• เปิดให้บริการแล้ววันนี้ 🎉
    ชาร์จอย่างเต็ม Power⚡️ ที่ EV TPI Polene Power Charger ได้แล้วที่ Station EV Charger 4 แห่ง

    1. สาขามวกเหล็ก 1 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 - 21.30 น.
    - มีตู้ EV 1 ตู้ 2 หัวจ่าย
    📍 https://maps.app.goo.gl/2t6RRgLp6ed2839u5

    2. สาขามวกเหล็ก 2 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 - 21.30 น.
    - มีตู้ EV 2 ตู้ 4 หัวจ่าย
    📍 https://maps.app.goo.gl/WenkHRUMGMfH1xpu6

    3. สาขาสระบุรี 2 (GAS) เปิดให้บริการทุกวัน 24 ชั่วโมง
    - มีตู้ EV 1 ตู้ 2 หัวจ่าย
    📍 https://maps.app.goo.gl/wjFry7mfucFZArvQ6

    4. สาขาปากข้าวสาร เปิดให้บริการทุกวัน 24 ชั่วโมง
    - มีตู้ EV 2 ตู้ 4 หัวจ่าย
    📍 https://maps.app.goo.gl/7cdNcB2FLVut5Ryc7

    ✅ ตู้ชาร์จประจุไฟฟ้า Quick Charge DC CCS2 120 kw. "ไฟแรงเต็มประสิทธิภาพ"
    ✅ ไม่ต้องโหลด App. ให้ยุ่งยาก เรามีพนักงานพร้อมบริการ สะดวก สบาย ไม่ต้องลงจากรถ
    ✅ ยินดีรับชำระด้วยเงินสด และบัตรเครดิต Scan QR CODE
    ✅ ชาร์จได้ทั้งรถบรรทุกและรถเก๋ง

    สถานีชาร์จรถ EV TPI Polene Power Charger เปิดใหม่ สะดวก ปลอดภัย มีพนักงานพร้อมบริการ แค่แวะมาก็เติมพลังพร้อมเดินทางต่อ รองรับอนาคตแห่งการขับขี่ด้วยพลังงานสะอาด 🚘🌏🌱

    #EVTPIPowerCharger #TPIPolenePowerCharger #สถานีชาร์จEV #ชาร์จง่ายไม่ต้องทำเอง #สถานีชาร์จ #สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า #รถยนต์ไฟฟ้า
    #จอดปุ๊บชาร์จปั๊บ #พลังงานสะอาดเพื่อคุณ
    เปิดให้บริการแล้ววันนี้ 🎉 ชาร์จอย่างเต็ม Power⚡️ ที่ EV TPI Polene Power Charger ได้แล้วที่ Station EV Charger 4 แห่ง 1. สาขามวกเหล็ก 1 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 - 21.30 น. - มีตู้ EV 1 ตู้ 2 หัวจ่าย 📍 https://maps.app.goo.gl/2t6RRgLp6ed2839u5 2. สาขามวกเหล็ก 2 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.30 - 21.30 น. - มีตู้ EV 2 ตู้ 4 หัวจ่าย 📍 https://maps.app.goo.gl/WenkHRUMGMfH1xpu6 3. สาขาสระบุรี 2 (GAS) เปิดให้บริการทุกวัน 24 ชั่วโมง - มีตู้ EV 1 ตู้ 2 หัวจ่าย 📍 https://maps.app.goo.gl/wjFry7mfucFZArvQ6 4. สาขาปากข้าวสาร เปิดให้บริการทุกวัน 24 ชั่วโมง - มีตู้ EV 2 ตู้ 4 หัวจ่าย 📍 https://maps.app.goo.gl/7cdNcB2FLVut5Ryc7 ✅ ตู้ชาร์จประจุไฟฟ้า Quick Charge DC CCS2 120 kw. "ไฟแรงเต็มประสิทธิภาพ" ✅ ไม่ต้องโหลด App. ให้ยุ่งยาก เรามีพนักงานพร้อมบริการ สะดวก สบาย ไม่ต้องลงจากรถ ✅ ยินดีรับชำระด้วยเงินสด และบัตรเครดิต Scan QR CODE ✅ ชาร์จได้ทั้งรถบรรทุกและรถเก๋ง สถานีชาร์จรถ EV TPI Polene Power Charger เปิดใหม่ สะดวก ปลอดภัย มีพนักงานพร้อมบริการ แค่แวะมาก็เติมพลังพร้อมเดินทางต่อ รองรับอนาคตแห่งการขับขี่ด้วยพลังงานสะอาด 🚘🌏🌱 #EVTPIPowerCharger #TPIPolenePowerCharger #สถานีชาร์จEV #ชาร์จง่ายไม่ต้องทำเอง #สถานีชาร์จ #สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า #รถยนต์ไฟฟ้า #จอดปุ๊บชาร์จปั๊บ #พลังงานสะอาดเพื่อคุณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 118 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • เทสลา ไชน่า (Tesla China) รายงานยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในตลาดจีนปี 2567 ทะลุ 657,000 คัน เพิ่มขึ้น 8.8% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นยอดขายสูงสุดนับตั้งแต่บริษัทเริ่มดำเนินการในจีน ยอดขายเดือนธันวาคมแตะ 83,000 คัน ทำลายสถิติยอดขายรายเดือน เพิ่มขึ้น 12.8% จากเดือนพฤศจิกายน

