• 20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง

    ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ

    แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที

    แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก

    สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน
    หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ

    1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ
    รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด
    เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ
    การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง

    2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ
    ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน

    3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร

    รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน

    ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง

    เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน

    เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง
    หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น

    2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย
    ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต

    ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น

    แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท

    ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น

    เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน

    1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน
    การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน

    2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน
    พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

    3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ
    การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ

    การรับมือในอนาคต
    ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ
    เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน
    สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ

    เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น

    การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568

    #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ 1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง 2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน 3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย 1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น 2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน 1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน 2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น 3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ การรับมือในอนาคต ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568 #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 315 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567

    ….คำสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 22/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

    ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567”

    ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    ข้อ 3 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน ดังต่อไปนี้

    ถนนราชดําเนินใน
    ถนนหน้าพระธาตุ
    ถนนพระจันทร์
    ถนนหน้าพระลาน
    ถนนสนามไชย
    ถนนกัลยาณไมตรี
    ถนนท้ายวัง
    ถนนมหาราช
    ถนนราชินี
    ถนนเศรษฐการ
    ข้อ 4 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนถนนทุกสายในเขต กรุงเทพมหานคร ยกเว้น ถนนดังต่อไปนี้

    ถนนวิภาวดีรังสิต
    ถนนบางนา-ตราด
    ถนนศรีนครินทร์
    ถนนพหลโยธิน
    ถนนรามอินทรา
    ถนนราชพฤกษ์
    ถนนบรมราชชนนี
    ถนนกัลปพฤกษ์
    ถนนร่มเกล้า
    ถนนสุวินทวงศ์
    ถนนแจ้งวัฒนะ
    ถนนพระรามที่ 3
    ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ตัดใหม่)
    ข้อ 5 ข้อบังคับนี้มิให้ใช้บังคับกับรถที่กําหนดอัตราความเร็วในกฎกระทรวงไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    ข้อ 6 บรรดา ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ยกเลิกโดยใช้ข้อบังคับนี้แทน ยกเว้นข้อบังคับ ดังต่อไปนี้

    6.1 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกําหนดอัตราความเร็วของรถ พ.ศ.2561

    6.2 ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจํากัดความเร็ว และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน (901 แลนด์) พ.ศ.2564
    เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567 ….คำสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 22/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน ดังต่อไปนี้ ถนนราชดําเนินใน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนพระจันทร์ ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนท้ายวัง ถนนมหาราช ถนนราชินี ถนนเศรษฐการ ข้อ 4 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนถนนทุกสายในเขต กรุงเทพมหานคร ยกเว้น ถนนดังต่อไปนี้ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนบางนา-ตราด ถนนศรีนครินทร์ ถนนพหลโยธิน ถนนรามอินทรา ถนนราชพฤกษ์ ถนนบรมราชชนนี ถนนกัลปพฤกษ์ ถนนร่มเกล้า ถนนสุวินทวงศ์ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพระรามที่ 3 ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ตัดใหม่) ข้อ 5 ข้อบังคับนี้มิให้ใช้บังคับกับรถที่กําหนดอัตราความเร็วในกฎกระทรวงไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อ 6 บรรดา ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ยกเลิกโดยใช้ข้อบังคับนี้แทน ยกเว้นข้อบังคับ ดังต่อไปนี้ 6.1 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกําหนดอัตราความเร็วของรถ พ.ศ.2561 6.2 ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจํากัดความเร็ว และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน (901 แลนด์) พ.ศ.2564
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 0 รีวิว
  • จังหวะนรก ก่อนถึงความสูญเสีย

    อุบัติเหตุรถยนต์ฮอนด้า ซีอาร์วี สีบรอนซ์เงิน พุ่งชนตำรวจจราจร ประชาชน และนักเรียนที่กำลังเลิกเรียน บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนขวาง ถนนเพชรมาตุคลา ต.หัวทะเล อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 16.15 น. วันที่ 23 ธ.ค. 2567 เป็นเหตุให้ ร.ต.ท.วิมุต แท่นสุโพธิ์ รองสารวัตรจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิต บาดเจ็บอีก 9 คน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ถูกชนได้รับความเสียหายนับสิบคัน คนขับรถคันดังกล่าวคือ นายธเนศ อาศรัยเจ้า สภาพมึนเมาพูดคุยไม่รู้เรื่อง เมื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์พบพุ่งสูงขึ้นถึง 194 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

    เหตุการณ์นี้นอกจากจะเกิดความสูญเสียที่เป็นผลมาจากเมาแล้วขับโดยตรงแล้ว อาจเป็นจังหวะนรกของคนบางกลุ่ม

    เพราะเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 ตัวแทนภาคเอกชน 14 องค์กรในจังหวัดนครราชสีมาเข้าพบ พล.ต.ท.วัฒนา ยี่จีน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เพื่อมอบกระเช้าแสดงความยินดี และหารือเรื่องความเดือดร้อนของผู้ประกอบการสถานบันเทิง ร้านอาหาร และประชาชนในพื้นที่ อ้างว่ามาตรการการตั้งด่านทำให้ประชาชนไม่กล้าออกมาใช้บริการ เศรษฐกิจในพื้นที่ซบเซา ซึ่ง พล.ต.ท.วัฒนา รับปากว่าจะกำชับให้ลดตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ แต่ให้เน้นการตั้งด่านบนถนนสายหลักเพื่อป้องกันอาชญากรรม และสิ่งของผิดกฎหมายเท่านั้น

    จากโศกนาฎกรรมดังกล่าว ทำให้เฟซบุ๊กเพจ "เพื่อนตำรวจ" กระบอกเสียงของตำรวจชั้นผู้น้อย ระบุว่า ผู้ประกอบการเพิ่งตบเท้าเข้าพบ ผบช.ภาค 3 ให้ลดการตั้งด่านเมาเเล้วขับ โดยอ้างเหตุผลว่าเศรษฐกิจซบเซาเพราะตำรวจตั้งด่านกวดขัน วันนี้ตำรวจจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิตเพราะคนเมาเเล้วขับ 14 องค์กรภาคเอกชนจะรับผิดชอบยังไง?

    จังหวะนรกก่อนหน้านี้ เมื่อเช้าวันที่ 1 ต.ค. 2567 สมาคมธุรกิจรถตู้ต่างจังหวัด ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหารถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะระเบียบของกรมการขนส่งทางบกที่กำหนดให้รถตู้โดยสารที่มีอายุ 13 ปี จะต้องเปลี่ยนเป็นรถมินิบัสทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการรถตู้มองว่าไม่คุ้มทุน จากต้นทุนเชื้อเพลิงของรถมินิบัสสูงกว่ารถตู้ แต่คนที่ใช้บริการเป็นประจำทราบดีว่า รถตู้ส่วนหนึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง

    ปรากฎว่า ช่วงเที่ยงวันเดียวกัน เกิดโศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาบนถนนวิภาวดีรังสิต หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย ภายหลังสำนักงานพิสูจน์หลักฐานกลาง เปิดเผยว่า สาเหตุมาจากการรั่วไกลของก๊าซเอ็นจีวีบริเวณส่วนหน้าของรถ และพบว่ามีการติดถังถังก๊าซเอ็นจีวีมากกว่าที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

