• ⛅☔คาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (25 - 31 ธันวาคม 2567)
    ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 31 ธ.ค. 67
    ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน #ดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วง
    ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 27 ธ.ค. 67
    ขอให้ระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มี #หมอก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและ #ระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ไว้ด้วย
    ⚠️ ในช่วงวันที่ 28 - 30 ธ.ค. 67
    ขอให้ประชาชนในภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจาก #ฝนตกหนักถึงหนักมาก และ #ฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิด #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร #เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และ #หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

    สำหรับรายละเอียด "พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า" ดังลิงก์ https://www.tmd.go.th/forecast/sevenday
    ⛅☔คาดหมายลักษณะอากาศ 7 วันข้างหน้า (25 - 31 ธันวาคม 2567) ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 31 ธ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน #ดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วง ⚠️ ในช่วงวันที่ 25 - 27 ธ.ค. 67 ขอให้ระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มี #หมอก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและ #ระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ไว้ด้วย ⚠️ ในช่วงวันที่ 28 - 30 ธ.ค. 67 ขอให้ประชาชนในภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจาก #ฝนตกหนักถึงหนักมาก และ #ฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิด #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร #เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และ #หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง สำหรับรายละเอียด "พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า" ดังลิงก์ https://www.tmd.go.th/forecast/sevenday
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 355 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลจัดชุดใหญ่ เยียวยาน้ำท่วมใต้ หวังสยบดราม่า
    .
    ภายหลังนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดนดราม่าทัวร์ลงถล่มเกี่ยวกับน้ำท่วมภาคใต้ ปรากฎว่ารัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณและมาตรการเยียวยาประชาชนในพื้นที่มาเป็นชุด เริ่มตั้งแต่การเพิ่มกรอบเงินทดรองของจังหวัด จาก 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท ในจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประกาศเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 6 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ต่อด้วยการเห็นชอบใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงิน โดยให้ปรับหลักเกณฑ์กรณีที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายน้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และมีทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย และที่อยู่อาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวันจะช่วยในอัตราเดียวคือ 9,000 บาททุกครัวเรือน จากเดิมในพื้นที่ 57จังหวัด จะเพิ่มอีก 16 จังหวัด วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเร่งด่วน
    .
    ขณะเดียวกัน สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ควบคุมดูแลสินค้า อุปโภค-บริโภค ต้องห้ามขาด ห้ามแพง เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนที่กำลังเดือดร้อน ถ้าพบว่ามีการกักตุนสินค้า หรือพบว่าราคาแพงผิดปกติ กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการตามกฎหมายทันที ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย โดยประชาชนและลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการลดเงินงวดและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 1 ปี พักชำระหนี้ นาน 3 เดือน นอกจากนี้ ประชาชนที่ต้องการกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซม หรือปลูกสร้างทดแทนหลังเดิม ธอส.ได้เปิดสินเชื่อวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเดือนที่ 1-3 เท่ากับ 0% ต่อปี พร้อมปลอดชำระเงินงวด 3 เดือน สำหรับประชาชนลูกค้าที่ประสงค์ขอรับบริการ “โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย” สามารถติดต่อได้ที่ 0-2645-9000 หรือสาขาของ ธอส. ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568
    .
    เช่นเดียวกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กระทรวงการคลัง ออกนมาตรการเร่งด่วนเยียวยา “ลูกค้า – ลูกหนี้” น้ำท่วมภาคใต้ พักค่าธรรมเนียม – พักหนี้ 6 เดือน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ภาคใต้ฟื้นฟูกิจการ เช่น พักชำระค่าธรรมเนียมและค่าจัดการค้ำประกัน 6 เดือน สำหรับ SMEs ลูกค้า บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้ปี 2567 มาตรการช่วยลูกหนี้บสย.ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ และไม่ผิดนัดชำระหนี้ ระยะเวลารับคำขอพักชำระ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2567 โดยพักชำระค่างวดที่ถึงกำหนดชำระเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
    ..............
    Sondhi X
    รัฐบาลจัดชุดใหญ่ เยียวยาน้ำท่วมใต้ หวังสยบดราม่า . ภายหลังนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดนดราม่าทัวร์ลงถล่มเกี่ยวกับน้ำท่วมภาคใต้ ปรากฎว่ารัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณและมาตรการเยียวยาประชาชนในพื้นที่มาเป็นชุด เริ่มตั้งแต่การเพิ่มกรอบเงินทดรองของจังหวัด จาก 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท ในจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประกาศเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 6 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ต่อด้วยการเห็นชอบใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงิน โดยให้ปรับหลักเกณฑ์กรณีที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายน้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และมีทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย และที่อยู่อาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวันจะช่วยในอัตราเดียวคือ 9,000 บาททุกครัวเรือน จากเดิมในพื้นที่ 57จังหวัด จะเพิ่มอีก 16 จังหวัด วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเร่งด่วน . ขณะเดียวกัน สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ควบคุมดูแลสินค้า อุปโภค-บริโภค ต้องห้ามขาด ห้ามแพง เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนที่กำลังเดือดร้อน ถ้าพบว่ามีการกักตุนสินค้า หรือพบว่าราคาแพงผิดปกติ กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการตามกฎหมายทันที ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย โดยประชาชนและลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการลดเงินงวดและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 1 ปี พักชำระหนี้ นาน 3 เดือน นอกจากนี้ ประชาชนที่ต้องการกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซม หรือปลูกสร้างทดแทนหลังเดิม ธอส.ได้เปิดสินเชื่อวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเดือนที่ 1-3 เท่ากับ 0% ต่อปี พร้อมปลอดชำระเงินงวด 3 เดือน สำหรับประชาชนลูกค้าที่ประสงค์ขอรับบริการ “โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย” สามารถติดต่อได้ที่ 0-2645-9000 หรือสาขาของ ธอส. ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 . เช่นเดียวกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กระทรวงการคลัง ออกนมาตรการเร่งด่วนเยียวยา “ลูกค้า – ลูกหนี้” น้ำท่วมภาคใต้ พักค่าธรรมเนียม – พักหนี้ 6 เดือน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ภาคใต้ฟื้นฟูกิจการ เช่น พักชำระค่าธรรมเนียมและค่าจัดการค้ำประกัน 6 เดือน สำหรับ SMEs ลูกค้า บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้ปี 2567 มาตรการช่วยลูกหนี้บสย.ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ และไม่ผิดนัดชำระหนี้ ระยะเวลารับคำขอพักชำระ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2567 โดยพักชำระค่างวดที่ถึงกำหนดชำระเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 964 มุมมอง 0 รีวิว
  • คลอง ร.๑ น้ำพระทัยในหลวง ร.๙ หาดใหญ่ผ่อนหนักเป็นเบา

    อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคใต้ เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2543 คลองอู่ตะเภาไหลลงพื้นที่มากถึง 751 ลบ.ม.ต่อวินาที มากกว่าศักยภาพระบายน้ำได้เพียง 461 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลทำให้น้ำท่วมฉับพลัน กระจายไปยัง 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา เสียชีวิต 32 ราย บาดเจ็บ 382 คน ราษฎรเดือดร้อน 552,579 คน 130,117 ครัวเรือน พื้นที่เศรษฐกิจทั้งตลาดกิมหยง สันติสุข ตลาดพลาซา โรงแรมและสถานบริการเสียหาย 77 แห่ง รวมมูลค่าความเสียหายด้านธุรกิจเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งจังหวัดกว่า 10,000 ล้านบาท

    ปี 2567 น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่หาดใหญ่ใน ซึ่งเป็นโซนชั้นนอก เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ก่อนกลับสู่สภาวะปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในหรือโซนไข่แดงนั้นปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะโครงการตามพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผ่อนหนักเป็นเบา

    สทท.สงขลา รายงานว่า ประชาชนชาวหาดใหญ่เปิดเผยว่า แม้ในพื้นที่เขตหาดใหญ่ในจะเป็นพื้นที่รับน้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1 ที่เอ่อล้นเข้าท่วมชุมชน แต่ความเสียหายลดลงกว่าปี 2543 เพราะหลังจากคลอง ร.1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากรองรับน้ำได้มากขึ้นหลายเท่าแล้ว ยังทำให้พื้นที่โซนไข่แดงปลอดภัยจากน้ำท่วม

    คลอง ร.1 ก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำรัส ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2531 ความว่า "การแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมที่ควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะได้แก่การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภาหรือช่วยรับน้ำที่ไหลลงมาท่วมตัวอำเภอหาดใหญ่ ให้ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยเร็ว"

    หลังน้ำท่วมหาดใหญ่ปี 2543 กรมชลประทานจึงได้ผลักดันโครงการคลอง ร.1 ท้องคลองกว้าง 24 เมตร ยาว 21.34 กิโลเมตร แล้วเสร็จในปี 2550 ระบายน้ำได้สูงสุด 465 ลบ.ม. ต่อวินาที ต่อมาได้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขยายคลองให้กว้าง 70-100 เมตร ลึก 7 เมตร ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 และประตูระบายน้ำบางหยี พร้อมสถานีสูบน้ำบางหยี เริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2558 แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเป็นแหล่งสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้อีกประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม.

    พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "คลองภูมินาถดำริ" เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2559 พสกนิกรชาวนครหาดใหญ่น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

    #Newskit
    คลอง ร.๑ น้ำพระทัยในหลวง ร.๙ หาดใหญ่ผ่อนหนักเป็นเบา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคใต้ เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2543 คลองอู่ตะเภาไหลลงพื้นที่มากถึง 751 ลบ.ม.ต่อวินาที มากกว่าศักยภาพระบายน้ำได้เพียง 461 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลทำให้น้ำท่วมฉับพลัน กระจายไปยัง 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา เสียชีวิต 32 ราย บาดเจ็บ 382 คน ราษฎรเดือดร้อน 552,579 คน 130,117 ครัวเรือน พื้นที่เศรษฐกิจทั้งตลาดกิมหยง สันติสุข ตลาดพลาซา โรงแรมและสถานบริการเสียหาย 77 แห่ง รวมมูลค่าความเสียหายด้านธุรกิจเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งจังหวัดกว่า 10,000 ล้านบาท ปี 2567 น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่หาดใหญ่ใน ซึ่งเป็นโซนชั้นนอก เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ก่อนกลับสู่สภาวะปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในหรือโซนไข่แดงนั้นปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะโครงการตามพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผ่อนหนักเป็นเบา สทท.สงขลา รายงานว่า ประชาชนชาวหาดใหญ่เปิดเผยว่า แม้ในพื้นที่เขตหาดใหญ่ในจะเป็นพื้นที่รับน้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1 ที่เอ่อล้นเข้าท่วมชุมชน แต่ความเสียหายลดลงกว่าปี 2543 เพราะหลังจากคลอง ร.1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากรองรับน้ำได้มากขึ้นหลายเท่าแล้ว ยังทำให้พื้นที่โซนไข่แดงปลอดภัยจากน้ำท่วม คลอง ร.1 ก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำรัส ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2531 ความว่า "การแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมที่ควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะได้แก่การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภาหรือช่วยรับน้ำที่ไหลลงมาท่วมตัวอำเภอหาดใหญ่ ให้ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยเร็ว" หลังน้ำท่วมหาดใหญ่ปี 2543 กรมชลประทานจึงได้ผลักดันโครงการคลอง ร.1 ท้องคลองกว้าง 24 เมตร ยาว 21.34 กิโลเมตร แล้วเสร็จในปี 2550 ระบายน้ำได้สูงสุด 465 ลบ.ม. ต่อวินาที ต่อมาได้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขยายคลองให้กว้าง 70-100 เมตร ลึก 7 เมตร ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 และประตูระบายน้ำบางหยี พร้อมสถานีสูบน้ำบางหยี เริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2558 แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเป็นแหล่งสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้อีกประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "คลองภูมินาถดำริ" เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2559 พสกนิกรชาวนครหาดใหญ่น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ #Newskit
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 540 มุมมอง 0 รีวิว
  • น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย

    สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

    นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

    แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล

    นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง

    #Newskit
    น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 873 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ
    .
    สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย
    .
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว
    .
    ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง
    .
    ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้
    .
    “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย
    .............
    Sondhi X
    ภาคใต้น้ำท่วม นายกฯไปเหนือ ขอโปรดเข้าใจ . สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมถือว่ายังคงน่าเป็นห่วงพอสมควร โดนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ 1. นครศรีธรรมราช 2.พัทลุง 3.สตูล 4.สงขลา 5.ปัตตานี 6.ยะลา 7.นราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย . ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะประชาชนเท่านั้น เพราะแม้แต่ปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล และตรัง จำนวน 71 อำเภอ 425 ตำบล 2,235 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 117,400 ราย สัตว์ในพื้นที่น้ำท่วม 5,753,340 ตัว แบ่งเป็น โค 215,925 ตัว กระบือ 8,453 ตัว สุกร 75,164 ตัว แพะ/แกะ 135,775 ตัว และสัตว์ปีก 5,318,023 ตัว . ขณะที่ อีกด้านมีเสียงวิจารณ์ต่อท่าทีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเอาใจใส่ต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากระหว่างประชาชนทางตอนใต้ของประเทศกำลังรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ปรากฎว่านายกฯยังคงความสำคัญกับการตรวจราชการในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานเสียง . ในเรื่องนี้ นายกฯ ชี้แจงว่า ตั้งแต่เกิดเหตุได้ส่งรองนายกฯและรัฐมนตรี ลงพื้นที่ และจากการลงพื้นที่เชียงรายวันนี้ได้พูดคุยกับธนาคารต่างๆ ถึงมาตรการช่วยเหลือภายหลังอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจะนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ช่วยเหลือในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ . “โอ๊ย คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้ และวันที่เกิดเรื่อง แจกจ่ายงานประสานทั้งหมด ตั้งแต่กลางคืนไลน์คุยกัน โทรคุยกัน ทำทุกอย่าง แต่การมาการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) เราวางแผนกันเป็นเดือน เพื่อมาฟื้นฟูพื้นที่ภาคเหนือ ให้รู้ว่าเราพร้อมกลับไปเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมาเหมือนกัน" นายกฯ อธิบาย ............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    Angry
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1040 มุมมอง 0 รีวิว
  • หน่วยกู้ภัยอินโดนีเซียยังคงเร่งค้นหาผู้โดยสารจำนวนหนึ่งที่ติดอยู่ภายในรถมินิบัสที่ถูกดินโคลนถล่มทับ หลังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุมาตราเหนือ ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดเพิ่มเป็นอย่างน้อย 27 รายวันนี้ (28 พ.ย.)

    สำนักงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซียระบุว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้วทำให้เกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ 4 เขตของจังหวัดสุมาตราเหนือ

    ฮาดี วาห์ยูดี โฆษกตำรวจสุมาตราเหนือระบุว่า ล่าสุดได้เกิดดินโคลนถล่มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองเดอลีเซอร์ดัง (Deli Serdang) เมื่อวันพุธ (27) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บอีก 20 คน

    เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงเร่งค้นหาชาวบ้านที่สูญหาย รวมถึงผู้โดยสารซึ่งติดอยู่ในรถมินิบัสและยานพาหนะอีกหลายคันซึ่งถูกดินโคลนถล่มทับบนถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดสายหนึ่ง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขของผู้ประสบภัยได้