    อย่างไรก็ตาม ยอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกของเทสลาในปี 2567 อยู่ที่ 1.79 ล้านคัน ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 1.83 ล้านคัน นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 9 ปี แม้ว่าปีนี้เทสลาจะผลิตรถยนต์ได้ 1.77 ล้านคันทั่วโลก

    เทสลายังลงทุนเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของ EV โดยในปี 2567 บริษัทได้ติดตั้งสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์เพิ่มกว่า 11,500 แห่งทั่วโลก เพิ่มขึ้น 19% ทำให้ปัจจุบันมีสถานีชาร์จรวมกว่า 67,000 แห่ง เทสลายังวางแผนเปิดตัวสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์รุ่นใหม่ V4 (V4 Supercharger) ในจีนตั้งแต่ปี 2568

    นอกจากนี้ โรงงานเมกะแฟกทอรี (Megafactory) ในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเน้นผลิตแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เมกะแพก” (Megapack) ได้เริ่มทดลองผลิตแล้วในช่วงปลายปี 2567 โดยโรงงานคาดว่าจะเริ่มการผลิตเต็มกำลังได้ในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปี 2568

    #MGROnline #เทสลา #เทสลาไชน่า

    เทสลา ไชน่า (Tesla China) รายงานยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในตลาดจีนปี 2567 ทะลุ 657,000 คัน เพิ่มขึ้น 8.8% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นยอดขายสูงสุดนับตั้งแต่บริษัทเริ่มดำเนินการในจีน ยอดขายเดือนธันวาคมแตะ 83,000 คัน ทำลายสถิติยอดขายรายเดือน เพิ่มขึ้น 12.8% จากเดือนพฤศจิกายน • อย่างไรก็ตาม ยอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกของเทสลาในปี 2567 อยู่ที่ 1.79 ล้านคัน ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 1.83 ล้านคัน นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 9 ปี แม้ว่าปีนี้เทสลาจะผลิตรถยนต์ได้ 1.77 ล้านคันทั่วโลก • เทสลายังลงทุนเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของ EV โดยในปี 2567 บริษัทได้ติดตั้งสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์เพิ่มกว่า 11,500 แห่งทั่วโลก เพิ่มขึ้น 19% ทำให้ปัจจุบันมีสถานีชาร์จรวมกว่า 67,000 แห่ง เทสลายังวางแผนเปิดตัวสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์รุ่นใหม่ V4 (V4 Supercharger) ในจีนตั้งแต่ปี 2568 • นอกจากนี้ โรงงานเมกะแฟกทอรี (Megafactory) ในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเน้นผลิตแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เมกะแพก” (Megapack) ได้เริ่มทดลองผลิตแล้วในช่วงปลายปี 2567 โดยโรงงานคาดว่าจะเริ่มการผลิตเต็มกำลังได้ในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปี 2568 • #MGROnline #เทสลา #เทสลาไชน่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 293 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความบ้าของอีลอน มัสก์ที่เขย่าอุตสาหกรรมEVในปี 2014 อีลอนได้ “เปิดเผย” ความลับของ Tesla ให้กับ BMW ทุกคนคิดว่าเขาบ้าแต่ “การกระทำอันเป็นการกุศล” นี้กลับกลายเป็นการดำเนินธุรกิจที่โหดและเฉียบแหลมที่สุดในประวัติศาสตร์ธุรกิจองค์กรขณะนั้นBMW พร้อมที่จะครองตลาดยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในยุโรป: BMW มีแบรนด์ที่ทรงพลัง มีวิศวกรรมรถยนต์ชั้นเลิศ และพวกเขามีกลยุทธ์การตลาดที่สมบูรณ์แบบแต่พวกเขาได้คาดเดาผิดๆ เกี่ยวกับ "ของขวัญ" ของอีลอน มัสก์ ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยการเดิมพัน 5 พันล้านเหรียญสหรัฐขณะที่ BMW กำลังลงนามสัญญาผลิตแบตเตอรี่...อีลอน มัสก์ประกาศเปิดตัวโรงงานกิกะแฟคทอรี่ ซึ่งเป็นโรงงานที่ได้รับการออกแบบให้ผลิตแบตเตอรี่ได้มากกว่าที่ทั้งโลกผลิตได้ในปี 2013ในวันที่ 12 มิถุนายน 2014 อีลอนได้เผยแพร่โพสต์บล็อกที่มีหัวข้อว่า“สิทธิบัตรทั้งหมดของเราเป็นของคุณ”เขาประกาศว่า Tesla จะมอบสิทธิบัตรทั้งหมดของตนฟรีโลกแห่งยานยนต์คิดว่าเขาเสียสติไปแล้ว แต่ความบ้าคลั่งนี้มีความอัจฉริยะซ่อนอยู่:แต่นั่นยังไม่ใช่การเคลื่อนไหวที่กล้าหาญที่สุดของเขา...นี่คือเหตุผลที่ BMW ไม่เคยเห็นสิ่งนี้มาก่อน: ขณะนั้นปี2014  Tesla มีปัญหา 2 ประการ:• ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กเกินไป• ไม่มีใครสร้างสถานีชาร์จอีลอน มัสก์ตระหนักดีว่า เทสลาไม่สามารถชนะเพียงลำพังได้ พวกเขาจำเป็นต้องขยายตลาดทั้งหมดเขาจึงได้ทำสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน:อีลอน มัสก์ใช้ความใจบุญเป็นอาวุธ ด้วยการให้สิทธิบัตร Tesla เพื่อ• ส่งเสริมให้ผู้อื่นสร้างรถยนต์ไฟฟ้า• โครงสร้างพื้นฐานการชาร์จที่ขยายเพิ่มขึ้น• ทำให้เทคโนโลยีของตนเป็นมาตรฐานขณะที่ BMW มุ่งเน้นไปที่การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่อีลอน มัสก์เล่นเกมที่ใหญ่กว่านี้:Gigafactory ไม่ได้มีแค่แบตเตอรี่เท่านั้น มันเป็นเรื่องของขนาดในขณะที่คู่แข่งใช้สิทธิบัตรของ Tesla เพื่อไล่ตาม อีลอน มัสก์ได้สร้างอาณาจักรที่สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ถูกกว่าใครๆ อยู่แล้วสิทธิบัตรของ Tesla ทำให้คนอื่นๆ ลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในเทคโนโลยี EVแต่หากไม่มีขนาดของ Tesla พวกเขาไม่สามารถแข่งขันในเรื่องต้นทุนได้BMW ได้เรียนรู้บทเรียนนี้ด้วยวิธีที่ยากลำบาก:• ต้นทุนแบตเตอรี่ของ Tesla: 187 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ kWh• ต้นทุนแบตเตอรี่ของ BMW: 280 เหรียญสหรัฐฯ/kWhช่องว่างก็ยิ่งกว้างขึ้น และ“ของขวัญ” จริงๆ แล้วเป็นกับดักภายในปี 2016 Tesla ผลิตแบตเตอรี่ได้ราคาถูกกว่าคู่แข่งถึง 60%การ "แจกฟรี" สิทธิบัตรมีดังต่อไปนี้:• ทำให้เทคโนโลยีของ Tesla กลายเป็นมาตรฐาน• ได้ให้คนอื่นมาตรวจสอบตลาด• ในขณะที่ Tesla สร้างข้อได้เปรียบด้านต้นทุนที่ไม่อาจเอาชนะได้ นี่คือความฉลาดทางยุทธศาสตร์แต่สิ่งที่ทุกคนพลาดไปก็คือ:นี่ไม่ใช่แค่เรื่องการเอาชนะ BMW เท่านั้นอีลอนพิสูจน์บางอย่างที่มีค่ายิ่งกว่านั้น:ในยุคดิจิทัล ยิ่งให้ ยิ่งได้ ด้วยวิธีเปิด เอาชนะความลับ พวกเขาแบ่งปันอย่างมีกลยุทธ์เพื่อ:• สร้างระบบนิเวศ• กำหนดมาตรฐาน• สร้างเอฟเฟกต์เครือข่ายในขณะที่ยังรักษาข้อได้เปรียบการแข่งขันที่สำคัญทั้งในด้านขนาดและการดำเนินการนี่คือเหตุผลว่าทำไมการเข้าใจเทคโนโลยีเกิดใหม่จึงไม่เพียงพอ…นวัตกรรมที่แท้จริงมาจากการมองภาพรวม:เทคโนโลยีสามารถสร้างมูลค่าผ่านความร่วมมือ ไม่ใช่แค่การแข่งขันเพียงอย่างเดียวได้อย่างไรเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ความสำเร็จเกิดจาก:• ความเปิดกว้างเชิงกลยุทธ์ Openess • เทคโนโลยีเพื่อรองรับความก้าวหน้าของมนุษย์ไม่ใช่แค่ขับขี่อย่างมีประสิทธิภาพ…ดังนั้น“ความร่วมมือ” อยู่ใน DNA ของ Tesla และ อีลอน มัสก์  รวมถึงผู้ติดตามของอีลอน  ไม่ได้มาจาก “แนวคิดผลรวมเป็นศูนย์” ที่ทุกคนต้องสูญเสียแต่ผู้ชนะในปัจจุบันคือเปิดว้างไม่กั๊กเทคโนโลยี
    ความบ้าของอีลอน มัสก์ที่เขย่าอุตสาหกรรมEVในปี 2014 อีลอนได้ “เปิดเผย” ความลับของ Tesla ให้กับ BMW ทุกคนคิดว่าเขาบ้าแต่ “การกระทำอันเป็นการกุศล” นี้กลับกลายเป็นการดำเนินธุรกิจที่โหดและเฉียบแหลมที่สุดในประวัติศาสตร์ธุรกิจองค์กรขณะนั้นBMW พร้อมที่จะครองตลาดยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในยุโรป: BMW มีแบรนด์ที่ทรงพลัง มีวิศวกรรมรถยนต์ชั้นเลิศ และพวกเขามีกลยุทธ์การตลาดที่สมบูรณ์แบบแต่พวกเขาได้คาดเดาผิดๆ เกี่ยวกับ "ของขวัญ" ของอีลอน มัสก์ ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยการเดิมพัน 5 พันล้านเหรียญสหรัฐขณะที่ BMW กำลังลงนามสัญญาผลิตแบตเตอรี่...อีลอน มัสก์ประกาศเปิดตัวโรงงานกิกะแฟคทอรี่ ซึ่งเป็นโรงงานที่ได้รับการออกแบบให้ผลิตแบตเตอรี่ได้มากกว่าที่ทั้งโลกผลิตได้ในปี 2013ในวันที่ 12 มิถุนายน 2014 อีลอนได้เผยแพร่โพสต์บล็อกที่มีหัวข้อว่า“สิทธิบัตรทั้งหมดของเราเป็นของคุณ”เขาประกาศว่า Tesla จะมอบสิทธิบัตรทั้งหมดของตนฟรีโลกแห่งยานยนต์คิดว่าเขาเสียสติไปแล้ว แต่ความบ้าคลั่งนี้มีความอัจฉริยะซ่อนอยู่:แต่นั่นยังไม่ใช่การเคลื่อนไหวที่กล้าหาญที่สุดของเขา...