรศน์ และ ชลวิวัฒน์เพื่อประชา สำหรับสวนเปรมประชาวนารักษ์ สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ตามพระบรมราโชบายด้านการพัฒนาสายน้ำ คูคลอง สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาคลองเปรมประชากรที่เผชิญปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะล้นคลอง และมีพื้นที่รกร้างให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยฟื้นฟูระบบน้ำ ขุดลอกคลอง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์บนพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร จำนวน 10 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ พร้อมลานกิจกรรม เส้นทางจักรยาน ท่าเรือ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนเปรมประชาวนารักษ์ หมายถึง สวนที่นำความสุขและความเบิกบานใจมาสู่ประชาชน โดยได้รับการดูแลรักษาด้วยความรัก ภายในสวนประกอบด้วยพื้นที่สวนสาธารณะ อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติชลวิถีธีรพัฒน์ นิทรรศการกลางแจ้งสายธารพระบารมีจักรีวงศ์ และท่าเรือ โดยมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่สวน ประกอบกับแนวคิดการออกแบบสัญลักษณ์เลข ๑๐ ไทย ในรูปทรงหยดน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ ในสวนยังมีพรรณไม้ดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร พรรณไม้พื้นถิ่น และต้นไม้นานาพันธุ์ปลูกเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมของสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับการเดินทางมายังสวนเปรมประชาวนารักษ์ สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ลงสถานีทุ่งสองห้อง ทางออก 1 #Newskit
    Love
    2
    0 Comments 0 Shares 834 Views 0 Reviews
  • รถม่วง ขสมช.=ระบบขนส่งมวลชน ม.เชียงใหม่(เริ่มให้บริการ 4 ม.ค. 64)

    รถไฟฟ้า สายสีม่วง สาย 1 หน้ามอ.-สนง.มช.-ไปรษณีย์-สถานีกลางCentral Station T1(หอหญิง3)-Food Center-ศึกษาศาสตร์-เอส 1 -วนกลับหน้ามอ.

    รถไฟฟ้า สายสีแดง สาย 4 สถานีกลาง T1 ไป T2

    รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สาย 5 สถานีกลาง T1-หอหญิง4-หอหญิง6-สาธิต-ศึกษาศาสตร์-เอส 1-บัณฑิตวิทยาลัย-วิศวะ-ถาปัด-Food Center-สถานีกลาง T1

    รถไฟฟ้า สายสีชมพู สาย6 สถานีกลาง T1-ฝายหิน-สื่อสารมวลชน-นิติศาสตร์-แฟลตฝายหิน-บ้านร่มสัก-Food Center-สถานีกลาง T1

    รถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล สาย9 สถานีกลาง T1-CMU Food Center-วิศวะ-ลงสถานี21(ศึกษาศาสตร์) วนกลับ -บริหารธุรกิจ-ขสมชT2ประตูชลประทาน-สถานี18หอ40ปี-หอชมพู-สถานีกลางT1

    รถม่วง ขสมช.=ระบบขนส่งมวลชน ม.เชียงใหม่(เริ่มให้บริการ 4 ม.ค. 64) รถไฟฟ้า สายสีม่วง สาย 1 หน้ามอ.-สนง.มช.-ไปรษณีย์-สถานีกลางCentral Station T1(หอหญิง3)-Food Center-ศึกษาศาสตร์-เอส 1 -วนกลับหน้ามอ. รถไฟฟ้า สายสีแดง สาย 4 สถานีกลาง T1 ไป T2 รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สาย 5 สถานีกลาง T1-หอหญิง4-หอหญิง6-สาธิต-ศึกษาศาสตร์-เอส 1-บัณฑิตวิทยาลัย-วิศวะ-ถาปัด-Food Center-สถานีกลาง T1 รถไฟฟ้า สายสีชมพู สาย6 สถานีกลาง T1-ฝายหิน-สื่อสารมวลชน-นิติศาสตร์-แฟลตฝายหิน-บ้านร่มสัก-Food Center-สถานีกลาง T1 รถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล สาย9 สถานีกลาง T1-CMU Food Center-วิศวะ-ลงสถานี21(ศึกษาศาสตร์) วนกลับ -บริหารธุรกิจ-ขสมชT2ประตูชลประทาน-สถานี18หอ40ปี-หอชมพู-สถานีกลางT1
    0 Comments 0 Shares 364 Views 0 Reviews
  • รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 Comments 0 Shares 1359 Views 0 Reviews
  • GRENE Don Mueang Song Prapha : คอนโด กรีเน่ สรงประภา เฟส 2

