## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ##
..
..
วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ
.
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
.
จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
.
ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท
.
คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท
.
ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน
.
หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF
และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม
.
ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย
.
รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้
นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ
รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น
.
รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น
เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้
.
ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543
.
ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544
.
นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด
.
ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น
และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF
.
แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้
โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ
....
....
โดย เพจ ฤๅ - Lue History
.
https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/ ## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ##
..
..
วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ
.
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
.
จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
.
ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท
.
คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท
.
ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน
.
หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF
และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม
.
ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย
.
รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้
นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ
รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น
.
รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น
เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้
.
ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543
.
ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544
.
นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด
.
ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น
และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF
.
แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้
โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ
....
....
โดย เพจ ฤๅ - Lue History
.
https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/