พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้วิธีคัดกรองผู้คนที่จะฟังธรรมของพระองค์ด้วยการด่า เพื่อผลักคนที่จิตใจอ่อนแอไม่ให้มาฟังธรรม และคัดเลือกเฉพาะคนที่ทนการด่าได้ให้เข้ามาฟังธรรม พระพุทธเจ้ามีพระกรุณาแก่ทุกคนเสมอกันในการให้ธรรมทาน แต่จะเลือกโปรด คือ แสดงธรรมเฉพาะบุคคลที่ทรงทราบด้วยข่ายพระญานว่าบุคคลนี้มีอัธยาศัยบรรลุธรรม จึงจะโปรดเฉพาะส่วนพระองค์
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกระทบกิเลส เพราะเหตุนี้คนที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจึงซาบซึ้งเพราะธรรมของพระพุทธเจ้ากระทบกิเลสของทุกคน แต่ปุถุชนอย่างเราๆ ไม่มีความสามารถ ไม่มีปฏิสัมภิทาในการแสดงพยัญชนะและอรรถได้ลึกซึ่งเท่าพระองค์ ขนาดผู้ทรงพระไตรปิฎกยังทำไม่ได้ จะกล่าวไปใยถึงคนที่รู้พยัญชนะน้อย รู้อรรถน้อยอย่างเราๆ ท่านๆ ความตั้งใจกระทบกิเลสคนอื่นมันจึงกลายเป็นความยกตนด้วยมานะกระทบคนอื่นด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า
"อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย
ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพึงตั้งใจว่า
๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ (แสดงโดยอนุบุพิกถา)
๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ (แสดงเหตุในเนื้อธรรมนั้นๆ)
๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (ตั้งจิตไว้ในเมตตาแล้วจึงแสดงธรรม)
๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส แสดงธรรม (ไม่หวังผลประโยชน์จากการแสดงธรรม เพราะถ้าหวังผลประโยชน์คอนเท้นท์ต่างๆ จะตามมา การแสดงธรรมจะไม่ตรงไปตรงมา)
๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น (ไม่แสดงธรรมโดยยกตนว่าดี ข่มคนอื่นว่าไม่ดี)"
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] อุทายีสูตร
ปฏิสัมภิทา ได้แก่
๑.อัตถปฏิสัมภิทาความรู้แตกฉานในอรรถ คือผล
๓. ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในธรรมคือเหตุ
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทั้งอรรถทั้งธรรม คือทั้งเหตุทั้งผล รวมทั้งแตกฉานในภาษา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาในการไขปัญหา ในการกล่าวถ้อยคำ
วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น
วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนไม่ชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น นอกจากนี้ไม่กล่าว (รู้กาละเทศะในการกล่าว)
ขอบคุณภาพ AI จากเพื่อนสมาชิกค่ะ
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกระทบกิเลส เพราะเหตุนี้คนที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจึงซาบซึ้งเพราะธรรมของพระพุทธเจ้ากระทบกิเลสของทุกคน แต่ปุถุชนอย่างเราๆ ไม่มีความสามารถ ไม่มีปฏิสัมภิทาในการแสดงพยัญชนะและอรรถได้ลึกซึ่งเท่าพระองค์ ขนาดผู้ทรงพระไตรปิฎกยังทำไม่ได้ จะกล่าวไปใยถึงคนที่รู้พยัญชนะน้อย รู้อรรถน้อยอย่างเราๆ ท่านๆ ความตั้งใจกระทบกิเลสคนอื่นมันจึงกลายเป็นความยกตนด้วยมานะกระทบคนอื่นด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า
"อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย
ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพึงตั้งใจว่า
๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ (แสดงโดยอนุบุพิกถา)
๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ (แสดงเหตุในเนื้อธรรมนั้นๆ)
๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (ตั้งจิตไว้ในเมตตาแล้วจึงแสดงธรรม)
๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส แสดงธรรม (ไม่หวังผลประโยชน์จากการแสดงธรรม เพราะถ้าหวังผลประโยชน์คอนเท้นท์ต่างๆ จะตามมา การแสดงธรรมจะไม่ตรงไปตรงมา)
๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น (ไม่แสดงธรรมโดยยกตนว่าดี ข่มคนอื่นว่าไม่ดี)"
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] อุทายีสูตร
ปฏิสัมภิทา ได้แก่
๑.อัตถปฏิสัมภิทาความรู้แตกฉานในอรรถ คือผล
๓. ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในธรรมคือเหตุ
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทั้งอรรถทั้งธรรม คือทั้งเหตุทั้งผล รวมทั้งแตกฉานในภาษา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาในการไขปัญหา ในการกล่าวถ้อยคำ
วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น
วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนไม่ชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น นอกจากนี้ไม่กล่าว (รู้กาละเทศะในการกล่าว)
ขอบคุณภาพ AI จากเพื่อนสมาชิกค่ะ
พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้วิธีคัดกรองผู้คนที่จะฟังธรรมของพระองค์ด้วยการด่า เพื่อผลักคนที่จิตใจอ่อนแอไม่ให้มาฟังธรรม และคัดเลือกเฉพาะคนที่ทนการด่าได้ให้เข้ามาฟังธรรม พระพุทธเจ้ามีพระกรุณาแก่ทุกคนเสมอกันในการให้ธรรมทาน แต่จะเลือกโปรด คือ แสดงธรรมเฉพาะบุคคลที่ทรงทราบด้วยข่ายพระญานว่าบุคคลนี้มีอัธยาศัยบรรลุธรรม จึงจะโปรดเฉพาะส่วนพระองค์
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกระทบกิเลส เพราะเหตุนี้คนที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจึงซาบซึ้งเพราะธรรมของพระพุทธเจ้ากระทบกิเลสของทุกคน แต่ปุถุชนอย่างเราๆ ไม่มีความสามารถ ไม่มีปฏิสัมภิทาในการแสดงพยัญชนะและอรรถได้ลึกซึ่งเท่าพระองค์ ขนาดผู้ทรงพระไตรปิฎกยังทำไม่ได้ จะกล่าวไปใยถึงคนที่รู้พยัญชนะน้อย รู้อรรถน้อยอย่างเราๆ ท่านๆ ความตั้งใจกระทบกิเลสคนอื่นมันจึงกลายเป็นความยกตนด้วยมานะกระทบคนอื่นด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า
"อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย
ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพึงตั้งใจว่า
๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ (แสดงโดยอนุบุพิกถา)
๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ (แสดงเหตุในเนื้อธรรมนั้นๆ)
๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (ตั้งจิตไว้ในเมตตาแล้วจึงแสดงธรรม)
๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส แสดงธรรม (ไม่หวังผลประโยชน์จากการแสดงธรรม เพราะถ้าหวังผลประโยชน์คอนเท้นท์ต่างๆ จะตามมา การแสดงธรรมจะไม่ตรงไปตรงมา)
๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น (ไม่แสดงธรรมโดยยกตนว่าดี ข่มคนอื่นว่าไม่ดี)"
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] อุทายีสูตร
ปฏิสัมภิทา ได้แก่
๑.อัตถปฏิสัมภิทาความรู้แตกฉานในอรรถ คือผล
๓. ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในธรรมคือเหตุ
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทั้งอรรถทั้งธรรม คือทั้งเหตุทั้งผล รวมทั้งแตกฉานในภาษา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาในการไขปัญหา ในการกล่าวถ้อยคำ
วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น
วาจาที่จริง มีประโยชน์ คนไม่ชอบ รู้กาลควรกล่าววาจานั้น นอกจากนี้ไม่กล่าว (รู้กาละเทศะในการกล่าว)
ขอบคุณภาพ AI จากเพื่อนสมาชิกค่ะ
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
108 มุมมอง
0 รีวิว