วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับวัฒนธรรมในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ศิลปะชั้นสูงหลายแขนงถูกเผยแพร่สู่ประชาชนในวงกว้าง
จาก ‘บันทึกเมิ่งเหลียง’ มีศิลปะสี่แขนงที่ถูกยกย่องว่าเป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’ ในผู้ที่มีการศึกษาในสมัยซ่ง ซึ่งก็คือ การเผาผงหอม การเตี่ยนฉา (การชงชาแบบซ่งที่ Storyฯ เขียนถึงไปแล้วเมื่อก่อนปีใหม่) การเขียนภาพ และการจัดดอกไม้ ทั้งหมดล้วนเป็นศิลปะที่ชาวซ่งมองว่าฝึกให้คนใจเย็น ใครที่ได้ดูละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> จะเห็นการผสมดินและถ่านเพื่อเผาผงหอมในตอนที่มีครูแม่บ้านมาจากในวังมาสอนให้กับพี่น้องตระกูลเสิ้ง
ความมีอยู่ว่า
... “ที่วางอยู่ข้างๆ พวกเจ้าล้วนเป็นผงไม้กฤษณาอย่างดี หากบังคับแรงไฟได้ดี ก้อนเล็กเพียงเท่าเล็บยังสามารถเผาได้นานถึงสองชั่วยาม (สี่ชั่วโมง) กลิ่นกรุ่นมิจาง...
- ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
สมัยซ่งนั้นเป็นการเผาผงหอม เรียกว่าเฝินเซียง (焚香) ส่วนผสมที่ใช้หลากหลาย เช่นไม้กฤษณา ไม้จันทน์ พิมเสน กำยาน ตะไคร้ ลูกกระวาน เม็ดพริกไทย ฯลฯ มีการค้นคว้าสูตรผสมจัดเป็นตำราสูตรเครื่องหอม (ตัวอย่างสูตรรูปสองซ้ายบน) ทั้งเพื่อความจรรโลงใจและทั้งเพื่อสรรพคุณทางยา โดยเครื่องหอมที่ปรุงเสร็จก็จัดทำขึ้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งอัดเม็ด อัดแผ่นบาง อัดแผ่นหนาห้อยติดกาย หรือเป็นแบบผง
ในสมัยนั้น เครื่องหอมที่มีชื่อที่สุด แพงที่สุด (มีค่าเทียบเท่าทองคำ) และใช้ในวังเป็นหลักคือ ‘หลงเสียนเซียง’ (龙涎香) แปลตรงตัวว่าเครื่องหอมจากน้ำลายมังกร แต่จริงๆ แล้วมันเกิดจากการสำรอกหรือขับถ่ายจากปลาวาฬหัวทุย หลังถูกน้ำทะเลและแสงแดดหล่อหลอมนานปีจนเป็นก้อนไขมันหน้าตาคล้ายหินอ่อนก็จะมีกลิ่นหอม หรือที่เราเรียกกันว่า ‘อำพันขี้ปลา’ จัดเป็นยาหายากชนิดหนึ่งในจีนโบราณ มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ยุคสมัยนั้นจริงจังกับเฝินเซียงแค่ไหน ดูได้จากชุดอุปกรณ์ (รูปแรกขวาล่าง) ในสมัยนั้นจึงเกิดการสรรค์สร้างเครื่องปั้นดินเผาเป็นเตาเผาผงหอมหน้าตาหลากหลาย ยกตัวอย่างมาให้ชมกัน (รูปสอง)
การเผานั้นเป็นไปตามกรรมวิธีที่แสดงในละคร เริ่มจากการวางถ่านไม้ก้อนเล็กลงไปกลางรูที่ขุดไว้ในผงหอม ปิดด้วยแผ่นแร่กลีบหินหรือแผ่นตะแกรง แล้วก็วางชิ้นเครื่องหอมลงบนแผ่นแร่กลีบหินอีกที (ตามรูปแรกขวาบน) ผลลัพธ์ที่ดีคือมีกลิ่นแต่ไม่มีควัน
Storyฯ เล่าแบบง่ายๆ (อีกแล้ว) แต่แน่นอนว่าทุกขั้นตอนแฝงไว้ด้วยความละเมียดละไม ไม่ว่าการผสมการจัดเก็บเครื่องหอม การเผาถ่าน ตำแหน่งการวางถ่าน ฯลฯ ศิลปะจากราชวงศ์ซ่งนี้อยู่คู่กับเรามาจวบจนปัจจุบัน แม้แต่สูตรเครื่องหอมบางสูตรหรือการใช้อำพันขี้ปลามาเป็นหัวเชื้อน้ำหอม ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://kknews.cc/culture/jv6zbal.html
https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html
https://www.sohu.com/a/385169870_100171032
http://collection.sina.com.cn/jczs/2018-03-16/doc-ifyshfuq0777119.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html
https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=6255613423f1ab4117010e5a
https://www.163.com/dy/article/FKVSEA9K05362446.html
https://th.wikipedia.org/wiki/อำพันขี้ปลา
#หมิงหลัน #เครื่องหอมจีนโบราณ #เฝินเซียง #ซาวเซียง #ราชวงศ์ซ่ง #หลงเสียนเซียง #อำพันขี้ปลา
วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับวัฒนธรรมในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ศิลปะชั้นสูงหลายแขนงถูกเผยแพร่สู่ประชาชนในวงกว้าง
จาก ‘บันทึกเมิ่งเหลียง’ มีศิลปะสี่แขนงที่ถูกยกย่องว่าเป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’ ในผู้ที่มีการศึกษาในสมัยซ่ง ซึ่งก็คือ การเผาผงหอม การเตี่ยนฉา (การชงชาแบบซ่งที่ Storyฯ เขียนถึงไปแล้วเมื่อก่อนปีใหม่) การเขียนภาพ และการจัดดอกไม้ ทั้งหมดล้วนเป็นศิลปะที่ชาวซ่งมองว่าฝึกให้คนใจเย็น ใครที่ได้ดูละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> จะเห็นการผสมดินและถ่านเพื่อเผาผงหอมในตอนที่มีครูแม่บ้านมาจากในวังมาสอนให้กับพี่น้องตระกูลเสิ้ง
ความมีอยู่ว่า
... “ที่วางอยู่ข้างๆ พวกเจ้าล้วนเป็นผงไม้กฤษณาอย่างดี หากบังคับแรงไฟได้ดี ก้อนเล็กเพียงเท่าเล็บยังสามารถเผาได้นานถึงสองชั่วยาม (สี่ชั่วโมง) กลิ่นกรุ่นมิจาง...
- ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
สมัยซ่งนั้นเป็นการเผาผงหอม เรียกว่าเฝินเซียง (焚香) ส่วนผสมที่ใช้หลากหลาย เช่นไม้กฤษณา ไม้จันทน์ พิมเสน กำยาน ตะไคร้ ลูกกระวาน เม็ดพริกไทย ฯลฯ มีการค้นคว้าสูตรผสมจัดเป็นตำราสูตรเครื่องหอม (ตัวอย่างสูตรรูปสองซ้ายบน) ทั้งเพื่อความจรรโลงใจและทั้งเพื่อสรรพคุณทางยา โดยเครื่องหอมที่ปรุงเสร็จก็จัดทำขึ้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งอัดเม็ด อัดแผ่นบาง อัดแผ่นหนาห้อยติดกาย หรือเป็นแบบผง
ในสมัยนั้น เครื่องหอมที่มีชื่อที่สุด แพงที่สุด (มีค่าเทียบเท่าทองคำ) และใช้ในวังเป็นหลักคือ ‘หลงเสียนเซียง’ (龙涎香) แปลตรงตัวว่าเครื่องหอมจากน้ำลายมังกร แต่จริงๆ แล้วมันเกิดจากการสำรอกหรือขับถ่ายจากปลาวาฬหัวทุย หลังถูกน้ำทะเลและแสงแดดหล่อหลอมนานปีจนเป็นก้อนไขมันหน้าตาคล้ายหินอ่อนก็จะมีกลิ่นหอม หรือที่เราเรียกกันว่า ‘อำพันขี้ปลา’ จัดเป็นยาหายากชนิดหนึ่งในจีนโบราณ มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ยุคสมัยนั้นจริงจังกับเฝินเซียงแค่ไหน ดูได้จากชุดอุปกรณ์ (รูปแรกขวาล่าง) ในสมัยนั้นจึงเกิดการสรรค์สร้างเครื่องปั้นดินเผาเป็นเตาเผาผงหอมหน้าตาหลากหลาย ยกตัวอย่างมาให้ชมกัน (รูปสอง)
การเผานั้นเป็นไปตามกรรมวิธีที่แสดงในละคร เริ่มจากการวางถ่านไม้ก้อนเล็กลงไปกลางรูที่ขุดไว้ในผงหอม ปิดด้วยแผ่นแร่กลีบหินหรือแผ่นตะแกรง แล้วก็วางชิ้นเครื่องหอมลงบนแผ่นแร่กลีบหินอีกที (ตามรูปแรกขวาบน) ผลลัพธ์ที่ดีคือมีกลิ่นแต่ไม่มีควัน
Storyฯ เล่าแบบง่ายๆ (อีกแล้ว) แต่แน่นอนว่าทุกขั้นตอนแฝงไว้ด้วยความละเมียดละไม ไม่ว่าการผสมการจัดเก็บเครื่องหอม การเผาถ่าน ตำแหน่งการวางถ่าน ฯลฯ ศิลปะจากราชวงศ์ซ่งนี้อยู่คู่กับเรามาจวบจนปัจจุบัน แม้แต่สูตรเครื่องหอมบางสูตรหรือการใช้อำพันขี้ปลามาเป็นหัวเชื้อน้ำหอม ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://kknews.cc/culture/jv6zbal.html
https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html
https://www.sohu.com/a/385169870_100171032
http://collection.sina.com.cn/jczs/2018-03-16/doc-ifyshfuq0777119.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html
https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=6255613423f1ab4117010e5a
https://www.163.com/dy/article/FKVSEA9K05362446.html
https://th.wikipedia.org/wiki/อำพันขี้ปลา
#หมิงหลัน #เครื่องหอมจีนโบราณ #เฝินเซียง #ซาวเซียง #ราชวงศ์ซ่ง #หลงเสียนเซียง #อำพันขี้ปลา
2 Comments
0 Shares
59 Views
0 Reviews