• ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี

    ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย

    แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน

    ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม

    นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ

    นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น

    คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี

    #กรมการขนส่ง
    #ขสมก
    #thaitimes
    #บทความ
    #รถเมล์
    #เส้นทางเดินรถ
    #รถประจำทาง
    #ขนส่งสาธารณะ
    #คนจน


    ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี #กรมการขนส่ง #ขสมก #thaitimes #บทความ #รถเมล์ #เส้นทางเดินรถ #รถประจำทาง #ขนส่งสาธารณะ #คนจน
    Like
    4
    2 Comments 0 Shares 591 Views 0 Reviews
  • ความทุกข์คืออะไร?

    -ชีวิตประจำวันอันยุ่งเหยิง?
    -รถที่ติดหนักในเมืองหลวง?
    -ฝนที่ตกจนเปียกชุ่ม?
    -อาหารที่ภรรยาทำมีส่วนที่ไหม้เกรียม?
    -บ้านที่มีเสียงเอะอะตลอดทั้งวัน?

    ไม่ว่าจะสิ่งเล็กน้อยแค่ไหน เมื่อสะสมไประยะเวลาหนึ่งก็กลายร่างเป็นความทุกข์ได้

    ถ้าอย่างนั้น..ความสุขคืออะไร
    บางทีมันอาจเป็นสิ่งง่ายๆใกล้ตัว เช่น

    -การที่เรายังมีงานให้ทำ
    ...ในขณะที่อีกหลายคนตกงาน

    -การที่ท่านยังมีรถขับไปทำงาน
    ...ในขณะที่อีกหลายคนต้องตื่นแต่เช้ามืดเพื่อนั่งรถประจำทางอีกหลายต่อ

    -การที่มีฝนตกลงมาในวันที่อากาศร้อนอบอ้าว ให้ต้นไม้ และเหล่าสัตว์ที่อยู่ในป่าและตามถนนได้รับความชุ่มฉ่ำ

    -การที่ภรรยามีความพยายามทำอาหารให้สามีด้วยความตั้งใจ

    -การที่บ้านมีเสียงสนทนาตลอดทั้งวันให้ท่านไม่รู้สึกเงียบเหงา

    ....ทุกข์หรือสุขนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ท่านเลือกมอง

    ....มันเพียงแค่วันที่แย่ ไม่ใช่ชีวิตที่แย่

    ...มันเพียงแค่เรื่องที่แย่ ไม่ใช่วันที่แย่

    ถอดเนื้อหาจากหนังสือ :ฟ้าไม่เคยมืดเกินมองเห็นดาว

    #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #ความสุข #ความทุกข์ #ทัศนคติ #ฮีลใจ
    📌ความทุกข์คืออะไร? -ชีวิตประจำวันอันยุ่งเหยิง? -รถที่ติดหนักในเมืองหลวง? -ฝนที่ตกจนเปียกชุ่ม? -อาหารที่ภรรยาทำมีส่วนที่ไหม้เกรียม? -บ้านที่มีเสียงเอะอะตลอดทั้งวัน? ไม่ว่าจะสิ่งเล็กน้อยแค่ไหน เมื่อสะสมไประยะเวลาหนึ่งก็กลายร่างเป็นความทุกข์ได้ ถ้าอย่างนั้น..📌ความสุขคืออะไร บางทีมันอาจเป็นสิ่งง่ายๆใกล้ตัว เช่น -การที่เรายังมีงานให้ทำ ...ในขณะที่อีกหลายคนตกงาน -การที่ท่านยังมีรถขับไปทำงาน ...ในขณะที่อีกหลายคนต้องตื่นแต่เช้ามืดเพื่อนั่งรถประจำทางอีกหลายต่อ -การที่มีฝนตกลงมาในวันที่อากาศร้อนอบอ้าว ให้ต้นไม้ และเหล่าสัตว์ที่อยู่ในป่าและตามถนนได้รับความชุ่มฉ่ำ -การที่ภรรยามีความพยายามทำอาหารให้สามีด้วยความตั้งใจ -การที่บ้านมีเสียงสนทนาตลอดทั้งวันให้ท่านไม่รู้สึกเงียบเหงา ....ทุกข์หรือสุขนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ท่านเลือกมอง ....มันเพียงแค่วันที่แย่ ไม่ใช่ชีวิตที่แย่ 🔽 ...มันเพียงแค่เรื่องที่แย่ ไม่ใช่วันที่แย่ ถอดเนื้อหาจากหนังสือ :ฟ้าไม่เคยมืดเกินมองเห็นดาว #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #ความสุข #ความทุกข์ #ทัศนคติ #ฮีลใจ
    0 Comments 0 Shares 320 Views 0 Reviews
  • ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์

    หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567

    ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways)

    สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น

    #Newskit #SubangAirport #SZB
    ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์ หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways) สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น #Newskit #SubangAirport #SZB
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 552 Views 0 Reviews
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 Comments 1 Shares 689 Views 0 Reviews
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 479 Views 0 Reviews