• ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 Comments 0 Shares 445 Views 0 Reviews
  • Nvidia ได้ประกาศย้ายฐานการผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ไปยังสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการผลิตภายในประเทศเพื่อรับมือกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ

    ✅ การย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐฯ
    - Nvidia จะผลิตและทดสอบชิป Blackwell และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ในโรงงานที่รัฐแอริโซนาและเท็กซัส
    - โรงงานผลิตครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางฟุต และเริ่มดำเนินการแล้ว
    - คาดว่าจะเริ่มการผลิตจำนวนมากภายใน 12-15 เดือนข้างหน้า

    ✅ ความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่
    - TSMC จะผลิตชิป Blackwell ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา
    - Foxconn และ Wistron จะดูแลการประกอบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในรัฐเท็กซัส
    - Amkor และ SPIL จะรับผิดชอบด้านบรรจุภัณฑ์และการทดสอบชิปในแอริโซนา

    ✅ เป้าหมายการลงทุนและผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
    - Nvidia วางแผนลงทุนสูงถึง 500 พันล้านดอลลาร์ในโครงสร้างพื้นฐาน AI ภายใน 4 ปีข้างหน้า
    - การผลิตในสหรัฐฯ ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานและลดความเสี่ยงจากข้อจำกัดทางการค้า

    ⚠️ ข้อควรระวังและประเด็นที่ต้องติดตาม
    ℹ️ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
    - การย้ายฐานผลิตอาจส่งผลต่อซัพพลายเชนของบริษัทที่พึ่งพาการผลิตในเอเชีย
    - อาจเกิดความท้าทายด้านต้นทุนและการจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตในสหรัฐฯ

    ℹ️ ข้อกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์
    - การตัดสินใจของ Nvidia อาจเป็นผลจากแรงกดดันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
    - อดีตประธานาธิบดีทรัมป์เคยเตือน TSMC ว่าอาจเผชิญภาษีนำเข้าสูงถึง 100% หากไม่ตั้งโรงงานในสหรัฐฯ

    ℹ️ อนาคตของอุตสาหกรรม AI และซูเปอร์คอมพิวเตอร์
    - Nvidia วางแผนสร้าง "AI factories" หรือศูนย์ข้อมูลเฉพาะสำหรับงาน AI ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในอนาคต
    - บริษัทจะใช้แพลตฟอร์ม Omniverse เพื่อสร้างแบบจำลองดิจิทัลของโรงงาน และใช้หุ่นยนต์ Isaac GR00T ในกระบวนการผลิต

    https://www.techspot.com/news/107542-nvidia-shifts-ai-supercomputer-production-us-first-time.html
    Nvidia ได้ประกาศย้ายฐานการผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ไปยังสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการผลิตภายในประเทศเพื่อรับมือกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ✅ การย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐฯ - Nvidia จะผลิตและทดสอบชิป Blackwell และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ในโรงงานที่รัฐแอริโซนาและเท็กซัส - โรงงานผลิตครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางฟุต และเริ่มดำเนินการแล้ว - คาดว่าจะเริ่มการผลิตจำนวนมากภายใน 12-15 เดือนข้างหน้า ✅ ความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ - TSMC จะผลิตชิป Blackwell ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา - Foxconn และ Wistron จะดูแลการประกอบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในรัฐเท็กซัส - Amkor และ SPIL จะรับผิดชอบด้านบรรจุภัณฑ์และการทดสอบชิปในแอริโซนา ✅ เป้าหมายการลงทุนและผลกระทบต่ออุตสาหกรรม - Nvidia วางแผนลงทุนสูงถึง 500 พันล้านดอลลาร์ในโครงสร้างพื้นฐาน AI ภายใน 4 ปีข้างหน้า - การผลิตในสหรัฐฯ ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานและลดความเสี่ยงจากข้อจำกัดทางการค้า ⚠️ ข้อควรระวังและประเด็นที่ต้องติดตาม ℹ️ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ - การย้ายฐานผลิตอาจส่งผลต่อซัพพลายเชนของบริษัทที่พึ่งพาการผลิตในเอเชีย - อาจเกิดความท้าทายด้านต้นทุนและการจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตในสหรัฐฯ ℹ️ ข้อกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ - การตัดสินใจของ Nvidia อาจเป็นผลจากแรงกดดันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน - อดีตประธานาธิบดีทรัมป์เคยเตือน TSMC ว่าอาจเผชิญภาษีนำเข้าสูงถึง 100% หากไม่ตั้งโรงงานในสหรัฐฯ ℹ️ อนาคตของอุตสาหกรรม AI และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ - Nvidia วางแผนสร้าง "AI factories" หรือศูนย์ข้อมูลเฉพาะสำหรับงาน AI ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในอนาคต - บริษัทจะใช้แพลตฟอร์ม Omniverse เพื่อสร้างแบบจำลองดิจิทัลของโรงงาน และใช้หุ่นยนต์ Isaac GR00T ในกระบวนการผลิต https://www.techspot.com/news/107542-nvidia-shifts-ai-supercomputer-production-us-first-time.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Nvidia shifts AI supercomputer production to the US for the first time
    The project spans more than a million square feet of manufacturing space, with operations already underway. Nvidia's Blackwell chips are being produced at TSMC facilities in Phoenix,...
    0 Comments 0 Shares 188 Views 0 Reviews
  • จีนได้ระงับการส่งออกแร่หายาก ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การบิน และการป้องกันประเทศ การตัดสินใจนี้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทในสหรัฐอเมริกา ที่อาจประสบกับการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ

    ✅ จีนระงับการส่งออกแร่หายากและแม่เหล็ก
    - การส่งออกถูกจำกัดตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2025
    - จีนกำลังร่างกรอบกฎหมายใหม่ในการออกใบอนุญาตส่งออก
    - มาตรการนี้มีผลกระทบต่อบริษัทในหลายอุตสาหกรรม

    ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการป้องกันประเทศ
    - แร่หายากใช้ในการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า โดรน หุ่นยนต์ และขีปนาวุธ
    - การขาดแคลนส่งผลต่ออุตสาหกรรมอเมริกัน โดยเฉพาะผู้รับเหมาด้านกลาโหม

    ✅ การตอบสนองของบริษัทต่างประเทศ
    - บางบริษัทเตรียมรับมือกับปัญหานี้โดยสะสมสต็อกแร่ไว้ล่วงหน้า
    - การผลิตแร่หายากนอกประเทศจีน เช่น ในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมนี ยังไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้

    ✅ จีนครองตลาดแร่หายากของโลก
    - จีนผลิตแร่หายากหนัก 99% ของปริมาณทั้งหมดในปี 2023
    - กระบวนการสกัดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง

    ⚠️ ข้อมูลเสริมที่ควรระวัง
    ℹ️ ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
    - การขาดแคลนแร่หายากอาจทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น
    - บริษัทที่พึ่งพาวัสดุจากจีนต้องหาทางเลือกใหม่ เช่น หันไปใช้วัสดุทดแทน

    ℹ️ ข้อกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์
    - การระงับส่งออกครั้งนี้อาจเป็นยุทธศาสตร์ตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ
    - อาจเกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคแร่หายาก

    ℹ️ อนาคตของอุตสาหกรรมแร่หายาก
    - อาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลแม่เหล็กหายากมากขึ้น
    - ประเทศอื่นอาจเร่งพัฒนากำลังการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง

    https://www.techspot.com/news/107534-china-halts-exports-rare-earth-exports-sparking-fears.html
    จีนได้ระงับการส่งออกแร่หายาก ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การบิน และการป้องกันประเทศ การตัดสินใจนี้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทในสหรัฐอเมริกา ที่อาจประสบกับการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ ✅ จีนระงับการส่งออกแร่หายากและแม่เหล็ก - การส่งออกถูกจำกัดตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2025 - จีนกำลังร่างกรอบกฎหมายใหม่ในการออกใบอนุญาตส่งออก - มาตรการนี้มีผลกระทบต่อบริษัทในหลายอุตสาหกรรม ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการป้องกันประเทศ - แร่หายากใช้ในการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า โดรน หุ่นยนต์ และขีปนาวุธ - การขาดแคลนส่งผลต่ออุตสาหกรรมอเมริกัน โดยเฉพาะผู้รับเหมาด้านกลาโหม ✅ การตอบสนองของบริษัทต่างประเทศ - บางบริษัทเตรียมรับมือกับปัญหานี้โดยสะสมสต็อกแร่ไว้ล่วงหน้า - การผลิตแร่หายากนอกประเทศจีน เช่น ในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมนี ยังไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ ✅ จีนครองตลาดแร่หายากของโลก - จีนผลิตแร่หายากหนัก 99% ของปริมาณทั้งหมดในปี 2023 - กระบวนการสกัดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง ⚠️ ข้อมูลเสริมที่ควรระวัง ℹ️ ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก - การขาดแคลนแร่หายากอาจทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น - บริษัทที่พึ่งพาวัสดุจากจีนต้องหาทางเลือกใหม่ เช่น หันไปใช้วัสดุทดแทน ℹ️ ข้อกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ - การระงับส่งออกครั้งนี้อาจเป็นยุทธศาสตร์ตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ - อาจเกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคแร่หายาก ℹ️ อนาคตของอุตสาหกรรมแร่หายาก - อาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลแม่เหล็กหายากมากขึ้น - ประเทศอื่นอาจเร่งพัฒนากำลังการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง https://www.techspot.com/news/107534-china-halts-exports-rare-earth-exports-sparking-fears.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    China halts rare earth exports, sparking fears of shortages in critical industries
    The suspension comes as Beijing drafts a new regulatory framework for issuing export licenses, a process expected to restrict access to these vital materials for specific companies,...
    0 Comments 0 Shares 151 Views 0 Reviews
  • การค้าโลกปั่นป่วน ‘ปธด.โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ’ มุ่งเป้าจัดระเบียบโลกใหม่ /กูรูแนะไทย ใช้กลยุทธ์เจรจาที่มากกว่ามาตรการภาษี วางตำแหน่งของไทยในด้านภูมิรัฐศาสตร์การเมือง รักษาความเป็นมิตรกับทั้งสหรัฐฯและจีน อย่าตกเป็นเครื่องมือถูกนำเข้าไปเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อรวมกลุ่มโจมตีกันและกัน
    การค้าโลกปั่นป่วน ‘ปธด.โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ’ มุ่งเป้าจัดระเบียบโลกใหม่ /กูรูแนะไทย ใช้กลยุทธ์เจรจาที่มากกว่ามาตรการภาษี วางตำแหน่งของไทยในด้านภูมิรัฐศาสตร์การเมือง รักษาความเป็นมิตรกับทั้งสหรัฐฯและจีน อย่าตกเป็นเครื่องมือถูกนำเข้าไปเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อรวมกลุ่มโจมตีกันและกัน
    Like
    Haha
    6
    0 Comments 0 Shares 554 Views 33 0 Reviews
  • พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย

    วันนี้ (9 เมษายน 2568) เวลา 08.30 น. พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    .
    สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นองค์กรเกษตรกร ที่มีสมาชิกกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ขอแสดงจุดยืนใน การคัดค้านการที่รัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เข้าสู่การพิจารณาของ สภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากภายในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นการเปิดทางให้มีการเปิดบ่อนการพนันหรือ กาสิโนอย่างถูกกฎหมาย โดยอ้างเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หารายได้ให้ประเทศ

    นายนคร ศรีวิพัฒน์ เลขาธิการ สมัชชาเกษตรกรรายย่อย กล่าวว่า "สิ่งที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องกำลังรีบเร่งดำเนินการ ดูเป็นการกระทำแบบลุกลี้ลุกลน ละเลยการ เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างรอบด้านและจริงจัง อีกทั้งไม่มีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดต่อ สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านการก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม การล่มสลายของครอบครัวที่มีผู้ติดการพนัน การละเมิดศีลธรรม ฯลฯ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะเกิดต่อประชาชนและสังคม ว่าจะเกิดขึ้นจริง อย่างที่รัฐบาลอ้างหรือไม่ เพียงใด"

    สมัชชาเกษตรกรรายย่อย จึงขอประกาศว่า "จะต่อสู้อย่างถึงที่สุดให้รัฐบาลยุติการผลักดันให้เกิด บ่อนพนันถูกกฎหมาย มิใช่เพียงแค่การเลื่อนการนำเสนอร่างนี้ให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อย่างที่นายกรัฐมนตรีเพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา"

    "สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ขอเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ เข้าร่วมกับมวลมิตรใน สังคมไทย คัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างถึงที่สุด"

    พร้อมกันนี้ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ได้แถลงการณ์ว่า "ตามที่พรรคได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจ สถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. กฎหมายมีเรื่องบ่อนการพนัน หรือ การให้มีกาสิโนอยู่ด้วย รวมทั้งการคัดค้านแก้กฎเกณฑ์เพื่อให้การพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย ประกอบกับกระแสเสียงของ สังคมทั้งภาควิชาการ สถาบันการศึกษา องค์การของขบวนการสหภาพแรงงาน องค์การนักศึกษา สื่อสาร องค์การศาสนาทุกศาสนาต่างแสดงจุดยืนคัดค้านกันทั่วประเทศ แต่รัฐบาลก็ไม่ใส่ใจต่อเสียง คัดค้านจากภาคส่วนต่าง ๆ อ้างเพียงร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้วประมาณ 80,000 คน แสดงความคิดเห็นและมีคนเห็นด้วยประมาณ 57,000 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้แสดง ความคิดเห็น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากการลงลายมือชื่อของประชาชนผ่านองค์กรต่าง ๆ ของภาคประชาชน ที่มีหลายแสนรายชื่อและเสียงคัดค้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แม้กระทั่ง แต่รัฐบาลยังยืนกรานเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายอัปยศนี้โดยผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 และเร่งบรรจุร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 3 เมษายน 2568 แต่เมื่อฝ่ายประชาชนทราบเรื่องต่างก็ ทําแดงพลังด้วยการร่วมกันคัดค้านที่หน้ารัฐสภา จนต้องเลื่อนพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 4 เมษายน 2568 ทวนกระแสคัดค้านของสังคมอย่างน่าละอาย ไม่สนใจแม้กระทั่งการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ตึกถล่ม (เหตุเกิดวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๘ มีคนจำนวนมากกล่าว ว่าเป็นอาเพศของแผ่นดิน) มีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดของประเทศ

    พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (ส.ป.ก.) จึงขอตอกย้ำถึงจุดยืนที่จะคัดค้าน ร่างกฎหมายการ คนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ที่มีเรื่องบ่อนการพนันกาสิโนที่ซุกซ่อนอยู่ในกฎหมายและ คัดค้านการทำพนันออนไลน์ให้ถูกกฎหมาย ซึ่งการออกกฎหมายดังกล่าวรัฐบาลมิได้ดำเนินการให้ประชาชน มีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลก็ไม่เคยแสดง นโยบายต่อประชาชนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาแต่อย่างใด การ ดำเนินการอย่างเร่งรีบของกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และ หลักการที่ถูกต้องในระบอบ ประชาธิปไตย และยังขัดกับจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2564 และยังขัดต่อหลักการสำคัญของ ศาสนาพุทธ และทุกศาสนา ที่สำคัญศาสนาพุทธบัญญัติว่า “การพนันคือหนทางการนำมาซึ่งการเสื่อมเสีย ความวิบัติต่อมนุษยชาติ” โดยหลักที่ถูกต้องในสถานการเช่นนี้รัฐบาลควรปราบปราบการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นภัยร้ายแรงของชาติ แก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ เร่งศึกษาหาทางแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่ เกิดขึ้นจากการขึ้นภาษีของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นสำคัญ พรรคประจำจังหวัดและสมาชิกพรรค ได้ช่วยกันรณรงค์ต่อต้าน คัดค้าน ร่าง ด้วยเหตุนี้

    จึงขอให้สาขาพรรค ตัวแทน พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ........ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศแสดงพลังหยุดกาสิโน หยุดการพนันออนไลน์ หยุดหายนะประเทศ ที่เป็นพิษภัยร้ายแรงของชาติ ที่จะกระทบต่อลูกหลานไทย ในอนาคตให้กว้างขวางที่สุด
    พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย วันนี้ (9 เมษายน 2568) เวลา 08.30 น. พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยและสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โคราช ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 หยุดหายนะประเทศ ! หยุดกาสิโน ! หยุดพนันออนไลน์!สมัชชาเกษตรกรรายย่อย รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ. บ่อนพนันถูกกฎหมาย ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา . สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นองค์กรเกษตรกร ที่มีสมาชิกกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ขอแสดงจุดยืนใน การคัดค้านการที่รัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เข้าสู่การพิจารณาของ สภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากภายในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นการเปิดทางให้มีการเปิดบ่อนการพนันหรือ กาสิโนอย่างถูกกฎหมาย โดยอ้างเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หารายได้ให้ประเทศ นายนคร ศรีวิพัฒน์ เลขาธิการ สมัชชาเกษตรกรรายย่อย กล่าวว่า "สิ่งที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องกำลังรีบเร่งดำเนินการ ดูเป็นการกระทำแบบลุกลี้ลุกลน ละเลยการ เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างรอบด้านและจริงจัง อีกทั้งไม่มีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดต่อ สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านการก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม การล่มสลายของครอบครัวที่มีผู้ติดการพนัน การละเมิดศีลธรรม ฯลฯ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะเกิดต่อประชาชนและสังคม ว่าจะเกิดขึ้นจริง อย่างที่รัฐบาลอ้างหรือไม่ เพียงใด" สมัชชาเกษตรกรรายย่อย จึงขอประกาศว่า "จะต่อสู้อย่างถึงที่สุดให้รัฐบาลยุติการผลักดันให้เกิด บ่อนพนันถูกกฎหมาย มิใช่เพียงแค่การเลื่อนการนำเสนอร่างนี้ให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อย่างที่นายกรัฐมนตรีเพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา" "สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ขอเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ เข้าร่วมกับมวลมิตรใน สังคมไทย คัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างถึงที่สุด" พร้อมกันนี้ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ได้แถลงการณ์ว่า "ตามที่พรรคได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจ สถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. กฎหมายมีเรื่องบ่อนการพนัน หรือ การให้มีกาสิโนอยู่ด้วย รวมทั้งการคัดค้านแก้กฎเกณฑ์เพื่อให้การพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย ประกอบกับกระแสเสียงของ สังคมทั้งภาควิชาการ สถาบันการศึกษา องค์การของขบวนการสหภาพแรงงาน องค์การนักศึกษา สื่อสาร องค์การศาสนาทุกศาสนาต่างแสดงจุดยืนคัดค้านกันทั่วประเทศ แต่รัฐบาลก็ไม่ใส่ใจต่อเสียง คัดค้านจากภาคส่วนต่าง ๆ อ้างเพียงร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้วประมาณ 80,000 คน แสดงความคิดเห็นและมีคนเห็นด้วยประมาณ 57,000 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้แสดง ความคิดเห็น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากการลงลายมือชื่อของประชาชนผ่านองค์กรต่าง ๆ ของภาคประชาชน ที่มีหลายแสนรายชื่อและเสียงคัดค้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แม้กระทั่ง แต่รัฐบาลยังยืนกรานเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายอัปยศนี้โดยผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 และเร่งบรรจุร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 3 เมษายน 2568 แต่เมื่อฝ่ายประชาชนทราบเรื่องต่างก็ ทําแดงพลังด้วยการร่วมกันคัดค้านที่หน้ารัฐสภา จนต้องเลื่อนพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 4 เมษายน 2568 ทวนกระแสคัดค้านของสังคมอย่างน่าละอาย ไม่สนใจแม้กระทั่งการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ตึกถล่ม (เหตุเกิดวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๘ มีคนจำนวนมากกล่าว ว่าเป็นอาเพศของแผ่นดิน) มีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดของประเทศ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (ส.ป.ก.) จึงขอตอกย้ำถึงจุดยืนที่จะคัดค้าน ร่างกฎหมายการ คนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ที่มีเรื่องบ่อนการพนันกาสิโนที่ซุกซ่อนอยู่ในกฎหมายและ คัดค้านการทำพนันออนไลน์ให้ถูกกฎหมาย ซึ่งการออกกฎหมายดังกล่าวรัฐบาลมิได้ดำเนินการให้ประชาชน มีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลก็ไม่เคยแสดง นโยบายต่อประชาชนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาแต่อย่างใด การ ดำเนินการอย่างเร่งรีบของกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และ หลักการที่ถูกต้องในระบอบ ประชาธิปไตย และยังขัดกับจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2564 และยังขัดต่อหลักการสำคัญของ ศาสนาพุทธ และทุกศาสนา ที่สำคัญศาสนาพุทธบัญญัติว่า “การพนันคือหนทางการนำมาซึ่งการเสื่อมเสีย ความวิบัติต่อมนุษยชาติ” โดยหลักที่ถูกต้องในสถานการเช่นนี้รัฐบาลควรปราบปราบการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นภัยร้ายแรงของชาติ แก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ เร่งศึกษาหาทางแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่ เกิดขึ้นจากการขึ้นภาษีของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นสำคัญ พรรคประจำจังหวัดและสมาชิกพรรค ได้ช่วยกันรณรงค์ต่อต้าน คัดค้าน ร่าง ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้สาขาพรรค ตัวแทน พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ........ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศแสดงพลังหยุดกาสิโน หยุดการพนันออนไลน์ หยุดหายนะประเทศ ที่เป็นพิษภัยร้ายแรงของชาติ ที่จะกระทบต่อลูกหลานไทย ในอนาคตให้กว้างขวางที่สุด
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 452 Views 0 Reviews
  • Wicresoft ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Microsoft กับบริษัทในจีน ได้ประกาศหยุดดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ Microsoft พร้อมปลดพนักงานกว่า 2,000 คน โดยเหตุผลสำคัญของการตัดสินใจนี้คือ “การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลก” ซึ่งเกิดจากความตึงเครียดในสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน

    == ผลกระทบต่อ Microsoft และพนักงาน ==
    ✅ ผลต่อพนักงาน: พนักงานในเซี่ยงไฮ้ของ Wicresoft ได้รับแจ้งว่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Microsoft จะถูกยุติ ส่งผลให้มีการเลิกจ้างพนักงานกว่า 2,000 คน ซึ่งถือเป็นการลดศักยภาพในการดำเนินงานในจีนลงอย่างมีนัยสำคัญ

    ✅ สถานะของ Microsoft ในภูมิภาคนี้:
    - แม้ว่า Microsoft จะยังคงถือหุ้น 22% ใน Wicresoft แต่การลดขนาดของธุรกิจในจีนสะท้อนถึงแนวโน้มของการ “แยกตัว” ระหว่างสหรัฐฯ และจีนในด้านเทคโนโลยี
    - Microsoft เคยปิดตัว IoT และ AI Insider Lab ใน Shanghai’s Zhangjiang Hi-Tech Park ก่อนหน้านี้เช่นกัน

    == ปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญ ==
    ✅ แรงกดดันจากสงครามการค้า: ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างสองมหาอำนาจ รวมถึงการตอบโต้ด้านภาษีและนโยบายการควบคุมการส่งออก ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจข้ามประเทศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

    ✅ คำถามในอนาคต: การลดขนาดการดำเนินงานของ Wicresoft สร้างความสงสัยว่า Microsoft จะให้บริการแก่ลูกค้าในจีนอย่างไรในอนาคต

    https://www.techradar.com/pro/microsofts-chinese-joint-venture-set-to-halt-operations-lay-off-staff
    Wicresoft ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Microsoft กับบริษัทในจีน ได้ประกาศหยุดดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ Microsoft พร้อมปลดพนักงานกว่า 2,000 คน โดยเหตุผลสำคัญของการตัดสินใจนี้คือ “การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลก” ซึ่งเกิดจากความตึงเครียดในสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน == ผลกระทบต่อ Microsoft และพนักงาน == ✅ ผลต่อพนักงาน: พนักงานในเซี่ยงไฮ้ของ Wicresoft ได้รับแจ้งว่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Microsoft จะถูกยุติ ส่งผลให้มีการเลิกจ้างพนักงานกว่า 2,000 คน ซึ่งถือเป็นการลดศักยภาพในการดำเนินงานในจีนลงอย่างมีนัยสำคัญ ✅ สถานะของ Microsoft ในภูมิภาคนี้: - แม้ว่า Microsoft จะยังคงถือหุ้น 22% ใน Wicresoft แต่การลดขนาดของธุรกิจในจีนสะท้อนถึงแนวโน้มของการ “แยกตัว” ระหว่างสหรัฐฯ และจีนในด้านเทคโนโลยี - Microsoft เคยปิดตัว IoT และ AI Insider Lab ใน Shanghai’s Zhangjiang Hi-Tech Park ก่อนหน้านี้เช่นกัน == ปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญ == ✅ แรงกดดันจากสงครามการค้า: ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างสองมหาอำนาจ รวมถึงการตอบโต้ด้านภาษีและนโยบายการควบคุมการส่งออก ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจข้ามประเทศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ✅ คำถามในอนาคต: การลดขนาดการดำเนินงานของ Wicresoft สร้างความสงสัยว่า Microsoft จะให้บริการแก่ลูกค้าในจีนอย่างไรในอนาคต https://www.techradar.com/pro/microsofts-chinese-joint-venture-set-to-halt-operations-lay-off-staff
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 126 Views 0 Reviews
  • เปิดประวัติ “คะน้า ริญญารัตน์ วัชรโรจน์สิริ” นักแสดงสาวคนสวยจากวิกหมอชิต หลังสังคมให้ความสนใจ จากกรณีถูกมิจฉาชีพหลอกคบ ขอแต่งงานและสร้างโลกสองใบ จนต้องขอความช่วยเหลือจาก “กัน จอมพลัง”และออกรายการโหนกระแส