นี่คือเหตุผลที่ BMW ไม่เคยเห็นสิ่งนี้มาก่อน: ขณะนั้นปี2014  Tesla มีปัญหา 2 ประการ:• ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กเกินไป• ไม่มีใครสร้างสถานีชาร์จอีลอน มัสก์ตระหนักดีว่า เทสลาไม่สามารถชนะเพียงลำพังได้ พวกเขาจำเป็นต้องขยายตลาดทั้งหมดเขาจึงได้ทำสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน:อีลอน มัสก์ใช้ความใจบุญเป็นอาวุธ ด้วยการให้สิทธิบัตร Tesla เพื่อ• ส่งเสริมให้ผู้อื่นสร้างรถยนต์ไฟฟ้า• โครงสร้างพื้นฐานการชาร์จที่ขยายเพิ่มขึ้น• ทำให้เทคโนโลยีของตนเป็นมาตรฐานขณะที่ BMW มุ่งเน้นไปที่การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่อีลอน มัสก์เล่นเกมที่ใหญ่กว่านี้:Gigafactory ไม่ได้มีแค่แบตเตอรี่เท่านั้น มันเป็นเรื่องของขนาดในขณะที่คู่แข่งใช้สิทธิบัตรของ Tesla เพื่อไล่ตาม อีลอน มัสก์ได้สร้างอาณาจักรที่สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ถูกกว่าใครๆ อยู่แล้วสิทธิบัตรของ Tesla ทำให้คนอื่นๆ ลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในเทคโนโลยี EVแต่หากไม่มีขนาดของ Tesla พวกเขาไม่สามารถแข่งขันในเรื่องต้นทุนได้BMW ได้เรียนรู้บทเรียนนี้ด้วยวิธีที่ยากลำบาก:• ต้นทุนแบตเตอรี่ของ Tesla: 187 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ kWh• ต้นทุนแบตเตอรี่ของ BMW: 280 เหรียญสหรัฐฯ/kWhช่องว่างก็ยิ่งกว้างขึ้น และ“ของขวัญ” จริงๆ แล้วเป็นกับดักภายในปี 2016 Tesla ผลิตแบตเตอรี่ได้ราคาถูกกว่าคู่แข่งถึง 60%การ "แจกฟรี" สิทธิบัตรมีดังต่อไปนี้:• ทำให้เทคโนโลยีของ Tesla กลายเป็นมาตรฐาน• ได้ให้คนอื่นมาตรวจสอบตลาด• ในขณะที่ Tesla สร้างข้อได้เปรียบด้านต้นทุนที่ไม่อาจเอาชนะได้ นี่คือความฉลาดทางยุทธศาสตร์แต่สิ่งที่ทุกคนพลาดไปก็คือ:นี่ไม่ใช่แค่เรื่องการเอาชนะ BMW เท่านั้นอีลอนพิสูจน์บางอย่างที่มีค่ายิ่งกว่านั้น:ในยุคดิจิทัล ยิ่งให้ ยิ่งได้ ด้วยวิธีเปิด เอาชนะความลับ พวกเขาแบ่งปันอย่างมีกลยุทธ์เพื่อ:• สร้างระบบนิเวศ• กำหนดมาตรฐาน• สร้างเอฟเฟกต์เครือข่ายในขณะที่ยังรักษาข้อได้เปรียบการแข่งขันที่สำคัญทั้งในด้านขนาดและการดำเนินการนี่คือเหตุผลว่าทำไมการเข้าใจเทคโนโลยีเกิดใหม่จึงไม่เพียงพอ…นวัตกรรมที่แท้จริงมาจากการมองภาพรวม:เทคโนโลยีสามารถสร้างมูลค่าผ่านความร่วมมือ ไม่ใช่แค่การแข่งขันเพียงอย่างเดียวได้อย่างไรเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ความสำเร็จเกิดจาก:• ความเปิดกว้างเชิงกลยุทธ์ Openess • เทคโนโลยีเพื่อรองรับความก้าวหน้าของมนุษย์ไม่ใช่แค่ขับขี่อย่างมีประสิทธิภาพ…ดังนั้น“ความร่วมมือ” อยู่ใน DNA ของ Tesla และ อีลอน มัสก์  รวมถึงผู้ติดตามของอีลอน  ไม่ได้มาจาก “แนวคิดผลรวมเป็นศูนย์” ที่ทุกคนต้องสูญเสียแต่ผู้ชนะในปัจจุบันคือเปิดว้างไม่กั๊กเทคโนโลยี
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 785 มุมมอง 0 รีวิว
  • โออาร์สเปซ ปั๊มไม่มีน้ำมัน

