• มาแล้ว พยากรณ์ #ซากุระไต้หวัน 2025🌸🌸

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395

    #ทัวร์ไต้หวัน #sakura #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    มาแล้ว พยากรณ์ #ซากุระไต้หวัน 2025🌸🌸 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #ทัวร์ไต้หวัน #sakura #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 Comments 0 Shares 178 Views 3 0 Reviews
  • มาแล้ว พยากรณ์ #ซากุระไต้หวัน 2025🌸🌸

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8

    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์ไต้หวัน #sakura #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    มาแล้ว พยากรณ์ #ซากุระไต้หวัน 2025🌸🌸 รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์ไต้หวัน #sakura #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 Comments 0 Shares 190 Views 2 0 Reviews
  • Jim Keller, ผู้เชี่ยวชาญด้านชิปและอดีตวิศวกรของ Intel ได้ออกมากล่าวว่า Intel ที่ยอดเยี่ยมควรมีมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่การแยกส่วนธุรกิจออกไปนั้นเป็นเหมือนการขายสินค้าที่มีราคาถูกเกินไป เขาเชื่อว่ามูลค่าที่แท้จริงของ Intel ควรสูงกว่านี้เนื่องจากบริษัทมีความทะเยอทะยานสูง

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีการพูดคุยเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการของ Qualcomm แต่ตอนนี้บริษัทอย่าง TSMC และ Broadcom ได้เข้ามาแข่งขันเพื่อซื้อธุรกิจบางส่วนของ Intel โดยเฉพาะส่วนการผลิตและโรงงาน ซึ่งการแยกส่วนนี้อาจช่วยเพิ่มมูลค่าของผู้ถือหุ้น แต่จะไม่ส่งผลดีกับตลาดเซมิคอนดักเตอร์

    Jim Keller กล่าวว่า การแยกส่วนธุรกิจนี้ไม่ใช่การ "ปลดล็อคมูลค่าผู้ถือหุ้น" แต่เป็นเหมือนการขายสินค้าราคาถูกที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก

    ที่น่าสนใจคือ การที่ TSMC และ Broadcom สนใจซื้อกิจการส่วนนี้อาจทำให้การผลิตของ Intel ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งต่าง ๆ ยังไม่แน่นอน และการบริหารใหม่ในสหรัฐอเมริกานั้นอาจจะไม่อนุญาตให้การซื้อขายนี้ดำเนินไปได้ เนื่องจากมีการกล่าวว่า Trump อาจจะตั้งภาษีสูงถึง 100% บนชิปจากไต้หวัน

    สิ่งที่แน่ชัดคือ ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐอเมริกาจะมีอนาคตที่สดใสมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริษัทอย่าง TSMC พยายามที่จะหลีกเลี่ยงภาษีของ Trump โดยความร่วมมือกับการบริหารงานในทุกรูปแบบที่เป็นไปได้

    เห็นได้ชัดว่าอนาคตของ Intel นั้นยังไม่แน่นอน แต่การที่หุ้นของ Intel เพิ่มขึ้นถึง 18% ในช่วงห้าวันที่ผ่านมา ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าตลาดมีความหวังในทางที่ดีสำหรับบริษัทนี้

    https://wccftech.com/a-great-intel-should-be-worth-1-trillion-claims-chip-expert-jim-keller/
    Jim Keller, ผู้เชี่ยวชาญด้านชิปและอดีตวิศวกรของ Intel ได้ออกมากล่าวว่า Intel ที่ยอดเยี่ยมควรมีมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่การแยกส่วนธุรกิจออกไปนั้นเป็นเหมือนการขายสินค้าที่มีราคาถูกเกินไป เขาเชื่อว่ามูลค่าที่แท้จริงของ Intel ควรสูงกว่านี้เนื่องจากบริษัทมีความทะเยอทะยานสูง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีการพูดคุยเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการของ Qualcomm แต่ตอนนี้บริษัทอย่าง TSMC และ Broadcom ได้เข้ามาแข่งขันเพื่อซื้อธุรกิจบางส่วนของ Intel โดยเฉพาะส่วนการผลิตและโรงงาน ซึ่งการแยกส่วนนี้อาจช่วยเพิ่มมูลค่าของผู้ถือหุ้น แต่จะไม่ส่งผลดีกับตลาดเซมิคอนดักเตอร์ Jim Keller กล่าวว่า การแยกส่วนธุรกิจนี้ไม่ใช่การ "ปลดล็อคมูลค่าผู้ถือหุ้น" แต่เป็นเหมือนการขายสินค้าราคาถูกที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก ที่น่าสนใจคือ การที่ TSMC และ Broadcom สนใจซื้อกิจการส่วนนี้อาจทำให้การผลิตของ Intel ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งต่าง ๆ ยังไม่แน่นอน และการบริหารใหม่ในสหรัฐอเมริกานั้นอาจจะไม่อนุญาตให้การซื้อขายนี้ดำเนินไปได้ เนื่องจากมีการกล่าวว่า Trump อาจจะตั้งภาษีสูงถึง 100% บนชิปจากไต้หวัน สิ่งที่แน่ชัดคือ ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐอเมริกาจะมีอนาคตที่สดใสมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริษัทอย่าง TSMC พยายามที่จะหลีกเลี่ยงภาษีของ Trump โดยความร่วมมือกับการบริหารงานในทุกรูปแบบที่เป็นไปได้ เห็นได้ชัดว่าอนาคตของ Intel นั้นยังไม่แน่นอน แต่การที่หุ้นของ Intel เพิ่มขึ้นถึง 18% ในช่วงห้าวันที่ผ่านมา ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าตลาดมีความหวังในทางที่ดีสำหรับบริษัทนี้ https://wccftech.com/a-great-intel-should-be-worth-1-trillion-claims-chip-expert-jim-keller/
    WCCFTECH.COM
    A "Great" Intel Should Be Worth $1 Trillion; Claims Chip Expert Jim Keller, Calling Business Split-Off A "Fire Sale"
    A "great" Intel should be worth around $1 trillion, claims the renowned chip expert and ex-Intel engineer Jim Keller.
    0 Comments 0 Shares 102 Views 0 Reviews
  • ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25%
    .
    ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน
    .
    สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด
    .
    เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา
    .
    อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ
    .
    เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ
    .
    เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่
    .
    โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว
    .
    ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน
    .
    ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์
    .
    ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
    .
    ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง
    .
    ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ
    .
    นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย . นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25% . ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน . สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด . เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา . อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ . เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ . เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่ . โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว . ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน . ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์ . ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม . ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย . ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง . ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ . นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777 .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 1181 Views 0 Reviews
  • เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า
    .
    รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง”
    .
    เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก”
    .
    ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง
    .
    มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้
    .
    “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม”
    .
    สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง
    .
    ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี
    .
    มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป
    .
    “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ”
    .
    ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์
    .
    “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ
    .
    มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม
    .
    การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป”
    .
    “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า”
    .
    บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
    .
    ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก
    .
    คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน
    .
    บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง
    .
    ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775
    ..............
    Sondhi X
    เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า . รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง” . เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก” . ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง . มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้ . “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม” . สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง . ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี . มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป . “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ” . ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์ . “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ . มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม . การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป” . “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า” . บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง . ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก . คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน . บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง . ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775 .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 1190 Views 0 Reviews
  • ผู้ผลิต DRAM ชั้นนำอย่าง Micron, Samsung และ SK Hynix อาจหยุดผลิตหน่วยความจำ DDR3 และ DDR4 ภายในสิ้นปี 2025 เนื่องจากราคาถูกลงมากและความต้องการลดลง สาเหตุหลักมาจากผู้ผลิต DRAM ในจีน เช่น Changxin Memory Technology (CXMT) และ Fujian Jinhua ที่เพิ่มการผลิตและลดราคาขายลงอย่างมาก ปัจจุบันชิป DRAM DDR4 จากจีนราคาต่ำกว่าผลิตภัณฑ์จากเกาหลีใต้ถึงครึ่งหนึ่ง และบางครั้งถูกกว่า DRAM ที่ทำการรีเฟอร์บิชเสียอีก

