คลอง ร.๑ น้ำพระทัยในหลวง ร.๙ หาดใหญ่ผ่อนหนักเป็นเบา

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคใต้ เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2543 คลองอู่ตะเภาไหลลงพื้นที่มากถึง 751 ลบ.ม.ต่อวินาที มากกว่าศักยภาพระบายน้ำได้เพียง 461 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลทำให้น้ำท่วมฉับพลัน กระจายไปยัง 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา เสียชีวิต 32 ราย บาดเจ็บ 382 คน ราษฎรเดือดร้อน 552,579 คน 130,117 ครัวเรือน พื้นที่เศรษฐกิจทั้งตลาดกิมหยง สันติสุข ตลาดพลาซา โรงแรมและสถานบริการเสียหาย 77 แห่ง รวมมูลค่าความเสียหายด้านธุรกิจเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งจังหวัดกว่า 10,000 ล้านบาท

ปี 2567 น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่หาดใหญ่ใน ซึ่งเป็นโซนชั้นนอก เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ก่อนกลับสู่สภาวะปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในหรือโซนไข่แดงนั้นปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะโครงการตามพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผ่อนหนักเป็นเบา

สทท.สงขลา รายงานว่า ประชาชนชาวหาดใหญ่เปิดเผยว่า แม้ในพื้นที่เขตหาดใหญ่ในจะเป็นพื้นที่รับน้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1 ที่เอ่อล้นเข้าท่วมชุมชน แต่ความเสียหายลดลงกว่าปี 2543 เพราะหลังจากคลอง ร.1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากรองรับน้ำได้มากขึ้นหลายเท่าแล้ว ยังทำให้พื้นที่โซนไข่แดงปลอดภัยจากน้ำท่วม

คลอง ร.1 ก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำรัส ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2531 ความว่า "การแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมที่ควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะได้แก่การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภาหรือช่วยรับน้ำที่ไหลลงมาท่วมตัวอำเภอหาดใหญ่ ให้ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยเร็ว"

หลังน้ำท่วมหาดใหญ่ปี 2543 กรมชลประทานจึงได้ผลักดันโครงการคลอง ร.1 ท้องคลองกว้าง 24 เมตร ยาว 21.34 กิโลเมตร แล้วเสร็จในปี 2550 ระบายน้ำได้สูงสุด 465 ลบ.ม. ต่อวินาที ต่อมาได้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขยายคลองให้กว้าง 70-100 เมตร ลึก 7 เมตร ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 และประตูระบายน้ำบางหยี พร้อมสถานีสูบน้ำบางหยี เริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2558 แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเป็นแหล่งสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้อีกประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม.

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "คลองภูมินาถดำริ" เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2559 พสกนิกรชาวนครหาดใหญ่น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

#Newskit
คลอง ร.๑ น้ำพระทัยในหลวง ร.๙ หาดใหญ่ผ่อนหนักเป็นเบา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคใต้ เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2543 คลองอู่ตะเภาไหลลงพื้นที่มากถึง 751 ลบ.ม.ต่อวินาที มากกว่าศักยภาพระบายน้ำได้เพียง 461 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลทำให้น้ำท่วมฉับพลัน กระจายไปยัง 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา เสียชีวิต 32 ราย บาดเจ็บ 382 คน ราษฎรเดือดร้อน 552,579 คน 130,117 ครัวเรือน พื้นที่เศรษฐกิจทั้งตลาดกิมหยง สันติสุข ตลาดพลาซา โรงแรมและสถานบริการเสียหาย 77 แห่ง รวมมูลค่าความเสียหายด้านธุรกิจเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งจังหวัดกว่า 10,000 ล้านบาท ปี 2567 น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่หาดใหญ่ใน ซึ่งเป็นโซนชั้นนอก เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ก่อนกลับสู่สภาวะปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในหรือโซนไข่แดงนั้นปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะโครงการตามพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผ่อนหนักเป็นเบา สทท.สงขลา รายงานว่า ประชาชนชาวหาดใหญ่เปิดเผยว่า แม้ในพื้นที่เขตหาดใหญ่ในจะเป็นพื้นที่รับน้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1 ที่เอ่อล้นเข้าท่วมชุมชน แต่ความเสียหายลดลงกว่าปี 2543 เพราะหลังจากคลอง ร.1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากรองรับน้ำได้มากขึ้นหลายเท่าแล้ว ยังทำให้พื้นที่โซนไข่แดงปลอดภัยจากน้ำท่วม คลอง ร.1 ก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำรัส ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2531 ความว่า "การแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมที่ควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะได้แก่การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภาหรือช่วยรับน้ำที่ไหลลงมาท่วมตัวอำเภอหาดใหญ่ ให้ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยเร็ว" หลังน้ำท่วมหาดใหญ่ปี 2543 กรมชลประทานจึงได้ผลักดันโครงการคลอง ร.1 ท้องคลองกว้าง 24 เมตร ยาว 21.34 กิโลเมตร แล้วเสร็จในปี 2550 ระบายน้ำได้สูงสุด 465 ลบ.ม. ต่อวินาที ต่อมาได้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขยายคลองให้กว้าง 70-100 เมตร ลึก 7 เมตร ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 และประตูระบายน้ำบางหยี พร้อมสถานีสูบน้ำบางหยี เริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2558 แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเป็นแหล่งสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้อีกประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "คลองภูมินาถดำริ" เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2559 พสกนิกรชาวนครหาดใหญ่น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ #Newskit
Like
4
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 532 มุมมอง 0 รีวิว