    โดย “คะน้า ริญญารัตน์” เป็นนักแสดงสาววัย 32 ปี จากสังกัดช่อง 7 เธอจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และจบปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ สาขาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    คะน้าเริ่มเข้าวงการจากการเดินสายประกวด โดยเวทีแรกคือ Seventeen Ambassador 2012 ต่อด้วย Jaymart Fashionista 2013 ที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศอันดับ 3 ก่อนในปีถัดมาจะลงประกวด Jaymart Miss Mobile 2014 และได้รับตำแหน่งชนะเลิศ พร้อมกับรางวัลพิเศษ Miss Dtac

    จากนั้นในปี พ.ศ. 2557 ก็ได้รับการชักชวนจาก “เป๊ปซี่ พงษ์พัฒน์ พัชรวีระพงษ์” ให้เข้าสู่วงการบันเทิง ก่อนในปี พ.ศ. 2559 จะได้เซ็นสัญญาเข้าเป็นนักแสดงในสังกัดช่อง 7 และได้มีผลงานการแสดงละครเรื่องแรกในชีวิต อย่าง คู่วุ่นลุ้นแผนรัก ตามมาด้วย ทอง 10, เพชรตัดเพชร และอีกมากมาย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000033162

    #MGROnline #โหนกระแส #คะน้าริญญารัตน์
    เปิดประวัติ “คะน้า ริญญารัตน์ วัชรโรจน์สิริ” นักแสดงสาวคนสวยจากวิกหมอชิต หลังสังคมให้ความสนใจ จากกรณีถูกมิจฉาชีพหลอกคบ ขอแต่งงานและสร้างโลกสองใบ จนต้องขอความช่วยเหลือจาก “กัน จอมพลัง”และออกรายการโหนกระแส • โดย “คะน้า ริญญารัตน์” เป็นนักแสดงสาววัย 32 ปี จากสังกัดช่อง 7 เธอจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และจบปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ สาขาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง • คะน้าเริ่มเข้าวงการจากการเดินสายประกวด โดยเวทีแรกคือ Seventeen Ambassador 2012 ต่อด้วย Jaymart Fashionista 2013 ที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศอันดับ 3 ก่อนในปีถัดมาจะลงประกวด Jaymart Miss Mobile 2014 และได้รับตำแหน่งชนะเลิศ พร้อมกับรางวัลพิเศษ Miss Dtac • จากนั้นในปี พ.ศ. 2557 ก็ได้รับการชักชวนจาก “เป๊ปซี่ พงษ์พัฒน์ พัชรวีระพงษ์” ให้เข้าสู่วงการบันเทิง ก่อนในปี พ.ศ. 2559 จะได้เซ็นสัญญาเข้าเป็นนักแสดงในสังกัดช่อง 7 และได้มีผลงานการแสดงละครเรื่องแรกในชีวิต อย่าง คู่วุ่นลุ้นแผนรัก ตามมาด้วย ทอง 10, เพชรตัดเพชร และอีกมากมาย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000033162 • #MGROnline #โหนกระแส #คะน้าริญญารัตน์
    0 Comments 0 Shares 225 Views 0 Reviews
  • เพื่อไทย 888 กาสิโนสุดซอย

    การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดสุดท้าย ก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ในวันที่ 9 เม.ย. ที่จะถึงนี้ วาระที่สังคมกำลังจับตามอง คือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... หรือ เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ที่มีกาสิโนเป็นหลักใหญ่ใจความ หลังจากนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอเลื่อนขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับ 1 พร้อมกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข 4 ฉบับ เสมือนเหล้าพ่วงเบียร์ที่ต้องการบีบให้ สส. ยอมรับเพื่อแลกกับได้พิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างในสภาฯ

    สื่อหลายค่ายรายงานว่า นายใหญ่อย่างอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร บิดา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลโดยตรง ให้ สส.ในพรรคลงมติวาระรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หากพบว่าพรรคไหนแตกแถว ไม่เห็นชอบ จะพิจารณาให้ออกจากรัฐบาลทันที ท่ามกลางเสียง สส.ในสภาฯ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด 319 เสียง พบว่ามีบางพรรคลังเลใจ เช่น พรรคประชาชาติ ที่มี สส.ในสภา 8 คนเป็นชาวมุสลิมจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ยื่นหนังสือถึงประธานวิปรัฐบาล กังวลว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนในเรื่องการละเว้นอบายมุข ตามคำสอนและหลักการของแต่ละศาสนา จึงเห็นควรให้มีบทบัญญัติที่คำนึงถึงหลักการดังกล่าวด้วย

    อย่างไรก็ตาม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์เครือเนชั่น มั่นใจว่าจะผ่านวาระรับหลักการ เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 31 คน เป็นประธานเอง คัดรายชื่อเอง เน้นคนเข้ามาทำงานจริง ตั้งตามจำนวนที่จำเป็น และให้พรรคร่วมรัฐบาลส่งคนที่มีภาพลักษณ์ดีไม่เข้ามาหาประโยชน์ คาดว่าจะเสนอพิจารณาวาระ 2-3 ในเดือน ก.ค.2568 รวมทั้งรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันนโยบาย ตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายฯ ออกกฎหมายลูก อาจเปิดประมูลเพื่อให้เกิดการลงทุนได้ทันทีในรัฐบาลหน้า

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชาวเน็ตต่างแห่ตั้งฉายาพรรคเพื่อไทยว่า "เพื่อไทย 888" ตอบโต้กรณีที่พรรคเพื่อไทยชี้แจงข้อกล่าวหาในการประชุมสภาฯ ว่า กาสิโนมาก่อนแผ่นดินไหวไม่เป็นความจริง อีกด้านหนึ่ง แม้การชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฎิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่ม ศปปส. และกองทัพธรรมยังไม่เป็นข่าวมากนัก แต่ก็พบว่าหลายองค์กรภาคประชาชนทั้งกลุ่มผู้นำทางศาสนา กลุ่มนักวิชาการ นักรัฐศาสตร์ ต่างออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ แม้จะห้ามไม่ได้ที่ฝ่ายรัฐบาลจะผลักดันกฎหมายฉบับนี้แบบสุดซอย ไม่สนใจเสียงคัดค้านก็ตาม

    #Newskit
    เพื่อไทย 888 กาสิโนสุดซอย การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดสุดท้าย ก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ในวันที่ 9 เม.ย. ที่จะถึงนี้ วาระที่สังคมกำลังจับตามอง คือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... หรือ เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ที่มีกาสิโนเป็นหลักใหญ่ใจความ หลังจากนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอเลื่อนขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับ 1 พร้อมกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข 4 ฉบับ เสมือนเหล้าพ่วงเบียร์ที่ต้องการบีบให้ สส. ยอมรับเพื่อแลกกับได้พิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างในสภาฯ สื่อหลายค่ายรายงานว่า นายใหญ่อย่างอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร บิดา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลโดยตรง ให้ สส.ในพรรคลงมติวาระรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร หากพบว่าพรรคไหนแตกแถว ไม่เห็นชอบ จะพิจารณาให้ออกจากรัฐบาลทันที ท่ามกลางเสียง สส.ในสภาฯ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด 319 เสียง พบว่ามีบางพรรคลังเลใจ เช่น พรรคประชาชาติ ที่มี สส.ในสภา 8 คนเป็นชาวมุสลิมจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ยื่นหนังสือถึงประธานวิปรัฐบาล กังวลว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนในเรื่องการละเว้นอบายมุข ตามคำสอนและหลักการของแต่ละศาสนา จึงเห็นควรให้มีบทบัญญัติที่คำนึงถึงหลักการดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์เครือเนชั่น มั่นใจว่าจะผ่านวาระรับหลักการ เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 31 คน เป็นประธานเอง คัดรายชื่อเอง เน้นคนเข้ามาทำงานจริง ตั้งตามจำนวนที่จำเป็น และให้พรรคร่วมรัฐบาลส่งคนที่มีภาพลักษณ์ดีไม่เข้ามาหาประโยชน์ คาดว่าจะเสนอพิจารณาวาระ 2-3 ในเดือน ก.ค.2568 รวมทั้งรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันนโยบาย ตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายฯ ออกกฎหมายลูก อาจเปิดประมูลเพื่อให้เกิดการลงทุนได้ทันทีในรัฐบาลหน้า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชาวเน็ตต่างแห่ตั้งฉายาพรรคเพื่อไทยว่า "เพื่อไทย 888" ตอบโต้กรณีที่พรรคเพื่อไทยชี้แจงข้อกล่าวหาในการประชุมสภาฯ ว่า กาสิโนมาก่อนแผ่นดินไหวไม่เป็นความจริง อีกด้านหนึ่ง แม้การชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฎิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่ม ศปปส. และกองทัพธรรมยังไม่เป็นข่าวมากนัก แต่ก็พบว่าหลายองค์กรภาคประชาชนทั้งกลุ่มผู้นำทางศาสนา กลุ่มนักวิชาการ นักรัฐศาสตร์ ต่างออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ แม้จะห้ามไม่ได้ที่ฝ่ายรัฐบาลจะผลักดันกฎหมายฉบับนี้แบบสุดซอย ไม่สนใจเสียงคัดค้านก็ตาม #Newskit
    Like
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 377 Views 0 Reviews
  • ดีแล้วที่ผมไม่คิดทำแบบไอ้ไฮโซเก๊ แต่จะทำตามฝันและแนวทางของผม ซึ่งผมกำหนดไว้มาตั้งแต่เด็กแล้ว ตั้งแต่โควิดผมเริ่มบาดหมางกับครอบครัวเพราะข้ออ้างของคนในครอบครัว พ่อ แม่ หรือใครก็ตามแต่ ไม่อยากให้ผมกลับไปใช้ชีวิตคนเดียว เอาผมมาให้อยู่ในโอวาท และตีกรอบซะเข้มงวด จนผมเสียเพื่อนดีๆที่เคยร่วมโปรเจคและเป็นส่วนให้โปรเจคเสร็จไปได้สวยไป คือตอนลงวิชาโปรเจคก็โดนเพื่อนคนอื่นเมินไม่สนใจผม ผลักให้ผมต้องทำโปรเจคร่วมกับคนที่ชอบสันโดษไม่เอาไหน แต่สุดท้ายแล้วผมกับครอบครัวไม่ลงรอยกันตั้งแต่ยึดห้องส่วนตัวที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อทำชิ้นงานหรือเล่นเอาอรรถรสเป็นห้องพระ ทั้งๆที่ตั้งโมเด็ม จนผมต้องซึมซับสิ่งที่คนในครอบครัวเสพติด ไม่ว่าละครที่กระดากหู สื่อข่าวรายการที่กระดากโสตประสาท จนทำให้ผมรู้สึกจงเกลียดจงชังพี่หนุ่ม พี่มดดำ ป้าอ้อย ป้าฮอด และคนอื่นๆที่ผมไม่อยากดูรายการเขา เพราะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิตผมและไม่ได้สำคัญอะไรกับชีวิตผมด้วย ผมสำคัญแค่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ยอดอัฉริยะและนักพัฒนาเกมส์ให้ได้ แต่ไม่ได้ว่าร้ายพ่อแม่ตัวเองนะ เพราะไม่อยากขยายเลยเถิดไปทะเลาะกันบ้านพัง ไม่ต้องมากำหนดเป้าหมายและทางเลือกชีวิตผมจะได้ไหมครับ เพราะเดี๋ยวนี้ทางเลือกหาเงินทำอาชีพมีนเยอะมาก ยุคโลกาภิวัฒน์แล้วยังจะหัวโบราณและพยายามให้ผมอยู่ใต้โอวาทอีก ถ้าผมต้องเรียนนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ตามที่ทางครอบครัว คนรอบข้างร้องขอนะ ผมคงต้องพิจารณาเอาใบปริญญาตรีกับชุดครุยไปเผาทำลายในกองขยะเสีย ถ้าผมเปลี่ยนครอบครัวไม่ได้ แต่ครอบครัวเปลี่ยนผมให้แย่กว่าเดิมได้ คิดว่าหวังว่าลูกจะได้ดี ที่ไหนได้ ลูกได้แย่ลงๆเพราะเลี้ยงลูกแบบนี้ไง เสพสื่อท็อกซิกแล้วอุปการะเยี่ยงวัวควายจะเอาแบบนี้ใช่ไหม ถ้าผมต้องทำงานด้านกฎหมายตามที่พวกท่านคาดหวังผมจะต้องเผาเกียร์ เผาเสื้อช็อป เผาใบปริญญา เผาวุฒิวิศวกรรมศาสตร์ เผาครุยสามพระจอมที่สั่งตัดซื้อมา ไม่ใช่แค่ขู่ แต่มาบีบบังคับผมเกินเบอร์เมื่อไหร่ ได้เห็นดีกันแน่
    คนในครอบครัวโดยเฉพาะ พ่อ แม่ พี่สาว หรือใครก็ตามแต่ เสพสื่อขี้ปากไซออนิสต์มากไป เลยคิดให้ผมไปในเส้นทางที่ผมไม่อยากเดิน มีแต่ท็อกซิกล้วนๆ เลยมีทัศนคติที่ไม่ดีกับผมแบบนี้
    ดีแล้วที่ผมไม่คิดทำแบบไอ้ไฮโซเก๊ แต่จะทำตามฝันและแนวทางของผม ซึ่งผมกำหนดไว้มาตั้งแต่เด็กแล้ว ตั้งแต่โควิดผมเริ่มบาดหมางกับครอบครัวเพราะข้ออ้างของคนในครอบครัว พ่อ แม่ หรือใครก็ตามแต่ ไม่อยากให้ผมกลับไปใช้ชีวิตคนเดียว เอาผมมาให้อยู่ในโอวาท และตีกรอบซะเข้มงวด จนผมเสียเพื่อนดีๆที่เคยร่วมโปรเจคและเป็นส่วนให้โปรเจคเสร็จไปได้สวยไป คือตอนลงวิชาโปรเจคก็โดนเพื่อนคนอื่นเมินไม่สนใจผม ผลักให้ผมต้องทำโปรเจคร่วมกับคนที่ชอบสันโดษไม่เอาไหน แต่สุดท้ายแล้วผมกับครอบครัวไม่ลงรอยกันตั้งแต่ยึดห้องส่วนตัวที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อทำชิ้นงานหรือเล่นเอาอรรถรสเป็นห้องพระ ทั้งๆที่ตั้งโมเด็ม จนผมต้องซึมซับสิ่งที่คนในครอบครัวเสพติด ไม่ว่าละครที่กระดากหู สื่อข่าวรายการที่กระดากโสตประสาท จนทำให้ผมรู้สึกจงเกลียดจงชังพี่หนุ่ม พี่มดดำ ป้าอ้อย ป้าฮอด และคนอื่นๆที่ผมไม่อยากดูรายการเขา เพราะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิตผมและไม่ได้สำคัญอะไรกับชีวิตผมด้วย ผมสำคัญแค่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ยอดอัฉริยะและนักพัฒนาเกมส์ให้ได้ แต่ไม่ได้ว่าร้ายพ่อแม่ตัวเองนะ เพราะไม่อยากขยายเลยเถิดไปทะเลาะกันบ้านพัง ไม่ต้องมากำหนดเป้าหมายและทางเลือกชีวิตผมจะได้ไหมครับ เพราะเดี๋ยวนี้ทางเลือกหาเงินทำอาชีพมีนเยอะมาก ยุคโลกาภิวัฒน์แล้วยังจะหัวโบราณและพยายามให้ผมอยู่ใต้โอวาทอีก ถ้าผมต้องเรียนนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ตามที่ทางครอบครัว คนรอบข้างร้องขอนะ ผมคงต้องพิจารณาเอาใบปริญญาตรีกับชุดครุยไปเผาทำลายในกองขยะเสีย ถ้าผมเปลี่ยนครอบครัวไม่ได้ แต่ครอบครัวเปลี่ยนผมให้แย่กว่าเดิมได้ คิดว่าหวังว่าลูกจะได้ดี ที่ไหนได้ ลูกได้แย่ลงๆเพราะเลี้ยงลูกแบบนี้ไง เสพสื่อท็อกซิกแล้วอุปการะเยี่ยงวัวควายจะเอาแบบนี้ใช่ไหม ถ้าผมต้องทำงานด้านกฎหมายตามที่พวกท่านคาดหวังผมจะต้องเผาเกียร์ เผาเสื้อช็อป เผาใบปริญญา เผาวุฒิวิศวกรรมศาสตร์ เผาครุยสามพระจอมที่สั่งตัดซื้อมา ไม่ใช่แค่ขู่ แต่มาบีบบังคับผมเกินเบอร์เมื่อไหร่ ได้เห็นดีกันแน่ คนในครอบครัวโดยเฉพาะ พ่อ แม่ พี่สาว หรือใครก็ตามแต่ เสพสื่อขี้ปากไซออนิสต์มากไป เลยคิดให้ผมไปในเส้นทางที่ผมไม่อยากเดิน มีแต่ท็อกซิกล้วนๆ เลยมีทัศนคติที่ไม่ดีกับผมแบบนี้
    หนุ่มไฮโซเก๊ มีโลกสองใบคู่กรณี “คะน้า ริญญารัตน์” อาศัยช่วงชุลมุน ขณะคุมสอบปากคำ กระโดดจากชั้น 3 ของ สน.โคกคราม

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000033148
    0 Comments 0 Shares 204 Views 0 Reviews
  • "อ.ไชยันต์ -อ.ธงพล" สองนักวิชาการรัฐศาสตร์ จากสถาบันชื่อดัง ลงชิงเก้าอี้ตุลาการศาล รธน. ยังเปิดให้รับสมัครถึงวันที่ 9 เม.ย.

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000032892
    "อ.ไชยันต์ -อ.ธงพล" สองนักวิชาการรัฐศาสตร์ จากสถาบันชื่อดัง ลงชิงเก้าอี้ตุลาการศาล รธน. ยังเปิดให้รับสมัครถึงวันที่ 9 เม.ย. อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000032892
    Like
    Love
    11
    1 Comments 0 Shares 554 Views 0 Reviews
  • รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และที่ปรึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ มองการประกาศขึ้นภาษีโต้กลับนานาประเทศ/ดินแดน ว่า นี่เป็นเกมการทูตอย่างหนึ่งที่เขาใช้คำว่า “การทูตต้นทุนต่ำ”

    “การใช้ภาษีขาเข้า เป็นเครื่องมือต้นทุนต่ำที่สุดของอเมริกา เป็น Low Cost Diplomacy ที่ใช้เพียงลมปาก วาทะ และการเซ็นลงนามคำสั่งพิเศษเพียงไม่กี่แผ่น” รศ.ดร.สมภพ กล่าว

    แต่มันก็มีพลานุภาพแรงสูง สะเทือนไปทั่วโลก เมื่อผู้ใช้คืออเมริกา เพราะทำให้ “ทั้งโลกต้องวิ่งไปหาสหรัฐฯ เพื่อดำเนินนโยบายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับที่อเมริกาต้องการ” ไม่ว่าจะนโยบายเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การเมืองความมั่นคง ภูมิรัฐศาสตร์ สังคม รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน

    “มันเป็นต้นทุนต่ำสำหรับคนดำเนินนโยบาย แต่มันต้นทุนต่ำสำหรับสหรัฐอเมริกา และระดับโลกหรือเปล่า นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” รังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ตั้งข้อสังเกต เพราะต้นทุนที่สูงมันจะมาตกกับตัวสหรัฐฯ และชาวอเมริกันเอง

    อ่านบทวิเคราะห์ ทางนี้ https://www.tnnthailand.com/tnnexclusive/194852/
    รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และที่ปรึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ มองการประกาศขึ้นภาษีโต้กลับนานาประเทศ/ดินแดน ว่า นี่เป็นเกมการทูตอย่างหนึ่งที่เขาใช้คำว่า “การทูตต้นทุนต่ำ” “การใช้ภาษีขาเข้า เป็นเครื่องมือต้นทุนต่ำที่สุดของอเมริกา เป็น Low Cost Diplomacy ที่ใช้เพียงลมปาก วาทะ และการเซ็นลงนามคำสั่งพิเศษเพียงไม่กี่แผ่น” รศ.ดร.สมภพ กล่าว แต่มันก็มีพลานุภาพแรงสูง สะเทือนไปทั่วโลก เมื่อผู้ใช้คืออเมริกา เพราะทำให้ “ทั้งโลกต้องวิ่งไปหาสหรัฐฯ เพื่อดำเนินนโยบายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับที่อเมริกาต้องการ” ไม่ว่าจะนโยบายเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การเมืองความมั่นคง ภูมิรัฐศาสตร์ สังคม รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน “มันเป็นต้นทุนต่ำสำหรับคนดำเนินนโยบาย แต่มันต้นทุนต่ำสำหรับสหรัฐอเมริกา และระดับโลกหรือเปล่า นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” รังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ตั้งข้อสังเกต เพราะต้นทุนที่สูงมันจะมาตกกับตัวสหรัฐฯ และชาวอเมริกันเอง อ่านบทวิเคราะห์ ทางนี้ https://www.tnnthailand.com/tnnexclusive/194852/
    WWW.TNNTHAILAND.COM
    ทรัมป์ขึ้นภาษี ไทย-โลก เจาะลึกอาวุธต้นทุนต่ำของผู้นำสหรัฐฯ ที่ใช้เพียงคำพูด-ปากกา บีบโลกสยบยอม
    การขึ้นภาษีต่างตอบแทน ตอบโต้หลายสิบประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยของโดนัลด์ ทรัมป์ คือการเดิมพันครั้งใหญ่ที่ใช้ต้นทุนแสนต่ำ เพียงคำพูด วาทะ และปลายปากกาเซ็นเอกสารไม่กี่ฉบับ
    0 Comments 0 Shares 254 Views 0 Reviews
  • สถานการณ์ของสงครามการค้าโลกในปัจจุบันยังคงมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีทั้งแนวโน้มที่ดีขึ้นและความท้าทายที่ยังคงอยู่ ดังนี้

    ### 1. **แนวโน้มที่ดีขึ้น**
    - **การลดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน**:
    แม้สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะยังไม่สิ้นสุด แต่ทั้งสองฝ่ายเริ่มหันมาเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีเพิ่มเติม เช่น การยกเลิกภาษีบางส่วนในสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การประชุมระดับสูงระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศในช่วงปลายปี 2022-2023 ช่วยฟื้นฟูช่องทางการสื่อสาร แม้จะยังไม่มีการแก้ไขข้อพิพาทหลัก เช่น ปัญหาไต้หวันหรือการจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง

    - **ความร่วมมือระดับภูมิภาค**:
    ความตกลงทางการค้าในรูปแบบภูมิภาคขยายตัว เช่น **RCEP** (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค) ในเอเชีย-แปซิฟิก และ **AfCFTA** (เขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา) ซึ่งช่วยกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาค แทนการพึ่งพาตลาดโลกเพียงอย่างเดียว

    - **นโยบายการค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม**:
    หลายประเทศเริ่มผนวกเป้าหมายสิ่งแวดล้อมเข้ากับนโยบายการค้า เช่น สหภาพยุโรป推行 **CBAM** (มาตรการปรับคาร์บอนชายแดน) เพื่อส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน แม้อาจก่อความขัดแย้งใหม่ แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างมาตรฐานสากลร่วมกัน

