• หลังชัยชนะของทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ นักการทูตของประเทศในสหภาพยุโรปรายหนึ่ง กล่าวกับ CNN ว่า “สหภาพยุโรปไม่ใช่ น้องสาวที่เปราะบาง”(FRAGILE LITTLE SISTER) ของอเมริกาที่ต้องคอยรับคำสั่งตลอดไป

    นักการทูตรายนี้ยังกล่าวอีกว่า สหภาพยุโรปไม่ได้แปลกใจกับชัยชนะของทรัมป์ เพราะคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้ว และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในวันข้างหน้า

    และยืนยันว่าสหภาพยุโรปมีความเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยวที่จะปกป้องค่านิยมดั้งเดิมของตน และพร้อมเผชิญกับความท้าทายระดับโลก

    นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังคงให้การสนับสนุนยูเครนอย่างแข็งขันต่อไป ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างศักยภาพด้านการป้องกันประเทศของตนเอง เพื่อบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นต่อการปกครองตนเองเมื่อต้องเผชิญกับการเมืองรูปแบบใหม่ของสหรัฐฯ
    หลังชัยชนะของทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ นักการทูตของประเทศในสหภาพยุโรปรายหนึ่ง กล่าวกับ CNN ว่า “สหภาพยุโรปไม่ใช่ น้องสาวที่เปราะบาง”(FRAGILE LITTLE SISTER) ของอเมริกาที่ต้องคอยรับคำสั่งตลอดไป นักการทูตรายนี้ยังกล่าวอีกว่า สหภาพยุโรปไม่ได้แปลกใจกับชัยชนะของทรัมป์ เพราะคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้ว และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในวันข้างหน้า และยืนยันว่าสหภาพยุโรปมีความเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยวที่จะปกป้องค่านิยมดั้งเดิมของตน และพร้อมเผชิญกับความท้าทายระดับโลก นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังคงให้การสนับสนุนยูเครนอย่างแข็งขันต่อไป ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างศักยภาพด้านการป้องกันประเทศของตนเอง เพื่อบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นต่อการปกครองตนเองเมื่อต้องเผชิญกับการเมืองรูปแบบใหม่ของสหรัฐฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 38 มุมมอง 0 รีวิว
  • 2 พฤศจิกายน 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า นายดมิทรี เมดเวเดฟ รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติรัสเซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียจากปี 2008 ถึง 2012 เตือนสหรัฐฯให้จริงจังกับคำเตือนนิวเคลียร์ของรัสเซีย เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3

    เมดเวเดฟ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติอันทรงอิทธิพลของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ทีนิวส์ ว่าพวกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ไม่ต้องการสงครามโลกครั้งที่ 3 และในเหตุผลบางอย่าง พวกเขาเชื่อว่า "รัสเซียจะไม่มีวันข้ามเส้นตายนั้น"

    อย่างไรก็ตาม "พวกเขาคิดผิด" เมดเวเดฟกล่าวกับอาร์ทีนิวส์ พร้อมระบุมอสโกเชื่อว่าสถาบันการเมืองทั้งในสหรัฐฯ และยุโรปในปัจจุบัน ขาดวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลและความคิดที่ละเอียดละอ่อน ต่างจากนายเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้ล่วงลับ

    ทั้งนี้ คิสซิงเจอร์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปีก่อน เป็นคนดำเนินการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตในทศวรรษปี 1970 ซึ่งนำไปสู่สนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ครั้งสำคัญครั้งแรกระหว่างสองมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น

    "ถ้าเราพูดถึงการอยู่รอดของประเทศของเรา ก็ตามที่ประธานาธิบดีของเรากล่าวซ้ำๆ เราคงไม่มีทางเลือกอื่น" เมดเวเดฟระบุ

    สงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมานาน 2 ปีครึ่ง กำลังเข้าสู่สิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่รัสเซียเรียกว่าขั้นอันตรายที่สุด ในขณะที่กองกำลังมอสโกกำลังรุกคืบทางภาคตะวันออกของยูเครน และตะวันตกกำลังขบคิดว่าจะค้ำยันประคับประคองเคียฟอย่างไร

    รัสเซียส่งสัญญาณไปยังตะวันตกมานานหลายสัปดาห์แล้วว่า มอสโกจะตอบโต้หากว่าสหรัฐฯ และพันธมิตรไฟเขียวให้ยูเครนใช้อาวุธพิสัยไกลของตะวันตกโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ทางนาโตก็กล่าวหาว่าเกาหลีเหนือได้ส่งทหารไปยังทางตะวันตกของรัสเซีย ในความเป็นไปได้ว่าจะเข้าช่วยเหลือกองกำลังมอสโกสู้รบกับยูเครน

    พวกเจ้าหน้าที่รัสเซียกล่าวหาว่าบรรดาผู้นำตะวันตกเพิกเฉยต่อสัญญาณต่างๆ ของมอสโกที่ส่งไปถึง เกี่ยวกับประเด็นด้านความมั่นคงของยุโรปและสถานการณ์ที่ลุกลามบานปลายในยูเครน

    บรรดานักการทูตสหรัฐฯ บอกว่าแม้ความสัมพันธ์กับรัสเซียจะดำดิ่งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น แต่วอชิงตันไม่ได้หาทางขยายสงครามในยูเครนให้ลุกลาม

    (ที่มา : รอยเตอร์)

    #Thaitimes
    2 พฤศจิกายน 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า นายดมิทรี เมดเวเดฟ รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติรัสเซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียจากปี 2008 ถึง 2012 เตือนสหรัฐฯให้จริงจังกับคำเตือนนิวเคลียร์ของรัสเซีย เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3 เมดเวเดฟ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติอันทรงอิทธิพลของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ทีนิวส์ ว่าพวกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ไม่ต้องการสงครามโลกครั้งที่ 3 และในเหตุผลบางอย่าง พวกเขาเชื่อว่า "รัสเซียจะไม่มีวันข้ามเส้นตายนั้น" อย่างไรก็ตาม "พวกเขาคิดผิด" เมดเวเดฟกล่าวกับอาร์ทีนิวส์ พร้อมระบุมอสโกเชื่อว่าสถาบันการเมืองทั้งในสหรัฐฯ และยุโรปในปัจจุบัน ขาดวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลและความคิดที่ละเอียดละอ่อน ต่างจากนายเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้ล่วงลับ ทั้งนี้ คิสซิงเจอร์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปีก่อน เป็นคนดำเนินการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตในทศวรรษปี 1970 ซึ่งนำไปสู่สนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ครั้งสำคัญครั้งแรกระหว่างสองมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น "ถ้าเราพูดถึงการอยู่รอดของประเทศของเรา ก็ตามที่ประธานาธิบดีของเรากล่าวซ้ำๆ เราคงไม่มีทางเลือกอื่น" เมดเวเดฟระบุ สงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมานาน 2 ปีครึ่ง กำลังเข้าสู่สิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่รัสเซียเรียกว่าขั้นอันตรายที่สุด ในขณะที่กองกำลังมอสโกกำลังรุกคืบทางภาคตะวันออกของยูเครน และตะวันตกกำลังขบคิดว่าจะค้ำยันประคับประคองเคียฟอย่างไร รัสเซียส่งสัญญาณไปยังตะวันตกมานานหลายสัปดาห์แล้วว่า มอสโกจะตอบโต้หากว่าสหรัฐฯ และพันธมิตรไฟเขียวให้ยูเครนใช้อาวุธพิสัยไกลของตะวันตกโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ทางนาโตก็กล่าวหาว่าเกาหลีเหนือได้ส่งทหารไปยังทางตะวันตกของรัสเซีย ในความเป็นไปได้ว่าจะเข้าช่วยเหลือกองกำลังมอสโกสู้รบกับยูเครน พวกเจ้าหน้าที่รัสเซียกล่าวหาว่าบรรดาผู้นำตะวันตกเพิกเฉยต่อสัญญาณต่างๆ ของมอสโกที่ส่งไปถึง เกี่ยวกับประเด็นด้านความมั่นคงของยุโรปและสถานการณ์ที่ลุกลามบานปลายในยูเครน บรรดานักการทูตสหรัฐฯ บอกว่าแม้ความสัมพันธ์กับรัสเซียจะดำดิ่งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น แต่วอชิงตันไม่ได้หาทางขยายสงครามในยูเครนให้ลุกลาม (ที่มา : รอยเตอร์) #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 412 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน

    นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน

    อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น

    จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522

    นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม

    นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน

    นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์

    ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้

    นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้

    ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน

    ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์

    https://mgronline.com/china/detail/9670000104850

    #Thaitimes
    ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522 นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้ นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้ ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ https://mgronline.com/china/detail/9670000104850 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    ทำไมจีนยังไม่ส่งทูตคนใหม่มาประจำที่เกาหลีใต้?
    ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 342 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิหร่านเผยเตรียมเข้าร่วมการซ้อมรบทางทะเลร่วมกันครั้งแรกกับซาอุดีอาระเบียในทะเลแดง

    ผู้บัญชาการกองทัพเรืออิหร่านกล่าวว่า ซาอุดีอาระเบียแสดงความสนใจในการซ้อมรบร่วมทางกองทัพเรือ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาค โดยทั้งสองประเทศส่งคำเชิญซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการปรากฏตัวของพวกเขาในท่าเรือ

    พลจัตวาเตอกี อัล-มัลกี(Turki al-Malki) โฆษกกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบียกล่าวยืนยันว่า "กองทัพเรือซาอุดีอาระเบียเพิ่งสรุปการซ้อมรบทางทะเลร่วมกับกองทัพเรืออิหร่านและประเทศอื่นๆ ในทะเลโอมาน"

    อิหร่านและซาอุดีอาระเบียตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกันมาเป็นเวลาแปดปีหลังจากทางการซาอุดิอาระเบียลงโทษประหารชีวิต "ชีค นิมร์ อัล-นิมร์" นักการศาสนานิกายชีอะห์วัย 56 ปี ซึ่งซาอุดิอาระเบียเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านรัฐบาลของตนเองเมื่อปี 2559 นั้น

    ต่อมาในเดือนเมษายน 2566 ทั้งสองประเทศประกาศฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตโดยมีผลทันทีในกรุงปักกิ่ง หลังจากการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างนักการทูตระดับสูงของทั้งสองประเทศในรอบกว่า 7 ปี
    อิหร่านเผยเตรียมเข้าร่วมการซ้อมรบทางทะเลร่วมกันครั้งแรกกับซาอุดีอาระเบียในทะเลแดง ผู้บัญชาการกองทัพเรืออิหร่านกล่าวว่า ซาอุดีอาระเบียแสดงความสนใจในการซ้อมรบร่วมทางกองทัพเรือ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาค โดยทั้งสองประเทศส่งคำเชิญซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการปรากฏตัวของพวกเขาในท่าเรือ พลจัตวาเตอกี อัล-มัลกี(Turki al-Malki) โฆษกกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบียกล่าวยืนยันว่า "กองทัพเรือซาอุดีอาระเบียเพิ่งสรุปการซ้อมรบทางทะเลร่วมกับกองทัพเรืออิหร่านและประเทศอื่นๆ ในทะเลโอมาน" อิหร่านและซาอุดีอาระเบียตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกันมาเป็นเวลาแปดปีหลังจากทางการซาอุดิอาระเบียลงโทษประหารชีวิต "ชีค นิมร์ อัล-นิมร์" นักการศาสนานิกายชีอะห์วัย 56 ปี ซึ่งซาอุดิอาระเบียเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านรัฐบาลของตนเองเมื่อปี 2559 นั้น ต่อมาในเดือนเมษายน 2566 ทั้งสองประเทศประกาศฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตโดยมีผลทันทีในกรุงปักกิ่ง หลังจากการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างนักการทูตระดับสูงของทั้งสองประเทศในรอบกว่า 7 ปี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 73 มุมมอง 10 0 รีวิว
  • อเมริกาส่งผู้แทนไปเบรุตหารือเงื่อนไขการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับฮิซบอลเลาะห์ ขณะที่กองทัพยิวเปลี่ยนเป้าหมาย อ้างมุ่งถล่มธนาคารเงาของฮิซบอลเลาะห์ทั่วเลบานอน ด้านนักการทูตและแหล่งข่าวในตะวันออกกลางระบุว่า อิสราเอลกำลังพยายามสร้างความเสียหายต่อศัตรูให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความเป็นจริงใหม่ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในภูมิภาคก่อนที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกาจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมปีหน้า
    .
    มีรายงานว่า อเมริกาตั้งความหวังกับการผลักดันสันติภาพในตะวันออกกลางครั้งใหม่ ภายหลังยาห์ยา ซินวาร์ ผู้นำกลุ่มฮามาสและผู้วางแผนโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมปีที่แล้ว ที่จุดชนวนสงครามในกาซา ถูกสังหารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
    .
    เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กำลังพยายามเป็นตัวกลางการหยุดยิงในเลบานอนที่อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการภาคพื้นดินเมื่อเดือนที่แล้ว รวมทั้งสังหารผู้นำอาวุโสของฮิซบอลเลาะห์ที่ประกาศต่อสู้กับอิสราเอลในนามชาวปาเลสไตน์
    .
    รายงานระบุว่า ตลอดคืนวันอาทิตย์ (20 ต.ค.) อิสราเอลโจมตีสถานที่หลายแห่งในกรุงเบรุต ทางใต้ของเลบานอน และหุบเขาเบกา ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของเลบานอน เป้าหมายคือสาขาต่างๆ ของอัล-การ์ด อัล-ฮัสซัน แอสโซซิเอชัน ซึ่งเป็นระบบธนาคารทางเลือกในเลบานอนที่ฮิซบอลเลาะห์ดำเนินการและใช้เพื่อจัดการการเงินของกลุ่มที่รวมถึงการจ่ายเงินเดือนนักรบและซื้ออาวุธ
    .
    การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนหลายร้อยครอบครัวที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ซึ่งตกเป็นเป้าหมายต้องอพยพก่อนการโจมตี แม้ล่าสุดยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
    .
    อัล-การ์ด อัล-ฮัสซัน ซึ่งเป็นองค์การที่ถูกอเมริกาแซงก์ชันอยู่แล้ว มีสาขากว่า 30 แห่งในเลบานอน รวมถึงสาขา 15 แห่งที่ตั้งอยู่ในย่านที่มีผู้คนแออัดบริเวณใจกลางและชานเมืองเบรุต
    .
    นอกจากนั้นโทรทัศน์ข่าวเอ็นเอ็นเอยังรายงานว่า มีการโจมตีใกล้ๆ กับท่าอากาศยานของเบรุต ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสู่เลบานอน และฮับการอพยพสำคัญ
    .
    ขณะเดียวกัน รอยเตอร์รายงานว่า อามอส ฮ็อกสทีน ผู้แทนของอเมริกา มีกำหนดเข้าพบ นาจิบ มิคาติ รักษาการนายกรัฐมนตรีเลบานอน และนาบิห์ เบอร์รี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเลบานอน ที่เบรุตในวันจันทร์
    .
    เบอร์รีให้สัมภาษณ์สถานีอัล-อราบิยา เมื่อสุดสัปดาห์ว่า การเยือนของฮ็อกสทีนเป็นโอกาสสุดท้ายในการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงก่อนที่อเมริกาจะจัดการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี เขาคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อข้อตกลงที่ปิดฉากสงครามใหญ่ระหว่างฮิซบอลเลาะห์กับอิสราเอลเมื่อปี 2006
    .
    ขณะเดียวกัน แอกซิออส สื่อออนไลน์ของอเมริการายงานเมื่อวันอาทิตย์โดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่อิสราเอลฝ่ายละ 2 คนว่า อิสราเอลส่งเงื่อนไขการยุติสงครามในเลบานอนด้วยแนวทางการทูตให้วอชิงตัน ซึ่งประกอบด้วยการที่อิสราเอลจะต้องได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการใช้กำลังบังคับเพื่อให้แน่ใจว่า ฮิซบอลเลาะห์จะไม่สามารถซ่องสุมกำลังใหม่ใกล้ชายแดนอิสราเอล และกองทัพอิสราเอลสามารถปฏิบัติภารกิจเหนือน่านฟ้าเลบานอนได้อย่างเสรี
    .
    ทว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ สำทับกับแอกซิออสว่า เลบานอนและนานาชาติไม่มีแนวโน้มยอมรับเงื่อนไขของอิสราเอล
    .
    เวลาเดียวกัน นักการทูตและแหล่งข่าวอื่นๆ ในตะวันออกกลางระบุว่า อิสราเอลกำลังพยายามสร้างความเสียหายต่อศัตรูให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความเป็นจริงใหม่ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในภูมิภาคก่อนที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกาจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมปีหน้า
    .
    นอกจากเดินหน้าปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงต่อเนื่องทั้งในเลบานอนและฉนวนกาซา กองทัพอิสราเอลยังกำลังเตรียมการแก้แค้นอิหร่านที่ยิงขีปนาวุธใส่หลายร้อยลูกเมื่อต้นเดือน โดยที่วอชิงตันพยายามกดดันไม่ให้ยิวโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและที่ตั้งนิวเคลียร์ของเตหะราน
    .
    ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยระหว่างเดินทางเยือนยูเครนว่า กองทัพสหรัฐฯ ส่งระบบต่อต้านขีปนาวุธขั้นสูงถึงอิสราเอลและติดตั้งแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดว่า มีการประจำการระบบป้องกันภัยทางอากาศในบรรยากาศชั้นสูง (THAAD) หรือไม่
    .
    ทางด้านอิหร่านนั้น เอสมาอิล บาเกอี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศร้องเรียนกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการคุกคามของอิสราเอลต่อที่ตั้งนิวเคลียร์ของตนระหว่างการแถลงข่าวประจำสัปดาห์เมื่อวันจันทร์ (21 ต.ค.)
    .
    อนึ่ง เมื่อวันอาทิตย์ พลเรือตรีแดเนียล ฮาการี โฆษกกองทัพอิสราเอล แถลงว่า พันเอกอาห์ซาน ดัคซา ผู้บังคับการกองพลน้อยที่ 401 ของตน ถูกระเบิดเสียชีวิตระหว่างลงจากรถถังเพื่อตรวจสอบพื้นที่ในค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลีย ทางตอนเหนือของกาซา นับเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารอาวุโสที่สุดที่เสียชีวิตในสงครามกาซา
    .
    นอกจากนั้นในเหตุการณ์ดังกล่าวยังมีผู้บังคับการกองพลน้อยอีกนายหนึ่ง รวมถึงทหารอีก 2 นายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
    .
    ด้านรัฐมนตรีกลาโหม โยอัฟ แกลลันต์ กล่าวในคำแถลงแยกต่างหากอีกฉบับหนึ่งว่า ดัคซาถูกสังหาร “ขณะกำลังสู้รบกับพวกผู้ก่อการร้ายฮามาส”
    .
    พวกเขาก้าวออกมานอกรถถัง “เพื่อสังเกตการณ์พื้นที่บริเวณนั้น และถูกโจมตีด้วยวัตถุระเบิด” ฮาการี บอก
    .
    ดัคซา ซึ่งอยู่ในวัย 41 ปี เป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนดรูซ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกองพลน้อยเมื่อ 4 เดือนก่อน ฮาการี บอกว่า กองพลน้อยของเขา “เป็นผู้นำการโจมตี” ใน จาบาเลีย
    .
    กองทหารอิสราเอลนั้นเปิดการถล่มโจมตีทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศแบบมุ่งทำลายล้างในจาบาเลีย และส่วนอื่นๆ ของภาคเหนือกาซามาตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม โดยที่รัฐยิวอ้างว่าเพื่อป้องกันไม่ให้พวกนักรบฮามาสกลับมารวมตัวกันได้อีก
    .
    สำนักงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในพื้นที่ปกครองของฮามาสแถลงว่า มีผู้คนกว่า 400 คนแล้วที่ถูกเข่นฆ่าในช่วง 2 สัปดาห์ของการถูกถล่มโจมตี ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ในวันอาทิตย์ (20)
    .
    ดัคซา ได้รับเหรียญกล้าหาญจากการช่วยชีวิตพวกทหารที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างสงครามที่อิสราเอลทำกับฮิซบอลเลาะห์ในปี 2006 ขณะที่ประธานาธิบดีไอฉซค เฮอร์ซอค ของอิสราเอล กล่าวสรรเสริญ ดัคซา ในวันอาทิตย์ โดยเรียกเขาว่าเป็น “ฮีโร่” และบอกว่าการตายของเขาเป็น “ความสูญเสียของอิสราเอล และความสูญเสียสำหรับสังคมอิสราเอล”
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000101618
    ..............
    Sondhi X
    อเมริกาส่งผู้แทนไปเบรุตหารือเงื่อนไขการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับฮิซบอลเลาะห์ ขณะที่กองทัพยิวเปลี่ยนเป้าหมาย อ้างมุ่งถล่มธนาคารเงาของฮิซบอลเลาะห์ทั่วเลบานอน ด้านนักการทูตและแหล่งข่าวในตะวันออกกลางระบุว่า อิสราเอลกำลังพยายามสร้างความเสียหายต่อศัตรูให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความเป็นจริงใหม่ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในภูมิภาคก่อนที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกาจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมปีหน้า . มีรายงานว่า อเมริกาตั้งความหวังกับการผลักดันสันติภาพในตะวันออกกลางครั้งใหม่ ภายหลังยาห์ยา ซินวาร์ ผู้นำกลุ่มฮามาสและผู้วางแผนโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมปีที่แล้ว ที่จุดชนวนสงครามในกาซา ถูกสังหารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา . เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กำลังพยายามเป็นตัวกลางการหยุดยิงในเลบานอนที่อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการภาคพื้นดินเมื่อเดือนที่แล้ว รวมทั้งสังหารผู้นำอาวุโสของฮิซบอลเลาะห์ที่ประกาศต่อสู้กับอิสราเอลในนามชาวปาเลสไตน์ . รายงานระบุว่า ตลอดคืนวันอาทิตย์ (20 ต.ค.) อิสราเอลโจมตีสถานที่หลายแห่งในกรุงเบรุต ทางใต้ของเลบานอน และหุบเขาเบกา ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของเลบานอน เป้าหมายคือสาขาต่างๆ ของอัล-การ์ด อัล-ฮัสซัน แอสโซซิเอชัน ซึ่งเป็นระบบธนาคารทางเลือกในเลบานอนที่ฮิซบอลเลาะห์ดำเนินการและใช้เพื่อจัดการการเงินของกลุ่มที่รวมถึงการจ่ายเงินเดือนนักรบและซื้ออาวุธ . การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนหลายร้อยครอบครัวที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ซึ่งตกเป็นเป้าหมายต้องอพยพก่อนการโจมตี แม้ล่าสุดยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต . อัล-การ์ด อัล-ฮัสซัน ซึ่งเป็นองค์การที่ถูกอเมริกาแซงก์ชันอยู่แล้ว มีสาขากว่า 30 แห่งในเลบานอน รวมถึงสาขา 15 แห่งที่ตั้งอยู่ในย่านที่มีผู้คนแออัดบริเวณใจกลางและชานเมืองเบรุต . นอกจากนั้นโทรทัศน์ข่าวเอ็นเอ็นเอยังรายงานว่า มีการโจมตีใกล้ๆ กับท่าอากาศยานของเบรุต ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสู่เลบานอน และฮับการอพยพสำคัญ . ขณะเดียวกัน รอยเตอร์รายงานว่า อามอส ฮ็อกสทีน ผู้แทนของอเมริกา มีกำหนดเข้าพบ นาจิบ มิคาติ รักษาการนายกรัฐมนตรีเลบานอน และนาบิห์ เบอร์รี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเลบานอน ที่เบรุตในวันจันทร์ . เบอร์รีให้สัมภาษณ์สถานีอัล-อราบิยา เมื่อสุดสัปดาห์ว่า การเยือนของฮ็อกสทีนเป็นโอกาสสุดท้ายในการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงก่อนที่อเมริกาจะจัดการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี เขาคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อข้อตกลงที่ปิดฉากสงครามใหญ่ระหว่างฮิซบอลเลาะห์กับอิสราเอลเมื่อปี 2006 . ขณะเดียวกัน แอกซิออส สื่อออนไลน์ของอเมริการายงานเมื่อวันอาทิตย์โดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่อิสราเอลฝ่ายละ 2 คนว่า อิสราเอลส่งเงื่อนไขการยุติสงครามในเลบานอนด้วยแนวทางการทูตให้วอชิงตัน ซึ่งประกอบด้วยการที่อิสราเอลจะต้องได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการใช้กำลังบังคับเพื่อให้แน่ใจว่า ฮิซบอลเลาะห์จะไม่สามารถซ่องสุมกำลังใหม่ใกล้ชายแดนอิสราเอล และกองทัพอิสราเอลสามารถปฏิบัติภารกิจเหนือน่านฟ้าเลบานอนได้อย่างเสรี . ทว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ สำทับกับแอกซิออสว่า เลบานอนและนานาชาติไม่มีแนวโน้มยอมรับเงื่อนไขของอิสราเอล . เวลาเดียวกัน นักการทูตและแหล่งข่าวอื่นๆ ในตะวันออกกลางระบุว่า อิสราเอลกำลังพยายามสร้างความเสียหายต่อศัตรูให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความเป็นจริงใหม่ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในภูมิภาคก่อนที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกาจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมปีหน้า . นอกจากเดินหน้าปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรงต่อเนื่องทั้งในเลบานอนและฉนวนกาซา กองทัพอิสราเอลยังกำลังเตรียมการแก้แค้นอิหร่านที่ยิงขีปนาวุธใส่หลายร้อยลูกเมื่อต้นเดือน โดยที่วอชิงตันพยายามกดดันไม่ให้ยิวโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและที่ตั้งนิวเคลียร์ของเตหะราน . ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยระหว่างเดินทางเยือนยูเครนว่า กองทัพสหรัฐฯ ส่งระบบต่อต้านขีปนาวุธขั้นสูงถึงอิสราเอลและติดตั้งแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดว่า มีการประจำการระบบป้องกันภัยทางอากาศในบรรยากาศชั้นสูง (THAAD) หรือไม่ . ทางด้านอิหร่านนั้น เอสมาอิล บาเกอี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศร้องเรียนกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการคุกคามของอิสราเอลต่อที่ตั้งนิวเคลียร์ของตนระหว่างการแถลงข่าวประจำสัปดาห์เมื่อวันจันทร์ (21 ต.ค.) . อนึ่ง เมื่อวันอาทิตย์ พลเรือตรีแดเนียล ฮาการี โฆษกกองทัพอิสราเอล แถลงว่า พันเอกอาห์ซาน ดัคซา ผู้บังคับการกองพลน้อยที่ 401 ของตน ถูกระเบิดเสียชีวิตระหว่างลงจากรถถังเพื่อตรวจสอบพื้นที่ในค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลีย ทางตอนเหนือของกาซา นับเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารอาวุโสที่สุดที่เสียชีวิตในสงครามกาซา . นอกจากนั้นในเหตุการณ์ดังกล่าวยังมีผู้บังคับการกองพลน้อยอีกนายหนึ่ง รวมถึงทหารอีก 2 นายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย . ด้านรัฐมนตรีกลาโหม โยอัฟ แกลลันต์ กล่าวในคำแถลงแยกต่างหากอีกฉบับหนึ่งว่า ดัคซาถูกสังหาร “ขณะกำลังสู้รบกับพวกผู้ก่อการร้ายฮามาส” . พวกเขาก้าวออกมานอกรถถัง “เพื่อสังเกตการณ์พื้นที่บริเวณนั้น และถูกโจมตีด้วยวัตถุระเบิด” ฮาการี บอก . ดัคซา ซึ่งอยู่ในวัย 41 ปี เป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนดรูซ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกองพลน้อยเมื่อ 4 เดือนก่อน ฮาการี บอกว่า กองพลน้อยของเขา “เป็นผู้นำการโจมตี” ใน จาบาเลีย . กองทหารอิสราเอลนั้นเปิดการถล่มโจมตีทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศแบบมุ่งทำลายล้างในจาบาเลีย และส่วนอื่นๆ ของภาคเหนือกาซามาตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม โดยที่รัฐยิวอ้างว่าเพื่อป้องกันไม่ให้พวกนักรบฮามาสกลับมารวมตัวกันได้อีก . สำนักงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในพื้นที่ปกครองของฮามาสแถลงว่า มีผู้คนกว่า 400 คนแล้วที่ถูกเข่นฆ่าในช่วง 2 สัปดาห์ของการถูกถล่มโจมตี ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ในวันอาทิตย์ (20) . ดัคซา ได้รับเหรียญกล้าหาญจากการช่วยชีวิตพวกทหารที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างสงครามที่อิสราเอลทำกับฮิซบอลเลาะห์ในปี 2006 ขณะที่ประธานาธิบดีไอฉซค เฮอร์ซอค ของอิสราเอล กล่าวสรรเสริญ ดัคซา ในวันอาทิตย์ โดยเรียกเขาว่าเป็น “ฮีโร่” และบอกว่าการตายของเขาเป็น “ความสูญเสียของอิสราเอล และความสูญเสียสำหรับสังคมอิสราเอล” . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000101618 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 829 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอแนะนำ *กระทรวงสร้างภาพในต่างประเทศของอเมริกา*

    นายกจอมอสูรของอิสราเอลกำลังส่งกองทัพไปบุกรุกและยึดแผ่นดินปาเลสไตน์ ทิ้งระเบิดใส่บ้านเรือนประชาชน สังหารประชาชนอย่างป่าเถื่อน พอมีหลายชาติส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมไปให้ ก็ขออนุญาต รัฐบาลอเมริกาทิ้งระเบิดถล่มรถช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทั้งหมดที่ปาเลสไตน์ด้วย ถล่มรถพยาบาลที่ไปช่วยเหลือคนบาดเจ็บด้วย

    รัฐบาลอเมริกาอนุมัติให้อิสราเอลถล่มได้โดยนายแอนโทนี่ บลิงเคนคนนี้ เป็นผู้ประสานงานให้อิสราเอลดำเนินการได้

    นับแต่เริ่มสงครามมา อเมริกาอยู่เบื้องหลังการรุกรานของปาเลสไตน์โดยตลอด ไม่เพียงแต่วางแผนทางทหารให้อิสราเอลรบเท่านั้น อเมริกายังส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ทุกอย่างให้ด้วย โดยนักการทูตคนนี้เองที่คอยช่วยอิสราเอลตลอดเวลา

    ล่าสุดนี้ ก็ไปหลอกประธานาธิบดีอิหร่านว่าอิสราเอลจะหยุดยิงอย่างถาวร ถ้าอิหร่านไม่โจมตีอิสราเอลตามที่ขู่เอาไว้ ประธานาธิบดีไก่อ่อนของอิหร่านหลงเชื่อปากทูตของอเมริกาคนนี้เสียสนิท จึงปล่อยให้เลบานอนถูกรุกราน จนกระทั่งเลขาธิการเฮซบอเลาะห์ถูกสังหาร

    โดยปรกติ ตำแหน่งรมว.กระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา กลุ่มยิวไซออนิสต์จะจองเอาไว้ให้คนที่เป็นไซออนิสต์เท่านั้น รมว.ทูตอเมริกาคนนี้ จึงไม่มีความหวังดีกับประเทศใดๆ เลย มีแต่เดินหน้าใช้ตำแหน่งของตนทำงานให้ยิวไซออนิสต์ล้วนๆ

    รัฐบาลรัสเซียไม่อยากคุยกับหมอนี่ด้วยแล้ว เพราะหมอนี่ไม่เคยรักษาวาจาสัตย์ จีนก็ไม่อยากพบแต่ต้อนรับตามมารยาทเท่านั้น

    หน้าที่หลักของรมว.กระทรวงนี้แต่ไหนแต่ไรมาคือพูดสร้างภาพให้ตนเองดูดีและโจมตีประเทศอื่นๆ ที่ไม่ยอมศิโรราบให้กลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ ซึ่งเป็นเจ้านายของตนให้เสียหาย ผมจึงเรียกรมว.กระทรวงการต่างประเทศของอเมริกาให้สุภาพที่สุดแล้วว่า *กระทรวงสร้างภาพในต่างประเทศของอเมริกา*


    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    ขอแนะนำ *กระทรวงสร้างภาพในต่างประเทศของอเมริกา* นายกจอมอสูรของอิสราเอลกำลังส่งกองทัพไปบุกรุกและยึดแผ่นดินปาเลสไตน์ ทิ้งระเบิดใส่บ้านเรือนประชาชน สังหารประชาชนอย่างป่าเถื่อน พอมีหลายชาติส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมไปให้ ก็ขออนุญาต รัฐบาลอเมริกาทิ้งระเบิดถล่มรถช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทั้งหมดที่ปาเลสไตน์ด้วย ถล่มรถพยาบาลที่ไปช่วยเหลือคนบาดเจ็บด้วย รัฐบาลอเมริกาอนุมัติให้อิสราเอลถล่มได้โดยนายแอนโทนี่ บลิงเคนคนนี้ เป็นผู้ประสานงานให้อิสราเอลดำเนินการได้ นับแต่เริ่มสงครามมา อเมริกาอยู่เบื้องหลังการรุกรานของปาเลสไตน์โดยตลอด ไม่เพียงแต่วางแผนทางทหารให้อิสราเอลรบเท่านั้น อเมริกายังส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ทุกอย่างให้ด้วย โดยนักการทูตคนนี้เองที่คอยช่วยอิสราเอลตลอดเวลา ล่าสุดนี้ ก็ไปหลอกประธานาธิบดีอิหร่านว่าอิสราเอลจะหยุดยิงอย่างถาวร ถ้าอิหร่านไม่โจมตีอิสราเอลตามที่ขู่เอาไว้ ประธานาธิบดีไก่อ่อนของอิหร่านหลงเชื่อปากทูตของอเมริกาคนนี้เสียสนิท จึงปล่อยให้เลบานอนถูกรุกราน จนกระทั่งเลขาธิการเฮซบอเลาะห์ถูกสังหาร โดยปรกติ ตำแหน่งรมว.กระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา กลุ่มยิวไซออนิสต์จะจองเอาไว้ให้คนที่เป็นไซออนิสต์เท่านั้น รมว.ทูตอเมริกาคนนี้ จึงไม่มีความหวังดีกับประเทศใดๆ เลย มีแต่เดินหน้าใช้ตำแหน่งของตนทำงานให้ยิวไซออนิสต์ล้วนๆ รัฐบาลรัสเซียไม่อยากคุยกับหมอนี่ด้วยแล้ว เพราะหมอนี่ไม่เคยรักษาวาจาสัตย์ จีนก็ไม่อยากพบแต่ต้อนรับตามมารยาทเท่านั้น หน้าที่หลักของรมว.กระทรวงนี้แต่ไหนแต่ไรมาคือพูดสร้างภาพให้ตนเองดูดีและโจมตีประเทศอื่นๆ ที่ไม่ยอมศิโรราบให้กลุ่มทุนยิวไซออนิสต์ ซึ่งเป็นเจ้านายของตนให้เสียหาย ผมจึงเรียกรมว.กระทรวงการต่างประเทศของอเมริกาให้สุภาพที่สุดแล้วว่า *กระทรวงสร้างภาพในต่างประเทศของอเมริกา* ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 49 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠

    ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน

    แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง

    ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย

    🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸

    ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด

    😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎

    😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎

    😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎

    ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ?

    อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ

    😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎

    จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย

    เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม

    ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ

    อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ

    สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย

    หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน

    ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้

    ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต

    ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง

    "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸)

    อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ

    ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้

    เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้

    เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公)

    เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่

    แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ

    เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่

    อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง

    ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่

    หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น

    แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公)

    ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น?

    ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎

    สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

    หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ

    แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公)

    ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ

    🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠 ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย 🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸 ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด 😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎 😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎 😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎 ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ? อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ 😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎 จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้ ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸) อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้ เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้ เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公) เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่ แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่ อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่ หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公) ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น? ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎 สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公) ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ 🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหราชอาณาจักรเริ่มอพยพครอบครัวและนักการทูตออกจากอิสราเอล
    .
    BREAKING:

    The United Kingdom has begun evacuating families and diplomats from Israel.
    .
    10:18 PM · Oct 7, 2024 · 145.7K Views
    https://x.com/GlobeEyeNews/status/1843309972014440591
    สหราชอาณาจักรเริ่มอพยพครอบครัวและนักการทูตออกจากอิสราเอล . BREAKING: The United Kingdom has begun evacuating families and diplomats from Israel. . 10:18 PM · Oct 7, 2024 · 145.7K Views https://x.com/GlobeEyeNews/status/1843309972014440591
    Haha
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 23 มุมมอง 0 รีวิว
  • 📜 โลกตะวันตกค่อยๆยอมรับความพ่ายแพ้ของยูเครนอย่างช้าๆ

    ยูเครนเปิดใจมากขึ้นในการหารือเกี่ยวกับการหยุดยิงและการประนีประนอมที่เป็นไปได้เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง, ตามรายงานของ Financial Times

    สิ่งพิมพ์ดังกล่าวอ้างคำพูดของนักการทูตยุโรปที่เข้าร่วมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

    “เรากำลังพูดคุยกันอย่างเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร และยูเครนจะต้องเสียสละอะไรบ้างเพื่อให้ได้ข้อตกลงสันติภาพถาวร,” นักการทูตคนหนึ่ง, ที่เข้าร่วมในนิวยอร์ก กล่าว
    .
    📜 WESTERN WORLD SLOWLY ACCEPTS UKRAINE'S DEFEAT

    Ukraine is becoming more open to discussing a ceasefire and possible concessions to resolve the conflict, reports the Financial Times.

    The publication quotes European diplomats attending the UN General Assembly.

    “We’re talking more and more openly about how this ends and what Ukraine would have to give up in order to get a permanent peace deal,” says one of the diplomats, who was present in New York.
    .
    Last edited 4:09 PM · Oct 1, 2024 · 2,112 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1841042641703621054
    📜 โลกตะวันตกค่อยๆยอมรับความพ่ายแพ้ของยูเครนอย่างช้าๆ ยูเครนเปิดใจมากขึ้นในการหารือเกี่ยวกับการหยุดยิงและการประนีประนอมที่เป็นไปได้เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง, ตามรายงานของ Financial Times สิ่งพิมพ์ดังกล่าวอ้างคำพูดของนักการทูตยุโรปที่เข้าร่วมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ “เรากำลังพูดคุยกันอย่างเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร และยูเครนจะต้องเสียสละอะไรบ้างเพื่อให้ได้ข้อตกลงสันติภาพถาวร,” นักการทูตคนหนึ่ง, ที่เข้าร่วมในนิวยอร์ก กล่าว . 📜 WESTERN WORLD SLOWLY ACCEPTS UKRAINE'S DEFEAT Ukraine is becoming more open to discussing a ceasefire and possible concessions to resolve the conflict, reports the Financial Times. The publication quotes European diplomats attending the UN General Assembly. “We’re talking more and more openly about how this ends and what Ukraine would have to give up in order to get a permanent peace deal,” says one of the diplomats, who was present in New York. . Last edited 4:09 PM · Oct 1, 2024 · 2,112 Views https://x.com/SputnikInt/status/1841042641703621054
    Haha
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองกำลังอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการรุกรานอย่างจำกัดเข้าไปยังเลบานอนแล้ว จากการเปิดเผยของสหรัฐฯ ในวันจันทร์ (30 ก.ย.) หลังอิสราเอลประกาศเดินหน้าสู้รบกับฮิซบอลเลาะห์ และปิดผนึกพื้นที่ชายแดน ตามหลังปฏิบัติการสังหารผู้นำพวกติดอาวุธกลุ่มนี้ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    โยอาฟ กัลแลนท์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล เตือนว่าการสู้รบยังไม่จบ แม้ว่าปฏิบัติการโจมตีถล่มกรุงเบรุตเมื่อวันศุกร์ (27 ก.ต.) จะปลิดชีพ ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำของฮิซบอลเลาะห์ ก่อความเสียหายใหญ่หลวงแก่พวกติดอาวุธกลุ่มนี้
    .
    บรรดาผู้นำโลกเรียกร้องใช้หนทางด้านการทูตลดสถานการณ์ความตึงเครียด ในนั้นรวมถึง สเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกของ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่บอกว่า "เราไม่ต้องการเห็นการรุกรานทางภาคพื้นไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม"
    .
    ดูจาร์ริก เผยด้วยว่ากองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเลบานอน ไม่สามารถปฏิบัติการลาดตระเวนได้อีกต่อไป เนื่องจากห่าจรวดที่ทั้ง 2 ฝ่ายยิงตอบโต้กันไปมาอย่างหนักหน่วง
    .
    แมตธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "พวกเจ้าหน้าที่อิสราเอลแจ้งกับเราว่า ปัจจุบันพวกเขากำลังปฏิบัติการอย่างจำกัด เล็งเป้าเล่นงานโครงสร้างพื้นฐานของฮิซบอลเลาะห์ใกล้ชายแดน"
    .
    นาอิม ฮัสเซม รองหัวหน้ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กล่าวระหว่างปราศรัยผ่านสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่การตายของนัสรัลเลาะห์ ระบุว่านักรบฮิซบอลเลาะห์ "พร้อมหากอิสราเอลตัดสินใจบุกเข้ามาทางภาคพื้น"
    .
    กองทัพแห่งชาติเลบานอน ซึ่งมีแสนยานุภาพทางทหารน้อยกว่ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กำลังปรับเปลี่ยนฐานที่มั่นออกห่างจากชายแดนมากขึ้น เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของกองทัพเปิดเผยกับเอเอฟพี
    .
    ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ชาติผู้จัดหาอาวุธรายสำคัญของอิสราเอล บ่งชี้ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ว่าเขาคัดค้านการรุกรานทางภาคพื้นของอิสราเอล "เราควรมีข้อตกลงหยุดยิงได้แล้วในตอนนี้"
    .
    ก่อนหน้านี้ในช่วงกลางเดือน อิสราเอลเริ่มเปิดฉากโจมตีทางอากาศนองเลือดเป็นชุดๆ เล่นงานฐานที่มั่นของฮิซบอลเลาะห์ทั่วเลบานอน และในวันศุกร์ (27 ก.ย.) ได้ทิ้งบอมบ์สังหาร นัสรัลเลาะห์ ในกรุงเบรุต
    .
    ในภาคเหนือของอิสราเอล ใกล้ชายแดนเลบานอน กัลแลนท์ บอกว่า "เราจะใช้ทุกวิถีทางที่อาจจำเป็น ทั้งทางอากาศ ทางทะเลและภาคพื้น เพื่อกอบกู้ความสงบคืนกลับมา" เขาบอกว่าการสังหารนัสรัลเลาะห์ "เป็นก้าวย่างที่สำคัญ แต่ไม่ใช่ปฏิบัติการท้ายสุด"
    .
    พวกฮิซบอลเลาะห์เริ่มปฏิบัติการโจมตีแบบไม่หนักหน่วง เล่นงานทหารอิสราเอล หนึ่งวันหลังจากพวกนักรบปาเลสไตน์ฮามาส พันธมิตรของพวกเขาลงมือจู่โจมเล่นงานอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม สังหารผู้คนไปราว 1,200 ราย โหมกระพือการแก้แค้นของอิสราเอลและจุดชนวนสงครามในกาซา ปลิดชีพผู้คนไปมากกว่า 41,000 คน
    .
    การปะทะตามแนวชายแดนลุกลามบายปลายอย่างรวดเร็วในเดือนนี้ ส่งผลให้ประชาชนทั่วภูมิภาคตกอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว กังวลว่าสถานการณ์จะทวีความรุนแรงและขยายวงมากขึ้นเรื่อยๆ
    .
    อิสราเอลประกาศเมื่อช่วงต้นเดือนว่ากำลังเบี่ยงโฟกัสจากกาซา มาเป็นการปกป้องชายแดนทางเหนือของประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่เลบานอนเผยว่า ปฏิบัติการโจมตีของอิสราเอลเล่นงานเลบานอน ได้ปลิดชีพผู้คนไปหลายร้อยรายในสัปดาห์ที่แล้ว และบีบให้ชาวบ้านราว 1 ล้านคนต้องหลบหนีออกจากบ้านเรือน
    .
    ฮิซบอลเลาะห์และพวกติดอาวุธกลุ่มอื่นๆ ยิงจรวด โดรนและขีปนาวุธบางส่วนเข้าใส่อิสราเอลในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
    .
    เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวหาคู่อริอย่างอิหร่าน ซึ่งให้การสนับสนุนฮามาส ฮิซบอลเลาะห์ และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ว่ากำลังฉุดภูมิภาคแถบนี้ถลำลึกเข้าสู่สงคราม "ไม่มีที่ไหนในตะวันออกกลางที่อิสราเอลเอื้อมไม่ถึง" เขาเตือน
    .
    อิหร่าน เคยบอกว่าการสังหารนัสรัลเลาะห์ จะนำมาซึ่งการทำลายล้างอิสราเอล แต่ทางกระทรวงการต่างประเทศระบุในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ว่าอิหร่านจะไม่ได้ส่งนักรบไหนๆ ไปเผชิญหน้ากับอิสราเอล
    .
    ในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ปฏิบัติการโจมตีของอิสราเอล โดนอาคารหลังหนึ่งในกรุงเบรุต ซึ่งทางกลุ่มติดอาวุธบอกว่ามันสังหารสมาชิกของพวกเขาไป 3 ราย ทั้งนี้การโจมตีดังกล่าวถือเป็นการโจมตีย่านใจกลางเมืองหลวงของเลบานอนเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โหมกระพือความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    .
    กระทรวงสาธารณสุขเลบานอน เปิดเผยว่ามีผู้คนมากกว่า 1,000 ราย ที่ถูกสังหารนับตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน ขณะที่ ฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่ามีชาวบ้านต้องไร้ถิ่นฐานภายในเลบานอนอีกกว่า 200,000 คน และอีกกว่า 100,000 คน หลบหนีเข้าไปยังซีเรีย ประเทศเพื่อนบ้าน
    .
    นาจิบ มากาติ นายกรัฐมนตรีเลบานอน เรียกร้องข้อตกลงหยุดยิงบนพื้นฐานข้อเสนอของสหรัฐฯ-ฝรั่งเศสเมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมเรียกร้อง "หยุดการรุกรานเลบานอนของอิสราเอล"
    .
    โจเซฟ บอร์เรล หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศสหภาพยุโรป กล่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมฉุกเฉินของบรรดาผู้แทนทูตระดับสูงของกลุ่ม เตือนว่าการแทรกแซงทางทหารใดๆจะซ้ำเติมสถานการณ์อย่างฉับพลันและมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ "อธิปไตยของทั้งอิสราเอลและเลบานอนจำเป็นต้องได้รับการรับประกัน"
    .
    ฌอง โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นนักการทูตระดับสูงคนแรกที่เดินทางเยือนกรุงเบรุต นับตั้งแต่อิสราเอลยกระดับโจมตีอย่างหนักหน่วง เรียกร้องในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ร้องขออิสราเอลอดทนอดกลั้นจากการรุกรานทางภาคพื้น "ยังคงมีความหวัง แต่เหลือเวลาอีกน้อยนิด"
    .
    แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าการทูตคือหนทางที่ดีที่สุดสำหรับภูมิภาคแถบนี้ "วอชิงตันจะยังคงเดินหน้าทำงาน เพื่อมุ่งหน้าสู่ทางออกทางการทูต สำหรับชายแดนอิสราเอล-เลบานอน และสำหรับข้อตกลงหยุดยิงในกาซาและข้อตกลงปล่อยตัวประกัน"
    .
    ในกาซา พวกผู้สื่อข่าวรายงานว่าจำนวนปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000092352
    ..................
    Sondhi X
    กองกำลังอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการรุกรานอย่างจำกัดเข้าไปยังเลบานอนแล้ว จากการเปิดเผยของสหรัฐฯ ในวันจันทร์ (30 ก.ย.) หลังอิสราเอลประกาศเดินหน้าสู้รบกับฮิซบอลเลาะห์ และปิดผนึกพื้นที่ชายแดน ตามหลังปฏิบัติการสังหารผู้นำพวกติดอาวุธกลุ่มนี้ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . โยอาฟ กัลแลนท์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล เตือนว่าการสู้รบยังไม่จบ แม้ว่าปฏิบัติการโจมตีถล่มกรุงเบรุตเมื่อวันศุกร์ (27 ก.ต.) จะปลิดชีพ ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำของฮิซบอลเลาะห์ ก่อความเสียหายใหญ่หลวงแก่พวกติดอาวุธกลุ่มนี้ . บรรดาผู้นำโลกเรียกร้องใช้หนทางด้านการทูตลดสถานการณ์ความตึงเครียด ในนั้นรวมถึง สเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกของ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่บอกว่า "เราไม่ต้องการเห็นการรุกรานทางภาคพื้นไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม" . ดูจาร์ริก เผยด้วยว่ากองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเลบานอน ไม่สามารถปฏิบัติการลาดตระเวนได้อีกต่อไป เนื่องจากห่าจรวดที่ทั้ง 2 ฝ่ายยิงตอบโต้กันไปมาอย่างหนักหน่วง . แมตธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "พวกเจ้าหน้าที่อิสราเอลแจ้งกับเราว่า ปัจจุบันพวกเขากำลังปฏิบัติการอย่างจำกัด เล็งเป้าเล่นงานโครงสร้างพื้นฐานของฮิซบอลเลาะห์ใกล้ชายแดน" . นาอิม ฮัสเซม รองหัวหน้ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กล่าวระหว่างปราศรัยผ่านสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่การตายของนัสรัลเลาะห์ ระบุว่านักรบฮิซบอลเลาะห์ "พร้อมหากอิสราเอลตัดสินใจบุกเข้ามาทางภาคพื้น" . กองทัพแห่งชาติเลบานอน ซึ่งมีแสนยานุภาพทางทหารน้อยกว่ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์ กำลังปรับเปลี่ยนฐานที่มั่นออกห่างจากชายแดนมากขึ้น เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของกองทัพเปิดเผยกับเอเอฟพี . ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ชาติผู้จัดหาอาวุธรายสำคัญของอิสราเอล บ่งชี้ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ว่าเขาคัดค้านการรุกรานทางภาคพื้นของอิสราเอล "เราควรมีข้อตกลงหยุดยิงได้แล้วในตอนนี้" . ก่อนหน้านี้ในช่วงกลางเดือน อิสราเอลเริ่มเปิดฉากโจมตีทางอากาศนองเลือดเป็นชุดๆ เล่นงานฐานที่มั่นของฮิซบอลเลาะห์ทั่วเลบานอน และในวันศุกร์ (27 ก.ย.) ได้ทิ้งบอมบ์สังหาร นัสรัลเลาะห์ ในกรุงเบรุต . ในภาคเหนือของอิสราเอล ใกล้ชายแดนเลบานอน กัลแลนท์ บอกว่า "เราจะใช้ทุกวิถีทางที่อาจจำเป็น ทั้งทางอากาศ ทางทะเลและภาคพื้น เพื่อกอบกู้ความสงบคืนกลับมา" เขาบอกว่าการสังหารนัสรัลเลาะห์ "เป็นก้าวย่างที่สำคัญ แต่ไม่ใช่ปฏิบัติการท้ายสุด" . พวกฮิซบอลเลาะห์เริ่มปฏิบัติการโจมตีแบบไม่หนักหน่วง เล่นงานทหารอิสราเอล หนึ่งวันหลังจากพวกนักรบปาเลสไตน์ฮามาส พันธมิตรของพวกเขาลงมือจู่โจมเล่นงานอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม สังหารผู้คนไปราว 1,200 ราย โหมกระพือการแก้แค้นของอิสราเอลและจุดชนวนสงครามในกาซา ปลิดชีพผู้คนไปมากกว่า 41,000 คน . การปะทะตามแนวชายแดนลุกลามบายปลายอย่างรวดเร็วในเดือนนี้ ส่งผลให้ประชาชนทั่วภูมิภาคตกอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว กังวลว่าสถานการณ์จะทวีความรุนแรงและขยายวงมากขึ้นเรื่อยๆ . อิสราเอลประกาศเมื่อช่วงต้นเดือนว่ากำลังเบี่ยงโฟกัสจากกาซา มาเป็นการปกป้องชายแดนทางเหนือของประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่เลบานอนเผยว่า ปฏิบัติการโจมตีของอิสราเอลเล่นงานเลบานอน ได้ปลิดชีพผู้คนไปหลายร้อยรายในสัปดาห์ที่แล้ว และบีบให้ชาวบ้านราว 1 ล้านคนต้องหลบหนีออกจากบ้านเรือน . ฮิซบอลเลาะห์และพวกติดอาวุธกลุ่มอื่นๆ ยิงจรวด โดรนและขีปนาวุธบางส่วนเข้าใส่อิสราเอลในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต . เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวหาคู่อริอย่างอิหร่าน ซึ่งให้การสนับสนุนฮามาส ฮิซบอลเลาะห์ และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ว่ากำลังฉุดภูมิภาคแถบนี้ถลำลึกเข้าสู่สงคราม "ไม่มีที่ไหนในตะวันออกกลางที่อิสราเอลเอื้อมไม่ถึง" เขาเตือน . อิหร่าน เคยบอกว่าการสังหารนัสรัลเลาะห์ จะนำมาซึ่งการทำลายล้างอิสราเอล แต่ทางกระทรวงการต่างประเทศระบุในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ว่าอิหร่านจะไม่ได้ส่งนักรบไหนๆ ไปเผชิญหน้ากับอิสราเอล . ในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ปฏิบัติการโจมตีของอิสราเอล โดนอาคารหลังหนึ่งในกรุงเบรุต ซึ่งทางกลุ่มติดอาวุธบอกว่ามันสังหารสมาชิกของพวกเขาไป 3 ราย ทั้งนี้การโจมตีดังกล่าวถือเป็นการโจมตีย่านใจกลางเมืองหลวงของเลบานอนเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โหมกระพือความตื่นตระหนกแก่ประชาชน . กระทรวงสาธารณสุขเลบานอน เปิดเผยว่ามีผู้คนมากกว่า 1,000 ราย ที่ถูกสังหารนับตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน ขณะที่ ฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่ามีชาวบ้านต้องไร้ถิ่นฐานภายในเลบานอนอีกกว่า 200,000 คน และอีกกว่า 100,000 คน หลบหนีเข้าไปยังซีเรีย ประเทศเพื่อนบ้าน . นาจิบ มากาติ นายกรัฐมนตรีเลบานอน เรียกร้องข้อตกลงหยุดยิงบนพื้นฐานข้อเสนอของสหรัฐฯ-ฝรั่งเศสเมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมเรียกร้อง "หยุดการรุกรานเลบานอนของอิสราเอล" . โจเซฟ บอร์เรล หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศสหภาพยุโรป กล่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมฉุกเฉินของบรรดาผู้แทนทูตระดับสูงของกลุ่ม เตือนว่าการแทรกแซงทางทหารใดๆจะซ้ำเติมสถานการณ์อย่างฉับพลันและมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ "อธิปไตยของทั้งอิสราเอลและเลบานอนจำเป็นต้องได้รับการรับประกัน" . ฌอง โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นนักการทูตระดับสูงคนแรกที่เดินทางเยือนกรุงเบรุต นับตั้งแต่อิสราเอลยกระดับโจมตีอย่างหนักหน่วง เรียกร้องในวันจันทร์ (30 ก.ย.) ร้องขออิสราเอลอดทนอดกลั้นจากการรุกรานทางภาคพื้น "ยังคงมีความหวัง แต่เหลือเวลาอีกน้อยนิด" . แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าการทูตคือหนทางที่ดีที่สุดสำหรับภูมิภาคแถบนี้ "วอชิงตันจะยังคงเดินหน้าทำงาน เพื่อมุ่งหน้าสู่ทางออกทางการทูต สำหรับชายแดนอิสราเอล-เลบานอน และสำหรับข้อตกลงหยุดยิงในกาซาและข้อตกลงปล่อยตัวประกัน" . ในกาซา พวกผู้สื่อข่าวรายงานว่าจำนวนปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000092352 .................. Sondhi X
    Like
    Sad
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 979 มุมมอง 0 รีวิว
  • อเมริกาหลังชนฝาปีหน้าปั่นสงครามนิวเคลียร์
    .
    ครั้งนี้เป็นครั้งแรกเลยในชีวิตผม ตั้งแต่อยู่ในวงการข่าวมากว่าห้าสิบปี ที่ได้เห็นผู้อำนวยการข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ CIA ซึ่งปัจจุบันคือ นายวิลเลียม เบิร์นส และหัวหน้าข่าวกรองต่างประเทศ หรือ MI6 ของอังกฤษ คือ เซอร์ริชาร์ด มัวร์ ไปขึ้นเวทีพร้อมๆ กัน โดยคนที่สัมภาษณ์หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับทั้งสองคน คือ นาง Roula Khalaf บก.บริหารหญิงของ Financial Times ที่ยังมีนายทุนยิวที่มีอิทธิพลครอบงำใน City of London และ Wall Street เหล่านี้และนี่เองคำตอบส่วนหนึ่งว่าทำไม ผอ. ทั้ง CIA และ MI6 ถึงยอมมาขึ้นเวทีของ Financial Times พร้อมกันเป็นครั้งแรก
    .
    องค์กรสืบราชการลับ 2 องค์กรนี้คือตัวสำคัญที่ป่วนโลกทั้งโลกเลย ป่วนหมดทุกอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์ในวาระซ่อนเร้น หรือวาระที่ตะวันตกมีอยู่กับโลกทั้งโลกให้เป็นไปตามที่ต้องการ องค์กร 2 องค์กรนี้ ลอบสังหาร ปลุกปั่นชาวบ้าน ยุยงให้มีความวุ่นวายขึ้นมา เพื่อพวกมันจะได้เข้ามาจับปลาตอนน้ำขุ่น
    .
    ท่านผู้ชมครับ ในบทบรรณาธิการ ทั้งวิลเลียม เบิร์นส และ ริชาร์ด มัวร์ เขียนเผยแพร่ร่วมกันในหนังสือพิมพ์ The Financial Times เมื่อวันเดียวกัน วันเสาร์ที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ทั้งคู่พยายามปั่นกระแสว่าปัจจุบันกำลังเกิดภัยคุกคามโลกอย่างไม่เคยเห็น ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ขณะที่เครื่องบินล่องหน F-35 ก็ฝึกบินลงจอดบนถนนไฮเวย์ในฟินแลนด์ ที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ส่วนเครื่องรบนาโตของเยอรมนี กำลังฝึกซ้อมขนระเบิดนิวเคลียร์อเมริกา B-61 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
    .
    นิตยสาร NEWSWEEK รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กันยายน ก่อนวันกล่าวสุนทรพจน์ (7 ก.ย.) ว่า กองทัพนาโตแถลงยืนยันว่า สหรัฐฯ ได้ส่งระเบิดนิวเคลียร์ B61 จำนวนหนึ่งมาประจำการในยุโรป อันเป็นส่วนหนึ่งของการขยายป้องปรามที่รู้จักกันในนาม "ร่มนิวเคลียร์" หรือ Nuclear Umbrella ทั้งนี้ เป็นที่คาดหมายว่าระเบิดนิวเคลียร์ B61 จะถูกประจำไว้ที่ฐานทัพ 6 แห่งในยุโรป รวมทั้งฐานทัพอากาศบูเชล ทางตะวันตกของเยอรมนี
    .
    ผมเป็นคนที่ติดตามสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ของโลกอย่างใกล้ชิดมาหลายสิบปี ช่วงหลังผมมีโอกาสคุยกับคุณทนง ขันทอง นักการทูต และผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศหลายคน จนตกผลึกว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เห็นได้ชัด สถานการณ์ที่ผู้อำนวยการข่าวกรอง MI6 และ CIA มาแถลงข่าวร่วมกัน เห็นได้ชัดว่าชาติตะวันตกและอเมริกาในยุโรปอยู่ในสถานการณ์หลังชนฝา มีความสั่นคลอนมาก จึงพยายามดิ้นรนรักษาความเป็นมหาอำนาจของโลกไว้อยู่ในการควบคุมของตัวเอง ก็คือว่า กูเคยคุมโลกอย่างไร กูไม่สนหรอก กูจะคุมโลกต่อไป ทุกคนต้องฟังกู นี่คือทัศนคติของโลกทางตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯอเมริกา
    .
    เป็นไปได้สูงมากว่าจุดแตกหักอาจจะเกิดขึ้นในปีหน้า คือ 2568 เพราะปีหน้าจากสถานการณ์ทั้งทางธุรกิจ เศรษฐกิจ การลงทุน การขาดดุลการค้า และงบประมาณหลายๆ อย่างของโลกตะวันตก น่าจะก้าวเข้าไปสู่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินแล้ว ทั้งนี้ การประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 16 ที่เมืองคาซาน ซึ่งมีนายวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เป็นเจ้าภาพในเดือนตุลาคม 2567 ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม จะเป็นการส่งสัญญาณที่แรงมาก เพราะมีประเทศที่สนใจเข้าเป็นสมาชิก BRICS เต็มไปหมด รวมๆ แล้ว 50 ประเทศ
    .
    ด้วยเหตุนี้ อเมริกา อังกฤษ และชาติตะวันตกในยุโรปจึงจงใจจุดไฟสงครามเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ BRICS ได้แจ้งเกิด มิฉะนั้นแล้ว ศูนย์กลางการเจริญเติบโตของโลกจะย้ายที่มาที่ Global South หรือซีกโลกใต้ ที่ผมเอ่ยชื่อไปเมื่อกี้นี้อย่างแน่นอน
    .
    ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองว่าตอนนี้ระหว่างโลกตะวันตกที่นำโดยอเมริกา กับประเทศในกลุ่ม BRICS ซึ่งนำโดยจีน รัสเซีย อินเดียบราซิลและแอฟริกาใต้ นับวันจะยิ่งแข็งแกร่งและขยายตัวใหญ่ขึ้นทุกที ประจวบกับการที่จีนเข้าไปสานสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาอย่างแน่นแฟ้น ด้วยเหตุนี้ ยิ่งนานวันทั้งสองฝ่ายยิ่งคุยกันไม่รู้เรื่อง
    .
    เพราะฉะนั้นแล้ว สงครามใหญ่อาจจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ผมก็เชื่อว่าเกิดขึ้นได้ยาก แต่มีโอกาสเกิดขึ้นแน่ และผมขอฟันธงไว้ล่วงหน้า ถ้าเกิดขึ้นจริง โลกตะวันตก อียู และอเมริกา จะแพ้ครับ นี่ผมทำนายไว้ล่วงหน้าเลยนะท่านผู้ชม จดเอาไว้ ผมทำนายวันนี้
    ที่มา : คุยทุกเรื่องกับสนธิ https://www.facebook.com/share/p/CrumLsJDbu5LEXj5/?mibextid=CTbP7E
    #Thaitimes
    อเมริกาหลังชนฝาปีหน้าปั่นสงครามนิวเคลียร์ . ครั้งนี้เป็นครั้งแรกเลยในชีวิตผม ตั้งแต่อยู่ในวงการข่าวมากว่าห้าสิบปี ที่ได้เห็นผู้อำนวยการข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ CIA ซึ่งปัจจุบันคือ นายวิลเลียม เบิร์นส และหัวหน้าข่าวกรองต่างประเทศ หรือ MI6 ของอังกฤษ คือ เซอร์ริชาร์ด มัวร์ ไปขึ้นเวทีพร้อมๆ กัน โดยคนที่สัมภาษณ์หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับทั้งสองคน คือ นาง Roula Khalaf บก.บริหารหญิงของ Financial Times ที่ยังมีนายทุนยิวที่มีอิทธิพลครอบงำใน City of London และ Wall Street เหล่านี้และนี่เองคำตอบส่วนหนึ่งว่าทำไม ผอ. ทั้ง CIA และ MI6 ถึงยอมมาขึ้นเวทีของ Financial Times พร้อมกันเป็นครั้งแรก . องค์กรสืบราชการลับ 2 องค์กรนี้คือตัวสำคัญที่ป่วนโลกทั้งโลกเลย ป่วนหมดทุกอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์ในวาระซ่อนเร้น หรือวาระที่ตะวันตกมีอยู่กับโลกทั้งโลกให้เป็นไปตามที่ต้องการ องค์กร 2 องค์กรนี้ ลอบสังหาร ปลุกปั่นชาวบ้าน ยุยงให้มีความวุ่นวายขึ้นมา เพื่อพวกมันจะได้เข้ามาจับปลาตอนน้ำขุ่น . ท่านผู้ชมครับ ในบทบรรณาธิการ ทั้งวิลเลียม เบิร์นส และ ริชาร์ด มัวร์ เขียนเผยแพร่ร่วมกันในหนังสือพิมพ์ The Financial Times เมื่อวันเดียวกัน วันเสาร์ที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ทั้งคู่พยายามปั่นกระแสว่าปัจจุบันกำลังเกิดภัยคุกคามโลกอย่างไม่เคยเห็น ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ขณะที่เครื่องบินล่องหน F-35 ก็ฝึกบินลงจอดบนถนนไฮเวย์ในฟินแลนด์ ที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ส่วนเครื่องรบนาโตของเยอรมนี กำลังฝึกซ้อมขนระเบิดนิวเคลียร์อเมริกา B-61 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย . นิตยสาร NEWSWEEK รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กันยายน ก่อนวันกล่าวสุนทรพจน์ (7 ก.ย.) ว่า กองทัพนาโตแถลงยืนยันว่า สหรัฐฯ ได้ส่งระเบิดนิวเคลียร์ B61 จำนวนหนึ่งมาประจำการในยุโรป อันเป็นส่วนหนึ่งของการขยายป้องปรามที่รู้จักกันในนาม "ร่มนิวเคลียร์" หรือ Nuclear Umbrella ทั้งนี้ เป็นที่คาดหมายว่าระเบิดนิวเคลียร์ B61 จะถูกประจำไว้ที่ฐานทัพ 6 แห่งในยุโรป รวมทั้งฐานทัพอากาศบูเชล ทางตะวันตกของเยอรมนี . ผมเป็นคนที่ติดตามสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ของโลกอย่างใกล้ชิดมาหลายสิบปี ช่วงหลังผมมีโอกาสคุยกับคุณทนง ขันทอง นักการทูต และผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศหลายคน จนตกผลึกว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เห็นได้ชัด สถานการณ์ที่ผู้อำนวยการข่าวกรอง MI6 และ CIA มาแถลงข่าวร่วมกัน เห็นได้ชัดว่าชาติตะวันตกและอเมริกาในยุโรปอยู่ในสถานการณ์หลังชนฝา มีความสั่นคลอนมาก จึงพยายามดิ้นรนรักษาความเป็นมหาอำนาจของโลกไว้อยู่ในการควบคุมของตัวเอง ก็คือว่า กูเคยคุมโลกอย่างไร กูไม่สนหรอก กูจะคุมโลกต่อไป ทุกคนต้องฟังกู นี่คือทัศนคติของโลกทางตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯอเมริกา . เป็นไปได้สูงมากว่าจุดแตกหักอาจจะเกิดขึ้นในปีหน้า คือ 2568 เพราะปีหน้าจากสถานการณ์ทั้งทางธุรกิจ เศรษฐกิจ การลงทุน การขาดดุลการค้า และงบประมาณหลายๆ อย่างของโลกตะวันตก น่าจะก้าวเข้าไปสู่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินแล้ว ทั้งนี้ การประชุมสุดยอดของกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 16 ที่เมืองคาซาน ซึ่งมีนายวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เป็นเจ้าภาพในเดือนตุลาคม 2567 ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม จะเป็นการส่งสัญญาณที่แรงมาก เพราะมีประเทศที่สนใจเข้าเป็นสมาชิก BRICS เต็มไปหมด รวมๆ แล้ว 50 ประเทศ . ด้วยเหตุนี้ อเมริกา อังกฤษ และชาติตะวันตกในยุโรปจึงจงใจจุดไฟสงครามเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ BRICS ได้แจ้งเกิด มิฉะนั้นแล้ว ศูนย์กลางการเจริญเติบโตของโลกจะย้ายที่มาที่ Global South หรือซีกโลกใต้ ที่ผมเอ่ยชื่อไปเมื่อกี้นี้อย่างแน่นอน . ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองว่าตอนนี้ระหว่างโลกตะวันตกที่นำโดยอเมริกา กับประเทศในกลุ่ม BRICS ซึ่งนำโดยจีน รัสเซีย อินเดียบราซิลและแอฟริกาใต้ นับวันจะยิ่งแข็งแกร่งและขยายตัวใหญ่ขึ้นทุกที ประจวบกับการที่จีนเข้าไปสานสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาอย่างแน่นแฟ้น ด้วยเหตุนี้ ยิ่งนานวันทั้งสองฝ่ายยิ่งคุยกันไม่รู้เรื่อง . เพราะฉะนั้นแล้ว สงครามใหญ่อาจจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ผมก็เชื่อว่าเกิดขึ้นได้ยาก แต่มีโอกาสเกิดขึ้นแน่ และผมขอฟันธงไว้ล่วงหน้า ถ้าเกิดขึ้นจริง โลกตะวันตก อียู และอเมริกา จะแพ้ครับ นี่ผมทำนายไว้ล่วงหน้าเลยนะท่านผู้ชม จดเอาไว้ ผมทำนายวันนี้ ที่มา : คุยทุกเรื่องกับสนธิ https://www.facebook.com/share/p/CrumLsJDbu5LEXj5/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Love
    Yay
    Angry
    21
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 3694 มุมมอง 0 รีวิว
  • CIA, MI6เตือนว่าจีนรัสเซียเป็นภัยต่อระเบียบโลก 9/9/2024

    หัวหน้าหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของอเมริกาและอังกฤษอย่าง CIA และ MI6 กล่าวอ้างในบทบรรณาธิการร่วมที่ตีพิมพ์โดย Financial Times เมื่อวันเสาร์ว่า ระเบียบโลกกำลังถูกคุกคามจากรัฐต่างๆ

    ในบทความดังกล่าว บิล เบิร์นส์ และ ริชาร์ด มัวร์ ให้คำมั่นว่า วอชิงตันและลอนดอนจะทำงานควบคู่กันเพื่อรักษาสถานะเดิมในโลกที่เทคโนโลยีได้เร่งให้แนวโน้มทางภูมิรัฐศาสตร์เร่งตัวขึ้นอย่างมาก

    หลังจากความขัดแย้งในยูเครนปะทุขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 และความสัมพันธ์ที่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็วกับตะวันตก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย รวมถึงประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้ประกาศซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าจะความเป็นจ้าวโลกของสหรัฐฯได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่การระบอบมหาอำนาจหลายขั้ว

    ในบทบรรณาธิการ เบิร์นส์และมัวร์ตั้งข้อสังเกตว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าระเบียบโลกระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นระบบที่สมดุลซึ่งนำไปสู่สันติภาพและเสถียรภาพในระดับหนึ่ง และเสริมสร้างมาตรฐานการครองชีพ โอกาส และความเจริญรุ่งเรืองที่สูงขึ้นตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามในรูปแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนนับตั้งแต่สงครามเย็น"

    “วันนี้ เราร่วมมือกันในระบบระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันกัน ซึ่งทั้งสองประเทศของเรากำลังเผชิญกับภัยคุกคามที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” หัวหน้าสายลับระดับสูงทั้งสองเขียนไว้

    บทความดังกล่าวเน้นย้ำถึง “รัสเซียที่กล้าแสดงออก” ในบริบทของความขัดแย้งในยูเครน ซึ่งทั้ง CIA และ MI6 “มองเห็น… ว่ากำลังจะเกิดขึ้น” หัวหน้าหน่วยงานข่าวกรองระบุว่าการสู้รบได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของเทคโนโลยีในสงครามสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไร้คนควบคุมและการลาดตระเวนผ่านดาวเทียม

    นอกจากนี้ เบิร์นส์และมัวร์ยังกล่าวหาว่ามอสโกว่า “มีแคมเปญที่จะบ่อนทำลายทั่วทั้งยุโรป” ตลอดจนเผยแพร่ “คำโกหกและข้อมูลบิดเบือนที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความแตกแยกระหว่างเรา”

    อย่างไรก็ตาม ตามบทบรรณาธิการ ในสายตาของ CIA และ MI6 “ความท้าทายด้านข่าวกรองและภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21” คือ “การเติบโตของจีน” หน่วยงานทั้งสองได้ปรับกระบวนการของตนใหม่เพื่อ “สะท้อนถึงลำดับความสำคัญนั้น” แล้ว

    โฆษกกระทรวงต่างประเทศรัสเซีย มาเรีย ซาคาโรวา กล่าวที่การประชุมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (SPIEF) เมื่อต้นเดือนมิถุนายนว่า “เรากำลังพูดถึงแนวคิดพหุศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนจากบรรทัดฐานเดิม และเราเห็นการต่อต้านอย่างสิ้นหวังของชาติตะวันตกโดยรวม... พวกเขาเห็นบรรทัดฐานนี้แตกต่างออกไป โดยมองว่าเป็นอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นของพวกเขาเอง เป็นระเบียบโลกที่มีพื้นฐานอยู่บนกฎเดียว พวกเขาต้องครอบงำเหมือนเช่นก่อน และทุกคนต้องทำเฉพาะสิ่งที่มหาอำนาจที่มีอำนาจเหนือกว่าอนุญาตให้พวกเขาทำได้”

    นักการทูตคนดังกล่าวยืนกรานว่าวาทะกรรมของชาติตะวันตกไม่ได้เป็นที่ยอมรับโดยประเทศใหญ่ในโลก ซึ่งน้อมรับแนวคิดของอำนาจหลายขั้ว
    ซาคาโรวาเน้นย้ำในขณะนั้นว่า “เราไม่ควรลืมว่าชาติตะวันตกโดยรวมเป็นชนกลุ่มน้อย”


    CIA, MI6เตือนว่าจีนรัสเซียเป็นภัยต่อระเบียบโลก 9/9/2024 หัวหน้าหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของอเมริกาและอังกฤษอย่าง CIA และ MI6 กล่าวอ้างในบทบรรณาธิการร่วมที่ตีพิมพ์โดย Financial Times เมื่อวันเสาร์ว่า ระเบียบโลกกำลังถูกคุกคามจากรัฐต่างๆ ในบทความดังกล่าว บิล เบิร์นส์ และ ริชาร์ด มัวร์ ให้คำมั่นว่า วอชิงตันและลอนดอนจะทำงานควบคู่กันเพื่อรักษาสถานะเดิมในโลกที่เทคโนโลยีได้เร่งให้แนวโน้มทางภูมิรัฐศาสตร์เร่งตัวขึ้นอย่างมาก หลังจากความขัดแย้งในยูเครนปะทุขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 และความสัมพันธ์ที่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็วกับตะวันตก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย รวมถึงประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้ประกาศซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าจะความเป็นจ้าวโลกของสหรัฐฯได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่การระบอบมหาอำนาจหลายขั้ว ในบทบรรณาธิการ เบิร์นส์และมัวร์ตั้งข้อสังเกตว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าระเบียบโลกระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นระบบที่สมดุลซึ่งนำไปสู่สันติภาพและเสถียรภาพในระดับหนึ่ง และเสริมสร้างมาตรฐานการครองชีพ โอกาส และความเจริญรุ่งเรืองที่สูงขึ้นตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามในรูปแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนนับตั้งแต่สงครามเย็น" “วันนี้ เราร่วมมือกันในระบบระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันกัน ซึ่งทั้งสองประเทศของเรากำลังเผชิญกับภัยคุกคามที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” หัวหน้าสายลับระดับสูงทั้งสองเขียนไว้ บทความดังกล่าวเน้นย้ำถึง “รัสเซียที่กล้าแสดงออก” ในบริบทของความขัดแย้งในยูเครน ซึ่งทั้ง CIA และ MI6 “มองเห็น… ว่ากำลังจะเกิดขึ้น” หัวหน้าหน่วยงานข่าวกรองระบุว่าการสู้รบได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของเทคโนโลยีในสงครามสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไร้คนควบคุมและการลาดตระเวนผ่านดาวเทียม นอกจากนี้ เบิร์นส์และมัวร์ยังกล่าวหาว่ามอสโกว่า “มีแคมเปญที่จะบ่อนทำลายทั่วทั้งยุโรป” ตลอดจนเผยแพร่ “คำโกหกและข้อมูลบิดเบือนที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความแตกแยกระหว่างเรา” อย่างไรก็ตาม ตามบทบรรณาธิการ ในสายตาของ CIA และ MI6 “ความท้าทายด้านข่าวกรองและภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21” คือ “การเติบโตของจีน” หน่วยงานทั้งสองได้ปรับกระบวนการของตนใหม่เพื่อ “สะท้อนถึงลำดับความสำคัญนั้น” แล้ว โฆษกกระทรวงต่างประเทศรัสเซีย มาเรีย ซาคาโรวา กล่าวที่การประชุมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (SPIEF) เมื่อต้นเดือนมิถุนายนว่า “เรากำลังพูดถึงแนวคิดพหุศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนจากบรรทัดฐานเดิม และเราเห็นการต่อต้านอย่างสิ้นหวังของชาติตะวันตกโดยรวม... พวกเขาเห็นบรรทัดฐานนี้แตกต่างออกไป โดยมองว่าเป็นอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นของพวกเขาเอง เป็นระเบียบโลกที่มีพื้นฐานอยู่บนกฎเดียว พวกเขาต้องครอบงำเหมือนเช่นก่อน และทุกคนต้องทำเฉพาะสิ่งที่มหาอำนาจที่มีอำนาจเหนือกว่าอนุญาตให้พวกเขาทำได้” นักการทูตคนดังกล่าวยืนกรานว่าวาทะกรรมของชาติตะวันตกไม่ได้เป็นที่ยอมรับโดยประเทศใหญ่ในโลก ซึ่งน้อมรับแนวคิดของอำนาจหลายขั้ว ซาคาโรวาเน้นย้ำในขณะนั้นว่า “เราไม่ควรลืมว่าชาติตะวันตกโดยรวมเป็นชนกลุ่มน้อย”
    Like
    Haha
    29
    1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 2085 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีโพสต์จากคอลัมน์ มันเป็นเช่นนั้นเอง โดยทับทิม พญาไท ในผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2567

    “สำหรับ “แนวรบทะเลจีนใต้” นั้น...แม้ลักษณะภายนอก อาจดูผิดแผก แตกต่างไปจากทั้งสองแนวรบอยู่มั่ง แต่ถ้ามองลึกลงไปถึงไส้ในความร้อนเร่า ร้อนผ่าวๆ หรือ “ความไวไฟ” ก็ไม่น่าจะผิดไปจากกันสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อมองถึงการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาว “นายJake Sullivan”

    เมื่อช่วงวัน-สองวันที่ผ่านมา (27-29 ส.ค.) เพราะการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงอเมริกันรายนี้ เอาเข้าจริงๆ แล้ว...อาจต่างไปจากการเดินทางไปเยี่ยมเยือนประเทศแต่ละประเทศตามปกติธรรมดา หรือตามขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่วๆ ไป แต่ถือเป็นการเดินทางไปเยือนตาม “คำเชื้อเชิญ” ของคณะกรรมการกลางและโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อให้มีโอกาส “รับฟัง...สิ่งที่ควรได้ยิน” ดังที่บทบรรณาธิการ “Global Times” เขาว่าเอาไว้เมื่อไม่กี่วันมานี้นั่นแหละทั่น...

    และการพูดคุยเจ๊าะแจ๊ะเจรจาของ 2 มหาอำนาจในคราวนี้...อาจแทบไม่ต้องเสียเวลาประดิษฐ์คิดค้นคำพูดประเภทสวยๆ หรูๆ แบบพวกนักการทูตที่ชอบวกไป-วนมาแต่อย่างใด เพราะถือเป็นการพูดคุยสื่อสารแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” (military-to-military communications) อะไรประมาณนั้น โดยผลสรุปของการพูดคุยเจรจา ถ้าฟังจากคำแถลงของกระทรวงกลาโหมจีน หรือจากคำประกาศของตัวแทนฝ่ายจีน อย่างรองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลาง “พลเอกZhang Youxia” ต้องเรียกว่า...เผลอๆอาจต้อง “หรี่แอร์” ในระหว่างการประชุมหรือไม่? อย่างไร? ก็แล้วแต่จะว่ากันไป เพราะออกจะเป็นอะไรที่ “หนาวว์ว์ว์ยะเยือก” อยู่พอสมควรทีเดียว หรืออย่างที่สำนักข่าวต่างประเทศบางสำนักเขาถึงกับหยิบไปพาดหัวไว้ว่า...ปักกิ่งแสดงความต้องการที่จะให้วอชิงตัน “หยุดสมคบคิดทางทหาร” กับไต้หวัน เอาเลยถึงขั้นนั้น!!!

    คือ “พลเอกZhang Youxia” รายที่ว่านี้...แม้ว่าโดยฐานะ ตำแหน่ง จะเป็นแค่ “รองประธาน” ของคณะกรรมาธิการกลางทางทหารกองทัพจีนก็เถอะ แต่โดยความสนิทชิดเชื้อกับผู้นำสูงสุดของจีน อย่างประธานาธิบดี “สี ทนได้” หรือ “สี จิ้นผิง” นั้นว่ากันว่าสนิทกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อของทั้งคู่ และนอกจากเคยผ่านศึกสมรภูมิสงครามอย่าง “สงครามสั่งสอนเวียดนาม” เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1979 แล้ว ยังมีสถานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้คำพูด คำจาในแต่ละวรรค แต่ละประโยค ของบุคคลผู้นี้ คงต้อง “ฟัง” และฟังแบบต้อง “ได้ยิน” อีกต่างหาก โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “ปมประเด็นปัญหาไต้หวันอันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่มิอาจแบ่งแยกได้นั้น ถือเป็นรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และเป็นหมายเลขหนึ่งของ...เส้นตาย (Red Line) ที่ไม่อาจก้าวข้ามได้โดยเด็ดขาด แม้ว่าจีนจะพยายามรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในบริเวณช่องแคบไต้หวันมาโดยตลอด แต่ก็ต้องขอเตือนเอาไว้ด้วยว่า...สิ่งเหล่านี้อาจเป็นไปไม่ได้ถ้าหากยังมีความพยายามแบ่งแยกไต้หวันออกจากจีน!!!”

    นี่...ฟังแล้วต้องหรี่แอร์-ไม่หรี่แอร์ คงต้องไปคิดๆ เอาเองก็แล้วกัน ยิ่งเป็นคำพูดระหว่าง “ทหาร-ต่อ-ทหาร” ไม่ใช่คำพูดหวานๆ แบบบรรดานักการทูตทั้งหลาย ก็คงต้องคิดหน้า-คิดหลังยิ่งขึ้นไปใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อรองประธานคณะกรรมาธิการทหารรายนี้ได้เน้นย้ำไว้ด้วยว่า “อเมริกาควรจะมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องในมุมมองที่มีต่อจีน และควรที่จะกลับมาสู่ความมีเหตุมีผลและนโยบายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงต่อประเทศของเรา เคารพในผลประโยชน์หลักของจีนในทางปฏิบัติและพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกองทัพทั้งสองประเทศ ร่วมกันแบกรับภาระความรับผิดชอบในฐานะประเทศมหาอำนาจ” อันถือเป็นคำพูดที่สอดคล้องต้องกันกับผู้นำจีนอย่างประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ที่บอกกับ “นายJake Sullivan” เอาไว้ก่อนหน้านั้นประมาณว่า... “จีนและสหรัฐฯ ควรจะมีความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์ ต่อประชาชนและต่อโลก” อีกด้วย...

    ดังนั้น...คำพูดที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวได้รับฟังแบบชนิดเต็มรูหู ตลอดช่วงระยะเวลาประมาณ 11 ชั่วโมงในการพูดคุยหัวข้อต่างๆ ประมาณ 6 วาระ ระหว่างวันอังคารที่ 27 และพุธที่ 28 ส.ค. ถ้าหากจะสรุปย่อๆ แบบสั้นๆ-ง่ายๆ ตามสำบัดสำนวนของ “พลเอกZhang Youxia” ก็คือ... “หยุดสมคบคิดทางทหารกับไต้หวัน-หยุดติดอาวุธ-หยุดสร้างข่าวลือแบบผิดๆ” หรือเลิกกระตุ้น เลิกยุแยงตะแคงรั่ว ให้เกิดความคิดความทะเยอทะยานของบรรดาชาวไต้หวันบางกลุ่ม-บางราย ที่จะแยกไต้หวันออกจากจีนโดยเด็ดขาด!!!

    ด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้การพบปะระหว่างที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวกับฝ่ายจีนคราวนี้ ในสายตานักคิด-นักเขียนและนักวิชาการด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะ อย่าง “K.J. Noh” ถึงได้สรุปว่า นี่ไม่ใช่การพบปะเพื่อกระชับความสัมพันธ์ หรือปรับปรุงความสัมพันธ์ใดๆ อีกต่อไป แต่ถือเป็นการตอกย้ำ “ข้อสงสัย” ของจีนต่อบทบาทของอเมริการในเอเชีย-แปซิฟิก ที่ควรจะต้องเป็นไปตาม “ข้อตกลงที่บาหลี” (Bali Agreement) หรือระหว่างการประชุมสุดยอดของผู้นำจีนและผู้นำอเมริกันที่นครซานฟรานซิสโก เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2023 นั่นก็คือข้อห้าม 5 ข้อ (Five Nos) ที่อเมริกาเคยสัญญิง-สัญญาไว้กับจีนว่าไม่คิดจะก่อสงครามเย็น-สงครามร้อน-ไม่คิดเปลี่ยนแปลงระบบปกครองจีน-ไม่ขัดขวางกิจกรรมของกันและกันและไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน...

    ดังนั้น...การที่คุณพ่ออเมริกายังไม่หยุดขายอาวุธไม่รู้จะกี่ต่อกี่พันล้าน-หมื่นล้านให้กับไต้หวัน ยังเปิดช่อง เปิดโอกาส ให้รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวันและที่ปรึกษาความมั่นคง ดอดเข้าไป “ประชุมลับ” กับอเมริกากันถึงที่ เมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาแถมยังพยายามหันไปสร้าง “ดาวยั่วดวงใหม่”

    อย่างฟิลิปปินส์ ชนิดถึงกับยอมทุ่มเทเงินทองถึง 1.894 ล้านล้านเปโซ หรือ 1.1 ล้านล้านบาท (33,740 ล้านดอลลาร์) เพื่อซื้ออาวุธ ซื้อเครื่องบินโจมตีมารับมือกับจีน โดยยังไม่นับรวมไปถึงการคิดจะนำเอาขีปนาวุธพิสัยกลางของอเมริกามาติดตั้งไว้ในฟิลิปปินส์อีกต่างหาก ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรเหล่านี้นี่เอง ที่น่าจะทำให้ “แนวรบในทะเลจีนใต้” นับแต่นี้ น่าจะยิ่งร้อนเร่า ร้อนแรง ยิ่งขึ้นไปตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกอย่างจีน ไม่ได้คิดจะเอาแต่ลอดเลื้อย โอบกระหวัดรัดพันแบบแต่ก่อน แต่กล้าที่จะพูดจาแบบตรงไป-ตรงมา หรือแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” กับอเมริกา ให้ต้อง “ฟัง...แล้วได้ยิน” อย่างมิอาจเอาหูไปนา-เอาตาไปไร่ได้อีกต่อไป...

    อันนี้นี่แหละ...ที่มันเลยทำให้ “แนวรบ” ทุกแนวรบ กลายเป็นสิ่งที่สอดประสานซึ่งกันและกันอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงและปฏิเสธได้ ไม่ว่าจะแนวรบยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลางและทะเลจีนใต้ ที่ได้กลายเป็นตัวสร้าง “แรงกดดัน” ให้กับมหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกาและบรรดาพันธมิตรตะวันตกทั้งหลาย ที่เพียงแค่เจอกับรัสเซียในแนวรบยุโรปตะวันออกเท่านั้นก็แทบ “ไปไม่เป็น” กันไปทั้งแผง ไม่ใช่ “เสาหลักทางเศรษฐกิจ” อย่างเยอรมนีเท่านั้น ที่ต้องออกมาสารภาพว่าชักจะ “บ่อจี๊” ไม่เหลือเงิน-เหลือทองพอที่จะไปช่วย “ตัวตลก-ตัวแทน” อย่างยูเครนได้อีกต่อไปแล้ว แต่กระทั่งโปแลนด์ที่อยู่หน้าปากประตูบ้านของรัสเซีย เมื่อวัน-สองวันที่ผ่านมา ก็ยังต้องออกมาสารภาพว่าแทบไม่เหลืออาวุธที่จะส่งไปให้ยูเครนอีกต่อไป ส่วนในแนวรบตะวันออกกลาง การตระเตรียมรับมือกับ “สงครามใหญ่” อันอาจเกิดจากการแก้แค้น-เอาคืนของอิหร่าน ถึงกับทำให้เรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำของอเมริกาไม่สามารถถอนสมอไปไหน-มาไหนได้อีก แถมจรวดราคาลูกละเป็นล้านๆ ดอลลาร์ที่ต้องเอาไว้สกัดกั้นจรวดหรือเครื่องบินโดรนราคาถูกๆ ของพวกนักรบเยเมนอย่าง “กบฏฮูตี” ก็ชักจะร่อยหรอแทบไม่เหลือติดคลังเอาไว้เลยก็ว่าได้...

    ด้วยเหตุนี้...ถ้าหากต้องมาเจอกับแนวรบอีกแนวรบ นั่นคือแนวรบทะเลจีนใต้ขึ้นมาเมื่อไหร่ โอกาสที่มหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกา รวมทั้งบรรดาพันธมิตรในโลกตะวันตกทั้งหลาย ที่ต่างก็ “กรอบเป็นข้าวเกรียบเมืองเพชร” ไปด้วยกันทั้งสิ้นจะยังคงยืนหยัด ยืนยัน ถึงความเป็น “โลกขั้วอำนาจเดียว” ไม่ยอมเปิดโอกาส ไม่ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโลกทุกวันนี้ ได้กลายเป็น “โลกหลายขั้วอำนาจ” ไปเรียบร้อยแล้ว ก็คงเป็นได้แค่คำคุยโม้ คุยโต ไปวันๆ เท่านั้นเอง!!!”

    ที่มา : คอลัมน์มันเป็นเช่นนั้นเอง/ทับทิม พญาไท
    https://mgronline.com/daily/detail/9670000080996

    #Thaitimes
    รีโพสต์จากคอลัมน์ มันเป็นเช่นนั้นเอง โดยทับทิม พญาไท ในผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2567 “สำหรับ “แนวรบทะเลจีนใต้” นั้น...แม้ลักษณะภายนอก อาจดูผิดแผก แตกต่างไปจากทั้งสองแนวรบอยู่มั่ง แต่ถ้ามองลึกลงไปถึงไส้ในความร้อนเร่า ร้อนผ่าวๆ หรือ “ความไวไฟ” ก็ไม่น่าจะผิดไปจากกันสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อมองถึงการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาว “นายJake Sullivan” เมื่อช่วงวัน-สองวันที่ผ่านมา (27-29 ส.ค.) เพราะการเดินทางไปเยือนจีนของที่ปรึกษาความมั่นคงอเมริกันรายนี้ เอาเข้าจริงๆ แล้ว...อาจต่างไปจากการเดินทางไปเยี่ยมเยือนประเทศแต่ละประเทศตามปกติธรรมดา หรือตามขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่วๆ ไป แต่ถือเป็นการเดินทางไปเยือนตาม “คำเชื้อเชิญ” ของคณะกรรมการกลางและโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อให้มีโอกาส “รับฟัง...สิ่งที่ควรได้ยิน” ดังที่บทบรรณาธิการ “Global Times” เขาว่าเอาไว้เมื่อไม่กี่วันมานี้นั่นแหละทั่น... และการพูดคุยเจ๊าะแจ๊ะเจรจาของ 2 มหาอำนาจในคราวนี้...อาจแทบไม่ต้องเสียเวลาประดิษฐ์คิดค้นคำพูดประเภทสวยๆ หรูๆ แบบพวกนักการทูตที่ชอบวกไป-วนมาแต่อย่างใด เพราะถือเป็นการพูดคุยสื่อสารแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” (military-to-military communications) อะไรประมาณนั้น โดยผลสรุปของการพูดคุยเจรจา ถ้าฟังจากคำแถลงของกระทรวงกลาโหมจีน หรือจากคำประกาศของตัวแทนฝ่ายจีน อย่างรองประธานคณะกรรมาธิการทหารกลาง “พลเอกZhang Youxia” ต้องเรียกว่า...เผลอๆอาจต้อง “หรี่แอร์” ในระหว่างการประชุมหรือไม่? อย่างไร? ก็แล้วแต่จะว่ากันไป เพราะออกจะเป็นอะไรที่ “หนาวว์ว์ว์ยะเยือก” อยู่พอสมควรทีเดียว หรืออย่างที่สำนักข่าวต่างประเทศบางสำนักเขาถึงกับหยิบไปพาดหัวไว้ว่า...ปักกิ่งแสดงความต้องการที่จะให้วอชิงตัน “หยุดสมคบคิดทางทหาร” กับไต้หวัน เอาเลยถึงขั้นนั้น!!! คือ “พลเอกZhang Youxia” รายที่ว่านี้...แม้ว่าโดยฐานะ ตำแหน่ง จะเป็นแค่ “รองประธาน” ของคณะกรรมาธิการกลางทางทหารกองทัพจีนก็เถอะ แต่โดยความสนิทชิดเชื้อกับผู้นำสูงสุดของจีน อย่างประธานาธิบดี “สี ทนได้” หรือ “สี จิ้นผิง” นั้นว่ากันว่าสนิทกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อของทั้งคู่ และนอกจากเคยผ่านศึกสมรภูมิสงครามอย่าง “สงครามสั่งสอนเวียดนาม” เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1979 แล้ว ยังมีสถานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้คำพูด คำจาในแต่ละวรรค แต่ละประโยค ของบุคคลผู้นี้ คงต้อง “ฟัง” และฟังแบบต้อง “ได้ยิน” อีกต่างหาก โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “ปมประเด็นปัญหาไต้หวันอันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่มิอาจแบ่งแยกได้นั้น ถือเป็นรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และเป็นหมายเลขหนึ่งของ...เส้นตาย (Red Line) ที่ไม่อาจก้าวข้ามได้โดยเด็ดขาด แม้ว่าจีนจะพยายามรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในบริเวณช่องแคบไต้หวันมาโดยตลอด แต่ก็ต้องขอเตือนเอาไว้ด้วยว่า...สิ่งเหล่านี้อาจเป็นไปไม่ได้ถ้าหากยังมีความพยายามแบ่งแยกไต้หวันออกจากจีน!!!” นี่...ฟังแล้วต้องหรี่แอร์-ไม่หรี่แอร์ คงต้องไปคิดๆ เอาเองก็แล้วกัน ยิ่งเป็นคำพูดระหว่าง “ทหาร-ต่อ-ทหาร” ไม่ใช่คำพูดหวานๆ แบบบรรดานักการทูตทั้งหลาย ก็คงต้องคิดหน้า-คิดหลังยิ่งขึ้นไปใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อรองประธานคณะกรรมาธิการทหารรายนี้ได้เน้นย้ำไว้ด้วยว่า “อเมริกาควรจะมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องในมุมมองที่มีต่อจีน และควรที่จะกลับมาสู่ความมีเหตุมีผลและนโยบายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงต่อประเทศของเรา เคารพในผลประโยชน์หลักของจีนในทางปฏิบัติและพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกองทัพทั้งสองประเทศ ร่วมกันแบกรับภาระความรับผิดชอบในฐานะประเทศมหาอำนาจ” อันถือเป็นคำพูดที่สอดคล้องต้องกันกับผู้นำจีนอย่างประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ที่บอกกับ “นายJake Sullivan” เอาไว้ก่อนหน้านั้นประมาณว่า... “จีนและสหรัฐฯ ควรจะมีความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์ ต่อประชาชนและต่อโลก” อีกด้วย... ดังนั้น...คำพูดที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวได้รับฟังแบบชนิดเต็มรูหู ตลอดช่วงระยะเวลาประมาณ 11 ชั่วโมงในการพูดคุยหัวข้อต่างๆ ประมาณ 6 วาระ ระหว่างวันอังคารที่ 27 และพุธที่ 28 ส.ค. ถ้าหากจะสรุปย่อๆ แบบสั้นๆ-ง่ายๆ ตามสำบัดสำนวนของ “พลเอกZhang Youxia” ก็คือ... “หยุดสมคบคิดทางทหารกับไต้หวัน-หยุดติดอาวุธ-หยุดสร้างข่าวลือแบบผิดๆ” หรือเลิกกระตุ้น เลิกยุแยงตะแคงรั่ว ให้เกิดความคิดความทะเยอทะยานของบรรดาชาวไต้หวันบางกลุ่ม-บางราย ที่จะแยกไต้หวันออกจากจีนโดยเด็ดขาด!!! ด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้การพบปะระหว่างที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาวกับฝ่ายจีนคราวนี้ ในสายตานักคิด-นักเขียนและนักวิชาการด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะ อย่าง “K.J. Noh” ถึงได้สรุปว่า นี่ไม่ใช่การพบปะเพื่อกระชับความสัมพันธ์ หรือปรับปรุงความสัมพันธ์ใดๆ อีกต่อไป แต่ถือเป็นการตอกย้ำ “ข้อสงสัย” ของจีนต่อบทบาทของอเมริการในเอเชีย-แปซิฟิก ที่ควรจะต้องเป็นไปตาม “ข้อตกลงที่บาหลี” (Bali Agreement) หรือระหว่างการประชุมสุดยอดของผู้นำจีนและผู้นำอเมริกันที่นครซานฟรานซิสโก เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2023 นั่นก็คือข้อห้าม 5 ข้อ (Five Nos) ที่อเมริกาเคยสัญญิง-สัญญาไว้กับจีนว่าไม่คิดจะก่อสงครามเย็น-สงครามร้อน-ไม่คิดเปลี่ยนแปลงระบบปกครองจีน-ไม่ขัดขวางกิจกรรมของกันและกันและไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน... ดังนั้น...การที่คุณพ่ออเมริกายังไม่หยุดขายอาวุธไม่รู้จะกี่ต่อกี่พันล้าน-หมื่นล้านให้กับไต้หวัน ยังเปิดช่อง เปิดโอกาส ให้รัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวันและที่ปรึกษาความมั่นคง ดอดเข้าไป “ประชุมลับ” กับอเมริกากันถึงที่ เมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาแถมยังพยายามหันไปสร้าง “ดาวยั่วดวงใหม่” อย่างฟิลิปปินส์ ชนิดถึงกับยอมทุ่มเทเงินทองถึง 1.894 ล้านล้านเปโซ หรือ 1.1 ล้านล้านบาท (33,740 ล้านดอลลาร์) เพื่อซื้ออาวุธ ซื้อเครื่องบินโจมตีมารับมือกับจีน โดยยังไม่นับรวมไปถึงการคิดจะนำเอาขีปนาวุธพิสัยกลางของอเมริกามาติดตั้งไว้ในฟิลิปปินส์อีกต่างหาก ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรเหล่านี้นี่เอง ที่น่าจะทำให้ “แนวรบในทะเลจีนใต้” นับแต่นี้ น่าจะยิ่งร้อนเร่า ร้อนแรง ยิ่งขึ้นไปตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกอย่างจีน ไม่ได้คิดจะเอาแต่ลอดเลื้อย โอบกระหวัดรัดพันแบบแต่ก่อน แต่กล้าที่จะพูดจาแบบตรงไป-ตรงมา หรือแบบ “ทหาร-ต่อ-ทหาร” กับอเมริกา ให้ต้อง “ฟัง...แล้วได้ยิน” อย่างมิอาจเอาหูไปนา-เอาตาไปไร่ได้อีกต่อไป... อันนี้นี่แหละ...ที่มันเลยทำให้ “แนวรบ” ทุกแนวรบ กลายเป็นสิ่งที่สอดประสานซึ่งกันและกันอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงและปฏิเสธได้ ไม่ว่าจะแนวรบยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลางและทะเลจีนใต้ ที่ได้กลายเป็นตัวสร้าง “แรงกดดัน” ให้กับมหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกาและบรรดาพันธมิตรตะวันตกทั้งหลาย ที่เพียงแค่เจอกับรัสเซียในแนวรบยุโรปตะวันออกเท่านั้นก็แทบ “ไปไม่เป็น” กันไปทั้งแผง ไม่ใช่ “เสาหลักทางเศรษฐกิจ” อย่างเยอรมนีเท่านั้น ที่ต้องออกมาสารภาพว่าชักจะ “บ่อจี๊” ไม่เหลือเงิน-เหลือทองพอที่จะไปช่วย “ตัวตลก-ตัวแทน” อย่างยูเครนได้อีกต่อไปแล้ว แต่กระทั่งโปแลนด์ที่อยู่หน้าปากประตูบ้านของรัสเซีย เมื่อวัน-สองวันที่ผ่านมา ก็ยังต้องออกมาสารภาพว่าแทบไม่เหลืออาวุธที่จะส่งไปให้ยูเครนอีกต่อไป ส่วนในแนวรบตะวันออกกลาง การตระเตรียมรับมือกับ “สงครามใหญ่” อันอาจเกิดจากการแก้แค้น-เอาคืนของอิหร่าน ถึงกับทำให้เรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำของอเมริกาไม่สามารถถอนสมอไปไหน-มาไหนได้อีก แถมจรวดราคาลูกละเป็นล้านๆ ดอลลาร์ที่ต้องเอาไว้สกัดกั้นจรวดหรือเครื่องบินโดรนราคาถูกๆ ของพวกนักรบเยเมนอย่าง “กบฏฮูตี” ก็ชักจะร่อยหรอแทบไม่เหลือติดคลังเอาไว้เลยก็ว่าได้... ด้วยเหตุนี้...ถ้าหากต้องมาเจอกับแนวรบอีกแนวรบ นั่นคือแนวรบทะเลจีนใต้ขึ้นมาเมื่อไหร่ โอกาสที่มหาอำนาจสูงสุดอย่างคุณพ่ออเมริกา รวมทั้งบรรดาพันธมิตรในโลกตะวันตกทั้งหลาย ที่ต่างก็ “กรอบเป็นข้าวเกรียบเมืองเพชร” ไปด้วยกันทั้งสิ้นจะยังคงยืนหยัด ยืนยัน ถึงความเป็น “โลกขั้วอำนาจเดียว” ไม่ยอมเปิดโอกาส ไม่ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโลกทุกวันนี้ ได้กลายเป็น “โลกหลายขั้วอำนาจ” ไปเรียบร้อยแล้ว ก็คงเป็นได้แค่คำคุยโม้ คุยโต ไปวันๆ เท่านั้นเอง!!!” ที่มา : คอลัมน์มันเป็นเช่นนั้นเอง/ทับทิม พญาไท https://mgronline.com/daily/detail/9670000080996 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    สมรภูมิใหม่...ในแนวรบทะเลจีนใต้???
    เปิดฉากสัปดาห์นี้...คงต้องขออนุญาตชวนไปแวะดู “แนวรบทะเลจีนใต้” เป็นการเฉพาะ เพราะสำหรับแนวรบอีก 2 แนวคือยุโรปตะวันออกกับตะวันออกกลางนั้น แทบไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์เจาะลึกอะไรกันมาก ด้วยเหตุเพราะโดยสภาพ
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 891 มุมมอง 0 รีวิว
  • รำลึกถึง Ryuichi Sakamoto (17 ม.ค.2495-28 มี.ค.2566) นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงมาก เขาได้สร้างผลงานเพลงที่หลากหลายและมีอิทธิพลในหลายแนวเพลง รวมถึงป๊อป, อิเล็กทรอนิกส์, และเพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น “The Last Emperor” และ “Merry Christmas Mr. Lawrence

    ในดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Last Emperor ผสมผสานดนตรีแบบตะวันออกกับตะวันตก โดยเฉพาะ การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของจีน เช่น กู่เจิง และเอ้อหู ถ่ายทอดให้รู้สึกถึงความกดดัน ความเศร้าสร้อย และความอ้างว้างของชีวิตที่เป็นเหมือนดั่งหุ่นเชิดของThe Last Emperor จักรพรรดิผู่อี๋หรือปูยีได้อย่างลึกซึ้ง

    นอกจากนี้ Ryuichi Sakamoto เขายังร่วมแสดงเป็น ‘อามาคาสุ’ นักการเมืองและนักการทูตชาวญี่ปุ่นด้วย ซึ่งตัวละครนี้ได้มาเยือนประเทศจีนในช่วงที่จักรพรรดิปูยีครองราชย์อยู่ และยังมีส่วนทำให้การยึดครองประเทศจีนของญี่ปุ่นต้องล่มสลายไป เขาได้พูดความจริงว่า

    “ฝ่าบาท เมื่อชาวอังกฤษออกปล้นใครบางคน พวกเขาจะกลายเป็นสุภาพบุรุษ ถ้าพวกเขาปล้นมากขึ้นอีก พวกเขาจะกลายเป็นอัศวิน ท่านคิดว่าอังกฤษขับเคลื่อนอาณาจักรของตัวเองเหมือนการทำการกุศลอย่างหรืออย่างไร? ถ้าอินเดียต้องจ่ายเงินเพื่อครอบครองดินแดนของตัวเอง แมนจูก็ต้องเสียเหมือนกัน”

    https://youtu.be/OyhTmH92Ljc?si=MP8mRXTboe2YXyJu

    #Thaitimes
    รำลึกถึง Ryuichi Sakamoto (17 ม.ค.2495-28 มี.ค.2566) นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงมาก เขาได้สร้างผลงานเพลงที่หลากหลายและมีอิทธิพลในหลายแนวเพลง รวมถึงป๊อป, อิเล็กทรอนิกส์, และเพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น “The Last Emperor” และ “Merry Christmas Mr. Lawrence ในดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Last Emperor ผสมผสานดนตรีแบบตะวันออกกับตะวันตก โดยเฉพาะ การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของจีน เช่น กู่เจิง และเอ้อหู ถ่ายทอดให้รู้สึกถึงความกดดัน ความเศร้าสร้อย และความอ้างว้างของชีวิตที่เป็นเหมือนดั่งหุ่นเชิดของThe Last Emperor จักรพรรดิผู่อี๋หรือปูยีได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ Ryuichi Sakamoto เขายังร่วมแสดงเป็น ‘อามาคาสุ’ นักการเมืองและนักการทูตชาวญี่ปุ่นด้วย ซึ่งตัวละครนี้ได้มาเยือนประเทศจีนในช่วงที่จักรพรรดิปูยีครองราชย์อยู่ และยังมีส่วนทำให้การยึดครองประเทศจีนของญี่ปุ่นต้องล่มสลายไป เขาได้พูดความจริงว่า “ฝ่าบาท เมื่อชาวอังกฤษออกปล้นใครบางคน พวกเขาจะกลายเป็นสุภาพบุรุษ ถ้าพวกเขาปล้นมากขึ้นอีก พวกเขาจะกลายเป็นอัศวิน ท่านคิดว่าอังกฤษขับเคลื่อนอาณาจักรของตัวเองเหมือนการทำการกุศลอย่างหรืออย่างไร? ถ้าอินเดียต้องจ่ายเงินเพื่อครอบครองดินแดนของตัวเอง แมนจูก็ต้องเสียเหมือนกัน” https://youtu.be/OyhTmH92Ljc?si=MP8mRXTboe2YXyJu #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 380 มุมมอง 0 รีวิว
  • Newsstory : ก้าวไกลสร้างเรื่อง "สนธิ" ขอนักวิชาการและนักการทูต เข้าใจความจริงก่อนแสดงความคิดเห็น
    #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่
    #สนธิลิ้มทองกุล #นักวิชาการ #นักการทูต #การทำความเข้าใจ
    Newsstory : ก้าวไกลสร้างเรื่อง "สนธิ" ขอนักวิชาการและนักการทูต เข้าใจความจริงก่อนแสดงความคิดเห็น #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่ #สนธิลิ้มทองกุล #นักวิชาการ #นักการทูต #การทำความเข้าใจ
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1427 มุมมอง 82 0 รีวิว
  • อ่านชัดๆ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มสั่งยุบพรรคก้าวไกล ตัดสิทธิ ระบุนโยบายแก้มาตรา 112 ลดทอนคุณค่า-แยกสถาบันฯออกจากชาติ เป็นอันตรายต่อประเทศ ทำร้ายจิตใจประชาชน สอนนักวิชาการ-นักการทูต ต้องมีมารยาท ชี้ทุกประเทศมีการเมืองของตัวเอง
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000072379

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    อ่านชัดๆ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มสั่งยุบพรรคก้าวไกล ตัดสิทธิ ระบุนโยบายแก้มาตรา 112 ลดทอนคุณค่า-แยกสถาบันฯออกจากชาติ เป็นอันตรายต่อประเทศ ทำร้ายจิตใจประชาชน สอนนักวิชาการ-นักการทูต ต้องมีมารยาท ชี้ทุกประเทศมีการเมืองของตัวเอง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000072379 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    Yay
    18
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1371 มุมมอง 0 รีวิว
  • เนทันยาฮูตำหนิสหรัฐฯ ฐาน 'ระงับ' ยุทโธปกรณ์ให้เอล
    นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของเอลวิพากษ์วิจารณ์คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ สำหรับการ "ระงับอาวุธ" ต่อเอลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่เอลกำลังปฏิบัติการรุกรานในกาซา
    เนทันยาฮูกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารว่า เป็นเรื่องที่ ไม่น่าเชื่อ ที่สหรัฐฯ ระงับยุทโธปกรณ์ให้กับเอล โดยเนทันยาฮุอ้างว่า
    “เลขาธิการ แอนโทนี บลินเกนให้คำมั่นกับตนว่าฝ่ายบริหารกำลังทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อขจัดการระงับนี้ ตนหวังว่าจะเป็นเช่นนั้นและแน่นอน มันควรจะเป็นเช่นนั้น” เนทันยาฮูกล่าว โดยอ้างถึงการเจรจาของนักการทูตสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    “มอบเครื่องมือให้เรา แล้วเราจะทำงานเสร็จเร็วขึ้นมาก”เนทันยาฮูกล่าว
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    เนทันยาฮูตำหนิสหรัฐฯ ฐาน 'ระงับ' ยุทโธปกรณ์ให้เอล นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของเอลวิพากษ์วิจารณ์คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ สำหรับการ "ระงับอาวุธ" ต่อเอลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่เอลกำลังปฏิบัติการรุกรานในกาซา เนทันยาฮูกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารว่า เป็นเรื่องที่ ไม่น่าเชื่อ ที่สหรัฐฯ ระงับยุทโธปกรณ์ให้กับเอล โดยเนทันยาฮุอ้างว่า “เลขาธิการ แอนโทนี บลินเกนให้คำมั่นกับตนว่าฝ่ายบริหารกำลังทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อขจัดการระงับนี้ ตนหวังว่าจะเป็นเช่นนั้นและแน่นอน มันควรจะเป็นเช่นนั้น” เนทันยาฮูกล่าว โดยอ้างถึงการเจรจาของนักการทูตสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว “มอบเครื่องมือให้เรา แล้วเราจะทำงานเสร็จเร็วขึ้นมาก”เนทันยาฮูกล่าว . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 293 มุมมอง 0 รีวิว