    #Newskit
    จังหวะนรก ก่อนถึงความสูญเสีย อุบัติเหตุรถยนต์ฮอนด้า ซีอาร์วี สีบรอนซ์เงิน พุ่งชนตำรวจจราจร ประชาชน และนักเรียนที่กำลังเลิกเรียน บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนขวาง ถนนเพชรมาตุคลา ต.หัวทะเล อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 16.15 น. วันที่ 23 ธ.ค. 2567 เป็นเหตุให้ ร.ต.ท.วิมุต แท่นสุโพธิ์ รองสารวัตรจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิต บาดเจ็บอีก 9 คน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ถูกชนได้รับความเสียหายนับสิบคัน คนขับรถคันดังกล่าวคือ นายธเนศ อาศรัยเจ้า สภาพมึนเมาพูดคุยไม่รู้เรื่อง เมื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์พบพุ่งสูงขึ้นถึง 194 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เหตุการณ์นี้นอกจากจะเกิดความสูญเสียที่เป็นผลมาจากเมาแล้วขับโดยตรงแล้ว อาจเป็นจังหวะนรกของคนบางกลุ่ม เพราะเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 ตัวแทนภาคเอกชน 14 องค์กรในจังหวัดนครราชสีมาเข้าพบ พล.ต.ท.วัฒนา ยี่จีน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เพื่อมอบกระเช้าแสดงความยินดี และหารือเรื่องความเดือดร้อนของผู้ประกอบการสถานบันเทิง ร้านอาหาร และประชาชนในพื้นที่ อ้างว่ามาตรการการตั้งด่านทำให้ประชาชนไม่กล้าออกมาใช้บริการ เศรษฐกิจในพื้นที่ซบเซา ซึ่ง พล.ต.ท.วัฒนา รับปากว่าจะกำชับให้ลดตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ แต่ให้เน้นการตั้งด่านบนถนนสายหลักเพื่อป้องกันอาชญากรรม และสิ่งของผิดกฎหมายเท่านั้น จากโศกนาฎกรรมดังกล่าว ทำให้เฟซบุ๊กเพจ "เพื่อนตำรวจ" กระบอกเสียงของตำรวจชั้นผู้น้อย ระบุว่า ผู้ประกอบการเพิ่งตบเท้าเข้าพบ ผบช.ภาค 3 ให้ลดการตั้งด่านเมาเเล้วขับ โดยอ้างเหตุผลว่าเศรษฐกิจซบเซาเพราะตำรวจตั้งด่านกวดขัน วันนี้ตำรวจจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิตเพราะคนเมาเเล้วขับ 14 องค์กรภาคเอกชนจะรับผิดชอบยังไง? จังหวะนรกก่อนหน้านี้ เมื่อเช้าวันที่ 1 ต.ค. 2567 สมาคมธุรกิจรถตู้ต่างจังหวัด ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหารถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะระเบียบของกรมการขนส่งทางบกที่กำหนดให้รถตู้โดยสารที่มีอายุ 13 ปี จะต้องเปลี่ยนเป็นรถมินิบัสทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการรถตู้มองว่าไม่คุ้มทุน จากต้นทุนเชื้อเพลิงของรถมินิบัสสูงกว่ารถตู้ แต่คนที่ใช้บริการเป็นประจำทราบดีว่า รถตู้ส่วนหนึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง ปรากฎว่า ช่วงเที่ยงวันเดียวกัน เกิดโศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาบนถนนวิภาวดีรังสิต หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย ภายหลังสำนักงานพิสูจน์หลักฐานกลาง เปิดเผยว่า สาเหตุมาจากการรั่วไกลของก๊าซเอ็นจีวีบริเวณส่วนหน้าของรถ และพบว่ามีการติดถังถังก๊าซเอ็นจีวีมากกว่าที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 629 มุมมอง 0 รีวิว
  • พรรคเพื่อไทยยืนยัน ไม่ตั้ง "พานทองแท้" ประธานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ
    .
    รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ยืนยันไม่แต่งตั้ง "พานทองแท้ ชินวัตร" ลูกชายทักษิญ เป็นประธานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ตามที่ไพศาล พืชมงคลโพสต์เอาไว้ ระบุเจ้าตัวไม่ได้เข้ามาร่วมรับตำแหน่งใดๆ โวยมีขบวนการปั้นข่าวเพื่อให้เกิดความสับสน
    .
    วันนี้ (17 ธ.ค.) จากกรณีที่นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ากลยุทธ์และแผนงานเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยระบุว่า เพื่อกุมบังเหียนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองโชติช่วงชัชวาลเข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ ได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี และอยู่ดีกินดีถ้วนหน้ากัน และเปรียบว่าขนาด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นน้องสาวยังเป็นถึงนายกรัฐมนตรีได้ ทำไมพี่ชายถึงจะเป็นประธานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไม่ได้ ตามที่ปรากฎในโซเชียลมีเดียนั้น
    .
    ล่าสุด น.ส.ชญาภา สินธุไพร สส.ร้อยเอ็ด และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวในแพลตฟอร์ม X ว่า ไม่เป็นความจริงอย่างสิ้นเชิง เพราะในการประชุมสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคไม่มีมติแต่งตั้งใครหรือหรือตำแหน่งใดๆ เหล่านี้ ซึ่งข้อเท็จจริงนายพานทองแท้ ก็ไม่ได้เข้ามาร่วมรับตำแหน่งใดๆ ทั้งในพรรคเเละในรัฐบาลเลย ช่วงนี้กระบวนการแบบนี้มีให้เห็นเยอะขึ้นเรื่อยๆ การปั้นข่าวเพื่อให้เกิดความสับสน และพยายามทำลายความเชื่อมั่นของรัฐบาล โชคดีว่าประเทศไทยไม่ใช่เมืองหนาว เลยไม่เหมาะกับการปั้นน้ำเป็นตัว
    .
    สำหรับนายพานทองแท้ ชินวัตร หรือโอ๊ค เกิดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2522 เป็นลูกชายคนโตของนายทักษิณ ชินวัตร กับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร เกิดที่เมืองฮันต์สวิลล์ ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร เคยทำธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ชีแอทมู้ด และคาเฟ่ชื่อ Cafeinn ที่สยามสแควร์ ซอย 2 นำเข้าและจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ยี่ห้อ เวอร์ทู รวมทั้งสัมปทานพื้นที่โฆษณาอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และทำธุรกิจสวนสนุก Amazing Fun Park บริเวณถนนรัชดาภิเษก ในนาม บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด เมื่อปี 2548 กระทั่งปี 2552 นายพานทองแท้ ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี แต่ได้ปิดกิจการไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2567 และอาคารสถานีย่านถนนวิภาวดีรังสิต ใกล้สี่แยกสุทธิสาร กำลังรีโนเวตเป็นที่ทำการแห่งใหม่ของพรรคเพื่อไทย
    .
    ปัจจุบัน นายพานทองแท้เป็นกรรมการบริษัทที่ยังดำเนินกิจการอยู่ 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท ม็อกกิ้งเบิร์ด จำกัด ประกอบธุรกิจการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่งานอื่นๆ ผ่านทางออนไลน์, บริษัท วอยซ์ ครีเอชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมด้านความบันเทิง บริษัท เรนด์ เพลินจิต โฮเต็ล จำกัด ประกอบธุรกิจโรงแรม รีสอร์ทและห้องชุด, บริษัท เวิร์คส์ ครีเอทีฟ จำกัด ประกอบกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ธุรกิจ, บริษัท ไวฟ์ ดิจิตอล จำกัด ประกอบธุรกิจ กิจกรรมการจัดทำโปรแกรมเว็บเพจและเครือข่ายตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ และบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์
    .
    ส่วนบริษัทที่เสร็จการชำระบัญชี มี 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท นิวโอ๊ค จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมการถ่ายภาพ, บริษัท มาสเตอร์ โฟน จำกัด ประกอบธุรกิจร้านขายปลีกอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม, บริษัท ฮาวคัม มีเดีย จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมของบริษัทโฆษณา, และบริษัท ฮาวคัม เอวี จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมด้านความบันเทิง และบริษัทที่มีสถานะเลิก ได้แก่ บริษัท โอคานิท จำกัด ประกอบธุรกิจการบริการด้านเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน
    .
    อนึ่ง เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายพานทองแท้ นั่งรถไฟขบวนพิเศษรอยัลบอสซั่มที่ 913 เพื่อเดินทางร่วมกับ สส.พรรคเพื่อไทย ไปยังโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมกับ น.ส.แพทองธาร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นน้องสาว ก่อนที่นายทักษิณจะร่วมขึ้นขบวนรถไฟที่สถานีบางบำหรุ เพราะอยู่ใกล้บ้านจันทร์ส่องหล้า จรัญสนิทวงศ์ 69
    .............
    Sondhi X
    พรรคเพื่อไทยยืนยัน ไม่ตั้ง "พานทองแท้" ประธานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ . รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ยืนยันไม่แต่งตั้ง "พานทองแท้ ชินวัตร" ลูกชายทักษิญ เป็นประธานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ตามที่ไพศาล พืชมงคลโพสต์เอาไว้ ระบุเจ้าตัวไม่ได้เข้ามาร่วมรับตำแหน่งใดๆ โวยมีขบวนการปั้นข่าวเพื่อให้เกิดความสับสน . วันนี้ (17 ธ.ค.) จากกรณีที่นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ากลยุทธ์และแผนงานเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยระบุว่า เพื่อกุมบังเหียนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองโชติช่วงชัชวาลเข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ ได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี และอยู่ดีกินดีถ้วนหน้ากัน และเปรียบว่าขนาด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นน้องสาวยังเป็นถึงนายกรัฐมนตรีได้ ทำไมพี่ชายถึงจะเป็นประธานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไม่ได้ ตามที่ปรากฎในโซเชียลมีเดียนั้น . ล่าสุด น.ส.ชญาภา สินธุไพร สส.ร้อยเอ็ด และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวในแพลตฟอร์ม X ว่า ไม่เป็นความจริงอย่างสิ้นเชิง เพราะในการประชุมสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคไม่มีมติแต่งตั้งใครหรือหรือตำแหน่งใดๆ เหล่านี้ ซึ่งข้อเท็จจริงนายพานทองแท้ ก็ไม่ได้เข้ามาร่วมรับตำแหน่งใดๆ ทั้งในพรรคเเละในรัฐบาลเลย ช่วงนี้กระบวนการแบบนี้มีให้เห็นเยอะขึ้นเรื่อยๆ การปั้นข่าวเพื่อให้เกิดความสับสน และพยายามทำลายความเชื่อมั่นของรัฐบาล โชคดีว่าประเทศไทยไม่ใช่เมืองหนาว เลยไม่เหมาะกับการปั้นน้ำเป็นตัว . สำหรับนายพานทองแท้ ชินวัตร หรือโอ๊ค เกิดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2522 เป็นลูกชายคนโตของนายทักษิณ ชินวัตร กับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร เกิดที่เมืองฮันต์สวิลล์ ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร เคยทำธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ชีแอทมู้ด และคาเฟ่ชื่อ Cafeinn ที่สยามสแควร์ ซอย 2 นำเข้าและจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ยี่ห้อ เวอร์ทู รวมทั้งสัมปทานพื้นที่โฆษณาอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และทำธุรกิจสวนสนุก Amazing Fun Park บริเวณถนนรัชดาภิเษก ในนาม บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด เมื่อปี 2548 กระทั่งปี 2552 นายพานทองแท้ ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี แต่ได้ปิดกิจการไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2567 และอาคารสถานีย่านถนนวิภาวดีรังสิต ใกล้สี่แยกสุทธิสาร กำลังรีโนเวตเป็นที่ทำการแห่งใหม่ของพรรคเพื่อไทย . ปัจจุบัน นายพานทองแท้เป็นกรรมการบริษัทที่ยังดำเนินกิจการอยู่ 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท ม็อกกิ้งเบิร์ด จำกัด ประกอบธุรกิจการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่งานอื่นๆ ผ่านทางออนไลน์, บริษัท วอยซ์ ครีเอชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมด้านความบันเทิง บริษัท เรนด์ เพลินจิต โฮเต็ล จำกัด ประกอบธุรกิจโรงแรม รีสอร์ทและห้องชุด, บริษัท เวิร์คส์ ครีเอทีฟ จำกัด ประกอบกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ธุรกิจ, บริษัท ไวฟ์ ดิจิตอล จำกัด ประกอบธุรกิจ กิจกรรมการจัดทำโปรแกรมเว็บเพจและเครือข่ายตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ และบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์ . ส่วนบริษัทที่เสร็จการชำระบัญชี มี 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท นิวโอ๊ค จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมการถ่ายภาพ, บริษัท มาสเตอร์ โฟน จำกัด ประกอบธุรกิจร้านขายปลีกอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม, บริษัท ฮาวคัม มีเดีย จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมของบริษัทโฆษณา, และบริษัท ฮาวคัม เอวี จำกัด ประกอบธุรกิจกิจกรรมด้านความบันเทิง และบริษัทที่มีสถานะเลิก ได้แก่ บริษัท โอคานิท จำกัด ประกอบธุรกิจการบริการด้านเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน . อนึ่ง เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายพานทองแท้ นั่งรถไฟขบวนพิเศษรอยัลบอสซั่มที่ 913 เพื่อเดินทางร่วมกับ สส.พรรคเพื่อไทย ไปยังโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมกับ น.ส.แพทองธาร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นน้องสาว ก่อนที่นายทักษิณจะร่วมขึ้นขบวนรถไฟที่สถานีบางบำหรุ เพราะอยู่ใกล้บ้านจันทร์ส่องหล้า จรัญสนิทวงศ์ 69 ............. Sondhi X
    Haha
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 974 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลแพ่งยกฟ้อง "ม.ร.ว.ปรียนันทนา"ฟ้อง"ณัฐพล-สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน" เขียนวิทยานิพนธ์-ทำหนังสือ พาดพิงบรรพบุรุษ เรียก 50 ล้าน ชี้ไม่มีอำนาจฟ้อง

    13 พฤศจิกายน 2567- เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ พ1135/2564 ที่ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต เป็นโจทก์ฟ้อง ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง ผู้เขียนวิทยานิพนธ์และหนังสือ เป็นจำเลยที่ 1 รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อดีตอาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นจำเลยที่ 2 นายชัยธวัช ตุลาธน บรรณาธิการหนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ เป็นจำเลยที่ 3 น.ส.อัญชลี มณีโรจน์ บรรณาธิการหนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี เป็นจำเลยที่ 4 ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ผู้จัดพิมพ์หนังสือทั้ง 2 เล่ม เป็นจำเลยที่ 5 นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เป็นจำเลยที่ 6 ในข้อหา “ละเมิดไขข่าวด้วยข้อความฝ่าฝืนความจริง” และเรียกค่าเสียหายจำนวน 50 ล้านบาท

    กรณีจำเลยเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500), หนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อและ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

    ต่อมาเมื่อเดือน มิถุนายน 2566 โจทก์ได้ถอนฟ้อง รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด

    ศาลแพ่ง พิเคราะห์ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมกันรับผิดฐานละเมิดโดยอ้างว่าร่วมกันกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ทางทำมาหาได้ และทางเจริญของโจทก์ การกระทำจะเป็นการละเมิดและจำเลยทั้งหกต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ต่อเมื่อข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายฝ่าฝืนความจริงและโจทก์ได้รับความเสียหายจากข้อความดังกล่าว ซึ่งหมายถึงเป็นความเสียหายแก่โจทก์ผู้ฟ้องโดยเฉพาะ มิใช่ความเสียหายแก่ผู้อื่นผู้ใด แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์กล่าวว่าเมื่อปี 2552 จนถึงปัจจุบัน จำเลยทั้งหกร่วมกันบิดเบือนข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์โดยนำข้อความอันเป็นเท็จจัดทำเอกสารไขข่าวแพร่หลายสู่สาธารณะเพื่อมุ่งประสงค์กล่าวหาให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์โดยทำเป็นกระบวนการเพื่อใช้ในการปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง เริ่มจากจำเลยที่ 1 โดยความเห็นชอบและร่วมมือของจำเลยที่ 2 ปั้นแต่งความเท็จขึ้นใส่ความสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการว่าทรงประพฤติตนไม่สมต่อตำแหน่งหน้าที่ ทั้งการใช้พระราชอำนาจสนับสนุนรับรองการรัฐประหารปี 2490 และการเข้าแทรกแซงการปกครองในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.เพื่อปูทางการเมืองที่ราบรื่นให้แก่สถาบันกษัตริย์ โดยเจตนาเพื่อให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการทำวิทยานิพนธ์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และโจทก์ได้บรรยายฟ้องระบุถึงข้อความอันเป็นเท็จในวิทยานิพนธ์ หน้า 63 วรรคแรก และหน้า 105 วรรคแรก และบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 นำข้อความอันเป็นเท็จในวิทยานิพนธ์ไปพูดในการเสวนาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 กล่าวหากรมขุนชัยนาทนเรนทรว่าก้าวก่ายรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยการเข้าไปนั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี อันเป็นความเท็จ และเมื่อปี 2556 จำเลยที่ 1 เขียนหนังสือ ขอฝันใฝ่ในผันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ.2475-2500) เนื้อหาโจมตีให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ต่อเนื่องจนถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ด้วยความเท็จ และโจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อความอันเป็นเท็จ เนื้อหาหน้า 120 -121 และหน้า 124-125 และเมื่อปี 2563 จำเลยที่ 1 เขียนหนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี กล่าวหาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และมีข้อความโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หลายแห่ง และโจทก์บรรยายฟ้องข้อความอันเป็นเท็จที่หน้า 60,63,66,73,77และข้อความเท็จใต้ภาพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หน้า 69 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 แต่งความเท็จใส่ร้ายกล่าวหาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และสถาบันพระมหากษัตริย์ในหนังสือต่างประเทศที่จำหน่ายทั่วโลก ชื่อ “Saying the Unsayable Monarchy and Democracy in Thailand” ใส่ร้ายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรว่ามีส่วนร่วมในการรัฐประหาร ปี 2490 แทรกแซงการเมืองโดยการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี

    เมื่อข้อความอันเป็นเท็จตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ มิได้กล่าวพาดพิงถึงโจทก์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของโจทก์และครอบครัว ทั้งเรื่องการรับรองรัฐประหาร ปี 2490 และการเข้าแทรกแซงการเมืองสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเกี่ยวข้องกับโจทก์ อันจะทำให้ผู้ที่อ่านข้อความในวิทยานิพนธ์และในหนังสือที่จำเลยที่ 1 เขียนดังกล่าวเข้าใจผิดในตัวโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็บรรยายฟ้องว่าการที่จำเลยที่ 1 เขียนข้อความเท็จในวิทยานิพนธ์และหนังสือดังกล่าว ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นผู้ไม่นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ฝักใฝ่อำนาจทางการเมือง สนับสนุนการรัฐประหาร กระทำการก้าวก่ายการบริหารราชการของรัฐบาล ฟ้องของโจทก์จึงมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากข้อความดังกล่าว ทั้งการบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้รับความเสียหาย แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้สิ้นพระชนม์แล้วก่อนที่จะมีการกระทำอันเป็นละเมิดตามคำฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่กล่าวอ้างว่ามีการกระทำละเมิดต่อหรือความเสียหายของผู้ที่ไม่มีสภาพบุคคลแล้ว แม้โจทก์เป็นหลานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรซึ่งสิ้นพระชนม์แล้วและข้อความกล่าวพาดพิงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

    แม้หากฟังได้ว่าข้อความดังกล่าวบิดเบือนไม่เป็นความจริงตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง และทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ก็ไม่ได้เสียหายต่อโจทก์ทายาทชั้นหลานด้วย เพราะข้อความตามคำบรรยายฟ้องมิได้กล่าวหรือแสดงเรื่องราวที่ไม่ตรงต่อความจริงเกี่ยวกับโจทก์และครอบครัวและไม่ได้สื่อความหมายเกี่ยวกับโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่าหนังสือขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี หนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ รวมถึงวิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ไม่ได้กล่าวถึงโจทก์และทายาทของโจทก์ ข้อเท็จจริงตามข้อความในวิทยานิพนธ์ดังกล่าวจะเป็นความจริงหรือไม่ โจทก์ไม่ทราบเนื่องจากขณะนั้นโจทก์ยังไม่เกิด ดังนั้น เมื่อข้อความที่จำเลยที่ 1 แสดงในวิทยานิพนธ์ ในหนังสือ และที่จำเลยที่ 1 นำไปพูดตามคำฟ้องไม่ได้สื่อความหมายถึงโจทก์ ย่อมไม่อาจทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจผิดในตัวโจทก์ซึ่งเป็นทายาทชั้นหลานอันจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญ

    ส่วนที่โจทก์เบิกความว่ามีการชุมนุมและอาฆาดมาดร้ายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร โดยมีผู้นำสีแดงมาสาดใส่ที่พระอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรซึ่งประดิษฐานอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุขนั้น เหตุการณ์ตามภาพข่าวและสถานที่เกิดเหตุไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเสียหายของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าบุคคลผู้ก่อเหตุเป็นใครและการกระทำสืบเนื่องมาจากสาเหตุใด และที่โจทก์เบิกความว่ามีการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนที่ถนนวิภาวดีรังสิตปลุกระดมให้มีการยกเลิกชื่อถนนซึ่งเป็นพระนามของพระเจ้าวงวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ก็มิได้ระบุว่าเป็นการชุมนุมปลุกระดมสืบเนื่องจากข้อความในวิทยานิพนธ์หรือในหนังสือคดีนี้และไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเสียหายของโจทก์โดยตรง

    ทั้งการฟ้องเรียกค่าเสียหายของโจทก์ โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านถึงมูลเหตุที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50,000,000 บาท เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงทำคุณความดีและประโยชน์ให้ประเทศไทยเป็นจำนวนมากมายมหาศาล การฟ้องเรียกค่าเสียหายของโจทก์จึงมิได้มีความสัมพันธ์กับที่โจทก์ระบุในฟ้องว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากข้อความของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ

    ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตามคำฟ้องทำให้ราชสกุลรังสิต รวมถึงโจทก์ผู้สืบราชสกุลและเป็นผู้แทนราชสกุลได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ว่าระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยได้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นในราชสกุลรังสิตด้วย ทั้งราชสกุลรังสิตก็ไม่ปรากฏว่ามีสภาพบุคคลตามกฎหมายทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายคดีนี้ในฐานะส่วนตัว มิได้เป็นการฟ้องโดยได้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นด้วย โจทก์จึงมิอาจกล่าวอ้างความเสียหายของราชสกุลรังสิตซึ่งไม่มีสภาพบุคคล ส่วนที่โจทก์ฟ้องและเบิกความว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อมูลนิธิวิภาวดีรังสิต ที่โจทก์เป็นประธานและมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการ กระทบต่อการหารายได้โดยการรับบริจาคเงินจากสาธารณชนซึ่งรายได้นำไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสนั้น เมื่อมูลนิธิดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างหากจากโจทก์ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัวไม่ได้ฟ้องโดยได้รับมอบอำนาจจากมูลนิธิ

    โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่ามูลนิธิดังกล่าว ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ได้รับความเสียหายเพื่อให้มีการใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป พิพากษายกฟ้อง

    https://mgronline.com/crime/detail/9670000109449#google_vignette

    #Thaitimes
    ศาลแพ่งยกฟ้อง "ม.ร.ว.ปรียนันทนา"ฟ้อง"ณัฐพล-สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน" เขียนวิทยานิพนธ์-ทำหนังสือ พาดพิงบรรพบุรุษ เรียก 50 ล้าน ชี้ไม่มีอำนาจฟ้อง 13 พฤศจิกายน 2567- เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ พ1135/2564 ที่ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต เป็นโจทก์ฟ้อง ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง ผู้เขียนวิทยานิพนธ์และหนังสือ เป็นจำเลยที่ 1 รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อดีตอาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นจำเลยที่ 2 นายชัยธวัช ตุลาธน บรรณาธิการหนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ เป็นจำเลยที่ 3 น.ส.อัญชลี มณีโรจน์ บรรณาธิการหนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี เป็นจำเลยที่ 4 ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ผู้จัดพิมพ์หนังสือทั้ง 2 เล่ม เป็นจำเลยที่ 5 นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เป็นจำเลยที่ 6 ในข้อหา “ละเมิดไขข่าวด้วยข้อความฝ่าฝืนความจริง” และเรียกค่าเสียหายจำนวน 50 ล้านบาท กรณีจำเลยเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500), หนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อและ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี ต่อมาเมื่อเดือน มิถุนายน 2566 โจทก์ได้ถอนฟ้อง รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ศาลแพ่ง พิเคราะห์ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมกันรับผิดฐานละเมิดโดยอ้างว่าร่วมกันกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ทางทำมาหาได้ และทางเจริญของโจทก์ การกระทำจะเป็นการละเมิดและจำเลยทั้งหกต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ต่อเมื่อข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายฝ่าฝืนความจริงและโจทก์ได้รับความเสียหายจากข้อความดังกล่าว ซึ่งหมายถึงเป็นความเสียหายแก่โจทก์ผู้ฟ้องโดยเฉพาะ มิใช่ความเสียหายแก่ผู้อื่นผู้ใด แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์กล่าวว่าเมื่อปี 2552 จนถึงปัจจุบัน จำเลยทั้งหกร่วมกันบิดเบือนข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์โดยนำข้อความอันเป็นเท็จจัดทำเอกสารไขข่าวแพร่หลายสู่สาธารณะเพื่อมุ่งประสงค์กล่าวหาให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์โดยทำเป็นกระบวนการเพื่อใช้ในการปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง เริ่มจากจำเลยที่ 1 โดยความเห็นชอบและร่วมมือของจำเลยที่ 2 ปั้นแต่งความเท็จขึ้นใส่ความสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการว่าทรงประพฤติตนไม่สมต่อตำแหน่งหน้าที่ ทั้งการใช้พระราชอำนาจสนับสนุนรับรองการรัฐประหารปี 2490 และการเข้าแทรกแซงการปกครองในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.เพื่อปูทางการเมืองที่ราบรื่นให้แก่สถาบันกษัตริย์ โดยเจตนาเพื่อให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการทำวิทยานิพนธ์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และโจทก์ได้บรรยายฟ้องระบุถึงข้อความอันเป็นเท็จในวิทยานิพนธ์ หน้า 63 วรรคแรก และหน้า 105 วรรคแรก และบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 นำข้อความอันเป็นเท็จในวิทยานิพนธ์ไปพูดในการเสวนาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 กล่าวหากรมขุนชัยนาทนเรนทรว่าก้าวก่ายรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยการเข้าไปนั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี อันเป็นความเท็จ และเมื่อปี 2556 จำเลยที่ 1 เขียนหนังสือ ขอฝันใฝ่ในผันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ.2475-2500) เนื้อหาโจมตีให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ต่อเนื่องจนถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ด้วยความเท็จ และโจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อความอันเป็นเท็จ เนื้อหาหน้า 120 -121 และหน้า 124-125 และเมื่อปี 2563 จำเลยที่ 1 เขียนหนังสือ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี กล่าวหาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และมีข้อความโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หลายแห่ง และโจทก์บรรยายฟ้องข้อความอันเป็นเท็จที่หน้า 60,63,66,73,77และข้อความเท็จใต้ภาพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หน้า 69 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 แต่งความเท็จใส่ร้ายกล่าวหาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และสถาบันพระมหากษัตริย์ในหนังสือต่างประเทศที่จำหน่ายทั่วโลก ชื่อ “Saying the Unsayable Monarchy and Democracy in Thailand” ใส่ร้ายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรว่ามีส่วนร่วมในการรัฐประหาร ปี 2490 แทรกแซงการเมืองโดยการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อข้อความอันเป็นเท็จตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ มิได้กล่าวพาดพิงถึงโจทก์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของโจทก์และครอบครัว ทั้งเรื่องการรับรองรัฐประหาร ปี 2490 และการเข้าแทรกแซงการเมืองสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเกี่ยวข้องกับโจทก์ อันจะทำให้ผู้ที่อ่านข้อความในวิทยานิพนธ์และในหนังสือที่จำเลยที่ 1 เขียนดังกล่าวเข้าใจผิดในตัวโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็บรรยายฟ้องว่าการที่จำเลยที่ 1 เขียนข้อความเท็จในวิทยานิพนธ์และหนังสือดังกล่าว ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นผู้ไม่นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ฝักใฝ่อำนาจทางการเมือง สนับสนุนการรัฐประหาร กระทำการก้าวก่ายการบริหารราชการของรัฐบาล ฟ้องของโจทก์จึงมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากข้อความดังกล่าว ทั้งการบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้รับความเสียหาย แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้สิ้นพระชนม์แล้วก่อนที่จะมีการกระทำอันเป็นละเมิดตามคำฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่กล่าวอ้างว่ามีการกระทำละเมิดต่อหรือความเสียหายของผู้ที่ไม่มีสภาพบุคคลแล้ว แม้โจทก์เป็นหลานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรซึ่งสิ้นพระชนม์แล้วและข้อความกล่าวพาดพิงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร แม้หากฟังได้ว่าข้อความดังกล่าวบิดเบือนไม่เป็นความจริงตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง และทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ก็ไม่ได้เสียหายต่อโจทก์ทายาทชั้นหลานด้วย เพราะข้อความตามคำบรรยายฟ้องมิได้กล่าวหรือแสดงเรื่องราวที่ไม่ตรงต่อความจริงเกี่ยวกับโจทก์และครอบครัวและไม่ได้สื่อความหมายเกี่ยวกับโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่าหนังสือขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี หนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ รวมถึงวิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ไม่ได้กล่าวถึงโจทก์และทายาทของโจทก์ ข้อเท็จจริงตามข้อความในวิทยานิพนธ์ดังกล่าวจะเป็นความจริงหรือไม่ โจทก์ไม่ทราบเนื่องจากขณะนั้นโจทก์ยังไม่เกิด ดังนั้น เมื่อข้อความที่จำเลยที่ 1 แสดงในวิทยานิพนธ์ ในหนังสือ และที่จำเลยที่ 1 นำไปพูดตามคำฟ้องไม่ได้สื่อความหมายถึงโจทก์ ย่อมไม่อาจทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจผิดในตัวโจทก์ซึ่งเป็นทายาทชั้นหลานอันจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ และทางทำมาหาได้หรือทางเจริญ ส่วนที่โจทก์เบิกความว่ามีการชุมนุมและอาฆาดมาดร้ายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร โดยมีผู้นำสีแดงมาสาดใส่ที่พระอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรซึ่งประดิษฐานอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุขนั้น เหตุการณ์ตามภาพข่าวและสถานที่เกิดเหตุไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเสียหายของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าบุคคลผู้ก่อเหตุเป็นใครและการกระทำสืบเนื่องมาจากสาเหตุใด และที่โจทก์เบิกความว่ามีการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนที่ถนนวิภาวดีรังสิตปลุกระดมให้มีการยกเลิกชื่อถนนซึ่งเป็นพระนามของพระเจ้าวงวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ก็มิได้ระบุว่าเป็นการชุมนุมปลุกระดมสืบเนื่องจากข้อความในวิทยานิพนธ์หรือในหนังสือคดีนี้และไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเสียหายของโจทก์โดยตรง ทั้งการฟ้องเรียกค่าเสียหายของโจทก์ โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านถึงมูลเหตุที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50,000,000 บาท เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงทำคุณความดีและประโยชน์ให้ประเทศไทยเป็นจำนวนมากมายมหาศาล การฟ้องเรียกค่าเสียหายของโจทก์จึงมิได้มีความสัมพันธ์กับที่โจทก์ระบุในฟ้องว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากข้อความของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตามคำฟ้องทำให้ราชสกุลรังสิต รวมถึงโจทก์ผู้สืบราชสกุลและเป็นผู้แทนราชสกุลได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ว่าระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยได้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นในราชสกุลรังสิตด้วย ทั้งราชสกุลรังสิตก็ไม่ปรากฏว่ามีสภาพบุคคลตามกฎหมายทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายคดีนี้ในฐานะส่วนตัว มิได้เป็นการฟ้องโดยได้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นด้วย โจทก์จึงมิอาจกล่าวอ้างความเสียหายของราชสกุลรังสิตซึ่งไม่มีสภาพบุคคล ส่วนที่โจทก์ฟ้องและเบิกความว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อมูลนิธิวิภาวดีรังสิต ที่โจทก์เป็นประธานและมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการ กระทบต่อการหารายได้โดยการรับบริจาคเงินจากสาธารณชนซึ่งรายได้นำไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสนั้น เมื่อมูลนิธิดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างหากจากโจทก์ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัวไม่ได้ฟ้องโดยได้รับมอบอำนาจจากมูลนิธิ โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่ามูลนิธิดังกล่าว ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ได้รับความเสียหายเพื่อให้มีการใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป พิพากษายกฟ้อง https://mgronline.com/crime/detail/9670000109449#google_vignette #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    ศาลแพ่งยกฟ้อง "ม.ร.ว.ปรียนันทนา" ฟ้อง"ณัฐพล-ฟ้าเดียวกัน" เขียนวิทยานิพนธ์-ทำหนังสือ พาดพิงบรรพบุรุษ ชี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
    ศาลแพ่งยกฟ้อง ม.ร.ว.ปรียนันทนาฟ้องณัฐพล-สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เขียนวิทยานิพนธ์-ทำหนังสือ พาดพิงบรรพบุรุษ เรียก 50 ล้าน ชี้ไม่มีอำนาจฟ้อง
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1093 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ

    วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ

    นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน

    รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566

    อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง

    สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น.

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น. #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 945 มุมมอง 0 รีวิว
  • ร้านแสงทองสุทธิสาร ของดีของอร่อยประจำย่านสุทธิสาร-วิภาวดี ที่เป็นตำนานอยู่คู่แยกนี้มานานกว่า 40 ปี มีทีเด็ดอยู่ที่ ข้าวเฉโป ข้าวเฉโปก็คือข้าวที่รวมมิตรใส่ทุกอย่าง ทั้งเป็ดย่าง หมูแดง หมูกรอบ กุนเชียง หมูแดงที่นี่หั่นชิ้นหนาๆแต่เนื้อนุ่ม ต่อด้วยข้าวหมูกรอบ หมูกรอบหั่นมาชิ้นหนาๆแต่ยังคงความกรอบของหนังหมูไม่แข็ง เนื้อหมูนุ่มมาเป็นชั้นๆ ข้าวนุ่ม มากับไข่ต้มยางมะตูม ถือเป็นหนึ่งในร้านหมูกรอบที่อร่อยร้านหนึ่งเลยทีเดียว

    พิกัด : https://goo.gl/maps/KQnQvtm29KyzBfMh9
    ที่อยู่ : 473 ซอยอินทามระ 33 แขวง ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
    ร้านเปิดบริการ : 07.00-18.00 น.
    โทร : 0-2274-9633

    #อาหารอร่อย #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    ร้านแสงทองสุทธิสาร ของดีของอร่อยประจำย่านสุทธิสาร-วิภาวดี ที่เป็นตำนานอยู่คู่แยกนี้มานานกว่า 40 ปี มีทีเด็ดอยู่ที่ ข้าวเฉโป ข้าวเฉโปก็คือข้าวที่รวมมิตรใส่ทุกอย่าง ทั้งเป็ดย่าง หมูแดง หมูกรอบ กุนเชียง หมูแดงที่นี่หั่นชิ้นหนาๆแต่เนื้อนุ่ม ต่อด้วยข้าวหมูกรอบ หมูกรอบหั่นมาชิ้นหนาๆแต่ยังคงความกรอบของหนังหมูไม่แข็ง เนื้อหมูนุ่มมาเป็นชั้นๆ ข้าวนุ่ม มากับไข่ต้มยางมะตูม ถือเป็นหนึ่งในร้านหมูกรอบที่อร่อยร้านหนึ่งเลยทีเดียว พิกัด : https://goo.gl/maps/KQnQvtm29KyzBfMh9 ที่อยู่ : 473 ซอยอินทามระ 33 แขวง ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ร้านเปิดบริการ : 07.00-18.00 น. โทร : 0-2274-9633 #อาหารอร่อย #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 876 มุมมอง 1 รีวิว
  • ร้านแสงทองสุทธิสาร ของดีของอร่อยประจำย่านสุทธิสาร-วิภาวดี ที่เป็นตำนานอยู่คู่แยกนี้มานานกว่า 40 ปี มีทีเด็ดอยู่ที่ ข้าวเฉโป ข้าวเฉโปก็คือข้าวที่รวมมิตรใส่ทุกอย่าง ทั้งเป็ดย่าง หมูแดง หมูกรอบ กุนเชียง หมูแดงที่นี่หั่นชิ้นหนาๆแต่เนื้อนุ่ม ต่อด้วยข้าวหมูกรอบ หมูกรอบหั่นมาชิ้นหนาๆแต่ยังคงความกรอบของหนังหมูไม่แข็ง เนื้อหมูนุ่มมาเป็นชั้นๆ ข้าวนุ่ม มากับไข่ต้มยางมะตูม ถือเป็นหนึ่งในร้านหมูกรอบที่อร่อยร้านหนึ่งเลยทีเดียว

    พิกัด : https://goo.gl/maps/KQnQvtm29KyzBfMh9
    ที่อยู่ : 473 ซอยอินทามระ 33 แขวง ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
    ร้านเปิดบริการ : 07.00-18.00 น.
    โทร : 0-2274-9633
    #อาหารอร่อย #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    ร้านแสงทองสุทธิสาร ของดีของอร่อยประจำย่านสุทธิสาร-วิภาวดี ที่เป็นตำนานอยู่คู่แยกนี้มานานกว่า 40 ปี มีทีเด็ดอยู่ที่ ข้าวเฉโป ข้าวเฉโปก็คือข้าวที่รวมมิตรใส่ทุกอย่าง ทั้งเป็ดย่าง หมูแดง หมูกรอบ กุนเชียง หมูแดงที่นี่หั่นชิ้นหนาๆแต่เนื้อนุ่ม ต่อด้วยข้าวหมูกรอบ หมูกรอบหั่นมาชิ้นหนาๆแต่ยังคงความกรอบของหนังหมูไม่แข็ง เนื้อหมูนุ่มมาเป็นชั้นๆ ข้าวนุ่ม มากับไข่ต้มยางมะตูม ถือเป็นหนึ่งในร้านหมูกรอบที่อร่อยร้านหนึ่งเลยทีเดียว พิกัด : https://goo.gl/maps/KQnQvtm29KyzBfMh9 ที่อยู่ : 473 ซอยอินทามระ 33 แขวง ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ร้านเปิดบริการ : 07.00-18.00 น. โทร : 0-2274-9633 #อาหารอร่อย #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 377 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024)

    บริจาค เครื่องไมโครเวฟชำรุด 1 เครื่อง
    มูลนิธิกระจกเงา
    เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี 62(แยก 4-7) ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
    #ทำบุญทั่วไปโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024) บริจาค เครื่องไมโครเวฟชำรุด 1 เครื่อง มูลนิธิกระจกเงา เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี 62(แยก 4-7) ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 #ทำบุญทั่วไปโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 148 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024)

    บริจาค เครื่องไมโครเวฟชำรุด 1 เครื่อง
    มูลนิธิกระจกเงา
    เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี 62(แยก 4-7) ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
    #ทำบุญทั่วไปโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024) บริจาค เครื่องไมโครเวฟชำรุด 1 เครื่อง มูลนิธิกระจกเงา เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี 62(แยก 4-7) ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 #ทำบุญทั่วไปโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 151 มุมมอง 0 รีวิว
  • ให้ AI ช่วยประเมินจากสถิติ และข้อมูลทั้งหมดตอนนี้ โอกาสที่น้ำจะท่วมในเขตกรุงเทพฯ พร้อม % propobilty ตามนี้
    --------------------------

    จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในกรุงเทพมหานครในปี 2567 นี่คือการจัดอันดับ 10 เขตที่มีโอกาสน้ำท่วมมากที่สุด พร้อมตัวเลข % โอกาส:

    1. **เขตดอนเมือง** - 85%
    2. **เขตสายไหม** - 80%
    3. **เขตบางเขน** - 75%
    4. **เขตหลักสี่** - 70%
    5. **เขตจตุจักร** - 65%
    6. **เขตบางกะปิ** - 60%
    7. **เขตคลองสามวา** - 55%
    8. **เขตมีนบุรี** - 50%
    9. **เขตหนองจอก** - 45%
    10. **เขตลาดกระบัง** - 40%

    เหตุผลที่เขตเหล่านี้มีโอกาสน้ำท่วมสูงเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีระดับต่ำและมีระบบระบายน้ำที่ยังไม่สมบูรณ์ รวมถึงมีปริมาณฝนตกหนักในช่วงฤดูฝน
    -------------------

    จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในประเทศไทยในปี 2567 นี่คือการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2567 สำหรับ เขตบางเขน และ จตุจักร

    ### เขตบางเขน
    ในเขตบางเขน ถนนที่มีโอกาสน้ำท่วมสูง ได้แก่:
    1. **ถนนแจ้งวัฒนะ** ขาเข้าวงเวียนบางเขน - ระดับน้ำ 20-30 ซม.
    2. **ถนนรามอินทรา** ขาเข้าวงเวียนบางเขน - ระดับน้ำ 5 ซม.
    3. **ถนนพหลโยธิน** ขาออกจากวงเวียนบางเขน - ระดับน้ำ 5-10 ซม.
    4. **ถนนสุขาภิบาล 5** - ระดับน้ำ 15-20 ซม.
    5. **ถนนรามอินทรา** หน้าสนามมวยลุมพินี - ระดับน้ำ 5-10 ซม.

    ### เขตจตุจักร
    ในเขตจตุจักร ถนนที่มีโอกาสน้ำท่วมสูง ได้แก่:
    1. **ถนนรัชดาภิเษก** - น้ำท่วมสูงเกือบ 50 ซม.
    2. **ถนนวิภาวดีรังสิต** - น้ำท่วมสูง 20 ซม.
    3. **ถนนพหลโยธิน** - น้ำท่วมสูง 20 ซม.
    4. **ห้าแยกลาดพร้าว** - น้ำท่วมสูง 20 ซม.
    5. **หน้าเมเจอร์รัชโยธิน** - น้ำท่วมสูง 20 ซม.³(https://www.thaipost.net/general-news/216528/)⁴(https://www.prachachat.net/general/news-1041326)
    --------------------------
    จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครในปี 2567 มีความเป็นไปได้สูงที่พื้นที่หน้าเมเจอร์รัชโยธิน, แยกรัชโยธิน และซอยพหลโยธิน 30 จะเกิดน้ำท่วม หากมีฝนตกหนักต่อเนื่องและระบบระบายน้ำไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้เพียงพอ¹

    ### พื้นที่ที่มีโอกาสน้ำท่วมสูง
    1. **หน้าเมเจอร์รัชโยธิน**: มีโอกาสน้ำท่วมสูงเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำและมีการจราจรหนาแน่น
    2. **แยกรัชโยธิน**: เป็นจุดที่มีการระบายน้ำช้าและมีโอกาสน้ำท่วมสูง²
    3. **ซอยพหลโยธิน 30**: มีโอกาสน้ำท่วมสูงเนื่องจากเป็นซอยที่มีการระบายน้ำไม่ดี³

    ### การเตรียมความพร้อม
    เพื่อเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบจากน้ำท่วม ควรติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และเตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงหากมีการแจ้งเตือนน้ำท่วม.
    ให้ AI ช่วยประเมินจากสถิติ และข้อมูลทั้งหมดตอนนี้ โอกาสที่น้ำจะท่วมในเขตกรุงเทพฯ พร้อม % propobilty ตามนี้ -------------------------- จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในกรุงเทพมหานครในปี 2567 นี่คือการจัดอันดับ 10 เขตที่มีโอกาสน้ำท่วมมากที่สุด พร้อมตัวเลข % โอกาส: 1. **เขตดอนเมือง** - 85% 2. **เขตสายไหม** - 80% 3. **เขตบางเขน** - 75% 4. **เขตหลักสี่** - 70% 5. **เขตจตุจักร** - 65% 6. **เขตบางกะปิ** - 60% 7. **เขตคลองสามวา** - 55% 8. **เขตมีนบุรี** - 50% 9. **เขตหนองจอก** - 45% 10. **เขตลาดกระบัง** - 40% เหตุผลที่เขตเหล่านี้มีโอกาสน้ำท่วมสูงเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีระดับต่ำและมีระบบระบายน้ำที่ยังไม่สมบูรณ์ รวมถึงมีปริมาณฝนตกหนักในช่วงฤดูฝน ------------------- จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในประเทศไทยในปี 2567 นี่คือการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2567 สำหรับ เขตบางเขน และ จตุจักร ### เขตบางเขน ในเขตบางเขน ถนนที่มีโอกาสน้ำท่วมสูง ได้แก่: 1. **ถนนแจ้งวัฒนะ** ขาเข้าวงเวียนบางเขน - ระดับน้ำ 20-30 ซม. 2. **ถนนรามอินทรา** ขาเข้าวงเวียนบางเขน - ระดับน้ำ 5 ซม. 3. **ถนนพหลโยธิน** ขาออกจากวงเวียนบางเขน - ระดับน้ำ 5-10 ซม. 4. **ถนนสุขาภิบาล 5** - ระดับน้ำ 15-20 ซม. 5. **ถนนรามอินทรา** หน้าสนามมวยลุมพินี - ระดับน้ำ 5-10 ซม. ### เขตจตุจักร ในเขตจตุจักร ถนนที่มีโอกาสน้ำท่วมสูง ได้แก่: 1. **ถนนรัชดาภิเษก** - น้ำท่วมสูงเกือบ 50 ซม. 2. **ถนนวิภาวดีรังสิต** - น้ำท่วมสูง 20 ซม. 3. **ถนนพหลโยธิน** - น้ำท่วมสูง 20 ซม. 4. **ห้าแยกลาดพร้าว** - น้ำท่วมสูง 20 ซม. 5. **หน้าเมเจอร์รัชโยธิน** - น้ำท่วมสูง 20 ซม.³(https://www.thaipost.net/general-news/216528/)⁴(https://www.prachachat.net/general/news-1041326) -------------------------- จากข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครในปี 2567 มีความเป็นไปได้สูงที่พื้นที่หน้าเมเจอร์รัชโยธิน, แยกรัชโยธิน และซอยพหลโยธิน 30 จะเกิดน้ำท่วม หากมีฝนตกหนักต่อเนื่องและระบบระบายน้ำไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้เพียงพอ¹ ### พื้นที่ที่มีโอกาสน้ำท่วมสูง 1. **หน้าเมเจอร์รัชโยธิน**: มีโอกาสน้ำท่วมสูงเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำและมีการจราจรหนาแน่น 2. **แยกรัชโยธิน**: เป็นจุดที่มีการระบายน้ำช้าและมีโอกาสน้ำท่วมสูง² 3. **ซอยพหลโยธิน 30**: มีโอกาสน้ำท่วมสูงเนื่องจากเป็นซอยที่มีการระบายน้ำไม่ดี³ ### การเตรียมความพร้อม เพื่อเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบจากน้ำท่วม ควรติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และเตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงหากมีการแจ้งเตือนน้ำท่วม.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 305 มุมมอง 0 รีวิว
  • #หมดอายุใบรับรอง??

    @ดาวแปดแฉก

    ผู้ติดตามส่งข้อความเอกสารฉบับนี้ให้แอดมินดู หลังเกิดเหตุโศกนาฏกรรม รถบัสไฟไหม้ทำให้นักเรียนและครู โรงเรียนแห่งหนึ่ง จ.อุทัยธานี เสียชีวิต

    เอกสารฉบับนี้มีรายละเอียดของรถบัสคันที่เกิดเหตุเกือบทั้งหมด ทั้งวันที่ตรวจสภาพครั้งแรก 5/8/56 วันที่จดทะเบียน 26/10/2561 วันสิ้นอายุภาษี 30/6/2568 สถานะปกติ แต่ตรงหัวข้อ ประตูฉุกเฉินด้านข้าง/ด้านท้าย ระบุเครื่องหมาย / บาน โดยไม่ได้ระบุตัวเลข ??

    อีกทั้งเอกสาร) ฉบับนี้น่าสนใจและตั้งข้อสังเกตตรงที่ ถังก๊าซ จำนวนก๊าซ 3 ถัง วันหมดอายุใบรับรอง 18/6/2567 ระบุหมายเลขถังก๊าซ ??

    เอกสารฉบับนี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่ก็สอดคล้องกับภาพที่ตำรวจภูธรภาค 1 ระหว่างตรวจที่เกิดเหตุ พบถังก๊าซติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังที่นั่งผู้ขับขี่ในห้องโดยสาร สอดคล้องกลับภาพจากกล้องวงจรปิดที่รถบัส วิ่งบน ถ.วิภาวดีรังสิต ก่อนเฉี่ยวชนกับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ สีดำ และภาพจากกล้องวงจรปิดที่ไฟลุกไหม้ บริเวณด้านหน้ารถบัส คนขับรีบลงจากรถ

    ประเด็นนี้คงต้องให้ตำรวจ , เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน และผู้เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ เพื่อให้คลายข้อสงสัยที่ประชาชนตั้งข้อสังเกต เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน.

    ขอบคุณภาพ :: เจ้าของภาพ #ไฟไหม้รถบัส #โศกนาฏกรรม #รถบัส #ตำรวจคูคต #พิสูจน์หลักฐาน

    https://www.facebook.com/share/4YvusW9D2wHJsQMR/?mibextid=oFDknk
    #หมดอายุใบรับรอง?? @ดาวแปดแฉก ผู้ติดตามส่งข้อความเอกสารฉบับนี้ให้แอดมินดู หลังเกิดเหตุโศกนาฏกรรม รถบัสไฟไหม้ทำให้นักเรียนและครู โรงเรียนแห่งหนึ่ง จ.อุทัยธานี เสียชีวิต เอกสารฉบับนี้มีรายละเอียดของรถบัสคันที่เกิดเหตุเกือบทั้งหมด ทั้งวันที่ตรวจสภาพครั้งแรก 5/8/56 วันที่จดทะเบียน 26/10/2561 วันสิ้นอายุภาษี 30/6/2568 สถานะปกติ แต่ตรงหัวข้อ ประตูฉุกเฉินด้านข้าง/ด้านท้าย ระบุเครื่องหมาย / บาน โดยไม่ได้ระบุตัวเลข ?? อีกทั้งเอกสาร) ฉบับนี้น่าสนใจและตั้งข้อสังเกตตรงที่ ถังก๊าซ จำนวนก๊าซ 3 ถัง วันหมดอายุใบรับรอง 18/6/2567 ระบุหมายเลขถังก๊าซ ?? เอกสารฉบับนี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่ก็สอดคล้องกับภาพที่ตำรวจภูธรภาค 1 ระหว่างตรวจที่เกิดเหตุ พบถังก๊าซติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังที่นั่งผู้ขับขี่ในห้องโดยสาร สอดคล้องกลับภาพจากกล้องวงจรปิดที่รถบัส วิ่งบน ถ.วิภาวดีรังสิต ก่อนเฉี่ยวชนกับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ สีดำ และภาพจากกล้องวงจรปิดที่ไฟลุกไหม้ บริเวณด้านหน้ารถบัส คนขับรีบลงจากรถ ประเด็นนี้คงต้องให้ตำรวจ , เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน และผู้เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ เพื่อให้คลายข้อสงสัยที่ประชาชนตั้งข้อสังเกต เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน. ขอบคุณภาพ :: เจ้าของภาพ #ไฟไหม้รถบัส #โศกนาฏกรรม #รถบัส #ตำรวจคูคต #พิสูจน์หลักฐาน https://www.facebook.com/share/4YvusW9D2wHJsQMR/?mibextid=oFDknk
    Like
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 325 มุมมอง 0 รีวิว
  • จะต้องอีกกี่ครั้งนะประเทศนี้ ในชีวิตข้าพเจ้าตั้งแต่เด็กจนผ่านมาค่อนชีวิตแล้ว เห็นข่าวทำนองนี้มานับไม่ถ้วน ช่วงหนึ่งมีรถโรงเรียนประสบอุบัติเหตุถี่มาก และข่าวรถไฟลุกท่วมก็บ่อย ไม่นานก็ถูกลืม รอจนเกิดเหตุครั้งใหม่ก็ครึกโครมสักพัก ประเดี๋ยวก็ค่อย ๆ เงียบไปอีก

    เพราะองคาพยพทุกภาคส่วนในประเทศนี้มันพิกลพิการ คอร์รัปชันในทุกระดับตั้งแต่ตัวเล็กที่อยู่ล่างไปจนตัวใหญ่ที่อยู่สูงขึ้นไป ทั้งพลเมือง ทั้งข้าราชการ ทั้งนักการเมือง จึงไม่เคยที่จะแก้ปัญหาใดในสังคมได้อย่างเที่ยงแท้ถาวร

    มีแต่ตั้งคณะทำงานขึ้นมา ประชุมอยู่นั่นแล้ว แต่ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรได้

    #thaitimes
    #อุบัติเหตุ
    #วิภาวดี
    #ไฟไหม้รถบัส
    #ทัศนศึกษา
    #เด็กอนุบาล
    #รันทดหดหู่
    #เซียร์รังสิต