    จากเดิมที่บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และธุรกิจนอยออยล์แขนงต่างๆ ล่าสุดหันมาเอาดีกับการทำคอมมูนิตีมอลล์ที่ชื่อว่า "โออาร์สเปซ" (OR Space) สาขาแรกเปิดเมื่อเดือน ต.ค. ที่ถนนเณรแก้ว จ.สุพรรณบุรี ต่อด้วย รามคำแหง 129 กรุงเทพฯ โดยมีผู้เช่าหลักอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ยูนิโคล่ โรดไซด์สโตร์ มีร้านอาหาร ร้านค้า และร้านในเครือโออาร์ ได้แก่ คาเฟ่อเมซอน พาคามาร่า ฟาวด์แอนด์ฟาวด์ อ๊อตเทริ

    โดยสาขารามคำแหง 129 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ ใช้งบลงทุน 39 ล้านบาท มีสถานีชาร์จ EV Station PluZ ขนาด 6 ช่องจอด ซึ่ง นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โออาร์ ระบุว่า เป็นการต่อยอดเครือข่ายพาร์ตเนอร์ที่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน นำมาสู่ศูนย์การค้าแนวใหม่ รวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมทุกความต้องการ ร่วมกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ต้องเข้าออกสะดวก ใกล้บ้าน ปลอดภัย ถือเป็น New S-Curve และมั่นใจว่าที่นี่จะเป็นต้นแบบของแพลตฟอร์มค้าปลีกในอนาคต

    อย่างไรก็ตาม นายดิษทัต กล่าวว่า อาจจะมีคอมมูนิตีมอลล์แบรนด์คล้ายกันออกมาอีก แต่ด้วยโออาร์ทำเร็วกว่า มีความเข้มแข็ง มีการกระจายความหลากหลาย (Diversify) มีอีโคซิสเตม (Ecosystem) ที่ดี และมีแบรนด์อื่นๆ เดินควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการมีต้นแบบถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้มีการแข่งขัน โดยในปีนี้จะเปิด OR Space เพิ่มอีก 3 แห่ง หนึ่งในนั้นได้แก่ สาขาธรรมศาสตร์ รังสิต และในปี 2568 จะขยายสาขาอีก 10 สาขา โดยใช้ที่ดินขนาดตั้งแต่ 3-5 ไร่ขึ้นไป

    ส่วนการปิดตัวแบรนด์เท็กซัส ชิคเก้น หนึ่งในธุรกิจนอนออยล์ก่อนหน้านี้ นายดิษทัต เปิดเผยว่า ตอนนี้มีแผนสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาทดแทน อีกไม่เกิน 3 ถึง 4 เดือน คงได้เห็นแบรนด์ร้านอาหารน้องใหม่แน่นอน

    อย่างไรก็ตาม โออาร์รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าขาดทุนสุทธิ 1,609 ล้านบาท มีรายได้ขายและบริการ 176,131 ล้านบาท ลดลง 7,858 ล้านบาทในทุกกลุ่มธุรกิจ ขณะที่ราคาหุ้นเหลือ 14.50 บาท ต่ำกว่าราคาไอพีโอ 18 บาท เมื่อปี 2564 โดยนอกจากปิดตัวร้านไก่ทอด เท็กซัส ชิคเก้น ที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษ 442 ล้านบาทแล้ว ยังถอนการลงทุนธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Kouen, Ono Sushi และแบรนด์อื่นๆ ที่ถือหุ้นผ่านบริษัทย่อย 25% คิดเป็น 110 ล้านบาท

    อนึ่ง การลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ โดยขนาดพื้นที่ 2 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท 3 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และ 5 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

    #Newskit #OR #ORSpace
    โออาร์สเปซ ปั๊มไม่มีน้ำมัน จากเดิมที่บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และธุรกิจนอยออยล์แขนงต่างๆ ล่าสุดหันมาเอาดีกับการทำคอมมูนิตีมอลล์ที่ชื่อว่า "โออาร์สเปซ" (OR Space) สาขาแรกเปิดเมื่อเดือน ต.ค. ที่ถนนเณรแก้ว จ.สุพรรณบุรี ต่อด้วย รามคำแหง 129 กรุงเทพฯ โดยมีผู้เช่าหลักอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ยูนิโคล่ โรดไซด์สโตร์ มีร้านอาหาร ร้านค้า และร้านในเครือโออาร์ ได้แก่ คาเฟ่อเมซอน พาคามาร่า ฟาวด์แอนด์ฟาวด์ อ๊อตเทริ โดยสาขารามคำแหง 129 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ ใช้งบลงทุน 39 ล้านบาท มีสถานีชาร์จ EV Station PluZ ขนาด 6 ช่องจอด ซึ่ง นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โออาร์ ระบุว่า เป็นการต่อยอดเครือข่ายพาร์ตเนอร์ที่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน นำมาสู่ศูนย์การค้าแนวใหม่ รวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมทุกความต้องการ ร่วมกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ต้องเข้าออกสะดวก ใกล้บ้าน ปลอดภัย ถือเป็น New S-Curve และมั่นใจว่าที่นี่จะเป็นต้นแบบของแพลตฟอร์มค้าปลีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม นายดิษทัต กล่าวว่า อาจจะมีคอมมูนิตีมอลล์แบรนด์คล้ายกันออกมาอีก แต่ด้วยโออาร์ทำเร็วกว่า มีความเข้มแข็ง มีการกระจายความหลากหลาย (Diversify) มีอีโคซิสเตม (Ecosystem) ที่ดี และมีแบรนด์อื่นๆ เดินควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการมีต้นแบบถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้มีการแข่งขัน โดยในปีนี้จะเปิด OR Space เพิ่มอีก 3 แห่ง หนึ่งในนั้นได้แก่ สาขาธรรมศาสตร์ รังสิต และในปี 2568 จะขยายสาขาอีก 10 สาขา โดยใช้ที่ดินขนาดตั้งแต่ 3-5 ไร่ขึ้นไป ส่วนการปิดตัวแบรนด์เท็กซัส ชิคเก้น หนึ่งในธุรกิจนอนออยล์ก่อนหน้านี้ นายดิษทัต เปิดเผยว่า ตอนนี้มีแผนสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาทดแทน อีกไม่เกิน 3 ถึง 4 เดือน คงได้เห็นแบรนด์ร้านอาหารน้องใหม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม โออาร์รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าขาดทุนสุทธิ 1,609 ล้านบาท มีรายได้ขายและบริการ 176,131 ล้านบาท ลดลง 7,858 ล้านบาทในทุกกลุ่มธุรกิจ ขณะที่ราคาหุ้นเหลือ 14.50 บาท ต่ำกว่าราคาไอพีโอ 18 บาท เมื่อปี 2564 โดยนอกจากปิดตัวร้านไก่ทอด เท็กซัส ชิคเก้น ที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษ 442 ล้านบาทแล้ว ยังถอนการลงทุนธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Kouen, Ono Sushi และแบรนด์อื่นๆ ที่ถือหุ้นผ่านบริษัทย่อย 25% คิดเป็น 110 ล้านบาท อนึ่ง การลงทุนเปิดสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ โดยขนาดพื้นที่ 2 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท 3 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และ 5 ไร่ขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท #Newskit #OR #ORSpace
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 882 มุมมอง 0 รีวิว
  • Nex Express อำลารถทัวร์โคราช

    หลังจากให้บริการมากว่า 3 ปี ในที่สุด บริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง ประกาศหยุดเส้นทางเดินรถโดยสาร สาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป แม้บริษัทฯ จะไม่ระบุเหตุผลใดๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการเจ้าตลาดได้ อีกทั้งประสบภาวะขาดทุน จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 กระทั่งไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้บริการเพียงวันละไม่กี่เที่ยวเท่านั้น

    สำหรับบริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นผู้ให้บริการเดินรถโดยสารประจำทาง ในกลุ่มบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ผู้ผลิตรถโดยสารรายใหญ่ ที่มีนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเส้นทางแรกสาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 โดยซื้อสัมปทานจากสุรนารีแอร์ ก่อนที่จะเปิดสาย 31 กรุงเทพฯ-สุรินทร์ เป็นเส้นทางที่สอง นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเปิดเส้นทางใหม่ให้บริการในอนาคต เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอีกด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน แถมเส้นทางกรุงเทพฯ-สุรินทร์ หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นมา