    ในพื้นที่อื่นๆ หน่วยกู้ภัยพบผู้เสียชีวิตแล้ว 20 รายระหว่างการค้นหาที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว และเวลานี้ยังคงมีชาวบ้านสูญหายไม่ทราบชะตากรรมอีก 2 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/around/detail/9670000114504

    #MGROnline #อินโดนีเซีย
    หน่วยกู้ภัยอินโดนีเซียยังคงเร่งค้นหาผู้โดยสารจำนวนหนึ่งที่ติดอยู่ภายในรถมินิบัสที่ถูกดินโคลนถล่มทับ หลังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุมาตราเหนือ ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดเพิ่มเป็นอย่างน้อย 27 รายวันนี้ (28 พ.ย.) • สำนักงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซียระบุว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้วทำให้เกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ 4 เขตของจังหวัดสุมาตราเหนือ • ฮาดี วาห์ยูดี โฆษกตำรวจสุมาตราเหนือระบุว่า ล่าสุดได้เกิดดินโคลนถล่มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองเดอลีเซอร์ดัง (Deli Serdang) เมื่อวันพุธ (27) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บอีก 20 คน • เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงเร่งค้นหาชาวบ้านที่สูญหาย รวมถึงผู้โดยสารซึ่งติดอยู่ในรถมินิบัสและยานพาหนะอีกหลายคันซึ่งถูกดินโคลนถล่มทับบนถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดสายหนึ่ง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขของผู้ประสบภัยได้ • ในพื้นที่อื่นๆ หน่วยกู้ภัยพบผู้เสียชีวิตแล้ว 20 รายระหว่างการค้นหาที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว และเวลานี้ยังคงมีชาวบ้านสูญหายไม่ทราบชะตากรรมอีก 2 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9670000114504 • #MGROnline #อินโดนีเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 272 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น

    วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/south/detail/9670000114539

    #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น • วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9670000114539 • #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 452 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ !?! มันวิปริตมาก! 26/10/67 #ทะเลทรายซาฮาร่า #โมร็อกโก #สภาพอากาศ #น้ำท่วมฉับพลัน
    เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ !?! มันวิปริตมาก! 26/10/67 #ทะเลทรายซาฮาร่า #โมร็อกโก #สภาพอากาศ #น้ำท่วมฉับพลัน
    Like
    Sad
    Wow
    Angry
    17
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2022 มุมมอง 781 0 รีวิว
  • จ.กาญจน์ เตือน 4 อำเภอ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ระหว่างวันที่ 19-23 ต.ค.นี้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000100742

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    จ.กาญจน์ เตือน 4 อำเภอ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ระหว่างวันที่ 19-23 ต.ค.นี้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000100742 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    26
    1 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 2527 มุมมอง 0 รีวิว
  • ล่าสุด!!ขอให้เฝ้าระวัง !! ฝนตกหนักในค่ำคืนนี้ พื้นที่ ธารโต-เบตง
    11 ตุลาคม 2567 ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ในพื้นที่ บ้านคอกช้าง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน
    ในพื้นที่ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้ดินไสลด์ทับเส้นทาง,น้ำคลองกัดเซาะถนนขาดและน้ำหลากท่วมบ้านเรือนประชาชนหลายหลัง
    ล่าสุด!!ขอให้เฝ้าระวัง !! ฝนตกหนักในค่ำคืนนี้ พื้นที่ ธารโต-เบตง 11 ตุลาคม 2567 ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ในพื้นที่ บ้านคอกช้าง ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้ดินไสลด์ทับเส้นทาง,น้ำคลองกัดเซาะถนนขาดและน้ำหลากท่วมบ้านเรือนประชาชนหลายหลัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศ เฝ้าระวัง!!! น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง
    ช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 67

    ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้มีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำลันตลิ่งบริเวณ

    - ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน พิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
    - ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด
    - ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
    - ภาคใต้ จ.ภูเก็ต ยะลา และนราธิวาส

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/9AmFMEbAvKoi78wJ/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศ เฝ้าระวัง!!! น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 67 ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้มีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำลันตลิ่งบริเวณ - ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน พิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี - ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด - ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี - ภาคใต้ จ.ภูเก็ต ยะลา และนราธิวาส ที่มา https://www.facebook.com/share/p/9AmFMEbAvKoi78wJ/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1429 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยและทรงพระเมตตา ทรงจัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเพื่อเชิญไปพระราชแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ

    เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๒๗ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ลงในถุงพระราชทานสำหรับเด็ก จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง เพื่อเชิญไปพระราชทานแก่เด็กในพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยครอบครัวราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเล็กและจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กบรรจุลงในถุงพระราชทาน อาทิ ตุ๊กตาผ้าห่ม เป้อุ้มเด็ก นมผง อาหารเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำลี ฟองน้ำเช็ดตัว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ซักล้างสำหรับเด็ก โดยจัดพระราชทานสำหรับเด็กตั้งแต่
    แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี เพิ่มเติมจากถุงพระราชทานทั่วไป

    ทั้งนี้ จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เป็นเหตุให้เกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ติดแม่น้ำโขง ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน บาดเจ็บ และเสียชีวิต รวมถึงเกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ องคมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับหน่วยราชการในพระองค์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งเข้าให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในเบื้องต้น โดยนำสิ่งของพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ตาก พิษณุโลก หนองคาย และจังหวัดเลย อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และจัดรถครัวสนามปรุงอาหารให้กับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ที่ประสบภัยต่าง ๆ เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีความจำเป็นในการฟื้นฟูและ
    ทำความสะอาดบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีดินโคลนที่มากับน้ำเป็นจำนวนมากทับถมอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ให้แก่กองบัญชาการกองทัพไทย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สำหรับนำไปช่วยเหลือราษฎร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ช่วยทุ่นแรงในการทำความสะอาดและฟื้นฟูบ้านเรือน ที่สาธารณประโยชน์ วัด ถนน และสถานที่ราชการ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปรกติโดยเร็ว นอกจากนั้น พระมหากรุณาธิคุณยังครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยจิตสาธารณะ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่และจิตอาสาเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติงาน ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพวงมาลาไปวางที่หน้าหีบศพผู้ใหญ่บ้านที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพแก่จิตอาสาที่เสียชีวิต พระราชทานทุนการศึกษาแก่บุตรของผู้เสียชีวิต รวมทั้งทรงรับจิตอาสาที่ได้รับบาดเจ็บไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยมีพระเมตตาและพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในการพระราชทานความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมทั้งได้มีพระราชกระแสทรงห่วงใยประชาชนผู้ประสบภัยจากเหตุดังกล่าว และมีพระราชกระแสทรงชื่นชม และพระราชทานกำลังใจ แก่จิตอาสาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งต่างเสียสละกำลังกาย กำลังปัญญา และกำลังทรัพย์ มาร่วมกันปฏิบัติการให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย แม้การช่วยเหลือจะเป็นไปอย่างยากลำบากท่ามกลางกระแสน้ำไหลเชี่ยว และข้อจำกัดต่าง ๆ แต่ทุกภาคส่วน และจิตอาสา ต่างร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มกำลัง ด้วยความรัก ความปรารถนาดี
    ต่อกัน เป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เป็นไปตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการให้ทุกคนมีจิตอาสา พร้อมที่จะเสียสละ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนสามารถทำให้สถานการณ์รุนแรงคลี่คลายลงได้ตามลำดับ

    #ทรงพระเจริญ
    #สืบสานรักษาต่อยอด
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยและทรงพระเมตตา ทรงจัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเพื่อเชิญไปพระราชแก่ผู้ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๒๗ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ลงในถุงพระราชทานสำหรับเด็ก จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง เพื่อเชิญไปพระราชทานแก่เด็กในพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยครอบครัวราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่ประสบอุทกภัยร้ายแรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำถุงพระราชทานสำหรับเด็กเล็กและจัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กบรรจุลงในถุงพระราชทาน อาทิ ตุ๊กตาผ้าห่ม เป้อุ้มเด็ก นมผง อาหารเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำลี ฟองน้ำเช็ดตัว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ซักล้างสำหรับเด็ก โดยจัดพระราชทานสำหรับเด็กตั้งแต่ แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี เพิ่มเติมจากถุงพระราชทานทั่วไป ทั้งนี้ จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เป็นเหตุให้เกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ติดแม่น้ำโขง ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน บาดเจ็บ และเสียชีวิต รวมถึงเกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ องคมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับหน่วยราชการในพระองค์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งเข้าให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในเบื้องต้น โดยนำสิ่งของพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ตาก พิษณุโลก หนองคาย และจังหวัดเลย อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และจัดรถครัวสนามปรุงอาหารให้กับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ที่ประสบภัยต่าง ๆ เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีความจำเป็นในการฟื้นฟูและ ทำความสะอาดบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีดินโคลนที่มากับน้ำเป็นจำนวนมากทับถมอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ให้แก่กองบัญชาการกองทัพไทย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สำหรับนำไปช่วยเหลือราษฎร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ช่วยทุ่นแรงในการทำความสะอาดและฟื้นฟูบ้านเรือน ที่สาธารณประโยชน์ วัด ถนน และสถานที่ราชการ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปรกติโดยเร็ว นอกจากนั้น พระมหากรุณาธิคุณยังครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยจิตสาธารณะ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่และจิตอาสาเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติงาน ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพวงมาลาไปวางที่หน้าหีบศพผู้ใหญ่บ้านที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพแก่จิตอาสาที่เสียชีวิต พระราชทานทุนการศึกษาแก่บุตรของผู้เสียชีวิต รวมทั้งทรงรับจิตอาสาที่ได้รับบาดเจ็บไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยมีพระเมตตาและพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในการพระราชทานความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมทั้งได้มีพระราชกระแสทรงห่วงใยประชาชนผู้ประสบภัยจากเหตุดังกล่าว และมีพระราชกระแสทรงชื่นชม และพระราชทานกำลังใจ แก่จิตอาสาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งต่างเสียสละกำลังกาย กำลังปัญญา และกำลังทรัพย์ มาร่วมกันปฏิบัติการให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย แม้การช่วยเหลือจะเป็นไปอย่างยากลำบากท่ามกลางกระแสน้ำไหลเชี่ยว และข้อจำกัดต่าง ๆ แต่ทุกภาคส่วน และจิตอาสา ต่างร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มกำลัง ด้วยความรัก ความปรารถนาดี ต่อกัน เป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เป็นไปตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการให้ทุกคนมีจิตอาสา พร้อมที่จะเสียสละ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนสามารถทำให้สถานการณ์รุนแรงคลี่คลายลงได้ตามลำดับ #ทรงพระเจริญ #สืบสานรักษาต่อยอด
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 649 มุมมอง 48 0 รีวิว
  • ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง

    อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย

    ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย

    สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร

    ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร

    (ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org)

    #Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
    ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร (ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org) #Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
    Like
    Sad
    7
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1263 มุมมอง 0 รีวิว
  • คาดหมายอากาศทั่วไป
    ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567
    ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. ส.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
    ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 3 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
    ข้อควรระวัง
    ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 67 ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
    ออกประกาศ 28 กรกฎาคม 2567 12:00 น.
    คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. ส.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 3 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 67 ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ออกประกาศ 28 กรกฎาคม 2567 12:00 น.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 454 มุมมอง 0 รีวิว