    จะต้องอีกกี่ครั้งนะประเทศนี้ ในชีวิตข้าพเจ้าตั้งแต่เด็กจนผ่านมาค่อนชีวิตแล้ว เห็นข่าวทำนองนี้มานับไม่ถ้วน ช่วงหนึ่งมีรถโรงเรียนประสบอุบัติเหตุถี่มาก และข่าวรถไฟลุกท่วมก็บ่อย ไม่นานก็ถูกลืม รอจนเกิดเหตุครั้งใหม่ก็ครึกโครมสักพัก ประเดี๋ยวก็ค่อย ๆ เงียบไปอีก เพราะองคาพยพทุกภาคส่วนในประเทศนี้มันพิกลพิการ คอร์รัปชันในทุกระดับตั้งแต่ตัวเล็กที่อยู่ล่างไปจนตัวใหญ่ที่อยู่สูงขึ้นไป ทั้งพลเมือง ทั้งข้าราชการ ทั้งนักการเมือง จึงไม่เคยที่จะแก้ปัญหาใดในสังคมได้อย่างเที่ยงแท้ถาวร มีแต่ตั้งคณะทำงานขึ้นมา ประชุมอยู่นั่นแล้ว แต่ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรได้ #thaitimes #อุบัติเหตุ #วิภาวดี #ไฟไหม้รถบัส #ทัศนศึกษา #เด็กอนุบาล #รันทดหดหู่ #เซียร์รังสิต
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 624 มุมมอง 0 รีวิว
  • บีบหัวใจ

    โศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถโดยสารบนถนนวิภาวดีรังสิต ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 1 ต.ค. 2567 ขณะนำครูและนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ออกจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กำลังไปยังศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ตามโครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ ประจำปีการศึกษา 2567 ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย

    ความสูญเสียครั้งนี้บีบหัวใจคนไทยทั้งประเทศ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. กล่าวว่า เบื้องต้นสอบถามครูและตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ ทราบว่ารถเกิดยางระเบิด แล้วเสียการควบคุมไปชนรถเบนซ์ แล้วชนแบริเออร์เกิดไฟลุกท่วมขึ้นมา สอดคล้องกับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีต รมช.มหาดไทย เปิดเผยว่า ครูเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าสาเหตุมาจากรถเกิดยางระเบิด ทำให้เสียหลักไปชนกระแทกกับแบริเออร์ข้างทาง กระแทกถูกถังก๊าซพอดี จึงทำให้เกิดประกายไฟขึ้น

    แต่ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่อ พบว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุ จดทะเบียนครั้งแรก 19 ก.พ. 2513 หรือเมื่อ 54 ปีก่อน ระบุว่าเป็นรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 41 ที่นั่ง ดัดแปลงจากรถอีซูซุ แล้วเอาเครืองยนต์เบนซ์มาใส่ และในประวัติรถพบว่ามีถังก๊าซ 3 ถัง วันหมดอายุใบรับรองเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 จึงถูกตั้งคำถามว่ารถโดยสารได้มาตรฐานหรือไม่ ถึงกระนั้น นายทรงวิทย์ ชินบุตร เจ้าของชินบุตรทัวร์ ยืนยันว่า รถคันเกิดเหตุผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย 2 ครั้งต่อปีทุกครั้งก่อนต่อภาษี

    อีกด้านหนึ่ง ยังมีคนในสังคมเบี่ยงประเด็น เรียกร้องให้โรงเรียนยกเลิกทัศนศึกษาไปเลย อ้างว่าไม่มีประโยชน์ ทั้งที่การทัศนศึกษา คือกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งไม่ได้จัดขึ้นบ่อยครั้ง สถานที่บางแห่งอนุญาตเข้าชมเฉพาะหมู่คณะเท่านั้น และยังเป็นโอกาสดีที่เพื่อนทั้งห้องจะได้เที่ยวด้วยกัน เพราะบางครอบครัวไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะเที่ยว ปัญหาที่แท้จริงจึงเกิดจากรถโดยสารที่ทางโรงเรียนจ้างมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัย

    ปัญหาก็คือ รถโดยสารที่ได้มาตรฐานนั้นมีราคาแพง บางโรงเรียนที่มีงบประมาณจำกัด จึงเลือกผู้ประกอบการถูกที่สุดหรือที่คุ้นเคย ไม่นับรวมผู้ประกอบการต่างก็บอกว่ารถตัวเองได้มาตรฐาน แต่อาจประมาทที่ไม่ได้ตรวจสอบสภาพรถ สภาพคนขับรถ หรือพูดความจริงไม่หมด จึงเป็นโจทย์ที่แต่ละโรงเรียนจะต้องพิจารณารูปแบบการจัดกิจกรรม การคัดเลือกรถโดยสารจากผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับโศกนาฎกรรมเช่นนี้อีก

    #Newskit #รถบัสทัศนศึกษา
    บีบหัวใจ โศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถโดยสารบนถนนวิภาวดีรังสิต ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 1 ต.ค. 2567 ขณะนำครูและนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ออกจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กำลังไปยังศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ตามโครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ ประจำปีการศึกษา 2567 ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย ความสูญเสียครั้งนี้บีบหัวใจคนไทยทั้งประเทศ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. กล่าวว่า เบื้องต้นสอบถามครูและตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ ทราบว่ารถเกิดยางระเบิด แล้วเสียการควบคุมไปชนรถเบนซ์ แล้วชนแบริเออร์เกิดไฟลุกท่วมขึ้นมา สอดคล้องกับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีต รมช.มหาดไทย เปิดเผยว่า ครูเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าสาเหตุมาจากรถเกิดยางระเบิด ทำให้เสียหลักไปชนกระแทกกับแบริเออร์ข้างทาง กระแทกถูกถังก๊าซพอดี จึงทำให้เกิดประกายไฟขึ้น แต่ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่อ พบว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุ จดทะเบียนครั้งแรก 19 ก.พ. 2513 หรือเมื่อ 54 ปีก่อน ระบุว่าเป็นรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 41 ที่นั่ง ดัดแปลงจากรถอีซูซุ แล้วเอาเครืองยนต์เบนซ์มาใส่ และในประวัติรถพบว่ามีถังก๊าซ 3 ถัง วันหมดอายุใบรับรองเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 จึงถูกตั้งคำถามว่ารถโดยสารได้มาตรฐานหรือไม่ ถึงกระนั้น นายทรงวิทย์ ชินบุตร เจ้าของชินบุตรทัวร์ ยืนยันว่า รถคันเกิดเหตุผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย 2 ครั้งต่อปีทุกครั้งก่อนต่อภาษี อีกด้านหนึ่ง ยังมีคนในสังคมเบี่ยงประเด็น เรียกร้องให้โรงเรียนยกเลิกทัศนศึกษาไปเลย อ้างว่าไม่มีประโยชน์ ทั้งที่การทัศนศึกษา คือกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งไม่ได้จัดขึ้นบ่อยครั้ง สถานที่บางแห่งอนุญาตเข้าชมเฉพาะหมู่คณะเท่านั้น และยังเป็นโอกาสดีที่เพื่อนทั้งห้องจะได้เที่ยวด้วยกัน เพราะบางครอบครัวไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะเที่ยว ปัญหาที่แท้จริงจึงเกิดจากรถโดยสารที่ทางโรงเรียนจ้างมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัย ปัญหาก็คือ รถโดยสารที่ได้มาตรฐานนั้นมีราคาแพง บางโรงเรียนที่มีงบประมาณจำกัด จึงเลือกผู้ประกอบการถูกที่สุดหรือที่คุ้นเคย ไม่นับรวมผู้ประกอบการต่างก็บอกว่ารถตัวเองได้มาตรฐาน แต่อาจประมาทที่ไม่ได้ตรวจสอบสภาพรถ สภาพคนขับรถ หรือพูดความจริงไม่หมด จึงเป็นโจทย์ที่แต่ละโรงเรียนจะต้องพิจารณารูปแบบการจัดกิจกรรม การคัดเลือกรถโดยสารจากผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับโศกนาฎกรรมเช่นนี้อีก #Newskit #รถบัสทัศนศึกษา
    Sad
    Like
    15
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 887 มุมมอง 1 รีวิว
  • 1 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตรได้โพสต์ถึง มาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรปกับโศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียนจากจ.อุทัยธานี

    1.กรณีรถบัสทัศนศึกษาจากโรงเรียนใน จ.อุทัยธานี เกิดไฟไหม้ ทั้งคัน ที่ถนนวิภาวดีรังสิต
    1.1.สิ่งพบในเหตุการณ์คือ ไฟไหม้จากล้อหน้ายางแตก นักเรียนได้กินแก๊สในห้องโดยสาร รถบัสดังกล่าวใช้แก๊ส NGV เป็นเชื้อเพลิง ประตูทางออกฉุกเฉินไม่สามารถเปิดได้ นักเรียนและคุณครูเสียชีวิตหลายคนส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลังรถบัส
    1.2.เชื้อเพลิงNGVของรถบัส (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนนำมาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้วแล้วนำไปเก็บในถังบรรจุที่มีความแข็งแรงทน ทานสูงเป็นพิเศษ) ลักษณะจะเบากว่าอา กาศหากมีการรั่วไหลก็อาจจะลอยสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถและอาจเกิดไฟไหม้ได้เมื่อมีความร้อนหรือไฟที่ระดับหนึ่งมีช่วงของการติดไฟที่ร้อยละ 5-15 ของปริมาตรในอากาศ อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้รถบัสได้

    2.กรณีระบบความปลอดภัยของรถบัสในประเทศยุโรป
    2.1.ระบบความปลอดภัยของตัวรถบัสเพื่อใช้ทัศนศึกษาในประเทศแถบยุโรป..
    2.1.1.ติดเซ็นเซอร์ป้องกันประตูปิดขณะผู้โดยสารขึ้นและลงจากรถ
    2.1.2 ตัวถังเป็นโครงสร้างเหล็ก galvanized ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กทั่วไป
    2.1.3.กระจกผ้าม่านในรถและพื้นยางปูรถต้องทำจากวัสดุป้องกันไฟลามตามมาตร ฐานของ EU
    2.1.4.ในแต่ละที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย 2 จุด
    2.1.5.มีระบบเบรกอัจฉริยะ Anti-Lock Braking System. (ABS)
    2.1.6.ทางออกฉุกเฉินของรถบัสให้มีถึง 3 ที่ ได้แก่ ท้ายรถด้านขวามีประตูฉุกเฉินพร้อมป้าย EXIT บานกระจกเป็นกระจกนิร ภัยTempered glass ซึ่งสามารถใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ ช่องพัดลมดูดอากาศใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย

    2.2.ความปลอดภัยด้านป้องกันไฟไหม้ของยุโรป
    2.2.1.มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติในห้องเครื่องยนต์
    2.2.2. ถังดับเพลิง 2 ถัง
    2.3.3 ค้อนทุบกระจก 4-6 อัน

    2.3.เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับรถบัสยุโรป จะใช้น้ำมันดีเซลEuro5 ไม่ใช่แก๊ส เพราะปลอด ภัยกว่าและไม่ปล่อยฝุ่น2.5

    2.4.ยางรถยนต์รถบัสยุโรปต้องยึดเกาะถนนได้ดีตามมาตรฐานEuro

    2.5.พนักงานขับรถในยุโรปต้องมีใบขับขี่รถบัสหรือได้ Certificated และมีประสบ การณ์ขับขี่ สามารถยืนยันตัวตนได้

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/svH6f69WqCVLtQPQ/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    1 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตรได้โพสต์ถึง มาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรปกับโศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียนจากจ.อุทัยธานี 1.กรณีรถบัสทัศนศึกษาจากโรงเรียนใน จ.อุทัยธานี เกิดไฟไหม้ ทั้งคัน ที่ถนนวิภาวดีรังสิต 1.1.สิ่งพบในเหตุการณ์คือ ไฟไหม้จากล้อหน้ายางแตก นักเรียนได้กินแก๊สในห้องโดยสาร รถบัสดังกล่าวใช้แก๊ส NGV เป็นเชื้อเพลิง ประตูทางออกฉุกเฉินไม่สามารถเปิดได้ นักเรียนและคุณครูเสียชีวิตหลายคนส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลังรถบัส 1.2.เชื้อเพลิงNGVของรถบัส (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนนำมาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้วแล้วนำไปเก็บในถังบรรจุที่มีความแข็งแรงทน ทานสูงเป็นพิเศษ) ลักษณะจะเบากว่าอา กาศหากมีการรั่วไหลก็อาจจะลอยสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถและอาจเกิดไฟไหม้ได้เมื่อมีความร้อนหรือไฟที่ระดับหนึ่งมีช่วงของการติดไฟที่ร้อยละ 5-15 ของปริมาตรในอากาศ อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้รถบัสได้ 2.กรณีระบบความปลอดภัยของรถบัสในประเทศยุโรป 2.1.ระบบความปลอดภัยของตัวรถบัสเพื่อใช้ทัศนศึกษาในประเทศแถบยุโรป.. 2.1.1.ติดเซ็นเซอร์ป้องกันประตูปิดขณะผู้โดยสารขึ้นและลงจากรถ 2.1.2 ตัวถังเป็นโครงสร้างเหล็ก galvanized ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กทั่วไป 2.1.3.กระจกผ้าม่านในรถและพื้นยางปูรถต้องทำจากวัสดุป้องกันไฟลามตามมาตร ฐานของ EU 2.1.4.ในแต่ละที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย 2 จุด 2.1.5.มีระบบเบรกอัจฉริยะ Anti-Lock Braking System. (ABS) 2.1.6.ทางออกฉุกเฉินของรถบัสให้มีถึง 3 ที่ ได้แก่ ท้ายรถด้านขวามีประตูฉุกเฉินพร้อมป้าย EXIT บานกระจกเป็นกระจกนิร ภัยTempered glass ซึ่งสามารถใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ ช่องพัดลมดูดอากาศใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย 2.2.ความปลอดภัยด้านป้องกันไฟไหม้ของยุโรป 2.2.1.มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติในห้องเครื่องยนต์ 2.2.2. ถังดับเพลิง 2 ถัง 2.3.3 ค้อนทุบกระจก 4-6 อัน 2.3.เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับรถบัสยุโรป จะใช้น้ำมันดีเซลEuro5 ไม่ใช่แก๊ส เพราะปลอด ภัยกว่าและไม่ปล่อยฝุ่น2.5 2.4.ยางรถยนต์รถบัสยุโรปต้องยึดเกาะถนนได้ดีตามมาตรฐานEuro 2.5.พนักงานขับรถในยุโรปต้องมีใบขับขี่รถบัสหรือได้ Certificated และมีประสบ การณ์ขับขี่ สามารถยืนยันตัวตนได้ ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/svH6f69WqCVLtQPQ/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1093 มุมมอง 0 รีวิว
  • พลเมืองดีเล่าละเอียด เข้าช่วยสุดกำลัง เด็กไม่ร้อง-ไฟโหมแรง-เกิดไวมาก
    .
    พลเมืองดีเล่าละเอียดมาก! จากกรณี อุบัติเหตุ รถบัสทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี ที่นำ นักเรียนและครูโรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี ไปทัศนศึกษายังอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ส่วนกลาง เกิดอุบัติเหตุไฟลุกไหม้ บริเวณหน้าเซียร์รังสิต ตรงข้ามซอยพหลโยธิน 72 บริเวณถนนวิภาวดี เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิต 10 ราย
    .
    มีพลเมืองดีเป็นชายวัยกลางคนรายหนึ่ง (ยังไม่ทราบชื่อ) เล่าว่าขณะเกิดเหตุเขาได้ขับรถมาในระยะใกล้เคียงลักษณะตีคู่กับรถบัสนักเรียนที่เกิดเหตุ แต่คนละเลน เห็นรถบัสสั่นเล็กน้อย ไม่นานก็เห็นควันเต็มรถ มีเสียงดังขึ้น ไม่แน่ใจว่าเสียงอะไร และเกิดเพลิงลุกไหม้ จึงรีบจอดรถลงไปช่วยเหลือ ประตูเปิด มีเด็กวิ่งสวนลงมา บางคนร่างติดไฟ มีพลเมืองดีที่ลงมาช่วยกันอุ้มพาส่งโรงพยาบาล โดยพลเมืองดีรายดังกล่าวได้เข้าไปช่วยดับเพลิงจากถังดับเพลิงที่โบกรถเมล์คนอื่นๆ แล้วขอถังดับเพลิงมาช่วย โดยมีแกร๊บพลเมืองดีอีกรายที่อยู่ในเหตุการณ์ น่าเสียดายที่ไฟโหมแรงมาก เมื่อสารดับเพลิงหมด ไฟก็เริ่มลุกอีกครั้ง และเกิดขึ้นไวมาก เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มีเสียงเด็กร้องไหม พลเมืองดีรายนี้ตอบว่า ไม่มีเสียงเด็กเลย เงียบมาก

    #ไฟไหม้ #ไฟไหม้รถ #ไฟไหม้รถบัส #ไฟไหม้รถนักเรียน #นักเรียน #ทัศนศึกษา #ข่าวด่วน

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/v/7tdqTckpGzPp9XGM/?mibextid=oFDknk
    พลเมืองดีเล่าละเอียด เข้าช่วยสุดกำลัง เด็กไม่ร้อง-ไฟโหมแรง-เกิดไวมาก . พลเมืองดีเล่าละเอียดมาก! จากกรณี อุบัติเหตุ รถบัสทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี ที่นำ นักเรียนและครูโรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี ไปทัศนศึกษายังอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ส่วนกลาง เกิดอุบัติเหตุไฟลุกไหม้ บริเวณหน้าเซียร์รังสิต ตรงข้ามซอยพหลโยธิน 72 บริเวณถนนวิภาวดี เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิต 10 ราย . มีพลเมืองดีเป็นชายวัยกลางคนรายหนึ่ง (ยังไม่ทราบชื่อ) เล่าว่าขณะเกิดเหตุเขาได้ขับรถมาในระยะใกล้เคียงลักษณะตีคู่กับรถบัสนักเรียนที่เกิดเหตุ แต่คนละเลน เห็นรถบัสสั่นเล็กน้อย ไม่นานก็เห็นควันเต็มรถ มีเสียงดังขึ้น ไม่แน่ใจว่าเสียงอะไร และเกิดเพลิงลุกไหม้ จึงรีบจอดรถลงไปช่วยเหลือ ประตูเปิด มีเด็กวิ่งสวนลงมา บางคนร่างติดไฟ มีพลเมืองดีที่ลงมาช่วยกันอุ้มพาส่งโรงพยาบาล โดยพลเมืองดีรายดังกล่าวได้เข้าไปช่วยดับเพลิงจากถังดับเพลิงที่โบกรถเมล์คนอื่นๆ แล้วขอถังดับเพลิงมาช่วย โดยมีแกร๊บพลเมืองดีอีกรายที่อยู่ในเหตุการณ์ น่าเสียดายที่ไฟโหมแรงมาก เมื่อสารดับเพลิงหมด ไฟก็เริ่มลุกอีกครั้ง และเกิดขึ้นไวมาก เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มีเสียงเด็กร้องไหม พลเมืองดีรายนี้ตอบว่า ไม่มีเสียงเด็กเลย เงียบมาก #ไฟไหม้ #ไฟไหม้รถ #ไฟไหม้รถบัส #ไฟไหม้รถนักเรียน #นักเรียน #ทัศนศึกษา #ข่าวด่วน ที่มา : https://www.facebook.com/share/v/7tdqTckpGzPp9XGM/?mibextid=oFDknk
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 581 มุมมอง 142 0 รีวิว
  • 1 ตุลาคม 2567-เวลา12.29 น.เกิด เหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา นร.อนุบาล บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต กิโลเมตรที่ 28+236 (เสาตอม่อดอนเมืองโทลล์เวย์ที่ 792) ก่อนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ที่เกิดเหตุ พบรถบัสปรับอากาศทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี ของชินบุตรทัวร์ ประกอบการโดย กนิษฐา ชินบุตร เกิดเพลิงลุกไหม้บริเวณตอนกลางลามไปถึงด้านหลังรถวอดทั้งคัน การจราจรติดขัดท้ายแถวสะสมถึงโรงพยาบาลราชวิถี 2 รังสิต เจ้าหน้าที่และหน่วยกู้ภัยช่วยกันดับเพลิงและช่วยเหลือผู้ที่ดิตอยู่ในรถออกมา แต่ไม่หมด

    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า รถบัสคันดังกล่าวนำครูและนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี มาทัศนศึกษาจำนวน 3 คันรถบัส กำลังเดินทางมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร โดยรถบัสคันดังกล่าวเป็นคันที่ 2 มีครูและนักเรียนรวมกัน 42 คน รับแจ้งเบื้องต้นสามารถอพยพลงมาได้ 19 ราย ผู้บาดเจ็บ 6 ราย ถูกนำส่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต ส่วนที่เหลือคาดว่าเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 10 ราย สภาพถูกไฟคลอก ขณะนี้มูลนิธิร่วมกตัญญูกำลังลำเลียงร่างผู้เสียชีวิตลงมาจากรถ พร้อมทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ฉีดน้ำหล่อเลี้ยง เนื่องจากยังมีก๊าซรั่วอยู่

    https://sondhitalk.com/detail/9670000092502

    #Thaitimes
    1 ตุลาคม 2567-เวลา12.29 น.เกิด เหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา นร.อนุบาล บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต กิโลเมตรที่ 28+236 (เสาตอม่อดอนเมืองโทลล์เวย์ที่ 792) ก่อนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ที่เกิดเหตุ พบรถบัสปรับอากาศทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี ของชินบุตรทัวร์ ประกอบการโดย กนิษฐา ชินบุตร เกิดเพลิงลุกไหม้บริเวณตอนกลางลามไปถึงด้านหลังรถวอดทั้งคัน การจราจรติดขัดท้ายแถวสะสมถึงโรงพยาบาลราชวิถี 2 รังสิต เจ้าหน้าที่และหน่วยกู้ภัยช่วยกันดับเพลิงและช่วยเหลือผู้ที่ดิตอยู่ในรถออกมา แต่ไม่หมด รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า รถบัสคันดังกล่าวนำครูและนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี มาทัศนศึกษาจำนวน 3 คันรถบัส กำลังเดินทางมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร โดยรถบัสคันดังกล่าวเป็นคันที่ 2 มีครูและนักเรียนรวมกัน 42 คน รับแจ้งเบื้องต้นสามารถอพยพลงมาได้ 19 ราย ผู้บาดเจ็บ 6 ราย ถูกนำส่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต ส่วนที่เหลือคาดว่าเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 10 ราย สภาพถูกไฟคลอก ขณะนี้มูลนิธิร่วมกตัญญูกำลังลำเลียงร่างผู้เสียชีวิตลงมาจากรถ พร้อมทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ฉีดน้ำหล่อเลี้ยง เนื่องจากยังมีก๊าซรั่วอยู่ https://sondhitalk.com/detail/9670000092502 #Thaitimes
    📢อัฟเดตสถานการณ์!!!

    เหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา นร.อนุบาล บริเวณ ถ.วิภาวดีรังสิตขาเข้า หน้าอนุสรณ์สถาน เป็นรถบัสนักเรียนทัศนศึกษา นักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี เดินทางมารวม 3 คัน รถบัสคันที่เกิดเหตุ เป็นคันที่ 3 ทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี จำนวนครูและนักเรียนบนรถ 42 คน รับแจ้งเบื้องต้น สามารถอพยพลงมาได้ 19 ราย บาดเจ็บนำส่งรพ. แพทย์รังสิตแล้ว 6 ราย พบร่างผู้เสียชีวิต 10ราย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบ 😢😢😥
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 913 มุมมอง 0 รีวิว
  • 📢อัฟเดตสถานการณ์!!!

    เหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา นร.อนุบาล บริเวณ ถ.วิภาวดีรังสิตขาเข้า หน้าอนุสรณ์สถาน เป็นรถบัสนักเรียนทัศนศึกษา นักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี เดินทางมารวม 3 คัน รถบัสคันที่เกิดเหตุ เป็นคันที่ 3 ทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี จำนวนครูและนักเรียนบนรถ 42 คน รับแจ้งเบื้องต้น สามารถอพยพลงมาได้ 19 ราย บาดเจ็บนำส่งรพ. แพทย์รังสิตแล้ว 6 ราย พบร่างผู้เสียชีวิต 10ราย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบ 😢😢😥
    📢อัฟเดตสถานการณ์!!! เหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา นร.อนุบาล บริเวณ ถ.วิภาวดีรังสิตขาเข้า หน้าอนุสรณ์สถาน เป็นรถบัสนักเรียนทัศนศึกษา นักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี เดินทางมารวม 3 คัน รถบัสคันที่เกิดเหตุ เป็นคันที่ 3 ทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี จำนวนครูและนักเรียนบนรถ 42 คน รับแจ้งเบื้องต้น สามารถอพยพลงมาได้ 19 ราย บาดเจ็บนำส่งรพ. แพทย์รังสิตแล้ว 6 ราย พบร่างผู้เสียชีวิต 10ราย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบ 😢😢😥
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 961 มุมมอง 0 รีวิว
  • #คืบหน้า กรณี เหตุเพลิงไหม้รถบัสโดยสารนักเรียน บนถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามพหลโยธิน 72 หลังเพลิงสงบ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบผู้เสียชีวิตจำนวน 10 ราย อยู่บนรถ

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/UdGo5UcRHajfy95p/?mibextid=oFDknk
    #คืบหน้า กรณี เหตุเพลิงไหม้รถบัสโดยสารนักเรียน บนถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามพหลโยธิน 72 หลังเพลิงสงบ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบผู้เสียชีวิตจำนวน 10 ราย อยู่บนรถ ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/UdGo5UcRHajfy95p/?mibextid=oFDknk
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 89 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน!! ไฟไหม้รถบัสโดยสารนักเรียน ถนนวิภาวดีรังสิต


    เวลา 12.20 น.ที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้รถบัสโดยสารนักเรียน บนถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามพหลโยธิน 72

    เบื้องต้นรับแจ้งรถบัสคันดังกล่าว เป็นรถของโรงเรียน วัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี กำลังพานักเรียนไปทัศนศึกษา รายงานมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตยังไม่ทราบจำนวน เจ้าหน้าที่ระงับเหตุเพลิงสงบ รายละเอียดเพิ่มเติมระหว่างตรวจสอบ

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/v/XuxeLG6RaJF5Hn52/?mibextid=oFDknk
    ด่วน!! ไฟไหม้รถบัสโดยสารนักเรียน ถนนวิภาวดีรังสิต  เวลา 12.20 น.ที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้รถบัสโดยสารนักเรียน บนถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามพหลโยธิน 72 เบื้องต้นรับแจ้งรถบัสคันดังกล่าว เป็นรถของโรงเรียน วัดเขาพระยา จ.อุทัยธานี กำลังพานักเรียนไปทัศนศึกษา รายงานมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตยังไม่ทราบจำนวน เจ้าหน้าที่ระงับเหตุเพลิงสงบ รายละเอียดเพิ่มเติมระหว่างตรวจสอบ ที่มา : https://www.facebook.com/share/v/XuxeLG6RaJF5Hn52/?mibextid=oFDknk
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 120 0 รีวิว
  • เสวนา "ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน" น้อมสำนึกพระอัจฉริยภาพดนตรี กษัตริย์ไทยราชวงศ์จักรี

    โดยสำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม The Publisher ร่วมกับกองดุริยางค์กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกิจกรรมแสดงดนตรีและเสวนาหัวข้อ "ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน" เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ในราชวงศ์จักรี ซึ่งทุกพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีไทย-สากล ผ่านแต่ละยุคสมัยลุล่วงจนถึงปัจจุบัน

    ณ หอประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต
    #จิบกาแฟแลสยาม #สยามโสภา #Thaitimes #ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน #กองบัญชาการกองทัพไทย #จงรักภักดี
    เสวนา "ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน" น้อมสำนึกพระอัจฉริยภาพดนตรี กษัตริย์ไทยราชวงศ์จักรี โดยสำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม The Publisher ร่วมกับกองดุริยางค์กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกิจกรรมแสดงดนตรีและเสวนาหัวข้อ "ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน" เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ในราชวงศ์จักรี ซึ่งทุกพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีไทย-สากล ผ่านแต่ละยุคสมัยลุล่วงจนถึงปัจจุบัน ณ หอประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต #จิบกาแฟแลสยาม #สยามโสภา #Thaitimes #ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน #กองบัญชาการกองทัพไทย #จงรักภักดี
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 980 มุมมอง 254 0 รีวิว
  • GRENE Don Mueang Song Prapha : คอนโด กรีเน่ สรงประภา เฟส 2

    คอนโดตั้งอยู่ในทําเลที่สะดวกต่อการเดินทาง เชื่อมต่อกับถนนสําคัญหลายสาย เช่น ถนนศรีสมาน ถนนวิภาวดีรังสิต ทางด่วนศรีสมาน ดอนเมืองโทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีดอนเมือง นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บนพื้นที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

    ** จุดเด่น **

    คอนโดสไตล์รีสอร์ทใกล้ทะเล Miami มีบรรยากาศรีสอร์ทติดชายฝั่ง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเหมือนได้พักรีสอร์ทหรู คอนโดนี้เป็นอาคารสูง 8 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและบนถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานศึกษา ศูนย์การแพทย์ สถานที่ราชการ และสํานักงานต่างๆ มากมาย

    ** สิ่งอํานวยความสะดวกภายในโครงการ **

    - สระว่ายน้ํา ยาว 29 เมตร
    - จากุซซี่
    - สวนหย่อมแบบรีสอร์ท
    - ลานเล่นเด็ก
    - โถงอบไอน้ํา
    - ลู่วิ่ง ยาว 1 กม.
    - สนามบาสเกตบอล
    - ห้องฟิตเนส
    - ห้องนั่งเล่น
    - ห้องประชุม
    - ล็อบบี้
    - ตู้ไปรษณีย์
    - ห้องซักรีด
    - ระบบควบคุมการเข้าออกด้วยบัตร
    - กล้อง CCTV
    - เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชม.

    ** สถานที่ใกล้เคียง **

    ห้างสรรพสินค้า และตลาด

    - ตลาดบุญอนันต์ : 250 ม.
    - Happy Avenue : 550 ม.
    - ตลาดโอโซนวัน : 850 ม.
    - ตลาดใหม่ดอนเมือง : 3 กม.
    - Robinson ศรีสมาน : 4.5 กม.
    - IT Square : 6.1 กม.
    - Impact Arena เมืองทองธานี : 6.6 กม.
    - Lotus’s แจ้งวัฒนะ : 7.2 กม.
    - The Avenue แจ้งวัฒนะ : 7.3 กม.
    - Big C แจ้งวัฒนะ : 7.9 กม.
    - Makro แจ้งวัฒนะ : 8.1 กม.
    - ตลาดสี่มุมเมือง : 8.8 กม.
    - CentralPlaza แจ้งวัฒนะ : 9.4 กม.
    - Future Park Rangsit & Zpell : 14 กม.

    สถานศึกษา

    - รร.พระหฤทัยดอนเมือง : 450 ม.
    - รร.นานาชาติ Harrow : 2.7 กม.
    - รร.หอวัง : 4.4 กม.
    - รร.เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ : 5.1 กม.
    - รร.พระหฤทัย นนทบุรี : 6.1 กม.
    - ม.รังสิต : 7.3 กม.

    ศูนย์การแพทย์

    - รพ.จุฬาภรณ์ : 6.4 กม.
    - รพ.มงกุฎวัฒนะ : 7.8 กม.
    - รพ.บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ : 10.9 กม.
    - รพ.แพทย์รังสิต : 10.9 กม.
    - รพ.วิภาวดี : 14.6 กม.
    - รพ.ภูมิพลอดุลยเดช : 15.0 กม.

    อื่น ๆ

    - ท่าอากาศยานดอนเมือง : 5.1 กม.
    - สถานที่ราชการและอาคารสำนักงาน
    - สำนักงานเขตดอนเมือง : 2.8 กม.
    - ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ : 9.0 กม.

    ----------------------
    สนใจสอบถามข้อมูลที่
    โทร.081-822-6553
    รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์
    ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้
    พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ
    จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    GRENE Don Mueang Song Prapha : คอนโด กรีเน่ สรงประภา เฟส 2 คอนโดตั้งอยู่ในทําเลที่สะดวกต่อการเดินทาง เชื่อมต่อกับถนนสําคัญหลายสาย เช่น ถนนศรีสมาน ถนนวิภาวดีรังสิต ทางด่วนศรีสมาน ดอนเมืองโทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีดอนเมือง นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บนพื้นที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ** จุดเด่น ** คอนโดสไตล์รีสอร์ทใกล้ทะเล Miami มีบรรยากาศรีสอร์ทติดชายฝั่ง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเหมือนได้พักรีสอร์ทหรู คอนโดนี้เป็นอาคารสูง 8 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและบนถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ใกล้กับห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานศึกษา ศูนย์การแพทย์ สถานที่ราชการ และสํานักงานต่างๆ มากมาย ** สิ่งอํานวยความสะดวกภายในโครงการ ** - สระว่ายน้ํา ยาว 29 เมตร - จากุซซี่ - สวนหย่อมแบบรีสอร์ท - ลานเล่นเด็ก - โถงอบไอน้ํา - ลู่วิ่ง ยาว 1 กม. - สนามบาสเกตบอล - ห้องฟิตเนส - ห้องนั่งเล่น - ห้องประชุม - ล็อบบี้ - ตู้ไปรษณีย์ - ห้องซักรีด - ระบบควบคุมการเข้าออกด้วยบัตร - กล้อง CCTV - เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชม. ** สถานที่ใกล้เคียง ** ห้างสรรพสินค้า และตลาด - ตลาดบุญอนันต์ : 250 ม. - Happy Avenue : 550 ม. - ตลาดโอโซนวัน : 850 ม. - ตลาดใหม่ดอนเมือง : 3 กม. - Robinson ศรีสมาน : 4.5 กม. - IT Square : 6.1 กม. - Impact Arena เมืองทองธานี : 6.6 กม. - Lotus’s แจ้งวัฒนะ : 7.2 กม. - The Avenue แจ้งวัฒนะ : 7.3 กม. - Big C แจ้งวัฒนะ : 7.9 กม. - Makro แจ้งวัฒนะ : 8.1 กม. - ตลาดสี่มุมเมือง : 8.8 กม. - CentralPlaza แจ้งวัฒนะ : 9.4 กม. - Future Park Rangsit & Zpell : 14 กม. สถานศึกษา - รร.พระหฤทัยดอนเมือง : 450 ม. - รร.นานาชาติ Harrow : 2.7 กม. - รร.หอวัง : 4.4 กม. - รร.เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ : 5.1 กม. - รร.พระหฤทัย นนทบุรี : 6.1 กม. - ม.รังสิต : 7.3 กม. ศูนย์การแพทย์ - รพ.จุฬาภรณ์ : 6.4 กม. - รพ.มงกุฎวัฒนะ : 7.8 กม. - รพ.บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ : 10.9 กม. - รพ.แพทย์รังสิต : 10.9 กม. - รพ.วิภาวดี : 14.6 กม. - รพ.ภูมิพลอดุลยเดช : 15.0 กม. อื่น ๆ - ท่าอากาศยานดอนเมือง : 5.1 กม. - สถานที่ราชการและอาคารสำนักงาน - สำนักงานเขตดอนเมือง : 2.8 กม. - ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ : 9.0 กม. ---------------------- สนใจสอบถามข้อมูลที่ โทร.081-822-6553 รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้ พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 600 มุมมอง 0 รีวิว
  • กิจกรรมจิบกาแฟแลสยาม“ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน” รวมพลคนรักดนตรี
    บอกเล่าเรื่องราวสุดประทับหัวใจคนไทยผ่านเสียงดนตรี
    ณ หอประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต
    .
    #ThePublisher #จิบกาแฟแลสยาม #ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน
    #ผู้พันเบิร์ด #thaitimes
    กิจกรรมจิบกาแฟแลสยาม“ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน” รวมพลคนรักดนตรี บอกเล่าเรื่องราวสุดประทับหัวใจคนไทยผ่านเสียงดนตรี ณ หอประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต . #ThePublisher #จิบกาแฟแลสยาม #ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน #ผู้พันเบิร์ด #thaitimes
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1159 มุมมอง 325 1 รีวิว
  • กิจกรรมจิบกาแฟแลสยาม“ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน” รวมพลคนรักดนตรี
    บอกเล่าเรื่องราวสุดประทับหัวใจคนไทยผ่านเสียงดนตรี
    ณ หอประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต
    .
    #ThePublisher #จิบกาแฟแลสยาม #ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน
    #ผู้พันเบิร์ด #thaitimes
    กิจกรรมจิบกาแฟแลสยาม“ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน” รวมพลคนรักดนตรี บอกเล่าเรื่องราวสุดประทับหัวใจคนไทยผ่านเสียงดนตรี ณ หอประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต . #ThePublisher #จิบกาแฟแลสยาม #ดนตรีของพระเจ้าแผ่นดิน #ผู้พันเบิร์ด #thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1160 มุมมอง 262 0 รีวิว
  • นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่

    การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี

    นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง

    ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน

    ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน

    ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว

    #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่ การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565 อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 954 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts