• #ญาณวัตถุ_๔๔ [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉนคือ ความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยูความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิดเพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชราและมรณะ ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้วอันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ตัณหาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ... สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๓พระไตรปิฎก(ฉบับหลวง) E-Tipitakaเล่มที่ ๑๖/๕๓-๕๕/๑๑๙-๑๒๕
    #ญาณวัตถุ_๔๔ [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉนคือ ความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยูความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิดเพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชราและมรณะ ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้วอันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ตัณหาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ... สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๓พระไตรปิฎก(ฉบับหลวง) E-Tipitakaเล่มที่ ๑๖/๕๓-๕๕/๑๑๙-๑๒๕
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 110 มุมมอง 0 รีวิว
  • อย่าเชื่อใครก็ตาม...100 % ฟัง และเอาหลักคิด กับความรู้ของเราผสมเข้าไป แล้วเลือกเชื่อ...แบบไหนก็ได้ เพราะมันคือชีวิตเรา...เราคือผู้รับผลของความคิดและการตัดสินใจนั้น....อ่อ อ้างพระพุทธเจ้า พระไตรปิฏก ขอโทษนิดนึง ...ก่อนอื่นบอกก่อน ผมนับถือพระพุทธเจ้า เชื่อในเรื่องบาปบุญ กรรม การเวียนว่ายตายเกิด....แต่...นิดนึง อะไรคือข้อยืนยีนว่า เป็นพุทธวจนะ จริง....ถามกลับ พระไตรปิฎก สังคายนากี่ครั้ง 9 หรือ 10 ..ถ้าใครศึกษาประวัติศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน..จะทราบความจริงที่ว่า...ผู้มีอำนาจ เป็นผู้ชี้นำ.. อะไรก็ตามให้คนเดินตาม...ดังนั้น เราจะรู้ไหม ว่ามีเรื่อง การเมือง ชนชั้น หรือมีนัยยะอื่นมาเกี่ยว...ไม่นับ คณะ ผู้สังคายนาอีก...ตีความแบบใด..ถูกต้องตามเจตนาไหม...แปลภาษาถูกไหม......ฉะนั้น...ไม่ว่าใครอ้างอะไร...คำตอบสุดท้าย ของตัวเราว่าจะเชื่อใครหรืออะไร อยู่ที่ความรู้และวิธีคิดแต่ละคน.....นิดนึง ความเห็นส่วนตัว ว่า หลายคนอยากแจ้งเกิดด้วยกระแส ทฤษฎีแมวขาวแมวดำ..จับหนูได้เหมือนกัน...ก็ออกมา ไขว้กับคนมีแสง..ถ้ามาตามน้ำก็คงจะธรรมดาไปหน่อย..ไม่ตัดสินอะไรทั้งสิ้น เพราะไม่ใช่เรื่องที่มีประโยชน์แก่ตนหรือสังคมส่วนรวมในการเข้าข้างใด...ข้างนึง..ขอเป็นผู้ชมละกัน..นึกถึงรายการนึง ที่นั่งต่อกัน 4_5 คน แล้วคนที่ 1 วาดภาพส่งต่อให้คนที่ 2 คนที่ 2 ก็วาดส่งต่อไปเรื่อยๆ...ถึงคนสุดท้าย....แต่ละคน..ได้ภาพอะไร...เหมือนต้นฉบับไหม? #แค่คิด...
    อย่าเชื่อใครก็ตาม...100 % ฟัง และเอาหลักคิด กับความรู้ของเราผสมเข้าไป แล้วเลือกเชื่อ...แบบไหนก็ได้ เพราะมันคือชีวิตเรา...เราคือผู้รับผลของความคิดและการตัดสินใจนั้น....อ่อ อ้างพระพุทธเจ้า พระไตรปิฏก ขอโทษนิดนึง ...ก่อนอื่นบอกก่อน ผมนับถือพระพุทธเจ้า เชื่อในเรื่องบาปบุญ กรรม การเวียนว่ายตายเกิด....แต่...นิดนึง อะไรคือข้อยืนยีนว่า เป็นพุทธวจนะ จริง....ถามกลับ พระไตรปิฎก สังคายนากี่ครั้ง 9 หรือ 10 ..ถ้าใครศึกษาประวัติศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน..จะทราบความจริงที่ว่า...ผู้มีอำนาจ เป็นผู้ชี้นำ.. อะไรก็ตามให้คนเดินตาม...ดังนั้น เราจะรู้ไหม ว่ามีเรื่อง การเมือง ชนชั้น หรือมีนัยยะอื่นมาเกี่ยว...ไม่นับ คณะ ผู้สังคายนาอีก...ตีความแบบใด..ถูกต้องตามเจตนาไหม...แปลภาษาถูกไหม......ฉะนั้น...ไม่ว่าใครอ้างอะไร...คำตอบสุดท้าย ของตัวเราว่าจะเชื่อใครหรืออะไร อยู่ที่ความรู้และวิธีคิดแต่ละคน.....นิดนึง ความเห็นส่วนตัว ว่า หลายคนอยากแจ้งเกิดด้วยกระแส ทฤษฎีแมวขาวแมวดำ..จับหนูได้เหมือนกัน...ก็ออกมา ไขว้กับคนมีแสง..ถ้ามาตามน้ำก็คงจะธรรมดาไปหน่อย..ไม่ตัดสินอะไรทั้งสิ้น เพราะไม่ใช่เรื่องที่มีประโยชน์แก่ตนหรือสังคมส่วนรวมในการเข้าข้างใด...ข้างนึง..ขอเป็นผู้ชมละกัน..นึกถึงรายการนึง ที่นั่งต่อกัน 4_5 คน แล้วคนที่ 1 วาดภาพส่งต่อให้คนที่ 2 คนที่ 2 ก็วาดส่งต่อไปเรื่อยๆ...ถึงคนสุดท้าย....แต่ละคน..ได้ภาพอะไร...เหมือนต้นฉบับไหม? #แค่คิด...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 188 มุมมอง 0 รีวิว
  • “นรก” ในคัมภีร์พระไตรปิฎก มีทั้งหมด 8 ขุม ได้แก่ สัญชีวนรก กาลสูตรนรก สังฆาฏนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก และมหาอเวจีนรก
    “นรก” ในคัมภีร์พระไตรปิฎก มีทั้งหมด 8 ขุม ได้แก่ สัญชีวนรก กาลสูตรนรก สังฆาฏนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก และมหาอเวจีนรก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 46 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้ ทั้งสมมุติสงฆ์ ทั้งฆราวาส...ออกมาอ้างอิง คำสอนของพระพุทธเจ้า กันเป็นแถว...
    ...ส่วนตัวเคารพนับถือพระพุทธเจ้าแน่นอน...
    แต่ ....หลักคิดส่วนตัว....บางอย่าง...ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าจริงไหม? .....มาดูความเป็นจริงกัน....พระไตรปิฎก ถูกสังคายนา 9-10 ครั้ง....ซึ่งในแต่ละครั้ง..มีเรื่อง อำนาจ ชนชั้น และสิ่งแวดล้อมอื่นมาเจอปน..เช่น ความเห็น มุมมอง ทัศนคติ ไม่นับถึงการตีความที่อาจไม่ถูกต้อง ของคณะผู้สังคายนา....เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าจริง.....พระพุทธศาสนา หายไปจากอินเดีย จนต้องไปเอาบันทึกเก่าจากจีน มาคัดลอก...และสังคายนาขึ้นมาใหม่... (จีนเป็นชาติเดียวในโลก ที่คงความเป็นชาติ และมีบันทึกสืบต่อกันมาหลายพันปี อารยธรรมที่ร่วมยุคกัน เช่น กรีก โรมัน ไอยคุปต์ ล้วนเปลี่ยนแปลงไปแล้ว) .....
    ...ฉะนั้น (ส่วนตัวผู้เขียน) ไม่ต้องถกเถียงกัน...เอาความคิดเราเข้าไปประมวลผลดู ..ถ้าสิ่งนั้น ดำเนินไปควบคู่กับชีวิตเราได้...แบบไม่ลำบาก ...ก็เลือกเอาสิ่งนี้น...
    ....ชีวิตคนหนึ่งคน...ไม่ใช่มีแค่ปลายทาง..เท่านั้น.ว่าจะไปไหน...ระหว่างทางก็สำคัญ........
    #เชื่อในกรรมทั้งดีและชั่วให้ผลแน่นอน#
    ช่วงนี้ ทั้งสมมุติสงฆ์ ทั้งฆราวาส...ออกมาอ้างอิง คำสอนของพระพุทธเจ้า กันเป็นแถว... ...ส่วนตัวเคารพนับถือพระพุทธเจ้าแน่นอน... แต่ ....หลักคิดส่วนตัว....บางอย่าง...ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าจริงไหม? .....มาดูความเป็นจริงกัน....พระไตรปิฎก ถูกสังคายนา 9-10 ครั้ง....ซึ่งในแต่ละครั้ง..มีเรื่อง อำนาจ ชนชั้น และสิ่งแวดล้อมอื่นมาเจอปน..เช่น ความเห็น มุมมอง ทัศนคติ ไม่นับถึงการตีความที่อาจไม่ถูกต้อง ของคณะผู้สังคายนา....เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าจริง.....พระพุทธศาสนา หายไปจากอินเดีย จนต้องไปเอาบันทึกเก่าจากจีน มาคัดลอก...และสังคายนาขึ้นมาใหม่... (จีนเป็นชาติเดียวในโลก ที่คงความเป็นชาติ และมีบันทึกสืบต่อกันมาหลายพันปี อารยธรรมที่ร่วมยุคกัน เช่น กรีก โรมัน ไอยคุปต์ ล้วนเปลี่ยนแปลงไปแล้ว) ..... ...ฉะนั้น (ส่วนตัวผู้เขียน) ไม่ต้องถกเถียงกัน...เอาความคิดเราเข้าไปประมวลผลดู ..ถ้าสิ่งนั้น ดำเนินไปควบคู่กับชีวิตเราได้...แบบไม่ลำบาก ...ก็เลือกเอาสิ่งนี้น... ....ชีวิตคนหนึ่งคน...ไม่ใช่มีแค่ปลายทาง..เท่านั้น.ว่าจะไปไหน...ระหว่างทางก็สำคัญ........ #เชื่อในกรรมทั้งดีและชั่วให้ผลแน่นอน#
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลงานชิ้นเอก ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    เป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา ที่ดีที่สุดในยุคแผ่นดินรัชกาลที่ ๙

    เป็นหนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้พระไพศาล วิสาโล บวชไม่คิดสึก

    ‘พุทธธรรม’ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)) คือ หนังสือที่พระไพศาลยกย่อง ถึงขั้นที่ว่าถ้ามีหนังสือเพียงเล่มเดียวที่สามารถติดตัวไปได้ในชีวิต ‘พุทธธรรม’ คือ เล่มที่ท่านเลือก...

    “หนังสือเล่มนี้อาตมาอ่านจบช่วงเข้าพรรษาสมัยที่เป็นฆราวาส เมื่อ พ.ศ. 2525 ตั้งใจว่าอ่านให้ได้วันละ 10 หน้า ก็อ่านได้ทุกวัน พรรษาหนึ่งประมาณ 90 กว่าวัน หนังสือมีความหนาประมาณพันกว่าหน้า อ่านตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายก็พอดี เป็นการฝึกความเพียรและวินัยด้วย บางทีเราเดินทางไปต่างจังหวัดก่อนหน้านั้นวันหนึ่งจะต้องอ่านเพิ่มอีก 10 หน้าเพื่อชดเชยกับวันที่ต้องเดินทาง”

    นอกจากความเพียรในการอ่านแล้ว ช่วงนั้นพระไพศาลซึ่งเป็นเพียงเด็กหนุ่มที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัยยังได้รับความเมตตาจากพระราชวรมุนี (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) อนุญาตให้เข้าพบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสนทนาธรรมสอบถามข้อสงสัยจากหนังสืออีกด้วย

    “อ่านหนังสือแล้วไปถามท่านเราก็ได้ความกระจ่างเยอะ ถือเป็นความโชคดีในฐานะนักอ่าน ยิ่งได้คุยกับท่านยิ่งรู้ว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ ถ้าจัดเรตให้ต้องถือว่าเฟิร์สตเรต อัศจรรย์มาก”

    พุทธธรรมเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนา ที่ได้รับการยอมรับว่าแสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างซื่อตรงต่อพระ ไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง นำเสนอหลักการและสาระสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างครบถ้วน และเป็นระบบอย่างชัดเจน พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ผู้เขียนได้ปรับปรุงและขยายความเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่หนาเป็นพันหน้า

    “อ่านไปก็อดทึ่งคนเขียนไม่ได้ว่าทั้งฉลาดทั้งมีความเพียรสูง ค้นข้อมูลมามากทีเดียวกว่าจะเขียนได้อย่างนี้ คือไม่ใช่แค่สรุปความย่อความเหมือนหนังสือบางเล่ม แต่เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ โดยมีพระไตรปิฎก เป็นพื้นฐาน นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ด้วยวิธีคิดของคนสมัยใหม่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เราจะไม่เจอแบบนี้ในงานเขียนพระพุทธศาสนา บางทีเคยไปเจอหนังสือเกี่ยวกับสาระพระไตรปิฎก เขียนโดยฆราวาสที่เคยบวชพระมาจะเห็นว่าลีลาสไตล์การเขียนแตกต่างกัน บางทีก็แค่ย่อความมาให้เราดู การย่อความก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านเจ้าประคุณทำได้มากกว่านั้น จึงนำมาเสนอใหม่ ด้วยชนิดที่เรียกว่าสามารถจะสื่อสารกับเราด้วยภาษาของเราได้ และพยายามโยงให้เข้าถึงปัญหาสังคมสมัยใหม่โดยใช้มุมมองแบบพุทธ ซึ่งสมควรแล้วที่คนจะพูดว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดในยุครัชกาลที่ 9 และถือว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของรัตนโกสินทร์”

    อาตมายกให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือดีของชีวิต ประการที่หนึ่งเพราะนำเสนอพุทธธรรมอย่างเป็นระบบและรอบด้านที่สุดภายในเล่มเดียว คือมีหลายท่านพูดถึงพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งแต่พูดเป็นบางแง่ อย่างท่านพุทธทาสก็พูดเป็นบางแง่ เช่น ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา แต่เล่มนี้พูดครบทุกแง่อย่างเป็นระบบ ทุกแง่ทุกมุมอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ขอให้ค้นให้เป็น อาตมาเคยพูดนะว่าหนังสือเล่มนี้มี 3 มิติ ทั้งลึก กว้าง ไกล ลึกคือทำให้เราเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งของตัวเอง และทำให้เราเห็นกว้าง เห็นโลกและสังคมได้อย่างกว้าง เล่มนี้จะพูดถึงสังคมสมัยใหม่ไว้พอสมควร ทำให้เราได้เห็นมิติด้านไกล นั่นคือได้เห็นว่าการสอนพุทธศาสนานี้ผ่านการตีความมายังไงบ้าง ประการต่อมาคือใช้ภาษาที่งดงามสละสลวย ภาษาท่านงดงามมาก และสามารถสื่อได้ตรงใจผู้เขียน แม้ว่าเนื้อหาจะลึกซึ้ง คือทุกวันนี้แม้ตัวเองจะอ่านงานท่านเจ้าประคุณมาเยอะ เวลาจะสื่ออะไรบางอย่าง เรารู้สึกว่าเราจนต่อถ้อยคำ ไม่สามารถจะเขียนให้สุดความคิดได้ แต่หนังสือเล่มนี้ท่านเจ้าประคุณสามารถบรรยายให้สุดความคิดได้ อาตมาคิดว่าเป็นแบบอย่างของงานเขียนในทางศาสนาและงานวิชาการได้ คือมีทั้งอรรถและรส อรรถคือเนื้อหา รสคือรสของภาษา”

    ซึ่งพระไพศาลยอมรับว่าได้รับอิทธิพลจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และท่านพุทธทาส ในการใช้ชีวิตและเขียนหนังสือพอสมควร โดยเฉพาะจากหนังสือพุทธธรรมนั้นมีอิทธิพลต่องานเขียน และการค้นคว้าทางพุทธศาสนาอย่างมาก

    “ถ้ามีเล่มเดียวที่สามารถติดไปได้ในชีวิตก็เล่มนี้แหละ ถึงแม้จะหนักหน่อยก็ตาม อาตมายังรู้สึกเลยนะว่าหนังสือเล่มนี้ทำให้เราภูมิใจที่เป็นคนไทย การที่คุณเป็นคนไทยแล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้ถือว่าโชคดีและคุ้มค่าในการที่ได้เป็นคนไทยแล้ว บางทีเราก็รู้สึกว่าเป็นฝรั่งโชคดีนะ ได้อ่านหนังสือที่ลึกซึ้ง หนังสือเยอะแยะหลากหลาย แต่พุทธธรรมนี่แหละที่ทำให้เราสามารถเป็นที่อิจฉาของฝรั่งได้ เพราะฝรั่งอ่านเล่มนี้ไม่ได้ แต่คนไทยอ่านได้ ฉะนั้นถ้าในแง่ชาวพุทธและในแง่ความเป็นคนไทย หนังสือเล่มนี้จะทำให้เราภูมิใจและรู้สึกโชคดีที่ได้เป็นคนไทย ที่อ่านภาษาไทยออก”

    และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีหนังสือพุทธธรรมในครอบครอง แต่ยังไม่เคยเปิดอ่าน พระไพศาลบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะรสชาติของหนังสือเล่มนี้แตกต่างจากหนังสือทั่ว ๆ ไป

    “อ่านแล้วจะทำให้เกิดความพิศวงและความปีติเมื่อได้พบความจริง”
    นั่นคือพุทธธรรม...

    Save เก็บได้เลย... 1360 หน้า อัพเดทล่าสุด เป็นฉบับปรับขยายครับ อ่านวันละ 10 หน้าแป๊บเดี๋ยวก็จบแล้ว
    https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhadhamma_extended_edition.pdf?fbclid=IwAR1WFAHlZSqoUQa01X13IvZno7o9FgFuHC450ktPmxfQAxLyUtGOl9ndrSY

    ท่านสามารถดาวโหลดเสียงอ่านหนังสือ
    "พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย"
    ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))

    เสียงอ่านโดย..พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

    ได้ที่ Link เสียงอ่าน พุทธธรรม
    http://bit.ly/1nZnfef

    Link สำหรับพุทธธรรม ๒๓ บท ตามนี้ครับ

    ๐๑. ขันธ์5
    http://bit.ly/1qih1Xj

    ๐๒. อายตนะ ๖
    http://bit.ly/1Xq7tVe

    ๐๓.ไตรลักษณ์
    http://bit.ly/1VhCuNd

    ๐๔. ปฏิจสุปบาท
    http://bit.ly/1SYJnj1

    ๐๕. กรรม
    http://bit.ly/20u0M6t

    ๐๖. นิพพาน
    http://bit.ly/1Q2AZKF

    ๐๗. ประเภทนิพพาน
    http://bit.ly/1qIMFOI

    ๐๘. สมถะ-วิปัสสนา
    http://bit.ly/1UUvg1A

    ๐๙. หลักการสำคัญของการบรรลุนิพพาน
    http://bit.ly/1VLTVUU

    ๑๐. บทสรุปเรื่องนิพพาน
    http://bit.ly/23wfOdI

    ๑๑. บทนำมัชฌิมาปฏิปทา
    http://bit.ly/1S4wT9r

    ๑๒. ปรโตโฆสะที่ดี_กัลยาณมิตร
    http://bit.ly/1S0ftIV

    ๑๓. โยนิโสมนสิการ
    http://bit.ly/1RNTVlX

    ๑๔. ปัญญา
    http://bit.ly/1RNU211

    ๑๕. ศีล
    http://bit.ly/23nRiid

    ๑๖. สมาธิ
    http://bit.ly/1MoRbve

    ๑๗. บทสรุปอริยสัจ
    http://bit.ly/1qihTv3

    ๑๘. โสดาบัน
    http://bit.ly/1MoRfeq

    ๑๙. วินัย
    http://bit.ly/1SYK63G

    ๒๐. ปาฏิหาริย์
    http://bit.ly/1VLUY7z

    ๒๑. ปัญหาแรงจูงใจ
    http://bit.ly/1N3oUKE

    ๒๒. ความสุข ๑ ฉบับแบบแผน
    http://bit.ly/1VLV3rJ

    ๒๓. ความสุข ๒ ฉบับประมวลความ
    http://bit.ly/1SYK9g0

    เครดิต Kanlayanatam
    ผลงานชิ้นเอก ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา ที่ดีที่สุดในยุคแผ่นดินรัชกาลที่ ๙ เป็นหนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้พระไพศาล วิสาโล บวชไม่คิดสึก ‘พุทธธรรม’ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)) คือ หนังสือที่พระไพศาลยกย่อง ถึงขั้นที่ว่าถ้ามีหนังสือเพียงเล่มเดียวที่สามารถติดตัวไปได้ในชีวิต ‘พุทธธรรม’ คือ เล่มที่ท่านเลือก... “หนังสือเล่มนี้อาตมาอ่านจบช่วงเข้าพรรษาสมัยที่เป็นฆราวาส เมื่อ พ.ศ. 2525 ตั้งใจว่าอ่านให้ได้วันละ 10 หน้า ก็อ่านได้ทุกวัน พรรษาหนึ่งประมาณ 90 กว่าวัน หนังสือมีความหนาประมาณพันกว่าหน้า อ่านตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายก็พอดี เป็นการฝึกความเพียรและวินัยด้วย บางทีเราเดินทางไปต่างจังหวัดก่อนหน้านั้นวันหนึ่งจะต้องอ่านเพิ่มอีก 10 หน้าเพื่อชดเชยกับวันที่ต้องเดินทาง” นอกจากความเพียรในการอ่านแล้ว ช่วงนั้นพระไพศาลซึ่งเป็นเพียงเด็กหนุ่มที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัยยังได้รับความเมตตาจากพระราชวรมุนี (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) อนุญาตให้เข้าพบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสนทนาธรรมสอบถามข้อสงสัยจากหนังสืออีกด้วย “อ่านหนังสือแล้วไปถามท่านเราก็ได้ความกระจ่างเยอะ ถือเป็นความโชคดีในฐานะนักอ่าน ยิ่งได้คุยกับท่านยิ่งรู้ว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ ถ้าจัดเรตให้ต้องถือว่าเฟิร์สตเรต อัศจรรย์มาก” พุทธธรรมเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนา ที่ได้รับการยอมรับว่าแสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างซื่อตรงต่อพระ ไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง นำเสนอหลักการและสาระสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างครบถ้วน และเป็นระบบอย่างชัดเจน พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ผู้เขียนได้ปรับปรุงและขยายความเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่หนาเป็นพันหน้า “อ่านไปก็อดทึ่งคนเขียนไม่ได้ว่าทั้งฉลาดทั้งมีความเพียรสูง ค้นข้อมูลมามากทีเดียวกว่าจะเขียนได้อย่างนี้ คือไม่ใช่แค่สรุปความย่อความเหมือนหนังสือบางเล่ม แต่เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ โดยมีพระไตรปิฎก เป็นพื้นฐาน นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ด้วยวิธีคิดของคนสมัยใหม่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เราจะไม่เจอแบบนี้ในงานเขียนพระพุทธศาสนา บางทีเคยไปเจอหนังสือเกี่ยวกับสาระพระไตรปิฎก เขียนโดยฆราวาสที่เคยบวชพระมาจะเห็นว่าลีลาสไตล์การเขียนแตกต่างกัน บางทีก็แค่ย่อความมาให้เราดู การย่อความก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านเจ้าประคุณทำได้มากกว่านั้น จึงนำมาเสนอใหม่ ด้วยชนิดที่เรียกว่าสามารถจะสื่อสารกับเราด้วยภาษาของเราได้ และพยายามโยงให้เข้าถึงปัญหาสังคมสมัยใหม่โดยใช้มุมมองแบบพุทธ ซึ่งสมควรแล้วที่คนจะพูดว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดในยุครัชกาลที่ 9 และถือว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของรัตนโกสินทร์” อาตมายกให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือดีของชีวิต ประการที่หนึ่งเพราะนำเสนอพุทธธรรมอย่างเป็นระบบและรอบด้านที่สุดภายในเล่มเดียว คือมีหลายท่านพูดถึงพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งแต่พูดเป็นบางแง่ อย่างท่านพุทธทาสก็พูดเป็นบางแง่ เช่น ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา แต่เล่มนี้พูดครบทุกแง่อย่างเป็นระบบ ทุกแง่ทุกมุมอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ขอให้ค้นให้เป็น อาตมาเคยพูดนะว่าหนังสือเล่มนี้มี 3 มิติ ทั้งลึก กว้าง ไกล ลึกคือทำให้เราเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งของตัวเอง และทำให้เราเห็นกว้าง เห็นโลกและสังคมได้อย่างกว้าง เล่มนี้จะพูดถึงสังคมสมัยใหม่ไว้พอสมควร ทำให้เราได้เห็นมิติด้านไกล นั่นคือได้เห็นว่าการสอนพุทธศาสนานี้ผ่านการตีความมายังไงบ้าง ประการต่อมาคือใช้ภาษาที่งดงามสละสลวย ภาษาท่านงดงามมาก และสามารถสื่อได้ตรงใจผู้เขียน แม้ว่าเนื้อหาจะลึกซึ้ง คือทุกวันนี้แม้ตัวเองจะอ่านงานท่านเจ้าประคุณมาเยอะ เวลาจะสื่ออะไรบางอย่าง เรารู้สึกว่าเราจนต่อถ้อยคำ ไม่สามารถจะเขียนให้สุดความคิดได้ แต่หนังสือเล่มนี้ท่านเจ้าประคุณสามารถบรรยายให้สุดความคิดได้ อาตมาคิดว่าเป็นแบบอย่างของงานเขียนในทางศาสนาและงานวิชาการได้ คือมีทั้งอรรถและรส อรรถคือเนื้อหา รสคือรสของภาษา” ซึ่งพระไพศาลยอมรับว่าได้รับอิทธิพลจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และท่านพุทธทาส ในการใช้ชีวิตและเขียนหนังสือพอสมควร โดยเฉพาะจากหนังสือพุทธธรรมนั้นมีอิทธิพลต่องานเขียน และการค้นคว้าทางพุทธศาสนาอย่างมาก “ถ้ามีเล่มเดียวที่สามารถติดไปได้ในชีวิตก็เล่มนี้แหละ ถึงแม้จะหนักหน่อยก็ตาม อาตมายังรู้สึกเลยนะว่าหนังสือเล่มนี้ทำให้เราภูมิใจที่เป็นคนไทย การที่คุณเป็นคนไทยแล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้ถือว่าโชคดีและคุ้มค่าในการที่ได้เป็นคนไทยแล้ว บางทีเราก็รู้สึกว่าเป็นฝรั่งโชคดีนะ ได้อ่านหนังสือที่ลึกซึ้ง หนังสือเยอะแยะหลากหลาย แต่พุทธธรรมนี่แหละที่ทำให้เราสามารถเป็นที่อิจฉาของฝรั่งได้ เพราะฝรั่งอ่านเล่มนี้ไม่ได้ แต่คนไทยอ่านได้ ฉะนั้นถ้าในแง่ชาวพุทธและในแง่ความเป็นคนไทย หนังสือเล่มนี้จะทำให้เราภูมิใจและรู้สึกโชคดีที่ได้เป็นคนไทย ที่อ่านภาษาไทยออก” และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีหนังสือพุทธธรรมในครอบครอง แต่ยังไม่เคยเปิดอ่าน พระไพศาลบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะรสชาติของหนังสือเล่มนี้แตกต่างจากหนังสือทั่ว ๆ ไป “อ่านแล้วจะทำให้เกิดความพิศวงและความปีติเมื่อได้พบความจริง” นั่นคือพุทธธรรม... Save เก็บได้เลย... 1360 หน้า อัพเดทล่าสุด เป็นฉบับปรับขยายครับ อ่านวันละ 10 หน้าแป๊บเดี๋ยวก็จบแล้ว https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhadhamma_extended_edition.pdf?fbclid=IwAR1WFAHlZSqoUQa01X13IvZno7o9FgFuHC450ktPmxfQAxLyUtGOl9ndrSY ท่านสามารถดาวโหลดเสียงอ่านหนังสือ "พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย" ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) เสียงอ่านโดย..พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ได้ที่ Link เสียงอ่าน พุทธธรรม http://bit.ly/1nZnfef Link สำหรับพุทธธรรม ๒๓ บท ตามนี้ครับ ๐๑. ขันธ์5 http://bit.ly/1qih1Xj ๐๒. อายตนะ ๖ http://bit.ly/1Xq7tVe ๐๓.ไตรลักษณ์ http://bit.ly/1VhCuNd ๐๔. ปฏิจสุปบาท http://bit.ly/1SYJnj1 ๐๕. กรรม http://bit.ly/20u0M6t ๐๖. นิพพาน http://bit.ly/1Q2AZKF ๐๗. ประเภทนิพพาน http://bit.ly/1qIMFOI ๐๘. สมถะ-วิปัสสนา http://bit.ly/1UUvg1A ๐๙. หลักการสำคัญของการบรรลุนิพพาน http://bit.ly/1VLTVUU ๑๐. บทสรุปเรื่องนิพพาน http://bit.ly/23wfOdI ๑๑. บทนำมัชฌิมาปฏิปทา http://bit.ly/1S4wT9r ๑๒. ปรโตโฆสะที่ดี_กัลยาณมิตร http://bit.ly/1S0ftIV ๑๓. โยนิโสมนสิการ http://bit.ly/1RNTVlX ๑๔. ปัญญา http://bit.ly/1RNU211 ๑๕. ศีล http://bit.ly/23nRiid ๑๖. สมาธิ http://bit.ly/1MoRbve ๑๗. บทสรุปอริยสัจ http://bit.ly/1qihTv3 ๑๘. โสดาบัน http://bit.ly/1MoRfeq ๑๙. วินัย http://bit.ly/1SYK63G ๒๐. ปาฏิหาริย์ http://bit.ly/1VLUY7z ๒๑. ปัญหาแรงจูงใจ http://bit.ly/1N3oUKE ๒๒. ความสุข ๑ ฉบับแบบแผน http://bit.ly/1VLV3rJ ๒๓. ความสุข ๒ ฉบับประมวลความ http://bit.ly/1SYK9g0 เครดิต Kanlayanatam
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 264 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระพุทธเจ้าแบ่งดอกบัวออกเป็น 3 เหล่า!
    มีคนมาถามว่าการที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่านั้น มาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน คำถามนี้ดูเหมือนกับว่าผู้ถามจะเชื่ออย่างสนิทใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่าจริง ความเชื่อนี้ส่วนหนึ่งคงได้มาจากหลักสูตรนักธรรมชั้นโทเป็นแน่ เมื่อตอบไปว่าดอกบัวมีเพียงสามเหล่า คนถามแสดงอาการว่าเริ่มจะไม่เห็นด้วยกับคำตอบที่ได้รับ
    เมื่อเห็นอาการจึงได้เปิดพระไตรปิฎกมาอ้างว่าที่มาของดอกบัวสามเหล่านั้นมาจากพระวินัยไตรปิฎก มหาวรรค(4/9/11) ความว่า

    เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆนั้น ทรงเกิดวิตกว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นมีความลึกซึ้งยากที่คนจะเข้าใจ จนกระทั่งท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมยังมีอยู่
    ในตอนนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ความว่า

    พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี มากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ #บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ #บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ #บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว

    จึงได้รับอาราธนาท้าวสหัมบดีพรหมเพื่อที่จะแสดงธรรมแก่สรรพสัตว์

    ข้อความที่ปรากฎในพระวินัยตอนนี้ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัวสามเหล่าคือบางเหล่าจมน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ

    แต่คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลเหมือนกับดอกบัวสี่เหล่า เพราะในอีกพระสูตรหนึ่งได้แสดงว่า

    ว่าด้วยบุคคลสี่ประเภท คือ
    (1) อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแค่เมื่อท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
    (2) วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น (3) เนยยะ ผู้พอแนะนำได้
    (4) ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลสี่จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

    ต้องแยกประเด็นกันระหว่าง 'ดอกบัว3เหล่า' กับ 'บุคคล4ประเภท' และเนื้อหาในพระไตรปิฎกไม่ได้เปรียบเทียบกันแต่อย่างใด แยกกันแสดงคนละครั้ง ต่างกรรมต่างวาระกัน ส่วนการเปรียบเทียบกันนั้นมีปรากฎในอรรถกถาหลายครั้งหลายหน ดังที่แสดงในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 1 หน้าที่ 148 ได้เปรียบเทียบบุคคลสี่จำพวกกับดอกบัวสี่เหล่าความว่า

    “บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัวสี่เหล่านั้นแล
    (1) อุคฆฏิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง
    (2) วิปจิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร
    (3) เนยยะ บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร
    (4) ปทปรมะ บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้นแม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก
    อีกแห่งหนึ่งมีคำอธิบายในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 452 ความว่า “ในดอกอุบลเหล่านี้ เหล่าใดขึ้นพ้นน้ำรออยู่เหล่านั้น คอยรับสัมผัสแสงอาทิตย์จะบานในวันนี้ เหล่าใดตั้งอยู่เสมอน้ำ เหล่านั้นก็จะบานในวันพรุ่งนี้ เหล่าใดจมเหล่านั้นก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านแสดงไว้ยังไม่ขึ้นสู่บาลีก็พึงแสดง

    เหมือนกับว่า ดอกไม้สี่อย่างเหล่านั้นฉันใด บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงดอกบัวไว้สามเหล่า แต่ได้แสดงบุคคลไว้สี่จำพวก เมื่อนำมาอธิบายเปรียบเทียบกับดอกบัว พระอรรถกถาจารย์เลยอาจจะเล็งเห็นว่าดอกบัวประเภทสุดท้ายคือประเภทที่สี่ ยังไม่ได้ผุดขึ้นมาจากดิน พระพุทธเจ้าจึงมิได้ยกขึ้นมาแสดงไว้ พระอรรถกถาจารย์เลยบอกไว้จากหลักฐานที่ว่า
    ‎ดอกบัวเหล่าใดจมก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านยังไม่ยกขึ้นสู่บาลี คำว่า "ไม่ยกขึ้นสู่บาลี" หมายถึงไม่ได้แสดงในพระไตรปิฎก ดังนั้นคนประเภทสุดท้ายคือผู้ที่สอนไม่ได้ก็เหมือนกับดอกบัวที่ยังไม่ได้เกิดนั่นแล

    เพราะเหตุนี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนและแตกต่างกันออกไป

    พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
    เรียบเรียง 02/03/53

    โปรดแชร์เป็นธรรมทาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
    ‎การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    พระพุทธเจ้าแบ่งดอกบัวออกเป็น 3 เหล่า! มีคนมาถามว่าการที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่านั้น มาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน คำถามนี้ดูเหมือนกับว่าผู้ถามจะเชื่ออย่างสนิทใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลกับดอกบัวสี่เหล่าจริง ความเชื่อนี้ส่วนหนึ่งคงได้มาจากหลักสูตรนักธรรมชั้นโทเป็นแน่ เมื่อตอบไปว่าดอกบัวมีเพียงสามเหล่า คนถามแสดงอาการว่าเริ่มจะไม่เห็นด้วยกับคำตอบที่ได้รับ เมื่อเห็นอาการจึงได้เปิดพระไตรปิฎกมาอ้างว่าที่มาของดอกบัวสามเหล่านั้นมาจากพระวินัยไตรปิฎก มหาวรรค(4/9/11) ความว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆนั้น ทรงเกิดวิตกว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นมีความลึกซึ้งยากที่คนจะเข้าใจ จนกระทั่งท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมยังมีอยู่ ในตอนนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ความว่า พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี มากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ #บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ #บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ #บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว จึงได้รับอาราธนาท้าวสหัมบดีพรหมเพื่อที่จะแสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ ข้อความที่ปรากฎในพระวินัยตอนนี้ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัวสามเหล่าคือบางเหล่าจมน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ แต่คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลเหมือนกับดอกบัวสี่เหล่า เพราะในอีกพระสูตรหนึ่งได้แสดงว่า ว่าด้วยบุคคลสี่ประเภท คือ (1) อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแค่เมื่อท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง (2) วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น (3) เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ (4) ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลสี่จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ต้องแยกประเด็นกันระหว่าง 'ดอกบัว3เหล่า' กับ 'บุคคล4ประเภท' และเนื้อหาในพระไตรปิฎกไม่ได้เปรียบเทียบกันแต่อย่างใด แยกกันแสดงคนละครั้ง ต่างกรรมต่างวาระกัน ส่วนการเปรียบเทียบกันนั้นมีปรากฎในอรรถกถาหลายครั้งหลายหน ดังที่แสดงในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 2 ภาค 1 หน้าที่ 148 ได้เปรียบเทียบบุคคลสี่จำพวกกับดอกบัวสี่เหล่าความว่า “บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัวสี่เหล่านั้นแล (1) อุคฆฏิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง (2) วิปจิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร (3) เนยยะ บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร (4) ปทปรมะ บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้นแม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก อีกแห่งหนึ่งมีคำอธิบายในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 452 ความว่า “ในดอกอุบลเหล่านี้ เหล่าใดขึ้นพ้นน้ำรออยู่เหล่านั้น คอยรับสัมผัสแสงอาทิตย์จะบานในวันนี้ เหล่าใดตั้งอยู่เสมอน้ำ เหล่านั้นก็จะบานในวันพรุ่งนี้ เหล่าใดจมเหล่านั้นก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านแสดงไว้ยังไม่ขึ้นสู่บาลีก็พึงแสดง เหมือนกับว่า ดอกไม้สี่อย่างเหล่านั้นฉันใด บุคคลสี่จำพวกคืออุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ‎ ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงดอกบัวไว้สามเหล่า แต่ได้แสดงบุคคลไว้สี่จำพวก เมื่อนำมาอธิบายเปรียบเทียบกับดอกบัว พระอรรถกถาจารย์เลยอาจจะเล็งเห็นว่าดอกบัวประเภทสุดท้ายคือประเภทที่สี่ ยังไม่ได้ผุดขึ้นมาจากดิน พระพุทธเจ้าจึงมิได้ยกขึ้นมาแสดงไว้ พระอรรถกถาจารย์เลยบอกไว้จากหลักฐานที่ว่า ‎ดอกบัวเหล่าใดจมก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านยังไม่ยกขึ้นสู่บาลี คำว่า "ไม่ยกขึ้นสู่บาลี" หมายถึงไม่ได้แสดงในพระไตรปิฎก ดังนั้นคนประเภทสุดท้ายคือผู้ที่สอนไม่ได้ก็เหมือนกับดอกบัวที่ยังไม่ได้เกิดนั่นแล เพราะเหตุนี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนและแตกต่างกันออกไป พระมหาบุญไทย ปุญญมโน เรียบเรียง 02/03/53 โปรดแชร์เป็นธรรมทาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ‎การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 231 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตอนฉันอายุ20ปี เคยคิดอยากมีลูกชายสักคนแต่ไม่ต้องการมีแฟนคือเด็กหลอดแก้วประมาณนั้น เพื่อให้เขาทำความฝันให้ฉันคือบวชตลอดชีวิตข้ามฝั่งให้ได้และโปรดคน ความคิดก็จะวนคิดอยู่แบบนั้น🔄"ต่อมาคืนหนึ่งฉันก็หลับและฝันว่ามีเสียงๆหนึ่งพูดว่าเธอจะให้ลูกเธอเกิดใน"กาลียุคเช่นนี้หรือ ภาพปรากฎเห็นคนกินคนด้วยกันเหมือนสัตว์ล่าเนื้อ เลือดนองพื้นท่วมถึง"ตาตุ่มช้าง🐘"ภาพมันน่ากลัวสลดหดหู่จริงๆตื่นจากฝันก็เลยเปลี่ยนความคิดๆว่ามันไม่ยุติธรรมที่จะให้ใครมาทำความฝันให้ใคร เพราะทุกคนต่างก็มีฝันของตนเอง เพื่อนให้หนังสือตัวกูของกูมาหนึ่งเล่ม ฉันอ่านจบในไม่กี่นาทีและอ่านวนหลายรอบ จนคิดว่าเราต้องศึกษาคำสอนอย่างจริงจังว่ามีอัจฉริยะมนุษย์ ที่ตรัสรู้ธรรมเช่นนี้อยู่จริงๆหรือหาหนังสือหลวงพ่อพุทธทาสมาอ่านหลายเล่ม "แม่ฉันชอบสร้างพระไตรปิฎกถวายวัดฉันสงสัยถามแม่ว่ามีอะไรดีในนั้น"แม่บอกอ่านเองซิ ฉันตัดสินใจอ่านโห😯ทึ่งมากคนอะไรจะฉลาดขนาดนี้ "❤นึกรักพระพุทธเจ้าขึ้นมาเลยว่าถ้ามีคนรักก็อยากได้บุคคลเช่นนี้ถ้ามีลูกก็อยากมีลูกเช่นนี้ถ้าไม่มีก็ไม่มีคู่ดีก่วา"เพราะตอนเด็กๆฉันถามตัวเองบ่อยครั้งว่าฉันเกิดมาทำไมมาจากไหน เคยถามแม่ว่าโลกนี้สุดขอบโลกอยู่ตรงไหนอยากเดินออกไปจากโลกนี้ ฉันเห็นพ่อแม่มีปากเสียงกันบ่อยๆฉันคิดเองนะตอนนั้นว่า ความรักถ้ามันทำให้ทุกข์จะรักกันทำไม ฉันบอกกับแม่ว่าถ้าต้องทนอยู่กันเพื่อลูกไม่ต้องนะ ชีวิตคนเรามันสั้นควรหาความสุขให้ตัวเองบ้างจากนั้นพ่อกับแม่ก็เลิกกันฉันเป็นลูกคนเล็กของบ้าน ฉันมีโลกที่แคบมากเพราะไม่ชอบเที่ยวพ่อต้องจ้างให้ไปเที่ยวเพื่อจะอยู่กับแม่สองคนบ้าง😉 แต่ชอบอยู่บ้านฟังธรรมอ่าน📚หนังสือ(โลกส่วนตัวสูง)จึงไม่ค่อยมีประสบการณ์ชีวิตนอกบ้านเลย พอทำงานไปเที่ยวบ้านเพื่อนเห็นครอบครัวเขาทะเลาะกันรุนแรง เลยคิดว่าอ้าวเราคิดว่าเป็นเฉพาะบ้านเราซะอีกโหบ้านคนอื่นหนักก่วาเราอีกเขามีลงไม้ลงมือกันด้วย บ้านเราไม่เคยมีๆแต่พ่อทะเลาะบ่นอยู่คนเดียวแม่ไม่เคยเถียงกลับสักคำ แม่นิ่งอย่างเดียว(ฉันมีส่วนผสมของพ่อๆเป็นคนใจดีอ่อนโยนสุภาพ"ถ้าไม่ดื่ม"ส่วนแม่เป็นผู้หญิงแกร่งเป็นผู้นำเข้มแข็งอดทนสูง)ที่ไหนถ้ามีการทะเลาะกันฉันจะเดินหนีทันที ไม่มีการมุงดูเด็ดขาดไม่ชอบ#อาจารย์สนธิพูดทัชใจฉันมากคือทุกคนต้องเรียนรู้ประสบการณ์ด้วยตัวเองเพราะให้กันไม่ได้ แนะนำได้แต่ประสบการณ์สุข,ทุกข์..ของใครของมัน..."อ่านเจอคำสอนหลวงพ่อพุทธทาส ว่า"อะไรที่ไม่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตอย่าคิดว่าจะเข้าใจ"ฉันเข้าใจเลย ชีวิตคนเราเกิดมาเพื่อเรียนรู้บททดสอบเหมือนแบบฝึกหัด แล้วจะเข้าใจในบริบทด้วยตัวเราเอง พระพุทธเจ้าสอนให้ดูที่ต้นเหตุจึงรู้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัวถ้าเรารู้จักจิตใจตนเองจริงๆทุกสิ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ตลอดกาล ฉันก็จะเรียนรู้บททดสอบชีวิตไปเรื่อยๆและก็หวังให้ตัวเองเข้มแข็งและผ่านมันไปให้ได้จนก่วาลมหายใจสุดท้าย สันตติส่งต่อจิตอีกดวงในร่างใหม่ต่อไป ชาตินี้ฉันยังไม่มีกำลังมากพอที่จะข้ามฝั่ง🏊‍♀️ได้หรอกรู้ตัว สู้ไปด้วยกันนะทุกคน✌ " bkk Th 21102567 "รักพ่อแม่และครอบครัวมากๆ💞"แม้จากไปแล้วแต่อยู่ใน❤📣 miss you......
    ตอนฉันอายุ20ปี เคยคิดอยากมีลูกชายสักคนแต่ไม่ต้องการมีแฟนคือเด็กหลอดแก้วประมาณนั้น เพื่อให้เขาทำความฝันให้ฉันคือบวชตลอดชีวิตข้ามฝั่งให้ได้และโปรดคน ความคิดก็จะวนคิดอยู่แบบนั้น🔄"ต่อมาคืนหนึ่งฉันก็หลับและฝันว่ามีเสียงๆหนึ่งพูดว่าเธอจะให้ลูกเธอเกิดใน"กาลียุคเช่นนี้หรือ ภาพปรากฎเห็นคนกินคนด้วยกันเหมือนสัตว์ล่าเนื้อ เลือดนองพื้นท่วมถึง"ตาตุ่มช้าง🐘"ภาพมันน่ากลัวสลดหดหู่จริงๆตื่นจากฝันก็เลยเปลี่ยนความคิดๆว่ามันไม่ยุติธรรมที่จะให้ใครมาทำความฝันให้ใคร เพราะทุกคนต่างก็มีฝันของตนเอง เพื่อนให้หนังสือตัวกูของกูมาหนึ่งเล่ม ฉันอ่านจบในไม่กี่นาทีและอ่านวนหลายรอบ จนคิดว่าเราต้องศึกษาคำสอนอย่างจริงจังว่ามีอัจฉริยะมนุษย์ ที่ตรัสรู้ธรรมเช่นนี้อยู่จริงๆหรือหาหนังสือหลวงพ่อพุทธทาสมาอ่านหลายเล่ม "แม่ฉันชอบสร้างพระไตรปิฎกถวายวัดฉันสงสัยถามแม่ว่ามีอะไรดีในนั้น"แม่บอกอ่านเองซิ ฉันตัดสินใจอ่านโห😯ทึ่งมากคนอะไรจะฉลาดขนาดนี้ "❤นึกรักพระพุทธเจ้าขึ้นมาเลยว่าถ้ามีคนรักก็อยากได้บุคคลเช่นนี้ถ้ามีลูกก็อยากมีลูกเช่นนี้ถ้าไม่มีก็ไม่มีคู่ดีก่วา"เพราะตอนเด็กๆฉันถามตัวเองบ่อยครั้งว่าฉันเกิดมาทำไมมาจากไหน เคยถามแม่ว่าโลกนี้สุดขอบโลกอยู่ตรงไหนอยากเดินออกไปจากโลกนี้ ฉันเห็นพ่อแม่มีปากเสียงกันบ่อยๆฉันคิดเองนะตอนนั้นว่า ความรักถ้ามันทำให้ทุกข์จะรักกันทำไม ฉันบอกกับแม่ว่าถ้าต้องทนอยู่กันเพื่อลูกไม่ต้องนะ ชีวิตคนเรามันสั้นควรหาความสุขให้ตัวเองบ้างจากนั้นพ่อกับแม่ก็เลิกกันฉันเป็นลูกคนเล็กของบ้าน ฉันมีโลกที่แคบมากเพราะไม่ชอบเที่ยวพ่อต้องจ้างให้ไปเที่ยวเพื่อจะอยู่กับแม่สองคนบ้าง😉 แต่ชอบอยู่บ้านฟังธรรมอ่าน📚หนังสือ(โลกส่วนตัวสูง)จึงไม่ค่อยมีประสบการณ์ชีวิตนอกบ้านเลย พอทำงานไปเที่ยวบ้านเพื่อนเห็นครอบครัวเขาทะเลาะกันรุนแรง เลยคิดว่าอ้าวเราคิดว่าเป็นเฉพาะบ้านเราซะอีกโหบ้านคนอื่นหนักก่วาเราอีกเขามีลงไม้ลงมือกันด้วย บ้านเราไม่เคยมีๆแต่พ่อทะเลาะบ่นอยู่คนเดียวแม่ไม่เคยเถียงกลับสักคำ แม่นิ่งอย่างเดียว(ฉันมีส่วนผสมของพ่อๆเป็นคนใจดีอ่อนโยนสุภาพ"ถ้าไม่ดื่ม"ส่วนแม่เป็นผู้หญิงแกร่งเป็นผู้นำเข้มแข็งอดทนสูง)ที่ไหนถ้ามีการทะเลาะกันฉันจะเดินหนีทันที ไม่มีการมุงดูเด็ดขาดไม่ชอบ#อาจารย์สนธิพูดทัชใจฉันมากคือทุกคนต้องเรียนรู้ประสบการณ์ด้วยตัวเองเพราะให้กันไม่ได้ แนะนำได้แต่ประสบการณ์สุข,ทุกข์..ของใครของมัน..."อ่านเจอคำสอนหลวงพ่อพุทธทาส ว่า"อะไรที่ไม่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตอย่าคิดว่าจะเข้าใจ"ฉันเข้าใจเลย ชีวิตคนเราเกิดมาเพื่อเรียนรู้บททดสอบเหมือนแบบฝึกหัด แล้วจะเข้าใจในบริบทด้วยตัวเราเอง พระพุทธเจ้าสอนให้ดูที่ต้นเหตุจึงรู้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัวถ้าเรารู้จักจิตใจตนเองจริงๆทุกสิ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ตลอดกาล ฉันก็จะเรียนรู้บททดสอบชีวิตไปเรื่อยๆและก็หวังให้ตัวเองเข้มแข็งและผ่านมันไปให้ได้จนก่วาลมหายใจสุดท้าย สันตติส่งต่อจิตอีกดวงในร่างใหม่ต่อไป ชาตินี้ฉันยังไม่มีกำลังมากพอที่จะข้ามฝั่ง🏊‍♀️ได้หรอกรู้ตัว สู้ไปด้วยกันนะทุกคน✌ " bkk Th 21102567 "รักพ่อแม่และครอบครัวมากๆ💞"แม้จากไปแล้วแต่อยู่ใน❤📣 miss you......
    Like
    Love
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 197 มุมมอง 0 รีวิว
  • 17 ต.ค.2567 - พระเมธีวชิโรดม หรือ พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี เผยแพร่เอกสารชี้แจงกรณีดิไอคอนกรุ๊ป มีเนื้อหาดังนี้ "ขอพระอาจารย์พูดบ้างนะ "หนุ่ม กรรชัย" แห่ง "โหนกระแส" ตั้งแต่เกิดกรณีดิไอคอน พระอาจารย์ (พอจ.)ก็เป็นฝ่ายเงียบมาโดยตลอดโดยมีความเชื่อมั่นว่า "ความบริสุทธิ์ใจ-ความจริง" จะปกป้องตัวมันเองเนื่องเพราะ