    ---

    ### 2. **ความท้าทายที่ยังคงอยู่**
    - **การแข่งขันทางเทคโนโลยีและการแยกห่วงโซ่อุปทาน**:
    สหรัฐฯ ยังคงจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูง (เช่น ชิปเซมิคอนดักเตอร์) ไปยังจีน ขณะที่จีนพยายามสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีของตนเอง (เช่น การพัฒนาชิปด้วยเทคโนโลยี 7 นาโนเมตรของ Huawei) ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานโลกแตกออกเป็น "สองขั้ว" (Tech Decoupling)

    - **ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์**:
    สงครามยูเครน-รัสเซียและความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ยังส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานและเส้นทางการค้า รวมถึงกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ หันมาเก็บกักเสบียงอาหารและทรัพยากร стратеติกมากขึ้น

    - **ความอ่อนแอของระบบพหุภาคี**:
    องค์การการค้าโลก (WTO) ยังไม่สามารถปฏิรูปกลไกระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body) ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ขาดกลไกกลางในการจัดการความขัดแย้งทางการค้า

    ---

    ### 3. **ทิศทางในอนาคต**
    - **เศรษฐกิจโลกอาจแบ่งเป็น "บล็อก"**:
    การค้าโลกกำลังเคลื่อนไปสู่รูปแบบ "friend-shoring" (การผลิตในประเทศพันธมิตร) และ "near-shoring" (การผลิตในประเทศใกล้เคียง) เพื่อลดความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่เพิ่มความยืดหยุ่นให้ห่วงโซ่อุปทาน

    - **การค้าดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว**:
    การเติบโตของการค้าอิเล็กทรอนิกส์และมาตรการลดคาร์บอนจะเป็นตัวขับเคลื่อนใหม่ของระบบการค้าโลก แม้อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทเรื่องกฎระเบียบระหว่างประเทศ

    ---

    ### สรุป
    สถานการณ์สงครามการค้าโลกมีทั้งพัฒนาการในทางที่ดี เช่น การเจรจาเพื่อลดความขัดแย้งและการขยายความร่วมมือระดับภูมิภาค แต่ก็ยังมีแรงกดดันจากความแข่งขันทางเทคโนโลยี ภูมิรัฐศาสตร์ และการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งอาจทำให้การค้าโลกไม่กลับสู่รูปแบบเดิมอีกต่อไป แต่ปรับตัวสู่ระบบที่ "แบ่งกลุ่มแต่เชื่อมโยง" มากขึ้นภายใต้ความไม่แน่นอนสูง
    สถานการณ์ของสงครามการค้าโลกในปัจจุบันยังคงมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีทั้งแนวโน้มที่ดีขึ้นและความท้าทายที่ยังคงอยู่ ดังนี้ ### 1. **แนวโน้มที่ดีขึ้น** - **การลดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน**: แม้สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะยังไม่สิ้นสุด แต่ทั้งสองฝ่ายเริ่มหันมาเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีเพิ่มเติม เช่น การยกเลิกภาษีบางส่วนในสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การประชุมระดับสูงระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศในช่วงปลายปี 2022-2023 ช่วยฟื้นฟูช่องทางการสื่อสาร แม้จะยังไม่มีการแก้ไขข้อพิพาทหลัก เช่น ปัญหาไต้หวันหรือการจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง - **ความร่วมมือระดับภูมิภาค**: ความตกลงทางการค้าในรูปแบบภูมิภาคขยายตัว เช่น **RCEP** (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค) ในเอเชีย-แปซิฟิก และ **AfCFTA** (เขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา) ซึ่งช่วยกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาค แทนการพึ่งพาตลาดโลกเพียงอย่างเดียว - **นโยบายการค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม**: หลายประเทศเริ่มผนวกเป้าหมายสิ่งแวดล้อมเข้ากับนโยบายการค้า เช่น สหภาพยุโรป推行 **CBAM** (มาตรการปรับคาร์บอนชายแดน) เพื่อส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน แม้อาจก่อความขัดแย้งใหม่ แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างมาตรฐานสากลร่วมกัน --- ### 2. **ความท้าทายที่ยังคงอยู่** - **การแข่งขันทางเทคโนโลยีและการแยกห่วงโซ่อุปทาน**: สหรัฐฯ ยังคงจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูง (เช่น ชิปเซมิคอนดักเตอร์) ไปยังจีน ขณะที่จีนพยายามสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีของตนเอง (เช่น การพัฒนาชิปด้วยเทคโนโลยี 7 นาโนเมตรของ Huawei) ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานโลกแตกออกเป็น "สองขั้ว" (Tech Decoupling) - **ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์**: สงครามยูเครน-รัสเซียและความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ยังส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานและเส้นทางการค้า รวมถึงกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ หันมาเก็บกักเสบียงอาหารและทรัพยากร стратеติกมากขึ้น - **ความอ่อนแอของระบบพหุภาคี**: องค์การการค้าโลก (WTO) ยังไม่สามารถปฏิรูปกลไกระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body) ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ขาดกลไกกลางในการจัดการความขัดแย้งทางการค้า --- ### 3. **ทิศทางในอนาคต** - **เศรษฐกิจโลกอาจแบ่งเป็น "บล็อก"**: การค้าโลกกำลังเคลื่อนไปสู่รูปแบบ "friend-shoring" (การผลิตในประเทศพันธมิตร) และ "near-shoring" (การผลิตในประเทศใกล้เคียง) เพื่อลดความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่เพิ่มความยืดหยุ่นให้ห่วงโซ่อุปทาน - **การค้าดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว**: การเติบโตของการค้าอิเล็กทรอนิกส์และมาตรการลดคาร์บอนจะเป็นตัวขับเคลื่อนใหม่ของระบบการค้าโลก แม้อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทเรื่องกฎระเบียบระหว่างประเทศ --- ### สรุป สถานการณ์สงครามการค้าโลกมีทั้งพัฒนาการในทางที่ดี เช่น การเจรจาเพื่อลดความขัดแย้งและการขยายความร่วมมือระดับภูมิภาค แต่ก็ยังมีแรงกดดันจากความแข่งขันทางเทคโนโลยี ภูมิรัฐศาสตร์ และการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งอาจทำให้การค้าโลกไม่กลับสู่รูปแบบเดิมอีกต่อไป แต่ปรับตัวสู่ระบบที่ "แบ่งกลุ่มแต่เชื่อมโยง" มากขึ้นภายใต้ความไม่แน่นอนสูง
    0 Comments 0 Shares 517 Views 0 Reviews
  • การลงทุนในทองคำช่วงนี้มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลายด้าน ทั้งในแง่บวกและลบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มราคาทองคำ มาดูรายละเอียดกัน:

    ### **ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนทองคำช่วงนี้**
    1. **ภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน**
    - ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว วิกฤตการเงิน หรือความขัดแย้งทางการเมือง อาจส่งผลให้นักลงทุน转向ไปสู่ทองคำซึ่งเป็น Safe Haven Asset
    - หากตลาดหุ้นผันผวนหรือเกิดวิกฤต ทองคำมักได้รับความนิยมมากขึ้น

    2. **อัตราดอกเบี้ยและนโยบายของ Fed**
    - หาก Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ยหรือเริ่มลดดอกเบี้ยในปี 2024-2025 เงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาทองคำ (ซึ่งซื้อขายด้วย USD) มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
    - ตลาดคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อทองคำ

    3. **ความต้องการทองคำจากประเทศกำลังพัฒนา**
    - ธนาคารกลางหลายประเทศ (เช่น จีน, รัสเซีย, อินเดีย) ยังคงสะสมทองคำเป็นทุนสำรอง สนับสนุนราคาทองในระยะยาว

    4. **เงินเฟ้อและค่าครองชีพ**
    - ทองคำมักทำหน้าที่เป็นเครื่องป้องกัน (Hedge) ต่อเงินเฟ้อ หากภาวะเงินเฟ้อยังสูง ทองคำอาจเป็นทางเลือกที่ดี

    ---

    ### **ปัจจัยที่ต้องระวัง**
    1. **เงินดอลลาร์แข็งค่า**
    - หาก USD แข็งตัวจากเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งหรือ Fed ยังขึ้นดอกเบี้ยต่อ ราคาทองคำอาจถูกกดดัน

    2. **ตลาดหุ้นและความเสี่ยงอื่นๆ**
    - หากตลาดหุ้นดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนอาจลดการถือทองคำลง

    3. **ความผันผวนในระยะสั้น**
    - ราคาทองคำอาจปรับตัวลงชั่วคราวจากปัจจัยทางเทคนิคหรือข่าวเศรษฐกิจ

    ---

    ### **สรุป: ควรลงทุนทองคำตอนนี้ไหม?**
    - **ระยะยาว (Hold)** → **เหมาะ** เพราะทองคำเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังไม่แน่นอน
    - **ระยะสั้น (เทรด)** → ต้องติดตามปัจจัยหลัก เช่น นโยบาย Fed, ดอลลาร์, และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

    **คำแนะนำเพิ่มเติม:**
    - **Diversify** ไม่ควรลงทุนทองคำ 100% ของพอร์ต แต่แบ่งสัดส่วน (เช่น 5-15%)
    - **รูปแบบการลงทุน**
    - **ทองคำรูปพรรณ** เหมาะสำหรับถือยาว แต่ต้องคำนึงถึงส่วนต่างราคา (Premium)
    - **ทองคำ ETF (เช่น GLD)** หรือ **สัญญาซื้อขายล่วงหน้า** สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องสูง
    - **เหมืองทองคำ (หุ้น)** ให้ความได้เปรียบจาก Leverage Effect แต่มีความเสี่ยงเพิ่ม

    หากคุณต้องการลงทุน ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและพิจารณาตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ครับ! 📊🚀
    การลงทุนในทองคำช่วงนี้มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลายด้าน ทั้งในแง่บวกและลบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มราคาทองคำ มาดูรายละเอียดกัน: ### **ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนทองคำช่วงนี้** 1. **ภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน** - ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว วิกฤตการเงิน หรือความขัดแย้งทางการเมือง อาจส่งผลให้นักลงทุน转向ไปสู่ทองคำซึ่งเป็น Safe Haven Asset - หากตลาดหุ้นผันผวนหรือเกิดวิกฤต ทองคำมักได้รับความนิยมมากขึ้น 2. **อัตราดอกเบี้ยและนโยบายของ Fed** - หาก Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ยหรือเริ่มลดดอกเบี้ยในปี 2024-2025 เงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาทองคำ (ซึ่งซื้อขายด้วย USD) มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น - ตลาดคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อทองคำ 3. **ความต้องการทองคำจากประเทศกำลังพัฒนา** - ธนาคารกลางหลายประเทศ (เช่น จีน, รัสเซีย, อินเดีย) ยังคงสะสมทองคำเป็นทุนสำรอง สนับสนุนราคาทองในระยะยาว 4. **เงินเฟ้อและค่าครองชีพ** - ทองคำมักทำหน้าที่เป็นเครื่องป้องกัน (Hedge) ต่อเงินเฟ้อ หากภาวะเงินเฟ้อยังสูง ทองคำอาจเป็นทางเลือกที่ดี --- ### **ปัจจัยที่ต้องระวัง** 1. **เงินดอลลาร์แข็งค่า** - หาก USD แข็งตัวจากเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งหรือ Fed ยังขึ้นดอกเบี้ยต่อ ราคาทองคำอาจถูกกดดัน 2. **ตลาดหุ้นและความเสี่ยงอื่นๆ** - หากตลาดหุ้นดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนอาจลดการถือทองคำลง 3. **ความผันผวนในระยะสั้น** - ราคาทองคำอาจปรับตัวลงชั่วคราวจากปัจจัยทางเทคนิคหรือข่าวเศรษฐกิจ --- ### **สรุป: ควรลงทุนทองคำตอนนี้ไหม?** - **ระยะยาว (Hold)** → **เหมาะ** เพราะทองคำเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังไม่แน่นอน - **ระยะสั้น (เทรด)** → ต้องติดตามปัจจัยหลัก เช่น นโยบาย Fed, ดอลลาร์, และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ **คำแนะนำเพิ่มเติม:** - **Diversify** ไม่ควรลงทุนทองคำ 100% ของพอร์ต แต่แบ่งสัดส่วน (เช่น 5-15%) - **รูปแบบการลงทุน** - **ทองคำรูปพรรณ** เหมาะสำหรับถือยาว แต่ต้องคำนึงถึงส่วนต่างราคา (Premium) - **ทองคำ ETF (เช่น GLD)** หรือ **สัญญาซื้อขายล่วงหน้า** สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องสูง - **เหมืองทองคำ (หุ้น)** ให้ความได้เปรียบจาก Leverage Effect แต่มีความเสี่ยงเพิ่ม หากคุณต้องการลงทุน ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและพิจารณาตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ครับ! 📊🚀
    0 Comments 0 Shares 518 Views 0 Reviews
  • TSMC กำลังขยายการผลิตมายังสหรัฐฯ โดยเพิ่มต้นทุนการผลิตเพียง 10% และใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อลดความจำเป็นในการใช้แรงงาน แม้ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่บริษัทอาจตั้งราคาชิปพรีเมียมในตลาดเพื่อรองรับค่าใช้จ่าย การลงทุนครั้งนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในการลดการพึ่งพาแหล่งผลิตในเอเชียและสร้างความสมดุลด้านภูมิรัฐศาสตร์

    ต้นทุนที่แตกต่างเล็กน้อย:
    - การศึกษาโดย TechInsights แสดงว่าต้นทุนการผลิตในโรงงานสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ต้นทุนแรงงานจะสูงขึ้นถึง 200% แต่การใช้ระบบอัตโนมัติช่วยลดความจำเป็นในการใช้แรงงานจำนวนมาก.

    การลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูง:
    - กว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายในการผลิตแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาจากเครื่องจักรที่ใช้กระบวนการทางแสงและเคมีขั้นสูง ซึ่งมีราคาเท่ากันทั้งในสหรัฐฯ และไต้หวัน.

    แผนกำหนดราคาชิป:
    - TSMC อาจตั้งราคาพรีเมียมเพิ่มขึ้น 30% สำหรับชิปที่ผลิตในสหรัฐฯ เพื่อรองรับต้นทุนที่สูงขึ้น.

    การตอบสนองต่อข้อกล่าวหา:
    - การลงทุนในสหรัฐฯ ทำให้ TSMC ถูกตั้งข้อสงสัยจากจีนว่ากำลัง "ขายธุรกิจ" ให้กับวอชิงตัน เพื่อสร้างความสนับสนุนทางการเมืองในพื้นที่ที่มีข้อขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์.

    https://www.techspot.com/news/107291-tsmc-spends-10-more-silicon-wafers-manufactured-usa.html
    TSMC กำลังขยายการผลิตมายังสหรัฐฯ โดยเพิ่มต้นทุนการผลิตเพียง 10% และใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อลดความจำเป็นในการใช้แรงงาน แม้ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่บริษัทอาจตั้งราคาชิปพรีเมียมในตลาดเพื่อรองรับค่าใช้จ่าย การลงทุนครั้งนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในการลดการพึ่งพาแหล่งผลิตในเอเชียและสร้างความสมดุลด้านภูมิรัฐศาสตร์ ต้นทุนที่แตกต่างเล็กน้อย: - การศึกษาโดย TechInsights แสดงว่าต้นทุนการผลิตในโรงงานสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ต้นทุนแรงงานจะสูงขึ้นถึง 200% แต่การใช้ระบบอัตโนมัติช่วยลดความจำเป็นในการใช้แรงงานจำนวนมาก. การลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูง: - กว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายในการผลิตแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาจากเครื่องจักรที่ใช้กระบวนการทางแสงและเคมีขั้นสูง ซึ่งมีราคาเท่ากันทั้งในสหรัฐฯ และไต้หวัน. แผนกำหนดราคาชิป: - TSMC อาจตั้งราคาพรีเมียมเพิ่มขึ้น 30% สำหรับชิปที่ผลิตในสหรัฐฯ เพื่อรองรับต้นทุนที่สูงขึ้น. การตอบสนองต่อข้อกล่าวหา: - การลงทุนในสหรัฐฯ ทำให้ TSMC ถูกตั้งข้อสงสัยจากจีนว่ากำลัง "ขายธุรกิจ" ให้กับวอชิงตัน เพื่อสร้างความสนับสนุนทางการเมืองในพื้นที่ที่มีข้อขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์. https://www.techspot.com/news/107291-tsmc-spends-10-more-silicon-wafers-manufactured-usa.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    TSMC spends just 10% more on silicon wafers manufactured in the USA than in Taiwan fabs
    How much does it cost TSMC to start up its new chip-manufacturing plants on US soil? According to a new study by TechInsights, the total amount is...
    0 Comments 0 Shares 270 Views 0 Reviews
  • 26 มีนาคม 2568-ศ.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์บทวิเคราะห์น่าสนใจว่า"ทางสองแพร่งการเมืองไทย"หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ตลอด 92 ปี เรามีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง ถ้าเทียบกับรัฐประหารทั่วโลก พบว่า ในศตวรรษที่ยี่สิบ ไทยเป็นประเทศที่ทำรัฐประหารเป็นอันดับสองของโลก อันดับหนึ่งคือ อาร์เจนตินา และ กรีซ ในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด อาร์เจนตินาและกรีซ ไม่ทำรัฐประหาร แต่ไทยยังอยู่ในอันดับต้นๆ นั่นคือ อันดับสามของโลกถ้าเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เราก็ยังเป็นประเทศที่ทำรัฐประหารมากที่สุดอยู่ดี นั่นคือ แพร่งแรก คือ แพร่งรัฐประหาร----------------- แต่ในอีกมุมหนึ่ง แม้ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนจะทำรัฐประหารน้อยกว่าไทยมาก หรือบางประเทศไม่มีรัฐประหารเลย แต่ปรากฏการณ์ที่น่าสังเกตคือ ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีผู้นำที่อยู่ในอำนาจยาวนานมาก (ดูรูปแนบ: นับถึง ปี ค.ศ. 2021 และในกรณีของพม่า หากนับช่วงเวลาของนายพลเนวิน จะต้องบวกไปอีก 25 ปี)ในขณะที่ไทยเรา แม้ว่าจะมีรัฐประหารมากที่สุด แต่ผู้นำไทยกลับไม่ได้อยู่ในอำนาจยาวนานเหมือนประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีสองช่วง รวมแล้วประมาณ 15 ปีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีสามช่วง รวมแล้ว 11 ปี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีสองช่วง รวมแล้ว 9 ปีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี 8 ปี ผู้นำไทยที่อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุด ก็ยังน้อยกว่าผู้นำที่อยู่ในอำนาจยาวนานในอาเซียน (ดูรูป)---------------------------- การเปลี่ยนรัฐบาลโดยการทำรัฐประหารย่อมไม่ใช่วิธีการที่จะสร้างการเมืองให้มั่นคงและมีเสถียรภาพในระยะยาวได้แต่การทำรัฐประหารทำให้ผู้นำไทยไม่สามารถอยู่ในอำนาจยาวนานเหมือนผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน------------ ผู้เขียนเชื่อว่า หลังจากรัฐประหาร 22 พฤษภาฯ 2557 ประเทศเราจะปลอดจากการทำรัฐประหารตลอดไปแต่ก็น่าคิดว่า การเมืองไทยอาจจะต้องเข้าสู่แพร่งที่สอง เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ ?นั่นคือ มีผู้นำหรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งที่เป็นรัฐบาลสืบเนื่องยาวนาน แต่ถ้าไทยไม่ต้องตกอยู่ในแพร่งที่สองดังกล่าว และพรรคการเมืองผลัดเปลี่ยนเป็นรัฐบาล ก็แปลว่า การเมืองไทยหลุดออกจากทางสองแพร่งที่ว่านี้ได้————-
    26 มีนาคม 2568-ศ.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์บทวิเคราะห์น่าสนใจว่า"ทางสองแพร่งการเมืองไทย"หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ตลอด 92 ปี เรามีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง ถ้าเทียบกับรัฐประหารทั่วโลก พบว่า ในศตวรรษที่ยี่สิบ ไทยเป็นประเทศที่ทำรัฐประหารเป็นอันดับสองของโลก อันดับหนึ่งคือ อาร์เจนตินา และ กรีซ ในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด อาร์เจนตินาและกรีซ ไม่ทำรัฐประหาร แต่ไทยยังอยู่ในอันดับต้นๆ นั่นคือ อันดับสามของโลกถ้าเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เราก็ยังเป็นประเทศที่ทำรัฐประหารมากที่สุดอยู่ดี นั่นคือ แพร่งแรก คือ แพร่งรัฐประหาร----------------- แต่ในอีกมุมหนึ่ง แม้ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนจะทำรัฐประหารน้อยกว่าไทยมาก หรือบางประเทศไม่มีรัฐประหารเลย แต่ปรากฏการณ์ที่น่าสังเกตคือ ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีผู้นำที่อยู่ในอำนาจยาวนานมาก (ดูรูปแนบ: นับถึง ปี ค.ศ. 2021 และในกรณีของพม่า หากนับช่วงเวลาของนายพลเนวิน จะต้องบวกไปอีก 25 ปี)ในขณะที่ไทยเรา แม้ว่าจะมีรัฐประหารมากที่สุด แต่ผู้นำไทยกลับไม่ได้อยู่ในอำนาจยาวนานเหมือนประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีสองช่วง รวมแล้วประมาณ 15 ปีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีสามช่วง รวมแล้ว 11 ปี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีสองช่วง รวมแล้ว 9 ปีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี 8 ปี ผู้นำไทยที่อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุด ก็ยังน้อยกว่าผู้นำที่อยู่ในอำนาจยาวนานในอาเซียน (ดูรูป)---------------------------- การเปลี่ยนรัฐบาลโดยการทำรัฐประหารย่อมไม่ใช่วิธีการที่จะสร้างการเมืองให้มั่นคงและมีเสถียรภาพในระยะยาวได้แต่การทำรัฐประหารทำให้ผู้นำไทยไม่สามารถอยู่ในอำนาจยาวนานเหมือนผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน------------ ผู้เขียนเชื่อว่า หลังจากรัฐประหาร 22 พฤษภาฯ 2557 ประเทศเราจะปลอดจากการทำรัฐประหารตลอดไปแต่ก็น่าคิดว่า การเมืองไทยอาจจะต้องเข้าสู่แพร่งที่สอง เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ ?นั่นคือ มีผู้นำหรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งที่เป็นรัฐบาลสืบเนื่องยาวนาน แต่ถ้าไทยไม่ต้องตกอยู่ในแพร่งที่สองดังกล่าว และพรรคการเมืองผลัดเปลี่ยนเป็นรัฐบาล ก็แปลว่า การเมืองไทยหลุดออกจากทางสองแพร่งที่ว่านี้ได้————-
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 299 Views 0 Reviews
  • ผลสำรวจใหม่จาก PwC เผยให้เห็นว่าทั้งนักลงทุนและผู้บริหารทั่วโลกมีความหวังต่ออนาคตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและการเติบโตทางธุรกิจ

    จากการสำรวจ พบว่า 74% ของนักลงทุนมองว่า AI โดยเฉพาะ Generative AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร และ 61% ของ CEO ทั่วโลกยังเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตจากการนำ AI มาใช้งาน พวกเขายังมองว่า AI มีศักยภาพในด้านการขยายธุรกิจ การวัด ROI การสร้างมุมมองที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อพนักงาน

    สิ่งที่น่าสนใจคือ นักลงทุนนั้นต้องการเห็นการพัฒนาทักษะของพนักงานควบคู่ไปกับการนำ AI มาใช้ โดย 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการพัฒนาทักษะของบุคลากรสำคัญมากกว่าการติดตั้ง AI ในวงกว้าง เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์ในยุคที่ AI ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

    อย่างไรก็ตาม ความกังวลยังคงมีอยู่ เช่น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ (39%) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (35%) และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (34%) แต่นักลงทุนส่วนใหญ่เห็นว่าการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนและการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นก็เป็นประเด็นสำคัญ

    ทิศทางนี้ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่เพียงเน้นด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนและกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาว

    https://www.techradar.com/pro/business-investors-are-positive-about-ais-impact-on-the-economy
    ผลสำรวจใหม่จาก PwC เผยให้เห็นว่าทั้งนักลงทุนและผู้บริหารทั่วโลกมีความหวังต่ออนาคตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและการเติบโตทางธุรกิจ จากการสำรวจ พบว่า 74% ของนักลงทุนมองว่า AI โดยเฉพาะ Generative AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร และ 61% ของ CEO ทั่วโลกยังเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตจากการนำ AI มาใช้งาน พวกเขายังมองว่า AI มีศักยภาพในด้านการขยายธุรกิจ การวัด ROI การสร้างมุมมองที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อพนักงาน สิ่งที่น่าสนใจคือ นักลงทุนนั้นต้องการเห็นการพัฒนาทักษะของพนักงานควบคู่ไปกับการนำ AI มาใช้ โดย 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการพัฒนาทักษะของบุคลากรสำคัญมากกว่าการติดตั้ง AI ในวงกว้าง เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์ในยุคที่ AI ขยายตัวอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ความกังวลยังคงมีอยู่ เช่น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ (39%) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (35%) และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (34%) แต่นักลงทุนส่วนใหญ่เห็นว่าการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนและการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นก็เป็นประเด็นสำคัญ ทิศทางนี้ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่เพียงเน้นด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนและกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาว https://www.techradar.com/pro/business-investors-are-positive-about-ais-impact-on-the-economy
    WWW.TECHRADAR.COM
    Business investors are positive about AI’s impact on the economy
    Investors and CEOs anticipate economic growth, fuelled by AI
    0 Comments 0 Shares 306 Views 0 Reviews
  • ข่าวนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อตกลงล่าสุดที่ Samsung Electronics ทำกับ Yangtze Memory Technologies Co. (YMTC) บริษัทจีนที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี NAND flash memory โดย Samsung ได้สิทธิ์ใช้เทคโนโลยี hybrid bonding ของ YMTC เพื่อผลิต NAND memory รุ่น 400-layer ซึ่งเป็นนวัตกรรมสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการเก็บข้อมูล

    เหตุผลและผลกระทบของข้อตกลง
    - ป้องกันการละเมิดสิทธิบัตร: YMTC ได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยี hybrid bonding ซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาชิป NAND flash รุ่นใหม่ ข้อตกลงนี้ช่วยลดความเสี่ยงด้านกฎหมายในกรณีพิพาทสิทธิบัตร
    - การแข่งขันเทคโนโลยีที่รุนแรง: แม้ YMTC จะมีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า Samsung และ SK Hynix บริษัทเกาหลีใต้อื่น ๆ แต่เทคโนโลยีของ YMTC กำลังพัฒนาใกล้เคียงคู่แข่งและได้เริ่มผลิต NAND memory แบบ 294-layer แล้ว
    - ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์: ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจส่งผลให้ YMTC พบอุปสรรคในการขายสินค้านอกประเทศจีน การทำข้อตกลงจึงอาจเป็นการร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

    เทคโนโลยี hybrid bonding ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลใน NAND flash ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญในยุคที่ความต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น เช่น สมาร์ทโฟน ดาต้าเซ็นเตอร์ และ SSD

    https://www.techradar.com/pro/well-thats-unexpected-samsung-will-team-with-its-fiercest-chinese-rival-to-produce-next-gen-nand-flash
    ข่าวนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อตกลงล่าสุดที่ Samsung Electronics ทำกับ Yangtze Memory Technologies Co. (YMTC) บริษัทจีนที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี NAND flash memory โดย Samsung ได้สิทธิ์ใช้เทคโนโลยี hybrid bonding ของ YMTC เพื่อผลิต NAND memory รุ่น 400-layer ซึ่งเป็นนวัตกรรมสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการเก็บข้อมูล เหตุผลและผลกระทบของข้อตกลง - ป้องกันการละเมิดสิทธิบัตร: YMTC ได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยี hybrid bonding ซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาชิป NAND flash รุ่นใหม่ ข้อตกลงนี้ช่วยลดความเสี่ยงด้านกฎหมายในกรณีพิพาทสิทธิบัตร - การแข่งขันเทคโนโลยีที่รุนแรง: แม้ YMTC จะมีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า Samsung และ SK Hynix บริษัทเกาหลีใต้อื่น ๆ แต่เทคโนโลยีของ YMTC กำลังพัฒนาใกล้เคียงคู่แข่งและได้เริ่มผลิต NAND memory แบบ 294-layer แล้ว - ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์: ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจส่งผลให้ YMTC พบอุปสรรคในการขายสินค้านอกประเทศจีน การทำข้อตกลงจึงอาจเป็นการร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เทคโนโลยี hybrid bonding ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลใน NAND flash ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญในยุคที่ความต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น เช่น สมาร์ทโฟน ดาต้าเซ็นเตอร์ และ SSD https://www.techradar.com/pro/well-thats-unexpected-samsung-will-team-with-its-fiercest-chinese-rival-to-produce-next-gen-nand-flash
    0 Comments 0 Shares 241 Views 0 Reviews
  • พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน
    .
    ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก
    .
    ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม
    .
    เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้
    .
    โล่ซิลิคอน
    .
    ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน
    .
    การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป
    .
    ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี
    .
    ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี
    .
    เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย
    .
    แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง
    .
    โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต
    .
    การควบคุมทีเอสเอ็มซี
    .
    ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน
    .
    สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน
    .
    ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
    .
    สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา
    .
    ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา
    .
    หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา
    .
    การรับประกันความมั่นคง
    .
    อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา
    .
    ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน
    .
    ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น
    .
    นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน
    .
    เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน . ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก . ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม . เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้ . โล่ซิลิคอน . ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน . การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป . ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี . ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี . เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย . แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง . โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต . การควบคุมทีเอสเอ็มซี . ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน . สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน . ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว . สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา . ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา . หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา . การรับประกันความมั่นคง . อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา . ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน . ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น . นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน . เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    0 Comments 0 Shares 2506 Views 0 Reviews
  • จับตา "การประชุมสองสภา 2025 " ในบริบทพลวัตด้านอำนาจของจีนที่เปลี่ยนไป #การประชุมสองสภา (Two sessions) กิจกรรมทางการเมืองซึ่งมีความสำคัญที่สุดในรอบปีของจีน จะเปิดฉากขึ้นด้วยการประชุมของ #สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีน ( CPPCC ) ในวันอังคาร ( 4 มี.ค.) ตามด้วยการประชุม #สภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ในวันพุธ ( 5 มี.ค.)การประชุมสองสภาถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเฝ้าสังเกตการณ์แผนพัฒนาของจีน โดยในปีนี้จะมีการพิจารณาทบทวน #แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 ( 2564-2568 ) เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของประเทศต่อไปด้านนักวิเคราะห์มองว่า การประชุมสองสภาในปี 2568 เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทที่พลวัตหรือพลังการเคลื่อนไหวทางอำนาจ ( #power dynamics) ระหว่างสหรัฐฯกับจีนมีความแตกต่างไปอย่างมากจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งจีนประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาและเป็นช่วงรอยต่อระหว่างการสิ้นสุดวาระการบริหารประเทศของรัฐบาลประธานาธิบดี #โดนัลด์ ทรัมป์สมัยแรก การเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และการกลับมารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยที่ 2 ของทรัมป์เมื่อเดือนมกราคมปีนี้แม้ทรัมป์และไบเดนขับเคี่ยวกันในทางการเมือง แต่ก็มีจุดยืนร่วมกันอย่างหนึ่งนั่นก็คือพยายามขัดขวางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนทุกวิถีทาง สหรัฐฯ มีการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรและข้อจำกัดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลี่ เฉิง อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์จีนร่วมสมัยและโลกแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงมองว่า แม้ความท้าทายทางเศรษฐกิจภายในประเทศและแรงกดดันจากภายนอกกำลังรุมเร้าจีน แต่การเปลี่ยนแปลงอำนาจบนเวทีโลกไปในทิศทางที่เอื้อต่อจีนนั้นปรากฏชัดเจนยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา“ตะวันออกกำลังรุ่งเรือง และตะวันตกกำลังเสื่อมถอย” ตามที่ชาวจีนหลายคนเชื่อนั้นคือสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่ในขณะนี้“จีนได้เปรียบตรงที่เน้นการพัฒนาในระยะยาวมากกว่าผลกำไรในระยะสั้น” อาจารย์เฉิงระบุตามรายงานเผยแพร่เมื่อปีที่แล้วของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ( Information Technology and Innovation Foundation) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในกรุงวอชิงตันนั้น ความพยายามที่ดำเนินมาหลายปีดูเหมือนว่าจะได้รับผลตอบแทนด้วยการที่จีนกลายเป็นผู้นำหรือคู่แข่งขันระดับโลกในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง 5 ภาคส่วน ได้แก่ หุ่นยนต์ พลังงานนิวเคลียร์ ยานยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์ควอนตัม นอกจากนี้จีนยังกำลังตามทันในอีก 4 ด้าน ได้แก่ สารเคมี เครื่องมือเครื่องจักร ยาชีวเภสัชภัณฑ์ ( biopharmaceuticals ) และเซมิคอนดักเตอร์อี้ว์ โจว อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีจีนประจำวิทยาลัยวาสซาร์ในสหรัฐฯ มองว่า การประกาศแผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของจีนเมื่อปี 2558 ทำให้ความสำเร็จด้านเทคโนโลยีของจีนได้ก้าวไปไกลเกินกว่าที่ใครๆ เคยคาดคิด และเกินความคาดหวังของผู้วางแผนยุทธศาสตร์เองในตอนนั้นด้วยซ้ำนอกจากนี้ จีนยังเพิ่มการใช้อุปกรณ์ขั้นสูง เช่น โดรน เพื่อเร่งขับเคลื่อนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยและใช้จุดยืนที่กล้าแสดงออกมากขึ้นในการเผชิญหน้าทางทะเลกับสหรัฐฯจึงคาดกันว่า ความพยายามในการรับมือกับนโยบายของทรัมป์และการพยายามรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นวาระสำคัญในการประชุมสองสมัยครั้งนี้และด้วยบริบทของพลวัตทางอำนาจระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่เปลี่ยนไป จึงน่าจับตามองว่า ที่ประชุมจะมีการตัดสินใจและการประกาศนโยบายอย่างใดบ้างการตั้งเป้าหมายจีดีพีเติบโตเป็นหนึ่งในการตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ถูกจับตามองมากที่สุด รวมถึงการประกาศมาตรการเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนการประกาศนโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์ ( เอไอ ) และนวัตกรรม นโยบายที่คาดว่าจะประกาศเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อชีวิตของชาวจีน 1,400 ล้านคนและส่งกระทบต่อต่างชาติด้วยอย่างแน่นอนที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ /โกลบอลไทมส์ภาพประกอบข่าว1 ภาพ : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์2 นักข่าวกำลังทำงานที่ศูนย์สื่อมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมสองสภาประจำปีของจีนที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 - ภาพ : ซินหัว
    จับตา "การประชุมสองสภา 2025 " ในบริบทพลวัตด้านอำนาจของจีนที่เปลี่ยนไป #การประชุมสองสภา (Two sessions) กิจกรรมทางการเมืองซึ่งมีความสำคัญที่สุดในรอบปีของจีน จะเปิดฉากขึ้นด้วยการประชุมของ #สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีน ( CPPCC ) ในวันอังคาร ( 4 มี.ค.) ตามด้วยการประชุม #สภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ในวันพุธ ( 5 มี.ค.)การประชุมสองสภาถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเฝ้าสังเกตการณ์แผนพัฒนาของจีน โดยในปีนี้จะมีการพิจารณาทบทวน #แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 ( 2564-2568 ) เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของประเทศต่อไปด้านนักวิเคราะห์มองว่า การประชุมสองสภาในปี 2568 เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทที่พลวัตหรือพลังการเคลื่อนไหวทางอำนาจ ( #power dynamics) ระหว่างสหรัฐฯกับจีนมีความแตกต่างไปอย่างมากจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งจีนประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาและเป็นช่วงรอยต่อระหว่างการสิ้นสุดวาระการบริหารประเทศของรัฐบาลประธานาธิบดี #โดนัลด์ ทรัมป์สมัยแรก การเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และการกลับมารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยที่ 2 ของทรัมป์เมื่อเดือนมกราคมปีนี้แม้ทรัมป์และไบเดนขับเคี่ยวกันในทางการเมือง แต่ก็มีจุดยืนร่วมกันอย่างหนึ่งนั่นก็คือพยายามขัดขวางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนทุกวิถีทาง สหรัฐฯ มีการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรและข้อจำกัดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลี่ เฉิง อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์จีนร่วมสมัยและโลกแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงมองว่า แม้ความท้าทายทางเศรษฐกิจภายในประเทศและแรงกดดันจากภายนอกกำลังรุมเร้าจีน แต่การเปลี่ยนแปลงอำนาจบนเวทีโลกไปในทิศทางที่เอื้อต่อจีนนั้นปรากฏชัดเจนยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา“ตะวันออกกำลังรุ่งเรือง และตะวันตกกำลังเสื่อมถอย” ตามที่ชาวจีนหลายคนเชื่อนั้นคือสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่ในขณะนี้“จีนได้เปรียบตรงที่เน้นการพัฒนาในระยะยาวมากกว่าผลกำไรในระยะสั้น” อาจารย์เฉิงระบุตามรายงานเผยแพร่เมื่อปีที่แล้วของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ( Information Technology and Innovation Foundation) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในกรุงวอชิงตันนั้น ความพยายามที่ดำเนินมาหลายปีดูเหมือนว่าจะได้รับผลตอบแทนด้วยการที่จีนกลายเป็นผู้นำหรือคู่แข่งขันระดับโลกในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง 5 ภาคส่วน ได้แก่ หุ่นยนต์ พลังงานนิวเคลียร์ ยานยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์ควอนตัม นอกจากนี้จีนยังกำลังตามทันในอีก 4 ด้าน ได้แก่ สารเคมี เครื่องมือเครื่องจักร ยาชีวเภสัชภัณฑ์ ( biopharmaceuticals ) และเซมิคอนดักเตอร์อี้ว์ โจว อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีจีนประจำวิทยาลัยวาสซาร์ในสหรัฐฯ มองว่า การประกาศแผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของจีนเมื่อปี 2558 ทำให้ความสำเร็จด้านเทคโนโลยีของจีนได้ก้าวไปไกลเกินกว่าที่ใครๆ เคยคาดคิด และเกินความคาดหวังของผู้วางแผนยุทธศาสตร์เองในตอนนั้นด้วยซ้ำนอกจากนี้ จีนยังเพิ่มการใช้อุปกรณ์ขั้นสูง เช่น โดรน เพื่อเร่งขับเคลื่อนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยและใช้จุดยืนที่กล้าแสดงออกมากขึ้นในการเผชิญหน้าทางทะเลกับสหรัฐฯจึงคาดกันว่า ความพยายามในการรับมือกับนโยบายของทรัมป์และการพยายามรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นวาระสำคัญในการประชุมสองสมัยครั้งนี้และด้วยบริบทของพลวัตทางอำนาจระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่เปลี่ยนไป จึงน่าจับตามองว่า ที่ประชุมจะมีการตัดสินใจและการประกาศนโยบายอย่างใดบ้างการตั้งเป้าหมายจีดีพีเติบโตเป็นหนึ่งในการตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ถูกจับตามองมากที่สุด รวมถึงการประกาศมาตรการเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนการประกาศนโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์ ( เอไอ ) และนวัตกรรม นโยบายที่คาดว่าจะประกาศเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อชีวิตของชาวจีน 1,400 ล้านคนและส่งกระทบต่อต่างชาติด้วยอย่างแน่นอนที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ /โกลบอลไทมส์ภาพประกอบข่าว1 ภาพ : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์2 นักข่าวกำลังทำงานที่ศูนย์สื่อมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมสองสภาประจำปีของจีนที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 - ภาพ : ซินหัว
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 812 Views 0 Reviews
  • ราคาน้ำมันดิบลดลงแตะระดับต่ำสุดที่ไม่เคยเห็นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2024 นี่คือข้อมูลสำคัญ:ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับแคนาดาและเม็กซิโกกำลังสั่นคลอนสถานการณ์- ความหวาดกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลให้ผู้ลงทุนเทขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันลดลงการเปลี่ยนไปใช้สินทรัพย์ที่ลดความเสี่ยงกำลังเพิ่มแรงกดดันให้ลดลงโดยสรุป เมื่อความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันก็ตกต่ำลง สะท้อนถึงความวิตกกังวลของตลาดโดยรวม
    ราคาน้ำมันดิบลดลงแตะระดับต่ำสุดที่ไม่เคยเห็นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2024 นี่คือข้อมูลสำคัญ:ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับแคนาดาและเม็กซิโกกำลังสั่นคลอนสถานการณ์- ความหวาดกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลให้ผู้ลงทุนเทขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันลดลงการเปลี่ยนไปใช้สินทรัพย์ที่ลดความเสี่ยงกำลังเพิ่มแรงกดดันให้ลดลงโดยสรุป เมื่อความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันก็ตกต่ำลง สะท้อนถึงความวิตกกังวลของตลาดโดยรวม
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 286 Views 0 Reviews
  • 1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก

    ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ

    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน

    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย

    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)

    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้

    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ

    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่

    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว

    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ

    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ

    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ

    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง

    ที่มา ไทยโพสต์
    1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง ที่มา ไทยโพสต์
    Like
    Love
    2
    1 Comments 0 Shares 860 Views 0 Reviews
  • ‘Trumpism’ เขย่าโลก! ปลุก R&D นวัตกรรมไทย : [Biz Talk]

    สกสว. เปิดยุทธศาสตร์รับมือภูมิรัฐศาสตร์ข้ามขั้ว เร่งดึงดูดการลงทุน ‘วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม’ (ววน.) ท่ามกลางความท้าทายจากนโยบาย "Trumpism" /ไทย ต้องใช้กลยุทธ์ทั้งรับและรุก สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา(R&D) เพื่อสร้างตลาดใหม่ ,เข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือใหม่ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    ‘Trumpism’ เขย่าโลก! ปลุก R&D นวัตกรรมไทย : [Biz Talk] สกสว. เปิดยุทธศาสตร์รับมือภูมิรัฐศาสตร์ข้ามขั้ว เร่งดึงดูดการลงทุน ‘วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม’ (ววน.) ท่ามกลางความท้าทายจากนโยบาย "Trumpism" /ไทย ต้องใช้กลยุทธ์ทั้งรับและรุก สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา(R&D) เพื่อสร้างตลาดใหม่ ,เข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือใหม่ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    Like
    Love
    9
    0 Comments 0 Shares 1052 Views 66 0 Reviews
  • ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
    .
    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน
    .
    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย
    .
    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    .
    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)
    .
    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้
    .
    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ
    .
    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่
    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว
    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ
    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ
    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ
    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง
    .
    ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ

    1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/
    2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/
    .
    Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม
    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ . ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน . 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย . 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ . 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) . 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ . 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ . 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง . ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ 1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/ 2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/ . Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    THESTANDARD.CO
    จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง
    การสงครามผสมผสาน การสงครามผสมผสาน หรือ Hybrid Warfare เป็นยุทธศาสตร์ทางทหารซึ่งใช้การสงครามทางการเมือง และผสมรวมการสงครามตามแบบ (Conventional Warfare)
    0 Comments 0 Shares 801 Views 0 Reviews
  • จีนกล่าวหาว่าไต้หวันกำลัง "ขาย" อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้กับสหรัฐฯ ซึ่งข่าวนี้เปิดเผยถึงความซับซ้อนในความสัมพันธ์ระหว่างสามประเทศนี้

    เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อ Zhu Fenglian โฆษกสำนักงานกิจการไต้หวันของจีน อ้างว่าไต้หวันกำลังพยายามขายบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญอย่าง TSMC ให้กับสหรัฐฯ เพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการเมืองจากรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ ข้อกล่าวหานี้มีขึ้นโดยที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน โดย Fenglian กล่าวหาว่าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของไต้หวัน (DPP) พยายามขอความช่วยเหลือจาก "พลังภายนอก" เพื่อให้ไต้หวันเป็นอิสระจากจีนอย่างสมบูรณ์

    Fenglian ยังคาดการณ์ว่า TSMC อาจอยู่ในการเจรจากับ Intel เพื่อเข้าซื้อหุ้นในบริษัท แต่ทั้ง TSMC และ Intel ไม่ได้ยืนยันข่าวนี้ และรัฐบาลไต้หวันก็ได้ระบุว่าไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศใหม่ของ TSMC

    TSMC เป็นหนึ่งในบริษัทไม่กี่แห่งที่สามารถผลิตชิพไมโครที่ใช้งานในอุปกรณ์หลากหลาย เช่น สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ จากสหรัฐฯ เช่น Apple, Nvidia, และ AMD ต่างพึ่งพาการผลิตชิพจาก TSMC

    รัฐบาลไต้หวันได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาจากปักกิ่ง โดยเน้นว่า TSMC เป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจไต้หวัน และสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นพันธมิตรที่ไม่หวั่นไหวทางการเมืองเสมอไป ตรงกันข้ามกับที่กล่าวอ้าง

    แม้ว่าทรัมป์จะมีท่าทีที่รุนแรงในด้านธุรกิจ การเมือง และการทูต ไต้หวันยังคงต้องเผชิญกับสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไต้หวันยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความละเอียดอ่อนในอนาคต

    https://www.techspot.com/news/106947-china-accuses-taiwan-trying-sell-microchip-industry-us.html
    จีนกล่าวหาว่าไต้หวันกำลัง "ขาย" อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้กับสหรัฐฯ ซึ่งข่าวนี้เปิดเผยถึงความซับซ้อนในความสัมพันธ์ระหว่างสามประเทศนี้ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อ Zhu Fenglian โฆษกสำนักงานกิจการไต้หวันของจีน อ้างว่าไต้หวันกำลังพยายามขายบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญอย่าง TSMC ให้กับสหรัฐฯ เพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการเมืองจากรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ ข้อกล่าวหานี้มีขึ้นโดยที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน โดย Fenglian กล่าวหาว่าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของไต้หวัน (DPP) พยายามขอความช่วยเหลือจาก "พลังภายนอก" เพื่อให้ไต้หวันเป็นอิสระจากจีนอย่างสมบูรณ์ Fenglian ยังคาดการณ์ว่า TSMC อาจอยู่ในการเจรจากับ Intel เพื่อเข้าซื้อหุ้นในบริษัท แต่ทั้ง TSMC และ Intel ไม่ได้ยืนยันข่าวนี้ และรัฐบาลไต้หวันก็ได้ระบุว่าไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศใหม่ของ TSMC TSMC เป็นหนึ่งในบริษัทไม่กี่แห่งที่สามารถผลิตชิพไมโครที่ใช้งานในอุปกรณ์หลากหลาย เช่น สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ จากสหรัฐฯ เช่น Apple, Nvidia, และ AMD ต่างพึ่งพาการผลิตชิพจาก TSMC รัฐบาลไต้หวันได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาจากปักกิ่ง โดยเน้นว่า TSMC เป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจไต้หวัน และสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นพันธมิตรที่ไม่หวั่นไหวทางการเมืองเสมอไป ตรงกันข้ามกับที่กล่าวอ้าง แม้ว่าทรัมป์จะมีท่าทีที่รุนแรงในด้านธุรกิจ การเมือง และการทูต ไต้หวันยังคงต้องเผชิญกับสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไต้หวันยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความละเอียดอ่อนในอนาคต https://www.techspot.com/news/106947-china-accuses-taiwan-trying-sell-microchip-industry-us.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    China accuses Taiwan of "selling out" its semiconductor industry to the US
    China has accused Taiwan of trying to sell off its thriving semiconductor industry to the United States, claiming that Taipei is essentially handing over control of TSMC...
    0 Comments 0 Shares 284 Views 0 Reviews
  • อำนาจรัฐในระบอบ "Newทักษิณ" : คนเคาะข่าว 26-02-68
    : รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์

    #อำนาจรัฐ #Newทักษิณ #คนเคาะข่าว #การเมืองไทย #นิติศาสตร์ #รัฐศาสตร์ #อำนาจนิยม #ประชาธิปไตย #รัฐธรรมนูญ #ไทยTimes #ข่าวการเมือง #วิเคราะห์การเมือง #การปกครอง #ทักษิณ #สังคมไทย #กฎหมาย #วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    อำนาจรัฐในระบอบ "Newทักษิณ" : คนเคาะข่าว 26-02-68 : รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์ #อำนาจรัฐ #Newทักษิณ #คนเคาะข่าว #การเมืองไทย #นิติศาสตร์ #รัฐศาสตร์ #อำนาจนิยม #ประชาธิปไตย #รัฐธรรมนูญ #ไทยTimes #ข่าวการเมือง #วิเคราะห์การเมือง #การปกครอง #ทักษิณ #สังคมไทย #กฎหมาย #วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
    Like
    Love
    4
    2 Comments 1 Shares 773 Views 9 0 Reviews
More Results