    ปัญหานี้ทำให้ผู้ผลิต DRAM ชั้นนำไม่สามารถทำกำไรจากการขาย DDR4 ได้ จึงมีแผนที่จะเปลี่ยนไปมุ่งเน้นการผลิตหน่วยความจำ DDR5 และ HBM ซึ่งมีความสามารถและประสิทธิภาพสูงกว่า แต่ตลาดยังมีความต้องการหน่วยความจำ DDR4 อยู่ และผู้ผลิตจีนอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้อย่างเพียงพอ นั่นหมายความว่าอาจเกิดการขาดแคลนหน่วยความจำ DDR4 หลังจากกลางปี 2025

    การที่หน่วยความจำ DDR4 อาจลดน้อยลงอาจส่งผลกระทบต่อตลาดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยังคงใช้หน่วยความจำชนิดนี้อยู่ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าผู้ผลิตในไต้หวัน เช่น Nanya Technology และ Winbond Electronics อาจเข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ของพวกเขามักจะเป็นหน่วยความจำเฉพาะทางที่มีปริมาณการผลิตไม่มากนักและราคาสูง

    นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตลาดหน่วยความจำ DRAM จะต่ำสุดในต้นปี 2025 และจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่สอง โดยมีแรงขับเคลื่อนจากความต้องการทางด้านการประมวลผลคลาวด์ที่เกี่ยวข้องกับ AI และการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีขึ้น

    https://www.tomshardware.com/pc-components/dram/leading-dram-makers-may-stop-producing-ddr4-and-ddr3-by-late-2025
    ผู้ผลิต DRAM ชั้นนำอย่าง Micron, Samsung และ SK Hynix อาจหยุดผลิตหน่วยความจำ DDR3 และ DDR4 ภายในสิ้นปี 2025 เนื่องจากราคาถูกลงมากและความต้องการลดลง สาเหตุหลักมาจากผู้ผลิต DRAM ในจีน เช่น Changxin Memory Technology (CXMT) และ Fujian Jinhua ที่เพิ่มการผลิตและลดราคาขายลงอย่างมาก ปัจจุบันชิป DRAM DDR4 จากจีนราคาต่ำกว่าผลิตภัณฑ์จากเกาหลีใต้ถึงครึ่งหนึ่ง และบางครั้งถูกกว่า DRAM ที่ทำการรีเฟอร์บิชเสียอีก ปัญหานี้ทำให้ผู้ผลิต DRAM ชั้นนำไม่สามารถทำกำไรจากการขาย DDR4 ได้ จึงมีแผนที่จะเปลี่ยนไปมุ่งเน้นการผลิตหน่วยความจำ DDR5 และ HBM ซึ่งมีความสามารถและประสิทธิภาพสูงกว่า แต่ตลาดยังมีความต้องการหน่วยความจำ DDR4 อยู่ และผู้ผลิตจีนอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้อย่างเพียงพอ นั่นหมายความว่าอาจเกิดการขาดแคลนหน่วยความจำ DDR4 หลังจากกลางปี 2025 การที่หน่วยความจำ DDR4 อาจลดน้อยลงอาจส่งผลกระทบต่อตลาดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยังคงใช้หน่วยความจำชนิดนี้อยู่ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าผู้ผลิตในไต้หวัน เช่น Nanya Technology และ Winbond Electronics อาจเข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ของพวกเขามักจะเป็นหน่วยความจำเฉพาะทางที่มีปริมาณการผลิตไม่มากนักและราคาสูง นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตลาดหน่วยความจำ DRAM จะต่ำสุดในต้นปี 2025 และจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่สอง โดยมีแรงขับเคลื่อนจากความต้องการทางด้านการประมวลผลคลาวด์ที่เกี่ยวข้องกับ AI และการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีขึ้น https://www.tomshardware.com/pc-components/dram/leading-dram-makers-may-stop-producing-ddr4-and-ddr3-by-late-2025
    WWW.TOMSHARDWARE.COM
    Leading DRAM makers may stop producing DDR4 and DDR3 by late 2025 — China memory makers flood the market with half-price memory
    Chinese DRAM manufacturers CXMT and Fujian Jinhua have usurped Micron, Samsung, and SK Hynix by undercutting prices.
    0 Comments 0 Shares 95 Views 0 Reviews
  • ‘ปูอัด’อ่วม! ตำรวจแจ้ง 2 ข้อหาหนัก คดีขืนใจสาวไต้หวัน
    https://www.thai-tai.tv/news/17223/
    ‘ปูอัด’อ่วม! ตำรวจแจ้ง 2 ข้อหาหนัก คดีขืนใจสาวไต้หวัน https://www.thai-tai.tv/news/17223/
    0 Comments 0 Shares 51 Views 0 Reviews
  • ♣ เพราะมีคนอย่างพวกมัน จึงมีวันที่คนไทยค่อนประเทศเลือกยืนอยู่ฝั่งสาวต่างชาติที่โดนปูอัดข่มขืน กาก้าวไกลได้อะไรมากกว่าที่คิดจริงๆ
    #7ดอกจิก
    #saveสาวไต้หวัน
    ♣ เพราะมีคนอย่างพวกมัน จึงมีวันที่คนไทยค่อนประเทศเลือกยืนอยู่ฝั่งสาวต่างชาติที่โดนปูอัดข่มขืน กาก้าวไกลได้อะไรมากกว่าที่คิดจริงๆ #7ดอกจิก #saveสาวไต้หวัน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 139 Views 0 Reviews
  • เชียงใหม่- "ส.ส.ปูอัด" โผล่แล้ว! ควงทนายความขึ้นโรงพักเชียงใหม่ รับทราบข้อกล่าวหาหลังถูกออกหมายจับคดีข่มขืนนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ขอให้สัมภาษณ์ข่าวหลังเสร็จการรับทราบข้อหา

    วันนี้(18ก.พ.68) เวลาประมาณ 13.00น.ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ "ส.ส.ปูอัด"สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) กรุงเทพฯ พรรคไทยก้าวหน้า พร้อมทนายความเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีที่นายไชยามพวานถูกกล่าวหาว่าข่มขืนนักท่องเที่ยวสาวชาวไต้หวัน ซึ่งเหตุเกิดช่วงเวลาประมาณ 02.00น.วันที่ 9 ม.ค.68 และผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความในช่วงเช้าวันเดียวกัน

    โดยต่อมาตำรวจได้มีการขอศาลอนุมัติออกหมายจับเมื่อวันที่ 4 ก.พ.68 และประสานถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอตัวไปดำเนินคดีตามขั้นตอนกฎหมาย ซึ่งสภาฯ จะมีการประชุมในวันที่ 20 ก.พ.68เพื่อลงมติเกี่ยวกับการส่งตัวนายไชยามพวาน ให้ตำรวจดำเนินคดี อย่างไรก็ตามนายไชยามพวาน ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเองก่อนในวันนี้

    คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/local/detail/9680000016123

    #MGROnline #ปูอัด #สส #เชียงใหม่ #ข่มขืน #นักท่องเที่ยว
    เชียงใหม่- "ส.ส.ปูอัด" โผล่แล้ว! ควงทนายความขึ้นโรงพักเชียงใหม่ รับทราบข้อกล่าวหาหลังถูกออกหมายจับคดีข่มขืนนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ขอให้สัมภาษณ์ข่าวหลังเสร็จการรับทราบข้อหา • วันนี้(18ก.พ.68) เวลาประมาณ 13.00น.ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ "ส.ส.ปูอัด"สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) กรุงเทพฯ พรรคไทยก้าวหน้า พร้อมทนายความเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีที่นายไชยามพวานถูกกล่าวหาว่าข่มขืนนักท่องเที่ยวสาวชาวไต้หวัน ซึ่งเหตุเกิดช่วงเวลาประมาณ 02.00น.วันที่ 9 ม.ค.68 และผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความในช่วงเช้าวันเดียวกัน • โดยต่อมาตำรวจได้มีการขอศาลอนุมัติออกหมายจับเมื่อวันที่ 4 ก.พ.68 และประสานถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอตัวไปดำเนินคดีตามขั้นตอนกฎหมาย ซึ่งสภาฯ จะมีการประชุมในวันที่ 20 ก.พ.68เพื่อลงมติเกี่ยวกับการส่งตัวนายไชยามพวาน ให้ตำรวจดำเนินคดี อย่างไรก็ตามนายไชยามพวาน ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเองก่อนในวันนี้ • คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/local/detail/9680000016123 • #MGROnline #ปูอัด #สส #เชียงใหม่ #ข่มขืน #นักท่องเที่ยว
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 130 Views 0 Reviews
  • ♣ สส.ปูอัด ไปถึงเชียงใหม่แล้ว เพื่อมอบตัวสู้คดีขืนใจนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ทำผิดยังคิดสู้ให้พ้นผิด สันดานพรรคคนรุ่นใหม่จริงๆ
    #7ดอกจิก
    #ปูอัด
    ♣ สส.ปูอัด ไปถึงเชียงใหม่แล้ว เพื่อมอบตัวสู้คดีขืนใจนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ทำผิดยังคิดสู้ให้พ้นผิด สันดานพรรคคนรุ่นใหม่จริงๆ #7ดอกจิก #ปูอัด
    0 Comments 0 Shares 112 Views 0 Reviews
  • ไต้หวันกำลังเจรจากับรัฐบาลวอชิงตัน เพื่อซื้ออาวุธมูลค่าราว 7,000 - 10,000 ล้านดอลลาร์จากสหรัฐ

    การซื้ออาวุธครั้งนี้จะรวมถึงขีปนาวุธร่อนป้องกันชายฝั่งและจรวด HIMARS ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันกองกำลังรุกรานของจีนไม่ให้เข้าใกล้ชายหาด
    ไต้หวันกำลังเจรจากับรัฐบาลวอชิงตัน เพื่อซื้ออาวุธมูลค่าราว 7,000 - 10,000 ล้านดอลลาร์จากสหรัฐ การซื้ออาวุธครั้งนี้จะรวมถึงขีปนาวุธร่อนป้องกันชายฝั่งและจรวด HIMARS ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันกองกำลังรุกรานของจีนไม่ให้เข้าใกล้ชายหาด
    0 Comments 0 Shares 82 Views 0 Reviews
  • จีนเรียกร้องสหรัฐฯ "แก้ไขความผิดพลาด" หลังจากกระทรวงการต่างประเทศอเมริกาถอดถ้อยคำ "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ แม้ทางวอชิงตันอ้างว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตตามปกติ
    .
    กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไต้หวันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คงไว้ซึ่งจุดยืนของวอชิงตันในการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้งไต้หวันและจีน ซึ่งอ้างว่าเกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
    .
    อย่างไรก็ตาม ในการอัปเดตดังกล่าว ได้มีการลบถ้อยคำ "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป พร้อมอ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไต้หวันกับเพนตากอน ในด้านโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ และบอกว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนสถานภาพสมาชิกของไต้หวันในองค์กรระหว่างประเทศทั้งหลายตามความเหมาะสม
    .
    ที่ผ่านมา ปักกิ่งออกมาประณามเป็นประจำ ต่อความเคลื่อนไหวให้การรับรองไต้หวันในระดับสากล หรือการติดต่อระหว่างพวกเจ้าหน้าที่ไต้หวันกับเจ้าหน้าที่ต่างชาติ มองว่ามันเป็นการสนับสนุนสถานะแยกดินแดนของไต้หวันออกจากจีน
    .
    การอัปเดตบนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มีขึ้นราว 3 สัปดาห์ หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัย 2
    .
    กัว เจียคุน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ระบุว่าการแก้ไขใหม่เกี่ยวกับไต้หวัน บนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่ และเป็นการ "ส่งข้อความผิดๆ อย่างร้ายแรงถึงกองกำลังแบ่งแยกดินแดนเอกราชไต้หวัน"
    .
    "มันเป็นตัวอย่างอีกครั้งของความดื้อดึงของสหรัฐฯ ในการยึดถือนโยบายผิดพลาดแห่งการใช้ไต้หวันกดขี่จีน เราเรียกร้องให้ฝ่ายอเมริกาแก้ไขความผิดพลาดในทันที" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุ
    .
    สหรัฐฯ ก็เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน แต่พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนระดับนานาชาติที่เข้มแข็งที่สุด มีพันธสัญญาภายใต้กฎหมายที่ต้องมอบหนทางแห่งการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้
    .
    "เป็นไปตามปกติ มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเพื่อแจ้งกับสาธารณชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการของเรากับไต้หวัน" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในช่วงค่ำวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) "สหรัฐฯ ยังคงมีพันธสัญญาต่อนโยบายจีนเดียว" อ้างถึงจุดยืนอย่างเป็นทางการของวอชิงตัน ที่ไม่รับรองเอกราชไต้หวัน และยอมรับแต่เพียงสถานะของจีนในประเด็นนี้
    .
    อย่างไรก็ตาม โฆษกรายนี้บอกว่า "สหรัฐฯ มุ่งมั่นสงวนไว้ซึ่งสันติภาพแลเเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวต่อสถานภาพปัจจุบันไม่ว่าจะจากฝ่ายไหน เราสนับสนุนการเจรจาข้ามช่องแคบ และเราคาดหมายว่าความเห็นต่างข้ามช่องแคบจะคลี่คลายด้วยวิธีทางแห่งสันติ ปราศจากการกดขี่ ในแนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชนจาก 2 ฟากฝั่งของช่องแคบ"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015975
    ..............
    Sondhi X
    จีนเรียกร้องสหรัฐฯ "แก้ไขความผิดพลาด" หลังจากกระทรวงการต่างประเทศอเมริกาถอดถ้อยคำ "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ แม้ทางวอชิงตันอ้างว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตตามปกติ . กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไต้หวันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คงไว้ซึ่งจุดยืนของวอชิงตันในการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้งไต้หวันและจีน ซึ่งอ้างว่าเกาะปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน . อย่างไรก็ตาม ในการอัปเดตดังกล่าว ได้มีการลบถ้อยคำ "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป พร้อมอ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไต้หวันกับเพนตากอน ในด้านโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ และบอกว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนสถานภาพสมาชิกของไต้หวันในองค์กรระหว่างประเทศทั้งหลายตามความเหมาะสม . ที่ผ่านมา ปักกิ่งออกมาประณามเป็นประจำ ต่อความเคลื่อนไหวให้การรับรองไต้หวันในระดับสากล หรือการติดต่อระหว่างพวกเจ้าหน้าที่ไต้หวันกับเจ้าหน้าที่ต่างชาติ มองว่ามันเป็นการสนับสนุนสถานะแยกดินแดนของไต้หวันออกจากจีน . การอัปเดตบนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มีขึ้นราว 3 สัปดาห์ หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัย 2 . กัว เจียคุน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ระบุว่าการแก้ไขใหม่เกี่ยวกับไต้หวัน บนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่ และเป็นการ "ส่งข้อความผิดๆ อย่างร้ายแรงถึงกองกำลังแบ่งแยกดินแดนเอกราชไต้หวัน" . "มันเป็นตัวอย่างอีกครั้งของความดื้อดึงของสหรัฐฯ ในการยึดถือนโยบายผิดพลาดแห่งการใช้ไต้หวันกดขี่จีน เราเรียกร้องให้ฝ่ายอเมริกาแก้ไขความผิดพลาดในทันที" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุ . สหรัฐฯ ก็เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน แต่พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนระดับนานาชาติที่เข้มแข็งที่สุด มีพันธสัญญาภายใต้กฎหมายที่ต้องมอบหนทางแห่งการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้ . "เป็นไปตามปกติ มีการอัปเดตเอกสารข้อเท็จจริงเพื่อแจ้งกับสาธารณชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการของเรากับไต้หวัน" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในช่วงค่ำวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) "สหรัฐฯ ยังคงมีพันธสัญญาต่อนโยบายจีนเดียว" อ้างถึงจุดยืนอย่างเป็นทางการของวอชิงตัน ที่ไม่รับรองเอกราชไต้หวัน และยอมรับแต่เพียงสถานะของจีนในประเด็นนี้ . อย่างไรก็ตาม โฆษกรายนี้บอกว่า "สหรัฐฯ มุ่งมั่นสงวนไว้ซึ่งสันติภาพแลเเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวต่อสถานภาพปัจจุบันไม่ว่าจะจากฝ่ายไหน เราสนับสนุนการเจรจาข้ามช่องแคบ และเราคาดหมายว่าความเห็นต่างข้ามช่องแคบจะคลี่คลายด้วยวิธีทางแห่งสันติ ปราศจากการกดขี่ ในแนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชนจาก 2 ฟากฝั่งของช่องแคบ" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015975 .............. Sondhi X
    Like
    10
    1 Comments 1 Shares 1306 Views 0 Reviews
  • DeepSeek ได้ก่อให้เกิดความกังวลในเรื่องความมั่นคงของชาติในหลายประเทศ โดยแอปนี้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่มีราคาถูกและไม่ซับซ้อนจาก Nvidia และทำให้มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ลดลงหลายพันล้านดอลลาร์เมื่อเปิดตัวโปรแกรม R1

    หลายประเทศเช่น อิตาลี ไต้หวัน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ได้สั่งห้ามการใช้งาน DeepSeek เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของข้อมูลที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังดำเนินการออกกฎหมายเพื่อห้ามใช้งาน DeepSeek บนอุปกรณ์ของรัฐบาล เนื่องจาก DeepSeek เป็นผลิตภัณฑ์จากจีนและอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ

    โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยในการแก้ปัญหาทางเทคนิค แต่ยังทำให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุนในซอฟต์แวร์และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในด้านเทคโนโลยีอีกด้วย

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/17/chatbot-vs-national-security-why-deepseek-is-raising-concerns
    DeepSeek ได้ก่อให้เกิดความกังวลในเรื่องความมั่นคงของชาติในหลายประเทศ โดยแอปนี้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่มีราคาถูกและไม่ซับซ้อนจาก Nvidia และทำให้มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ลดลงหลายพันล้านดอลลาร์เมื่อเปิดตัวโปรแกรม R1 หลายประเทศเช่น อิตาลี ไต้หวัน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ได้สั่งห้ามการใช้งาน DeepSeek เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของข้อมูลที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังดำเนินการออกกฎหมายเพื่อห้ามใช้งาน DeepSeek บนอุปกรณ์ของรัฐบาล เนื่องจาก DeepSeek เป็นผลิตภัณฑ์จากจีนและอาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยในการแก้ปัญหาทางเทคนิค แต่ยังทำให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุนในซอฟต์แวร์และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในด้านเทคโนโลยีอีกด้วย https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/17/chatbot-vs-national-security-why-deepseek-is-raising-concerns
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Chatbot vs national security? Why DeepSeek is raising concerns
    Governments from Rome to Seoul are cracking down on the user-friendly Chinese app, saying they need to prevent potential leaks of sensitive information through generative AI services.
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 90 Views 0 Reviews
  • ไต้หวันยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่มีการอัปเดตใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป
    .
    สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน
    .
    ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
    .
    นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆ แล้ว ในการอัปเดตล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้
    .
    อย่างไรก็ตาม บนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม"
    .
    กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัปเดตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ
    .
    หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ
    .
    สถาบันอเมริกาในไต้หวัน (AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัปเดตดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี
    .
    "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมติฐานต่างๆ ที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ
    .
    ไต้หวันพยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน
    .
    ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา
    .
    ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์ (14 ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯ และด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดักเตอร์ของเกาะแห่งนี้
    .
    ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯ ถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น
    .
    ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง
    .
    ไต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015544
    ..............
    Sondhi X
    ไต้หวันยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่มีการอัปเดตใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป . สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน . ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน . นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆ แล้ว ในการอัปเดตล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้ . อย่างไรก็ตาม บนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม" . กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัปเดตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ . หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ . สถาบันอเมริกาในไต้หวัน (AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัปเดตดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี . "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมติฐานต่างๆ ที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ . ไต้หวันพยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน . ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา . ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์ (14 ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯ และด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดักเตอร์ของเกาะแห่งนี้ . ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯ ถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น . ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง . ไต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015544 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    8
    0 Comments 0 Shares 1205 Views 0 Reviews
  • จับตาทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐ หลังจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐเพิ่งลบข้อความ “เราไม่สนับสนุนเอกราชของไต้หวัน” (“WE DO NOT SUPPORT TAIWAN INDEPENDENCE”) ออกจากหน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และ ไต้หวัน

    ขณะที่รูบิโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ระบุชัดเจนว่าจีนคือภัยคุกคามอันดับหนึ่งของสหรัฐ ซึ่งไม่เพียงแต่รูบิโอเท่านั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทีมบริหารของทรัมป์ ต่างออกมาแสดงความเห็นไปในทำนองเดียวกัน แม้แต่ พีธ เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ
    จับตาทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐ หลังจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐเพิ่งลบข้อความ “เราไม่สนับสนุนเอกราชของไต้หวัน” (“WE DO NOT SUPPORT TAIWAN INDEPENDENCE”) ออกจากหน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และ ไต้หวัน ขณะที่รูบิโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ระบุชัดเจนว่าจีนคือภัยคุกคามอันดับหนึ่งของสหรัฐ ซึ่งไม่เพียงแต่รูบิโอเท่านั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทีมบริหารของทรัมป์ ต่างออกมาแสดงความเห็นไปในทำนองเดียวกัน แม้แต่ พีธ เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ
    0 Comments 0 Shares 147 Views 0 Reviews
  • ไต้หวันในวันอาทิตย์(16ก.พ.) ยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่มีการอัพเดทใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป

    สหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน

    ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน

    นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆแล้ว ในการอัทเดทล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯเทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้

    อย่างไรก็ตามบนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม"

    กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัพเดทเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ

    หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่้นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ

    สถาบันอเมริกาในไต้หวัน(AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัพเดทดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี

    "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมุติฐานต่างๆที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ

    ไต้หวัน พยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน

    ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา

    ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯและด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดัคเตอร์ของเกาะแห่งนี้

    ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น

    ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง

    หต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้

    (ที่มา:เอเอฟพี)
    https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.36XB67E
    ไต้หวันในวันอาทิตย์(16ก.พ.) ยกย่องถ้อยคำที่ "เป็นพวกและเป็นมิตร" เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่มีการอัพเดทใหม่ ซึ่งถอดข้อความที่ว่าวอชิงตัน "ไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป สหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญที่สุดของไต้หวันมาช้านาน แม้พวกเขาถอนการรับรองทางการทูตเกาะปกครองตนเองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 1979 แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีอิทธิพลมากกว่าแทน ภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้จำกัดความความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไต้หวัน เป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากและความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ ต่อการเปลี่ยนแปลงในเอกสารข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเกี่ยวกับเกาะไต้หวัน เคยโหมกระพือการตอบโต้ด้วยความเดือดดาลมาจากจีน ซึ่งอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน นอกจากปรับแต่งข้อความอื่นๆแล้ว ในการอัทเดทล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ลบบรรทัดที่มีการเน้นย้ำว่า "เราไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวัน" ออกไป เอเอฟพีวิเคราะห์ข้อความบนเพจกระทวงการต่างประเทศสหรัฐฯเทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามบนเพจยังคงเน้นย้ำว่าวอชิงตันยอมรับเพียงปักกิ่ง ในฐานะรัฐบาลจีนภายใต้ "นโยบายจีนเดียวที่ยืดถือมานาน" และคัดค้านการ "เปลี่ยนแปลงสถานภาพปัจจุบันแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม" กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันบอกว่าถ้อยคำ "ที่เป็นบวกและเป็นมิตร" ในเอกสารข้อเท็จจริงที่อัพเดทเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สะท้อนถึงความใกล้ชิดและเป็นมิตรในความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับสหรัฐฯ หลิน เชีย-ลัง รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ขอบคุณรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ "สำหรับคำมั่้นสัญญาต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน เศรษฐกิจไต้หวัน-อเมริกา ความเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและเทคโนโลยี รวมถึงด้านอวกาศนานาชาติของไต้หวัน" กระทรวงการต่างประเทศระบุ สถาบันอเมริกาในไต้หวัน(AIT) ซึ่งถือเป็นสถานทูตโดยพฤตินัยของสหรัฐฯ บอกว่าการอัพเดทดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ "เราเน้นย้ำมาช้านานว่าเราคัดค้านการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงฝ่ายเดียวจากทั้ง 2 ฝ่าย ต่อสถานภาพในปัจจุบัน" โฆษกของ AIT ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ต่อเอเอฟพี "เราไม่ขอแสดงความคิดเห็นกับทุกสมมุติฐานต่างๆที่จีนนำเสนอ หนึ่งเดียวที่เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน" ถ้อยแถลงระบุ ไต้หวัน พยายามหาทางอยู่ฝ่ายเดียวกับ ทรัมป์ ผู้ซึ่งสไตล์ทางการทูตก่อความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเขาในการปกป้องเกาะแห่งนี้จากจีน ทรัมป์ เคยก่อความวิตกกังวลแก่ไต้หวัน ด้วยการบ่งชี้ว่าไทเปควรจ่ายเงินตอบแทนแก่สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าปกป้องและกล่าวหาเกาะแห่งนี้ขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน ประกาศกร้าวเมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) ว่าจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐฯและด้านการป้องกันตนเอง หลัง ทรัมป์ ขู่รีดภาษี 100% ต่อชิปเซเมคอนดัคเตอร์ของเกาะแห่งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯถอดข้อความเกี่ยวกับการไม่สนับสนุนเอกราชไต้หวันออกไป โดยในเดือนพฤษภาคม 2022 รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ณ ขณะนั้น ได้ถอดข้อความดังกล่าว ซึ่งก่อความเดือดดาลแก่จีน ก่อคืนสถานะมันกลับมาหลังจากนั้น ข้อพิพาทระหว่างจีนกับไต้หวัน ต้องย้อนกลับไปใน 1949 ครั้งที่กองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค หลบหนีไปยังไต้หวัน หลังพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองแก่กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง หต้หวัน ซึ่งมีรัฐบาล กองทัพและค่าเงินเป็นของตนเอง เรียกตัวเองว่าเป็นชาติอธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นตายที่ปักกิ่งขีดไว้ (ที่มา:เอเอฟพี) https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.36XB67E
    FACTCHECK.AFP.COM
    Posts falsely claim Trump administration changed Taiwan webpage
    Various US government websites have been scrubbed of key information since Donald Trump began his second term, but the State Department has not overhauled its Taiwan factsheet webpage as of February 14. Social media posts alleging the page had been altered falsely shared a screenshot from an older version of the site that was changed under former president Joe Biden.
    0 Comments 0 Shares 140 Views 0 Reviews
  • มีข่าวจาก Reuters ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Donald Trump อาจไม่สนับสนุนแนวคิดที่ให้ TSMC บริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวันเข้ามาบริหารโรงงานผลิตของ Intel ในสหรัฐฯ แม้ว่ารัฐบาลจะเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอุตสาหกรรมและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังคงต้องการให้บริษัทในสหรัฐฯ คงอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ เท่านั้น

    มีการเจรจาเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้เสนอแนวคิดนี้ให้กับ TSMC และได้รับการตอบรับในทางบวก แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลลัพธ์ เนื่องจากการทำข้อตกลงนี้จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตของ TSMC และ Intel มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

    หาก Intel ต้องยอมปล่อยการควบคุมโรงงานและเทคโนโลยีการผลิต อาจส่งผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจและกำไรของบริษัท ในขณะที่ทาง TSMC เองก็ต้องการรักษาอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง ดังนั้น การทำข้อตกลงนี้อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและความเป็นไปได้ในการประสบความสำเร็จ

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/trump-is-unlikely-to-support-tsmc-running-intels-fabs-us-govt-downplays-chances-of-tsmc-takeover
    มีข่าวจาก Reuters ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Donald Trump อาจไม่สนับสนุนแนวคิดที่ให้ TSMC บริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวันเข้ามาบริหารโรงงานผลิตของ Intel ในสหรัฐฯ แม้ว่ารัฐบาลจะเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอุตสาหกรรมและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังคงต้องการให้บริษัทในสหรัฐฯ คงอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ เท่านั้น มีการเจรจาเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้เสนอแนวคิดนี้ให้กับ TSMC และได้รับการตอบรับในทางบวก แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลลัพธ์ เนื่องจากการทำข้อตกลงนี้จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตของ TSMC และ Intel มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หาก Intel ต้องยอมปล่อยการควบคุมโรงงานและเทคโนโลยีการผลิต อาจส่งผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจและกำไรของบริษัท ในขณะที่ทาง TSMC เองก็ต้องการรักษาอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง ดังนั้น การทำข้อตกลงนี้อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและความเป็นไปได้ในการประสบความสำเร็จ https://www.tomshardware.com/tech-industry/trump-is-unlikely-to-support-tsmc-running-intels-fabs-us-govt-downplays-chances-of-tsmc-takeover
    WWW.TOMSHARDWARE.COM
    Trump is 'unlikely' to support TSMC running Intel's fabs — US gov't downplays chances of TSMC takeover
    The Trump administration may oppose Intel's U.S. chip factories run by a foreign company.
    0 Comments 0 Shares 119 Views 0 Reviews
  • ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา Wu Cheng-wen หัวหน้าสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของไต้หวัน กล่าวว่าการควบคุมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพียงประเทศเดียวนั้นไม่จำเป็น และว่าการผลิตเซมิคอนดักเตอร์เป็นเรื่องซับซ้อนที่ต้องการการแบ่งงานกันทำโดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละประเทศ เขาไม่กล่าวถึงประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยตรง แต่พูดถึงคำพูดของประธานาธิบดีไต้หวัน Lai Ching-te ที่ย้ำว่าไต้หวันพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก

    Wu กล่าวเสริมว่าไต้หวันได้พัฒนาภาคส่วนนี้มาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษและได้กลายเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชมในระดับนานาชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้มาอย่างง่ายดายจากประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ เขายังเน้นว่าประเทศแต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญของตัวเองในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อาทิ ญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านเคมีและอุปกรณ์ สหรัฐอเมริกามีความเป็นเลิศด้านการออกแบบและการประยุกต์ใช้ระบบที่มีนวัตกรรมขั้นสูง

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/15/no-need-for-one-country-to-control-chip-industry-taiwan-official-says
    ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา Wu Cheng-wen หัวหน้าสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของไต้หวัน กล่าวว่าการควบคุมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพียงประเทศเดียวนั้นไม่จำเป็น และว่าการผลิตเซมิคอนดักเตอร์เป็นเรื่องซับซ้อนที่ต้องการการแบ่งงานกันทำโดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละประเทศ เขาไม่กล่าวถึงประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยตรง แต่พูดถึงคำพูดของประธานาธิบดีไต้หวัน Lai Ching-te ที่ย้ำว่าไต้หวันพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก Wu กล่าวเสริมว่าไต้หวันได้พัฒนาภาคส่วนนี้มาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษและได้กลายเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชมในระดับนานาชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้มาอย่างง่ายดายจากประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ เขายังเน้นว่าประเทศแต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญของตัวเองในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อาทิ ญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านเคมีและอุปกรณ์ สหรัฐอเมริกามีความเป็นเลิศด้านการออกแบบและการประยุกต์ใช้ระบบที่มีนวัตกรรมขั้นสูง https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/15/no-need-for-one-country-to-control-chip-industry-taiwan-official-says
    WWW.THESTAR.COM.MY
    No need for one country to control chip industry, Taiwan official says
    TAIPEI (Reuters) - There is no need for one country to control the semiconductor industry, which is complex and needs a division of labour, Taiwan's top technology official said on Saturday after U.S. President Donald Trump criticised the island's chip dominance.
    0 Comments 0 Shares 91 Views 0 Reviews
  • เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 11:00 น. เกิดเหตุระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าซินกวงซันเย่ว์ ในเมืองไถจง ไต้หวัน โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 5 คน และมีผู้บาดเจ็บหลายราย รวมถึงผู้ที่ไม่มีสัญญาณชีพอีก 6 คน ขณะนี้หน่วยงานดับเพลิงได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือและเปิดการสืบสวนเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น

    สื่อไต้หวันรายงานว่าในช่วงเวลาเกิดเหตุมีควันฟุ้งเต็มพื้นที่ และกำแพงด้านนอกของชั้นหนึ่งในห้างดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นที่ชั้น 11 และ 12 ซึ่งเป็นพื้นที่ของร้านอาหารและศูนย์อาหารของห้าง

    ตำรวจและหน่วยดับเพลิงได้ระดมกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยจากการรายงานเบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บหลายราย


    คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/china/detail/9680000014509

    #MGROnline #ห้างสรรพสินค้าซินกวงซันเย่ว์ #เมืองไถจง #ไต้หวัน
    เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 11:00 น. เกิดเหตุระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าซินกวงซันเย่ว์ ในเมืองไถจง ไต้หวัน โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 5 คน และมีผู้บาดเจ็บหลายราย รวมถึงผู้ที่ไม่มีสัญญาณชีพอีก 6 คน ขณะนี้หน่วยงานดับเพลิงได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือและเปิดการสืบสวนเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น • สื่อไต้หวันรายงานว่าในช่วงเวลาเกิดเหตุมีควันฟุ้งเต็มพื้นที่ และกำแพงด้านนอกของชั้นหนึ่งในห้างดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นที่ชั้น 11 และ 12 ซึ่งเป็นพื้นที่ของร้านอาหารและศูนย์อาหารของห้าง • ตำรวจและหน่วยดับเพลิงได้ระดมกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยจากการรายงานเบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บหลายราย • คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/china/detail/9680000014509 • #MGROnline #ห้างสรรพสินค้าซินกวงซันเย่ว์ #เมืองไถจง #ไต้หวัน
    Sad
    1
    0 Comments 0 Shares 195 Views 0 Reviews
  • สรุปข่าวรัสเซีย-ยูเครน:

    - เซเลนสกีกล่าวกับ The Guardian ว่า ยินดีแลกเปลี่ยนดินแดนส่วนหนึ่งในภูมิภาคเคิร์สก์ (Kursk) ที่ยูเครนยึดครองอยู่ กับภูมิภาคที่รัสเซียยึดได้ แต่เซเลนสกียังไม่ได้ระบุว่าจะเป็นภูมิภาคใด คือ โดเนตสก์(Donetsk) ลูฮันสก์(Luhansk) ซาโปริซเซีย(Zaporozhye) และเคอร์ซอน (Kherson)

    - ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเซเลนสกีให้สัมภาษณ์ The Guardian กองทัพรัสเซียโจมตียูเครนอย่างหนักด้วยขีปนาวุธหลายสิบลูก รวมทั้งโดรนอีกหลายสิบลำ สร้างความเสียหายอย่างมาก บ่งชี้ว่ารัสเซียไม่สนใจข้อเสนอการแลกเปลี่ยนดินแดนของเซเลนสกีแต่อย่างใด

    - "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาตอบโต้เซเลนสกีทันทีว่า ให้เลิกพูดถึงการแลกเปลี่ยนดังกล่าว เพราะรัสเซียจะไม่มีทางคุยเรื่องนี้ และจะไม่พูดถึงประเด็นการแลกเปลี่ยนดินแดนอย่างเด็ดขาด ซึ่งมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

    - ประธานาธิบดีทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความระบุว่าเขาได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินนานกว่า 90 นาที และทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรยุติการสูญเสียชีวิตผู้คนที่กำลังเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าการเจรจายุติสงครามอาจเกิดขึ้นในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังมีการตกลงกันว่าจะมีการเยือนกันระหว่างสองประเทศ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลา

    - หลังจากนั้น ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ต่อสายโทรศัพท์หาเซเลนสกี เพื่อบอกรายละเอียดที่จำเป็นให้เขาทราบ และเน้นไปที่การประชุมในมิวนิกที่ประเทศเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์นี้ ซึ่งรองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ และรัฐมนตรีต่างประเทศมาร์โก รูบิโอ จะเป็นผู้นำคณะผู้แทน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสงครามยูเครน-รัสเซีย

    - ก่อนหน้านี้ เซเลนสกีต้องการให้ทรัมป์ต่อสายคุยกับเขาก่อน แล้วจึงคุยกับประธานาธิบดีปูติน แต่ทรัมป์กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

    - อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ

    - รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ พีต เฮกเซธ กล่าวในการประชุมกลาโหมที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม : "สหรัฐไม่เชื่อว่าการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนจะเป็นไปได้จากการเจรจาที่กำลังจะมีขึ้น"



    ข่าวอื่นๆ:
    - โฆษกฮามาสออกมาประกาศจะไม่ปล่อยตัวประกันในวันเสาร์นี้ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่าในกาซา "นรกจะแตก" หากฮามาสละเมิดข้อตกลง

    - เนทันยาฮู เตรียมประกาศยุติข้อตกลงหยุดยิง และสั่งกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมกาซา โดยเฉพาะทางเหนือ เพื่อเตรียมตัวบุก หากพ้นกำหนดเส้นตายเที่ยงวันเสาร์ ที่ฮามาสต้องส่งมอบตัวประกันตามกำหนด

    - วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติรับรอง “ทัลซี แกบบาร์ด” (Tulsi Gabbard) เป็นผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) เมื่อปี 2020 ฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวหา Tulsi Gabbard ว่าเป็นผู้ปกป้องเผด็จการและเป็นหุ่นเชิดของรัสเซีย หลังจากนั้น 4 ปีต่อมา วุฒิสภาสหรัฐได้แต่งตั้งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิดของปูตินให้รับผิดชอบหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ

    - The Wall Street Journal รายงานว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐมีข้อมูลว่าอิสราเอลกำลังวางแผนโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่านครั้งใหญ่ในปีนี้ (อิหร่านและรัสเซียเพิ่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน รวมทั้งความมั่นคงและการทหาร เปรียบได้กับมาตรา 5 ของนาโต้)

    - กองทัพอียิปต์สั่งการให้ในภูมิภาคไซนาย(ติดกับอิสราเอล)ยกระดับความพร้อมรบขั้นสูงสุด

    - จีนจัดการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศรอบเกาะไต้หวันครั้งใหญ่ หลังจากสหรัฐส่งเรือรบ 2 ลำ ผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
    สรุปข่าวรัสเซีย-ยูเครน: - เซเลนสกีกล่าวกับ The Guardian ว่า ยินดีแลกเปลี่ยนดินแดนส่วนหนึ่งในภูมิภาคเคิร์สก์ (Kursk) ที่ยูเครนยึดครองอยู่ กับภูมิภาคที่รัสเซียยึดได้ แต่เซเลนสกียังไม่ได้ระบุว่าจะเป็นภูมิภาคใด คือ โดเนตสก์(Donetsk) ลูฮันสก์(Luhansk) ซาโปริซเซีย(Zaporozhye) และเคอร์ซอน (Kherson) - ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเซเลนสกีให้สัมภาษณ์ The Guardian กองทัพรัสเซียโจมตียูเครนอย่างหนักด้วยขีปนาวุธหลายสิบลูก รวมทั้งโดรนอีกหลายสิบลำ สร้างความเสียหายอย่างมาก บ่งชี้ว่ารัสเซียไม่สนใจข้อเสนอการแลกเปลี่ยนดินแดนของเซเลนสกีแต่อย่างใด - "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาตอบโต้เซเลนสกีทันทีว่า ให้เลิกพูดถึงการแลกเปลี่ยนดังกล่าว เพราะรัสเซียจะไม่มีทางคุยเรื่องนี้ และจะไม่พูดถึงประเด็นการแลกเปลี่ยนดินแดนอย่างเด็ดขาด ซึ่งมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ - ประธานาธิบดีทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความระบุว่าเขาได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินนานกว่า 90 นาที และทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรยุติการสูญเสียชีวิตผู้คนที่กำลังเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าการเจรจายุติสงครามอาจเกิดขึ้นในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังมีการตกลงกันว่าจะมีการเยือนกันระหว่างสองประเทศ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลา - หลังจากนั้น ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ต่อสายโทรศัพท์หาเซเลนสกี เพื่อบอกรายละเอียดที่จำเป็นให้เขาทราบ และเน้นไปที่การประชุมในมิวนิกที่ประเทศเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์นี้ ซึ่งรองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ และรัฐมนตรีต่างประเทศมาร์โก รูบิโอ จะเป็นผู้นำคณะผู้แทน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสงครามยูเครน-รัสเซีย - ก่อนหน้านี้ เซเลนสกีต้องการให้ทรัมป์ต่อสายคุยกับเขาก่อน แล้วจึงคุยกับประธานาธิบดีปูติน แต่ทรัมป์กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง - อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ - รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ พีต เฮกเซธ กล่าวในการประชุมกลาโหมที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม : "สหรัฐไม่เชื่อว่าการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนจะเป็นไปได้จากการเจรจาที่กำลังจะมีขึ้น" ข่าวอื่นๆ: - โฆษกฮามาสออกมาประกาศจะไม่ปล่อยตัวประกันในวันเสาร์นี้ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่าในกาซา "นรกจะแตก" หากฮามาสละเมิดข้อตกลง - เนทันยาฮู เตรียมประกาศยุติข้อตกลงหยุดยิง และสั่งกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมกาซา โดยเฉพาะทางเหนือ เพื่อเตรียมตัวบุก หากพ้นกำหนดเส้นตายเที่ยงวันเสาร์ ที่ฮามาสต้องส่งมอบตัวประกันตามกำหนด - วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติรับรอง “ทัลซี แกบบาร์ด” (Tulsi Gabbard) เป็นผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) เมื่อปี 2020 ฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวหา Tulsi Gabbard ว่าเป็นผู้ปกป้องเผด็จการและเป็นหุ่นเชิดของรัสเซีย หลังจากนั้น 4 ปีต่อมา วุฒิสภาสหรัฐได้แต่งตั้งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิดของปูตินให้รับผิดชอบหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ - The Wall Street Journal รายงานว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐมีข้อมูลว่าอิสราเอลกำลังวางแผนโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่านครั้งใหญ่ในปีนี้ (อิหร่านและรัสเซียเพิ่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน รวมทั้งความมั่นคงและการทหาร เปรียบได้กับมาตรา 5 ของนาโต้) - กองทัพอียิปต์สั่งการให้ในภูมิภาคไซนาย(ติดกับอิสราเอล)ยกระดับความพร้อมรบขั้นสูงสุด - จีนจัดการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศรอบเกาะไต้หวันครั้งใหญ่ หลังจากสหรัฐส่งเรือรบ 2 ลำ ผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 246 Views 0 Reviews
  • สหรัฐฯมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนโฟกัสด้านการทหาร ให้ความสำคัญลำดับต้นๆต่อการเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในอินโด-แปซิฟิก เช่นเดียวกับการป้องกันมาตุภูมิ จากคำประกาศกร้าวของ พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมอเมริกา(เพนตากอน)
    .
    ระหว่างกล่าวกับที่ประชุมสนับสนุนยูเครน ของเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมนาโตและบรรดาชาตินอกสมาชิกนาโต ในกรุงบรัสเซลส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งหมาดๆ ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของวอชิงตัน และเรียกร้องให้พวกพันธมิตรยุโรปเข้ารับหน้าที่เป็นผู้นำในด้านความมั่นคงของตนเอง
    .
    เฮกเซธ เน้นย้ำว่า "ข้อเท็จจริงทางยุทธศาสตร์" บีบให้วอชิงตัน ต้องหันไปมุ่งเน้นคุ้มกันชายแดนของตนเองและตอบโต้ภัยคุกคามจากปักกิ่ง "สหรัฐฯต้องเผชิญกับภัยคุกคามสืบเนื่อง ที่มีต่อมาตุภูมิของเรา" เขากล่าว พร้อมบอกว่า "เราต้อง และเรากำลังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชายแดนของเรา"
    .
    รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ระบุ จีน คือภัยคุกคามสำคัญที่สุด โดยให้คำจำกัดความปักกิ่งว่าเป็น "คู่แข่งที่ทัดเทียม" ทั้งในแง่ศักยภาพและความตั้งใจคุกคามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
    .
    "สหรัฐฯให้ความสำคัญลำดับต้นๆกับการป้องปรามสงครามกับจีนในแปซิฟิก ตะหนักถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลน และต้องเลือกทุ่มเททรัพยากรไปที่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อรับประกันว่าการป้องปรามนั้นจะไม่ล้มเหลว" เฮกเซธระบุ
    .
    ความเป็นคู่อริทางยุทธศาสตร์ระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 2 ชาติต่างยกระดับการปรากฏตัวทางทหารและเศรษฐกิจในอินโด-แปซิฟิก ในขณะที่สหรัฐฯส่งเสียงเตือนซ้ำๆในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากความเคลื่อนไหวเสริมกำลังทหารและความทะเยอทะยานในระดับภูมิภาคของจีน
    .
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำจุดยืนดังกล่าวเช่นกัน ประกาศกร้าวว่าการตอบโต้จีน จะเป็นแก่นกลางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯระหว่างการดำรงตำแหน่งสมัย 2 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเขากล่าวหาพรรคคอมมิวนิสต์จีน "โกหก หลอกลวง เจาะระบบและขโมยข้อมูล เปิดทางสู่สถานะมหาอำนาจโลก โดยที่เราต้องเป็นฝ่ายชดใช้"
    .
    รูบิโอ ยังได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆนานาของสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ซึ่งอนุญาตให้ห่วงโซ่อุปทานสำคัญๆโยกย้ายไปยังจีน เตือนว่ามันทำให้การผลิตของอเมริกาตกอยู่ในความอ่อนแอ นอกจากนี้แล้วเขายังเรียกร้องให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวกว่าเดิม ในการจำกัดอิทธิพลของปักกิ่งในอินโด-แปซิฟิก และที่อื่นๆ
    .
    ปักกิ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวมาตลอดต่อข้อกล่าวหานี้ พร้อมชี้ว่าสหรัฐฯคือขุมกำลังหลักที่บ่นทอนเสถียรภาพในภูมิภาค กระทรวงกลาโหมของจีนประณามความพยายามของวอชิงตัน ในการยกระดับปรากฏตัวทางทหารในอินโด-แปซิฟิก ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวาง ในความพยายาม "ควบคุมจีน" และปั้นแต่งเรื่องเล่า "ภัยคุกคามจากจีน" แบบเลยเถิด
    .
    นอกจากนี้แล้ว จีน ยังได้วิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ต่อกรณีกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับไต้หวัน เน้นย้ำว่าพวกเขามองว่าเกาะปกครองตนเองแห่งนี้เป็นดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของประเทศ ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" ทั้งนี้ที่ผ่านมา ปักกิ่ง ประณามวอชิงตัน ต่อการขายอาวุธต่างๆนานาให้ไทเป กล่าวหาว่าอเมริกาปลุกปั่นสถานการณ์ความตึงเครียด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014311
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนโฟกัสด้านการทหาร ให้ความสำคัญลำดับต้นๆต่อการเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในอินโด-แปซิฟิก เช่นเดียวกับการป้องกันมาตุภูมิ จากคำประกาศกร้าวของ พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมอเมริกา(เพนตากอน) . ระหว่างกล่าวกับที่ประชุมสนับสนุนยูเครน ของเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมนาโตและบรรดาชาตินอกสมาชิกนาโต ในกรุงบรัสเซลส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งหมาดๆ ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของวอชิงตัน และเรียกร้องให้พวกพันธมิตรยุโรปเข้ารับหน้าที่เป็นผู้นำในด้านความมั่นคงของตนเอง . เฮกเซธ เน้นย้ำว่า "ข้อเท็จจริงทางยุทธศาสตร์" บีบให้วอชิงตัน ต้องหันไปมุ่งเน้นคุ้มกันชายแดนของตนเองและตอบโต้ภัยคุกคามจากปักกิ่ง "สหรัฐฯต้องเผชิญกับภัยคุกคามสืบเนื่อง ที่มีต่อมาตุภูมิของเรา" เขากล่าว พร้อมบอกว่า "เราต้อง และเรากำลังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชายแดนของเรา" . รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ระบุ จีน คือภัยคุกคามสำคัญที่สุด โดยให้คำจำกัดความปักกิ่งว่าเป็น "คู่แข่งที่ทัดเทียม" ทั้งในแง่ศักยภาพและความตั้งใจคุกคามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก . "สหรัฐฯให้ความสำคัญลำดับต้นๆกับการป้องปรามสงครามกับจีนในแปซิฟิก ตะหนักถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลน และต้องเลือกทุ่มเททรัพยากรไปที่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อรับประกันว่าการป้องปรามนั้นจะไม่ล้มเหลว" เฮกเซธระบุ . ความเป็นคู่อริทางยุทธศาสตร์ระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 2 ชาติต่างยกระดับการปรากฏตัวทางทหารและเศรษฐกิจในอินโด-แปซิฟิก ในขณะที่สหรัฐฯส่งเสียงเตือนซ้ำๆในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากความเคลื่อนไหวเสริมกำลังทหารและความทะเยอทะยานในระดับภูมิภาคของจีน . มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำจุดยืนดังกล่าวเช่นกัน ประกาศกร้าวว่าการตอบโต้จีน จะเป็นแก่นกลางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯระหว่างการดำรงตำแหน่งสมัย 2 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเขากล่าวหาพรรคคอมมิวนิสต์จีน "โกหก หลอกลวง เจาะระบบและขโมยข้อมูล เปิดทางสู่สถานะมหาอำนาจโลก โดยที่เราต้องเป็นฝ่ายชดใช้" . รูบิโอ ยังได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆนานาของสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ซึ่งอนุญาตให้ห่วงโซ่อุปทานสำคัญๆโยกย้ายไปยังจีน เตือนว่ามันทำให้การผลิตของอเมริกาตกอยู่ในความอ่อนแอ นอกจากนี้แล้วเขายังเรียกร้องให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวกว่าเดิม ในการจำกัดอิทธิพลของปักกิ่งในอินโด-แปซิฟิก และที่อื่นๆ . ปักกิ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวมาตลอดต่อข้อกล่าวหานี้ พร้อมชี้ว่าสหรัฐฯคือขุมกำลังหลักที่บ่นทอนเสถียรภาพในภูมิภาค กระทรวงกลาโหมของจีนประณามความพยายามของวอชิงตัน ในการยกระดับปรากฏตัวทางทหารในอินโด-แปซิฟิก ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวาง ในความพยายาม "ควบคุมจีน" และปั้นแต่งเรื่องเล่า "ภัยคุกคามจากจีน" แบบเลยเถิด . นอกจากนี้แล้ว จีน ยังได้วิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ ต่อกรณีกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับไต้หวัน เน้นย้ำว่าพวกเขามองว่าเกาะปกครองตนเองแห่งนี้เป็นดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของประเทศ ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" ทั้งนี้ที่ผ่านมา ปักกิ่ง ประณามวอชิงตัน ต่อการขายอาวุธต่างๆนานาให้ไทเป กล่าวหาว่าอเมริกาปลุกปั่นสถานการณ์ความตึงเครียด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014311 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Angry
    11
    0 Comments 1 Shares 2134 Views 0 Reviews
  • มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการลดการซื้ออุปกรณ์การผลิตชิปของจีน เนื่องจากบริษัทที่ผลิตเครื่องมือในจีนเองเริ่มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

    รายงานจาก TechInsights ระบุว่าการลงทุนของจีนในอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์จะลดลงจาก 41 พันล้านดอลลาร์ในปี 2024 เป็น 38 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ นั่นเป็นการลดลงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเกิดจากการคว่ำบาตรการส่งออกที่เข้มงวดขึ้นจากสหรัฐฯ และการมีชิปล้นตลาด

    ถึงแม้ว่าจีนจะลดการลงทุนในอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ แต่ประเทศนี้ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับอุปกรณ์การผลิตแผ่นเวเฟอร์ โดยมีไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ตามมา

    ในปี 2023 บริษัทจีนซื้ออุปกรณ์การผลิตแผ่นเวเฟอร์มูลค่า 36.6 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่บริษัทในเกาหลีใต้ซื้อไป 16.94 พันล้านดอลลาร์ และบริษัทไต้หวันซื้อไป 19.62 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกัน บริษัทในสหรัฐฯ ซื้ออุปกรณ์การผลิตแผ่นเวเฟอร์มูลค่าเพียง 12.05 พันล้านดอลลาร์

    การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้จีนไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงได้ เช่นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับ AI และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงมีความก้าวหน้าในการผลิตชิปที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง เช่น เทคโนโลยีการผลิต 28nm, 45nm, 90nm และ 130nm ซึ่งยังคงมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

    นอกจากนี้ ยังมีการเติบโตของผู้ผลิตอุปกรณ์การผลิตในประเทศจีนเช่น AMEC และ Naura ที่ผลิตอุปกรณ์ระดับโลกและมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในปี 2024

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/china-will-likely-reduce-purchase-of-chipmaking-tools-this-year-as-homegrown-toolmakers-ramp-up
    มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการลดการซื้ออุปกรณ์การผลิตชิปของจีน เนื่องจากบริษัทที่ผลิตเครื่องมือในจีนเองเริ่มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รายงานจาก TechInsights ระบุว่าการลงทุนของจีนในอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์จะลดลงจาก 41 พันล้านดอลลาร์ในปี 2024 เป็น 38 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ นั่นเป็นการลดลงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเกิดจากการคว่ำบาตรการส่งออกที่เข้มงวดขึ้นจากสหรัฐฯ และการมีชิปล้นตลาด ถึงแม้ว่าจีนจะลดการลงทุนในอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ แต่ประเทศนี้ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับอุปกรณ์การผลิตแผ่นเวเฟอร์ โดยมีไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ ตามมา ในปี 2023 บริษัทจีนซื้ออุปกรณ์การผลิตแผ่นเวเฟอร์มูลค่า 36.6 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่บริษัทในเกาหลีใต้ซื้อไป 16.94 พันล้านดอลลาร์ และบริษัทไต้หวันซื้อไป 19.62 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกัน บริษัทในสหรัฐฯ ซื้ออุปกรณ์การผลิตแผ่นเวเฟอร์มูลค่าเพียง 12.05 พันล้านดอลลาร์ การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้จีนไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงได้ เช่นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับ AI และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงมีความก้าวหน้าในการผลิตชิปที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง เช่น เทคโนโลยีการผลิต 28nm, 45nm, 90nm และ 130nm ซึ่งยังคงมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังมีการเติบโตของผู้ผลิตอุปกรณ์การผลิตในประเทศจีนเช่น AMEC และ Naura ที่ผลิตอุปกรณ์ระดับโลกและมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในปี 2024 https://www.tomshardware.com/tech-industry/china-will-likely-reduce-purchase-of-chipmaking-tools-this-year-as-homegrown-toolmakers-ramp-up
    WWW.TOMSHARDWARE.COM
    China will likely reduce purchase of chipmaking tools this year as homegrown toolmakers ramp up
    China's investment in semiconductor manufacturing tools is expected to drop by $3 billion.
    0 Comments 0 Shares 95 Views 0 Reviews
  • ผู้กำกับ สภ.เมืองเชียงใหม่ท้าทีมงาน “ส.ส.ปูอัด” แฉหลักฐานและเข้าแจ้งความกรณีกล่าวอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรีดเงิน 4 แสนบาท เพื่อแลกกับการช่วยให้หลุดคดีข่มขืนนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ขณะเดียวกันตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว หากพบว่าไม่เป็นความจริง เตรียมแจ้งความ พร้อมยืนยันตำรวจมีพยานหลักฐานครบถ้วนชัดเจนจึงออกหมายจับได้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000013430

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ผู้กำกับ สภ.เมืองเชียงใหม่ท้าทีมงาน “ส.ส.ปูอัด” แฉหลักฐานและเข้าแจ้งความกรณีกล่าวอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรีดเงิน 4 แสนบาท เพื่อแลกกับการช่วยให้หลุดคดีข่มขืนนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ขณะเดียวกันตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว หากพบว่าไม่เป็นความจริง เตรียมแจ้งความ พร้อมยืนยันตำรวจมีพยานหลักฐานครบถ้วนชัดเจนจึงออกหมายจับได้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000013430 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    8
    1 Comments 0 Shares 851 Views 0 Reviews
  • รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป

    ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้

    นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน

    ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต

    “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ

    มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564

    ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น

    นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567

    ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา

    โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี

    ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย

    อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก

    ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์
    ภาพประกอบข่าว
    นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้ นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567 ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์ ภาพประกอบข่าว นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 327 Views 0 Reviews
  • สื่อจีนไต้หวัน ลงข่าวไอ่ปูอัดแห่งพรรคส้ม ทำให้กระทบท่องเที่ยวไทย หน้าก็เฮี้ยนิสัยก็เฮี้ย พรรคส้มนี่หลายตัวเลย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    สื่อจีนไต้หวัน ลงข่าวไอ่ปูอัดแห่งพรรคส้ม ทำให้กระทบท่องเที่ยวไทย หน้าก็เฮี้ยนิสัยก็เฮี้ย พรรคส้มนี่หลายตัวเลย #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 251 Views 0 Reviews
More Results