น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย

สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล

นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง

#Newskit
น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง #Newskit
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 849 มุมมอง 0 รีวิว