• ๒เมียวดี/ตาก - ทางการเมียนมาเอาจริง..ส่งเจ้าหน้าที่หน่วยเหนือลงพื้นที่เมียวดี จัดการแก๊งคอลฯ-ขบวนการค้ามนุษย์ ส่งกลับคนต่างชาติในการส่งกลับ ล่าสุดช่วยเหลือได้อีก 731 คน 8 สัญชาติ มีคนไทยด้วย ด้าน “หม่อง ชิตตู่”อ้างเมียวดีมีแต่ระดับปฏิบัติ-คีย์แมนแก๊งคอลฯอยู่ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และญี่ปุ่น

    แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา ตรงข้ามบ้านริมเมย หมู่ที่ 4 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก เปิดเผยว่า ทางการเมียนมาได้บูรณาการกับกองกำลังในพื้นที่ดำเนินการปราบปรามแก๊งคอนเซ็นเตอร์ และขบวนการค้ามนุษย์

    และล่าสุดสามารถช่วยเหลือออกมาได้อีก 731 คน 8 สัญชาติ ประกอบด้วยจีน,อินโดนีเซีย,อินเดีย,มาเลเซีย,ปากีสถาน,เวียดนาม,เอธิโอเปีย และสัญชาติไทย

    ทั้งหมดนี้ ทางเมียนมาได้ไปช่วยเหลือจากพื้นที่จีนเทาทางใต้เมียวดี และทางเหนือเมียวดี ซึ่งมีทหารกองกำลังพิทักษ์ชายแดน หรือบีจีเอฟ.ของพลตรีหม่องชิต ตู่ เลขาบีจีเอฟ.ร่วมด้วย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000015422

    #MGROnline #พื้นที่เมียวดี
    ๒เมียวดี/ตาก - ทางการเมียนมาเอาจริง..ส่งเจ้าหน้าที่หน่วยเหนือลงพื้นที่เมียวดี จัดการแก๊งคอลฯ-ขบวนการค้ามนุษย์ ส่งกลับคนต่างชาติในการส่งกลับ ล่าสุดช่วยเหลือได้อีก 731 คน 8 สัญชาติ มีคนไทยด้วย ด้าน “หม่อง ชิตตู่”อ้างเมียวดีมีแต่ระดับปฏิบัติ-คีย์แมนแก๊งคอลฯอยู่ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และญี่ปุ่น • แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา ตรงข้ามบ้านริมเมย หมู่ที่ 4 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก เปิดเผยว่า ทางการเมียนมาได้บูรณาการกับกองกำลังในพื้นที่ดำเนินการปราบปรามแก๊งคอนเซ็นเตอร์ และขบวนการค้ามนุษย์ • และล่าสุดสามารถช่วยเหลือออกมาได้อีก 731 คน 8 สัญชาติ ประกอบด้วยจีน,อินโดนีเซีย,อินเดีย,มาเลเซีย,ปากีสถาน,เวียดนาม,เอธิโอเปีย และสัญชาติไทย • ทั้งหมดนี้ ทางเมียนมาได้ไปช่วยเหลือจากพื้นที่จีนเทาทางใต้เมียวดี และทางเหนือเมียวดี ซึ่งมีทหารกองกำลังพิทักษ์ชายแดน หรือบีจีเอฟ.ของพลตรีหม่องชิต ตู่ เลขาบีจีเอฟ.ร่วมด้วย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000015422 • #MGROnline #พื้นที่เมียวดี
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 132 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ตาก - ทางการเมียนมา/กองกำลัง BGF ส่งตัว 61 ชาวต่างชาติที่ตกเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ข้ามแดนจากเมียวดีเข้าไทย เพื่อเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดแล้ว หลังเลื่อนมาแล้วอย่างน้อย 2 รอบ พบเป็นชาวจีนถึง 39 ราย ที่เหลือมีทั้งอินเดีย-อินโดฯ-คาซัคสถาน-เอธิโอเปีย-ปากีฯ และมาเลเซีย

    วันนี้ (6 ก.พ.) ศูนย์ประสานงานส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา (TBC) ฝ่ายเมียนมาและกองกำลังปกป้องชายแดน (BGF) ของกองทัพเมียนมา ได้แจ้ง TBC ฝ่ายไทยนำโดยเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.ราชมนู กองกำลังนเรศวรว่ามีความพร้อมจะส่งตัวชาวตางชาติจำนวน 61 คน ที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวงและค้ามนุษย์ใน จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา ตรงกันข้าม อ.แม่สอด ให้กลับมายังประเทศไทย

    กระทั่งเวลา 12.30 น. TBC ฝ่ายเมียนมาและ BGF ได้นำชาวต่างชาติทั้งหมดเป็นชายจำนวน 53 คน และหญิงจำนวน 8 คน รวมทั้งหมดจำนวน 61 คน ข้ามสะพานที่สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 มาส่งมอบให้กับฝ่ายไทย ซึ่งเป็นชาวจีน 39 คน ชาวอินเดีย 13 คน ชาวอินโดนีเซีย 5 คน คาซักสถาน 1 คน เอธิโอเปีย 1 คน ปากีสถาน 1 คน และชาวมาเลเซีย 1 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000012222

    #MGROnline #ตาก #ทางการเมียนมา #กองกำลังBGF
    #ตาก - ทางการเมียนมา/กองกำลัง BGF ส่งตัว 61 ชาวต่างชาติที่ตกเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ข้ามแดนจากเมียวดีเข้าไทย เพื่อเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดแล้ว หลังเลื่อนมาแล้วอย่างน้อย 2 รอบ พบเป็นชาวจีนถึง 39 ราย ที่เหลือมีทั้งอินเดีย-อินโดฯ-คาซัคสถาน-เอธิโอเปีย-ปากีฯ และมาเลเซีย • วันนี้ (6 ก.พ.) ศูนย์ประสานงานส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา (TBC) ฝ่ายเมียนมาและกองกำลังปกป้องชายแดน (BGF) ของกองทัพเมียนมา ได้แจ้ง TBC ฝ่ายไทยนำโดยเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.ราชมนู กองกำลังนเรศวรว่ามีความพร้อมจะส่งตัวชาวตางชาติจำนวน 61 คน ที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวงและค้ามนุษย์ใน จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา ตรงกันข้าม อ.แม่สอด ให้กลับมายังประเทศไทย • กระทั่งเวลา 12.30 น. TBC ฝ่ายเมียนมาและ BGF ได้นำชาวต่างชาติทั้งหมดเป็นชายจำนวน 53 คน และหญิงจำนวน 8 คน รวมทั้งหมดจำนวน 61 คน ข้ามสะพานที่สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 มาส่งมอบให้กับฝ่ายไทย ซึ่งเป็นชาวจีน 39 คน ชาวอินเดีย 13 คน ชาวอินโดนีเซีย 5 คน คาซักสถาน 1 คน เอธิโอเปีย 1 คน ปากีสถาน 1 คน และชาวมาเลเซีย 1 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000012222 • #MGROnline #ตาก #ทางการเมียนมา #กองกำลังBGF
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 260 มุมมอง 0 รีวิว
  • พนมเปญปั้นวอล์กกิ้งสตรีท รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

    กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เปิดโครงการถนนคนเดินแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 ตามแนวท่าเรือสีโสวัตถิ์ ริมแม่น้ำโตนเลสาป ครอบคลุมตั้งแต่อาคารไปรษณีย์กัมพูชา ถึงพระบรมราชวัง โดยปิดถนนห้ามยานพาหนะทุกชนิดเข้า ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.00-23.00 น. สัญจรได้เฉพาะคนเดินเท่านั้น พร้อมจัดให้มีห้องน้ำและจัดถนนให้เป็นระเบียบ รวมทั้งจัดให้มีการแสดงทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรีพื้นเมืองเขมร พื้นที่วาดภาพ และการแสดงละครสัตว์

    ในระยะแรก ถนนคนเดินใหม่ของกรุงพนมเปญ แบ่งออกเป็น 3 โซน รวมพื้นที่ 57 เฮกตาร์ ได้แก่ โซนแรก พื้นที่ 3.3 เฮกตาร์ ใกล้กับอาคารไปรษณีย์กัมพูชา เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ โซนที่สอง พื้นที่ 20 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่ธุรกิจกลางคืน มีร้านอาหาร บาร์ โรงแรม ร้านค้าต่างๆ และโซนสุดท้าย พื้นที่ 34 เฮกตาร์ เป็นโซนใหญ่ที่สุด ประกอบไปด้วยตลาดเสื้อผ้า และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติพร้อมสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา พระบรมราชวัง และทุ่งพระเมรุ

    นายควง เซร็ง ผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญ เปิดเผยกับ Khmer Times สื่อในกัมพูชาว่า กรุงพนมเปญได้วางแผนทำโครงการถนนคนเดินตั้งแต่ปี 2562 แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องระงับไป ภายหลังรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ฝ่ายบริหารของเทศบาลฯ ส่งเสริมการดำเนินงาน ทำให้กลับมาทำโครงการอีกครั้ง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวกัมพูชาและชาวต่างชาติให้มาเยือนกรุงพนมเปญมากขึ้น

    ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวของกัมพูชา ระบุว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา กัมพูชาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 121,248 ล้านบาท โดยพบว่าคนไทยมาเที่ยวมากถึง 32% รองลงมาคือเวียดนาม 20% จีน 12.7% ลาว 5% สหรัฐอเมริกา 3.2% เกาหลีใต้ 2.9% อินโดนีเซีย 2.5% ฝรั่งเศส 2% สหราชอาณาจักร 1.7% และญี่ปุ่น 1.7% ส่วนมากเดินทางผ่านชายแดนกับทางน้ำ 4 ล้านคน และผ่านท่าอากาศยาน 2 ล้านคน

    นายฮวด ฮะ รมว.ท่องเที่ยวกัมพูชา เปิดเผยกับ Cam Ness สื่อในกัมพูชาว่า ได้ขอให้ประเทศบัลแกเรีย โรมาเนีย กรีซ ไซปรัส เบลเยียม ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก บรูไน และฟิลิปปินส์ สนับสนุนกัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวชั้นนำ แม้คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมอาจลดลง แต่เหตุชาวจีนถูกลักพาตัวที่ประเทศไทย เป็นปัจจัยที่อาจดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนให้มาเยือนกัมพูชามากขึ้น คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีน 1.1 ล้านคนในปี 2568 จากปี 2567 มีจำนวน 840,000 คน เพิ่มขึ้น 55% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

    #Newskit
    พนมเปญปั้นวอล์กกิ้งสตรีท รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เปิดโครงการถนนคนเดินแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 ตามแนวท่าเรือสีโสวัตถิ์ ริมแม่น้ำโตนเลสาป ครอบคลุมตั้งแต่อาคารไปรษณีย์กัมพูชา ถึงพระบรมราชวัง โดยปิดถนนห้ามยานพาหนะทุกชนิดเข้า ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.00-23.00 น. สัญจรได้เฉพาะคนเดินเท่านั้น พร้อมจัดให้มีห้องน้ำและจัดถนนให้เป็นระเบียบ รวมทั้งจัดให้มีการแสดงทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรีพื้นเมืองเขมร พื้นที่วาดภาพ และการแสดงละครสัตว์ ในระยะแรก ถนนคนเดินใหม่ของกรุงพนมเปญ แบ่งออกเป็น 3 โซน รวมพื้นที่ 57 เฮกตาร์ ได้แก่ โซนแรก พื้นที่ 3.3 เฮกตาร์ ใกล้กับอาคารไปรษณีย์กัมพูชา เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ โซนที่สอง พื้นที่ 20 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่ธุรกิจกลางคืน มีร้านอาหาร บาร์ โรงแรม ร้านค้าต่างๆ และโซนสุดท้าย พื้นที่ 34 เฮกตาร์ เป็นโซนใหญ่ที่สุด ประกอบไปด้วยตลาดเสื้อผ้า และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติพร้อมสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา พระบรมราชวัง และทุ่งพระเมรุ นายควง เซร็ง ผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญ เปิดเผยกับ Khmer Times สื่อในกัมพูชาว่า กรุงพนมเปญได้วางแผนทำโครงการถนนคนเดินตั้งแต่ปี 2562 แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องระงับไป ภายหลังรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ฝ่ายบริหารของเทศบาลฯ ส่งเสริมการดำเนินงาน ทำให้กลับมาทำโครงการอีกครั้ง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวกัมพูชาและชาวต่างชาติให้มาเยือนกรุงพนมเปญมากขึ้น ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวของกัมพูชา ระบุว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา กัมพูชาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 121,248 ล้านบาท โดยพบว่าคนไทยมาเที่ยวมากถึง 32% รองลงมาคือเวียดนาม 20% จีน 12.7% ลาว 5% สหรัฐอเมริกา 3.2% เกาหลีใต้ 2.9% อินโดนีเซีย 2.5% ฝรั่งเศส 2% สหราชอาณาจักร 1.7% และญี่ปุ่น 1.7% ส่วนมากเดินทางผ่านชายแดนกับทางน้ำ 4 ล้านคน และผ่านท่าอากาศยาน 2 ล้านคน นายฮวด ฮะ รมว.ท่องเที่ยวกัมพูชา เปิดเผยกับ Cam Ness สื่อในกัมพูชาว่า ได้ขอให้ประเทศบัลแกเรีย โรมาเนีย กรีซ ไซปรัส เบลเยียม ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก บรูไน และฟิลิปปินส์ สนับสนุนกัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวชั้นนำ แม้คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมอาจลดลง แต่เหตุชาวจีนถูกลักพาตัวที่ประเทศไทย เป็นปัจจัยที่อาจดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนให้มาเยือนกัมพูชามากขึ้น คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีน 1.1 ล้านคนในปี 2568 จากปี 2567 มีจำนวน 840,000 คน เพิ่มขึ้น 55% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 331 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอพี - เรือไม้ง่อนแง่นลำหนึ่งที่บรรทุกชาวมุสลิมโรฮิญามากกว่า 100 คน เดินทางมาถึงอินโดนีเซียเมื่อวันพุธ (39) ในขณะที่จ.อาเจะห์ ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ ยังคงต้องรับผู้ลี้ภัยที่หลบหนีการกดขี่ข่มเหงและความไม่สงบทางการเมืองในพม่าอย่างต่อเนื่อง

    รัฐบาลอินโดนีเซียโทษการค้ามนุษย์ว่าเป็นสาเหตุให้ชาวโรฮิงญาเดินทางมายังประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้

    ผู้บัญชาการตำรวจในท้องที่กล่าวว่า เรือที่บรรทุกผู้หญิงและเด็กเป็นจำนวนมาก และเครื่องยนต์ขัดข้อง ได้แล่นเกยตื้นใกล้หมู่บ้านพือรึลัก ในเขตอาเจะห์ตะวันออก ซึ่งทางการกำลังรวบรวมข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคนเหล่านี้

    เจ้าหน้าที่ยังกล่าวว่าผู้ลี้ภัยรายหนึ่งได้บอกกับทางการว่าเรือลำดังกล่าวออกเดินทางจากเมืองค็อกซ์บาซา ในบังกลาเทศ โดยหวังว่าจะไปถึงมาเลเซีย แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนสงสัยว่าเรือลำดังกล่าวได้รับความเสียหายจากผู้ค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย เพื่อที่ผู้ลี้ภัยจะไม่สามารถกลับลงทะเลได้

    เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับผู้กระทำความผิดในการค้ามนุษย์

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000009642

    #MGROnline #โรฮิงญา
    เอพี - เรือไม้ง่อนแง่นลำหนึ่งที่บรรทุกชาวมุสลิมโรฮิญามากกว่า 100 คน เดินทางมาถึงอินโดนีเซียเมื่อวันพุธ (39) ในขณะที่จ.อาเจะห์ ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ ยังคงต้องรับผู้ลี้ภัยที่หลบหนีการกดขี่ข่มเหงและความไม่สงบทางการเมืองในพม่าอย่างต่อเนื่อง • รัฐบาลอินโดนีเซียโทษการค้ามนุษย์ว่าเป็นสาเหตุให้ชาวโรฮิงญาเดินทางมายังประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ • ผู้บัญชาการตำรวจในท้องที่กล่าวว่า เรือที่บรรทุกผู้หญิงและเด็กเป็นจำนวนมาก และเครื่องยนต์ขัดข้อง ได้แล่นเกยตื้นใกล้หมู่บ้านพือรึลัก ในเขตอาเจะห์ตะวันออก ซึ่งทางการกำลังรวบรวมข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคนเหล่านี้ • เจ้าหน้าที่ยังกล่าวว่าผู้ลี้ภัยรายหนึ่งได้บอกกับทางการว่าเรือลำดังกล่าวออกเดินทางจากเมืองค็อกซ์บาซา ในบังกลาเทศ โดยหวังว่าจะไปถึงมาเลเซีย แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนสงสัยว่าเรือลำดังกล่าวได้รับความเสียหายจากผู้ค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย เพื่อที่ผู้ลี้ภัยจะไม่สามารถกลับลงทะเลได้ • เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับผู้กระทำความผิดในการค้ามนุษย์ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000009642 • #MGROnline #โรฮิงญา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 329 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความท้าทายใหม่พร้อมเพย์ ต่างชาติตีตลาด e-Payment

    นับตั้งแต่ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2559 โดยใช้เลขที่บัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือผูกกับบัญชีธนาคาร เริ่มจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐเมื่อเดือน ธ.ค.2559 ให้โอนเงินระหว่างรายย่อยเมื่อเดือน ม.ค.2560 ก่อนพัฒนาหลากหลายบริการ โดยเฉพาะ Thai QR Payment ที่ทำให้คนไทยรู้จักสแกนจ่ายมากขึ้น และขยายบริการไปยังต่างประเทศ

    บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด หรือ ITMX เปิดเผยสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 พบว่ามีผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ 79.45 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นบุคคลธรรมดา 79.09 ล้านเลขหมาย และนิติบุคคลประมาณ 360,000 เลขหมาย ปัจจุบันระบบพร้อมเพย์รองรับธุรกรรมได้สูงสุด 10,000 รายการต่อวินาที ช่วงเวลาปกติเฉลี่ยที่ 2,000 รายการต่อวินาที และเพิ่มขึ้นเป็น 2,600 รายการต่อวินาทีในช่วงที่มีธุรกรรมหนาแน่น

    ที่น่าสนใจก็คือ เดือน ธ.ค.2567 เดือนเดียว มีธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์สูงถึง 2,096 ล้านรายการ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 4,515 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% แต่วันที่มีธุรกรรมต่อวันสูงสุดของปี (Peak Day) คือ วันศุกร์ที่ 1 พ.ย. 2567 สูงสุด 86,781,490 รายการ ที่ผ่านมาวัน Peak Day มักเกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์โดยเฉพาะต้นเดือน มักเป็นช่วงเวลาจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือโบนัส การโอนเงินให้ครอบครัว การชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าบริการอื่นๆ

    ด้านบริการ Cross-Border QR Payment ที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถใช้แอปฯ ธนาคารประเทศตนเองสแกน QR Code ผ่านร้านค้าในไทยเพื่อชำระเงินได้สะดวก พบว่าในเดือน ธ.ค.2567 มียอดใช้จ่ายรวม 333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 176% เมื่อเทียบกับปีก่อน นักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย 178.54 ล้านบาท รองลงมาคืออินโดนีเซีย 39.96 ล้านบาท และสิงคโปร์ 29.65 ล้านบาท

    ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า นักท่องเที่ยวมาเลเซีย 4 สัปดาห์ในเดือน ธ.ค.2567 รวม 422,557 ราย หากเทียบกับปริมาณธุรกรรมผ่านสแกน QR Code เท่ากับว่าชาวมาเลเซียสแกนจ่ายในไทยโดยเฉลี่ย 422.52 บาทต่อคน และเมื่อมีอาลีเพย์พลัส (Alipay+) จากจีนเข้ามาช่วงชิงบริการอีเพย์เมนต์ตามร้านค้าชั้นนำในไทย จึงเป็นอีกความท้าทายของ ITMX ในการผลักดันบริการ เพื่อยกระดับธุรกิจและการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ความท้าทายใหม่พร้อมเพย์ ต่างชาติตีตลาด e-Payment นับตั้งแต่ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2559 โดยใช้เลขที่บัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือผูกกับบัญชีธนาคาร เริ่มจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐเมื่อเดือน ธ.ค.2559 ให้โอนเงินระหว่างรายย่อยเมื่อเดือน ม.ค.2560 ก่อนพัฒนาหลากหลายบริการ โดยเฉพาะ Thai QR Payment ที่ทำให้คนไทยรู้จักสแกนจ่ายมากขึ้น และขยายบริการไปยังต่างประเทศ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด หรือ ITMX เปิดเผยสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 พบว่ามีผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ 79.45 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นบุคคลธรรมดา 79.09 ล้านเลขหมาย และนิติบุคคลประมาณ 360,000 เลขหมาย ปัจจุบันระบบพร้อมเพย์รองรับธุรกรรมได้สูงสุด 10,000 รายการต่อวินาที ช่วงเวลาปกติเฉลี่ยที่ 2,000 รายการต่อวินาที และเพิ่มขึ้นเป็น 2,600 รายการต่อวินาทีในช่วงที่มีธุรกรรมหนาแน่น ที่น่าสนใจก็คือ เดือน ธ.ค.2567 เดือนเดียว มีธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์สูงถึง 2,096 ล้านรายการ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 4,515 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% แต่วันที่มีธุรกรรมต่อวันสูงสุดของปี (Peak Day) คือ วันศุกร์ที่ 1 พ.ย. 2567 สูงสุด 86,781,490 รายการ ที่ผ่านมาวัน Peak Day มักเกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์โดยเฉพาะต้นเดือน มักเป็นช่วงเวลาจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือโบนัส การโอนเงินให้ครอบครัว การชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าบริการอื่นๆ ด้านบริการ Cross-Border QR Payment ที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถใช้แอปฯ ธนาคารประเทศตนเองสแกน QR Code ผ่านร้านค้าในไทยเพื่อชำระเงินได้สะดวก พบว่าในเดือน ธ.ค.2567 มียอดใช้จ่ายรวม 333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 176% เมื่อเทียบกับปีก่อน นักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย 178.54 ล้านบาท รองลงมาคืออินโดนีเซีย 39.96 ล้านบาท และสิงคโปร์ 29.65 ล้านบาท ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า นักท่องเที่ยวมาเลเซีย 4 สัปดาห์ในเดือน ธ.ค.2567 รวม 422,557 ราย หากเทียบกับปริมาณธุรกรรมผ่านสแกน QR Code เท่ากับว่าชาวมาเลเซียสแกนจ่ายในไทยโดยเฉลี่ย 422.52 บาทต่อคน และเมื่อมีอาลีเพย์พลัส (Alipay+) จากจีนเข้ามาช่วงชิงบริการอีเพย์เมนต์ตามร้านค้าชั้นนำในไทย จึงเป็นอีกความท้าทายของ ITMX ในการผลักดันบริการ เพื่อยกระดับธุรกิจและการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 475 มุมมอง 0 รีวิว
  • พิพิธภัณฑ์ชนเผ่ากว่างซี

    มณฑลกวางสี เมืองหนานหนิง ประเทศจีน
    ความหมายของการทำกลองมโหระทึก
    ถูกอ่านมานานแล้ว มีเข้าใจมากันหลายอย่างหลายแบบ

    โพสต์นี้ก็เช่นกัน
    ภาพที่ลงอยู่ทางเข้าของ พิพิธภัณฑ์ชนเผ่ากว่างซี ที่ผู้ชมต้องเจอเป็นลำดับแรก โบราณวัตถุชิ้นนี้สำคัญต่อการเข้าใจในการทำกลองมโหระทึกที่ดีมาก

    บนวัตถุโบราณชิ้นนี้
    มีคน
    มีบ้าน
    มีกลอง
    เขาทำขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร
    บ้านคือที่อยู่อาศัย ทำไมบ้านเดียวมีคนเยอะแยะเหมือนทำให้รู้ว่าพวกเขาเคยอยู่บ้านที่ใหญ่โตนี้ แล้วบ้านที่ใหญ่โตนี้ มีความหมายลึกๆคืออะไร

    ผู้เขียนคิดเห็นต่อบ้านที่เห็น ที่มีคนเยอะๆหมายถึงแผ่นดินที่คนเยอะแยะเคยอาศัย และได้จากมา อพยพมา หรือหนีภัยมา จึงได้ทำวัตถุโบราณชิ้นนี้ขึ้นมา จะเห็นมีกลองมโหระทึกอยู่ 2 ใบ และในบ้านหลายใบ

    ผู้เขียนอ่านว่า สาเหตุที่มีคนเยอะและมีบ้านแทนแผ่นดิน และมาอยู่ตรงนี้ถูกทำบันทึกไว้บนกลองมโหระทึก

    ผู้เขียน จะนำบางรูปที่อยู่ข้างกลองที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ชนเผ่ากว่างซีมาให้ชมว่า เพราะอะไร
    รูปข้างกลองมโหระทึกเป็นรูปเรือ มีการบันทึกใช่ไหมว่า พวกเขา ชนชาวจ้วงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรือ แล้วเรือทำไมมาอยู่ข้างกลอง เรือต้องอยู่กับน้ำ รูปแบบนี้เขากำลังบอกอะไรเรา(ถ้าสมัยนั้นมีตัวหนังสือคงไม่ต้องลำบากแปลภาพ)

    โพสต์นี้เป็นการเริ่มต้นเขียนว่าคนไทย คนจ้วง คนบนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นใครมาจากไหนทำไมมีวัตนธรรมและทัศนคติเหมือนกัน ถ้าใช่พวกเดียวกัน แล้วแต่ละกลุ่มทำไมมาอยู่ตรงนี้ ตรงสถานที่แตกต่างกัน

    มีการเขียนว่าคนไทยมาจากจ้วง #แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วย #ผู้เขียนเชื่อว่าคนจ้วงและคนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาจากเผ่าเดียวกันแผ่นดินเดียวกัน แต่หนีภัยมาคนละกลุ่ม มากกว่าที่จะเป็นคนดั่งเดิมตรงพื้นที่นั้น

    ผู้เขียนคิดว่าจ้วงกับชนเผ่าทางภาคเหนือของพม่า ภาคเหนือของไทย ภาคเหนือของลาวและภาคเหนือไทยมาจากเทือกเขาหิมาลัยและทิเบต (มาพร้อมกับไทย มาเลย์เซีย เวียตนามโดยหนีภัยทางน้ำ ข้ามภูเขาหิมาลัย สมัยนั้ยยังไม่สูงแบบปัจจุบัน)

    ส่วนไทย ภาคใต้ของพม่า มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย มาจากมหาสมุทรอินเดียโดยตรง

    ทำไมคิดแบบนั้น ผู้เขียนดูจากวัตถุโบราณจ้วงมีหน้ากลองเหมือนไทยแต่ สำริดลายไม่เหมือน หรือดินเผาแบบลายน้ำของไทย อายุวัตถุโบราณอายุเดียวกัน ไม่มีใครมีอายุแตกต่างกัน.

    บทความและหลักฐานโบราณ
    โดยคุณทราวิฑะ นอกกรอบ
    Fbทราวิฑะ นอกกรอบ
    พิพิธภัณฑ์ชนเผ่ากว่างซี มณฑลกวางสี เมืองหนานหนิง ประเทศจีน ความหมายของการทำกลองมโหระทึก ถูกอ่านมานานแล้ว มีเข้าใจมากันหลายอย่างหลายแบบ โพสต์นี้ก็เช่นกัน ภาพที่ลงอยู่ทางเข้าของ พิพิธภัณฑ์ชนเผ่ากว่างซี ที่ผู้ชมต้องเจอเป็นลำดับแรก โบราณวัตถุชิ้นนี้สำคัญต่อการเข้าใจในการทำกลองมโหระทึกที่ดีมาก บนวัตถุโบราณชิ้นนี้ มีคน มีบ้าน มีกลอง เขาทำขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร บ้านคือที่อยู่อาศัย ทำไมบ้านเดียวมีคนเยอะแยะเหมือนทำให้รู้ว่าพวกเขาเคยอยู่บ้านที่ใหญ่โตนี้ แล้วบ้านที่ใหญ่โตนี้ มีความหมายลึกๆคืออะไร ผู้เขียนคิดเห็นต่อบ้านที่เห็น ที่มีคนเยอะๆหมายถึงแผ่นดินที่คนเยอะแยะเคยอาศัย และได้จากมา อพยพมา หรือหนีภัยมา จึงได้ทำวัตถุโบราณชิ้นนี้ขึ้นมา จะเห็นมีกลองมโหระทึกอยู่ 2 ใบ และในบ้านหลายใบ ผู้เขียนอ่านว่า สาเหตุที่มีคนเยอะและมีบ้านแทนแผ่นดิน และมาอยู่ตรงนี้ถูกทำบันทึกไว้บนกลองมโหระทึก ผู้เขียน จะนำบางรูปที่อยู่ข้างกลองที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ชนเผ่ากว่างซีมาให้ชมว่า เพราะอะไร รูปข้างกลองมโหระทึกเป็นรูปเรือ มีการบันทึกใช่ไหมว่า พวกเขา ชนชาวจ้วงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรือ แล้วเรือทำไมมาอยู่ข้างกลอง เรือต้องอยู่กับน้ำ รูปแบบนี้เขากำลังบอกอะไรเรา(ถ้าสมัยนั้นมีตัวหนังสือคงไม่ต้องลำบากแปลภาพ) โพสต์นี้เป็นการเริ่มต้นเขียนว่าคนไทย คนจ้วง คนบนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นใครมาจากไหนทำไมมีวัตนธรรมและทัศนคติเหมือนกัน ถ้าใช่พวกเดียวกัน แล้วแต่ละกลุ่มทำไมมาอยู่ตรงนี้ ตรงสถานที่แตกต่างกัน มีการเขียนว่าคนไทยมาจากจ้วง #แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วย #ผู้เขียนเชื่อว่าคนจ้วงและคนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาจากเผ่าเดียวกันแผ่นดินเดียวกัน แต่หนีภัยมาคนละกลุ่ม มากกว่าที่จะเป็นคนดั่งเดิมตรงพื้นที่นั้น ผู้เขียนคิดว่าจ้วงกับชนเผ่าทางภาคเหนือของพม่า ภาคเหนือของไทย ภาคเหนือของลาวและภาคเหนือไทยมาจากเทือกเขาหิมาลัยและทิเบต (มาพร้อมกับไทย มาเลย์เซีย เวียตนามโดยหนีภัยทางน้ำ ข้ามภูเขาหิมาลัย สมัยนั้ยยังไม่สูงแบบปัจจุบัน) ส่วนไทย ภาคใต้ของพม่า มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย มาจากมหาสมุทรอินเดียโดยตรง ทำไมคิดแบบนั้น ผู้เขียนดูจากวัตถุโบราณจ้วงมีหน้ากลองเหมือนไทยแต่ สำริดลายไม่เหมือน หรือดินเผาแบบลายน้ำของไทย อายุวัตถุโบราณอายุเดียวกัน ไม่มีใครมีอายุแตกต่างกัน. บทความและหลักฐานโบราณ โดยคุณทราวิฑะ นอกกรอบ Fbทราวิฑะ นอกกรอบ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 250 มุมมอง 0 รีวิว
  • รื้อฟื้น ตม.6 ออนไลน์ ต่างชาติเข้าไทยต้องกรอก

    ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2568 เป็นต้นไป ชาวต่างชาติทุกคนที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย จะต้องกรอกแบบฟอร์มที่เรียกว่า TM6 หรือ ตม.6 ผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนเข้าประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าว หลังการขยายเวลายกเว้นการยื่นแบบ ตม. 6 ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นการชั่วคราวทั้งด่านทางบกและทางน้ำ รวม 16 ด่าน จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย. 2568 ที่จะถึงนี้

    แบบฟอร์ม ตม.6 (TM6) คือแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและติดตามคนต่างด้าว และรักษาความมั่นคงของประเทศ ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องกรอกบัตรขาออกและบัตรขาเข้า มาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2560 ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อแก้ปัญหาคอขวด ลดความล่าช้าในการเข้าออกเมือง เพราะข้อมูลคนไทยตรวจสอบได้จากทะเบียนราษฎรอยู่แล้ว

    กระทั่งกระทรวงมหาดไทยได้ยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 สำหรับชาวต่างชาติมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2565 โดยเริ่มจากทางอากาศก่อน ต่อมาวันที่ 1 พ.ย. 2566 ได้ยกเว้นที่ด่านพรมแดนสะเดา จ.สงขลา ซึ่งตรงกับช่วงฤดูการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย กระทั่งวันที่ 15 เม.ย. 2567 ขยายเพิ่มอีก 12 จุดทั้งทางบกและทางน้ำ เฉพาะที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) และปัจจุบันขยายเวลาถึงวันที่ 30 เม.ย. 2568 ได้แก่ ด่านทางบก 8 ด่าน และด่านทางน้ำ 8 ด่าน

    น.ส.นัทรียา ทวีวงศ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า แบบฟอร์ม ตม.6 ออนไลน์ จะช่วยติดตามนักท่องเที่ยวขณะอยู่ในประเทศไทย เพิ่มความมั่นใจต่อความปลอดภัย ซึ่งในวันที่ 31 ม.ค. จะประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สายการบิน โรงแรม และบริษัทนำเที่ยว เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและช่วยประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าวให้ชาวต่างชาติทราบอีกด้วย

    อนึ่ง บางประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีมาตรการให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กรอกแบบฟอร์มขาเข้าดิจิทัลก่อนเข้าประเทศ เช่น SG Arrival Card (SGAC) ของสิงคโปร์, eTravel ของฟิลิปปินส์, E-Arrival Card ของบรูไน, Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) ของมาเลเซีย และ Cambodia e-Arrival ของกัมพูชา (เฉพาะสนามบินพนมเปญและเสียมราฐ) ส่วนอินโดนีเซียกรอกแบบฟอร์มสำแดงต่อศุลกากร Indonesian Customs Declaration (e-CD) และใบอนุญาตสุขภาพ SATUSEHAT (SSHP) ขณะที่เวียดนาม ลาว และเมียนมา ยังคงใช้แบบฟอร์มบัตรขาเข้าเมืองกระดาษ

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    รื้อฟื้น ตม.6 ออนไลน์ ต่างชาติเข้าไทยต้องกรอก ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2568 เป็นต้นไป ชาวต่างชาติทุกคนที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย จะต้องกรอกแบบฟอร์มที่เรียกว่า TM6 หรือ ตม.6 ผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนเข้าประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าว หลังการขยายเวลายกเว้นการยื่นแบบ ตม. 6 ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นการชั่วคราวทั้งด่านทางบกและทางน้ำ รวม 16 ด่าน จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย. 2568 ที่จะถึงนี้ แบบฟอร์ม ตม.6 (TM6) คือแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและติดตามคนต่างด้าว และรักษาความมั่นคงของประเทศ ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องกรอกบัตรขาออกและบัตรขาเข้า มาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2560 ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อแก้ปัญหาคอขวด ลดความล่าช้าในการเข้าออกเมือง เพราะข้อมูลคนไทยตรวจสอบได้จากทะเบียนราษฎรอยู่แล้ว กระทั่งกระทรวงมหาดไทยได้ยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 สำหรับชาวต่างชาติมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2565 โดยเริ่มจากทางอากาศก่อน ต่อมาวันที่ 1 พ.ย. 2566 ได้ยกเว้นที่ด่านพรมแดนสะเดา จ.สงขลา ซึ่งตรงกับช่วงฤดูการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย กระทั่งวันที่ 15 เม.ย. 2567 ขยายเพิ่มอีก 12 จุดทั้งทางบกและทางน้ำ เฉพาะที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) และปัจจุบันขยายเวลาถึงวันที่ 30 เม.ย. 2568 ได้แก่ ด่านทางบก 8 ด่าน และด่านทางน้ำ 8 ด่าน น.ส.นัทรียา ทวีวงศ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า แบบฟอร์ม ตม.6 ออนไลน์ จะช่วยติดตามนักท่องเที่ยวขณะอยู่ในประเทศไทย เพิ่มความมั่นใจต่อความปลอดภัย ซึ่งในวันที่ 31 ม.ค. จะประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สายการบิน โรงแรม และบริษัทนำเที่ยว เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและช่วยประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าวให้ชาวต่างชาติทราบอีกด้วย อนึ่ง บางประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีมาตรการให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กรอกแบบฟอร์มขาเข้าดิจิทัลก่อนเข้าประเทศ เช่น SG Arrival Card (SGAC) ของสิงคโปร์, eTravel ของฟิลิปปินส์, E-Arrival Card ของบรูไน, Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) ของมาเลเซีย และ Cambodia e-Arrival ของกัมพูชา (เฉพาะสนามบินพนมเปญและเสียมราฐ) ส่วนอินโดนีเซียกรอกแบบฟอร์มสำแดงต่อศุลกากร Indonesian Customs Declaration (e-CD) และใบอนุญาตสุขภาพ SATUSEHAT (SSHP) ขณะที่เวียดนาม ลาว และเมียนมา ยังคงใช้แบบฟอร์มบัตรขาเข้าเมืองกระดาษ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 541 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเอาเรื่อง Ep.91 : ช็อคโกแลท

    อ่านข่าวดราม่าเรื่องช็อคโกแลทดูไบแล้ว ก็พลอยนึกถึงช็อคโกแลทที่ชื่อเสียงโด่งดังของสวิตเซอร์แลนด์ครับ

    ก่อนจะไปต่อ ก็ขอเล่าสั้นๆสักนิดให้กับคนที่ตกข่าวเรื่องช็อคโกแบทดูไบครับ กล่าวคือ ในปี 2021 มีผู้หญิงอังกฤษคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดูไบ เขาทำช้อคโกแลตแบบที่ตัวเองอยากกินขึ้นมา แล้วปรากฏว่าอร่อยและโด่งดัง เธอก็เลยตั้งบริษัทชื่อ Fix ขึ้นมาขายช้อคโกแลตของเธอที่ตั้งชื่อว่า

    “ช้อคโกแลตดูไบ”

    ปรากฏว่ามีคนเอาสูตรทำช้อคโกแลตดูไบไปทำกันทั่วโลก ที่ทำกินเองก็มี ที่ทำขายก็มี แล้วก็ใช้ชื่อเรียกว่า “ช้อคโกแลตดูไบ” กันทั่วไปหมด

    เรื่องมันดราม่าก็ที่ประเทศเยอรมันครับ เพราะคนที่เขานำเข้าช้อคโกแลตดูไบอย่างถูกต้องจากบริษัท Fix ที่ดูไบ เขาไปฟ้องศาลเยอรมันในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ปรากฏว่าศาลตัดสินให้บริษัท Fix ชนะครับ บรรดาร้านขนมที่ทำช้อคโกแลทดูไบขายเองก็จึงวุ่นวายกัน

    ใครสนใจเรื่องนี้ไปตามอ่านได้ที่เพจ https://www.facebook.com/share/1D9sxkuNdB/?mibextid=wwXIfr นะครับ เขาเขียนไว้ละเอียดมาก

    ผมเห็นด้วยกับที่ศาลเยอรมันตัดสินแบบนี้ เพราะชื่อประเทศหรือชื่อเมืองก็คือ “แบรนด์” อย่างหนึ่ง
    .
    .
    .
    ทีนี้ผมจึงมาเล่าถึงช้อคโกแลตสวิสครับ เพราะรัฐบาลสวิสนั้นเขาจริงจังกับสินค้าที่จะแปะคำว่า “Swiss Made" หรือ ”Made in Switzerland" ลงไปในสินค้า

    ถึงกับออกกำหนดเป็นกฎโดยละเอียดให้ปฏิบัติตามเลย

    ตัวอย่างเช่น “นาฬิกา” ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงว่า นาฬิกาสวิสมีคุณภาพดี เที่ยงตรงแม่นยำและคุณภาพสูง

    รัฐบาลสวิสจึงกำหนดกฎไว้ว่า ถ้าผู้ผลิตเจ้าใดอยากเอาคำว่า Swiss Made แปะลงไปบนนาฬิกาแล้ว นาฬิกาเรือนนั้นจะต้อง

    หนึ่ง…กลไกต้องเป็นแบบสวิส
    สอง…กลไกต้องประกอบเป็นตัวเรือนขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์
    สาม…ผู้ผลิตต้องทดสอบคุณภาพขั้นสุดท้ายในสวิตเซอร์แลนด์
    สี่…ค่าใช้จ่ายในการผลิตอย่างน้อย 60% ต้องอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์

    ตรงกฎข้อหนึ่งที่ว่ากลไกนาฬิกาต้องเป็นแบบสวิสนั้น เขาก็กำหนดละเอียดลึกต่อลงไปอีกด้วยครับ กฎทั้งหมดนี้ถูกวางขึ้นเพื่อรักษาคุณภาพแบรนด์สวิสและให้การจ้างงานและรายได้ให้อยู่ในประเทศครับ

    ทีนี้มาพูดถึงช้อคโกแลตสวิสกันสักทีนะครับ

    เราคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า ช้อคโกแลตนั้นผลิตขึ้นจากเมล็ดโกโก้ซึ่งปลูกได้จากประเทศเมืองร้อนเท่านั้น สวิตเซอร์แลนด์จึงต้องนำเข้าเมล็ดโกโก้ 100% จากแอฟริกา เอเชียและอเมริกาใต้เพื่อเอามาผลิตช้อคโกแลต

    ทีนี้บางคนอาจถามว่า “เอ้า ในเมื่อเมล็ดโกโก้นำเข้ามาหมดแบบนี้ แล้วทำไมช้อคโกแลตสวิสถึงมีชื่อเสียงล่ะ?”

    คำตอบก็คือ “คุณภาพของนม” และ “กระบวนการผลิต” ครับ

    รัฐบาลสวิสจึงกำหนดไว้ว่า ช้อคโกแลตที่จะได้ชื่อว่าเป็นช้อคโกแลตสวิสนั้น จะต้องใช้นมจากวัวที่เลี้ยงอยู่บนเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นนมที่อร่อยและมันๆแบบครีมมี่ๆ

    นอกนั้นก็มีกฎอื่นๆอีก คือ การผลิตช้อคโกแลตต้องทำในประเทศสวิตเซอร์แลนด์, วัตถุดิบ 80% ต้องผลิตในสวิต (ยกเว้นเมล็ดโกโก้) อันหมายถึง นม วานิลลาและถั่ว เป็นต้น

    ซึ่งเราควรรู้กันด้วยว่า ช้อคโกแลตนมนั้นถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกบนโลกที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี 1875 ครับ โดยนายแดเนียล ปีเตอร์เขาทดลองเอาเมล็ดโกโก้บดไปผสมกับนมข้นที่ผลิตโดยนายเฮนรี่ เนสท์เล่ (Nestle)

    แล้วต่อมานายโรดอล์ฟ ลินดท์ (Rodolphe Lindt) ก็คิดค้นกระบวนการกวนช้อคโกแลทเพื่อให้รสชาติขมๆหายไป เหลือแต่ความหวานอร่อยของโกโก้

    คือ คนแต่ก่อนเขารับประทานโกโก้กันแบบขมๆและไม่มีช้อคโกแลตนมครับ พอชาวสวิสผลิตขึ้นมาเป็นเจ้าแรก ก็เลยดังกันใหญ่

    รัฐบาลเขาเลยต้องคุมเข้มกับแบรนด์ช้อกโกแลตที่จะใช้คำว่า Swiss Made ซึ่งทุกวันนี้ก็มีหลายแบรนด์ที่เรารู้จักกันดี เช่น ทอโบลโรน (Toblerone) , ลินดท์, เนสท์เล่
    .
    .
    .
    ตอนนี้เป็นอันรู้กันประการหนึ่งว่า ช้อคโกแลตสวิสนั้น ส่วนหนึ่งดังเพราะนมวัวสวิสอร่อยและคุณภาพดี

    อันนี้ก็เป็นเหตุผลเดียวกับของช้อคโกแลตญี่ปุ่นยี่ห้อรอยซ์ (Royce) ครับ เพราะรอยซ์ใช้นมวัวคุณภาพดีจากฮอกไกโดในการผลิต

    ส่วนตัวแล้วผมชอบช้อคโกแลตรอยซ์มากกว่าของสวิส เพราะอร่อยกว่าและหวานน้อยกว่า
    .
    .
    .
    ทีนี้มาขอเล่าถึงเมล็ดโกโก้กันบ้าง เพราะเป็นวัตถุดิบสำคัญของช้อคโกแลตเลย

    เมล็ดโกโก้ที่ทั้งสวิตเซอร์แลนด์ ชาติยุโรปและญี่ปุ่นนำมาใช้ทำช้อคโกแลตนั้นมาจากแอฟริกาตะวันตก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกาใต้ครับ เพราะโกโก้นั้นเติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้น

    ประเทศผู้ผลิตโกโก้ที่สำคัญก็คือ ไอเวอรี่โคสท์, กาน่า, ไนจีเรีย, แคเมอรูน, เอกวาดอร์, เปรู, อินโดนีเซีย และปาปัวนิวกินี

    ไอเวอรี่โคสท์นั้น ส่งออกโกโก้เยอะที่สุดในโลก คิดเป็น 60% ของโกโก้ทั้งโลกครับ

    แต่โกโก้ที่ได้ชื่อว่าอร่อยที่สุดในโลกนั้น มาจากประเทศกาน่าครับ

    ประเทศต่างๆจึงแย่งกันซื้อเมล็ดโกโก้จากกาน่า เพราะเอาไปทำช้อกโกแลตได้อร่อยที่สุด

    อันเป็นสาเหตุที่บริษัทชื่อดังของเกาหลีคือ “ล้อตเต้" นั้น เอาชื่อประเทศกาน่าไปตั้งเป็นแบรนด์ช้อคโกแลตของตัวเองว่า Ghana กันแบบโต้งๆเลย

    เพื่อเป็นการบอกว่า ช้อคโกแลตของล้อตเต้นั้นมาจากกาน่า (Ghana) แน่นอน ใครที่ซื้อไปรับประทานจะได้ชิมรสช้อคโกแลตจากโกโก้ที่อร่อยที่สุดในโลก

    อันนี้ผมชื่นชมล้อตเต้นะครับที่เขาให้เกียรติประเทศวัตถุดิบด้วย

    นอกจากเกาหลีใต้แล้ว บริษัทญี่ปุ่นอย่างเมจินั้น เขาก็ซื้อโกโก้จากกาน่าเช่นกัน

    ปล. ไนจีเรียนั้นเคยผลิตโกโก้ได้อร่อยไม่แพ้กาน่าเลยครับ แต่พอเขาขุดเจอน้ำมันดิบในช่วงปี 1960-1970 ปุ๊บ ทั้งรัฐบาลและประชาชนก็เลิกปลูกโกโก้ แล้วหันมาหวังพึ่งพาเงินจากการขายน้ำมันดิบแทน

    …เอามาเล่าสู่กันฟังครับ…


    นัทแนะ
    อ่านเอาเรื่อง Ep.91 : ช็อคโกแลท อ่านข่าวดราม่าเรื่องช็อคโกแลทดูไบแล้ว ก็พลอยนึกถึงช็อคโกแลทที่ชื่อเสียงโด่งดังของสวิตเซอร์แลนด์ครับ ก่อนจะไปต่อ ก็ขอเล่าสั้นๆสักนิดให้กับคนที่ตกข่าวเรื่องช็อคโกแบทดูไบครับ กล่าวคือ ในปี 2021 มีผู้หญิงอังกฤษคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดูไบ เขาทำช้อคโกแลตแบบที่ตัวเองอยากกินขึ้นมา แล้วปรากฏว่าอร่อยและโด่งดัง เธอก็เลยตั้งบริษัทชื่อ Fix ขึ้นมาขายช้อคโกแลตของเธอที่ตั้งชื่อว่า “ช้อคโกแลตดูไบ” ปรากฏว่ามีคนเอาสูตรทำช้อคโกแลตดูไบไปทำกันทั่วโลก ที่ทำกินเองก็มี ที่ทำขายก็มี แล้วก็ใช้ชื่อเรียกว่า “ช้อคโกแลตดูไบ” กันทั่วไปหมด เรื่องมันดราม่าก็ที่ประเทศเยอรมันครับ เพราะคนที่เขานำเข้าช้อคโกแลตดูไบอย่างถูกต้องจากบริษัท Fix ที่ดูไบ เขาไปฟ้องศาลเยอรมันในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ปรากฏว่าศาลตัดสินให้บริษัท Fix ชนะครับ บรรดาร้านขนมที่ทำช้อคโกแลทดูไบขายเองก็จึงวุ่นวายกัน ใครสนใจเรื่องนี้ไปตามอ่านได้ที่เพจ https://www.facebook.com/share/1D9sxkuNdB/?mibextid=wwXIfr นะครับ เขาเขียนไว้ละเอียดมาก ผมเห็นด้วยกับที่ศาลเยอรมันตัดสินแบบนี้ เพราะชื่อประเทศหรือชื่อเมืองก็คือ “แบรนด์” อย่างหนึ่ง . . . ทีนี้ผมจึงมาเล่าถึงช้อคโกแลตสวิสครับ เพราะรัฐบาลสวิสนั้นเขาจริงจังกับสินค้าที่จะแปะคำว่า “Swiss Made" หรือ ”Made in Switzerland" ลงไปในสินค้า ถึงกับออกกำหนดเป็นกฎโดยละเอียดให้ปฏิบัติตามเลย ตัวอย่างเช่น “นาฬิกา” ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงว่า นาฬิกาสวิสมีคุณภาพดี เที่ยงตรงแม่นยำและคุณภาพสูง รัฐบาลสวิสจึงกำหนดกฎไว้ว่า ถ้าผู้ผลิตเจ้าใดอยากเอาคำว่า Swiss Made แปะลงไปบนนาฬิกาแล้ว นาฬิกาเรือนนั้นจะต้อง หนึ่ง…กลไกต้องเป็นแบบสวิส สอง…กลไกต้องประกอบเป็นตัวเรือนขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์ สาม…ผู้ผลิตต้องทดสอบคุณภาพขั้นสุดท้ายในสวิตเซอร์แลนด์ สี่…ค่าใช้จ่ายในการผลิตอย่างน้อย 60% ต้องอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ตรงกฎข้อหนึ่งที่ว่ากลไกนาฬิกาต้องเป็นแบบสวิสนั้น เขาก็กำหนดละเอียดลึกต่อลงไปอีกด้วยครับ กฎทั้งหมดนี้ถูกวางขึ้นเพื่อรักษาคุณภาพแบรนด์สวิสและให้การจ้างงานและรายได้ให้อยู่ในประเทศครับ ทีนี้มาพูดถึงช้อคโกแลตสวิสกันสักทีนะครับ เราคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า ช้อคโกแลตนั้นผลิตขึ้นจากเมล็ดโกโก้ซึ่งปลูกได้จากประเทศเมืองร้อนเท่านั้น สวิตเซอร์แลนด์จึงต้องนำเข้าเมล็ดโกโก้ 100% จากแอฟริกา เอเชียและอเมริกาใต้เพื่อเอามาผลิตช้อคโกแลต ทีนี้บางคนอาจถามว่า “เอ้า ในเมื่อเมล็ดโกโก้นำเข้ามาหมดแบบนี้ แล้วทำไมช้อคโกแลตสวิสถึงมีชื่อเสียงล่ะ?” คำตอบก็คือ “คุณภาพของนม” และ “กระบวนการผลิต” ครับ รัฐบาลสวิสจึงกำหนดไว้ว่า ช้อคโกแลตที่จะได้ชื่อว่าเป็นช้อคโกแลตสวิสนั้น จะต้องใช้นมจากวัวที่เลี้ยงอยู่บนเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นนมที่อร่อยและมันๆแบบครีมมี่ๆ นอกนั้นก็มีกฎอื่นๆอีก คือ การผลิตช้อคโกแลตต้องทำในประเทศสวิตเซอร์แลนด์, วัตถุดิบ 80% ต้องผลิตในสวิต (ยกเว้นเมล็ดโกโก้) อันหมายถึง นม วานิลลาและถั่ว เป็นต้น ซึ่งเราควรรู้กันด้วยว่า ช้อคโกแลตนมนั้นถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกบนโลกที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี 1875 ครับ โดยนายแดเนียล ปีเตอร์เขาทดลองเอาเมล็ดโกโก้บดไปผสมกับนมข้นที่ผลิตโดยนายเฮนรี่ เนสท์เล่ (Nestle) แล้วต่อมานายโรดอล์ฟ ลินดท์ (Rodolphe Lindt) ก็คิดค้นกระบวนการกวนช้อคโกแลทเพื่อให้รสชาติขมๆหายไป เหลือแต่ความหวานอร่อยของโกโก้ คือ คนแต่ก่อนเขารับประทานโกโก้กันแบบขมๆและไม่มีช้อคโกแลตนมครับ พอชาวสวิสผลิตขึ้นมาเป็นเจ้าแรก ก็เลยดังกันใหญ่ รัฐบาลเขาเลยต้องคุมเข้มกับแบรนด์ช้อกโกแลตที่จะใช้คำว่า Swiss Made ซึ่งทุกวันนี้ก็มีหลายแบรนด์ที่เรารู้จักกันดี เช่น ทอโบลโรน (Toblerone) , ลินดท์, เนสท์เล่ . . . ตอนนี้เป็นอันรู้กันประการหนึ่งว่า ช้อคโกแลตสวิสนั้น ส่วนหนึ่งดังเพราะนมวัวสวิสอร่อยและคุณภาพดี อันนี้ก็เป็นเหตุผลเดียวกับของช้อคโกแลตญี่ปุ่นยี่ห้อรอยซ์ (Royce) ครับ เพราะรอยซ์ใช้นมวัวคุณภาพดีจากฮอกไกโดในการผลิต ส่วนตัวแล้วผมชอบช้อคโกแลตรอยซ์มากกว่าของสวิส เพราะอร่อยกว่าและหวานน้อยกว่า . . . ทีนี้มาขอเล่าถึงเมล็ดโกโก้กันบ้าง เพราะเป็นวัตถุดิบสำคัญของช้อคโกแลตเลย เมล็ดโกโก้ที่ทั้งสวิตเซอร์แลนด์ ชาติยุโรปและญี่ปุ่นนำมาใช้ทำช้อคโกแลตนั้นมาจากแอฟริกาตะวันตก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกาใต้ครับ เพราะโกโก้นั้นเติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้น ประเทศผู้ผลิตโกโก้ที่สำคัญก็คือ ไอเวอรี่โคสท์, กาน่า, ไนจีเรีย, แคเมอรูน, เอกวาดอร์, เปรู, อินโดนีเซีย และปาปัวนิวกินี ไอเวอรี่โคสท์นั้น ส่งออกโกโก้เยอะที่สุดในโลก คิดเป็น 60% ของโกโก้ทั้งโลกครับ แต่โกโก้ที่ได้ชื่อว่าอร่อยที่สุดในโลกนั้น มาจากประเทศกาน่าครับ ประเทศต่างๆจึงแย่งกันซื้อเมล็ดโกโก้จากกาน่า เพราะเอาไปทำช้อกโกแลตได้อร่อยที่สุด อันเป็นสาเหตุที่บริษัทชื่อดังของเกาหลีคือ “ล้อตเต้" นั้น เอาชื่อประเทศกาน่าไปตั้งเป็นแบรนด์ช้อคโกแลตของตัวเองว่า Ghana กันแบบโต้งๆเลย เพื่อเป็นการบอกว่า ช้อคโกแลตของล้อตเต้นั้นมาจากกาน่า (Ghana) แน่นอน ใครที่ซื้อไปรับประทานจะได้ชิมรสช้อคโกแลตจากโกโก้ที่อร่อยที่สุดในโลก อันนี้ผมชื่นชมล้อตเต้นะครับที่เขาให้เกียรติประเทศวัตถุดิบด้วย นอกจากเกาหลีใต้แล้ว บริษัทญี่ปุ่นอย่างเมจินั้น เขาก็ซื้อโกโก้จากกาน่าเช่นกัน ปล. ไนจีเรียนั้นเคยผลิตโกโก้ได้อร่อยไม่แพ้กาน่าเลยครับ แต่พอเขาขุดเจอน้ำมันดิบในช่วงปี 1960-1970 ปุ๊บ ทั้งรัฐบาลและประชาชนก็เลิกปลูกโกโก้ แล้วหันมาหวังพึ่งพาเงินจากการขายน้ำมันดิบแทน …เอามาเล่าสู่กันฟังครับ… นัทแนะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 382 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยืนยันเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สั่งระงับอย่างครอบคลุมเงินช่วยเหลือที่มอบแก่ต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอกย้ำนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน"
    .
    "ผมระงับการจ้างงานรัฐบาลกลาง ระงับกฎเกณฑ์รัฐบาลกลาง และระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศ" ทรัมป์บอกกับฝูงชนผู้สนับสนุนลาสเวกัสเมื่อวันเสาร์(25ม.ค.) "และผมจัดตั้งกระทรวงฯใหม่ กระทรวงกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล และเรากำลังจะมีคนดีๆมากมาย"
    .
    ไม่นานหลังจากสาบานตนรับตำแหน่งในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งบริหารระงับโครงการช่วยเหลือพัฒนาต่างประเทศทั้งหมดเป็นเวลา 90 วัน โดยระหว่างนี้จะดำเนินการทบทวนเพื่อสรุปว่าโครงการช่วยเหลือเหล่านั้นสอดคล้องกับเป้าหมายต่างๆในนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" หรือไม่
    .
    ระหว่างการรณรงค์หาเสียง ทรัมป์ประกาศว่าจะปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่ก่อประโยชน์ และปรับโฟกัสของรัฐบาลให้กันมาใส่ใจกับประเด็นภายในประเทศ อย่างเช่นตัวเลขหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และต่อสู้จัดการกับพวกผู้อพยพผิดกฎหมาย
    .
    ในวันเสาร์(25ม.ค.) มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกบันทึกฉบับหนึ่ง ระงับการเบิกจ่ายเงินผ่านกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ(USAID) แต่มีข้อยกเว้นให้บางส่วน ในนั้นรวมถึงความช่วยเหลือด้านการทหารที่ป้อนแก่อิสราเอลและอียิปต์
    .
    ก่อนหน้านี้ในถ้อยแถลงที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ(22ม.ค.) รูบิโอ กล่าวว่า "ทุกๆดอลลาร์ที่เราใช้จ่าย ทุกๆโครงการที่เราให้เงินสนับสนุน และทุกๆนโยบายที่เราเสาะหา จำเป็นต้องมีความชอบธรรม ด้วยคำตอบใน 3 คำถามง่ายๆ นั่นคือ มันทำให้อเมริกาปลอดภัยขึ้นหรือไม่ มันทำให้อเมริกาเข้มแข็งขึ้นหรือเปล่า และมันทำให้อเมริกาเจริญรุ่งเรืองหรือไม่"
    .
    แม้รายงานข่าวก่อนหน้านี้ระบุกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อ้างว่าการระงับเงินช่วยเหลือจะไม่ส่งผลกระทบต่อาวุธที่ส่งมอบแก่ยูเครน แต่สื่อมวลชนหลายแห่งรายงานว่าบันทึกของรูบิโอ ไม่ได้พาดพิงถึงข้อยกเว้นใดๆสำหรับเงินช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนและพันธมิตรหลักอื่นๆ อย่างเช่นไต้หวันและบรรดาชาติสมาชิกนาโต
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน บ่อยครั้ง สำหรับการส่งมอบความช่วยเหลือหลายหมื่้นล้านดอลลาร์แก่ยูเครน พร้อมสัญญาว่าจะผลักดันให้หาทางออกทางการทูตแทน ในวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เปิดเผยโดยไม่ขอระบุนามว่า คำสั่งของ ทรัมป์จะทำให้หลายองค์กรต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสุขภาพที่อาจช่วยชีวิตคน การรักษาเอชไอวี โภชนาการ สุขภาพแม่และเด็ก งานด้านการเกษตร การสนับสนุนองค์กรประชาสังคม และด้านการศึกษา
    .
    ตัวเลขจากรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า อเมริกาคือผู้บริจาคเงินช่วยเหลือต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยพวกเขาบริจาคเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.28 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 โดยอิสราเอลได้รับเงินช่วยเหลือทางทหารปีละ 3.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่อียิปต์ได้รับ 1.3 พันล้านดอลลาร์
    .
    บรรดาประเทศและดินแดนที่จะได้รับเงินสนับสนุนในลักษณะเดียวกันในปี 2025 ได้แก่ ยูเครน จอร์เจีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม จิบูติ โคลอมเบียมปานามา เอกวาดอร์ อิสราเอล อียิปต์ และจอร์แดน ตามคำขอของรัฐบาลไบเดนที่ยื่นต่อสภาคองเกรส
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008314
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยืนยันเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สั่งระงับอย่างครอบคลุมเงินช่วยเหลือที่มอบแก่ต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอกย้ำนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" . "ผมระงับการจ้างงานรัฐบาลกลาง ระงับกฎเกณฑ์รัฐบาลกลาง และระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศ" ทรัมป์บอกกับฝูงชนผู้สนับสนุนลาสเวกัสเมื่อวันเสาร์(25ม.ค.) "และผมจัดตั้งกระทรวงฯใหม่ กระทรวงกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล และเรากำลังจะมีคนดีๆมากมาย" . ไม่นานหลังจากสาบานตนรับตำแหน่งในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งบริหารระงับโครงการช่วยเหลือพัฒนาต่างประเทศทั้งหมดเป็นเวลา 90 วัน โดยระหว่างนี้จะดำเนินการทบทวนเพื่อสรุปว่าโครงการช่วยเหลือเหล่านั้นสอดคล้องกับเป้าหมายต่างๆในนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" หรือไม่ . ระหว่างการรณรงค์หาเสียง ทรัมป์ประกาศว่าจะปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่ก่อประโยชน์ และปรับโฟกัสของรัฐบาลให้กันมาใส่ใจกับประเด็นภายในประเทศ อย่างเช่นตัวเลขหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และต่อสู้จัดการกับพวกผู้อพยพผิดกฎหมาย . ในวันเสาร์(25ม.ค.) มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกบันทึกฉบับหนึ่ง ระงับการเบิกจ่ายเงินผ่านกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ(USAID) แต่มีข้อยกเว้นให้บางส่วน ในนั้นรวมถึงความช่วยเหลือด้านการทหารที่ป้อนแก่อิสราเอลและอียิปต์ . ก่อนหน้านี้ในถ้อยแถลงที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ(22ม.ค.) รูบิโอ กล่าวว่า "ทุกๆดอลลาร์ที่เราใช้จ่าย ทุกๆโครงการที่เราให้เงินสนับสนุน และทุกๆนโยบายที่เราเสาะหา จำเป็นต้องมีความชอบธรรม ด้วยคำตอบใน 3 คำถามง่ายๆ นั่นคือ มันทำให้อเมริกาปลอดภัยขึ้นหรือไม่ มันทำให้อเมริกาเข้มแข็งขึ้นหรือเปล่า และมันทำให้อเมริกาเจริญรุ่งเรืองหรือไม่" . แม้รายงานข่าวก่อนหน้านี้ระบุกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อ้างว่าการระงับเงินช่วยเหลือจะไม่ส่งผลกระทบต่อาวุธที่ส่งมอบแก่ยูเครน แต่สื่อมวลชนหลายแห่งรายงานว่าบันทึกของรูบิโอ ไม่ได้พาดพิงถึงข้อยกเว้นใดๆสำหรับเงินช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนและพันธมิตรหลักอื่นๆ อย่างเช่นไต้หวันและบรรดาชาติสมาชิกนาโต . ที่ผ่านมา ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน บ่อยครั้ง สำหรับการส่งมอบความช่วยเหลือหลายหมื่้นล้านดอลลาร์แก่ยูเครน พร้อมสัญญาว่าจะผลักดันให้หาทางออกทางการทูตแทน ในวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน . อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เปิดเผยโดยไม่ขอระบุนามว่า คำสั่งของ ทรัมป์จะทำให้หลายองค์กรต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสุขภาพที่อาจช่วยชีวิตคน การรักษาเอชไอวี โภชนาการ สุขภาพแม่และเด็ก งานด้านการเกษตร การสนับสนุนองค์กรประชาสังคม และด้านการศึกษา . ตัวเลขจากรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า อเมริกาคือผู้บริจาคเงินช่วยเหลือต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยพวกเขาบริจาคเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.28 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 โดยอิสราเอลได้รับเงินช่วยเหลือทางทหารปีละ 3.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่อียิปต์ได้รับ 1.3 พันล้านดอลลาร์ . บรรดาประเทศและดินแดนที่จะได้รับเงินสนับสนุนในลักษณะเดียวกันในปี 2025 ได้แก่ ยูเครน จอร์เจีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม จิบูติ โคลอมเบียมปานามา เอกวาดอร์ อิสราเอล อียิปต์ และจอร์แดน ตามคำขอของรัฐบาลไบเดนที่ยื่นต่อสภาคองเกรส . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008314 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1364 มุมมอง 0 รีวิว
  • กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ชนะเจ้าถิ่น โจนาธาน คริสตี้ ไปแบบสุดมันส์ 2-1 เกม (18-21,21-17,21-18) ผงาดครองแชมป์ชายเดี่ยว หลังจาก เมย์-รัชนก ครองแชมป์หญิงเดี่ยว ในศึกอินโดนีเซีย มาสเตอร์ส 2025
    กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ชนะเจ้าถิ่น โจนาธาน คริสตี้ ไปแบบสุดมันส์ 2-1 เกม (18-21,21-17,21-18) ผงาดครองแชมป์ชายเดี่ยว หลังจาก เมย์-รัชนก ครองแชมป์หญิงเดี่ยว ในศึกอินโดนีเซีย มาสเตอร์ส 2025
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 117 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ มีคำสั่งระงับความช่วยเหลือต่างประเทศแก่ประเทศต่างๆทั้งหมด ยกเว้นอิสราเอลและอียิปต์

    “จะไม่มีข้อผูกมัดเงินทุนใหม่ใดๆเกิดขึ้น หรือแม้แต่การขยายขอบเขตระยะเวลาการสนับสนุนเงินทุนต่างๆ จนกว่าจะมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง” ข้อความจากรายงานบางส่วนตามบันทึกภายในถึงเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ

    แต่บันทึกดังกล่าวได้ระบุข้อยกเว้นสำหรับความช่วยเหลือด้านการทหารแก่อิสราเอล ซึ่งแพ็คเกจอาวุธหลักที่สหรัฐฯ มอบให้มาอย่างยาวนานได้ขยายเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่สงครามกาซา และอียิปต์ ซึ่งได้รับเงินทุนด้านการป้องกันประเทศจากสหรัฐฯ จำนวนมากตั้งแต่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลในปี 2522

    อิสราเอลได้รับเงินทุนทางทหารจากต่างประเทศประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่อียิปต์ได้รับประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์

    แต่ขอบเขตของคำสั่งดังกล่าวยังไม่ชัดเจนว่าเงินทุนใดที่จะถูกตัดออก เนื่องจากรัฐสภาสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดงบประมาณของรัฐบาลกลาง

    สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนดังกล่าวในปี 2025 จากการอนมุัติของรัฐบาลไบเดนได้แก่ ยูเครน ไทย จอร์เจีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จิบูตี โคลอมเบีย ปานามา เอกวาดอร์ อิสราเอล อียิปต์ และจอร์แดน

    เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAid) กล่าวว่านี่ “เป็นความโกลาหลครั้งใหญ่ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด ดังนั้นบริการด้านสุขภาพที่ช่วยชีวิตได้ทั้งหมด เอชไอวี/เอดส์ โภชนาการ สุขภาพแม่และเด็ก งานเกษตรทั้งหมด การสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมทั้งหมด การศึกษา”

    เป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ไม่ยอมเอ่ยถึงเงินทุนของสหรัฐที่ผ่าน USAid ในรูปแบบโครงการเพื่อพัฒนาประชาธิบไตยของแต่ละประเทศ ก็ถูกระงับด้วยเช่นกัน เป็นที่ทราบกันดีว่า เงินสนับสนุนในส่วนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความขัดแย้งในแต่ละประเทศโดยผ่านชื่อโครงการอันสวยหรู
    มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ มีคำสั่งระงับความช่วยเหลือต่างประเทศแก่ประเทศต่างๆทั้งหมด ยกเว้นอิสราเอลและอียิปต์ “จะไม่มีข้อผูกมัดเงินทุนใหม่ใดๆเกิดขึ้น หรือแม้แต่การขยายขอบเขตระยะเวลาการสนับสนุนเงินทุนต่างๆ จนกว่าจะมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง” ข้อความจากรายงานบางส่วนตามบันทึกภายในถึงเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แต่บันทึกดังกล่าวได้ระบุข้อยกเว้นสำหรับความช่วยเหลือด้านการทหารแก่อิสราเอล ซึ่งแพ็คเกจอาวุธหลักที่สหรัฐฯ มอบให้มาอย่างยาวนานได้ขยายเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่สงครามกาซา และอียิปต์ ซึ่งได้รับเงินทุนด้านการป้องกันประเทศจากสหรัฐฯ จำนวนมากตั้งแต่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลในปี 2522 อิสราเอลได้รับเงินทุนทางทหารจากต่างประเทศประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่อียิปต์ได้รับประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ แต่ขอบเขตของคำสั่งดังกล่าวยังไม่ชัดเจนว่าเงินทุนใดที่จะถูกตัดออก เนื่องจากรัฐสภาสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดงบประมาณของรัฐบาลกลาง สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนดังกล่าวในปี 2025 จากการอนมุัติของรัฐบาลไบเดนได้แก่ ยูเครน ไทย จอร์เจีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จิบูตี โคลอมเบีย ปานามา เอกวาดอร์ อิสราเอล อียิปต์ และจอร์แดน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAid) กล่าวว่านี่ “เป็นความโกลาหลครั้งใหญ่ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด ดังนั้นบริการด้านสุขภาพที่ช่วยชีวิตได้ทั้งหมด เอชไอวี/เอดส์ โภชนาการ สุขภาพแม่และเด็ก งานเกษตรทั้งหมด การสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมทั้งหมด การศึกษา” เป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ไม่ยอมเอ่ยถึงเงินทุนของสหรัฐที่ผ่าน USAid ในรูปแบบโครงการเพื่อพัฒนาประชาธิบไตยของแต่ละประเทศ ก็ถูกระงับด้วยเช่นกัน เป็นที่ทราบกันดีว่า เงินสนับสนุนในส่วนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความขัดแย้งในแต่ละประเทศโดยผ่านชื่อโครงการอันสวยหรู
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 373 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานไปทั่วว่าทีมของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังวางแผนย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนไปที่ “อินโดนีเซีย” ชั่วคราวระหว่างเขตฉนวนกาซากำลังซ่อมใหม่เพื่อบูรณะ ส.ส. อินโดนีเซียวันอังคาร (21 ม.ค.) ไม่พอใจชี้ ไม่ใช่ธุระของทรัมป์แต่เป็นของประชาชนปาเลสไตน์ หลังรัฐบาลนายกรัฐมนตรีปราโบโว ซูเบียนโต เพิ่งออกมารับรอง จากาตาร์จะไม่ทอดทิ้งปาเลสไตน์
    .
    มิดเดิลอีสต์มอนิเตอร์รายงานวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่า มีรายงานออกมาจากสื่อ NBC News ของสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (18) ว่า ทีมของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เพิ่งเข้าพิธีสาบานตัวในวันจันทร์ (20) และกลายเป็นผู้นำคนที่ 47 ของอเมริกา กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาในการย้ายประชาชนปาเลสไตน์รวม 2 ล้านคนจากเขตฉนวนกาซาในตะวันออกกลางมาที่ “อินโดนีเซีย” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างที่กาซากำลังอยู่ระหว่างการบูรณะสร้างใหม่
    .
    ทั้งนี้ สื่ออเมริกันได้อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมเปลี่ยนผ่านอำนาจของทรัมป์ที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวว่า “อินโดนีเซีย” ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกพิจารณาในการเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคน
    .
    และนอกจากนี้ NBC News ยังรายงานว่า ทูตพิเศษตะวันออกกลางของทรัมป์ สตีฟ วิตต์คอฟฟ์ (Steve Witkoff) กำลังพิจารณาการเดินทางไปเยือนกาซา เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาข้อตกลงหยุดยิงระหว่างอิสราเอล-ฮามาสให้ยังคงอยู่
    .
    แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมทรัมป์กล่าวว่า “คุณต้องเห็นมัน คุณต้องรู้สึกมัน” และชี้ว่า
    .
    “การทำเช่นนั้นจะเปิดโอกาสให้ทูตพิเศษของทรัมป์สามารถเห็นไดนามิกความเคลื่อนไหวในพื้นที่ด้วยตาตัวเองมากกว่าได้มาจากคำพูดของอิสราเอล”
    .
    ทั้งนี้ วิตต์คอฟฟ์กำลังทำงานเพื่อทำให้ประสบสำเร็จต่อเสถียรภาพระยะยาวของชาวอิสราเอลและประชาชนปาเลสไตน์อีก 2 ล้านคน ซึ่งเขาได้พบกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ถือเป็นจุดสำคัญทำให้ข้อตกลงหยุดยิงสามารถบรรลุ
    .
    อย่างไรก็ตาม ข่าวการย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนมาที่อินโดนีเซียตามข้อเสนอของทีมทรัมป์ทำให้นักการเมืองอิเหนาไม่พอใจ
    .
    เรดิโอรีพับลิกอินโดนีเซียรายงานว่า ส.ส. มาร์ดานี อาลี ซีรา (Mardani Ali Sera) ได้ออกมาตอบโต้ข่าวข้อเสนอย้ายว่า การโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์ แต่เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์ในการตัดสินอนาคตตัวเอง
    .
    “มันขึ้นอยู่กับประชาชนกาซา มันไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์” เขากล่าว
    .
    มาร์ดานีซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภา BKSAP กล่าวเสริมว่า ชาวปาเลสไตน์นั้นไม่ใช่เฟอร์นิเจอร์ที่จะสามารถย้ายไปง่ายๆ ได้
    .
    และยังย้ำต่อพันธสัญญาของอินโดนีเซียในการสนับสนุนการเป็นอิสรภาพของปาเลสไตน์จากอิสราเอลผู้ยึดครอง สอดคล้องกับการออกมายืนยันของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียที่ก่อนหน้ายืนยัน อ้างอิงจาก อันตาราของอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ว่ารัฐบาลจากาตาร์จะไม่มีวันทอดทิ้งชาวปาเลสไตน์ไว้เบื้องหลัง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006998
    ..............
    Sondhi X
    มีรายงานไปทั่วว่าทีมของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังวางแผนย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนไปที่ “อินโดนีเซีย” ชั่วคราวระหว่างเขตฉนวนกาซากำลังซ่อมใหม่เพื่อบูรณะ ส.ส. อินโดนีเซียวันอังคาร (21 ม.ค.) ไม่พอใจชี้ ไม่ใช่ธุระของทรัมป์แต่เป็นของประชาชนปาเลสไตน์ หลังรัฐบาลนายกรัฐมนตรีปราโบโว ซูเบียนโต เพิ่งออกมารับรอง จากาตาร์จะไม่ทอดทิ้งปาเลสไตน์ . มิดเดิลอีสต์มอนิเตอร์รายงานวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่า มีรายงานออกมาจากสื่อ NBC News ของสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (18) ว่า ทีมของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เพิ่งเข้าพิธีสาบานตัวในวันจันทร์ (20) และกลายเป็นผู้นำคนที่ 47 ของอเมริกา กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาในการย้ายประชาชนปาเลสไตน์รวม 2 ล้านคนจากเขตฉนวนกาซาในตะวันออกกลางมาที่ “อินโดนีเซีย” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างที่กาซากำลังอยู่ระหว่างการบูรณะสร้างใหม่ . ทั้งนี้ สื่ออเมริกันได้อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมเปลี่ยนผ่านอำนาจของทรัมป์ที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวว่า “อินโดนีเซีย” ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกพิจารณาในการเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคน . และนอกจากนี้ NBC News ยังรายงานว่า ทูตพิเศษตะวันออกกลางของทรัมป์ สตีฟ วิตต์คอฟฟ์ (Steve Witkoff) กำลังพิจารณาการเดินทางไปเยือนกาซา เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาข้อตกลงหยุดยิงระหว่างอิสราเอล-ฮามาสให้ยังคงอยู่ . แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมทรัมป์กล่าวว่า “คุณต้องเห็นมัน คุณต้องรู้สึกมัน” และชี้ว่า . “การทำเช่นนั้นจะเปิดโอกาสให้ทูตพิเศษของทรัมป์สามารถเห็นไดนามิกความเคลื่อนไหวในพื้นที่ด้วยตาตัวเองมากกว่าได้มาจากคำพูดของอิสราเอล” . ทั้งนี้ วิตต์คอฟฟ์กำลังทำงานเพื่อทำให้ประสบสำเร็จต่อเสถียรภาพระยะยาวของชาวอิสราเอลและประชาชนปาเลสไตน์อีก 2 ล้านคน ซึ่งเขาได้พบกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ถือเป็นจุดสำคัญทำให้ข้อตกลงหยุดยิงสามารถบรรลุ . อย่างไรก็ตาม ข่าวการย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนมาที่อินโดนีเซียตามข้อเสนอของทีมทรัมป์ทำให้นักการเมืองอิเหนาไม่พอใจ . เรดิโอรีพับลิกอินโดนีเซียรายงานว่า ส.ส. มาร์ดานี อาลี ซีรา (Mardani Ali Sera) ได้ออกมาตอบโต้ข่าวข้อเสนอย้ายว่า การโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์ แต่เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์ในการตัดสินอนาคตตัวเอง . “มันขึ้นอยู่กับประชาชนกาซา มันไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์” เขากล่าว . มาร์ดานีซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภา BKSAP กล่าวเสริมว่า ชาวปาเลสไตน์นั้นไม่ใช่เฟอร์นิเจอร์ที่จะสามารถย้ายไปง่ายๆ ได้ . และยังย้ำต่อพันธสัญญาของอินโดนีเซียในการสนับสนุนการเป็นอิสรภาพของปาเลสไตน์จากอิสราเอลผู้ยึดครอง สอดคล้องกับการออกมายืนยันของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียที่ก่อนหน้ายืนยัน อ้างอิงจาก อันตาราของอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ว่ารัฐบาลจากาตาร์จะไม่มีวันทอดทิ้งชาวปาเลสไตน์ไว้เบื้องหลัง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006998 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Yay
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1599 มุมมอง 0 รีวิว
  • K PLUS เปิดระบบ สแกนจ่ายที่มาเลเซีย

    หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) เปิดบริการเชื่อมโยงระบบชำระเงินข้ามประเทศ (Cross-border Payment) มาตั้งแต่เดือน มิ.ย.2564 นอกจากลูกค้าธนาคารและอีวอลเล็ตจากมาเลเซีย โดยเฉพาะสถาบันการเงินรายใหญ่ MayBank และ Touch ’n Go สามารถสแกนจ่ายผ่านพร้อมเพย์คิวอาร์โค้ด (PromptPay QR Code) ที่ร้านค้าในไทยทั้งผ่านป้ายคิวอาร์โค้ด แอปพลิเคชันรับเงินสำหรับร้านค้า หรือบนหน้าจอเครื่องรับบัตร (EDC) ได้แล้ว ลูกค้าแอปพลิเคชันธนาคารในไทย ก็สามารถสแกนจ่ายผ่าน DuitNow QR ในประเทศมาเลเซียได้เช่นกัน

    โดยลูกค้า Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย, Bangkok Bank ธนาคารกรุงเทพ, Krungsri App ธนาคารกรุงศรี และ CIMB THAI ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย สแกนจ่าย DuitNow QR จากพาร์ทเนอร์ร้านค้า (Merchant Partner) ของ Ambank, Boost, CIMB, Hong Leong Bank, Maybank, Public Bank, Razer Merchant Services, Touch ’n Go, และ United Overseas Bank Malaysia (UOB) โดยสังเกตโลโก้บริเวณป้าย Standee Tab หรือเครื่อง EDC ของผู้ให้บริการเหล่านั้น

    ยังคงเหลือเจ้าตลาดโมบายแบงกิ้งอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย ที่มีผู้ใช้งาน 22.8 ล้านราย จากเดิมสแกนจ่ายได้เฉพาะร้านค้า UnionPay QR Payment ในมาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านค้าชั้นนำ ล่าสุดสามารถสแกนจ่าย DuitNow QR จาก Merchant Partner ที่ร่วมรายการได้แล้ว แต่ใช้ระบบประมวลผลของ Alipay+ โดยระบบจะแปลงหน่วยเงินอัตโนมัติ คิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาขณะนั้น และไม่มีค่าธรรมเนียมอีกด้วย

    สำหรับระบบประมวลผลของ Alipay+ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการระบบ DuitNow ร่วมกับ Ant Group ร่วมมือเชื่อมระบบการชำระเงินกับอี-วอลเล็ตชั้นนำมาตั้งแต่ปลายปี 2566 ปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถใช้ระบบ Alipay+ สแกนจ่ายที่ร้านค้า DuitNow QR ในมาเลเซียกว่า 1.8 ล้านแห่ง ได้แก่ Alipay (จีน) AlipayHK (ฮ่องกง) HelloMoney by AUB (ฟิลิปปินส์) Hipay (มองโกเลีย) MPay (มาเก๊า) Naver Pay & Toss Pay (เกาหลีใต้)

    รวมทั้ง TrueMoney ของไทย ที่มีผู้ใช้งาน 34 ล้านราย สามารถชำระเงินผ่าน QR Code ของ Alipay+ หรือสแกนผ่าน DuitNow QR ที่ร้านค้าในมาเลเซียได้เช่นกัน

    นับตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง พ.ย.2567 มาเลเซียมีนักท่องเที่ยวมาเยือน 34.15 ล้านคน มาจากสิงคโปร์มากที่สุด 16.84 ล้านคน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 3.71 ล้านคน จีน 3.43 ล้านคน ไทย 2.07 ล้านคน และบรูไน 1.56 ล้านคน ส่วนประเทศไทย ในปี 2567 (ม.ค. ถึง ธ.ค.2567) มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย 4.95 ล้านคน เป็นอันดับสองรองจากจีน 6.73 ล้านคน

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    K PLUS เปิดระบบ สแกนจ่ายที่มาเลเซีย หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) เปิดบริการเชื่อมโยงระบบชำระเงินข้ามประเทศ (Cross-border Payment) มาตั้งแต่เดือน มิ.ย.2564 นอกจากลูกค้าธนาคารและอีวอลเล็ตจากมาเลเซีย โดยเฉพาะสถาบันการเงินรายใหญ่ MayBank และ Touch ’n Go สามารถสแกนจ่ายผ่านพร้อมเพย์คิวอาร์โค้ด (PromptPay QR Code) ที่ร้านค้าในไทยทั้งผ่านป้ายคิวอาร์โค้ด แอปพลิเคชันรับเงินสำหรับร้านค้า หรือบนหน้าจอเครื่องรับบัตร (EDC) ได้แล้ว ลูกค้าแอปพลิเคชันธนาคารในไทย ก็สามารถสแกนจ่ายผ่าน DuitNow QR ในประเทศมาเลเซียได้เช่นกัน โดยลูกค้า Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย, Bangkok Bank ธนาคารกรุงเทพ, Krungsri App ธนาคารกรุงศรี และ CIMB THAI ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย สแกนจ่าย DuitNow QR จากพาร์ทเนอร์ร้านค้า (Merchant Partner) ของ Ambank, Boost, CIMB, Hong Leong Bank, Maybank, Public Bank, Razer Merchant Services, Touch ’n Go, และ United Overseas Bank Malaysia (UOB) โดยสังเกตโลโก้บริเวณป้าย Standee Tab หรือเครื่อง EDC ของผู้ให้บริการเหล่านั้น ยังคงเหลือเจ้าตลาดโมบายแบงกิ้งอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย ที่มีผู้ใช้งาน 22.8 ล้านราย จากเดิมสแกนจ่ายได้เฉพาะร้านค้า UnionPay QR Payment ในมาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านค้าชั้นนำ ล่าสุดสามารถสแกนจ่าย DuitNow QR จาก Merchant Partner ที่ร่วมรายการได้แล้ว แต่ใช้ระบบประมวลผลของ Alipay+ โดยระบบจะแปลงหน่วยเงินอัตโนมัติ คิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาขณะนั้น และไม่มีค่าธรรมเนียมอีกด้วย สำหรับระบบประมวลผลของ Alipay+ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการระบบ DuitNow ร่วมกับ Ant Group ร่วมมือเชื่อมระบบการชำระเงินกับอี-วอลเล็ตชั้นนำมาตั้งแต่ปลายปี 2566 ปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถใช้ระบบ Alipay+ สแกนจ่ายที่ร้านค้า DuitNow QR ในมาเลเซียกว่า 1.8 ล้านแห่ง ได้แก่ Alipay (จีน) AlipayHK (ฮ่องกง) HelloMoney by AUB (ฟิลิปปินส์) Hipay (มองโกเลีย) MPay (มาเก๊า) Naver Pay & Toss Pay (เกาหลีใต้) รวมทั้ง TrueMoney ของไทย ที่มีผู้ใช้งาน 34 ล้านราย สามารถชำระเงินผ่าน QR Code ของ Alipay+ หรือสแกนผ่าน DuitNow QR ที่ร้านค้าในมาเลเซียได้เช่นกัน นับตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง พ.ย.2567 มาเลเซียมีนักท่องเที่ยวมาเยือน 34.15 ล้านคน มาจากสิงคโปร์มากที่สุด 16.84 ล้านคน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 3.71 ล้านคน จีน 3.43 ล้านคน ไทย 2.07 ล้านคน และบรูไน 1.56 ล้านคน ส่วนประเทศไทย ในปี 2567 (ม.ค. ถึง ธ.ค.2567) มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย 4.95 ล้านคน เป็นอันดับสองรองจากจีน 6.73 ล้านคน #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 491 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกมเก็บเหรียญ Jagat น่าสงสัยความเสี่ยงสูง

    Jagat ภาษาอินโดนีเซียแปลว่าจักรวาล ระบุตัวเองว่าเป็นแอปพลิเคชันค้นหาครอบครัวและเพื่อน แต่มีกิจกรรมที่ชื่อว่า Jagat Coin Hunt เปิดให้ทำภารกิจล่าเหรียญเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และเชียงราย โดยนำเหรียญที่จัดทำขึ้นไปซุกซ่อนตามสถานที่ต่างๆ แล้วให้คนที่เล่นเกมไปตามหาเหรียญบนแผนที่ เปิดระบบตั้งแต่เวลา 08.00-24.00 น. เมื่อพบเหรียญจะต้องกรอกรหัสบนเหรียญ ถ่ายคลิปและภาพนิ่งลงในติ๊กต็อกพร้อมแฮชแท็กที่กำหนด จะได้เงินรางวัลตั้งแต่ 500 บาท ถึง 200,000 บาท

    เมื่อมีการโปรโมตเกมผ่านติ๊กต็อก ทำให้วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน รวมทั้งคนที่ทำอาชีพอิสระ เช่น ไรเดอร์ ออกตามหาเหรียญโดยรวมตัวกันในสถานที่ซึ่งถูกบอกใบ้ว่ามีเหรียญซ่อนอยู่จำนวนมาก และบุกรุกพื้นที่ส่วนบุคคลสร้างความเดือดร้อนรำคาญ หรือบางคนรื้อสถานที่สาธารณะทั้งต้นไม้ใบหญ้า งัดฝาท่อ งัดอิฐตัวหนอน งัดเก้าอี้ ทรัพย์สินเสียหาย ที่น่าเป็นห่วงคือเยาวชนต่างโดดเรียนเพื่อตามหาเหรียญโดยไม่บอกผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายต่อสังคม

    แอปพลิเคชัน Jagat พัฒนาโดยบริษัท JAGAT TECHNOLOGY PTE. LTD. จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ ใช้ที่อยู่ในอาคาร OUE Downtown ข้อมูลจาก RocketReach ระบุว่าประธานบริษัทคือ Barry Beagen อยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และซีอีโอคือ Xing Loy อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ มีพนักงานจำนวน 19 คน จากการค้นหาเว็บไซต์ LinkedIn พบว่าพนักงานมีทั้งอยู่ในอินโดนีเซีย ประเทศจีน (เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน) สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แต่ไม่พบว่าจดทะเบียนหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทย

    ที่น่าเป็นห่วงก็คือ จากการนำเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 พบว่าไม่ชอบมาพากลหลายเรื่อง อาทิ การให้เสียเงินจำนวนมากเพื่อบอกคำใบ้ที่ซ่อนเหรียญ เริ่มต้นที่ 149 บาท ถ้าต้องการคำใบ้เพิ่ม ต้องซื้อเพิ่มตั้งแต่ 29 ถึง 300 บาท ซึ่งมีเยาวชนจำนวนมากเสียเงินเพื่อซื้อคำใบ้ ส่วนผู้สื่อข่าวพอพบเหรียญกลับถูกยกเลิกเพราะผู้ดูแลระบบรู้ว่าเป็นผู้สื่อข่าว การเพิ่มเพื่อนที่พบว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลหลายอย่าง อีกฝ่ายสามารถติดตามได้ถ้าเสียเงินสมัครสมาชิก ทั้งการเคลื่อนย้าย พิกัดโลเกชัน การใช้โทรศัพท์ การชาร์จแบตเตอรี แม้กระทั่งการนอนหลับและการตื่นนอน ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับคนที่ประสงค์ร้ายต่อเด็ก

    ล่าสุดพบว่าการโอนเงินรางวัลผ่านทรูวอลเล็ตไม่ใช่บัญชีบริษัท แต่เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีผู้ได้รับเงินรางวัลรายหนึ่ง ไปให้การกับตำรวจไซเบอร์ตามหมายเรียก แล้วถูกผู้ดูแลระบบตัดออกจากเกม

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    เกมเก็บเหรียญ Jagat น่าสงสัยความเสี่ยงสูง Jagat ภาษาอินโดนีเซียแปลว่าจักรวาล ระบุตัวเองว่าเป็นแอปพลิเคชันค้นหาครอบครัวและเพื่อน แต่มีกิจกรรมที่ชื่อว่า Jagat Coin Hunt เปิดให้ทำภารกิจล่าเหรียญเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และเชียงราย โดยนำเหรียญที่จัดทำขึ้นไปซุกซ่อนตามสถานที่ต่างๆ แล้วให้คนที่เล่นเกมไปตามหาเหรียญบนแผนที่ เปิดระบบตั้งแต่เวลา 08.00-24.00 น. เมื่อพบเหรียญจะต้องกรอกรหัสบนเหรียญ ถ่ายคลิปและภาพนิ่งลงในติ๊กต็อกพร้อมแฮชแท็กที่กำหนด จะได้เงินรางวัลตั้งแต่ 500 บาท ถึง 200,000 บาท เมื่อมีการโปรโมตเกมผ่านติ๊กต็อก ทำให้วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน รวมทั้งคนที่ทำอาชีพอิสระ เช่น ไรเดอร์ ออกตามหาเหรียญโดยรวมตัวกันในสถานที่ซึ่งถูกบอกใบ้ว่ามีเหรียญซ่อนอยู่จำนวนมาก และบุกรุกพื้นที่ส่วนบุคคลสร้างความเดือดร้อนรำคาญ หรือบางคนรื้อสถานที่สาธารณะทั้งต้นไม้ใบหญ้า งัดฝาท่อ งัดอิฐตัวหนอน งัดเก้าอี้ ทรัพย์สินเสียหาย ที่น่าเป็นห่วงคือเยาวชนต่างโดดเรียนเพื่อตามหาเหรียญโดยไม่บอกผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายต่อสังคม แอปพลิเคชัน Jagat พัฒนาโดยบริษัท JAGAT TECHNOLOGY PTE. LTD. จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ ใช้ที่อยู่ในอาคาร OUE Downtown ข้อมูลจาก RocketReach ระบุว่าประธานบริษัทคือ Barry Beagen อยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และซีอีโอคือ Xing Loy อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ มีพนักงานจำนวน 19 คน จากการค้นหาเว็บไซต์ LinkedIn พบว่าพนักงานมีทั้งอยู่ในอินโดนีเซีย ประเทศจีน (เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน) สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แต่ไม่พบว่าจดทะเบียนหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทย ที่น่าเป็นห่วงก็คือ จากการนำเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 พบว่าไม่ชอบมาพากลหลายเรื่อง อาทิ การให้เสียเงินจำนวนมากเพื่อบอกคำใบ้ที่ซ่อนเหรียญ เริ่มต้นที่ 149 บาท ถ้าต้องการคำใบ้เพิ่ม ต้องซื้อเพิ่มตั้งแต่ 29 ถึง 300 บาท ซึ่งมีเยาวชนจำนวนมากเสียเงินเพื่อซื้อคำใบ้ ส่วนผู้สื่อข่าวพอพบเหรียญกลับถูกยกเลิกเพราะผู้ดูแลระบบรู้ว่าเป็นผู้สื่อข่าว การเพิ่มเพื่อนที่พบว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลหลายอย่าง อีกฝ่ายสามารถติดตามได้ถ้าเสียเงินสมัครสมาชิก ทั้งการเคลื่อนย้าย พิกัดโลเกชัน การใช้โทรศัพท์ การชาร์จแบตเตอรี แม้กระทั่งการนอนหลับและการตื่นนอน ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับคนที่ประสงค์ร้ายต่อเด็ก ล่าสุดพบว่าการโอนเงินรางวัลผ่านทรูวอลเล็ตไม่ใช่บัญชีบริษัท แต่เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีผู้ได้รับเงินรางวัลรายหนึ่ง ไปให้การกับตำรวจไซเบอร์ตามหมายเรียก แล้วถูกผู้ดูแลระบบตัดออกจากเกม #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 558 มุมมอง 0 รีวิว
  • ญี่ปุ่นปะทะตะวันตก ชิงเครื่องถอนเงินอิสระมาเลเซีย

    ธนาคารเซเว่นแบงก์ ประเทศญี่ปุ่น ธุรกิจทางการเงินในเครือเซเว่น อีเลฟเว่น เริ่มเข้ามาลงทุนในมาเลเซียเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคอาเซียน ต่อจากอินโดนีเซีย ที่ติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสด ATMi ในร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ อัลฟามาร์ท (Alfamart) และอินโดมาเร็ต (Indomaret) ทั่วประเทศกว่า 9,000 แห่ง และฟิลิปปินส์ ที่ติดตั้งเครื่องฝากและถอนเงินสด (Cash Recycling Machines) หรือ CRM ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฟิลิปปินส์ ทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง

    โดยได้นำเครื่อง CRM ที่สามารถฝากและถอนเงินสดได้ในเครื่องเดียวกัน มาให้บริการในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ภายใต้แบรนด์ รีชฟูล (Reachful) คิดค่าบริการถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ เช่นเดียวกับเอทีเอ็ม MEPS ของมาเลเซีย เริ่มต้นติดตั้งเครื่องแรกที่เมืองราวัง รัฐสลังงอร์ และจะติดตั้งจำนวน 100 เครื่องที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐสลังงอร์ รัฐยะโฮร์ และรัฐปีนัง ภายในสิ้นปี 2568 ก่อนขยายไปยังซาบาห์ และซาราวักบนเกาะบอร์เนียว รวมทั้งเขตชานเมืองในปี 2569

    นอกจากร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มาเลเซีย ที่มีจำนวนสาขาทั่วประเทศกว่า 2,600 แห่งแล้ว รีชฟูลยังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน และสถานที่อื่นๆ เพื่อขยายจุดบริการต่อไป

    แม้ว่ามาเลเซียจะเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินไปสู่ระบบดิจิทัลแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากการศึกษาภูมิทัศน์การชำระเงินโดยบริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ในปี 2565 พบว่าชาวมาเลเซีย 78% ชอบชำระเงินด้วยเงินสด โดย 48% ใช้เงินสดทุกวัน และเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเมือง และรายงานของบริษัทอิปซอสส์ (Ipsos) ล่าสุดในปี 2567 พบว่าชาวมาเลเซีย 45% ยังคงพึ่งพาเงินสดเพียงอย่างเดียวในการทำธุรกรรมทางการเงิน

    ก่อนหน้านี้ ยูโรเน็ต เวิล์ดไวด์ (Euronet Worldwide) ผู้ให้บริการโซลูชันทางการเงินและการชำระเงินมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มยูโรเน็ต (Euronet) ตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะเครือข่ายผู้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มอิสระ (IAD) และได้ซื้อกิจการเครื่อง ATM ของ MEPS จำนวน 800 เครื่องจากเพย์เน็ต ทำให้ยูโรเน็ตกลายเป็นผู้ให้บริการเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ธนาคารรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยคิดค่าธรรมเนียมถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ

    สำหรับประเทศไทย แม้ในปี 2566 เคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทในเครือซีพีออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย เคยร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ติดตั้งเครื่อง CDM ให้บริการถอนเงิน โอนเงิน และตัวแทนรับฝากเงิน 100 แห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ญี่ปุ่นปะทะตะวันตก ชิงเครื่องถอนเงินอิสระมาเลเซีย ธนาคารเซเว่นแบงก์ ประเทศญี่ปุ่น ธุรกิจทางการเงินในเครือเซเว่น อีเลฟเว่น เริ่มเข้ามาลงทุนในมาเลเซียเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคอาเซียน ต่อจากอินโดนีเซีย ที่ติดตั้งเครื่องเบิกถอนเงินสด ATMi ในร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ อัลฟามาร์ท (Alfamart) และอินโดมาเร็ต (Indomaret) ทั่วประเทศกว่า 9,000 แห่ง และฟิลิปปินส์ ที่ติดตั้งเครื่องฝากและถอนเงินสด (Cash Recycling Machines) หรือ CRM ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฟิลิปปินส์ ทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง โดยได้นำเครื่อง CRM ที่สามารถฝากและถอนเงินสดได้ในเครื่องเดียวกัน มาให้บริการในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ภายใต้แบรนด์ รีชฟูล (Reachful) คิดค่าบริการถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ เช่นเดียวกับเอทีเอ็ม MEPS ของมาเลเซีย เริ่มต้นติดตั้งเครื่องแรกที่เมืองราวัง รัฐสลังงอร์ และจะติดตั้งจำนวน 100 เครื่องที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐสลังงอร์ รัฐยะโฮร์ และรัฐปีนัง ภายในสิ้นปี 2568 ก่อนขยายไปยังซาบาห์ และซาราวักบนเกาะบอร์เนียว รวมทั้งเขตชานเมืองในปี 2569 นอกจากร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มาเลเซีย ที่มีจำนวนสาขาทั่วประเทศกว่า 2,600 แห่งแล้ว รีชฟูลยังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน และสถานที่อื่นๆ เพื่อขยายจุดบริการต่อไป แม้ว่ามาเลเซียจะเปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินไปสู่ระบบดิจิทัลแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จากการศึกษาภูมิทัศน์การชำระเงินโดยบริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ในปี 2565 พบว่าชาวมาเลเซีย 78% ชอบชำระเงินด้วยเงินสด โดย 48% ใช้เงินสดทุกวัน และเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเมือง และรายงานของบริษัทอิปซอสส์ (Ipsos) ล่าสุดในปี 2567 พบว่าชาวมาเลเซีย 45% ยังคงพึ่งพาเงินสดเพียงอย่างเดียวในการทำธุรกรรมทางการเงิน ก่อนหน้านี้ ยูโรเน็ต เวิล์ดไวด์ (Euronet Worldwide) ผู้ให้บริการโซลูชันทางการเงินและการชำระเงินมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มยูโรเน็ต (Euronet) ตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะเครือข่ายผู้ติดตั้งเครื่องเอทีเอ็มอิสระ (IAD) และได้ซื้อกิจการเครื่อง ATM ของ MEPS จำนวน 800 เครื่องจากเพย์เน็ต ทำให้ยูโรเน็ตกลายเป็นผู้ให้บริการเครื่องเอทีเอ็มที่ไม่ใช่ธนาคารรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยคิดค่าธรรมเนียมถอนเงินสดในประเทศ 1 ริงกิตต่อรายการ สำหรับประเทศไทย แม้ในปี 2566 เคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทในเครือซีพีออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในไทย เคยร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ ติดตั้งเครื่อง CDM ให้บริการถอนเงิน โอนเงิน และตัวแทนรับฝากเงิน 100 แห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 431 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนีตาย 'เมียวดี' ถูกหลอกทำงาน เผ่นข้ามฝั่งไทย
    .
    ปัญหาการหลอกลวงคนไปทำงานจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา ยังคงมีให้เห็นต่อเนื่อง โดยนอกกจากคนไทยที่ถูกหลอกแล้ว ยังมีคนชาติอื่นที่โดนกระทำไม่แพ้กัน ถึงขนาดที่ต้องหนีตามช่องทางธรรมชาติข้ามมาฝั่งไทย โดยหน่วยเฉพาะกิจราชมนู กองกำลังนเรศวร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่สอด ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองตาก และฝ่ายปกครองอำเภอแม่สอด ร่วมกันปฏิบัติการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจตามเส้นทางแนวชายแดน มาถึงบริเวณบ้านวังตะเคียนใต้ ม.7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก พบกลุ่มบุคคลสัญชาติอินโดนีเซีย กำลังเดินลัดเลาะลักลอบข้ามชายแดนจากฝั่งเมียนมาเข้ามาฝั่งไทย 32 ราย แบ่งเป็นชาย 30 คน หญิง 2 คน จึงควบคุมตัวไว้
    .
    โดยสอบสวนเบื้องต้นทั้ง 32 ราย ให้การตรงกันว่า ทำงานอยู่ใน จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา และไม่อยากจะทำงานต่อ จึงแอบลักลอบข้ามมายังฝั่งไทยตามช่องทางธรรมชาติ เพื่อเดินทางกลับประเทศของตน โดยไม่มีพาสปอร์ตเลยสักราย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจเช็กในระบบไบโอเมตริกซ์ ไม่พบการเดินทางเข้าประเทศไทยก่อนหน้านี้ จากนั้นจึงควบคุมตัวส่ง ร.ต.อ.ชัยพงษ์ พาขุนทด รอง สว.สอบสวน สภ.แม่สอด ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
    .
    สำหรับปัจจุบันตลอดแนวริมแม่น้ำเมยฝั่งเมืองเมียวดี เต็มไปด้วยอาคารสิ่งก่อสร้างซึ่งเป็นที่ตั้งของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวจากหน่วยข่าวทางทหารในพื้นที่ เปิดเผยว่า การหลบหนีของกลุ่มคนชาวอินโดนีเซียดังกล่าวเกิดมาจากกรณีที่เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2568 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้นำ กกล.BGF และ DKBA ได้เรียกประชุมด่วน ผู้ประกอบธุรกิจชาวจีน เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การหลอกลวง และการค้ามนุษย์ ในพื้นที่ จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ในประเทศเมียนมา จึงทำให้ผู้ที่เข้าไปทำงานผิดกฎหมายในพื้นที่ดังกล่าวรวมตัวกันหลบนายกมาเพราะอาจถูกกดดันดังกล่าว
    ..............
    Sondhi X
    หนีตาย 'เมียวดี' ถูกหลอกทำงาน เผ่นข้ามฝั่งไทย . ปัญหาการหลอกลวงคนไปทำงานจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา ยังคงมีให้เห็นต่อเนื่อง โดยนอกกจากคนไทยที่ถูกหลอกแล้ว ยังมีคนชาติอื่นที่โดนกระทำไม่แพ้กัน ถึงขนาดที่ต้องหนีตามช่องทางธรรมชาติข้ามมาฝั่งไทย โดยหน่วยเฉพาะกิจราชมนู กองกำลังนเรศวร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่สอด ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองตาก และฝ่ายปกครองอำเภอแม่สอด ร่วมกันปฏิบัติการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจตามเส้นทางแนวชายแดน มาถึงบริเวณบ้านวังตะเคียนใต้ ม.7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก พบกลุ่มบุคคลสัญชาติอินโดนีเซีย กำลังเดินลัดเลาะลักลอบข้ามชายแดนจากฝั่งเมียนมาเข้ามาฝั่งไทย 32 ราย แบ่งเป็นชาย 30 คน หญิง 2 คน จึงควบคุมตัวไว้ . โดยสอบสวนเบื้องต้นทั้ง 32 ราย ให้การตรงกันว่า ทำงานอยู่ใน จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา และไม่อยากจะทำงานต่อ จึงแอบลักลอบข้ามมายังฝั่งไทยตามช่องทางธรรมชาติ เพื่อเดินทางกลับประเทศของตน โดยไม่มีพาสปอร์ตเลยสักราย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจเช็กในระบบไบโอเมตริกซ์ ไม่พบการเดินทางเข้าประเทศไทยก่อนหน้านี้ จากนั้นจึงควบคุมตัวส่ง ร.ต.อ.ชัยพงษ์ พาขุนทด รอง สว.สอบสวน สภ.แม่สอด ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป . สำหรับปัจจุบันตลอดแนวริมแม่น้ำเมยฝั่งเมืองเมียวดี เต็มไปด้วยอาคารสิ่งก่อสร้างซึ่งเป็นที่ตั้งของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวจากหน่วยข่าวทางทหารในพื้นที่ เปิดเผยว่า การหลบหนีของกลุ่มคนชาวอินโดนีเซียดังกล่าวเกิดมาจากกรณีที่เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2568 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้นำ กกล.BGF และ DKBA ได้เรียกประชุมด่วน ผู้ประกอบธุรกิจชาวจีน เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การหลอกลวง และการค้ามนุษย์ ในพื้นที่ จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ในประเทศเมียนมา จึงทำให้ผู้ที่เข้าไปทำงานผิดกฎหมายในพื้นที่ดังกล่าวรวมตัวกันหลบนายกมาเพราะอาจถูกกดดันดังกล่าว .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1002 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิดีโอที่เผยแพร่ออกมานี้แสดงให้เห็นชาวปาเลสไตน์ที่ถูกกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมในเขตพื้นที่ของโรงพยาบาลอินโดนีเซีย(Indonesian hospital) ทางตอนเหนือของกาซา กำลังใช้น้ำเกลือปรุงอาหารท่ามกลางภาวะขาดแคลนน้ำดื่มอย่างรุนแรง

    ตลอดเวลาที่ผ่านมาอิสราเอลถูกวิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการปิดกั้นความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม โดยมีอเมริกาให้ท้ายมาตลอดว่ายังไม่พบหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่กาซา

    วิดีโอนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการโจมตีทำลายของอิสราเอลอีกด้วย
    วิดีโอที่เผยแพร่ออกมานี้แสดงให้เห็นชาวปาเลสไตน์ที่ถูกกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมในเขตพื้นที่ของโรงพยาบาลอินโดนีเซีย(Indonesian hospital) ทางตอนเหนือของกาซา กำลังใช้น้ำเกลือปรุงอาหารท่ามกลางภาวะขาดแคลนน้ำดื่มอย่างรุนแรง ตลอดเวลาที่ผ่านมาอิสราเอลถูกวิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการปิดกั้นความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม โดยมีอเมริกาให้ท้ายมาตลอดว่ายังไม่พบหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่กาซา วิดีโอนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการโจมตีทำลายของอิสราเอลอีกด้วย
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 369 มุมมอง 0 รีวิว
  • 11 มกราคม 2568-รายงานพิเศษของเว็บไซต์ The Structure เกี่ยวกับประเด็นเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย โดยรศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ได้สะท้อนภาพจากเหตุการณ์ลอบสังหาร “ลิม กิมยา”กลางกรุงเทพมหานครว่า เกิดอะไรขึ้น กับประเทศไทย? ‘รศ.ดร.ปณิธาน’ สะท้อนภาพที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ลอบสังหาร ‘ลิม กินยา’ กลางกรุงเทพมหานคร
    On 2025-01-10
    สืบเนื่องจากกรณีการลอบสังหาร ลิม กิมยา อดีต สส. พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกลอบยิงที่บริเวณเกาะกลางถนน วงเวียนสิบสามห้าง ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ในช่วงค่ำของวันที่ 7 ม.ค. 2568

    ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย สามารถระบุตัวคนร้ายจนพบว่าเป็นจ่าเอ็ม-เอกลักษณ์ แพน้อย อดีตทหารนาวิกโยธินของไทย ซึ่งถูกให้ออกจากราชการไปตั้งแต่ปี 2566 แล้ว และสามารถตามจับตัวจ่าเอ็มได้ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในช่วงค่ำวันที่ 8 ม.ค. 2568

    และในเวลานี้ จ่าเอ็มยังอยู่ในระหว่างการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนของทางการกัมพูชา เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาจะมีการดำเนินคดีกับจ่าเอ็มในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก่อน

    รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ได้กล่าวว่ากรณีนี้นั้น สะท้อนให้เห็นว่าได้เกิดช่องว่าง หรืออุปสรรค์ในการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคงของไทย ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ตำรวจสันติบาล, ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ, สำนักข่าวกรอง หรือแม้แต่สภาความมั่นคงเอง

    ที่อาจจะต้องทำงานให้สอดประสานกันเพื่อการกำหนดแนวทางการคุ้มกันบุคคลสำคัญ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีการกำหนดหลักปฎิบัติ หรือระเบียบปฎิบัติประจำ (รปจ.) อยู่แล้ว

    แต่สำหรับกรณีนี้ ถึงแม้ว่าตัวผู้ถูกลอบสังหารจะไม่ได้ทำการร้องขอการคุ้มกันจากฝ่ายไทย จึงทำให้การจัดชุดรักษาความปลอดภัยนั้นอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ แต่ในเมื่อพิจารณาดูแล้วว่า ลิม กินยานั้นเป็นเป้าหมายสำคัญที่อาจจะถูกคุกคาม จนมีความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจส่งชุดรักษาความปลอดภัยไปดูแลลิม กินยา ตั้งแต่เข้าเมือง หรืออาจจะปฎิเสธการให้เข้าเมืองตั้งแต่แรกเลยก็ทำได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าอาจจะคุ้มครองเขาไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น

    ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทางการไทยนั้นมีประสบการณ์ในการให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญจากประเทศเพื่อนบ้านมามากพอสมควร ไม่ว่าจะจากลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย และเมียนมา ไทยก็เคยให้การดูแลคุ้มกันมาแล้ว

    ทางการไทยจะต้องมีการดำเนินการเพื่อการป้องกันเหตุการณ์ที่จะสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย ว่าเป็นพื้นที่สังหารบุคคลสำคัญ, ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว หรือมีการซ่องสุมกองกำลังติดอาวุธต่าง ๆ โดยมีการใช้คนไทยเข้ามาเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติการหลายอย่าง ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญที่จะต้องดูแลกันให้ดี

    สำหรับแนวทางในการนำตัวจ่าเอ็ม ผู้ก่อเหตุกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่

    1 การดำเนินการตามช่องทางปกติ โดยจะต้องมีการดำเนินคดีในฝั่งกัมพูชาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยจะมีการพิจารณาลงโทษ-ลดโทษ-อภัยโทษ แล้วส่งคืนมายังไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน

    ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่อาจจะมีการกล่าวโทษในคดีอื่นเพิ่มเช่น พกพาอาวุธ และความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามแดน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานานและสร้างความคลุมเครือ

    2 การดำเนินการในช่องทางพิเศษ ด้วยวิธีต่างตอบแทน โดยการแลกตัว หรือร้องขอให้ทางกัมพูชาส่งตัวผู้ก่อเหตุให้มาถูกดำเนินคดีในไทยได้อย่างรวดเร็ว แต่กรณีนี้จะต้องระมัดระวังว่าจะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และต้องพิจารณาความตั้งใจจริงของฝ่ายกัมพูชาด้วย เพราะว่าเรื่องนี้นั้นจะเป็นการสะท้อนถึงระดับความสัมพันธ์ หรือเรื่องราวมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด

    แต่ทั้งนี้นั้น ควรจะต้องมีการดำเนินการผ่านกลไกของอาเซียน และตำรวจสากล ที่มีข้อตกลงที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นทางการ แทนการใช้ระบบต่างตอบแทน เพื่อป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือห่างเหินระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศในบางสมัย ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ผ่านทางอาเซียน

    สำหรับคำถามที่ว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการคุ้มครองผู้เห็นต่างทางการเมืองจากประเทศอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยหรือไม่ รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่า ในบางช่วงประเทศไทยก็มีขีดความสามารถในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี

    ไทยเคยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศได้หลายครั้ง อย่างกรณี “ฮัม บาลี” ผู้ก่อเหตุวางระเบิดในอินโดนีเซีย หรือกรณีของ วิกเตอร์ บุช ผู้ค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย และมีการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางได้ และได้รับความชื่นชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก

    อีกทั้งยังเคยสามารถสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มบุคคลต้องสงสัยเข้าประเทศ อย่างเช่นกลุ่มจากประเทศเกาหลีเหนือ และกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อกว่า 30 กลุ่ม ซึ่งบางครั้งเราก็ทำได้ดี แต่บางครั้งเราก็มีปัญหา ซึ่งในภาพรวมแล้วเราควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก และกรณีนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก

    สำหรับกรณีที่พรรคฝ่ายค้านของกัมพูชากล่าวหาฮุน เซน อดีตนายกฯ กัมพูชาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่าเรื่องนี้นั้นถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ที่จะต้องมีการพิสูจน์ทราบกันให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการกระทบในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

    แต่ทั้งนี้การที่ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านกล่าวหาพุ่งเป้าใส่กัน โดยมีการดึงประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อีกทั้งตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาได้ทำเรื่องร้องขอให้มีการส่งตัวนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา เช่น สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชากลับ ซึ่งก็มีทั้งกรณีที่ทางการไทยส่งตัวกลับ และไม่ส่งตัวกลับ

    ดังนั้นเรื่องนี้นั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และหน่วยงานราชการไทย และฝ่ายความมั่นคงนั้นมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี

    แต่ทั้งนี้ไทยต้องดำเนินการป้องกันให้มากกว่านี้ เพื่อการป้องกันไม่ให้ไทยถูกดึงเข้าไปอยู่ในวงความขัดแย้ง ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชาเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับลาว, เมียนมา และมาเลเซียด้วย

    นอกจากนี้ ทางการไทยเองก็มีการดำเนินการขอตัวแกนนำสั่งการต่าง ๆ ที่อยู่ในมาเลเซีย มาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางกรณีมีการเสียชีวิตในระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับประเทศไทยไปมากกว่านี้

    สำหรับการสืบสาวหาต้นตอ/ขบวนการ/ผู้จ้างวาน ให้มีการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากนัก เพราะทราบมาว่าฝ่ายนั้นมีการดำเนินการสื่อสารผ่านระบบสมัยใหม่ ซึ่งทางเราสามารถดักจับ และบันทึกอยู่ในฐานข้อมูลของเรา

    ดังนั้นการดำเนินการสืบค้นเพื่อเอาหลักฐานเหล่านั้นมาพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นก็คงไม่ยากเท่าไรนัก แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย

    อย่างไรก็ดี การที่ลิม กินยานั้น เป็นผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วยนั้น ทำให้ฝรั่งเศส, สหภาพยุโรป และนานาชาติต่างก็จับตาดูกรณีนี้เป็นพิเศษ และก็คงจะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภรรยาของลิม กินยา ซึ่งถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วย และอาจจะเข้ามาร่วมประสานงานกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เรื่องราวมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

    (ทางการฝรั่งเศสได้ประกาศว่าจะมีการติดตามการสืบสวนของฝ่ายไทยอย่างใกล้ชิด เมื่อวานนี้)

    ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงต่างประเทศจะต้องมีการตั้งชุดทำงานขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบมากไปกว่านี้ และในขณะนี้เกิดความแปรปรวนขึ้นพอสมควร เนื่องจากเกิดความเชื่อหลายอย่างขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง
    11 มกราคม 2568-รายงานพิเศษของเว็บไซต์ The Structure เกี่ยวกับประเด็นเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย โดยรศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ได้สะท้อนภาพจากเหตุการณ์ลอบสังหาร “ลิม กิมยา”กลางกรุงเทพมหานครว่า เกิดอะไรขึ้น กับประเทศไทย? ‘รศ.ดร.ปณิธาน’ สะท้อนภาพที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ลอบสังหาร ‘ลิม กินยา’ กลางกรุงเทพมหานคร On 2025-01-10 สืบเนื่องจากกรณีการลอบสังหาร ลิม กิมยา อดีต สส. พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกลอบยิงที่บริเวณเกาะกลางถนน วงเวียนสิบสามห้าง ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ในช่วงค่ำของวันที่ 7 ม.ค. 2568 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย สามารถระบุตัวคนร้ายจนพบว่าเป็นจ่าเอ็ม-เอกลักษณ์ แพน้อย อดีตทหารนาวิกโยธินของไทย ซึ่งถูกให้ออกจากราชการไปตั้งแต่ปี 2566 แล้ว และสามารถตามจับตัวจ่าเอ็มได้ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในช่วงค่ำวันที่ 8 ม.ค. 2568 และในเวลานี้ จ่าเอ็มยังอยู่ในระหว่างการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนของทางการกัมพูชา เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาจะมีการดำเนินคดีกับจ่าเอ็มในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก่อน รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ได้กล่าวว่ากรณีนี้นั้น สะท้อนให้เห็นว่าได้เกิดช่องว่าง หรืออุปสรรค์ในการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคงของไทย ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ตำรวจสันติบาล, ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ, สำนักข่าวกรอง หรือแม้แต่สภาความมั่นคงเอง ที่อาจจะต้องทำงานให้สอดประสานกันเพื่อการกำหนดแนวทางการคุ้มกันบุคคลสำคัญ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีการกำหนดหลักปฎิบัติ หรือระเบียบปฎิบัติประจำ (รปจ.) อยู่แล้ว แต่สำหรับกรณีนี้ ถึงแม้ว่าตัวผู้ถูกลอบสังหารจะไม่ได้ทำการร้องขอการคุ้มกันจากฝ่ายไทย จึงทำให้การจัดชุดรักษาความปลอดภัยนั้นอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ แต่ในเมื่อพิจารณาดูแล้วว่า ลิม กินยานั้นเป็นเป้าหมายสำคัญที่อาจจะถูกคุกคาม จนมีความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจส่งชุดรักษาความปลอดภัยไปดูแลลิม กินยา ตั้งแต่เข้าเมือง หรืออาจจะปฎิเสธการให้เข้าเมืองตั้งแต่แรกเลยก็ทำได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าอาจจะคุ้มครองเขาไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทางการไทยนั้นมีประสบการณ์ในการให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญจากประเทศเพื่อนบ้านมามากพอสมควร ไม่ว่าจะจากลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย และเมียนมา ไทยก็เคยให้การดูแลคุ้มกันมาแล้ว ทางการไทยจะต้องมีการดำเนินการเพื่อการป้องกันเหตุการณ์ที่จะสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย ว่าเป็นพื้นที่สังหารบุคคลสำคัญ, ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว หรือมีการซ่องสุมกองกำลังติดอาวุธต่าง ๆ โดยมีการใช้คนไทยเข้ามาเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติการหลายอย่าง ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญที่จะต้องดูแลกันให้ดี สำหรับแนวทางในการนำตัวจ่าเอ็ม ผู้ก่อเหตุกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่ 1 การดำเนินการตามช่องทางปกติ โดยจะต้องมีการดำเนินคดีในฝั่งกัมพูชาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยจะมีการพิจารณาลงโทษ-ลดโทษ-อภัยโทษ แล้วส่งคืนมายังไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่อาจจะมีการกล่าวโทษในคดีอื่นเพิ่มเช่น พกพาอาวุธ และความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามแดน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานานและสร้างความคลุมเครือ 2 การดำเนินการในช่องทางพิเศษ ด้วยวิธีต่างตอบแทน โดยการแลกตัว หรือร้องขอให้ทางกัมพูชาส่งตัวผู้ก่อเหตุให้มาถูกดำเนินคดีในไทยได้อย่างรวดเร็ว แต่กรณีนี้จะต้องระมัดระวังว่าจะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และต้องพิจารณาความตั้งใจจริงของฝ่ายกัมพูชาด้วย เพราะว่าเรื่องนี้นั้นจะเป็นการสะท้อนถึงระดับความสัมพันธ์ หรือเรื่องราวมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้นั้น ควรจะต้องมีการดำเนินการผ่านกลไกของอาเซียน และตำรวจสากล ที่มีข้อตกลงที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นทางการ แทนการใช้ระบบต่างตอบแทน เพื่อป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือห่างเหินระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศในบางสมัย ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ผ่านทางอาเซียน สำหรับคำถามที่ว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการคุ้มครองผู้เห็นต่างทางการเมืองจากประเทศอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยหรือไม่ รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่า ในบางช่วงประเทศไทยก็มีขีดความสามารถในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี ไทยเคยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศได้หลายครั้ง อย่างกรณี “ฮัม บาลี” ผู้ก่อเหตุวางระเบิดในอินโดนีเซีย หรือกรณีของ วิกเตอร์ บุช ผู้ค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย และมีการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางได้ และได้รับความชื่นชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเคยสามารถสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มบุคคลต้องสงสัยเข้าประเทศ อย่างเช่นกลุ่มจากประเทศเกาหลีเหนือ และกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อกว่า 30 กลุ่ม ซึ่งบางครั้งเราก็ทำได้ดี แต่บางครั้งเราก็มีปัญหา ซึ่งในภาพรวมแล้วเราควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก และกรณีนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก สำหรับกรณีที่พรรคฝ่ายค้านของกัมพูชากล่าวหาฮุน เซน อดีตนายกฯ กัมพูชาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่าเรื่องนี้นั้นถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ที่จะต้องมีการพิสูจน์ทราบกันให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการกระทบในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ทั้งนี้การที่ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านกล่าวหาพุ่งเป้าใส่กัน โดยมีการดึงประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อีกทั้งตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาได้ทำเรื่องร้องขอให้มีการส่งตัวนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา เช่น สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชากลับ ซึ่งก็มีทั้งกรณีที่ทางการไทยส่งตัวกลับ และไม่ส่งตัวกลับ ดังนั้นเรื่องนี้นั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และหน่วยงานราชการไทย และฝ่ายความมั่นคงนั้นมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ไทยต้องดำเนินการป้องกันให้มากกว่านี้ เพื่อการป้องกันไม่ให้ไทยถูกดึงเข้าไปอยู่ในวงความขัดแย้ง ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชาเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับลาว, เมียนมา และมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ทางการไทยเองก็มีการดำเนินการขอตัวแกนนำสั่งการต่าง ๆ ที่อยู่ในมาเลเซีย มาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางกรณีมีการเสียชีวิตในระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับประเทศไทยไปมากกว่านี้ สำหรับการสืบสาวหาต้นตอ/ขบวนการ/ผู้จ้างวาน ให้มีการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากนัก เพราะทราบมาว่าฝ่ายนั้นมีการดำเนินการสื่อสารผ่านระบบสมัยใหม่ ซึ่งทางเราสามารถดักจับ และบันทึกอยู่ในฐานข้อมูลของเรา ดังนั้นการดำเนินการสืบค้นเพื่อเอาหลักฐานเหล่านั้นมาพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นก็คงไม่ยากเท่าไรนัก แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย อย่างไรก็ดี การที่ลิม กินยานั้น เป็นผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วยนั้น ทำให้ฝรั่งเศส, สหภาพยุโรป และนานาชาติต่างก็จับตาดูกรณีนี้เป็นพิเศษ และก็คงจะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภรรยาของลิม กินยา ซึ่งถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วย และอาจจะเข้ามาร่วมประสานงานกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เรื่องราวมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น (ทางการฝรั่งเศสได้ประกาศว่าจะมีการติดตามการสืบสวนของฝ่ายไทยอย่างใกล้ชิด เมื่อวานนี้) ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงต่างประเทศจะต้องมีการตั้งชุดทำงานขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบมากไปกว่านี้ และในขณะนี้เกิดความแปรปรวนขึ้นพอสมควร เนื่องจากเกิดความเชื่อหลายอย่างขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 780 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโดนีเซีย ชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการแล้ว จากคำแถลงของบราซิล ประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปัจจุบัน
    .
    BRICS ก่อตั้งในปี 2009 โดย บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ก่อน แอฟริกาใต้ เข้าร่วมในอีก 2 ปีต่อมา แม้เบื้องต้นทางกลุ่มถูกมองในฐานะแพลตฟอร์มหนึ่งๆ เพื่อการลงทุนร่วมกันและรับประกันเสถียรภาพทางการเงิน แต่มันค่อยๆพัฒนาสู่ฟอรัมหนึ่งๆที่มีวาระต่างๆกว้างขวางกว่าเดิม ในนั้นรวมถึงประเด็นด้านความมั่นคง
    .
    การเสนอตัวเข้าร่วมกลุ่มของอินโดนีเซีย ได้รับการรับรองจากพวกผู้นำกลุ่ม BRICS ย้อนกลับไปมาตั้งแต่ปี 2023 แต่ประเทศที่มีประชากรมากกว่า 270 ล้านคนแห่งนี้ เลือกที่จะเข้าร่วมกลุ่ม หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อปีที่แล้ว
    .
    "ด้วยจำนวนประชากรและเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียจะมีส่วนร่วมกับสมาชิกชาติอื่นๆของกลุ่ม ในการสนัสนุนการปฏิรูปธรรมาภิบาลสถาบันต่างๆของโลก และส่งเสริมในแง่บวกต่อการกระชับความร่วมมือแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในซีกโลกใต้" รัฐบาลบราซิลระบุในถ้อยแถลง
    .
    เมื่อปีที่แล้ว ทางกลุ่มได้ขยายขอบเขต อ้าแขนต้อนรับประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ในนั้นรวมถึง อิหร่าน เอธิโอเปีย อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในฐานะสมาชิกเต็มขั้น ส่วนประเะทศอื่นๆอาทิ เบลารุส โบลิเวีย คาซัคสถาน ไทย คิวบา ยูกันดา มาเลเซียและอุซเบกิสถาน มีรายชื่ออยู่ในประเทศที่ได้รับคาดหมายว่าจะก้าวมาเป็นรัฐคู่หูของ BRICS อย่างเป็นทางการในปีนี้
    .
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกกว่า 20 ประเทศ ที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS เช่นกัน จากคำกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย ในขณะที่มอสโกเพิ่งดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปี 2024 ที่ผ่านมา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001577
    ..............
    Sondhi X
    อินโดนีเซีย ชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการแล้ว จากคำแถลงของบราซิล ประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปัจจุบัน . BRICS ก่อตั้งในปี 2009 โดย บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ก่อน แอฟริกาใต้ เข้าร่วมในอีก 2 ปีต่อมา แม้เบื้องต้นทางกลุ่มถูกมองในฐานะแพลตฟอร์มหนึ่งๆ เพื่อการลงทุนร่วมกันและรับประกันเสถียรภาพทางการเงิน แต่มันค่อยๆพัฒนาสู่ฟอรัมหนึ่งๆที่มีวาระต่างๆกว้างขวางกว่าเดิม ในนั้นรวมถึงประเด็นด้านความมั่นคง . การเสนอตัวเข้าร่วมกลุ่มของอินโดนีเซีย ได้รับการรับรองจากพวกผู้นำกลุ่ม BRICS ย้อนกลับไปมาตั้งแต่ปี 2023 แต่ประเทศที่มีประชากรมากกว่า 270 ล้านคนแห่งนี้ เลือกที่จะเข้าร่วมกลุ่ม หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อปีที่แล้ว . "ด้วยจำนวนประชากรและเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียจะมีส่วนร่วมกับสมาชิกชาติอื่นๆของกลุ่ม ในการสนัสนุนการปฏิรูปธรรมาภิบาลสถาบันต่างๆของโลก และส่งเสริมในแง่บวกต่อการกระชับความร่วมมือแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในซีกโลกใต้" รัฐบาลบราซิลระบุในถ้อยแถลง . เมื่อปีที่แล้ว ทางกลุ่มได้ขยายขอบเขต อ้าแขนต้อนรับประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ในนั้นรวมถึง อิหร่าน เอธิโอเปีย อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในฐานะสมาชิกเต็มขั้น ส่วนประเะทศอื่นๆอาทิ เบลารุส โบลิเวีย คาซัคสถาน ไทย คิวบา ยูกันดา มาเลเซียและอุซเบกิสถาน มีรายชื่ออยู่ในประเทศที่ได้รับคาดหมายว่าจะก้าวมาเป็นรัฐคู่หูของ BRICS อย่างเป็นทางการในปีนี้ . นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกกว่า 20 ประเทศ ที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS เช่นกัน จากคำกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย ในขณะที่มอสโกเพิ่งดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของทางกลุ่มในปี 2024 ที่ผ่านมา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001577 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1062 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโดนีเซียเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ในฐานะสมาชิกเต็มตัว (Full Member)

    รัฐบาลบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ในปี 2025 เพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการว่าอินโดนีเซียได้กลายเป็นสมาชิกเต็มตัวของกลุ่ม BRICS แล้ว หลังจากได้รับการอนุมัติในเบื้องต้นที่การประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ในปี 2023 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งจะทำให้กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ให้ขยายตัวมากขึ้น

    อินโดนีเซีย มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ BRICS และส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มที่เรียกว่า Global South

    จีนยังได้แสดงความยินดีโดยระบุว่าอินโดนีเซียมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการ BRICS Plus และสอดคล้องกับจิตวิญญาณของ BRICS ในด้านพหุภาคีและการพัฒนาร่วมกัน

    อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกเต็มตัว (Full Member) ที่ได้รับการอนุมัติตามหลังอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

    ในเดือนธันวาคม BRICS ได้ประกาศให้ เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน มาเลเซีย ไทย ยูกันดา และอุซเบกิสถานจะเข้าร่วมกลุ่มในฐานะประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ( partner countries)

    อินโดนีเซียเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ในฐานะสมาชิกเต็มตัว (Full Member) รัฐบาลบราซิลในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ในปี 2025 เพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการว่าอินโดนีเซียได้กลายเป็นสมาชิกเต็มตัวของกลุ่ม BRICS แล้ว หลังจากได้รับการอนุมัติในเบื้องต้นที่การประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ในปี 2023 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งจะทำให้กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ให้ขยายตัวมากขึ้น อินโดนีเซีย มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ BRICS และส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มที่เรียกว่า Global South จีนยังได้แสดงความยินดีโดยระบุว่าอินโดนีเซียมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการ BRICS Plus และสอดคล้องกับจิตวิญญาณของ BRICS ในด้านพหุภาคีและการพัฒนาร่วมกัน อินโดนีเซีย เป็นสมาชิกเต็มตัว (Full Member) ที่ได้รับการอนุมัติตามหลังอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในเดือนธันวาคม BRICS ได้ประกาศให้ เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน มาเลเซีย ไทย ยูกันดา และอุซเบกิสถานจะเข้าร่วมกลุ่มในฐานะประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ( partner countries)
    Wow
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 321 มุมมอง 0 รีวิว
  • โรงพยาบาลในอินโดนีเซีย (Indonesian Hospital) ในกาซาตอนเหนือหยุดให้บริการอย่างถาวร หลังจากถูกอิสราเอลโจมตีอย่างหนักมาตลอดหลายวัน
    กระทรวงสาธารณสุขของกาซารายงาน
    โรงพยาบาลในอินโดนีเซีย (Indonesian Hospital) ในกาซาตอนเหนือหยุดให้บริการอย่างถาวร หลังจากถูกอิสราเอลโจมตีอย่างหนักมาตลอดหลายวัน กระทรวงสาธารณสุขของกาซารายงาน
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 278 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักวิชาการสายโปรอเมริกา ไม่อยากให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก BRICS:

    เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการสายโปรอเมริกาที่จะต้องเข้าข้างอเมริกาครับ มี ๓ ประเด็นที่ควรพิจารณา

    ๑.ปรากฎการณ์ deglobalisation ก็ดี ปรากฎการณ์ dedollarisation ก็ดี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระแสหลังจากการที่ผู้นำหลายชาติที่สร้างกลุ่ม BRICS ขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและจีนพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยตรง แล้วพาชาวโลกที่เป็นสมาชิกหันไปเน้น localisation และ local currencies แทนทั้งนี้เพื่อลดการเป็นศูนย์กลางโลกของอเมริกาและอิทธิพลของกลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ที่บงการโลกใบนี้ผ่านรัฐบาลอเมริกาอย่างไม่เป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา

    ๒.จริงอยู่แม้ว่าไทยจะได้ดุลย์การค้าจากอเมริกาและอียูบางประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าอเมริกาและอียูสามารถใช้ข้ออ้างเท็จ เช่น 'การละเมิดสิทธิมนุษยชน' 'รัฐบาลไทยเผด็จการ' หรือ 'การไร้เสรีภาพสื่อ' มาเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทย ด้วยวิธีต่างๆ อาทิ ไม่นำเข้าอาหารทะเลจากไทย เป็นต้นได้

    ด้วยเหตุนี้ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ทำให้ประเทศไทยยังสามารถมีเอกราชในด้านนโยบายต่างประเทศและสามารถหาตลาดใหม่ๆ มารองรับ พร้อมทั้งลดผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากอเมริกาและอียูอย่างไม่เป็นธรรมได้

    ๓.ทรรศนคติของอาจารย์คนนี้หากรัฐบาลไทยหลงเชื่อตามจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นทาสของอเมริกาและอียูในเชิงนโยบายไปตลอด ผลก็คือแม้จะถูกอเมริกาและอียูคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยก็จะต้องก้มหน้าก้มตายอมรับต่อไปโดยไม่มีทางเลือกให้นั่นเองครับ
    ---------------------------------------------------------
    อาจารย์อธิบายว่า วันนี้เรามีคำใหม่คือ “ภาวะถดถอยของโลกาภิวัตน์” หรือ “ภาวะที่โลกาภิวัตน์ถูกหยุด” (Deglobalization) ซึ่งสิ่งที่จะตามมาแน่ๆ คือผลกระทบกับ “ห่วงโซ่อุปทาน” (Supply Chain) ทั่วโลก
    โจทย์ตรงนี้อาจจะต้องคิดต่อว่า ไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนี้ เราจะจัดวางตัวเองอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้
    การเข้าเป็นสมาชิก BRICS และ OECD ไม่ใช่ทางเลือกของไทยในช่วงที่สงครามการค้าระลอกใหม่เตรียมปะทุและโลกาภิวัตน์กำลังถดถอย เพราะตลาดของไทยไม่ได้อยู่กับจีนและรัสเซีย แต่ผลประโยชน์ของไทยในทางเศรษฐกิจอยู่กับสหรัฐและสหภาพยุโรป BRICS จึงไม่ใช่คำตอบ และไทยไม่สามารถเล่นบทแบบอินโดนีเซีย อินเดีย หรือแอฟริกาใต้ได้ เพราะไทย “มีต้นทุนต่ำ” คือสถานะทางเศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) ของไทยบนเวทีโลกอยู่ในระดับที่ใช้เป็นข้อต่อรองได้ไม่มากนัก การเข้าร่วมกลุ่มกับโลกใต้ (Global South) อาจไม่ได้ตอบโจทย์อย่างที่คิด

    https://www.facebook.com/share/p/fVsomH5u1mcYVkPJ/



    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    นักวิชาการสายโปรอเมริกา ไม่อยากให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก BRICS: เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการสายโปรอเมริกาที่จะต้องเข้าข้างอเมริกาครับ มี ๓ ประเด็นที่ควรพิจารณา ๑.ปรากฎการณ์ deglobalisation ก็ดี ปรากฎการณ์ dedollarisation ก็ดี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระแสหลังจากการที่ผู้นำหลายชาติที่สร้างกลุ่ม BRICS ขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและจีนพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยตรง แล้วพาชาวโลกที่เป็นสมาชิกหันไปเน้น localisation และ local currencies แทนทั้งนี้เพื่อลดการเป็นศูนย์กลางโลกของอเมริกาและอิทธิพลของกลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ที่บงการโลกใบนี้ผ่านรัฐบาลอเมริกาอย่างไม่เป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา ๒.จริงอยู่แม้ว่าไทยจะได้ดุลย์การค้าจากอเมริกาและอียูบางประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าอเมริกาและอียูสามารถใช้ข้ออ้างเท็จ เช่น 'การละเมิดสิทธิมนุษยชน' 'รัฐบาลไทยเผด็จการ' หรือ 'การไร้เสรีภาพสื่อ' มาเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของไทย ด้วยวิธีต่างๆ อาทิ ไม่นำเข้าอาหารทะเลจากไทย เป็นต้นได้ ด้วยเหตุนี้ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ทำให้ประเทศไทยยังสามารถมีเอกราชในด้านนโยบายต่างประเทศและสามารถหาตลาดใหม่ๆ มารองรับ พร้อมทั้งลดผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากอเมริกาและอียูอย่างไม่เป็นธรรมได้ ๓.ทรรศนคติของอาจารย์คนนี้หากรัฐบาลไทยหลงเชื่อตามจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นทาสของอเมริกาและอียูในเชิงนโยบายไปตลอด ผลก็คือแม้จะถูกอเมริกาและอียูคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างไร ประเทศไทยก็จะต้องก้มหน้าก้มตายอมรับต่อไปโดยไม่มีทางเลือกให้นั่นเองครับ --------------------------------------------------------- อาจารย์อธิบายว่า วันนี้เรามีคำใหม่คือ “ภาวะถดถอยของโลกาภิวัตน์” หรือ “ภาวะที่โลกาภิวัตน์ถูกหยุด” (Deglobalization) ซึ่งสิ่งที่จะตามมาแน่ๆ คือผลกระทบกับ “ห่วงโซ่อุปทาน” (Supply Chain) ทั่วโลก โจทย์ตรงนี้อาจจะต้องคิดต่อว่า ไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนี้ เราจะจัดวางตัวเองอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ การเข้าเป็นสมาชิก BRICS และ OECD ไม่ใช่ทางเลือกของไทยในช่วงที่สงครามการค้าระลอกใหม่เตรียมปะทุและโลกาภิวัตน์กำลังถดถอย เพราะตลาดของไทยไม่ได้อยู่กับจีนและรัสเซีย แต่ผลประโยชน์ของไทยในทางเศรษฐกิจอยู่กับสหรัฐและสหภาพยุโรป BRICS จึงไม่ใช่คำตอบ และไทยไม่สามารถเล่นบทแบบอินโดนีเซีย อินเดีย หรือแอฟริกาใต้ได้ เพราะไทย “มีต้นทุนต่ำ” คือสถานะทางเศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) ของไทยบนเวทีโลกอยู่ในระดับที่ใช้เป็นข้อต่อรองได้ไม่มากนัก การเข้าร่วมกลุ่มกับโลกใต้ (Global South) อาจไม่ได้ตอบโจทย์อย่างที่คิด https://www.facebook.com/share/p/fVsomH5u1mcYVkPJ/ ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 507 มุมมอง 0 รีวิว
  • ๙ ประเทศใหม่ จะเข้าร่วม BRICS อย่างเป็นทางการในฐานะประเทศพันธมิตร (ไม่ใช่สมาชิกเต็มตัว) ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๐๒๕

    🇧🇾 เบลารุส
    🇧🇴 โบลิเวีย
    🇨🇺 คิวบา
    🇮🇩 อินโดนีเซีย
    🇰🇿 คาซัคสถาน
    🇲🇾 มาเลเซีย
    🇹🇭 ไทยแลนด์
    🇺🇬 ยูกันดา
    🇺🇿 อุซเบกิสถาน
    .
    9 new countries will officially join BRICS as partner countries (not full members) on January 1, 2025.

    🇧🇾 Belarus
    🇧🇴 Bolivia
    🇨🇺 Cuba
    🇮🇩 Indonesia
    🇰🇿 Kazakhstan
    🇲🇾 Malaysia
    🇹🇭 Thailand
    🇺🇬 Uganda
    🇺🇿 Uzbekistan
    .
    10:12 PM · Dec 27, 2024 · 143.7K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1872661897738420346
    ๙ ประเทศใหม่ จะเข้าร่วม BRICS อย่างเป็นทางการในฐานะประเทศพันธมิตร (ไม่ใช่สมาชิกเต็มตัว) ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๐๒๕ 🇧🇾 เบลารุส 🇧🇴 โบลิเวีย 🇨🇺 คิวบา 🇮🇩 อินโดนีเซีย 🇰🇿 คาซัคสถาน 🇲🇾 มาเลเซีย 🇹🇭 ไทยแลนด์ 🇺🇬 ยูกันดา 🇺🇿 อุซเบกิสถาน . 9 new countries will officially join BRICS as partner countries (not full members) on January 1, 2025. 🇧🇾 Belarus 🇧🇴 Bolivia 🇨🇺 Cuba 🇮🇩 Indonesia 🇰🇿 Kazakhstan 🇲🇾 Malaysia 🇹🇭 Thailand 🇺🇬 Uganda 🇺🇿 Uzbekistan . 10:12 PM · Dec 27, 2024 · 143.7K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1872661897738420346
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 534 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9 ประเทศจะเข้าร่วมกับ BRICS อย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ในฐานะรัฐพันธมิตร จากการเปิดเผยของ ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซีย พร้อมระบุกลุ่มเศรษฐกิจแห่งนี้เปิดกว้างสำหรับเหล่าคู่หูที่มีความคิดแบบเดียวกัน
    .
    สถานะใหม่ "ประเทศพันธมิตร" ได้รับความเห็นชอบ ณ ที่ประชุมซัมมิต BRICS ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย โดยมันมีเจตนาเพื่อเป็นทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการเป็นสมาชิก หลังจากมีมากกว่า 30 ประเทศ ที่สมัครเข้าร่วมองค์กรแก่งนี้
    .
    ทั้งนี้ สถานะดังกล่าวเปิดทางสำหรับการเข้าร่วมอย่างถาวรในประชุมวาระพิเศษต่างๆ ของที่ประชุมซัมมิตกลุ่ม BRICS และที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม เช่นเดียวกับกิจกรรมระดับสูงอื่นๆ นอกจากนี้ เหล่าพันธมิตรยังสามารถมีส่วนช่วยสนับสนุนเอกสารต่างๆ ที่คลอดออกมาจากทางกลุ่มอีกด้วย
    .
    ระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ (23 ธ.ค.) อูชาคอฟ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเห็นชอบ "สถานะรัฐพันธมิตร" โดยบอกว่าเบลารุส โบลิเวีย อินโดนีเซีย คาซัคสถาน ไทย คิวบา ยูกันดา มาเลเซีย และอุซเบกิสถาน จะก้าวมาเป็นพันธมิตรของ BRICS อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นไป และคาดหมายว่าจะมีการยืนยันประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมอีก 4 ชาติ ที่ได้รับเชิญให้เข้ามาเป็นรัฐพันธมิตรเช่นกันในอนาคตอันใกล้นี้
    .
    แรกเริ่ม BRICS ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ทางกลุ่มได้ขยายขอบเขตอ้าแขนรับอียิปต์ อิหร่าน เอธิโอเปีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในปีนี้
    .
    อูชาคอฟ อ้างอิงคำบอกกล่าวของเหล่าตัวแทนจากริยาด ว่าซาอุดีอาระเบียพักกระบวนการเข้าร่วมกลุ่ม BRICS เนื่องจากขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นภายในประเทศ สำหรับการก้าวมาเป็นสมาชิกเต็มขั้นนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์
    .
    ผู้ช่วยวังเครมลินรายนี้เผยด้วยว่าได้รับใบสมัครจาก 35 ชาติ สำหรับขอเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ไม่ว่าสถานะใดสถานะหนึ่ง ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตในคาซาน "บางประเทศต้องการได้รับการเข้าร่วมอย่างเต็มขั้นในทันที ส่วนประเทศอื่่นๆ ต้องการเข้าร่วมเป็นรายกิจกรรมในฐานะผู้สังเกตการณ์" เขาอธิบาย
    .
    ณ เวลานี้ มีประเทศต่างๆ มากกว่า 20 ชาติ ที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS อ้างอิงข้อมูลจากอูชาคอฟ ในนั้นได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บังกลาเทศ บาห์เรน, บูร์กินาฟาโซ เวเนซุเอลา ฮอนดูรัส ซิมบับเว กัมพูชา โคลอมเบีย สาธารณรัฐคองโก ลาว คูเวต โมร็อกโก พม่า นิการากัว ปากีสถาน ปาเลสไตน์ เซเนกัล ซีเรีย ชาด ศรีลังกา อิเควทอเรียลกินี และซูดานใต้
    .
    อูชาคอฟ ชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของ BRICS ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังยกระดับอิทธิพลของพวกเขาในขอบเขตทางเศรษฐกิจและการเงิน เช่นเดียวกับในการตอบสนองต่อความท้าทายทางสภาพภูมิอากาศ (โลกร้อน)" และเสริมความเข้มแข็งแก่ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานโลก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123563
    ..............
    Sondhi X
    9 ประเทศจะเข้าร่วมกับ BRICS อย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ในฐานะรัฐพันธมิตร จากการเปิดเผยของ ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซีย พร้อมระบุกลุ่มเศรษฐกิจแห่งนี้เปิดกว้างสำหรับเหล่าคู่หูที่มีความคิดแบบเดียวกัน . สถานะใหม่ "ประเทศพันธมิตร" ได้รับความเห็นชอบ ณ ที่ประชุมซัมมิต BRICS ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย โดยมันมีเจตนาเพื่อเป็นทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการเป็นสมาชิก หลังจากมีมากกว่า 30 ประเทศ ที่สมัครเข้าร่วมองค์กรแก่งนี้ . ทั้งนี้ สถานะดังกล่าวเปิดทางสำหรับการเข้าร่วมอย่างถาวรในประชุมวาระพิเศษต่างๆ ของที่ประชุมซัมมิตกลุ่ม BRICS และที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม เช่นเดียวกับกิจกรรมระดับสูงอื่นๆ นอกจากนี้ เหล่าพันธมิตรยังสามารถมีส่วนช่วยสนับสนุนเอกสารต่างๆ ที่คลอดออกมาจากทางกลุ่มอีกด้วย . ระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ (23 ธ.ค.) อูชาคอฟ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเห็นชอบ "สถานะรัฐพันธมิตร" โดยบอกว่าเบลารุส โบลิเวีย อินโดนีเซีย คาซัคสถาน ไทย คิวบา ยูกันดา มาเลเซีย และอุซเบกิสถาน จะก้าวมาเป็นพันธมิตรของ BRICS อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นไป และคาดหมายว่าจะมีการยืนยันประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมอีก 4 ชาติ ที่ได้รับเชิญให้เข้ามาเป็นรัฐพันธมิตรเช่นกันในอนาคตอันใกล้นี้ . แรกเริ่ม BRICS ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ทางกลุ่มได้ขยายขอบเขตอ้าแขนรับอียิปต์ อิหร่าน เอธิโอเปีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในปีนี้ . อูชาคอฟ อ้างอิงคำบอกกล่าวของเหล่าตัวแทนจากริยาด ว่าซาอุดีอาระเบียพักกระบวนการเข้าร่วมกลุ่ม BRICS เนื่องจากขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นภายในประเทศ สำหรับการก้าวมาเป็นสมาชิกเต็มขั้นนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ . ผู้ช่วยวังเครมลินรายนี้เผยด้วยว่าได้รับใบสมัครจาก 35 ชาติ สำหรับขอเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ไม่ว่าสถานะใดสถานะหนึ่ง ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตในคาซาน "บางประเทศต้องการได้รับการเข้าร่วมอย่างเต็มขั้นในทันที ส่วนประเทศอื่่นๆ ต้องการเข้าร่วมเป็นรายกิจกรรมในฐานะผู้สังเกตการณ์" เขาอธิบาย . ณ เวลานี้ มีประเทศต่างๆ มากกว่า 20 ชาติ ที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS อ้างอิงข้อมูลจากอูชาคอฟ ในนั้นได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บังกลาเทศ บาห์เรน, บูร์กินาฟาโซ เวเนซุเอลา ฮอนดูรัส ซิมบับเว กัมพูชา โคลอมเบีย สาธารณรัฐคองโก ลาว คูเวต โมร็อกโก พม่า นิการากัว ปากีสถาน ปาเลสไตน์ เซเนกัล ซีเรีย ชาด ศรีลังกา อิเควทอเรียลกินี และซูดานใต้ . อูชาคอฟ ชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของ BRICS ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังยกระดับอิทธิพลของพวกเขาในขอบเขตทางเศรษฐกิจและการเงิน เช่นเดียวกับในการตอบสนองต่อความท้าทายทางสภาพภูมิอากาศ (โลกร้อน)" และเสริมความเข้มแข็งแก่ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานโลก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123563 .............. Sondhi X
    Like
    10
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 997 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไทยพร้อม 8 ชาติจะได้เป็นสมาชิกBRICS เต็มตัวในปี 2025 📌ขณะที่อีก 24 ชาติเข้าคิวรอสมัคร เล็งสร้างดุลอำนาจเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่

    👉 กลุ่มเศรษฐกิจ BRICS เดินหน้าขยายอิทธิพลต่อเนื่อง หลังยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียเผยว่า 9 ประเทศใหม่รวมถึงไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จะได้เข้าร่วมในฐานะประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2025 สถานะใหม่นี้ได้รับการอนุมัติในการประชุมสุดยอดที่เมืองคาซาน โดยจะมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมสมัยพิเศษ การประชุมระดับรัฐมนตรี และมีส่วนร่วมในเอกสารผลลัพธ์ของกลุ่ม
    นอกจากนี้ยังมีอีก 24 ประเทศที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS สะท้อนบทบาทที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมถึงการรับมือความท้าทายด้านสภาพอากาศ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานระดับโลก

    https://www.imctnews.com/news_details-news-5721.html
    ไทยพร้อม 8 ชาติจะได้เป็นสมาชิกBRICS เต็มตัวในปี 2025 📌ขณะที่อีก 24 ชาติเข้าคิวรอสมัคร เล็งสร้างดุลอำนาจเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ 👉 กลุ่มเศรษฐกิจ BRICS เดินหน้าขยายอิทธิพลต่อเนื่อง หลังยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียเผยว่า 9 ประเทศใหม่รวมถึงไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จะได้เข้าร่วมในฐานะประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2025 สถานะใหม่นี้ได้รับการอนุมัติในการประชุมสุดยอดที่เมืองคาซาน โดยจะมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมสมัยพิเศษ การประชุมระดับรัฐมนตรี และมีส่วนร่วมในเอกสารผลลัพธ์ของกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีอีก 24 ประเทศที่แสดงความสนใจร่วมมือกับ BRICS สะท้อนบทบาทที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมถึงการรับมือความท้าทายด้านสภาพอากาศ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานระดับโลก https://www.imctnews.com/news_details-news-5721.html
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 289 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts