• Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4)
    *****************
    เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ
    เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน
    กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ
    ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย
    มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น
    พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น
    *****************
    USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ
    สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู
    ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้
    1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563
    2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566
    3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563
    4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571
    5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold

    *****************
    รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน
    การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ
    ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
    การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น
    *****************
    EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม
    ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA
    *****************
    ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
    พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน
    สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย
    เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้
    *****************
    อ้างอิง :
    • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia
    • World Gold Council https://www.gold.org/
    • EarthRights International
    Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4) ***************** เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น ***************** USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้ 1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563 2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566 3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563 4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571 5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold ***************** รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น ***************** EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA ***************** ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้ ***************** อ้างอิง : • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia • World Gold Council https://www.gold.org/ • EarthRights International
    0 Comments 0 Shares 153 Views 0 Reviews
  • หน่วยกู้ภัยอินโดนีเซียยังคงเร่งค้นหาผู้โดยสารจำนวนหนึ่งที่ติดอยู่ภายในรถมินิบัสที่ถูกดินโคลนถล่มทับ หลังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุมาตราเหนือ ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดเพิ่มเป็นอย่างน้อย 27 รายวันนี้ (28 พ.ย.)

    สำนักงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซียระบุว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้วทำให้เกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ 4 เขตของจังหวัดสุมาตราเหนือ

    ฮาดี วาห์ยูดี โฆษกตำรวจสุมาตราเหนือระบุว่า ล่าสุดได้เกิดดินโคลนถล่มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองเดอลีเซอร์ดัง (Deli Serdang) เมื่อวันพุธ (27) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บอีก 20 คน

    เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงเร่งค้นหาชาวบ้านที่สูญหาย รวมถึงผู้โดยสารซึ่งติดอยู่ในรถมินิบัสและยานพาหนะอีกหลายคันซึ่งถูกดินโคลนถล่มทับบนถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดสายหนึ่ง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขของผู้ประสบภัยได้

    ในพื้นที่อื่นๆ หน่วยกู้ภัยพบผู้เสียชีวิตแล้ว 20 รายระหว่างการค้นหาที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว และเวลานี้ยังคงมีชาวบ้านสูญหายไม่ทราบชะตากรรมอีก 2 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/around/detail/9670000114504

    #MGROnline #อินโดนีเซีย
    หน่วยกู้ภัยอินโดนีเซียยังคงเร่งค้นหาผู้โดยสารจำนวนหนึ่งที่ติดอยู่ภายในรถมินิบัสที่ถูกดินโคลนถล่มทับ หลังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุมาตราเหนือ ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดเพิ่มเป็นอย่างน้อย 27 รายวันนี้ (28 พ.ย.) • สำนักงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซียระบุว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้วทำให้เกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ 4 เขตของจังหวัดสุมาตราเหนือ • ฮาดี วาห์ยูดี โฆษกตำรวจสุมาตราเหนือระบุว่า ล่าสุดได้เกิดดินโคลนถล่มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองเดอลีเซอร์ดัง (Deli Serdang) เมื่อวันพุธ (27) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บอีก 20 คน • เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงเร่งค้นหาชาวบ้านที่สูญหาย รวมถึงผู้โดยสารซึ่งติดอยู่ในรถมินิบัสและยานพาหนะอีกหลายคันซึ่งถูกดินโคลนถล่มทับบนถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดสายหนึ่ง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขของผู้ประสบภัยได้ • ในพื้นที่อื่นๆ หน่วยกู้ภัยพบผู้เสียชีวิตแล้ว 20 รายระหว่างการค้นหาที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว และเวลานี้ยังคงมีชาวบ้านสูญหายไม่ทราบชะตากรรมอีก 2 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9670000114504 • #MGROnline #อินโดนีเซีย
    0 Comments 0 Shares 446 Views 0 Reviews
  • ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น

    วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/south/detail/9670000114539

    #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    ยะลา - ยะลาฝนกระหน่ำวันที่ 2 กระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนแล้ว 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมืองตัดขาดการเดินทางออกนอกจังหวัด ด้าน ผบช.ภาค 9 ลงพื้นที่มอบอาหารน้ำดื่มช่วยเหลือในเบื้องต้น • วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดยะลา สืบเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ปริมาณฝนสะสม 2 วัน อยู่ที่ 579.8 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง และดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่จังหวัดยะลา ล่าสุด ยังมีฝนตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ตำบลรอบนอกในเขตตัวเมืองยะลา ทั้ง 10 ตำบล มีน้ำท่วมโอบล้อมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบแล้ว 5 อำเภอ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9670000114539 • #MGROnline #สถานการณ์อุทกภัย #จังหวัดยะลา #ฝนตกหนัก #ปริมาณฝนสะสม #น้ำท่วมฉับพลัน #น้ำป่าไหลหลาก #น้ำลันตลิ่ง #ดินโคลนถล่ม
    0 Comments 0 Shares 1077 Views 0 Reviews
  • รับมือแม่สายระดับน้ำสูง อพยพชาวบ้านสายลมจอย การไฟฟ้าฯ ดับไฟฉุกเฉิน
    .
    วันนี้ (3 ต.ค.) สถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำสาย บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ด้านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เช้าวันนี้บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำสาย บริเวณด่านพรมแดนแม่สาย ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และร้านค้าบริเวณตลาดสายลมจอย นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่บัญชาการเหตุการณ์แล้ว
    .
    ล่าสุด เมื่อเวลา 11.50 น. อำเภอแม่สาย สั่งอพยพชาวบ้านบริเวณซอยสายลมจอย ไปยังพื้นที่ปลอดภัยแล้ว อยู่ที่วัดดอยเวา วัดถ้ำผาจม ส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ ที่เข้าไปฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดระลอกแรก หยุดดำเนินการชั่วคราว เนื่องจากระดับน้ำสูง ปฏิบัติงานไม่ได้
    .
    ด้านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาแม่สาย ประกาศว่า เวลา 11.10 น. จะมีการดับกระแสไฟฟ้าฉุกเฉินบริเวณสายลมจอย ถึงเกาะทราย เนื่องจากระดับน้ำท่วมขึ้นสูงบริเวณถนนสายลมจอย โดยจะมีผู้ได้รับผลกระทบ บริเวณบ้านถ้ำผาจม ถึงสายลมจอย หมู่บ้านไม้ลุงขน หมู่บ้านเกาะทราย ผามควาย
    .
    ขณะที่สถานการณ์ในจังหวัดเชียงราย พบว่าฝนตกหนักตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 2 ต.ค. ทำให้ช่วงเช้าวันนี้หลายพื่นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงรายมีน้ำท่วมขัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งระบายน้ำลดผลกระทบให้กับประชาชนเป็นการเร่งด่วนแล้ว
    .
    ขณะทีีสถานีอุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้มีการคาดหมายลักษณะอากาศวันนี้ ว่ายังคงมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ด้านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้มีการประกาศ เฝ้าระวัง น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังแม่น้ำกก ช่วงวันที่ 2-9 ต.ค. 2567 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ทำให้ฝนตกหนักมากในพื้นที่ต้นน้ำในเขต อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำกก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าระดับน้ำจะล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้แม่น้ำกก บริเวณ อ.เมืองเชียงราย เวียงชัย เวียงเชียงรุ้ง แม่จัน ดอยหลวง และเชียงแสน จ.เชียงราย ประมาณ 0.5 - 1.0 เมตร
    .
    ทั้งนี้ ได้มีการแจ้งเตือนทุกอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน รวมทั้งเตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย (ศปช. ส่วนหน้า จ.เชียงราย) หมายเลขโทรศัพท์ 09 3131 1784 สายด่วน 1567
    ..............
    Sondhi X
    รับมือแม่สายระดับน้ำสูง อพยพชาวบ้านสายลมจอย การไฟฟ้าฯ ดับไฟฉุกเฉิน . วันนี้ (3 ต.ค.) สถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำสาย บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ด้านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เช้าวันนี้บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำสาย บริเวณด่านพรมแดนแม่สาย ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และร้านค้าบริเวณตลาดสายลมจอย นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่บัญชาการเหตุการณ์แล้ว . ล่าสุด เมื่อเวลา 11.50 น. อำเภอแม่สาย สั่งอพยพชาวบ้านบริเวณซอยสายลมจอย ไปยังพื้นที่ปลอดภัยแล้ว อยู่ที่วัดดอยเวา วัดถ้ำผาจม ส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ ที่เข้าไปฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดระลอกแรก หยุดดำเนินการชั่วคราว เนื่องจากระดับน้ำสูง ปฏิบัติงานไม่ได้ . ด้านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาแม่สาย ประกาศว่า เวลา 11.10 น. จะมีการดับกระแสไฟฟ้าฉุกเฉินบริเวณสายลมจอย ถึงเกาะทราย เนื่องจากระดับน้ำท่วมขึ้นสูงบริเวณถนนสายลมจอย โดยจะมีผู้ได้รับผลกระทบ บริเวณบ้านถ้ำผาจม ถึงสายลมจอย หมู่บ้านไม้ลุงขน หมู่บ้านเกาะทราย ผามควาย . ขณะที่สถานการณ์ในจังหวัดเชียงราย พบว่าฝนตกหนักตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 2 ต.ค. ทำให้ช่วงเช้าวันนี้หลายพื่นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงรายมีน้ำท่วมขัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งระบายน้ำลดผลกระทบให้กับประชาชนเป็นการเร่งด่วนแล้ว . ขณะทีีสถานีอุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้มีการคาดหมายลักษณะอากาศวันนี้ ว่ายังคงมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ด้านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้มีการประกาศ เฝ้าระวัง น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังแม่น้ำกก ช่วงวันที่ 2-9 ต.ค. 2567 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ทำให้ฝนตกหนักมากในพื้นที่ต้นน้ำในเขต อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำกก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าระดับน้ำจะล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้แม่น้ำกก บริเวณ อ.เมืองเชียงราย เวียงชัย เวียงเชียงรุ้ง แม่จัน ดอยหลวง และเชียงแสน จ.เชียงราย ประมาณ 0.5 - 1.0 เมตร . ทั้งนี้ ได้มีการแจ้งเตือนทุกอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน รวมทั้งเตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย (ศปช. ส่วนหน้า จ.เชียงราย) หมายเลขโทรศัพท์ 09 3131 1784 สายด่วน 1567 .............. Sondhi X
    Sad
    Like
    8
    0 Comments 1 Shares 1774 Views 0 Reviews
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เชิญถุงยังชีพพระราชทาน ไปมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัยดินโคลนถล่ม พร้อมทั้งอัญเชิญพระราชกระแสทรงห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปกล่าวให้ผู้ประสบภัย ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
    —-
    His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand graciously ordered Mr. Plakorn Suwannarat, Privy Councilor, to deliver royal relief bags to those affected by floods and mudslides and along with inviting the Royal Messages of His Majesty the King and Her Majesty the Queen to speak to the victims in Mae Sai District, Chiang Rai Province.
    _____________________
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เชิญถุงยังชีพพระราชทาน ไปมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัยดินโคลนถล่ม พร้อมทั้งอัญเชิญพระราชกระแสทรงห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปกล่าวให้ผู้ประสบภัย ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย —- His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand graciously ordered Mr. Plakorn Suwannarat, Privy Councilor, to deliver royal relief bags to those affected by floods and mudslides and along with inviting the Royal Messages of His Majesty the King and Her Majesty the Queen to speak to the victims in Mae Sai District, Chiang Rai Province. _____________________ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    Love
    3
    0 Comments 0 Shares 927 Views 0 Reviews
  • ✨🟡🟣 วันอังคาร​ที่​ ๒๗ สิงหาคม​ ๒๕๖​๗​
    ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ​สมเด็จ​พระนางเจ้า​ ฯ​ พระบรม​ราชินี​ ทรง​ห่วงใย​ราษฎร​ที่​ประสบ​เหตุ​โคลน​ถล่มใน​พื้นที่​จังหวัด​ภูเก็ต​ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ ให้พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ไปประชุม​ติดตาม​สถานการณ์​ และร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน ๒๕๗ ถุง ไปมอบแก่ราษฎร​ผู้ประสบ​เหตุ​โคลน​ถล่ม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายอำเภอเมืองภูเก็ต เป็นตัวแทนราษฎรในการรับพระราชทาน​ เพื่อเชิญไปมอบแก่ราษฎรที่ประสบภัยดินโคลนถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตต่อไป ณ หอประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต✨

    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida พระราชินีสุทิดา
    Cr. FB : ลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว
    ✨🟡🟣 วันอังคาร​ที่​ ๒๗ สิงหาคม​ ๒๕๖​๗​ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ​สมเด็จ​พระนางเจ้า​ ฯ​ พระบรม​ราชินี​ ทรง​ห่วงใย​ราษฎร​ที่​ประสบ​เหตุ​โคลน​ถล่มใน​พื้นที่​จังหวัด​ภูเก็ต​ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ ให้พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ไปประชุม​ติดตาม​สถานการณ์​ และร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน ๒๕๗ ถุง ไปมอบแก่ราษฎร​ผู้ประสบ​เหตุ​โคลน​ถล่ม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายอำเภอเมืองภูเก็ต เป็นตัวแทนราษฎรในการรับพระราชทาน​ เพื่อเชิญไปมอบแก่ราษฎรที่ประสบภัยดินโคลนถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตต่อไป ณ หอประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต✨ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida พระราชินีสุทิดา Cr. FB : ลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว
    0 Comments 0 Shares 764 Views 0 Reviews