    คอนโดตั้งอยู่ในทําเลที่สะดวกต่อการเดินทาง เชื่อมต่อกับถนนสําคัญหลายสาย เช่น ถนนศรีสมาน ถนนวิภาวดีรังสิต ทางด่วนศรีสมาน ดอนเมืองโทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีดอนเมือง นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บนพื้นที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

    ** จุดเด่น **

    คอนโดสไตล์รีสอร์ทใกล้ทะเล Miami มีบรรยากาศรีสอร์ทติดชายฝั่ง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเหมือนได้พักรีสอร์ทหรู คอนโดนี้เป็นอาคารสูง 8 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและบนถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานศึกษา ศูนย์การแพทย์ สถานที่ราชการ และสํานักงานต่างๆ มากมาย

    ** สิ่งอํานวยความสะดวกภายในโครงการ **

    - สระว่ายน้ํา ยาว 29 เมตร
    - จากุซซี่
    - สวนหย่อมแบบรีสอร์ท
    - ลานเล่นเด็ก
    - โถงอบไอน้ํา
    - ลู่วิ่ง ยาว 1 กม.
    - สนามบาสเกตบอล
    - ห้องฟิตเนส
    - ห้องนั่งเล่น
    - ห้องประชุม
    - ล็อบบี้
    - ตู้ไปรษณีย์
    - ห้องซักรีด
    - ระบบควบคุมการเข้าออกด้วยบัตร
    - กล้อง CCTV
    - เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชม.

    ** สถานที่ใกล้เคียง **

    ห้างสรรพสินค้า และตลาด

    - ตลาดบุญอนันต์ : 250 ม.
    - Happy Avenue : 550 ม.
    - ตลาดโอโซนวัน : 850 ม.
    - ตลาดใหม่ดอนเมือง : 3 กม.
    - Robinson ศรีสมาน : 4.5 กม.
    - IT Square : 6.1 กม.
    - Impact Arena เมืองทองธานี : 6.6 กม.
    - Lotus’s แจ้งวัฒนะ : 7.2 กม.
    - The Avenue แจ้งวัฒนะ : 7.3 กม.
    - Big C แจ้งวัฒนะ : 7.9 กม.
    - Makro แจ้งวัฒนะ : 8.1 กม.
    - ตลาดสี่มุมเมือง : 8.8 กม.
    - CentralPlaza แจ้งวัฒนะ : 9.4 กม.
    - Future Park Rangsit & Zpell : 14 กม.

    สถานศึกษา

    - รร.พระหฤทัยดอนเมือง : 450 ม.
    - รร.นานาชาติ Harrow : 2.7 กม.
    - รร.หอวัง : 4.4 กม.
    - รร.เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ : 5.1 กม.
    - รร.พระหฤทัย นนทบุรี : 6.1 กม.
    - ม.รังสิต : 7.3 กม.

    ศูนย์การแพทย์

    - รพ.จุฬาภรณ์ : 6.4 กม.
    - รพ.มงกุฎวัฒนะ : 7.8 กม.
    - รพ.บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ : 10.9 กม.
    - รพ.แพทย์รังสิต : 10.9 กม.
    - รพ.วิภาวดี : 14.6 กม.
    - รพ.ภูมิพลอดุลยเดช : 15.0 กม.

    อื่น ๆ

    - ท่าอากาศยานดอนเมือง : 5.1 กม.
    - สถานที่ราชการและอาคารสำนักงาน
    - สำนักงานเขตดอนเมือง : 2.8 กม.
    - ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ : 9.0 กม.

    ----------------------
    สนใจสอบถามข้อมูลที่
    โทร.081-822-6553
    รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์
    ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้
    พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ
    จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    GRENE Don Mueang Song Prapha : คอนโด กรีเน่ สรงประภา เฟส 2 คอนโดตั้งอยู่ในทําเลที่สะดวกต่อการเดินทาง เชื่อมต่อกับถนนสําคัญหลายสาย เช่น ถนนศรีสมาน ถนนวิภาวดีรังสิต ทางด่วนศรีสมาน ดอนเมืองโทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีดอนเมือง นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บนพื้นที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ** จุดเด่น ** คอนโดสไตล์รีสอร์ทใกล้ทะเล Miami มีบรรยากาศรีสอร์ทติดชายฝั่ง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเหมือนได้พักรีสอร์ทหรู คอนโดนี้เป็นอาคารสูง 8 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและบนถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานศึกษา ศูนย์การแพทย์ สถานที่ราชการ และสํานักงานต่างๆ มากมาย ** สิ่งอํานวยความสะดวกภายในโครงการ ** - สระว่ายน้ํา ยาว 29 เมตร - จากุซซี่ - สวนหย่อมแบบรีสอร์ท - ลานเล่นเด็ก - โถงอบไอน้ํา - ลู่วิ่ง ยาว 1 กม. - สนามบาสเกตบอล - ห้องฟิตเนส - ห้องนั่งเล่น - ห้องประชุม - ล็อบบี้ - ตู้ไปรษณีย์ - ห้องซักรีด - ระบบควบคุมการเข้าออกด้วยบัตร - กล้อง CCTV - เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชม. ** สถานที่ใกล้เคียง ** ห้างสรรพสินค้า และตลาด - ตลาดบุญอนันต์ : 250 ม. - Happy Avenue : 550 ม. - ตลาดโอโซนวัน : 850 ม. - ตลาดใหม่ดอนเมือง : 3 กม. - Robinson ศรีสมาน : 4.5 กม. - IT Square : 6.1 กม. - Impact Arena เมืองทองธานี : 6.6 กม. - Lotus’s แจ้งวัฒนะ : 7.2 กม. - The Avenue แจ้งวัฒนะ : 7.3 กม. - Big C แจ้งวัฒนะ : 7.9 กม. - Makro แจ้งวัฒนะ : 8.1 กม. - ตลาดสี่มุมเมือง : 8.8 กม. - CentralPlaza แจ้งวัฒนะ : 9.4 กม. - Future Park Rangsit & Zpell : 14 กม. สถานศึกษา - รร.พระหฤทัยดอนเมือง : 450 ม. - รร.นานาชาติ Harrow : 2.7 กม. - รร.หอวัง : 4.4 กม. - รร.เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ : 5.1 กม. - รร.พระหฤทัย นนทบุรี : 6.1 กม. - ม.รังสิต : 7.3 กม. ศูนย์การแพทย์ - รพ.จุฬาภรณ์ : 6.4 กม. - รพ.มงกุฎวัฒนะ : 7.8 กม. - รพ.บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ : 10.9 กม. - รพ.แพทย์รังสิต : 10.9 กม. - รพ.วิภาวดี : 14.6 กม. - รพ.ภูมิพลอดุลยเดช : 15.0 กม. อื่น ๆ - ท่าอากาศยานดอนเมือง : 5.1 กม. - สถานที่ราชการและอาคารสำนักงาน - สำนักงานเขตดอนเมือง : 2.8 กม. - ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ : 9.0 กม. ---------------------- สนใจสอบถามข้อมูลที่ โทร.081-822-6553 รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้ พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    0 Comments 0 Shares 782 Views 0 Reviews
  • Kave Salaya : เคฟ ศาลายา
    คอนโด Kave Salaya เป็นคอนโดติดถนนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนสถานีศาลายา ตั้งอยู่ที่ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ใกล้กับมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

    ** จุดเด่น **
    - ติดถนนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้า ใกล้สถานศึกษาหลายแห่ง
    - เป็นอาคารสูง 7 ชั้น มีห้องชุดทั้งหมด 588 ยูนิต และร้านค้า 1 ยูนิต
    - ออกแบบภายนอกอาคารแปลกตา ทันสมัย
    - มีพื้นที่ส่วนกลางมากมายกว่า 32 ฟังก์ชั่น
    - มีระบบรักษาความปลอดภัยและเทคโนโลยีทันสมัย

    **สิ่งอำนวยความสะดวก**

    BUILDING A: LEARNING

    - Co-Idea Space
    - Creative Lobby
    - Meeting Chamber
    - Meeting Lounge
    - Learning Hub
    - Working Pods
    - Sky Terrace
    - Sky Cinema
    - Sky Amphitheater
    - KAVE Viewpoint

    BUILDING B: REST & RELAX

    - Sharing Lobby
    - Smart Laundry Lounge
    - Board Game Arena
    - Console & VR Room
    - Music Studio
    - KAVE Theater
    - Fun Space

    BUILDING C: ACTIVE

    - Pulse Pool
    - Hydro Massage
    - Jet Pool
    - Botanic Garden
    - The Gym
    - Health Station
    - Fit Studio
    - Co-Kitchen
    - KAVE Cafe
    - Jacuzzi Seat

    FACILITY ON GROUND

    - The Common Ground
    - Valley Forest
    - Sunken Lawn
    - Hidden Bar
    - Misty Falls
    - SUPERIOR SECURITY & TECHNOLOGY

    ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชม. & CCTV
    ระบบ Key Card เข้าออก, ระบบลิฟท์ล็อกชั้น และ Digital Door Lock
    บริการ Shuttle Service รับ-ส่ง หน้ามหาวิทยาลัย ประตู 5
    Smart Locker 24 ชม.
    High-Speed Wi-Fi Internet

    **สถานที่ใกล้เคียง**

    - 7-11 : 80 ม.
    - mini Big C : 160 ม.
    - Lotus’s Express : 500 ม.
    - KFC Drive Thru : 600 ม.
    - Makro ศาลายา : 700 ม.
    - The Salaya : 1.2 กม.
    - ตลาดศาลายา : 1.5 กม.
    - China Town ศาลายา : 1.6 กม.
    - ตลาดกิเลน : 2.3 กม.
    - ตลาดนัดเฮียใช้ : 2.6 กม.
    - Lotus ศาลายา : 5 กม.
    - Central ศาลายา : 5.3 กม.
    - Home Pro พุทธมณฑลสาย 5 : 5.7 กม.
    - Brio Mall สาย 4 : 8.6 กม.
    - ตลาดธนบุรี สนามหลวง 2 : 9.7 กม.
    - ตลาดเวิลด์มาร์เก็ต : 10 กม.
    - The Paseo Park กาญจนาฯ : 14 กม.
    - Design Village พุทธมณฑล (Starbucks ,Gourmet Market ,Uniqlo ,JYSK) : 15.4 กม.
    - บุญถาวร พุทธมณฑล : 15.4 กม.
    - ตลาดนัดเซฟเซ็นเตอร์ : 15.8 กม.
    - Plus Mall Lotus บางใหญ่ : 16.9 กม.
    - SC Plaza ,ตลาดสายใต้ใหม่ : 19 กม.
    - The Crystal Park ราชพฤกษ์ : 19 กม.
    - ม.มหิดล ศาลายา : 750 ม.
    - รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ : 850 ม.
    - วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ : 1.1 กม.
    - รร.สาธิตนานาชาติ ม.มหิดล : 1.5 กม.
    - ม.ราชมงคลรัตนโกสินทร์ฯ : 2 กม.
    - ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย : 2.2 กม.
    - รร.สาธิตกรุงเทพธนบุรี : 6.5 กม.
    - ม.กรุงเทพธนบุรี : 6.9 กม.
    - รร.เพลินพัฒนา : 11.7 กม.
    - รร.กสิณธร อาคาเดมี่ : 12.3 กม.
    - รร.สารสาสน์วิเทศธนบุรี : 13.4 กม.
    - รร.อัสสัมชัญธนบุรี : 13.9 กม.
    - รร.อนุบาลนานาชาติ Hummingbird : 15.2 กม.
    - รพ.ศาลายา : 1.3 กม.
    - รพ.พุทธมณฑล : 3.4 กม.
    - ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก : 4.4 กม.
    - รพ.ธนบุรี 2 : 15.1 กม.
    - รพ.เกษมราษฎร์บางแค : 17.1 กม.
    - รพ.เจ้าพระยา : 22.6 กม.
    - รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : 22.8 กม.
    - สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล : 1 กม.
    - พุทธมณฑล : 4.3 กม.
    - กรมยุทธศึกษาทหารเรือ : 600 ม.
    - สำนักช่างสิบหมู่ : 2.3 กม.
    - JKN Global Media (JKN) : 8.3 กม.

    ----------------------
    สนใจสอบถามข้อมูลที่
    โทร.081-822-6553
    รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์
    ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้
    พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ
    จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    Kave Salaya : เคฟ ศาลายา คอนโด Kave Salaya เป็นคอนโดติดถนนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนสถานีศาลายา ตั้งอยู่ที่ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ใกล้กับมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ** จุดเด่น ** - ติดถนนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้า ใกล้สถานศึกษาหลายแห่ง - เป็นอาคารสูง 7 ชั้น มีห้องชุดทั้งหมด 588 ยูนิต และร้านค้า 1 ยูนิต - ออกแบบภายนอกอาคารแปลกตา ทันสมัย - มีพื้นที่ส่วนกลางมากมายกว่า 32 ฟังก์ชั่น - มีระบบรักษาความปลอดภัยและเทคโนโลยีทันสมัย **สิ่งอำนวยความสะดวก** BUILDING A: LEARNING - Co-Idea Space - Creative Lobby - Meeting Chamber - Meeting Lounge - Learning Hub - Working Pods - Sky Terrace - Sky Cinema - Sky Amphitheater - KAVE Viewpoint BUILDING B: REST & RELAX - Sharing Lobby - Smart Laundry Lounge - Board Game Arena - Console & VR Room - Music Studio - KAVE Theater - Fun Space BUILDING C: ACTIVE - Pulse Pool - Hydro Massage - Jet Pool - Botanic Garden - The Gym - Health Station - Fit Studio - Co-Kitchen - KAVE Cafe - Jacuzzi Seat FACILITY ON GROUND - The Common Ground - Valley Forest - Sunken Lawn - Hidden Bar - Misty Falls - SUPERIOR SECURITY & TECHNOLOGY ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชม. & CCTV ระบบ Key Card เข้าออก, ระบบลิฟท์ล็อกชั้น และ Digital Door Lock บริการ Shuttle Service รับ-ส่ง หน้ามหาวิทยาลัย ประตู 5 Smart Locker 24 ชม. High-Speed Wi-Fi Internet **สถานที่ใกล้เคียง** - 7-11 : 80 ม. - mini Big C : 160 ม. - Lotus’s Express : 500 ม. - KFC Drive Thru : 600 ม. - Makro ศาลายา : 700 ม. - The Salaya : 1.2 กม. - ตลาดศาลายา : 1.5 กม. - China Town ศาลายา : 1.6 กม. - ตลาดกิเลน : 2.3 กม. - ตลาดนัดเฮียใช้ : 2.6 กม. - Lotus ศาลายา : 5 กม. - Central ศาลายา : 5.3 กม. - Home Pro พุทธมณฑลสาย 5 : 5.7 กม. - Brio Mall สาย 4 : 8.6 กม. - ตลาดธนบุรี สนามหลวง 2 : 9.7 กม. - ตลาดเวิลด์มาร์เก็ต : 10 กม. - The Paseo Park กาญจนาฯ : 14 กม. - Design Village พุทธมณฑล (Starbucks ,Gourmet Market ,Uniqlo ,JYSK) : 15.4 กม. - บุญถาวร พุทธมณฑล : 15.4 กม. - ตลาดนัดเซฟเซ็นเตอร์ : 15.8 กม. - Plus Mall Lotus บางใหญ่ : 16.9 กม. - SC Plaza ,ตลาดสายใต้ใหม่ : 19 กม. - The Crystal Park ราชพฤกษ์ : 19 กม. - ม.มหิดล ศาลายา : 750 ม. - รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ : 850 ม. - วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ : 1.1 กม. - รร.สาธิตนานาชาติ ม.มหิดล : 1.5 กม. - ม.ราชมงคลรัตนโกสินทร์ฯ : 2 กม. - ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย : 2.2 กม. - รร.สาธิตกรุงเทพธนบุรี : 6.5 กม. - ม.กรุงเทพธนบุรี : 6.9 กม. - รร.เพลินพัฒนา : 11.7 กม. - รร.กสิณธร อาคาเดมี่ : 12.3 กม. - รร.สารสาสน์วิเทศธนบุรี : 13.4 กม. - รร.อัสสัมชัญธนบุรี : 13.9 กม. - รร.อนุบาลนานาชาติ Hummingbird : 15.2 กม. - รพ.ศาลายา : 1.3 กม. - รพ.พุทธมณฑล : 3.4 กม. - ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก : 4.4 กม. - รพ.ธนบุรี 2 : 15.1 กม. - รพ.เกษมราษฎร์บางแค : 17.1 กม. - รพ.เจ้าพระยา : 22.6 กม. - รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : 22.8 กม. - สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล : 1 กม. - พุทธมณฑล : 4.3 กม. - กรมยุทธศึกษาทหารเรือ : 600 ม. - สำนักช่างสิบหมู่ : 2.3 กม. - JKN Global Media (JKN) : 8.3 กม. ---------------------- สนใจสอบถามข้อมูลที่ โทร.081-822-6553 รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้ พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    0 Comments 0 Shares 1088 Views 0 Reviews
  • ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์

    หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567

    ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways)

    สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น

    #Newskit #SubangAirport #SZB
    ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์ หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways) สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น #Newskit #SubangAirport #SZB
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 1088 Views 0 Reviews