    ๑.ทางบริษัทดิไอคอน ได้แถลงการณ์ขออภัยต่อ พอจ.แล้ว ว่า พอจ.ไม่มีส่วนใดๆ ในบริษัททั้งสิ้น สาธารณชนอ่านแล้ว ก็เข้าใจ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนที่จะต้องมานั่งตีความกันอีก

    ๒.พอจ.ก็แถลงการณ์ขออภัยที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปแล้ว ซ้ำยังย้ำอีกว่าที่พูดในวันวันนั้น เป็นการพูดเชิงกระแทกแดกดัน หรือ "แชะ" คนในดิไอคอนว่าให้รู้จัก "อดทนให้ได้ ใจเย็นให้พอ และรอให้เป็น" แต่ถ้าไม่ยอมอดทนก็พูดแค่ว่า "ลูกเอ๋ย ถ้างั้นก็ดิไอคอนแล้ว" ส่วนที่เหลือ ก็เป็นการพูดกระเช้าเย้าหยอก ทั้งนั้นอารมณ์ก็ขำๆ ฮาๆ พูดจบแล้ว ก็ให้ศีลให้พร มีแค่นั้น

    ส่วนที่สอนให้เก็บเงิน เก็บทองก็เป็น case study ที่ยกมาจากเรื่องจริง (มีศิษย์มาขอยืมเงิน) ซึ่งเป็นช่วงเวลายุคโควิด ตอนนั้น พอจ.ยังไม่รู้จักดิไอคอน,ที่พูดว่า แต่ก็โฆษณาให้นะ ก็เป็นการพูดเชิงกระเช้าเข้าหยอก ให้คนฟังนับพันเขาชื่นใจเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแม่ทีมเสียหน่อยมันง่ายๆ แค่นี้ หนุ่ม ดูคลิปแล้ว ทำไมยังไม่เข้าใจ มันเข้าใจยากตรงไหน ใจคอจะเอาพระเข้าคุกให้ได้ว่างั้นเถอะ

    ๓.ส่วนที่สอนให้รู้จักเก็บ รู้จักออม รู้จักทำมาหากิน ก็พูดตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎก (ทิฏฐ-ธรรมิกัตประโยชน์) เพียงแต่นำมาเล่าให้มันร่วมสมัยเท่านั้น ไม่ได้ตั้งตาตั้งตาไปทำหน้าที่ Presenter ให้กับดิไอคอน พูดยาว ๑ ชั่วโมง ๑๒ นาที เนื้อหาไม่ได้มีแค่ตัดมาสร้างความเข้าใจผิดเท่านั้น (และถ้าถือว่าพูดอย่างนั้น คือ พอจ.หลอกโยม ควรพูดใหม่ว่า พอจ.ก็อยู่ที่วัดดีๆ นี่แหละ วันดีคืนดี พวกพี่แชม ก็ยกกันไปนิมนต์พอจ.มาเทศน์-พูดกันแฟร์ๆ ไม่ใช่พระหลอกโยม แต่เป็นโยมไปหลอกพระออกมาจากวัด-พระนี่แหละ เป็นเหยื่อดิไอคอน พูดชัดๆ ก็ต้องพูดอย่างนี้)

    ๔.ส่วนการทำบุญที่บริษัท ดิไอคอน ก็ไม่ไม่ได้นิมนต์ พอจ.แค่รูปเดียว เขานิมนต์เป็นร้อยรูปต่อปี ตั้งแต่สมเด็จพระราชาคณะลงมา จนถึงพระเกจิต่างจังหวัด ใช่เจาะจงพอจ.รูปเดียวเสียเมื่อไหร่ (บางคนเอา ไปพูดยังกับมีท่านว.รูปเดียวที่ได้รับนิมนต์ ไปดูรูปไนเพจดิไอคอนว่ามีพระก็รูป เขาไม่ได้ลบทิง หลักฐานยังอยู่ครบ จะได้พูดกันอย่างตรงไปตรงมา เคารพความจริงตามที่มันเป็นจริง)

    ๕.ตาลปัตรที่ พอจ.ใช้ พระทุกรูปที่เคยไปเทศน์ ก็ใช้ให้พรเหมือนกัน (ดรูปประกอบ) และดิไอคอนไม่เคยทำถวาย พอจ.แต่เป็นของที่มีอยู่แล้วในห้องประชุมของบริษัท พระรูปไหนมา ก็ใช้ตาลปัตรของบริษัท อันนั้น อันนี้เป็นเรื่องทั่วไป บริษัทต่างๆ ที่เขาทำบุญเขาก็ทำตาลปัตรในนามบริษัทของตัวเองกันทั้งนั้น ธนาคารทุกแห่งก็ทำ แต่นี่หนุ่มปล่อยให้แขกพูดชื่นำว่าว่าเขาทำเพื่อ พอจ.คนเดียว (ประมาณว่าเพราะเป็น Presenter ไง) แล้วที่หลวงพ่ออลงกตท่านถืออยู่ในมือ ท่านต้องเป็นพรีเซนเตอร์ด้วยไหม ?

    ๖.บริษัทดิไอคอน เคยถวายทุนการศึกษาให้มูลนิธิไร่เชิญตะวัน ในวันแห่งการให้ประจำปีจริง (๑ ล้านบาท) และถวายเสร็จแล้ว ก็แจกกันวันนั้นเลย มีคนเป็นพยานหลายพันคน ไม่มีคำว่า "เข้าพกเข้าห่อพอจ.แม้แต่บาทเดียว" (หนุ่มอยากตรวจสอบให้ทำได้ทันทีไม่ต้องรอพรุ่งนี้) และในวันเดียวกันนั้นนั้น คุณบ๊วย เชษฐวุฒิ ก็ถวายทุนด้วย ๖๐๐,๐๐๐ บาทมูลนิธิร่วมกตัญญูก็ไปร่วมถวายทุน แจกถุงยังชีพทุกปี ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาทถ้าทุกคนที่ไปทำบุญคือไปติดสินบนพระ ต่อไปทุกวัด ก็ไม่ต้องรับเงินทำบุญจากบริษัทใดๆ อีกแล้ว รัฐบาลก็ควรเลิกถวายนิตยภัตรพระทั้งประเทศไปเลย

    หนุ่ม ข้อ ๖-๙ มันเลยการวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้วนะ แต่มันคือ "การใส่ร้ายป้ายสี"กันชัดๆ ก่อนจะ

    สัมภาษณ์หนุ่มควรจะทำการบ้านให้มากกว่านี้นะ แบบนี้ พอจ.เสียหายมาก ลูกศิษย์ของ พอจ.ที่เขารัก
    ความเป็นธรรม เขาดูแล้ว เขาก็ทนไม่ได้หรอก ที่หนุ่มเอียงกระเท่เร่ได้ขนาดนี้

    หนุ่ม ก็เคยบวชกับ พอจ.นะ สิบกว่าปีที่แล้ว เป็นอย่างไร ทุกวันนี้ พอจ.ก็ยังเป็นอย่างนั้น มีชีวิตในที่
    แจ้งท่ามกลางสาธารณชนตลอด ไม่ใช่เพิ่งโผล่มาเป็นคนดังปีสองปีนี่เมื่อไหร่ พอจ.ทำงานหนักขนาดไหน

    หนุ่มก็น่าจะรู้ดี นี่ปล่อยให้คนมาใส่ร้ายป้ายสี พอจ.กลางรายการโดยไม่ยอมแสวงหาข้อเท็จจริงเอาเสียเลย

    ถ้าหนุ่มรักเมีย รักลูก ก็ให้รู้ไว้ว่าศิษย์ พอจ.เขาก็รัก พอจ.เหมือนกัน เขาเจ็บปวดเหมือนกัน

    หลังๆ หนุ่มใกล้จะทำตัวเป็นศาลเตี้ยเข้าไปทุกวันแล้วนะ โหด เหี้ยม ขาดความเห็นอกเห็นใจแขกและคนที่เขาตกเป็นข่าว หนุ่มยังเป็นพิธีกรอยู่หรือเปล่า หรือว่าตอนนี้กลายเป็น "ฆาตกรฆ่าต่อเนื่องไปแล้ว"

    หลายคนเขาไม่ผิด หนุ่มส่งเขาเข้าคุกไปแล้ว พอเค้าออกจากคุกมาเงียบๆ หนุ่มเคยไปขอโทษเขาไหม?

    อีกอย่าง พอจ.มีวัดที่ พอจ.สร้างเองอยู่ที่ญี่ปุ่นอยู่แล้ว ๒ วัด สร้างมาแล้วเกือบสิบปีและพรรษานี้

    พอจ.ก็มาจำพรรษาที่นี่ ช่วงนี้มาประชุมเชิงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เอาเรื่องน้ำท่วมแม่สายมานำเสนอที่
    ม.โยโกฮาม่า กับกองงานในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า(หลักฐานอยู่ในเพจ พอจ.) ไม่ได้หนีมาแช่ออนเซนแต่อย่างใด นี่ข้อมูลพื้นๆ แบบนี้ หนุ่มก็ไม่รู้ แล้วที่เหลือ หนุ่มจะพลาดอีกขนาดไหน หนุ่มไม่ได้สว่างไสวในทุกเรื่องนะ อย่าคิดว่าตัวเองเสียงดังแล้ว จะสัมภาษณ์เล่นงานใครก็ได้ โดยไม่แสวงข้อเท็จจริง แล้วปล่อยให้คนบริสุทธิ์ต้องถูกใสร้ายกลางรายการอย่างนี้หลายครั้งหลายคน

    ขออภัยหนุ่มด้วยที่พูดยาวแต่เป็นการคุยกันฉันครูกะศิษย์ก็แล้วกัน หวังว่าหนุ่มคงไม่โกรธพอจ.นะ

    ว.วชิรเมธี
    (พระพี่เลี้ยงตอนหนุ่มบวชที่เชียงราย)
    ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๗

    #Thaitimes
    17 ต.ค.2567 - พระเมธีวชิโรดม หรือ พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี เผยแพร่เอกสารชี้แจงกรณีดิไอคอนกรุ๊ป มีเนื้อหาดังนี้ "ขอพระอาจารย์พูดบ้างนะ "หนุ่ม กรรชัย" แห่ง "โหนกระแส" ตั้งแต่เกิดกรณีดิไอคอน พระอาจารย์ (พอจ.)ก็เป็นฝ่ายเงียบมาโดยตลอดโดยมีความเชื่อมั่นว่า "ความบริสุทธิ์ใจ-ความจริง" จะปกป้องตัวมันเองเนื่องเพราะ ๑.ทางบริษัทดิไอคอน ได้แถลงการณ์ขออภัยต่อ พอจ.แล้ว ว่า พอจ.ไม่มีส่วนใดๆ ในบริษัททั้งสิ้น สาธารณชนอ่านแล้ว ก็เข้าใจ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนที่จะต้องมานั่งตีความกันอีก ๒.พอจ.ก็แถลงการณ์ขออภัยที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปแล้ว ซ้ำยังย้ำอีกว่าที่พูดในวันวันนั้น เป็นการพูดเชิงกระแทกแดกดัน หรือ "แชะ" คนในดิไอคอนว่าให้รู้จัก "อดทนให้ได้ ใจเย็นให้พอ และรอให้เป็น" แต่ถ้าไม่ยอมอดทนก็พูดแค่ว่า "ลูกเอ๋ย ถ้างั้นก็ดิไอคอนแล้ว" ส่วนที่เหลือ ก็เป็นการพูดกระเช้าเย้าหยอก ทั้งนั้นอารมณ์ก็ขำๆ ฮาๆ พูดจบแล้ว ก็ให้ศีลให้พร มีแค่นั้น ส่วนที่สอนให้เก็บเงิน เก็บทองก็เป็น case study ที่ยกมาจากเรื่องจริง (มีศิษย์มาขอยืมเงิน) ซึ่งเป็นช่วงเวลายุคโควิด ตอนนั้น พอจ.ยังไม่รู้จักดิไอคอน,ที่พูดว่า แต่ก็โฆษณาให้นะ ก็เป็นการพูดเชิงกระเช้าเข้าหยอก ให้คนฟังนับพันเขาชื่นใจเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแม่ทีมเสียหน่อยมันง่ายๆ แค่นี้ หนุ่ม ดูคลิปแล้ว ทำไมยังไม่เข้าใจ มันเข้าใจยากตรงไหน ใจคอจะเอาพระเข้าคุกให้ได้ว่างั้นเถอะ ๓.ส่วนที่สอนให้รู้จักเก็บ รู้จักออม รู้จักทำมาหากิน ก็พูดตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎก (ทิฏฐ-ธรรมิกัตประโยชน์) เพียงแต่นำมาเล่าให้มันร่วมสมัยเท่านั้น ไม่ได้ตั้งตาตั้งตาไปทำหน้าที่ Presenter ให้กับดิไอคอน พูดยาว ๑ ชั่วโมง ๑๒ นาที เนื้อหาไม่ได้มีแค่ตัดมาสร้างความเข้าใจผิดเท่านั้น (และถ้าถือว่าพูดอย่างนั้น คือ พอจ.หลอกโยม ควรพูดใหม่ว่า พอจ.ก็อยู่ที่วัดดีๆ นี่แหละ วันดีคืนดี พวกพี่แชม ก็ยกกันไปนิมนต์พอจ.มาเทศน์-พูดกันแฟร์ๆ ไม่ใช่พระหลอกโยม แต่เป็นโยมไปหลอกพระออกมาจากวัด-พระนี่แหละ เป็นเหยื่อดิไอคอน พูดชัดๆ ก็ต้องพูดอย่างนี้) ๔.ส่วนการทำบุญที่บริษัท ดิไอคอน ก็ไม่ไม่ได้นิมนต์ พอจ.แค่รูปเดียว เขานิมนต์เป็นร้อยรูปต่อปี ตั้งแต่สมเด็จพระราชาคณะลงมา จนถึงพระเกจิต่างจังหวัด ใช่เจาะจงพอจ.รูปเดียวเสียเมื่อไหร่ (บางคนเอา ไปพูดยังกับมีท่านว.รูปเดียวที่ได้รับนิมนต์ ไปดูรูปไนเพจดิไอคอนว่ามีพระก็รูป เขาไม่ได้ลบทิง หลักฐานยังอยู่ครบ จะได้พูดกันอย่างตรงไปตรงมา เคารพความจริงตามที่มันเป็นจริง) ๕.ตาลปัตรที่ พอจ.ใช้ พระทุกรูปที่เคยไปเทศน์ ก็ใช้ให้พรเหมือนกัน (ดรูปประกอบ) และดิไอคอนไม่เคยทำถวาย พอจ.แต่เป็นของที่มีอยู่แล้วในห้องประชุมของบริษัท พระรูปไหนมา ก็ใช้ตาลปัตรของบริษัท อันนั้น อันนี้เป็นเรื่องทั่วไป บริษัทต่างๆ ที่เขาทำบุญเขาก็ทำตาลปัตรในนามบริษัทของตัวเองกันทั้งนั้น ธนาคารทุกแห่งก็ทำ แต่นี่หนุ่มปล่อยให้แขกพูดชื่นำว่าว่าเขาทำเพื่อ พอจ.คนเดียว (ประมาณว่าเพราะเป็น Presenter ไง) แล้วที่หลวงพ่ออลงกตท่านถืออยู่ในมือ ท่านต้องเป็นพรีเซนเตอร์ด้วยไหม ? ๖.บริษัทดิไอคอน เคยถวายทุนการศึกษาให้มูลนิธิไร่เชิญตะวัน ในวันแห่งการให้ประจำปีจริง (๑ ล้านบาท) และถวายเสร็จแล้ว ก็แจกกันวันนั้นเลย มีคนเป็นพยานหลายพันคน ไม่มีคำว่า "เข้าพกเข้าห่อพอจ.แม้แต่บาทเดียว" (หนุ่มอยากตรวจสอบให้ทำได้ทันทีไม่ต้องรอพรุ่งนี้) และในวันเดียวกันนั้นนั้น คุณบ๊วย เชษฐวุฒิ ก็ถวายทุนด้วย ๖๐๐,๐๐๐ บาทมูลนิธิร่วมกตัญญูก็ไปร่วมถวายทุน แจกถุงยังชีพทุกปี ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาทถ้าทุกคนที่ไปทำบุญคือไปติดสินบนพระ ต่อไปทุกวัด ก็ไม่ต้องรับเงินทำบุญจากบริษัทใดๆ อีกแล้ว รัฐบาลก็ควรเลิกถวายนิตยภัตรพระทั้งประเทศไปเลย หนุ่ม ข้อ ๖-๙ มันเลยการวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้วนะ แต่มันคือ "การใส่ร้ายป้ายสี"กันชัดๆ ก่อนจะ สัมภาษณ์หนุ่มควรจะทำการบ้านให้มากกว่านี้นะ แบบนี้ พอจ.เสียหายมาก ลูกศิษย์ของ พอจ.ที่เขารัก ความเป็นธรรม เขาดูแล้ว เขาก็ทนไม่ได้หรอก ที่หนุ่มเอียงกระเท่เร่ได้ขนาดนี้ หนุ่ม ก็เคยบวชกับ พอจ.นะ สิบกว่าปีที่แล้ว เป็นอย่างไร ทุกวันนี้ พอจ.ก็ยังเป็นอย่างนั้น มีชีวิตในที่ แจ้งท่ามกลางสาธารณชนตลอด ไม่ใช่เพิ่งโผล่มาเป็นคนดังปีสองปีนี่เมื่อไหร่ พอจ.ทำงานหนักขนาดไหน หนุ่มก็น่าจะรู้ดี นี่ปล่อยให้คนมาใส่ร้ายป้ายสี พอจ.กลางรายการโดยไม่ยอมแสวงหาข้อเท็จจริงเอาเสียเลย ถ้าหนุ่มรักเมีย รักลูก ก็ให้รู้ไว้ว่าศิษย์ พอจ.เขาก็รัก พอจ.เหมือนกัน เขาเจ็บปวดเหมือนกัน หลังๆ หนุ่มใกล้จะทำตัวเป็นศาลเตี้ยเข้าไปทุกวันแล้วนะ โหด เหี้ยม ขาดความเห็นอกเห็นใจแขกและคนที่เขาตกเป็นข่าว หนุ่มยังเป็นพิธีกรอยู่หรือเปล่า หรือว่าตอนนี้กลายเป็น "ฆาตกรฆ่าต่อเนื่องไปแล้ว" หลายคนเขาไม่ผิด หนุ่มส่งเขาเข้าคุกไปแล้ว พอเค้าออกจากคุกมาเงียบๆ หนุ่มเคยไปขอโทษเขาไหม? อีกอย่าง พอจ.มีวัดที่ พอจ.สร้างเองอยู่ที่ญี่ปุ่นอยู่แล้ว ๒ วัด สร้างมาแล้วเกือบสิบปีและพรรษานี้ พอจ.ก็มาจำพรรษาที่นี่ ช่วงนี้มาประชุมเชิงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เอาเรื่องน้ำท่วมแม่สายมานำเสนอที่ ม.โยโกฮาม่า กับกองงานในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า(หลักฐานอยู่ในเพจ พอจ.) ไม่ได้หนีมาแช่ออนเซนแต่อย่างใด นี่ข้อมูลพื้นๆ แบบนี้ หนุ่มก็ไม่รู้ แล้วที่เหลือ หนุ่มจะพลาดอีกขนาดไหน หนุ่มไม่ได้สว่างไสวในทุกเรื่องนะ อย่าคิดว่าตัวเองเสียงดังแล้ว จะสัมภาษณ์เล่นงานใครก็ได้ โดยไม่แสวงข้อเท็จจริง แล้วปล่อยให้คนบริสุทธิ์ต้องถูกใสร้ายกลางรายการอย่างนี้หลายครั้งหลายคน ขออภัยหนุ่มด้วยที่พูดยาวแต่เป็นการคุยกันฉันครูกะศิษย์ก็แล้วกัน หวังว่าหนุ่มคงไม่โกรธพอจ.นะ ว.วชิรเมธี (พระพี่เลี้ยงตอนหนุ่มบวชที่เชียงราย) ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ #Thaitimes
    Like
    Yay
    7
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 724 มุมมอง 0 รีวิว
  • อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้
    ๖ ประการเป็นไฉน คือบุคคลย่อมเป็นผู้แน่นอนในพระสัทธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้มีความไม่เสื่อม
    เป็นธรรมดา ๑ เขาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วย่อมไม่มีทุกข์ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑
    เขาเห็นเหตุแล้วด้วยดี ๑ และเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์
    ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ปัญจก. อํ .๒๒/๓๙๔/๓๖๘
    อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน คือบุคคลย่อมเป็นผู้แน่นอนในพระสัทธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้มีความไม่เสื่อม เป็นธรรมดา ๑ เขาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วย่อมไม่มีทุกข์ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑ เขาเห็นเหตุแล้วด้วยดี ๑ และเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล ฯ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ปัญจก. อํ .๒๒/๓๙๔/๓๖๘
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่

    ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐

    อธิบายเพิ่มเติม

    โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..!

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐ อธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..! พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 134 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่

    ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐

    อธิบายเพิ่มเติม

    โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!”

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..!

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    ภิกษุสงฆ์เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชาได้หรือไม่ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง – สีลขันธวรรค . ที .๙/๖๖/๑๒๐ อธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องของหมอดู หรือว่าเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา ถือว่าไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สร้างวัตถุมงคล ทำนายทายทักอะไรก็ดี จัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งนั้น แล้วถ้าท่านทั้งหลายถามว่า “ในเมื่อเป็นเช่นนั้น แล้ววัดท่าขนุนยังสร้างวัตถุมงคลไปทำอะไร ?” ก็ขอตอบว่า “เพราะว่ากูไม่โง่..!” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า หากินด้วยเดรัจฉานวิชา แปลว่า ทำเป็นอาชีพ ในเมื่อเราไม่ทำเป็นอาชีพ ก็ไม่ได้หากินด้วยเดรัจฉานวิชา เพราะฉะนั้น..ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นั้น พระองค์ท่านทำไปก็เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง น่าเลื่อมใสของพระพุทธศาสนา เผื่อว่าจะฉลาดขึ้น…! อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เลี้ยงชีวิตด้วยวิธีการนั้น ๆ แต่ทำเพื่อสงเคราะห์ญาติโยมก็ทำไปสิครับ..! พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 240 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพจนี้รวบรวมพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
    https://www.facebook.com/tripitakaenglish/
    เพจนี้รวบรวมพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ https://www.facebook.com/tripitakaenglish/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • #thaitimes
    อย่าตกเป็นเหยื่อของมารศาสนา!!
    ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ประเทศไทยมีผู้ที่ไม่เข้าใจแก่นแท้ของศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก อาจเป็นจากการที่ศาสนิกได้รับการสอนมาแบบผิดๆ หรือไม่ได้สนใจศึกษาเลย
    พวกเราคำนึงเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดตั้งชมรมธรรมะทูบขึ้นเพื่อหวังจะเป็นตัวกลางในการทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสอนของศาสนาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เราจะยึดคำสอนจากพระไตรปิฎก 45 เล่มในการทำเนื้อหา
    #thaitimes อย่าตกเป็นเหยื่อของมารศาสนา!! ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ประเทศไทยมีผู้ที่ไม่เข้าใจแก่นแท้ของศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก อาจเป็นจากการที่ศาสนิกได้รับการสอนมาแบบผิดๆ หรือไม่ได้สนใจศึกษาเลย พวกเราคำนึงเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดตั้งชมรมธรรมะทูบขึ้นเพื่อหวังจะเป็นตัวกลางในการทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสอนของศาสนาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เราจะยึดคำสอนจากพระไตรปิฎก 45 เล่มในการทำเนื้อหา
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 370 มุมมอง 0 รีวิว
  • บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม
    กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง

    1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘)
    มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘

    2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์
    ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ

    3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ
    ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง

    4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ
    1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล
    2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล
    3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต
    พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน
    ดังข้อความว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
    ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
    คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า

    5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ
    “ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ;
    เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.
    "พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม
    ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ
    การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์

    6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้
    ๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี
    เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
    "อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ."
    วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙.
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8

    ๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
    สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล”
    (วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.)

    วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ
    (๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช)

    7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร
    เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย”
    (ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.)

    8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน
    โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น
    จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ

    9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า
    “อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์
    วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20
    หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด

    10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า
    “ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
    คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก .
    ๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง
    ๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
    ๗. ไม่ชักนำในอฐานะ
    ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
    ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
    อธิบายความ
    1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
    2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา
    3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ
    4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
    7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)

    11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม

    12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ
    ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า
    “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
    เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
    “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
    (ที.มหา.10/134/78.)
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3
    คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน
    ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้

    13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ
    ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต
    ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น.