    อย่างไรก็ตาม เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส หันมาเดินรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นรถมินิบัสขนาด 20 ที่นั่ง ประเดิมเส้นทางแรก สาย 37 (จ) กรุงเทพฯ-ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2565 ตามมาด้วย สาย 39 (จ) กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2565 และเมื่อเดือน ธ.ค. 2566 เปิดเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-พนัสนิคม ขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมมีแผนจะนำรถ EV มาให้บริการ 40 คัน และจะสร้างสถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า แต่ก็ต้องเลื่อนออกไป

    ถึงกระนั้น รถทัวร์กรุงเทพฯ-โคราช นอกจากเจ้าตลาดอย่างแอร์โคราชพัฒนา เชิดชัยโคราชวีไอพี และนครชัย 21 ที่ยังแข่งขันพัฒนาบริการอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ผลกระทบจากโควิด-19 จะทำให้จำนวนเที่ยวรถมีน้อยลง ก็ยังมีผู้ประกอบการรถทัวร์รายใหญ่อย่างนครชัยแอร์ ที่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ ซื้อกิจการจากผู้ประกอบการเดิม แต่ยังไม่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบีทีเอส เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไปกับรถโดยสารเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะแวะสถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2 (บขส.ใหม่) ในบางเที่ยว

    เมื่อการนำรถ EV มาให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการแข่งขันที่สูง สวนทางกับแนวโน้มผู้โดยสารนอกช่วงเทศกาลมีจำนวนลดลง ในที่สุด เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส ก็จำต้องโบกมือลาเมืองโคราชอย่างถาวร

    #Newskit #NexExpress #รถทัวร์โคราช
    Nex Express อำลารถทัวร์โคราช หลังจากให้บริการมากว่า 3 ปี ในที่สุด บริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง ประกาศหยุดเส้นทางเดินรถโดยสาร สาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป แม้บริษัทฯ จะไม่ระบุเหตุผลใดๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการเจ้าตลาดได้ อีกทั้งประสบภาวะขาดทุน จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 กระทั่งไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้บริการเพียงวันละไม่กี่เที่ยวเท่านั้น สำหรับบริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นผู้ให้บริการเดินรถโดยสารประจำทาง ในกลุ่มบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ผู้ผลิตรถโดยสารรายใหญ่ ที่มีนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเส้นทางแรกสาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 โดยซื้อสัมปทานจากสุรนารีแอร์ ก่อนที่จะเปิดสาย 31 กรุงเทพฯ-สุรินทร์ เป็นเส้นทางที่สอง นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเปิดเส้นทางใหม่ให้บริการในอนาคต เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอีกด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน แถมเส้นทางกรุงเทพฯ-สุรินทร์ หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส หันมาเดินรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นรถมินิบัสขนาด 20 ที่นั่ง ประเดิมเส้นทางแรก สาย 37 (จ) กรุงเทพฯ-ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2565 ตามมาด้วย สาย 39 (จ) กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2565 และเมื่อเดือน ธ.ค. 2566 เปิดเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-พนัสนิคม ขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมมีแผนจะนำรถ EV มาให้บริการ 40 คัน และจะสร้างสถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า แต่ก็ต้องเลื่อนออกไป ถึงกระนั้น รถทัวร์กรุงเทพฯ-โคราช นอกจากเจ้าตลาดอย่างแอร์โคราชพัฒนา เชิดชัยโคราชวีไอพี และนครชัย 21 ที่ยังแข่งขันพัฒนาบริการอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ผลกระทบจากโควิด-19 จะทำให้จำนวนเที่ยวรถมีน้อยลง ก็ยังมีผู้ประกอบการรถทัวร์รายใหญ่อย่างนครชัยแอร์ ที่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ ซื้อกิจการจากผู้ประกอบการเดิม แต่ยังไม่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบีทีเอส เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไปกับรถโดยสารเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะแวะสถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2 (บขส.ใหม่) ในบางเที่ยว เมื่อการนำรถ EV มาให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการแข่งขันที่สูง สวนทางกับแนวโน้มผู้โดยสารนอกช่วงเทศกาลมีจำนวนลดลง ในที่สุด เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส ก็จำต้องโบกมือลาเมืองโคราชอย่างถาวร #Newskit #NexExpress #รถทัวร์โคราช
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 821 มุมมอง 0 รีวิว