    14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา
    ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย

    15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด
    การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่
    (มี ต่อ 16-18)

    อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
    บาป 18 ประการ คนตื่นธรรม กรณีคนตื่นธรรม สอนธรรมออนไลน์ในสื่อโซเชียล มีลักษณะการใช้คำพูดหยาบคาย ด้อยค่าด่ากราด ไม่ประนีประนอมเพื่อให้คนเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง ตื่นรู้จากอวิชชา เดรัจฉานวิชา ปลุกเสก ได้สร้างบาป 18 ประการขึ้น คือในการสอนธรรม มีข้อผิดพลาดที่เป็นปัญหาควรต้องพิจารณาและปรับปรุง เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพุทธสาสนา และสร้างสัทธรรมปฏิรูปขึ้นแก่ชาวพุทธ เป็นบาปใหญ่หลวง 1. ใช้วจีทุจริต ไม่เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นวาจาสุภาษิต (ตามแนวทางมรรค ๘) มีการใช้คำพูดด่า ดูถูก กดข่มผู้ฟัง เช่น มึงมันโง่ ไอ้ปัญญาอ่อน มึงปัญญาอ่อนไง โดยกล่าวอ้างว่า ธรรมแท้ไม่มีประนีประนอม ในหลักของมรรคมีองค์ ๘ ครอบคลุมอยู่ในทุกเรื่องของการกระทำ จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา การสอนโดยใช้วาจาไม่เป็นสัมมาวาจานั้น เป็นวจีทุจริต เป็นบาป ผิดหลักมรรคมีองค์ ๘ 2. สอนขัดแย้งกันเอง ยกธรรมตีธรรม เพราะไม่รอบรู้ไม่เข้าใจหลักเหตุผล มักจะเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งยกขึ้นมา ตีธรรมะข้ออื่นในชุดธรรมเดียวกัน หรือชุดอื่น เพื่อสร้างภาพว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมวินัยดี อันไหนธรรมแท้ ธรรมถูก เช่น การกล่าวว่าการรู้อดีต รู้อนาคต ไม่ได้ทำให้เข้าใจปัจจุบัน ไม่มีประโยชน์ ถือเป็นดูหมิ่นด้อยค่า คำสอน วิชชา 3 มี ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ โดยคำลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ญาณ 2 อย่างข้างต้นไม่มีความสำคัญ ในขณะที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกรู้อดีตชาติของพระพุทธเจ้า ได้เป็นการประจักษ์แจ้งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้รู้จุตูปปาตญาณ รู้ผลของการกระทำกรรม และนำสู่อาสวักขยญาณ ปัญญารู้ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นได้ และข้อธรรมอื่นก็คล้ายกัน ไม่รู้จักเหตุผล พุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นชุดเหตุผล เป็นลำดับ 3. พุทธคุณไม่มีอยู่จริง นอกจากพระบริสุทธิคุณ ปัญญาคุณ มหากรุณาคุณ ความจริงคุณของพระพุทธเจ้ามีหลายประการ ทั้งนวหรคุณ 9 อย่าง อะระหํ(เป็นพระอรหันต์) สัมมาสัมพุทโธ(ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง) วิชชาจรณสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) เป็นต้น พุทธานุภาพที่เกิดจากอานุภาพบารมีที่สั่งสมแสดงออกอำนวยผล ในหลายลักษณะ ให้เกิดความสวัสดีแก่ผู้นับถือบูชา เช่น การปกป้องคุ้มครองพระภิกษุที่ไปปฏิบัติอยู่ในสถานที่ห่างไกล มักจะปูลาดอาสนะไว้ เมื่อมีภัย หรือเกิดอกุศลวิตก หวาดกลัว เพียงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จะเสด็จมาปลอบ สอนธรรม ทำให้พระภิกษุไม่หวาดกลัวที่จะเดินทางไปอยู่ในที่ไกลๆ เพราะพลังแห่งพุทธะคุ้มครอง แม้ในยุคปัจจุบันพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีพลังพุทธคุณหรือพุทธานุภาพปกป้องคุ้มครองชาวพุทธอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จะมีผลได้ต้องปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมระดับหนึ่งจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ การเห็นสุดโต่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งพุทธานุภาพจึงเป็นความเห็นผิด อันร้ายแรงอย่างหนึ่ง 4.พระเครื่องไม่มีพุทธคุณ เป็นความเห็นผิด พุทธเจ้าประทานบทพระปริตรหลายวาระหลายบท เพื่อป้องกัน เพื่อรักษา ไม่เบียดเบียน อยู่สำราญ ของพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พุทธานุภาพหรือเขตอำนาจแห่งพุทธเจ้าแผ่ไปใน 3 เรื่อง คือ 1)ชาติเขต แผ่ไปในหมื่นจักรวาล 2)อาณาเขต คือ พุทธมนต์ หรือปริตร แผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล 3)วิสัยเขต แผ่ไปไม่มีขอบเขต พุทธคุณหรือพุทธานุภาพ เกิดจากการสวดสาธยายมนต์ มีอำนาจแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล ช่วยขจัดปัดเป่าอุปัทวันตราย โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆ ได้ มีการสืบทอดคำสอนมาช้านาน ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย” ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า บทปริตร หรือบทพุทธมนต์ มีพลังอำนาจ คุ้มครองป้องกันรักษา พระพุทธเจ้าจึงให้สวดสาธยาย และเมื่อนำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ ย่อมมีคุณตามที่พระพุทธเจ้าตรัส คำพูดปฏิเสธพุทธคุณ พุทธรูป สิ่งเคารพทางศาสนา ที่สืบทอดคติความเชื่อจารีตมาช้านานนับพันปี จึงเป็นการบ่อนทำลายความศรัทธาที่มีต่อ พระพุทธเจ้า สิ่งแทนพุทธเจ้า หรือคำสอนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไม่ให้ผู้คนมีศรัทธา โดยยกคำสอนเรื่องอริยสัจ มาด้อยค่าคำสอนว่าด้วยเรื่องศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำลายศาสนา ไปพร้อมกัน อนาคตเด็กยุคใหม่เสพคำสอนนี้ จะไม่นับถือไม่ไหว้พระพุทธเจ้าและไม่เห็นความสำคัญ คุณค่าของพุทธรูปที่สร้างไว้ในฐานะเครื่องยึดเหนี่ยวที่เป็นรูปธรรมนำสุ่พุทธเจ้า รวมทั้งไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า 5. มิจฉาทิฐิ 10 สอนการบูชาที่ไร้ผล สายลัทธิวัดนา สอนไม่ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป องค์แทนพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพุทธเจ้า เป็นจารีตนิยมที่ถือมาช้านาน เชื่อมโยงคำสอนในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ปีตวิมานวัตถุ “ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต จาปิ, สเม จิตฺเต สมํ ผลํ; เจโตปณิธิเหตุ หิ, สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ. "พระพุทธเจ้า จะทรงพระชนม์อยู่ หรือแม้จะนิพพานไปแล้วก็ตาม ถ้าจิตเสมอกัน ผลก็เสมอกัน สัตว์ทั้งหลายไปสู่สวรรค์ เพราะความเลื่อมใสตั้งมั่นแห่งจิตใจ การสอนไม่ให้ไหว้พุทธรูป นับเป็นมิจฉาทิฐิ ข้อที่ ๒ นัตถิ ยิตถัง และข้อที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง ในชุดคำสอน มิจฉาทิฐิ ๑๐ ประการ เป็นการสร้างบาปทำลายคำสอน ความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธเจ้า โดยอ้างว่าให้ยึดคำสอนสูงสุด อริยสัจสี่ เพื่อพ้นทุกข์ 6. คุณไสย ไสยเวทย์ ไม่มี. การปฏิเสธคำสอน ในเรื่องคุณไสย์ วิชาอาคม มนต์ มีพลังอำนาจอยู่จริง หรือไม่ เมื่อไม่สามารถหาคำตอบหรือพิสูจน์ได้ ก็ควรพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎก มีที่ใดบ้าง ข้อความพุทธพจน์วินัยบัญญัติ ดังเรื่องต่อไปนี้ ๑) พระภิกษุถูกผีสิง อมนุษย์สิง กินเลือดสด เนื้อสด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันเลือดและเนื้อสดได้ เพื่อเป็นเภสัช เมื่อฉันแล้วอมนุษย์จะออกไป แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติทางพระวินัย พระพุทธเจ้ายอมรับว่ามีผีหรืออมนุษย์สามารถสิงสู่คนได้ พระภิกษุถูกอมนุษย์สิงได้ และวิธีการรักษา ในครั้งนั้นตามอาการ คือเมื่ออมนุษย์มาสิงเพื่อกินเนื้อสด เลือดสด(ปอบ) ก็อนุญาตให้พระภิกษุกินได้ และไม่ถือว่าต้องอาบัติอะไร เพราะคนที่กิน ไม่ใช่พระ แต่เป็นอมนุษย์ หลักฐานนี้ยอมรับการมีอยู่ การสิงร่างคน ของอมนุษย์ เป็นความรู้ที่ควรต้องมี ไม่ปฏิเสธว่า ผี อมนุษย์ ไม่มี ไสยเวทย์ ไม่มี เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด "อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้วได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อาพาธเกิดแต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ." วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๒๖๔๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=8 ๒) เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน รอยไถติดผาล” (วินัยปิฎกมหาวรรค. ๕/๒๖๙/๖๑.) วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีปรากฏอยู่ในตุวฏกสุตตนิทเทสขุททกนิกาย มหานิเทศ ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดโรคไว้ 5 อย่างด้วยกัน คือ (๑) การบำบัดด้วยการเสกเป่า (๒) การบำบัดด้วย (๓) การผ่าตัด (๔) การบำบัดด้วยยา (๕) การรักษาที่เกี่ยวข้องกับทางภูตผีหรือไสยศาสตร์ และการบำบัดโรคเด็ก (กุมารเวช) 7.ปฏิเสธการสวดมนต์ สาธยายมนต์ พระปริตร ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้ช่วยอะไร เป็นการปฏิเสธคำของพระพุทธเจ้า ที่อนุญาตให้พุทธบริษัท ๔ เรียน และสวดสาธยายปริตร ดังข้อความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะจงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย” (ที.มหา. ๑๑/๒๙๕/๒๖๔.) 8. เรียนไม่ถึง ตีความเอง ไม่ศึกษาเครื่องมือการศึกษาพระไตรปิฎก คือไวยากรณ์ภาษาบาลี คนตื่นธรรมเป็นศิษย์สำนักวัดนาจึงใช้ทิฏฐิของตน อัตโนมัติ ตัดสินธรรมตามชอบใจ ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สำนักนี้ใช้การตีความแบบนี้มาช้านาน โดยใช้หลักการยึดเอาพระไตรปิฎกเฉพาะบางส่วน ที่เห็นว่าเป็นคำพุทธวจนะแท้ จากพระโอษฐ์ โดยใช้ตรรกะง่ายๆ หาข้อความในพระสูตรที่มีคำว่า "ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เป็นต้น จึงจะเชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนคำสอนอื่นที่ไม่มีข้อความตรัสแบบนี้ จะตีความว่าไม่ใช่คำสอน เป็นคำแต่งเติม แต่งใหม่จึงมีส่วนคำสอนที่ถูกสำนักนี้ตัดออกไป เช่น เรื่องสวดปริตร หรือสิกบท 150 ข้อ การตัดสินความเป็นพุทธพจน์แท้ แบบนี้นับเป็นการตีความผิดพลาดอย่างมาก ได้สร้างบาปใหญ่ให้เกิดในสังฆมณฑลมา 20 กว่าปี ศิษย์สำนักนี้เผยแผ่ธรรม ตามการตีความแบบนี้จึงได้เกิด วิวาทะ ปะทะกับชาวพุทธส่วนใหญ่ ถกเถียงกันเรื่อง เดรัจฉานวิชา การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก สิกขาบทวินัย ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหา ยังคงเป็นปัญหาจนทุกวันนี้ คนตื่นธรรมถือเป็นผลผลิตของวัดนาที่ได้สร้างบาปให้แก่พุทธสาสนา ด้วยการศึกษาเอง ตีความเอง ข่มชาวพุทธ 9.ศึกษาธรรมวินัยเอง ไม่มีครูอาจารย์ผู้สอน ทำให้ตีความธรรมวินัยผิดพลาด ขัดแย้งกับคำสอนหลายเรื่อง เป็นมิจฉาทิฐิ ในการเล่าเรียนธรรมพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวิธีการศึกษาพระธรรมวินัยไว้ในสัทธิวิหาริกวัตรว่า “อุปชฺฌาเยน, ภิกฺขเว, สทฺธิวิหาริโก สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ อุทฺเทเสน ปริปุจฺฉาย โอวาเทน อนุสาสนิยา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ ต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก(พระลูกศิษย์) ด้วยอุทเทส(พระบาลี) ปริปุจฉา(การทวนสอบอรรถกถา) โอวาท และอนุสาสนีย์ วินัยปิฎก มหาวรรค.๔/๖๗/๘๘ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=20 หลักการนี้ย้ำชัดว่า ในการศึกษาคำสอน ต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ที่รอบรู้ในพระธรรมวินัย ไม่สามารถศึกษาเองได้ คนตื่นธรรมหรือสำนักวัดนา ใช้วิธีการอ่านศึกษาธรรมเอง จึงได้เกิดความเห็นผิดขึ้นหลายประการ เรื่องการตีความคำสอนผิดพลาด 10.ขาดคุณสมบัติของผู้สอนธรรม ๗ ประการ ที่จำเป็นของผู้สอนธรรม ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาตว่า “ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม; คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺาเน นิโยชโก . ๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒. เป็นที่เคารพ ๓. เป็นที่ยกย่อง ๔. เป็นนักพูด ๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ๗. ไม่ชักนำในอฐานะ ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม อธิบายความ 1.ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓) 2.ครุ เป็นที่เคารพ สูงส่งหนักแน่นดุจหินผา 3.ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง น่าเจริญใจ 4.วัตตา เป็นนักพูด(ผู้สอน) หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 6. คัมภีรัญ จะ กถัง กัตตา ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙) 7. โน จัฏฐาเน นิโยชะโก ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓) 11. ไม่จำแนกแยกแยะ ให้ชัดเจน เหมาะรวม เช่น การสวดมนต์ เจริญพุทธมนต์ ปริตร การอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องวัตถุมงคล กับเดรัจฉานวิชา เอามายำรวมกัน เป็นของที่ห้าม 12.ไม่ให้บูชานับถือ สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระรัตนตรัย หรือคำสอน บูชาเทวดา ยมยักษ์ ต่างๆ ในรายละเอียดเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงอานิสงส์ของการบูชาเจดีย์ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ตอนราชอปริหานิยธรรม ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๖ ว่า “อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชี สักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชี ทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม ที่เคยให้เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” “อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้เคยกระทำ ต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป” (ที.มหา.10/134/78.) https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3 คำว่า เจดีย์ ที่ชาววัชชีบูชา หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ ที่มียักษ์สิงสถิตย์ ยักษ์เป็นเทวดาชั้นจาตุม ยกฺข ภาษาบาลีแปลว่า ผู้ที่เขาบูชา เมื่อบุคคลบูชาต้นไม้ใหญ่ หรือยักษ์ ย่อมมีความเจริญ ยักษ์คือเทวดาย่อมปกปักษ์รักษา สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง เทวตานุสสติ ในพระพุทธศาสนา ไม่ขัดแย้งกัน ย่อมเป็นหลักการยืนยันว่า พระพุทธเจ้ายอมรับว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจอำนวยผลให้ผู้คนนับถือบูชา การบูชาเทวดา หรือต้นไม้ใหญ่ ก็มีผลนำความเจริญมาสู่ได้ เป็นหลักการย่อยในหลักการใหญ่ ที่ควรต้องรู้รอบและลึกชัดเจน จึงจะเข้าใจเรื่องนี้ 13. ไม่เข้าใจตัวบทพยัญชนะ ความหมายคำ ติรัจฉานวิชชา การสวดปริตร การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ที่อนุญาต ติรจฺฉานวิชฺชา(อิต.) วิชาขวาง, วิชาขวาง ทางไปนิพพาน, ติรัจฉานวิชา คือความรู้ที่ไร้สาระ ความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ วิชาที่ไม่ทำตนให้พ้นจากทุกข์ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงห้ามมิให้ภิกษุ - สามเณรศึกษา เช่น วิชาทำเสน่ห์ยาแฝดเป็นต้น. 14. ไม่เข้าใจ แยกไม่ออกระหว่างการสวดปริตร กับการทำเดรัจฉานวิชา ทำให้ โจมตีพระที่สวดปริตร ทำน้ำมนต์ ปลุกเสก ในขณะที่เรื่องการทำวัตถุมงคล พุทธพานิชย์มีรายละเอียดหลายส่วน ต้องพิจารณาว่าพระสงฆ์รูปใดเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะใดบ้าง ผิดพระวินัยข้อใด การสร้างพระพุทธรูป การสวดปริตร ปลุกเสก ไม่ได้ผิดหลักคำสอนทั้งในส่วนวินัยบัญญัติ หรือสัมมาอาชีวะแต่อย่างใด ส่วนการทำพานิชย์ที่เกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ของฆราวาสดำเนินการด้วยมุ่งประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสร้างถาวรวัตถุ ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ใช่การหลอกลวงตามพระวินัย 15. ไม่มีคารวธรรม คุณธรรม ศึกษาแบบลวกๆ ไม่เคารพในสิกขา การศึกษา ทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง นำสุ่การตีความธรรมวินัยผิด การศึกษาธรรมต้องมีความเคารพในสิกขา คือการศึกษาด้วยความเคารพ ข้อใดไม่เข้าใจก็ต้องไปสอบถาม กับอาจารย์ผู้รู้ จนเกิดความเข้าใจ การไม่แสวงหา ไม่ใฝ่หาผู้รู้มาสอบทานความรู้ที่ตนมีจึงเป็นการศึกษาโดยไม่เคารพในพระธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาชาวพุทธเมื่อนำไปเผยแผ่ (มี ต่อ 16-18) อย่าร่วมกันสร้างบาปให้กับพระพุทธศาสนา คำสอนในพระไตรปิฎกมีความลึกซึ้ง ต้องศึกษาอย่างเคารพ ระมัดระวัง อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ และชาวพุทธควรยึดหลักการในพระไตรปิฎก ไม่สนับสนุนกลุ่มคนที่ทำลายคำสอนด้วยการสอนผิด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 482 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงกรรมที่ทำให้มีบริวารมากและบริวารดีนั้น เกิดจากการที่ท่านเคยนำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก ช่วยบรรเทาความกลัวและความเดือดร้อนของผู้คน และให้ทานด้วยทรัพย์ที่หามาอย่างชอบธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นกรรมดีที่สร้างให้ท่านมีบริวารมากในชาตินี้ เรื่องนี้ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่าด้วยเรื่องการพยากรณ์มหาบุรุษ

    อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่ว่าการชักชวนให้ผู้อื่นทำบุญจะช่วยให้มีบริวารมากนั้น มีมาในอรรถกถา เช่นเรื่องของเศรษฐีพิฬาลปทกะ ซึ่งไม่ได้มีปรากฏในพระไตรปิฎกโดยตรง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการทำความดีและการชักชวนให้ผู้อื่นทำความดีตาม ซึ่งหลักการนี้สามารถพบได้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ว่าด้วยผู้ที่รักษาศีลและชักชวนผู้อื่นให้รักษาศีลตามตน

    กรรมที่ทำให้มีบริวารมากจึงไม่ได้เกิดจากการชักชวนให้ทำบุญเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจาก "น้ำใจคิดช่วยคนหมู่มาก" ที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงเพื่อผลลัพธ์ส่วนตน การมีน้ำใจช่วยเหลือ การมีเมตตา และการเป็นแรงบันดาลใจให้คนรอบข้างอยากทำความดีตาม เป็นเหตุที่แท้จริงที่จะทำให้เรามีบริวารที่ดี

    ในทางปฏิบัติ หากเราชักชวนให้คนทำบุญอย่างจริงใจ สร้างความรู้สึกดีและมีส่วนร่วมให้แก่พวกเขา กรรมดีก็จะส่งผลให้เรามีบริวารที่ดีได้ แต่หากชักชวนอย่างขอไปทีหรือทำให้คนอื่นอึดอัดใจ ก็ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้เกิดบริวารที่ดีตามมา

    กฎแห่งการให้ผลของกรรมคือเรื่องที่มีความชอบธรรมและสัมพันธ์กับเหตุและผลโดยตรง การให้ความสำคัญกับน้ำใจที่มีต่อผู้อื่นและการสร้างแรงบันดาลใจที่ดี จึงเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการสร้างบริวารที่แท้จริง
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงกรรมที่ทำให้มีบริวารมากและบริวารดีนั้น เกิดจากการที่ท่านเคยนำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก ช่วยบรรเทาความกลัวและความเดือดร้อนของผู้คน และให้ทานด้วยทรัพย์ที่หามาอย่างชอบธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นกรรมดีที่สร้างให้ท่านมีบริวารมากในชาตินี้ เรื่องนี้ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่าด้วยเรื่องการพยากรณ์มหาบุรุษ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่ว่าการชักชวนให้ผู้อื่นทำบุญจะช่วยให้มีบริวารมากนั้น มีมาในอรรถกถา เช่นเรื่องของเศรษฐีพิฬาลปทกะ ซึ่งไม่ได้มีปรากฏในพระไตรปิฎกโดยตรง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการทำความดีและการชักชวนให้ผู้อื่นทำความดีตาม ซึ่งหลักการนี้สามารถพบได้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ว่าด้วยผู้ที่รักษาศีลและชักชวนผู้อื่นให้รักษาศีลตามตน กรรมที่ทำให้มีบริวารมากจึงไม่ได้เกิดจากการชักชวนให้ทำบุญเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจาก "น้ำใจคิดช่วยคนหมู่มาก" ที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงเพื่อผลลัพธ์ส่วนตน การมีน้ำใจช่วยเหลือ การมีเมตตา และการเป็นแรงบันดาลใจให้คนรอบข้างอยากทำความดีตาม เป็นเหตุที่แท้จริงที่จะทำให้เรามีบริวารที่ดี ในทางปฏิบัติ หากเราชักชวนให้คนทำบุญอย่างจริงใจ สร้างความรู้สึกดีและมีส่วนร่วมให้แก่พวกเขา กรรมดีก็จะส่งผลให้เรามีบริวารที่ดีได้ แต่หากชักชวนอย่างขอไปทีหรือทำให้คนอื่นอึดอัดใจ ก็ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้เกิดบริวารที่ดีตามมา กฎแห่งการให้ผลของกรรมคือเรื่องที่มีความชอบธรรมและสัมพันธ์กับเหตุและผลโดยตรง การให้ความสำคัญกับน้ำใจที่มีต่อผู้อื่นและการสร้างแรงบันดาลใจที่ดี จึงเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการสร้างบริวารที่แท้จริง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระมณฑป (#หอไตรจตุรมุข ) #วัดโพธิ์ พระมณฑป หรือ (หอไตรจตุรมุข) รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนา เป็นสถาปัตยกรรมจตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตำนานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกำเนิดท่าเตียน #วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม #วัดโพธาราม #กรุงเทพมหานคร
    พระมณฑป (#หอไตรจตุรมุข ) #วัดโพธิ์ พระมณฑป หรือ (หอไตรจตุรมุข) รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนา เป็นสถาปัตยกรรมจตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตำนานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกำเนิดท่าเตียน #วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม #วัดโพธาราม #กรุงเทพมหานคร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 29 0 รีวิว
  • วันอังคาร ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จไปมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ ๑๓๑ และพิธีทอดผ้าป่าเพื่อนำปัจจัยโดยเสด็จพระกุศลสมทบทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามที่เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงตั้งไว้ในมหาวิทยาลัย สำหรับประทานแก่พระภิกษุสามเณรนักศึกษา

    การนี้ โปรดประทานรางวัลแก่ผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรดีเด่น ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และของที่ระลึกแก่ผู้ร่วมโดยเสด็จพระกุศล

    โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระสัมโมทนียกถา ความตอนหนึ่งว่า

    “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนามหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยมีเจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นปฐมบูรพาจารย์ ด้วยทุก ๆ พระองค์ล้วนทรงมุ่งหมายให้พระพุทธศาสนา สถาพรอยู่คู่โลกนี้ และเป็นหลักชัยของบ้านเมืองไทยอยู่ตราบกาลนาน

    การที่พระพุทธศาสนาจะดำรงคงมั่น จำเป็นต้องสร้างสรรค์พุทธบริษัทให้รู้ลึกและรู้รอบในวิชชา ตามกระบวนการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมที่ถูกต้อง หากการศึกษาพระปริยัติธรรมอ่อนแอผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือรวนเรไปตามอัตโนมติแล้ว ย่อมปฏิบัติผิดและสอนผิด ทำให้ไม่อาจเข้าถึงปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรมได้

    ปริยัติธรรมอันควรศึกษาโดยรอบ ย่อมหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือพระไตรปิฎก รวมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจในหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

    การศึกษาปริยัติธรรมอาจจำแนกได้เป็น ๓ ระดับ กล่าวคือ

    ๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หางคือ ศึกษาเพื่อลาภสักการะ เพื่อคำสรรเสริญหรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่นย่อมเป็นโทษ เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้

    ๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์ คือ เพื่ออบรมปัญญาเป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยในวัฏสงสาร

    และ ๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือเพื่อทรงพระศาสนาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญเป็นการศึกษาของผู้จบกิจในการอบรมปัญญา เพื่อละกิเลสแล้วแต่ยังมีฉันทะในการศึกษา เพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง

    ณ โอกาสอันเป็นมงคลนี้ จึงขอเตือนใจให้ทุกท่านอย่าได้คิดศึกษาแบบอลคัททูปริยัติ แต่ขอเป็นกำลังใจสนับสนุนให้ท่านจงเป็นผู้องอาจ และเข้มแข็งในอันที่จะศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อความออกจากทุกข์ และเพื่อรักษาพระสัทธรรม ไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์ ขออย่าให้อคติทั้ง ๔ เข้ามาบดบัง และบิดเบือน จนกลายเป็นมิจฉาทิฐิไปได้เป็นอันขาด

    อาตมภาพขออนุโมทนากุศลจริยาที่ทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย และขอแสดงมุทิตาจิตต่อผู้ได้รับตำแหน่ง ทุน และรางวัลต่าง ๆ กับทั้งขออำนวยพรให้ทุกท่าน จงเจริญรุ่งเรืองในพระบวรพุทธศาสนา ยิ่ง ๆ ขึ้นสืบไปเทอญ“

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/x6nCcePgoJRmbCxT/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    วันอังคาร ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จไปมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ ๑๓๑ และพิธีทอดผ้าป่าเพื่อนำปัจจัยโดยเสด็จพระกุศลสมทบทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามที่เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงตั้งไว้ในมหาวิทยาลัย สำหรับประทานแก่พระภิกษุสามเณรนักศึกษา การนี้ โปรดประทานรางวัลแก่ผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรดีเด่น ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และของที่ระลึกแก่ผู้ร่วมโดยเสด็จพระกุศล โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระสัมโมทนียกถา ความตอนหนึ่งว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนามหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยมีเจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นปฐมบูรพาจารย์ ด้วยทุก ๆ พระองค์ล้วนทรงมุ่งหมายให้พระพุทธศาสนา สถาพรอยู่คู่โลกนี้ และเป็นหลักชัยของบ้านเมืองไทยอยู่ตราบกาลนาน การที่พระพุทธศาสนาจะดำรงคงมั่น จำเป็นต้องสร้างสรรค์พุทธบริษัทให้รู้ลึกและรู้รอบในวิชชา ตามกระบวนการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมที่ถูกต้อง หากการศึกษาพระปริยัติธรรมอ่อนแอผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือรวนเรไปตามอัตโนมติแล้ว ย่อมปฏิบัติผิดและสอนผิด ทำให้ไม่อาจเข้าถึงปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรมได้ ปริยัติธรรมอันควรศึกษาโดยรอบ ย่อมหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือพระไตรปิฎก รวมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจในหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย การศึกษาปริยัติธรรมอาจจำแนกได้เป็น ๓ ระดับ กล่าวคือ ๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หางคือ ศึกษาเพื่อลาภสักการะ เพื่อคำสรรเสริญหรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่นย่อมเป็นโทษ เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้ ๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์ คือ เพื่ออบรมปัญญาเป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยในวัฏสงสาร และ ๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือเพื่อทรงพระศาสนาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญเป็นการศึกษาของผู้จบกิจในการอบรมปัญญา เพื่อละกิเลสแล้วแต่ยังมีฉันทะในการศึกษา เพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง ณ โอกาสอันเป็นมงคลนี้ จึงขอเตือนใจให้ทุกท่านอย่าได้คิดศึกษาแบบอลคัททูปริยัติ แต่ขอเป็นกำลังใจสนับสนุนให้ท่านจงเป็นผู้องอาจ และเข้มแข็งในอันที่จะศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อความออกจากทุกข์ และเพื่อรักษาพระสัทธรรม ไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์ ขออย่าให้อคติทั้ง ๔ เข้ามาบดบัง และบิดเบือน จนกลายเป็นมิจฉาทิฐิไปได้เป็นอันขาด อาตมภาพขออนุโมทนากุศลจริยาที่ทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย และขอแสดงมุทิตาจิตต่อผู้ได้รับตำแหน่ง ทุน และรางวัลต่าง ๆ กับทั้งขออำนวยพรให้ทุกท่าน จงเจริญรุ่งเรืองในพระบวรพุทธศาสนา ยิ่ง ๆ ขึ้นสืบไปเทอญ“ ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/x6nCcePgoJRmbCxT/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 689 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา
    ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
    ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์
    รู้จักประมาณในการบริโภค
    ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ
    มีความเพียรอยู่อย่างนี้
    ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน
    ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม
    เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
    ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
    หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท
    ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
    .................
    ข้อความบางตอนใน อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=37
    ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้ ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ มีความเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้ ................. ข้อความบางตอนใน อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=37
    มจร. ๗. อปริหานิยสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    พระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา อรรถกถา Buddhism Dhamma tipitaka atthakatha
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 140 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฝ่าฟันกิเลสด้วย
    กุศลกรรมบถ 10 คือ หลักธรรมแห่งกรรมดีอันเป็นกุศล หรือทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล รวมเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันจำนวน 10 ประการ อันจะนำความสุขและความเจริญมาสู่ผู้ปฏิบัติ

    คำว่า "กุศล" หมายถึง บุญความดี, สิ่งที่ดีงาม
    คำว่า "กรรมบถ" หมายถึง หนทางแห่งกรรม, การกระทำกรรม
    เมื่อคำว่า "กุศลกรรมบถ 10" มารวมอยู่ด้วยกัน จึงมีความหมายว่า หนทางสู่การกระทำกรรมดีอันเป็นกุศล จำนวน 10 ประการ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักธรรมที่เป็นพุทธวจน ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ที่ชาวพุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และเพื่อให้มีความเจริญในชีวิต
    ฝ่าฟันกิเลสด้วย กุศลกรรมบถ 10 คือ หลักธรรมแห่งกรรมดีอันเป็นกุศล หรือทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล รวมเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันจำนวน 10 ประการ อันจะนำความสุขและความเจริญมาสู่ผู้ปฏิบัติ คำว่า "กุศล" หมายถึง บุญความดี, สิ่งที่ดีงาม คำว่า "กรรมบถ" หมายถึง หนทางแห่งกรรม, การกระทำกรรม เมื่อคำว่า "กุศลกรรมบถ 10" มารวมอยู่ด้วยกัน จึงมีความหมายว่า หนทางสู่การกระทำกรรมดีอันเป็นกุศล จำนวน 10 ประการ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักธรรมที่เป็นพุทธวจน ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ที่ชาวพุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และเพื่อให้มีความเจริญในชีวิต
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 103 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุกศาสนามีมูลเหตุมาจากความกลัว นับตั้งแต่ กลัวภัยธรรมชาติ จนถึงกลัว เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส วิธีปฏิบัติเพื่อให้รอดพ้นจากความกลัวนั้นๆ เรียกว่า “ศาสนา” เช่นมีการบูชาบวงสรวงอ้อนวอน เป็นต้น

    พุทธศาสนา มีมูลมาจากกลัวความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส อันเป็นตัวทุกข์หรือเหตุให้เกิดทุกข์วิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ คือ การพิจารณาให้รู้แ เป็นจริงในสิ่งทั้งปวงตามเป็นจริงด้วยตนเองว่า “อะไร” อะไร” เมื่อเห็นจริงก็ปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวง การปฏิบั ถูกนั่นเองเป็นทางดับทุกข์ การบูชา บวงสรวง อ้อน การรดน้ำมนต์ ตลอดจนการนับถือเทวดา หรือดวง มิใช่ทางดับทุกข์ ตามหลักแห่งพุทธศาสนา

    พุทธศาสนาดูได้หลายเหลี่ยม เช่นเดียวกับศาสน อื่นๆ ตามแต่สติปัญญาความรู้ความเข้าใจของผู้ดู คัม ของศาสนาต่างๆ หรือพระไตรปิฎกของพระพุทธศาส จึงมีการเพิ่มเติมเข้าไปอีกมาก ตามความเห็นของคน หลัง จนเกินขอบเขต โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนา การหลงถือเอาพิธีต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เช่น พิธี วิญญาณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นว่าเป็นพุทธศาสนา บางอย่างได้ห่อหุ้มความหมายเดิมให้สาบสูญไป เช่น บวชนาค” ได้มีการทำขวัญนาค มีการฉลองกันใน วชไม่กี่วัน สึกออกมายังเหมือนเดิม การบวชสมัย

    พระพุทธเจ้า ผู้ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้วปลีกตัว ออกจากเรือนไปหาพระ การบวชเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ทางบ้านไม่มีหน้าที่ทำอะไรเลย พิธีที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นไม่ได้ ทำให้ผู้บวชดีขึ้น บางคนฝึกไปแล้วกลับเลวกว่าเก่าก็มี จึงเป็นการทำให้หมดเปลืองทรัพย์ และแรงงานไปเปล่าๆ


    เรื่อง “กฐิน” ก็เช่นกัน ความมุ่งหมายเดิมมีว่า ให้พระทุกรูปทำจีวรใช้เอง ให้พร้อมเพรียงกัน ทำด้วยมือ ” คนให้หมดความถือตัว โดยให้ลดตัวเองมาเป็นกุลีเท่ากัน หมด แต่เดี๋ยวนี้กฐินกลายเป็นเรื่องมีไว้สำหรับประกอบ พิธีหรูหราหาเงิน เอิกเกริกเฮฮาสนุกสนานพักผ่อนหย่อนใจ โดยไม่ได้รับผลสมความมุ่งหมายอันแท้จริง

    ลักษณะดังกล่าวมานี้ เรียกว่าเป็น “เนื้องอก” ของ พุทธศาสนา ซึ่งมีมากมายหลายร้อยอย่าง จัดเป็นเนื้อ ร้ายชนิดหนึ่งที่งอกออกมาปิดบังเนื้อดีหรือแก่นแท้ของ พุทธศาสนาให้ค่อยๆ เลือนหายไป นิกายต่างๆ ก็เกิดขึ้น

    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน
    https://www.thenirvanalive.com/2023/03/12/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5/
    ทุกศาสนามีมูลเหตุมาจากความกลัว นับตั้งแต่ กลัวภัยธรรมชาติ จนถึงกลัว เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส วิธีปฏิบัติเพื่อให้รอดพ้นจากความกลัวนั้นๆ เรียกว่า “ศาสนา” เช่นมีการบูชาบวงสรวงอ้อนวอน เป็นต้น พุทธศาสนา มีมูลมาจากกลัวความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส อันเป็นตัวทุกข์หรือเหตุให้เกิดทุกข์วิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ คือ การพิจารณาให้รู้แ เป็นจริงในสิ่งทั้งปวงตามเป็นจริงด้วยตนเองว่า “อะไร” อะไร” เมื่อเห็นจริงก็ปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวง การปฏิบั ถูกนั่นเองเป็นทางดับทุกข์ การบูชา บวงสรวง อ้อน การรดน้ำมนต์ ตลอดจนการนับถือเทวดา หรือดวง มิใช่ทางดับทุกข์ ตามหลักแห่งพุทธศาสนา พุทธศาสนาดูได้หลายเหลี่ยม เช่นเดียวกับศาสน อื่นๆ ตามแต่สติปัญญาความรู้ความเข้าใจของผู้ดู คัม ของศาสนาต่างๆ หรือพระไตรปิฎกของพระพุทธศาส จึงมีการเพิ่มเติมเข้าไปอีกมาก ตามความเห็นของคน หลัง จนเกินขอบเขต โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนา การหลงถือเอาพิธีต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เช่น พิธี วิญญาณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นว่าเป็นพุทธศาสนา บางอย่างได้ห่อหุ้มความหมายเดิมให้สาบสูญไป เช่น บวชนาค” ได้มีการทำขวัญนาค มีการฉลองกันใน วชไม่กี่วัน สึกออกมายังเหมือนเดิม การบวชสมัย พระพุทธเจ้า ผู้ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้วปลีกตัว ออกจากเรือนไปหาพระ การบวชเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ทางบ้านไม่มีหน้าที่ทำอะไรเลย พิธีที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นไม่ได้ ทำให้ผู้บวชดีขึ้น บางคนฝึกไปแล้วกลับเลวกว่าเก่าก็มี จึงเป็นการทำให้หมดเปลืองทรัพย์ และแรงงานไปเปล่าๆ เรื่อง “กฐิน” ก็เช่นกัน ความมุ่งหมายเดิมมีว่า ให้พระทุกรูปทำจีวรใช้เอง ให้พร้อมเพรียงกัน ทำด้วยมือ ” คนให้หมดความถือตัว โดยให้ลดตัวเองมาเป็นกุลีเท่ากัน หมด แต่เดี๋ยวนี้กฐินกลายเป็นเรื่องมีไว้สำหรับประกอบ พิธีหรูหราหาเงิน เอิกเกริกเฮฮาสนุกสนานพักผ่อนหย่อนใจ โดยไม่ได้รับผลสมความมุ่งหมายอันแท้จริง ลักษณะดังกล่าวมานี้ เรียกว่าเป็น “เนื้องอก” ของ พุทธศาสนา ซึ่งมีมากมายหลายร้อยอย่าง จัดเป็นเนื้อ ร้ายชนิดหนึ่งที่งอกออกมาปิดบังเนื้อดีหรือแก่นแท้ของ พุทธศาสนาให้ค่อยๆ เลือนหายไป นิกายต่างๆ ก็เกิดขึ้น สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน https://www.thenirvanalive.com/2023/03/12/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5/
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 684 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน

    ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน

    ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป

    ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง

    ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล

    ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล

    บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่
    ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง
    ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์

    ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี
    ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา
    หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง
    ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
    ในปรโลก

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖

    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน

    https://www.thenirvanalive.com/2024/08/11/พทธโอวาท-ตอน-กาลทานสตร/
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖ สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน  https://www.thenirvanalive.com/2024/08/11/พทธโอวาท-ตอน-กาลทานสตร/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 310 มุมมอง 0 รีวิว
  • มารบันเทพ

    พญามาร เป็นเทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรหรือ เทวดาชั้นที่ 5 ชื่อว่า “ปรนิมมิตวสวัตดี” ท่านชื่อว่า “วัสสวัสดี เทวปุตตมาร” คนไทยมักเรียกว่าพญามาร ท่านเป็นมารที่หล่อขั้น เทพแน่นอน เพราะท่านเป็นทั้งเทพทั้งมาร คำว่า “มาร” แปลว่า นิมิต แห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งคนไว้ มิให้พ้นจาก อ้านาจครอบงำาของตน ให้ห่วงหน้าพะวงหลังติดอยู่ในกามสุข ไม่อาจเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้

    ซึ่งมารตนนี้เคยมาเฝ้าพระพุทธเจ้าหลายครั้ง พระองค์ได้เล่าให้ พระอานนท์ฟัง ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค สรุปว่า

    สมัยที่พระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ กำลังหนีออกจาก เมืองกบิลพัสดุเพื่อบรรพชา มาเชื่อว่าวัสสวัดดีมาร ได้เข้ามาห้ามมิให้ ออกมหาภิเนษกรมณ์ แต่พระโพธิสัตว์ได้ปฏิเสธและขับไล่มารไปเสีย

    ต่อมา เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนโพธิบัลลังก์ ก่อนจะตรัสรู้ พญามารได้นำเสนามารไปรบกวน แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ทศบารมี ของพระโพธิสัตว์

    อีกครั้งหนึ่ง สมัยที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ณ ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่อุรุเวลาเสนานิคม

    สามารถอ่านต่อที่เว็บไซต์พระนิพพานได้

    https://www.thenirvanalive.com/2023/03/10/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%95-6/
    มารบันเทพ พญามาร เป็นเทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรหรือ เทวดาชั้นที่ 5 ชื่อว่า “ปรนิมมิตวสวัตดี” ท่านชื่อว่า “วัสสวัสดี เทวปุตตมาร” คนไทยมักเรียกว่าพญามาร ท่านเป็นมารที่หล่อขั้น เทพแน่นอน เพราะท่านเป็นทั้งเทพทั้งมาร คำว่า “มาร” แปลว่า นิมิต แห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งคนไว้ มิให้พ้นจาก อ้านาจครอบงำาของตน ให้ห่วงหน้าพะวงหลังติดอยู่ในกามสุข ไม่อาจเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้ ซึ่งมารตนนี้เคยมาเฝ้าพระพุทธเจ้าหลายครั้ง พระองค์ได้เล่าให้ พระอานนท์ฟัง ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค สรุปว่า สมัยที่พระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ กำลังหนีออกจาก เมืองกบิลพัสดุเพื่อบรรพชา มาเชื่อว่าวัสสวัดดีมาร ได้เข้ามาห้ามมิให้ ออกมหาภิเนษกรมณ์ แต่พระโพธิสัตว์ได้ปฏิเสธและขับไล่มารไปเสีย ต่อมา เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนโพธิบัลลังก์ ก่อนจะตรัสรู้ พญามารได้นำเสนามารไปรบกวน แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ทศบารมี ของพระโพธิสัตว์ อีกครั้งหนึ่ง สมัยที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ณ ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่อุรุเวลาเสนานิคม สามารถอ่านต่อที่เว็บไซต์พระนิพพานได้ https://www.thenirvanalive.com/2023/03/10/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%95-6/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 606 มุมมอง 0 รีวิว
  • ธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนา
    พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลวง
    ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ เท่านั้น"

    ที่ชื่อว่า คันถธุระ ได้แก่ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี เรียนพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงทรงไว้ กล่าวบอก พุทธวจนะนั้น
    ที่ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ทำวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้วจึงถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะที่สงัด

    …ที่มา : ธ.บ. 1 / 7 เรื่อง พระจักขุปาลเถระ….

    ขยายความเพิ่มเติม

    ความหมายของคันถธุระ คือ การศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกให้แตกฉานชำนาญในพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงกล่าวสอนอุบาสก อุบาสิกา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระพุทธองค์ คันถธุระ เปรียบเหมือน แผนที่นำพาไปหา ขุมสมบัติ ฉะนั้น .

    ส่วนวิปัสสนาธุระ คือ การลงมือปฏิบัติพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษในอัตภาพ แล้วจึงทำวิปัสสนาญาณให้บังเกิดเจริญด้วยการทำติดต่อพากเพียรปฏิบัติจนหมดกิเลสคือความเป็นพระอรหันต์(ถึงพระนิพพาน) วิปัสสนาธุระ เปรียบเหมือน
    การลงมือเดินทางไปตามแผนที่(คันถธุระ) ให้ถึงขุมสมบัติ คือ พระนิพพาน ๆ ประเสริฐกว่าสมบัติทั้งหมด ฉะนั้น .
    นักบวชไม่ควรทิ้งเรื่องของคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศานา จำเป็นต้องทำให้ได้ไม่ว่าจะทางโลกและทางธรรมจะต้องมีความคล่องตัวเสมอ .

    นักบวชทุกวันนี้บางพวก ไม่สนใจในธุระของพระพุทธศาสนา คือ ” คันถธุระและวิปัสสนาธุระ “
    มุ่งหมายเอาแต่ ลาภ ยศ สักการะ จากศรัทธาญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ดุจคฤหัสถ์ ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาแล้วจึงควรจะนำมาใช้ในงานด้านพระพุทธศาสนา
    ส่งเสริมคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ให้บังเกิดผล ปฏิบัติจนหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ คือ เข้าสู่พระนิพพาน เพราะฉะนั้น
    นักบวชควรพิจารณายึดถือธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำให้เจริญตามสมควรแก่ปัญญาของตน

    เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม

    #พุทธโอวาท
    ธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนา พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลวง ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ เท่านั้น" ที่ชื่อว่า คันถธุระ ได้แก่ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี เรียนพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงทรงไว้ กล่าวบอก พุทธวจนะนั้น ที่ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ ได้แก่ การเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ทำวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้วจึงถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะที่สงัด …ที่มา : ธ.บ. 1 / 7 เรื่อง พระจักขุปาลเถระ…. ขยายความเพิ่มเติม ความหมายของคันถธุระ คือ การศึกษาเล่าเรียน พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกให้แตกฉานชำนาญในพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วจึงกล่าวสอนอุบาสก อุบาสิกา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระพุทธองค์ คันถธุระ เปรียบเหมือน แผนที่นำพาไปหา ขุมสมบัติ ฉะนั้น . ส่วนวิปัสสนาธุระ คือ การลงมือปฏิบัติพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษในอัตภาพ แล้วจึงทำวิปัสสนาญาณให้บังเกิดเจริญด้วยการทำติดต่อพากเพียรปฏิบัติจนหมดกิเลสคือความเป็นพระอรหันต์(ถึงพระนิพพาน) วิปัสสนาธุระ เปรียบเหมือน การลงมือเดินทางไปตามแผนที่(คันถธุระ) ให้ถึงขุมสมบัติ คือ พระนิพพาน ๆ ประเสริฐกว่าสมบัติทั้งหมด ฉะนั้น . นักบวชไม่ควรทิ้งเรื่องของคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศานา จำเป็นต้องทำให้ได้ไม่ว่าจะทางโลกและทางธรรมจะต้องมีความคล่องตัวเสมอ . นักบวชทุกวันนี้บางพวก ไม่สนใจในธุระของพระพุทธศาสนา คือ ” คันถธุระและวิปัสสนาธุระ “ มุ่งหมายเอาแต่ ลาภ ยศ สักการะ จากศรัทธาญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ดุจคฤหัสถ์ ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาแล้วจึงควรจะนำมาใช้ในงานด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ให้บังเกิดผล ปฏิบัติจนหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์ คือ เข้าสู่พระนิพพาน เพราะฉะนั้น นักบวชควรพิจารณายึดถือธุระ ๒ อย่างในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทำให้เจริญตามสมควรแก่ปัญญาของตน เขียนโดย : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม #พุทธโอวาท
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 579 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้

    ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ

    ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก

    ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน

    ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป

    ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์

    ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ

    บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ
    สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ

    สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์
    ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕

    พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    พุทธโอวาท ตอนอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ ๑ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๒ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๓ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป ๔ บุคคลผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๕ บุคคลผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้แล ฯ บุคคลผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของ สัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาบุคคลผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้ ฯ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๕/๓๕ พุทธโอวาท #พุทธโอวาท #คำสอนพระพุทธเจ้า #พระไตรปิฎก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 498 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธโอวาท ตอน กาลทานสูตร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน

    ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน

    ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป

    ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง

    ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล

    ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล

    บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่
    ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง
    ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์

    ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี
    ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา
    หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง
    ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
    ในปรโลก

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖
    พุทธโอวาท ตอน กาลทานสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๒ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๓ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๔ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๕ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใสทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มี ผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้นแม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึง ควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง -ปญฺจก. อํ .๒๒/๓๖/๓๖
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 457 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts