• พนักงานสอบสวนคดีตึก สตง.ถล่ม ขอหมายจับ 17 ราย "กิจการร่วมค้า-ผู้รับเหมา-วิศวกร" ความผิดมาตรา 227 และ 238

    กรณีคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน บช.น.รวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม ทั้งพยานแวดล้อม พยานวัตถุ และพยานเอกสาร ตั้งแต่เริ่มการทำ TOR และสัญญาการจ้างออกแบบ การจ้างควบคุมงาน การจ้างการก่อสร้าง และพยานวัตถุชิ้นส่วนเหล็ก คอนกรีต

    โดยพนักงานสอบสวนได้นำผลการตรวจสอบการออกแบบ จากสภาวิศวกรวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาประกอบสำนวนคดี รวมถึงผลการตรวจเหล็ก ปูน กว่า 300 ชิ้น ผลการตรวจสอบลายเซ็นจากกองพิสูจน์หลักฐาน มาประกอบสำนวนคดีและพิจารณากลุ่มบุคคลที่พบการกระทำความผิด เป็นเหตุให้อาคาร สตง.ถล่ม

    วันนี้ (13 พ.ค.) คณะพนักงานสอบสวนชุดทำคดีได้รวบรวมเอกสารพยานหลักฐาน มายื่นขอศาลอนุมัติออกหมายจับรวม 17 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1. บริษัทกิจการร่วมค้า 2. กลุ่มผู้รับเหมาควบคุมงาน และ 3. กลุ่มวิศวกรที่เซ็นรับรอง ในข้อหาความผิดตาม มาตรา 227 และ 238 "ผู้ใดเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้าง ซ่อมแซมหรือรื้อถอน อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีการอันพึงกระทำการนั้นๆ โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น"

    #MGROnline #กิจการร่วมค้า #ผู้รับเหมา #วิศวกร
    พนักงานสอบสวนคดีตึก สตง.ถล่ม ขอหมายจับ 17 ราย "กิจการร่วมค้า-ผู้รับเหมา-วิศวกร" ความผิดมาตรา 227 และ 238 • กรณีคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน บช.น.รวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม ทั้งพยานแวดล้อม พยานวัตถุ และพยานเอกสาร ตั้งแต่เริ่มการทำ TOR และสัญญาการจ้างออกแบบ การจ้างควบคุมงาน การจ้างการก่อสร้าง และพยานวัตถุชิ้นส่วนเหล็ก คอนกรีต • โดยพนักงานสอบสวนได้นำผลการตรวจสอบการออกแบบ จากสภาวิศวกรวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และผู้เชี่ยวชาญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาประกอบสำนวนคดี รวมถึงผลการตรวจเหล็ก ปูน กว่า 300 ชิ้น ผลการตรวจสอบลายเซ็นจากกองพิสูจน์หลักฐาน มาประกอบสำนวนคดีและพิจารณากลุ่มบุคคลที่พบการกระทำความผิด เป็นเหตุให้อาคาร สตง.ถล่ม • วันนี้ (13 พ.ค.) คณะพนักงานสอบสวนชุดทำคดีได้รวบรวมเอกสารพยานหลักฐาน มายื่นขอศาลอนุมัติออกหมายจับรวม 17 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1. บริษัทกิจการร่วมค้า 2. กลุ่มผู้รับเหมาควบคุมงาน และ 3. กลุ่มวิศวกรที่เซ็นรับรอง ในข้อหาความผิดตาม มาตรา 227 และ 238 "ผู้ใดเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้าง ซ่อมแซมหรือรื้อถอน อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีการอันพึงกระทำการนั้นๆ โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น" • #MGROnline #กิจการร่วมค้า #ผู้รับเหมา #วิศวกร
    0 Comments 0 Shares 24 Views 0 Reviews
  • ชี้ชะตานักโทษเทวดา ป่วยจริงหรือป่วยทิพย์! : คนเคาะข่าว 07-05-68
    ร่วมสนทนา
    ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย
    ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์

    #คนเคาะข่าว #นักโทษเทวดา #ป่วยจริงหรือป่วยทิพย์ #สิทธิผู้ต้องขัง #แพทย์กับกระบวนการยุติธรรม #ตุลย์สิทธิสมวงศ์ #วรชัยเหมะ #ข่าวการเมือง #วิเคราะห์สังคม #กระบวนการยุติธรรมไทย #นักโทษVIP #ข่าวร้อน #thaitimes #กฎหมายไทย #การเมืองไทย
    ชี้ชะตานักโทษเทวดา ป่วยจริงหรือป่วยทิพย์! : คนเคาะข่าว 07-05-68 ร่วมสนทนา ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ดำเนินรายการโดย กรองทอง เศรษฐสุทธิ์ #คนเคาะข่าว #นักโทษเทวดา #ป่วยจริงหรือป่วยทิพย์ #สิทธิผู้ต้องขัง #แพทย์กับกระบวนการยุติธรรม #ตุลย์สิทธิสมวงศ์ #วรชัยเหมะ #ข่าวการเมือง #วิเคราะห์สังคม #กระบวนการยุติธรรมไทย #นักโทษVIP #ข่าวร้อน #thaitimes #กฎหมายไทย #การเมืองไทย
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 278 Views 2 0 Reviews
  • ป.ป.ช. ฟัน บิ๊กโจ๊ก รวมคดีแจ้งเท็จ-อาญา ลงดาบพร้อมกัน
    .
    แม้ว่า โจ๊ก พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ยังไม่ถูกแจ้งข้อหา และทั้งเป็นคดี ซึ่งมีโทษเบากว่าคดีฟอกเงิน แต่คดีโกงสอบ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับสร้าง ความสั่นสะเทือนให้กับตัวเขาอย่างรุนแรงเกินคาด

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000039671

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ป.ป.ช. ฟัน บิ๊กโจ๊ก รวมคดีแจ้งเท็จ-อาญา ลงดาบพร้อมกัน . แม้ว่า โจ๊ก พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ยังไม่ถูกแจ้งข้อหา และทั้งเป็นคดี ซึ่งมีโทษเบากว่าคดีฟอกเงิน แต่คดีโกงสอบ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับสร้าง ความสั่นสะเทือนให้กับตัวเขาอย่างรุนแรงเกินคาด อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000039671 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 536 Views 0 Reviews
  • ผบช.ไซเบอร์ เผยเร่งตรวจสอบเส้นทางการเงินคดีลักข้อสอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หาความเชื่อมโยงดำเรินคดีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038487

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ผบช.ไซเบอร์ เผยเร่งตรวจสอบเส้นทางการเงินคดีลักข้อสอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หาความเชื่อมโยงดำเรินคดีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038487 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 693 Views 0 Reviews
  • โจ๊ก-ดร.นิด ศีลเสมอกัน เอี่ยวทำวิทยานิพนธ์
    .
    คดีโกงสอบครั้งประวัติศาสตร์ ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักวิชาการระดับดอกเตอร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตกเป็นผู้ต้องหา ส่อเค้าจะยาวเป็นหนังชีวิต

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038316

    #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    โจ๊ก-ดร.นิด ศีลเสมอกัน เอี่ยวทำวิทยานิพนธ์ . คดีโกงสอบครั้งประวัติศาสตร์ ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีนักวิชาการระดับดอกเตอร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตกเป็นผู้ต้องหา ส่อเค้าจะยาวเป็นหนังชีวิต อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038316 #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Angry
    5
    0 Comments 0 Shares 703 Views 0 Reviews
  • 23 เมษายน 2568-แถลงการณ์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ากองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้จับกุมผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานร่วมกันเอาไปซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยนำข้อสอบคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไปให้ผู้อื่นทำก่อนจะส่งต่อไปให้อดีตนายตำรวจยศพลตำรวจเอกนายหนึ่งคัดลอก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงปี 2566 นั้นหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) รู้สึกเสียใจยิ่งกับเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้หลักสูตรฯ ในครั้งนี้ และขอเรียนว่า หลักสูตรฯ ได้รับการประสานจาก บช.สอท. ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6เมษายน 2568 ที่ผ่านมา และหลักสูตรฯ ได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีนี้มาโดยตลอดหลักสูตรฯ ขอเรียนว่า "ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมดำเนินคดีครั้งนี้ มิใช่ศิษย์เก่าและมิได้เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย" แต่ได้อาศัยโอกาสกระทำการดังกล่าวจากการเข้ามาติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของหลักสูตรโดยที่เจ้าหน้าที่มีได้สังเกตพิรุธ (รายละเอียดอยู่ในขั้นตอนคดี) ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ของหลักสูตรได้ให้ข้อมูลและแจ้งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง รวมทั้งประสานข้อมูลเพิ่มเติมทางการสอบสวน และหากมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นในกรณีนี้หรือกรณีอื่น คณะนิติศาสตร์จะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับการจัดการในกรณีอื่น ๆ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ ขอยืนยันเจตจำนงในอันที่จะรักษามาตรฐานการจัดการศึกษา การให้ปริญญา ตลอดจน คุณภาพบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาของไทยอนึ่ง หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) เป็นหลักสูตรที่เปิดขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 สำหรับบุคคลทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งมาแล้วเข้าศึกษานอกเวลาราชการเพื่อให้ได้รับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิตอีกปริญญาหนึ่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย23 เมษายน 2568
    23 เมษายน 2568-แถลงการณ์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ากองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้จับกุมผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานร่วมกันเอาไปซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยนำข้อสอบคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไปให้ผู้อื่นทำก่อนจะส่งต่อไปให้อดีตนายตำรวจยศพลตำรวจเอกนายหนึ่งคัดลอก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงปี 2566 นั้นหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) รู้สึกเสียใจยิ่งกับเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้หลักสูตรฯ ในครั้งนี้ และขอเรียนว่า หลักสูตรฯ ได้รับการประสานจาก บช.สอท. ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6เมษายน 2568 ที่ผ่านมา และหลักสูตรฯ ได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีนี้มาโดยตลอดหลักสูตรฯ ขอเรียนว่า "ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมดำเนินคดีครั้งนี้ มิใช่ศิษย์เก่าและมิได้เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย" แต่ได้อาศัยโอกาสกระทำการดังกล่าวจากการเข้ามาติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของหลักสูตรโดยที่เจ้าหน้าที่มีได้สังเกตพิรุธ (รายละเอียดอยู่ในขั้นตอนคดี) ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ของหลักสูตรได้ให้ข้อมูลและแจ้งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง รวมทั้งประสานข้อมูลเพิ่มเติมทางการสอบสวน และหากมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นในกรณีนี้หรือกรณีอื่น คณะนิติศาสตร์จะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับการจัดการในกรณีอื่น ๆ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ ขอยืนยันเจตจำนงในอันที่จะรักษามาตรฐานการจัดการศึกษา การให้ปริญญา ตลอดจน คุณภาพบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาของไทยอนึ่ง หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) เป็นหลักสูตรที่เปิดขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 สำหรับบุคคลทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งมาแล้วเข้าศึกษานอกเวลาราชการเพื่อให้ได้รับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิตอีกปริญญาหนึ่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย23 เมษายน 2568
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 212 Views 0 Reviews
  • ผบก.สอท.1 เผยตำรวจเร่งรวบรวมสืบสวนสอบสวน และขยายผลเพื่อทำการออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในคดี ดร.หญิงขโมยข้อสอบนิติศาสตร์ ม.จุฬาฯ ให้อดีตนายตำรวจยศ “พล.ต.อ.” เบื้องต้นผู้ต้องหายังให้การปฏิเสธ ด้าน "คริษฐ์ ปริยะเกตุ - ชานนท์ อ่วมทร" เข้าให้ปากคำแล้ว ปัดให้สัมภาษณ์สื่อ

    จากกรณีตำรวจไซเบอร์จับกุม นางขนิษฐา (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 22 เม.ย. 68 ในข้อหา “ร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น” โดยจับกุมได้ที่บ้านย่านบางบอน กรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา กรณีถูกกล่าวหา นำข้อสอบของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกไปเพื่อให้กับอดีตนายตำรวจยศ “พล.ต.อ.” นายหนึ่งคัดลอก โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2566 ตามที่เสนอข่าวนั้น

    ความคืบหน้าล่สสุดวันนี้ (23 เม.ย.) ที่กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 (บก.สอท.1) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผบก.สอท.1 เปิดเผยความคืบหน้าว่า สืบเนื่องจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตำรวจไซเบอร์ได้จับกุมเจ้าแม่เว็บพนันซึ่งเป็นการทำผิดซ้ำซาก จึงทำการตรวจสอบหาความเชื่อมโยงกับคดีเว็บพนันออนไลน์ที่จับไปเมื่อปี 66 โดยได้ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จึงทำให้พบว่า มีการลักลอบนำข้อสอบจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งออกไป จากนั้นได้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ผู้ที่นำข้อสอบออกไปนั้นคือนางขนิษฐา อายุ 53 ปี เป็นนักวิชาการอิสระ ดีกรีระดับปริญญาเอก แต่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/crime/detail/9680000038125

    #MGROnline #ข้อสอบนิติศาสตร์
    ผบก.สอท.1 เผยตำรวจเร่งรวบรวมสืบสวนสอบสวน และขยายผลเพื่อทำการออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในคดี ดร.หญิงขโมยข้อสอบนิติศาสตร์ ม.จุฬาฯ ให้อดีตนายตำรวจยศ “พล.ต.อ.” เบื้องต้นผู้ต้องหายังให้การปฏิเสธ ด้าน "คริษฐ์ ปริยะเกตุ - ชานนท์ อ่วมทร" เข้าให้ปากคำแล้ว ปัดให้สัมภาษณ์สื่อ • จากกรณีตำรวจไซเบอร์จับกุม นางขนิษฐา (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 22 เม.ย. 68 ในข้อหา “ร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น” โดยจับกุมได้ที่บ้านย่านบางบอน กรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา กรณีถูกกล่าวหา นำข้อสอบของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกไปเพื่อให้กับอดีตนายตำรวจยศ “พล.ต.อ.” นายหนึ่งคัดลอก โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2566 ตามที่เสนอข่าวนั้น • ความคืบหน้าล่สสุดวันนี้ (23 เม.ย.) ที่กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 (บก.สอท.1) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผบก.สอท.1 เปิดเผยความคืบหน้าว่า สืบเนื่องจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตำรวจไซเบอร์ได้จับกุมเจ้าแม่เว็บพนันซึ่งเป็นการทำผิดซ้ำซาก จึงทำการตรวจสอบหาความเชื่อมโยงกับคดีเว็บพนันออนไลน์ที่จับไปเมื่อปี 66 โดยได้ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จึงทำให้พบว่า มีการลักลอบนำข้อสอบจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งออกไป จากนั้นได้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ผู้ที่นำข้อสอบออกไปนั้นคือนางขนิษฐา อายุ 53 ปี เป็นนักวิชาการอิสระ ดีกรีระดับปริญญาเอก แต่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/crime/detail/9680000038125 • #MGROnline #ข้อสอบนิติศาสตร์
    0 Comments 0 Shares 306 Views 0 Reviews
  • เปิดกลโกง โจ๊ก &เดอะแก๊ง ทุจริตสอบนิติ จุฬาฯ
    .
    สั่นสะเทือนวงการการศึกษา และวงการสีกากี ไปพร้อมกัน เมื่อขบวนการโกงข้อสอบ คณะนิติศาสตร์ ภาคพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดนจับได้ไล่ทัน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038011

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เปิดกลโกง โจ๊ก &เดอะแก๊ง ทุจริตสอบนิติ จุฬาฯ . สั่นสะเทือนวงการการศึกษา และวงการสีกากี ไปพร้อมกัน เมื่อขบวนการโกงข้อสอบ คณะนิติศาสตร์ ภาคพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดนจับได้ไล่ทัน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000038011 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Angry
    5
    0 Comments 1 Shares 523 Views 0 Reviews
  • รัฐบาลถอยแต่ไม่เลิก เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์

    หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 เม.ย. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ก่อนแถลงข่าวระบุว่า จะแก้ปัญหาวิกฤตประเทศจากเหตุแผ่นดินไหว และการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องเร่งด่วนก่อน ส่วนการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ยืนยันจะนำเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมสภาฯ สมัยประชุมหน้า และจะทำความเข้าใจอธิบาย สื่อสารให้ชัดเจนกับประชาชน เพราะกลายเป็นว่าความตั้งใจถูกเลือกให้เป็นการเปิดกาสิโนแทน

    แม้การรวมตัวของนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะไม่ได้มืดฟ้ามัวดิน แต่ผลจากการออกแถลงการณ์หลายภาคส่วนทั้งกลุ่มนักกฎหมาย กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ รวมทั้งองค์กรทางศาสนา คัดค้านร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร และการตั้งบ่อนกาสิโนชัดเจน ถือเป็นการจุดติดกับสังคมไทยและรัฐบาลเริ่มหวั่นไหว การตัดสินใจถอนวาระดังกล่าวถือเป็นการดับชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ แมัที่ผ่านมาท่าทีของบิดานายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณว่าไม่กลัวใคร แม้กระทั่งมีข่าวว่าถ้าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ลงมติเห็นชอบวาระรับหลักการ ก็จะพิจารณาให้ออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ตาม

    นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ผู้จัดกิจกรรมดังกล่าว ระบุว่า ตั้งใจว่าจะส่งเสียงของพวกเราออกไปก่อนการประชุมสภาฯ ยืนยันว่าอะไรที่เป็นอบายมุขต่อต้านตลอด แม้จะถอนวาระดังกล่าว แต่วันหน้าถ้าพยายามเอาเข้ามาอีกก็จะทำเช่นนั้นอีก วันนี้สังคมตื่นแล้ว ด้วยหลายกลุ่มออกมา จึงไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ จะมีคนออกมาเรื่อยๆ เพราะประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลว่าสิ่งที่ถอนวันนี้จะไม่ทำอย่างอื่นอีก เช่น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องจับตามองว่าจะถูกลักหลับหรือเปล่า

    "อยากส่งเสียงไปถึงรัฐบาลและในสภาฯ ทุกคน พรรคร่วมรัฐบาลด้วยว่า อย่าดูถูก อย่า Underestimate (ดูถูกดูแคลน) พลังประชาชน แม้จะออกมาน้อยนิด แต่ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่ไม่ออกมาและไม่เห็นด้วย"

    นายทักษิณ กล่าวถึงข่าวที่ว่าถ้าพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นชอบให้ออกจากรัฐบาลนั้น เป็นการพูดกันไปเรื่อย ไม่มีเรื่องข่มขู่ เป็นเพียงถามความคิดเห็นของแต่ละคนซึ่งไม่ขัดข้อง วันนี้นายกฯ บอกว่าจะพิจารณาเรื่องเร่งด่วนทางเศรษฐกิจก่อน ไม่ได้ยกเลิกเพียงแต่ขอเลื่อนการพิจารณาไปก่อน การมีพรรคร่วมฯ มากก็นานาจิตตัง ไม่สามารถชี้ให้ไปทางเดียวกันได้ ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ แต่ก็ไม่เหนือวิสัย พร้อมวอนอย่าขี้อิจฉาริษยากัน เปรียบเทียบกับบ่อนประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ทำแบบนั้น ถ้าทำแบบนั้นประเทศก็พัง

    #Newskit
    รัฐบาลถอยแต่ไม่เลิก เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 เม.ย. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ก่อนแถลงข่าวระบุว่า จะแก้ปัญหาวิกฤตประเทศจากเหตุแผ่นดินไหว และการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องเร่งด่วนก่อน ส่วนการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ยืนยันจะนำเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมสภาฯ สมัยประชุมหน้า และจะทำความเข้าใจอธิบาย สื่อสารให้ชัดเจนกับประชาชน เพราะกลายเป็นว่าความตั้งใจถูกเลือกให้เป็นการเปิดกาสิโนแทน แม้การรวมตัวของนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะไม่ได้มืดฟ้ามัวดิน แต่ผลจากการออกแถลงการณ์หลายภาคส่วนทั้งกลุ่มนักกฎหมาย กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ รวมทั้งองค์กรทางศาสนา คัดค้านร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร และการตั้งบ่อนกาสิโนชัดเจน ถือเป็นการจุดติดกับสังคมไทยและรัฐบาลเริ่มหวั่นไหว การตัดสินใจถอนวาระดังกล่าวถือเป็นการดับชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ แมัที่ผ่านมาท่าทีของบิดานายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณว่าไม่กลัวใคร แม้กระทั่งมีข่าวว่าถ้าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ลงมติเห็นชอบวาระรับหลักการ ก็จะพิจารณาให้ออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ตาม นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ผู้จัดกิจกรรมดังกล่าว ระบุว่า ตั้งใจว่าจะส่งเสียงของพวกเราออกไปก่อนการประชุมสภาฯ ยืนยันว่าอะไรที่เป็นอบายมุขต่อต้านตลอด แม้จะถอนวาระดังกล่าว แต่วันหน้าถ้าพยายามเอาเข้ามาอีกก็จะทำเช่นนั้นอีก วันนี้สังคมตื่นแล้ว ด้วยหลายกลุ่มออกมา จึงไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ จะมีคนออกมาเรื่อยๆ เพราะประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลว่าสิ่งที่ถอนวันนี้จะไม่ทำอย่างอื่นอีก เช่น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องจับตามองว่าจะถูกลักหลับหรือเปล่า "อยากส่งเสียงไปถึงรัฐบาลและในสภาฯ ทุกคน พรรคร่วมรัฐบาลด้วยว่า อย่าดูถูก อย่า Underestimate (ดูถูกดูแคลน) พลังประชาชน แม้จะออกมาน้อยนิด แต่ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่ไม่ออกมาและไม่เห็นด้วย" นายทักษิณ กล่าวถึงข่าวที่ว่าถ้าพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นชอบให้ออกจากรัฐบาลนั้น เป็นการพูดกันไปเรื่อย ไม่มีเรื่องข่มขู่ เป็นเพียงถามความคิดเห็นของแต่ละคนซึ่งไม่ขัดข้อง วันนี้นายกฯ บอกว่าจะพิจารณาเรื่องเร่งด่วนทางเศรษฐกิจก่อน ไม่ได้ยกเลิกเพียงแต่ขอเลื่อนการพิจารณาไปก่อน การมีพรรคร่วมฯ มากก็นานาจิตตัง ไม่สามารถชี้ให้ไปทางเดียวกันได้ ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ แต่ก็ไม่เหนือวิสัย พร้อมวอนอย่าขี้อิจฉาริษยากัน เปรียบเทียบกับบ่อนประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ทำแบบนั้น ถ้าทำแบบนั้นประเทศก็พัง #Newskit
    Love
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 533 Views 0 Reviews
  • สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    Sad
    1
    0 Comments 1 Shares 794 Views 0 Reviews
  • ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

    ........กรมสมเด็จพระเทพรัตน์...วรขัตติยนารี
    พระกนิษฐภคนี..................... วรเลิศพระวิริยา
    ........บำเพ็ญพระกรณียกิจ......สัมฤทธิ์ด้วยพระปรีชา
    ทั้งทรงพระเมตตา................. ปวงประชาสราญรมย์
    ........องค์วิศิษฏศิลปิน............. อำรุงศิลป์ให้งามสม
    ทั่วหล้านิยมชม....................พระเกียรติก้องทั่วฟ้าไกล
    ........ทรงเป็นพระมิ่งขวัญ .......สถิตมั่นกลางหทัย
    ดุจทิพรัตน์อันอำไพ...................ส่องชีพชื่นให้ปวงชน
    ........พระราชทานกำลังใจ..........แนวทางให้พ้นทุกข์ทน
    “รู้หน้าที่”จักนำตน..................และชาติให้พ้นภัยผอง
    ........เฉลิมพระชนม์พระมิ่งฉัตร...เชิญไตรรัตน์โปรดคุ้มครอง
    ประสาทพรอันเรืองรอง............ประสิทธิ์พร้อมดังพระประสงค์

    .....................................ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
    ...........................ข้าพระพุทธเจ้า นายจตุรงค์ ไพบูลย์สุรการ

    เจ้าหญิง คือ ลูกของพระราชา
    แต่แปลกดีที่เด็กผู้หญิงทั้งโลกอยากเป็นเจ้าหญิงเพราะแค่อยากใส่กระโปรงบานและมีมงกุฎ จะให้ดีต้องถือไม้คทาเล็กๆที่มีดาวอยู่ที่ปลายไม้ด้วย
    ....
    ในโลกนี้ มีเจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง พระองค์มิได้ทรงภูษาผ้าจีบกระโปรงบาน หรือสวมถุงมือสีขาวยาวถึงแขนและมีมงกุฎเล็กๆอย่างในจินตนาการของเด็กผู้หญิง
    ตลอดเวลา เราจะเห็นเจ้าหญิงพระองค์นี้ทรงฉลองพระองค์ง่ายๆ บางทีพระองค์ก็ทรงกางเกงขายาว ถือสมุดเล่มหนึ่งกับดินสอ บางทีพระองค์ก็ทรงสะพายกล้องเช่นเดียวกับเสด็จพ่อของพระองค์ พระองค์ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศหลายภาษาอย่างแคล่วคล่อง พระองค์ทรงนิพนธ์หนังสือมากมาย ทรงดนตรีหลากหลาย และทรงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนของพระองค์อยู่เนืองๆ พระองค์ทรงงานทุกวันโดยมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย

    พอจะนึกออกไหมครับ ว่าเจ้าหญิงพระองค์นี้ทรงมีพระนามว่าอะไร
    และพสกนิกรในอาณาจักรของพระองค์ก็รักเจ้าหญิงพระองค์นี้มาก
    .................................
    วันนี้เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์
    เสียงถวายพระพร ทรงพระเจริญ จะดังกึกก้องทั้งในใจประชาชนและในอาณาจักรแห่งนี้
    ..................................

    มีผู้เคยถามข้าพเจ้า สิ่งที่ประทับใจข้าพเจ้ามากที่สุดเกี่ยวกับทูลกระหม่อมตลอด ๔ ปี ที่ทรงศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคืออะไร

    และผู้ถามก็คาดว่า ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของพระองค์ท่านคงจะต้องตอบว่า สิ่งที่ประทับใจข้าพเจ้ามากที่สุด คือ พระปรีชาสามารถ

    แต่นั่นมิใช่คำตอบของข้าพเจ้า

    จริงอยู่ข้าพเจ้าตระหนักในคุณค่าของปรีชาสามารถในด้านการศึกษาเป็นที่แน่นอน แต่ข้าพเจ้าก็ยังเห็นว่า สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดเกี่ยวกับทูลกระหม่อมก็คือ

    "น้ำพระทัยของพระองค์" ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยาก

    ทูลกระหม่อมมีน้ำพระทัยงาม มีความจริงใจและความเมตตา

    แม้จะทรงมีพระราชกิจล้นหลามก็ยังทรงห่วงใยเอาพระทัยใส่ในทุก ๆ ด้านไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นอาจารย์ พระสหายร่วมชั้นเรียน นิสิตร่วมคณะ คนงานในคณะ หรือแม้แต่เด็กขายขนมในคณะ

    เมื่อผู้ใดเจ็บป่วยหรือประสบความลำบาก ก็จะทรงเป็นธุระประทานความช่วยเหลือ และทรงมีความห่วงใยอย่างแท้จริง

    น้ำพระทัยของทูลกระหม่อมเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่มีโอกาสได้ใกล้ชิด และเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะทรงเป็นมิ่งขวัญของทุกคน

    (จากหนังสือ "มหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลา ๒๐". จากความทรงจำ. บุษกร กาญจนจารี.)
    .
    .
    จากบทวิทยุของท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา ได้กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพทางการศึกษาของสมเด็จพระเทพรัตนฯ ว่า “...ในด้านการศึกษานั้น ทรงนำหน้าพระสหายรุ่นราวคราวเดียวกัน บางครั้งทรงเข้าพระทัยในสิ่งที่นักเรียนอื่นยังไม่เข้าใจ สมัยทรงพระเยาว์เคยทรงอึดอัดพระทัย แต่เมื่อทรงเจริญวัยก็ทรงได้รับคำสั่งสอนจากสมเด็จพระบิดาว่า ให้ทรงเห็นใจคนอื่นและช่วยเหลือเพื่อนในทางที่เหมาะที่ควร ไม่ควรรำคาญเพื่อนที่เรียนอ่อนกว่า จากนั้นมาทรงเข้าพระทัยให้ความช่วยเหลือโดยไม่เคยทรงหวงวิชากับพระสหายที่เรียนด้อยเลย”

    ภาพและข้อมูล. นิตยสารแพรวฉบับที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘
    ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ........กรมสมเด็จพระเทพรัตน์...วรขัตติยนารี พระกนิษฐภคนี..................... วรเลิศพระวิริยา ........บำเพ็ญพระกรณียกิจ......สัมฤทธิ์ด้วยพระปรีชา ทั้งทรงพระเมตตา................. ปวงประชาสราญรมย์ ........องค์วิศิษฏศิลปิน............. อำรุงศิลป์ให้งามสม ทั่วหล้านิยมชม....................พระเกียรติก้องทั่วฟ้าไกล ........ทรงเป็นพระมิ่งขวัญ .......สถิตมั่นกลางหทัย ดุจทิพรัตน์อันอำไพ...................ส่องชีพชื่นให้ปวงชน ........พระราชทานกำลังใจ..........แนวทางให้พ้นทุกข์ทน “รู้หน้าที่”จักนำตน..................และชาติให้พ้นภัยผอง ........เฉลิมพระชนม์พระมิ่งฉัตร...เชิญไตรรัตน์โปรดคุ้มครอง ประสาทพรอันเรืองรอง............ประสิทธิ์พร้อมดังพระประสงค์ .....................................ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ...........................ข้าพระพุทธเจ้า นายจตุรงค์ ไพบูลย์สุรการ เจ้าหญิง คือ ลูกของพระราชา แต่แปลกดีที่เด็กผู้หญิงทั้งโลกอยากเป็นเจ้าหญิงเพราะแค่อยากใส่กระโปรงบานและมีมงกุฎ จะให้ดีต้องถือไม้คทาเล็กๆที่มีดาวอยู่ที่ปลายไม้ด้วย .... ในโลกนี้ มีเจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง พระองค์มิได้ทรงภูษาผ้าจีบกระโปรงบาน หรือสวมถุงมือสีขาวยาวถึงแขนและมีมงกุฎเล็กๆอย่างในจินตนาการของเด็กผู้หญิง ตลอดเวลา เราจะเห็นเจ้าหญิงพระองค์นี้ทรงฉลองพระองค์ง่ายๆ บางทีพระองค์ก็ทรงกางเกงขายาว ถือสมุดเล่มหนึ่งกับดินสอ บางทีพระองค์ก็ทรงสะพายกล้องเช่นเดียวกับเสด็จพ่อของพระองค์ พระองค์ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศหลายภาษาอย่างแคล่วคล่อง พระองค์ทรงนิพนธ์หนังสือมากมาย ทรงดนตรีหลากหลาย และทรงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนของพระองค์อยู่เนืองๆ พระองค์ทรงงานทุกวันโดยมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย พอจะนึกออกไหมครับ ว่าเจ้าหญิงพระองค์นี้ทรงมีพระนามว่าอะไร และพสกนิกรในอาณาจักรของพระองค์ก็รักเจ้าหญิงพระองค์นี้มาก ................................. วันนี้เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ เสียงถวายพระพร ทรงพระเจริญ จะดังกึกก้องทั้งในใจประชาชนและในอาณาจักรแห่งนี้ .................................. มีผู้เคยถามข้าพเจ้า สิ่งที่ประทับใจข้าพเจ้ามากที่สุดเกี่ยวกับทูลกระหม่อมตลอด ๔ ปี ที่ทรงศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคืออะไร และผู้ถามก็คาดว่า ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของพระองค์ท่านคงจะต้องตอบว่า สิ่งที่ประทับใจข้าพเจ้ามากที่สุด คือ พระปรีชาสามารถ แต่นั่นมิใช่คำตอบของข้าพเจ้า จริงอยู่ข้าพเจ้าตระหนักในคุณค่าของปรีชาสามารถในด้านการศึกษาเป็นที่แน่นอน แต่ข้าพเจ้าก็ยังเห็นว่า สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดเกี่ยวกับทูลกระหม่อมก็คือ "น้ำพระทัยของพระองค์" ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยาก ทูลกระหม่อมมีน้ำพระทัยงาม มีความจริงใจและความเมตตา แม้จะทรงมีพระราชกิจล้นหลามก็ยังทรงห่วงใยเอาพระทัยใส่ในทุก ๆ ด้านไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นอาจารย์ พระสหายร่วมชั้นเรียน นิสิตร่วมคณะ คนงานในคณะ หรือแม้แต่เด็กขายขนมในคณะ เมื่อผู้ใดเจ็บป่วยหรือประสบความลำบาก ก็จะทรงเป็นธุระประทานความช่วยเหลือ และทรงมีความห่วงใยอย่างแท้จริง น้ำพระทัยของทูลกระหม่อมเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่มีโอกาสได้ใกล้ชิด และเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะทรงเป็นมิ่งขวัญของทุกคน (จากหนังสือ "มหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลา ๒๐". จากความทรงจำ. บุษกร กาญจนจารี.) . . จากบทวิทยุของท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา ได้กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพทางการศึกษาของสมเด็จพระเทพรัตนฯ ว่า “...ในด้านการศึกษานั้น ทรงนำหน้าพระสหายรุ่นราวคราวเดียวกัน บางครั้งทรงเข้าพระทัยในสิ่งที่นักเรียนอื่นยังไม่เข้าใจ สมัยทรงพระเยาว์เคยทรงอึดอัดพระทัย แต่เมื่อทรงเจริญวัยก็ทรงได้รับคำสั่งสอนจากสมเด็จพระบิดาว่า ให้ทรงเห็นใจคนอื่นและช่วยเหลือเพื่อนในทางที่เหมาะที่ควร ไม่ควรรำคาญเพื่อนที่เรียนอ่อนกว่า จากนั้นมาทรงเข้าพระทัยให้ความช่วยเหลือโดยไม่เคยทรงหวงวิชากับพระสหายที่เรียนด้อยเลย” ภาพและข้อมูล. นิตยสารแพรวฉบับที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘
    0 Comments 0 Shares 605 Views 0 Reviews
  • เมื่อลองเปรียบเทียบพื้นที่บริเวณย่านจตุจักร กับแผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. 2453 พบว่า ตรงที่เกิดเหตุก่อสร้างตึกของ สตง. มีสภาพเป็นโคก คือมีเนินดินเตี้ย ๆ กระจายไปทั่วบริเวณ อยู่ในย่านที่เรียกว่า ทุ่งพระยาเวิกหน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    เมื่อลองเปรียบเทียบพื้นที่บริเวณย่านจตุจักร กับแผนที่บริเวณกรุงเทพฯ พ.ศ. 2453 พบว่า ตรงที่เกิดเหตุก่อสร้างตึกของ สตง. มีสภาพเป็นโคก คือมีเนินดินเตี้ย ๆ กระจายไปทั่วบริเวณ อยู่ในย่านที่เรียกว่า ทุ่งพระยาเวิกหน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    0 Comments 0 Shares 180 Views 0 Reviews
  • 1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก

    ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ

    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน

    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย

    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)

    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้

    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ

    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่

    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว

    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ

    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ

    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ

    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง

    ที่มา ไทยโพสต์
    1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง ที่มา ไทยโพสต์
    Like
    Love
    2
    1 Comments 0 Shares 969 Views 0 Reviews
  • ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
    .
    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน
    .
    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย
    .
    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    .
    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)
    .
    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้
    .
    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ
    .
    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่
    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว
    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ
    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ
    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ
    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง
    .
    ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ

    1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/
    2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/
    .
    Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม
    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ . ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน . 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย . 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ . 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) . 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ . 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ . 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง . ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ 1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/ 2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/ . Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    THESTANDARD.CO
    จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง
    การสงครามผสมผสาน การสงครามผสมผสาน หรือ Hybrid Warfare เป็นยุทธศาสตร์ทางทหารซึ่งใช้การสงครามทางการเมือง และผสมรวมการสงครามตามแบบ (Conventional Warfare)
    0 Comments 0 Shares 909 Views 0 Reviews
  • 54 ปี ลอบสังหาร “ครูโกมล คีมทอง” คอมมิวนิสต์เข้าใจผิด! คิดว่าเป็น… สายลับรัฐบาลไทย

    ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ครูหนุ่มผู้มุ่งมั่นเพื่อการศึกษาในชนบท แต่ต้องจบชีวิตอย่างน่าเศร้า ท่ามกลางความเข้าใจผิด ในยุคสมัย ที่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ร้อนระอุ

    📌 เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ยังเป็นปริศนา ย้อนไปเมื่อ 54 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เสียงปืนดังขึ้นที่บ้านเหนือคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลสินเจริญ กิ่งอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ครูหนุ่มวัยเพียง 24 ปี ต้องจบชีวิตลงอย่างโหดร้าย

    "โกมล คีมทอง ครูหนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชน ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับชุมชน ทว่า… ด้วยความเข้าใจผิด ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทำให้ถูกตราหน้าว่า เป็นสายลับของรัฐบาลไทย และนำไปสู่การสังหารอันน่าเศร้า

    เรื่องราวของครูโกมล เต็มไปด้วยความซับซ้อน เป็นเหยื่อของสงครามอุดมการณ์ ที่ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็เพ่งเล็งและไม่ไว้ใจ จนกระทั่งความเข้าใจผิดครั้งใหญ่ ได้คร่าชีวิตพร้อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์ อีกสองคน

    📖 ครูโกมล คีมทอง จากเด็กหนุ่มหัวใจนักสู้ สู่ครูผู้เสียสละ
    👦🏻 "ครูโกมล คีมทอง" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่ จังหวัดสุโขทัย เติบโตขึ้นมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญ กับการศึกษา

    จบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ และเข้าศึกษาต่อ ที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครู

    🎓 เส้นทางสู่อาชีพครู และอุดมการณ์ที่แรงกล้า
    ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย โกมลเป็นนิสิตที่กระตือรือร้น เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา และค่ายพัฒนาชนบทเป็นประจำ ทำให้เห็นถึงความลำบากของเด็ก ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจแน่วแน่ว่า "ชีวิตนี้จะอุทิศให้กับการศึกษาในชนบท"

    ในปีสุดท้ายของการเรียน ครูโกมลได้รับโอกาสเข้าร่วม “ค่ายพัฒนากำลังคน เหมืองห้วยในเขา” ซึ่งจัดขึ้นที่เหมืองแร่แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นี่เอง ที่โกมลได้เห็นปัญหาการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ "สร้างโรงเรียนชุมชน"

    🏫 โรงเรียนชุมชนที่เหมืองห้วยในเขา อุดมการณ์ที่เป็นภัย
    🎯 จุดมุ่งหมายของครูโกมล โรงเรียนที่ครูโกมลตั้งใจสร้าง ไม่ใช่แค่สถานศึกษาแบบทั่วไป แต่เป็นโรงเรียนที่ออกแบบมา ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน

    ✔️ หลักสูตรพิเศษ เน้นวิชาที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และงานช่าง
    ✔️ วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และนิทานพื้นบ้าน
    ✔️ ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ไม่ใช่รัฐ

    แนวคิดเช่นนี้ ทำให้ทั้งรัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์จับตามอง ด้วยความสงสัยว่า "แท้จริงแล้ว ครูโกมลทำงานให้ฝ่ายใด?"

    🔥 สงครามอุดมการณ์ จุดเริ่มต้นของความหวาดระแวง
    🏴 ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ครูโกมลเป็น "แนวร่วมคอมมิวนิสต์"
    รัฐบาลไทยในขณะนั้น มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ อย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐบางคนเห็นว่า แนวคิดของครูโกมล อาจสนับสนุนอุดมการณ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์ โรงเรียนของครูโกมล ไม่ได้ใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า อาจเป็นศูนย์กลาง ของขบวนการล้มล้างอำนาจรัฐ

    🚩 ฝ่ายคอมมิวนิสต์มองว่า "สายลับรัฐบาล"
    ขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กำลังทำสงครามกองโจร กับรัฐบาลไทย การที่ครูโกมล เดินทางไปพบปะชาวบ้าน ถ่ายภาพ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้พคท.เข้าใจว่ากำลังสอดแนม อีกทั้งการที่ครูโกมล ได้รับเงินสนับสนุนจาก "มูลนิธิเอเชีย" ซึ่งเป็นองค์กรต่างชาติ ยิ่งทำให้พคท.เชื่อว่า กำลังทำงานให้รัฐบาลไทย สุดท้าย... ความเข้าใจผิดนี้ นำไปสู่โศกนาฏกรรม ที่ไม่มีวันย้อนคืน

    ☠️ โศกนาฏกรรม คืนสังหารที่ไม่มีวันลืม
    22 กุมภาพันธ์ 2514 📍 บ้านเหนือคลอง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    ครูโกมล คีมทอง, รัตนา สกุลไทย บัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และเสรี ปรีชา หมอเร่ขายยา ถูกกลุ่มกองกำลัง พรรคคอมมิวนิสต จับตัวไป และถูกยิงเสียชีวิตในที่สุด

    หลังจากเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้โปรยใบปลิวปฏิเสธว่า "ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหาร" ขณะที่ พคท. ออกมายอมรับในเวลาต่อมาว่า "เป็นผู้ลงมือสังหาร เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า ครูโกมลเป็นสายลับรัฐบาลไทย"

    🏛️ แม้ว่า "ครูโกมล คีมทอง" จะจากไป แต่สิ่งที่ได้ทำไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ
    ✔️ การเสียสละทำให้เกิด “มูลนิธิโกมล คีมทอง” ในปี พ.ศ. 2514
    ✔️ สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นหลังอุทิศตน เพื่อพัฒนาสังคม
    ✔️ หลักสูตรการศึกษา ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ยังคงเป็นแนวคิด ที่นำมาใช้ในการศึกษายุคใหม่

    🎭 ครูโกมลถูกฆ่าโดยใคร?
    👉 ฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคคอมมิวนิสต์?
    👉 เป็นเพียงครูธรรมดา หรือมีบทบาทที่ลึกซึ้งกว่านั้น?
    👉 ถ้าไม่มีการสังหารในวันนั้น ครูโกมลจะสามารถเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ได้มากแค่ไหน?

    แม้ข้อเท็จจริง จะได้รับการเปิดเผยไปแล้ว แต่คำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมา จนถึงทุกวันนี้...

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221245 ก.พ. 2568

    #️⃣ #ครูโกมลคีมทอง #54ปีลอบสังหาร #โกมลคีมทอง #ประวัติศาสตร์ไทย #คอมมิวนิสต์ไทย #การศึกษาชนบท #ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ #มูลนิธิโกมลคีมทอง #ครูผู้เสียสละ #ประวัติศาสตร์ต้องรู้
    54 ปี ลอบสังหาร “ครูโกมล คีมทอง” คอมมิวนิสต์เข้าใจผิด! คิดว่าเป็น… สายลับรัฐบาลไทย ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ครูหนุ่มผู้มุ่งมั่นเพื่อการศึกษาในชนบท แต่ต้องจบชีวิตอย่างน่าเศร้า ท่ามกลางความเข้าใจผิด ในยุคสมัย ที่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ร้อนระอุ 📌 เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ยังเป็นปริศนา ย้อนไปเมื่อ 54 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เสียงปืนดังขึ้นที่บ้านเหนือคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลสินเจริญ กิ่งอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ครูหนุ่มวัยเพียง 24 ปี ต้องจบชีวิตลงอย่างโหดร้าย "โกมล คีมทอง ครูหนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชน ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับชุมชน ทว่า… ด้วยความเข้าใจผิด ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทำให้ถูกตราหน้าว่า เป็นสายลับของรัฐบาลไทย และนำไปสู่การสังหารอันน่าเศร้า เรื่องราวของครูโกมล เต็มไปด้วยความซับซ้อน เป็นเหยื่อของสงครามอุดมการณ์ ที่ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็เพ่งเล็งและไม่ไว้ใจ จนกระทั่งความเข้าใจผิดครั้งใหญ่ ได้คร่าชีวิตพร้อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์ อีกสองคน 📖 ครูโกมล คีมทอง จากเด็กหนุ่มหัวใจนักสู้ สู่ครูผู้เสียสละ 👦🏻 "ครูโกมล คีมทอง" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่ จังหวัดสุโขทัย เติบโตขึ้นมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญ กับการศึกษา จบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ และเข้าศึกษาต่อ ที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครู 🎓 เส้นทางสู่อาชีพครู และอุดมการณ์ที่แรงกล้า ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย โกมลเป็นนิสิตที่กระตือรือร้น เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา และค่ายพัฒนาชนบทเป็นประจำ ทำให้เห็นถึงความลำบากของเด็ก ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจแน่วแน่ว่า "ชีวิตนี้จะอุทิศให้กับการศึกษาในชนบท" ในปีสุดท้ายของการเรียน ครูโกมลได้รับโอกาสเข้าร่วม “ค่ายพัฒนากำลังคน เหมืองห้วยในเขา” ซึ่งจัดขึ้นที่เหมืองแร่แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นี่เอง ที่โกมลได้เห็นปัญหาการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ "สร้างโรงเรียนชุมชน" 🏫 โรงเรียนชุมชนที่เหมืองห้วยในเขา อุดมการณ์ที่เป็นภัย 🎯 จุดมุ่งหมายของครูโกมล โรงเรียนที่ครูโกมลตั้งใจสร้าง ไม่ใช่แค่สถานศึกษาแบบทั่วไป แต่เป็นโรงเรียนที่ออกแบบมา ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ✔️ หลักสูตรพิเศษ เน้นวิชาที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และงานช่าง ✔️ วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และนิทานพื้นบ้าน ✔️ ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ไม่ใช่รัฐ แนวคิดเช่นนี้ ทำให้ทั้งรัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์จับตามอง ด้วยความสงสัยว่า "แท้จริงแล้ว ครูโกมลทำงานให้ฝ่ายใด?" 🔥 สงครามอุดมการณ์ จุดเริ่มต้นของความหวาดระแวง 🏴 ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ครูโกมลเป็น "แนวร่วมคอมมิวนิสต์" รัฐบาลไทยในขณะนั้น มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ อย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐบางคนเห็นว่า แนวคิดของครูโกมล อาจสนับสนุนอุดมการณ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์ โรงเรียนของครูโกมล ไม่ได้ใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า อาจเป็นศูนย์กลาง ของขบวนการล้มล้างอำนาจรัฐ 🚩 ฝ่ายคอมมิวนิสต์มองว่า "สายลับรัฐบาล" ขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กำลังทำสงครามกองโจร กับรัฐบาลไทย การที่ครูโกมล เดินทางไปพบปะชาวบ้าน ถ่ายภาพ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้พคท.เข้าใจว่ากำลังสอดแนม อีกทั้งการที่ครูโกมล ได้รับเงินสนับสนุนจาก "มูลนิธิเอเชีย" ซึ่งเป็นองค์กรต่างชาติ ยิ่งทำให้พคท.เชื่อว่า กำลังทำงานให้รัฐบาลไทย สุดท้าย... ความเข้าใจผิดนี้ นำไปสู่โศกนาฏกรรม ที่ไม่มีวันย้อนคืน ☠️ โศกนาฏกรรม คืนสังหารที่ไม่มีวันลืม 22 กุมภาพันธ์ 2514 📍 บ้านเหนือคลอง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครูโกมล คีมทอง, รัตนา สกุลไทย บัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และเสรี ปรีชา หมอเร่ขายยา ถูกกลุ่มกองกำลัง พรรคคอมมิวนิสต จับตัวไป และถูกยิงเสียชีวิตในที่สุด หลังจากเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้โปรยใบปลิวปฏิเสธว่า "ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหาร" ขณะที่ พคท. ออกมายอมรับในเวลาต่อมาว่า "เป็นผู้ลงมือสังหาร เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า ครูโกมลเป็นสายลับรัฐบาลไทย" 🏛️ แม้ว่า "ครูโกมล คีมทอง" จะจากไป แต่สิ่งที่ได้ทำไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ ✔️ การเสียสละทำให้เกิด “มูลนิธิโกมล คีมทอง” ในปี พ.ศ. 2514 ✔️ สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นหลังอุทิศตน เพื่อพัฒนาสังคม ✔️ หลักสูตรการศึกษา ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ยังคงเป็นแนวคิด ที่นำมาใช้ในการศึกษายุคใหม่ 🎭 ครูโกมลถูกฆ่าโดยใคร? 👉 ฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคคอมมิวนิสต์? 👉 เป็นเพียงครูธรรมดา หรือมีบทบาทที่ลึกซึ้งกว่านั้น? 👉 ถ้าไม่มีการสังหารในวันนั้น ครูโกมลจะสามารถเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ได้มากแค่ไหน? แม้ข้อเท็จจริง จะได้รับการเปิดเผยไปแล้ว แต่คำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมา จนถึงทุกวันนี้... ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221245 ก.พ. 2568 #️⃣ #ครูโกมลคีมทอง #54ปีลอบสังหาร #โกมลคีมทอง #ประวัติศาสตร์ไทย #คอมมิวนิสต์ไทย #การศึกษาชนบท #ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ #มูลนิธิโกมลคีมทอง #ครูผู้เสียสละ #ประวัติศาสตร์ต้องรู้
    0 Comments 0 Shares 1530 Views 0 Reviews
  • เชิญชมฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 75 12/02/68 #งานฟุตบอลประเพณี #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    เชิญชมฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 75 12/02/68 #งานฟุตบอลประเพณี #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 934 Views 37 0 Reviews
  • ตัดไฟ-น้ำมัน-เน็ต ตัดจบแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือไม่? : คนเคาะข่าว 10-02-68
    : รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์
    #คนเคาะข่าว
    ตัดไฟ-น้ำมัน-เน็ต ตัดจบแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือไม่? : คนเคาะข่าว 10-02-68 : รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว
    Like
    Love
    4
    0 Comments 0 Shares 429 Views 14 0 Reviews
  • 87 ปี “สนามศุภชลาศัย” ตำนานสนามกีฬาแห่งชาติไทย อนาคตที่ไม่แน่นอน ควรพัฒนา หรือว่า… อนุรักษ์?

    "สนามศุภชลาศัย" หรือที่เรียกกันว่า "สนามกีฬาแห่งชาติ" เป็นสนามกีฬา ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 87 ปี นับตั้งแต่เปิดใช้งานครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2481 สนามแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติ และนานาชาติมากมาย ตั้งแต่ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ฟุตบอลทีมชาติ ไปจนถึงคอนเสิร์ตระดับโลก อย่างเช่นการแสดงของไมเคิล แจ็กสัน ในปี พ.ศ. 2536

    แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อนาคตของสนามศุภชลาศัย ตกอยู่ในความไม่แน่นอน เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าที่ดิ นระหว่างกรมพลศึกษา หรือสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า…

    เราควรพัฒนาสนามศุภฯ ให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน ในปัจจุบันหรือไม่?
    หรือควรอนุรักษ์ให้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ในรูปแบบดั้งเดิม เพื่อคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์? 🏟️

    🔹 จุดกำเนิดสนามกีฬาแห่งชาติ
    ก่อนหน้าที่จะมีสนามศุภชลาศัย การแข่งขันกีฬาของไทย มักจัดขึ้นที่สนามของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมา ได้ย้ายไปที่ท้องสนามหลวง

    จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ผลักดันให้มีสนามกีฬากลางประจำชาติ และได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณที่เคยเป็นวังวินด์เซอร์ เพื่อสร้างสนามกรีฑาสถานแห่งชาติ

    🔹 เปลี่ยนชื่อเป็น “สนามศุภชลาศัย”
    - พ.ศ. 2481 สนามกรีฑาสถานแห่งชาติ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ
    - พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย

    สนามศุภชลาศัยกลายเป็น ศูนย์กลางของวงการกีฬาประเทศไทย และเป็นสนามกีฬามาตรฐาน แห่งแรกในเอเชีย

    สนามศุภฯ กับการแข่งขันระดับชาติ และนานาชาติ
    สนามศุภชลาศัย ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญ หลายรายการ ได้แก่

    🏆 กีฬาระดับอาเซียน และเอเชีย
    - พ.ศ. 2502 กีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1
    - พ.ศ. 2509 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5
    - พ.ศ. 2513 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6
    - พ.ศ. 2518 กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 8

    ⚽ การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ
    ฟุตบอลทีมชาติไทย ใช้สนามศุภฯ เป็นรังเหย้ามานานหลายสิบปี
    พ.ศ. 2536 ใช้จัดการแข่งขัน ฟุตบอลเยาวชนโลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี

    🎤 งานบันเทิงระดับโลก
    สนามศุภชลาศัย ไม่เพียงแต่ใช้แข่งขันกีฬา แต่ยังถูกใช้เป็นสถานที่ จัดคอนเสิร์ตระดับโลก
    - พ.ศ. 2536 คอนเสิร์ตของ ไมเคิล แจ็กสัน
    - พ.ศ. 2555 คอนเสิร์ตของ บิ๊กแบง (BIGBANG)

    ปัญหาสัญญาเช่าที่ดิน และอนาคตที่คลอนแคลน
    💰 ค่าเช่าที่พุ่งสูงขึ้น
    หลังจากสัญญาเช่ายาว หมดลงในปี พ.ศ. 2555 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอปรับค่าเช่าที่จาก 3 ล้านบาทต่อปี เป็น 153 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นภาระหนัก สำหรับกรมพลศึกษา

    📉 ผลกระทบต่อการพัฒนา
    เนื่องจากการเช่าแบบปีต่อปี กรมพลศึกษาไม่สามารถลงทุนปรับปรุงสนามได้ เพราะต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน และหากคืนพื้นที่ในอนาคต การลงทุนอาจสูญเปล่า

    ปัจจุบันสนามศุภฯ เก่าและทรุดโทรม พื้นสนามหญ้า ห้องน้ำ ห้องพักนักกีฬา อัฒจันทร์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

    สนามศุภฯ ควรพัฒนา หรือควรอนุรักษ์?
    🔹 ฝ่ายที่ต้องการพัฒนา
    - ต้องการปรับปรุงสนาม ให้ทันสมัยเทียบเท่า สนามกีฬาในต่างประเทศ
    - เพิ่มขีดความสามารถ ในการจัดการแข่งขันระดับโลก
    - ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    🔹 ฝ่ายที่ต้องการอนุรักษ์
    - สนามศุภฯ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ควรคงไว้ในรูปแบบดั้งเดิม
    - มีศิลปะสถาปัตยกรรม ที่ออกแบบโดย อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น ตราสัญลักษณ์องค์พระพลบดี
    - การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน จะทำให้การรื้อสร้างใหม่ เป็นไปได้ยาก

    สนามศุภชลาศัยควรไปทางไหนต่อ?
    ✅ ข้อสรุปสำคัญ
    - หากพัฒนา สนามจะสามารถรองรับการแข่งขันระดับโลก แต่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล
    - หากอนุรักษ์ จะรักษาประวัติศาสตร์ไว้ได้ แต่สนามอาจไม่ได้มาตรฐานสำหรับการแข่งขันในอนาคต
    - ทางออกที่เป็นไปได้ คือ การบูรณะให้สนามมีมาตรฐานสากล ในขณะที่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 100958 ก.พ. 2568

    🏷️ #สนามศุภชลาศัย #สนามกีฬาแห่งชาติ #ThailandStadium #กีฬาประเทศไทย #อนาคตสนามศุภ #สนามศุภต้องรอด #ฟุตบอลไทย #ศิลปะไทย #อนุรักษ์หรือพัฒนา #SEOGuide
    87 ปี “สนามศุภชลาศัย” ตำนานสนามกีฬาแห่งชาติไทย อนาคตที่ไม่แน่นอน ควรพัฒนา หรือว่า… อนุรักษ์? "สนามศุภชลาศัย" หรือที่เรียกกันว่า "สนามกีฬาแห่งชาติ" เป็นสนามกีฬา ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 87 ปี นับตั้งแต่เปิดใช้งานครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2481 สนามแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติ และนานาชาติมากมาย ตั้งแต่ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ฟุตบอลทีมชาติ ไปจนถึงคอนเสิร์ตระดับโลก อย่างเช่นการแสดงของไมเคิล แจ็กสัน ในปี พ.ศ. 2536 แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อนาคตของสนามศุภชลาศัย ตกอยู่ในความไม่แน่นอน เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าที่ดิ นระหว่างกรมพลศึกษา หรือสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า… เราควรพัฒนาสนามศุภฯ ให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน ในปัจจุบันหรือไม่? หรือควรอนุรักษ์ให้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ในรูปแบบดั้งเดิม เพื่อคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์? 🏟️ 🔹 จุดกำเนิดสนามกีฬาแห่งชาติ ก่อนหน้าที่จะมีสนามศุภชลาศัย การแข่งขันกีฬาของไทย มักจัดขึ้นที่สนามของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมา ได้ย้ายไปที่ท้องสนามหลวง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ผลักดันให้มีสนามกีฬากลางประจำชาติ และได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณที่เคยเป็นวังวินด์เซอร์ เพื่อสร้างสนามกรีฑาสถานแห่งชาติ 🔹 เปลี่ยนชื่อเป็น “สนามศุภชลาศัย” - พ.ศ. 2481 สนามกรีฑาสถานแห่งชาติ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ - พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย สนามศุภชลาศัยกลายเป็น ศูนย์กลางของวงการกีฬาประเทศไทย และเป็นสนามกีฬามาตรฐาน แห่งแรกในเอเชีย สนามศุภฯ กับการแข่งขันระดับชาติ และนานาชาติ สนามศุภชลาศัย ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญ หลายรายการ ได้แก่ 🏆 กีฬาระดับอาเซียน และเอเชีย - พ.ศ. 2502 กีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 - พ.ศ. 2509 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 - พ.ศ. 2513 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 - พ.ศ. 2518 กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 8 ⚽ การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ ฟุตบอลทีมชาติไทย ใช้สนามศุภฯ เป็นรังเหย้ามานานหลายสิบปี พ.ศ. 2536 ใช้จัดการแข่งขัน ฟุตบอลเยาวชนโลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 🎤 งานบันเทิงระดับโลก สนามศุภชลาศัย ไม่เพียงแต่ใช้แข่งขันกีฬา แต่ยังถูกใช้เป็นสถานที่ จัดคอนเสิร์ตระดับโลก - พ.ศ. 2536 คอนเสิร์ตของ ไมเคิล แจ็กสัน - พ.ศ. 2555 คอนเสิร์ตของ บิ๊กแบง (BIGBANG) ปัญหาสัญญาเช่าที่ดิน และอนาคตที่คลอนแคลน 💰 ค่าเช่าที่พุ่งสูงขึ้น หลังจากสัญญาเช่ายาว หมดลงในปี พ.ศ. 2555 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอปรับค่าเช่าที่จาก 3 ล้านบาทต่อปี เป็น 153 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นภาระหนัก สำหรับกรมพลศึกษา 📉 ผลกระทบต่อการพัฒนา เนื่องจากการเช่าแบบปีต่อปี กรมพลศึกษาไม่สามารถลงทุนปรับปรุงสนามได้ เพราะต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน และหากคืนพื้นที่ในอนาคต การลงทุนอาจสูญเปล่า ปัจจุบันสนามศุภฯ เก่าและทรุดโทรม พื้นสนามหญ้า ห้องน้ำ ห้องพักนักกีฬา อัฒจันทร์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร สนามศุภฯ ควรพัฒนา หรือควรอนุรักษ์? 🔹 ฝ่ายที่ต้องการพัฒนา - ต้องการปรับปรุงสนาม ให้ทันสมัยเทียบเท่า สนามกีฬาในต่างประเทศ - เพิ่มขีดความสามารถ ในการจัดการแข่งขันระดับโลก - ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 🔹 ฝ่ายที่ต้องการอนุรักษ์ - สนามศุภฯ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ควรคงไว้ในรูปแบบดั้งเดิม - มีศิลปะสถาปัตยกรรม ที่ออกแบบโดย อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น ตราสัญลักษณ์องค์พระพลบดี - การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน จะทำให้การรื้อสร้างใหม่ เป็นไปได้ยาก สนามศุภชลาศัยควรไปทางไหนต่อ? ✅ ข้อสรุปสำคัญ - หากพัฒนา สนามจะสามารถรองรับการแข่งขันระดับโลก แต่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล - หากอนุรักษ์ จะรักษาประวัติศาสตร์ไว้ได้ แต่สนามอาจไม่ได้มาตรฐานสำหรับการแข่งขันในอนาคต - ทางออกที่เป็นไปได้ คือ การบูรณะให้สนามมีมาตรฐานสากล ในขณะที่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 100958 ก.พ. 2568 🏷️ #สนามศุภชลาศัย #สนามกีฬาแห่งชาติ #ThailandStadium #กีฬาประเทศไทย #อนาคตสนามศุภ #สนามศุภต้องรอด #ฟุตบอลไทย #ศิลปะไทย #อนุรักษ์หรือพัฒนา #SEOGuide
    0 Comments 0 Shares 1298 Views 0 Reviews
  • 33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

    📅 ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย

    หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน 🌳🌿

    🔎 น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์

    📚 เส้นทางการศึกษา
    ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
    ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ
    ✅ ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476)

    หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว

    🌿 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์
    ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496

    🏡 ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า

    📖 เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่
    ✅ การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์
    ✅ การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า
    ✅ การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า
    ✅ การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า

    หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น
    📗 สัตว์ป่าเมืองไทย
    📘 วัวแดง
    📕 แรดไทย
    📗 ช้างไทย

    รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

    ⚖️ ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า
    หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    📜 ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า

    🎯 ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น
    🌳 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย
    🌲 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย

    👑 พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ
    ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ

    🎗️ แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น
    ✅ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
    ✅ อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย
    ✅ หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์
    ✅ แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่

    💚 "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล 🌏

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568

    📌 #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    33 ปี สิ้น “หมอบุญส่ง เลขะกุล” นักนิยมไพรไทย ผู้บุกเบิกอนุรักษ์ป่าและสัตว์ จุดกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 📅 ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียครั้งสำคัญ ของวงการอนุรักษ์ธรรมชาติไทย เพราะเป็นวันที่ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบุญส่ง” จากโลกนี้ไปด้วย โรคหัวใจล้มเหลว ในวัย 85 ปี ณ โรงพยาบาลมเหสักข์ กรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้ร่างกายจะล่วงลับไปแล้ว ผลงานและอุดมการณ์ของท่านยังคงอยู่ และกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทย หมอบุญส่งไม่ได้เป็นเพียง แพทย์ผู้รักษาผู้คน แต่ยังเป็นนักอนุรักษ์ นักเขียน นักถ่ายภาพ และจิตรกร ผู้เปี่ยมไปด้วย ความหลงใหลในธรรมชาติ ความมุ่งมั่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน 🌳🌿 🔎 น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านถนนนคร ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระบริรักษ์เวชกรรม (พิน เลขะกุล) ซึ่งเป็นแพทย์ประจำจังหวัดสงขลา ทำให้หมอบุญส่ง เติบโตมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ 📚 เส้นทางการศึกษา ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ✅ มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) กรุงเทพฯ ✅ ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2476) หลังจากเรียนจบแพทย์ หมอบุญส่งได้เข้าสู่วงการแพทย์ แต่ขณะเดียวกัน ท่านก็เริ่มหลงใหลในธรรมชาติ เดินป่า สังเกตสัตว์ป่า และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นนักอนุรักษ์ อย่างเต็มตัว 🌿 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักอนุรักษ์ ช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484 - 2488) การล่าสัตว์เพื่อกีฬา ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไฟส่องสัตว์ และ อาวุธปืนทันสมัย ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่า ลดลงอย่างรวดเร็ว หมอบุญส่งเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ สัตว์ป่าของไทยจะสูญพันธุ์ จึงรวมตัวกับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน ก่อตั้ง "นิยมไพรสมาคม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2496 🏡 ศูนย์กลางของนิยมไพรสมาคม ตั้งอยู่ที่บ้านของหมอบุญส่งเอง (บ้านเลขที่ 4 ตรอกโรงภาษีเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ) ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวม ของผู้สนใจธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และนักวิจัยทางด้านสัตว์ป่า 📖 เป้าหมายของนิยมไพรสมาคม ได้แก่ ✅ การให้ความรู้ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ✅ การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า ✅ การผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ✅ การจัดทำ นิตยสารนิยมไพร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับสัตว์ป่า หมอบุญส่งยังได้เดินป่า และเขียนหนังสือสารคดี เกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายเล่ม เช่น 📗 สัตว์ป่าเมืองไทย 📘 วัวแดง 📕 แรดไทย 📗 ช้างไทย รวมถึงนวนิยายเกี่ยวกับสัตว์ป่า ที่สร้างชื่อเสียงที่สุด คือ "ชีวิตฉันลูกกระทิง" ซึ่งเคยถูกคัดเลือก เป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียน และได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 100 หนังสือดี ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ⚖️ ผลักดันกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่า หมอบุญส่งไม่ได้เพียงแค่เขียนหนังสือ หรือเผยแพร่ความรู้ แต่ยังลงมือผลักดันให้เกิด กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย 📜 ในปี พ.ศ. 2502 หมอบุญส่ง และคณะนิยมไพรสมาคม ได้เข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เพื่อยื่นข้อเสนอให้มี มาตรการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า 🎯 ผลที่ได้คือการออก พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญ ที่นำไปสู่การประกาศ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น 🌳 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (พ.ศ. 2505) อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย 🌲 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ (พ.ศ. 2508) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของไทย 👑 พระมหากรุณาธิคุณ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในปี พ.ศ. 2526 หมอบุญส่งได้ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ ก่อตั้ง "มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงาน "100 ปี หมอบุญส่ง เลขะกุล" ณ สยามสมาคม เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงานที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศ 🎗️ แม้วันนี้ "หมอบุญส่ง เลขะกุล" จะจากโลกนี้ไปครบ 33 ปี แล้วก็ตาม แต่มรดกแห่งการอนุรักษ์ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ✅ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ ✅ อุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากมาย ✅ หนังสือและบทความที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์ ✅ แรงบันดาลใจให้กับนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ 💚 "ธรรมชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของลูกหลานทุกคนในอนาคต" หมอบุญส่ง เลขะกุล 🌏 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 091504 ก.พ. 2568 📌 #หมอบุญส่งเลขะกุล #อนุรักษ์สัตว์ป่า #ป่าไม้ไทย #นักนิยมไพร #อนุรักษ์ธรรมชาติ #สัตว์ป่า #ป่าต้องรอด #มรดกทางธรรมชาติ #33ปีหมอบุญส่ง #ธรรมชาติเพื่ออนาคต
    0 Comments 0 Shares 1418 Views 0 Reviews
  • ครูวาฬ สอนเปียโน​ กีตาร์​ ​ตามบ้าน และออนไลน์
    สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีพ.ศ. 2555

    สาขาวิชาที่รับสอน :
    1. ปฏิบัติเครื่องดนตรี Piano สำหรับดนตรีคลาสสิค และดนตรีสมัยนิยม
    2. ปฏิบัติเครื่องดนตรี Guitar สำหรับดนตรีคลาสสิค และดนตรีสมัยนิยม
    3. ทฤษฎีดนตรีตะวันตก Western Music Theory
    4. การฝึกโสตและการอ่านโน้ต Ear Training And Sight-Singing
    5. ลักษณะของจังหวะ ควบคู่กับเครื่องกำกับจังหวะ Rhythm Concept With Metronome

    รูปแบบการสอน และสถานที่รับสอน :
    1. Private Teaching บริเวณที่พักอาศัยของผู้เรียน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี
    2. Online Teaching หรือ Learn From Home ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการใช้ Web and Video Conferencing Application ต่างๆ เช่น Google Meets, Cisco Webex, Zoom, Line ฯลฯ ในทุกจังหวัดของประเทศไทย และต่างประเทศ

    วัตถุประสงค์ของการสอน :
    1. ให้ผู้เรียนสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาดนตรี ระดับเตรียมอุดมฯ และระดับปริญญาตรี, การสอบตามเกณฑ์ในระดับต่างๆ และการสอบเทียบทางด้านดนตรี
    2. ให้ผู้เรียนมีความผ่อนคลาย สบายอารมณ์ การสังสรรค์ และงานอดิเรก
    3. ให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพดนตรีในอนาคต
    4. ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และความรู้ ที่เพียงพอในศาสตร์ด้านดนตรี

    * หัวข้อหลักในการเรียน การสอน​ :
    1. เทคนิคพื้นฐาน Basic ต่างๆ ตั้งแต่ท่าทาง, การจัดระเบียบ, รูปลักษณ์, ลักษณะที่ดี และถูกต้อง
    2. วิธีการเล่นดนตรี การซ้อมดนตรีที่ดี มีประสิทธิภาพ ถูกวิธี และเป็นระบบ เช่น ความสบาย, การ Save พลัง และการป้องกันการบาดเจ็บได้ดี
    3. Mindset ระบบความคิด, Attitude ทัศนคติ, การวางแผน Plan, วิธีคิด, ความสัมพันธ์ และการคิดล่วงหน้า
    4. เทคนิคในการอ่านโน้ตดนตรี
    5. การให้ความสำคัญกับคุณภาพเสียง มิติเสียงที่ควรจะเป็น และทิศทางประโยคของบทเพลง
    6. เทคนิคการบรรเลงเครื่องดนตรี การควบคุมเสียง และความต่อเนื่องในการเล่นอย่างมั่นใจ ไม่สะดุดและติดขัด
    7. ความเที่ยงตรงของจังหวะ, ความเร็วของจังหวะ Tempo มีความคงที่ และระดับเสียงที่ถูกต้อง
    8. การเล่นดนตรี ร่วมกับผู้อื่น เพื่อพัฒนาโสตประสาท การรักษาจังหวะ และอารมณ์เพลง ให้มีประสิทธิภาพ
    9. การบริหารการจัดการ และการก้าวข้ามผ่านอุปสรรค
    และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อปูพื้นฐานทักษะเหล่านี้ ให้แข็งแรง แข็งแกร่ง ไปจนถึงสามารถเล่นเพลงได้ทุกเพลงในโลก ที่มีโน้ตเพลงอยู่ข้างหน้าเรา อย่างมีประสิทธิภาพ

    ประสบการณ์การทำงานและการสอน :
    1. เข้าร่วมคณะนักร้องเสียงประสาน Mahidol Symphonic Choir เมื่อปีพ.ศ. 2551 - 2552 ผ่านการแสดงร้องเสียงประสานในบทเพลง
    - Ludwig van Beethoven, "An die Freude" (Ode to Joy) from Symphony No.9, Op.125 "Choral" (1882) และ​ Carl Orff's Carmina Burana​ ร่วมกับวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย หรือ Thailand Philharmonic Orchestra
    - Johannes Brahms's Ein Deutshes Requiem
    - Puccini's Messa di Gloria
    2. ผู้ช่วยคณะกรรมการคุมสอบเข้าศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมดนตรี และระดับปริญญาตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เ​​มื่อปีพ.ศ. 2552
    3. รับสอนตามสถาบันสอนดนตรี, โรงเรียนสอนดนตรี, ที่พักอาศัยของผู้เรียน และที่พักอาศัยของครูผู้สอน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน

    ประวัติการฝึกอบรม :
    1. เข้าร่วมอบรมโครงการ "การใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม" วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล เมื่อปีพ.ศ. 2553
    2. เข้าร่วมอบรมหลักสูตร "พัฒนาผู้นำองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล MU Leadership Program" รุ่นที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2553
    3. ผ่านการอบรมออนไลน์ "โควิด19 และระบาดวิทยา" โดยศาสตราจารย์ นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีพ.ศ. 2564
    4. ผ่านการอบรมออนไลน์ "ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล New Normal Life and Digital Quotient" โดยรองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2564
    5. ผ่านการอบรมออนไลน์ "โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาบุคลากรทางไซเบอร์" สำหรับบุคคลทั่วไป "หลักสูตรเสริมสร้างการรับรู้ที่แข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Build a Strong Security Awareness Program" โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และบริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ในปีพ.ศ. 2564
    6. เข้าร่วมอบรมออนไลน์ "Thailand National Cyber Week 2021 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในปีพ.ศ. 2564

    คุณลักษณะ :
    ใจเย็น ใส่ใจในรายละเอียด สามารถปรับแก้ไขเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล รวมถึงการฝึกระเบียบวินัยเบื้องต้นต่อตนเองและผู้อื่น ให้ความสำคัญกับสุขอนามัย ทั้งแนวทางการดูแล การจัดการ การปฏิบัติ การป้องกัน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ให้ดีมีประสิทธิภาพมากที่สุด

    คุณสมบัติของผู้เรียน :
    มีเครื่องดนตรีเป็นของตนเอง ทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ ตั้งแต่วัยมัธยมต้น​ อายุ​ 12​ ปี​, วัยมัธยมปลาย, วัยมหาวิทยาลัย, วัยผู้ใหญ่, วัยกลางคน และวัยผู้สูงอายุ​ อายุ​ 60​ ปีขึ้นไป

    สนใจสมัครเรียน :
    ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-483-5190
    ถ้าไม่มีสัญญานตอบรับ หรือไม่สามารถติดต่อได้ในขณะนั้น สามารถไปที่เว็บไซต์ https://bestkru.com/39158 ได้เช่นกัน และรอการติดต่อกลับ จากครูวาฬได้ ทั้ง 2 ช่องทางครับ

    ขอบคุณครับ
    ครูวาฬ สอนเปียโน​ กีตาร์​ ​ตามบ้าน และออนไลน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีพ.ศ. 2555 สาขาวิชาที่รับสอน : 1. ปฏิบัติเครื่องดนตรี Piano สำหรับดนตรีคลาสสิค และดนตรีสมัยนิยม 2. ปฏิบัติเครื่องดนตรี Guitar สำหรับดนตรีคลาสสิค และดนตรีสมัยนิยม 3. ทฤษฎีดนตรีตะวันตก Western Music Theory 4. การฝึกโสตและการอ่านโน้ต Ear Training And Sight-Singing 5. ลักษณะของจังหวะ ควบคู่กับเครื่องกำกับจังหวะ Rhythm Concept With Metronome รูปแบบการสอน และสถานที่รับสอน : 1. Private Teaching บริเวณที่พักอาศัยของผู้เรียน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดนนทบุรี 2. Online Teaching หรือ Learn From Home ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการใช้ Web and Video Conferencing Application ต่างๆ เช่น Google Meets, Cisco Webex, Zoom, Line ฯลฯ ในทุกจังหวัดของประเทศไทย และต่างประเทศ วัตถุประสงค์ของการสอน : 1. ให้ผู้เรียนสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาดนตรี ระดับเตรียมอุดมฯ และระดับปริญญาตรี, การสอบตามเกณฑ์ในระดับต่างๆ และการสอบเทียบทางด้านดนตรี 2. ให้ผู้เรียนมีความผ่อนคลาย สบายอารมณ์ การสังสรรค์ และงานอดิเรก 3. ให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพดนตรีในอนาคต 4. ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และความรู้ ที่เพียงพอในศาสตร์ด้านดนตรี * หัวข้อหลักในการเรียน การสอน​ : 1. เทคนิคพื้นฐาน Basic ต่างๆ ตั้งแต่ท่าทาง, การจัดระเบียบ, รูปลักษณ์, ลักษณะที่ดี และถูกต้อง 2. วิธีการเล่นดนตรี การซ้อมดนตรีที่ดี มีประสิทธิภาพ ถูกวิธี และเป็นระบบ เช่น ความสบาย, การ Save พลัง และการป้องกันการบาดเจ็บได้ดี 3. Mindset ระบบความคิด, Attitude ทัศนคติ, การวางแผน Plan, วิธีคิด, ความสัมพันธ์ และการคิดล่วงหน้า 4. เทคนิคในการอ่านโน้ตดนตรี 5. การให้ความสำคัญกับคุณภาพเสียง มิติเสียงที่ควรจะเป็น และทิศทางประโยคของบทเพลง 6. เทคนิคการบรรเลงเครื่องดนตรี การควบคุมเสียง และความต่อเนื่องในการเล่นอย่างมั่นใจ ไม่สะดุดและติดขัด 7. ความเที่ยงตรงของจังหวะ, ความเร็วของจังหวะ Tempo มีความคงที่ และระดับเสียงที่ถูกต้อง 8. การเล่นดนตรี ร่วมกับผู้อื่น เพื่อพัฒนาโสตประสาท การรักษาจังหวะ และอารมณ์เพลง ให้มีประสิทธิภาพ 9. การบริหารการจัดการ และการก้าวข้ามผ่านอุปสรรค และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อปูพื้นฐานทักษะเหล่านี้ ให้แข็งแรง แข็งแกร่ง ไปจนถึงสามารถเล่นเพลงได้ทุกเพลงในโลก ที่มีโน้ตเพลงอยู่ข้างหน้าเรา อย่างมีประสิทธิภาพ ประสบการณ์การทำงานและการสอน : 1. เข้าร่วมคณะนักร้องเสียงประสาน Mahidol Symphonic Choir เมื่อปีพ.ศ. 2551 - 2552 ผ่านการแสดงร้องเสียงประสานในบทเพลง - Ludwig van Beethoven, "An die Freude" (Ode to Joy) from Symphony No.9, Op.125 "Choral" (1882) และ​ Carl Orff's Carmina Burana​ ร่วมกับวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย หรือ Thailand Philharmonic Orchestra - Johannes Brahms's Ein Deutshes Requiem - Puccini's Messa di Gloria 2. ผู้ช่วยคณะกรรมการคุมสอบเข้าศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมดนตรี และระดับปริญญาตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เ​​มื่อปีพ.ศ. 2552 3. รับสอนตามสถาบันสอนดนตรี, โรงเรียนสอนดนตรี, ที่พักอาศัยของผู้เรียน และที่พักอาศัยของครูผู้สอน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน ประวัติการฝึกอบรม : 1. เข้าร่วมอบรมโครงการ "การใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม" วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล เมื่อปีพ.ศ. 2553 2. เข้าร่วมอบรมหลักสูตร "พัฒนาผู้นำองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล MU Leadership Program" รุ่นที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2553 3. ผ่านการอบรมออนไลน์ "โควิด19 และระบาดวิทยา" โดยศาสตราจารย์ นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีพ.ศ. 2564 4. ผ่านการอบรมออนไลน์ "ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล New Normal Life and Digital Quotient" โดยรองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2564 5. ผ่านการอบรมออนไลน์ "โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาบุคลากรทางไซเบอร์" สำหรับบุคคลทั่วไป "หลักสูตรเสริมสร้างการรับรู้ที่แข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Build a Strong Security Awareness Program" โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และบริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ในปีพ.ศ. 2564 6. เข้าร่วมอบรมออนไลน์ "Thailand National Cyber Week 2021 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในปีพ.ศ. 2564 คุณลักษณะ : ใจเย็น ใส่ใจในรายละเอียด สามารถปรับแก้ไขเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล รวมถึงการฝึกระเบียบวินัยเบื้องต้นต่อตนเองและผู้อื่น ให้ความสำคัญกับสุขอนามัย ทั้งแนวทางการดูแล การจัดการ การปฏิบัติ การป้องกัน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ให้ดีมีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณสมบัติของผู้เรียน : มีเครื่องดนตรีเป็นของตนเอง ทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ ตั้งแต่วัยมัธยมต้น​ อายุ​ 12​ ปี​, วัยมัธยมปลาย, วัยมหาวิทยาลัย, วัยผู้ใหญ่, วัยกลางคน และวัยผู้สูงอายุ​ อายุ​ 60​ ปีขึ้นไป สนใจสมัครเรียน : ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-483-5190 ถ้าไม่มีสัญญานตอบรับ หรือไม่สามารถติดต่อได้ในขณะนั้น สามารถไปที่เว็บไซต์ https://bestkru.com/39158 ได้เช่นกัน และรอการติดต่อกลับ จากครูวาฬได้ ทั้ง 2 ช่องทางครับ ขอบคุณครับ
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1048 Views 0 Reviews
  • 82 ปี “สวัสดี” คำทักทายอย่างเป็นทางการของไทย

    ย้อนไปเมื่อ 82 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 ถือเป็นวันสำคัญ ในประวัติศาสตร์ภาษา และวัฒนธรรมของไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยในยุคนั้น ได้กำหนดให้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทาย ที่ใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งในยามพบปะและลาจาก คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังสื่อถึงความหวังดี และความปรารถนาดีระหว่างผู้คน ซึ่งสะท้อนถึงจิตวิญญาณอันงดงาม ของวัฒนธรรมไทย

    ความหมายของ “สวัสดี”
    คำว่า “สวัสดี” มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต โดยคำนี้ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่
    “สุ” ซึ่งเป็นคำอุปสรรค หมายถึง "ดี" หรือ "งดงาม"
    “อสฺติ” ซึ่งเป็นคำกริยา หมายถึง "มี"

    เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “ขอความดีงามจงมีแก่ท่าน” หรือกล่าวในความหมายกว้างว่า “ขอให้คุณมีความสุข ปลอดภัย และรุ่งเรือง”

    ตามที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ระบุไว้ คำว่า “สวัสดี” หมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย คำนี้ถูกนำมาใช้ เพื่อเป็นทั้งคำอวยพร และคำทักทาย ทำให้ทุกครั้ง ที่มีการกล่าวคำว่า "สวัสดี" ผู้พูดและผู้ฟัง ต่างได้รับความรู้สึกดี ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ของภาษาไทย

    จุดเริ่มต้นของคำว่า “สวัสดี”
    คำว่า “สวัสดี” ได้ถูกนำมาใช้ อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2486 โดยพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น พระยาอุปกิตฯ ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า “โสตฺถิ” ในภาษาบาลี หรือ “สฺวสฺติ” ในภาษาสันสกฤต และได้นำมาปรับเปลี่ยนเสียง ให้เหมาะสม กับการออกเสียงของคนไทย

    หลังจากนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น ได้เห็นความเหมาะสมของคำนี้ และสนับสนุนให้ใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นต้นมา

    ความแตกต่างของ “สวัสดี” กับคำทักทายอื่นในยุคนั้น
    ก่อนที่คำว่า “สวัสดี” จะถูกกำหนดให้เป็นคำทักทาย อย่างเป็นทางการ คนไทยนิยมใช้คำทักทาย ตามโอกาส เช่น

    “ไปไหนมา?” หรือ “กินข้าวหรือยัง?” ในชีวิตประจำวัน
    “กราบเรียน” หรือ “คารวะ” เมื่อพูดกับผู้ใหญ่

    คำว่า “สวัสดี” จึงเข้ามาเติมเต็มบทบาท ของคำทักทาย ที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ทั้งในเชิงความหมาย และความสะดวกในการใช้งาน โดยสามารถใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และในพิธีการ อย่างเป็นทางการ

    การพัฒนาคำว่า “สวัสดี” ในยุคปัจจุบัน
    แม้คำว่า “สวัสดี” จะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทย แต่ในช่วงยุคแรก ๆ มีการกำหนดคำทักทายเพิ่มเติม ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน เช่น

    “อรุณสวัสดิ์” (Good morning) สำหรับทักทายในตอนเช้า
    “ทิวาสวัสดิ์” (Good afternoon) สำหรับทักทายในตอนกลางวัน
    “สายัณห์สวัสดิ์” (Good evening) สำหรับทักทายในตอนเย็น
    “ราตรีสวัสดิ์” (Good night) สำหรับกล่าวลาก่อนเข้านอน

    อย่างไรก็ตาม คำว่า “สวัสดี” ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถใช้ได้ทุกช่วงเวลา ไม่ต้องระบุเวลาเฉพาะเจาะจง

    การทักทายด้วย “สวัสดี” สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย
    การกล่าวคำว่า “สวัสดี” มักจะมาพร้อมกับการ ไหว้ ซึ่งเป็นการยกมือขึ้นประนมไว้ที่อก ในลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ท่าทางนี้ไม่ได้เป็นเพียง การแสดงความเคารพเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง เช่น

    ความบริสุทธิ์ใจ การประนมมือไว้ที่อก แสดงถึงการพูดจากใจ
    ความเคารพผู้อื่น แสดงความนอบน้อมและให้เกียรติผู้ฟัง
    ความปรารถนาดี การกล่าวคำ “สวัสดี” พร้อมกับการไหว้ เป็นการส่งต่อความหวังดีไปยังผู้อื่น

    นอกจากนี้ การไหว้ยังแบ่งระดับ ตามสถานะของผู้พูดและผู้ฟัง เช่น
    ไหว้แบบสูงสุด สำหรับการแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
    ไหว้แบบกลาง สำหรับผู้ใหญ่ และผู้มีตำแหน่งสูงกว่า
    ไหว้แบบต่ำ สำหรับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อน

    “สวัสดี” ในยุคดิจิทัล
    แม้ในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในชีวิตประจำวัน คนไทยยังคงใช้คำว่า “สวัสดี” ในการสื่อสาร ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น

    - ส่งข้อความทักทาย ในแอปพลิเคชันแชต
    - ใช้คำว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” เป็นคำเปิดหัวข้อในอีเมล
    - ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโพสต์ หรือแคปชันบนโซเชียลมีเดีย

    การใช้งานคำนี้ในยุคดิจิทัล ช่วยสะท้อนถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ในโลกออนไลน์ และยังสร้างความประทับใจ แก่ชาวต่างชาติที่พบเห็น

    “สวัสดี” คำทักทายที่ไม่เคยล้าสมัย
    การเดินทางของคำว่า “สวัสดี” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 จนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันถึงความงดงาม ของภาษาไทย และวัฒนธรรมอันลึกซึ้ง คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูด ที่ใช้ในการทักทาย หรืออำลาเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสาร ถึงความปรารถนาดี ความเคารพ และความจริงใจ ที่คนไทยมีต่อกัน

    “สวัสดี” จึงไม่ใช่เพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ ของความงดงามทางวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และส่งต่อให้คนรุ่นหลัง

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221015 ม.ค. 2568

    #สวัสดี #ภาษาไทย #วัฒนธรรมไทย #คำทักทายไทย #คำทักทาย #วันสวัสดี #รากศัพท์สันสกฤต #ประวัติศาสตร์ไทย #ความงดงามของไทย #มรดกทางวัฒนธรรม ✨ 😊
    82 ปี “สวัสดี” คำทักทายอย่างเป็นทางการของไทย ย้อนไปเมื่อ 82 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 ถือเป็นวันสำคัญ ในประวัติศาสตร์ภาษา และวัฒนธรรมของไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยในยุคนั้น ได้กำหนดให้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทาย ที่ใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งในยามพบปะและลาจาก คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังสื่อถึงความหวังดี และความปรารถนาดีระหว่างผู้คน ซึ่งสะท้อนถึงจิตวิญญาณอันงดงาม ของวัฒนธรรมไทย ความหมายของ “สวัสดี” คำว่า “สวัสดี” มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต โดยคำนี้ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่ “สุ” ซึ่งเป็นคำอุปสรรค หมายถึง "ดี" หรือ "งดงาม" “อสฺติ” ซึ่งเป็นคำกริยา หมายถึง "มี" เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “ขอความดีงามจงมีแก่ท่าน” หรือกล่าวในความหมายกว้างว่า “ขอให้คุณมีความสุข ปลอดภัย และรุ่งเรือง” ตามที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ระบุไว้ คำว่า “สวัสดี” หมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย คำนี้ถูกนำมาใช้ เพื่อเป็นทั้งคำอวยพร และคำทักทาย ทำให้ทุกครั้ง ที่มีการกล่าวคำว่า "สวัสดี" ผู้พูดและผู้ฟัง ต่างได้รับความรู้สึกดี ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ของภาษาไทย จุดเริ่มต้นของคำว่า “สวัสดี” คำว่า “สวัสดี” ได้ถูกนำมาใช้ อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2486 โดยพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น พระยาอุปกิตฯ ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า “โสตฺถิ” ในภาษาบาลี หรือ “สฺวสฺติ” ในภาษาสันสกฤต และได้นำมาปรับเปลี่ยนเสียง ให้เหมาะสม กับการออกเสียงของคนไทย หลังจากนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น ได้เห็นความเหมาะสมของคำนี้ และสนับสนุนให้ใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นต้นมา ความแตกต่างของ “สวัสดี” กับคำทักทายอื่นในยุคนั้น ก่อนที่คำว่า “สวัสดี” จะถูกกำหนดให้เป็นคำทักทาย อย่างเป็นทางการ คนไทยนิยมใช้คำทักทาย ตามโอกาส เช่น “ไปไหนมา?” หรือ “กินข้าวหรือยัง?” ในชีวิตประจำวัน “กราบเรียน” หรือ “คารวะ” เมื่อพูดกับผู้ใหญ่ คำว่า “สวัสดี” จึงเข้ามาเติมเต็มบทบาท ของคำทักทาย ที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ทั้งในเชิงความหมาย และความสะดวกในการใช้งาน โดยสามารถใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และในพิธีการ อย่างเป็นทางการ การพัฒนาคำว่า “สวัสดี” ในยุคปัจจุบัน แม้คำว่า “สวัสดี” จะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทย แต่ในช่วงยุคแรก ๆ มีการกำหนดคำทักทายเพิ่มเติม ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน เช่น “อรุณสวัสดิ์” (Good morning) สำหรับทักทายในตอนเช้า “ทิวาสวัสดิ์” (Good afternoon) สำหรับทักทายในตอนกลางวัน “สายัณห์สวัสดิ์” (Good evening) สำหรับทักทายในตอนเย็น “ราตรีสวัสดิ์” (Good night) สำหรับกล่าวลาก่อนเข้านอน อย่างไรก็ตาม คำว่า “สวัสดี” ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถใช้ได้ทุกช่วงเวลา ไม่ต้องระบุเวลาเฉพาะเจาะจง การทักทายด้วย “สวัสดี” สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย การกล่าวคำว่า “สวัสดี” มักจะมาพร้อมกับการ ไหว้ ซึ่งเป็นการยกมือขึ้นประนมไว้ที่อก ในลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ท่าทางนี้ไม่ได้เป็นเพียง การแสดงความเคารพเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง เช่น ความบริสุทธิ์ใจ การประนมมือไว้ที่อก แสดงถึงการพูดจากใจ ความเคารพผู้อื่น แสดงความนอบน้อมและให้เกียรติผู้ฟัง ความปรารถนาดี การกล่าวคำ “สวัสดี” พร้อมกับการไหว้ เป็นการส่งต่อความหวังดีไปยังผู้อื่น นอกจากนี้ การไหว้ยังแบ่งระดับ ตามสถานะของผู้พูดและผู้ฟัง เช่น ไหว้แบบสูงสุด สำหรับการแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ ไหว้แบบกลาง สำหรับผู้ใหญ่ และผู้มีตำแหน่งสูงกว่า ไหว้แบบต่ำ สำหรับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อน “สวัสดี” ในยุคดิจิทัล แม้ในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในชีวิตประจำวัน คนไทยยังคงใช้คำว่า “สวัสดี” ในการสื่อสาร ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น - ส่งข้อความทักทาย ในแอปพลิเคชันแชต - ใช้คำว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” เป็นคำเปิดหัวข้อในอีเมล - ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโพสต์ หรือแคปชันบนโซเชียลมีเดีย การใช้งานคำนี้ในยุคดิจิทัล ช่วยสะท้อนถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ในโลกออนไลน์ และยังสร้างความประทับใจ แก่ชาวต่างชาติที่พบเห็น “สวัสดี” คำทักทายที่ไม่เคยล้าสมัย การเดินทางของคำว่า “สวัสดี” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 จนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันถึงความงดงาม ของภาษาไทย และวัฒนธรรมอันลึกซึ้ง คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูด ที่ใช้ในการทักทาย หรืออำลาเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสาร ถึงความปรารถนาดี ความเคารพ และความจริงใจ ที่คนไทยมีต่อกัน “สวัสดี” จึงไม่ใช่เพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ ของความงดงามทางวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และส่งต่อให้คนรุ่นหลัง ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221015 ม.ค. 2568 #สวัสดี #ภาษาไทย #วัฒนธรรมไทย #คำทักทายไทย #คำทักทาย #วันสวัสดี #รากศัพท์สันสกฤต #ประวัติศาสตร์ไทย #ความงดงามของไทย #มรดกทางวัฒนธรรม ✨ 😊
    0 Comments 0 Shares 990 Views 0 Reviews
  • สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น่าน ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ จัดกิจกรรม CHULA NAN RUNNING 2025 "วิ่งเติมฝัน เพื่อวันของน้อง"

    เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 ช่วงเช้า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น่าน ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม CHULA NAN RUNNING 2025 "วิ่งเติมฝัน เพื่อวันของน้อง" โดยมี นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดฯ ณ ป่า ทำ มา (PATAMMA) ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

    เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งสนับสนุน "โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในพื้นที่จังหวัดน่าน" และ "โครงการพัฒนากล้องจุลทรรศน์มอบให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดน่าน ของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ"

    โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นระยะ 5 กม. (Fun Run) และระยะ 10 กม. (Minimarathon) ชาย หญิง รุ่นอายุ 5-19 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี และ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีเหรียญรางวัล มอบให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และถ้วยไม้แกะสลักอัตลักษณ์เรือแข่งน่าน มอบแก่ผู้ชนะในแต่ละรุ่นอีกด้วย

    ท่ามกลางบรรยากาศวิวที่สวยงามของป่าทำมา พร้อมอากาศหนาวเย็น และสายหมอกยามเช้า กิจกรรมภายในงานนอกจากได้ร่วมกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพแล้ว ยังมีกิจกรรมป้อนนมลูกแพะ กิจกรรมผลไม้เคลือบช็อกโกแลต บูธตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลน่าน พร้อมบริการอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ฟรีตลอดงาน รับฟรีภาพถ่ายกับวิวสวย ๆ บรรยากาศ ป่า ทำ มา ตลอดเส้นทางวิ่ง และรับไอศกรีมนมแพะ นมพาสเจอร์ไรซ์ คุกกี้ บัตเตอร์เค้กจากฟาร์มศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ อีกด้วย
    @@@@@@@@@@@@@

    ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน
    สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น่าน ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ จัดกิจกรรม CHULA NAN RUNNING 2025 "วิ่งเติมฝัน เพื่อวันของน้อง" เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 ช่วงเช้า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น่าน ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม CHULA NAN RUNNING 2025 "วิ่งเติมฝัน เพื่อวันของน้อง" โดยมี นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดฯ ณ ป่า ทำ มา (PATAMMA) ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งสนับสนุน "โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในพื้นที่จังหวัดน่าน" และ "โครงการพัฒนากล้องจุลทรรศน์มอบให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดน่าน ของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ" โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นระยะ 5 กม. (Fun Run) และระยะ 10 กม. (Minimarathon) ชาย หญิง รุ่นอายุ 5-19 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี และ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีเหรียญรางวัล มอบให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และถ้วยไม้แกะสลักอัตลักษณ์เรือแข่งน่าน มอบแก่ผู้ชนะในแต่ละรุ่นอีกด้วย ท่ามกลางบรรยากาศวิวที่สวยงามของป่าทำมา พร้อมอากาศหนาวเย็น และสายหมอกยามเช้า กิจกรรมภายในงานนอกจากได้ร่วมกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพแล้ว ยังมีกิจกรรมป้อนนมลูกแพะ กิจกรรมผลไม้เคลือบช็อกโกแลต บูธตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลน่าน พร้อมบริการอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ฟรีตลอดงาน รับฟรีภาพถ่ายกับวิวสวย ๆ บรรยากาศ ป่า ทำ มา ตลอดเส้นทางวิ่ง และรับไอศกรีมนมแพะ นมพาสเจอร์ไรซ์ คุกกี้ บัตเตอร์เค้กจากฟาร์มศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ อีกด้วย @@@@@@@@@@@@@ ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน
    0 Comments 0 Shares 624 Views 0 Reviews
  • 10 ปี สิ้นวีรบุรุษสะพานมัฆวาน “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มือปราบกบฏยังเติร์ก

    ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์การเมือง และการทหารของชาติไป นั่นคือ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก หรือที่สื่อมวลชนขนานนามว่า “บิ๊กซัน” วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญ ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย และปราบกบฏยังเติร์ก อย่างกล้าหาญ

    พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยตรีพิณ กำลังเอก และนางสาคร กำลังเอก ชีวิตในวัยเด็ก เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และพยายามในการศึกษา

    การศึกษาของพลเอกอาทิตย์ เริ่มต้นที่โรงเรียนพรหมวิทยามูล ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร

    ด้วยความฝันที่จะเป็นทหาร จึงได้เข้าศึกษาใน โรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่างปี พ.ศ. 2487–2491 โดยรุ่นเดียวกันนี้ยังมีเพื่อนร่วมรุ่นสำคัญ อาทิ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ และพลเอกบรรจบ บุนนาค

    วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ช่วงเวลาแห่งการสร้างตำนาน
    หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์โดดเด่นคือ การประท้วงใหญ่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนรวมตัวกัน เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง ที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส

    ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์มียศเพียงร้อยเอก และเป็นหนึ่งในทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ตามคำสั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งได้สั่งห้ามทหาร ทำร้ายประชาชน โดยเด็ดขาด

    การเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์ ให้ขบวนประท้วง เดินผ่านไปยังทำเนียบรัฐบาล ได้โดยสงบ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ และการใช้เหตุผลเหนือกำลังอาวุธ

    กบฏยังเติร์ก บทบาทผู้นำในช่วงวิกฤต
    อีกเหตุการณ์ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์ ได้รับการยกย่องคือ การเข้าร่วมปราบ กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน พ.ศ. 2524

    กลุ่มกบฏซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนายทหารรุ่น “จปร. 7” มีเป้าหมายที่จะยึดอำนาจ จากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยการเคลื่อนกำลังทหารถึง 42 กองพัน ถือว่าเป็นความพยายามรัฐประหาร ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย

    ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์ ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 และเป็นกำลังสำคัญ ในการปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มกบฏ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และความไว้วางใจจากพลเอกเปรม

    ผลลัพธ์ของกบฏ
    การก่อกบฏสิ้นสุดลง โดยไม่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง ฝ่ายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกเปรมสามารถจัดการสถานการณ์ ได้อย่างรวดเร็ว และกลุ่มกบฏ ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ

    บทบาทของพลเอกอาทิตย์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 และในเวลาต่อมาได้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก

    ความสัมพันธ์กับพลเอกเปรม จากมิตรสู่ความขัดแย้ง
    ในช่วงที่พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกอาทิตย์ ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง กลับตึงเครียดในช่วงปี พ.ศ. 2527 เมื่อพลเอกอาทิตย์ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล

    ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การที่พลเอกอาทิตย์ ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2529 ท่ามกลางกระแสการเมือง ที่ร้อนแรง

    หลังเกษียณ ชีวิตในวงการการเมือง
    หลังจากเกษียณราชการ พลเอกอาทิตย์ได้เข้าสู่การเมือง โดยการก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

    อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายชีวิตทางการเมือง กลับเต็มไปด้วยความตึงเครียด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535)

    การจากไปของ “บิ๊กซัน”
    พลเอกอาทิตย์ป่วยเรื้อรัง จากอาการติดเชื้อในปอด และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 06.20 น. ของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ด้วยวัย 89 ปี

    พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ไทย ในหลายด้าน ทั้งในฐานะนักปกป้องประชาธิปไตย วีรบุรุษสะพานมัฆวาน และผู้นำในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง

    แม้จะมีช่วงเวลา ที่ขัดแย้งกับผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ความมุ่งมั่นในหน้าที่ และความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังคงทำให้ชื่อของบิ๊กซัน เป็นที่จดจำ

    🎖️ ความทรงจำที่ไม่มีวันลบเลือน! 🎖️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190919 ม.ค. 2568

    #บิ๊กซัน #อาทิตย์กำลังเอก #วีรบุรุษสะพานมัฆวาน #กบฏยังเติร์ก #ประวัติศาสตร์ไทย #ผู้นำแห่งชาติ #ไทยในอดีต #การเมืองไทย #กองทัพไทย #10ปีแห่งการจากไป
    10 ปี สิ้นวีรบุรุษสะพานมัฆวาน “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มือปราบกบฏยังเติร์ก ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์การเมือง และการทหารของชาติไป นั่นคือ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก หรือที่สื่อมวลชนขนานนามว่า “บิ๊กซัน” วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญ ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย และปราบกบฏยังเติร์ก อย่างกล้าหาญ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยตรีพิณ กำลังเอก และนางสาคร กำลังเอก ชีวิตในวัยเด็ก เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และพยายามในการศึกษา การศึกษาของพลเอกอาทิตย์ เริ่มต้นที่โรงเรียนพรหมวิทยามูล ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ด้วยความฝันที่จะเป็นทหาร จึงได้เข้าศึกษาใน โรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่างปี พ.ศ. 2487–2491 โดยรุ่นเดียวกันนี้ยังมีเพื่อนร่วมรุ่นสำคัญ อาทิ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ และพลเอกบรรจบ บุนนาค วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ช่วงเวลาแห่งการสร้างตำนาน หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์โดดเด่นคือ การประท้วงใหญ่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนรวมตัวกัน เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง ที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์มียศเพียงร้อยเอก และเป็นหนึ่งในทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ตามคำสั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งได้สั่งห้ามทหาร ทำร้ายประชาชน โดยเด็ดขาด การเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์ ให้ขบวนประท้วง เดินผ่านไปยังทำเนียบรัฐบาล ได้โดยสงบ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ และการใช้เหตุผลเหนือกำลังอาวุธ กบฏยังเติร์ก บทบาทผู้นำในช่วงวิกฤต อีกเหตุการณ์ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์ ได้รับการยกย่องคือ การเข้าร่วมปราบ กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน พ.ศ. 2524 กลุ่มกบฏซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนายทหารรุ่น “จปร. 7” มีเป้าหมายที่จะยึดอำนาจ จากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยการเคลื่อนกำลังทหารถึง 42 กองพัน ถือว่าเป็นความพยายามรัฐประหาร ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์ ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 และเป็นกำลังสำคัญ ในการปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มกบฏ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และความไว้วางใจจากพลเอกเปรม ผลลัพธ์ของกบฏ การก่อกบฏสิ้นสุดลง โดยไม่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง ฝ่ายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกเปรมสามารถจัดการสถานการณ์ ได้อย่างรวดเร็ว และกลุ่มกบฏ ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ บทบาทของพลเอกอาทิตย์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 และในเวลาต่อมาได้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก ความสัมพันธ์กับพลเอกเปรม จากมิตรสู่ความขัดแย้ง ในช่วงที่พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกอาทิตย์ ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง กลับตึงเครียดในช่วงปี พ.ศ. 2527 เมื่อพลเอกอาทิตย์ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การที่พลเอกอาทิตย์ ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2529 ท่ามกลางกระแสการเมือง ที่ร้อนแรง หลังเกษียณ ชีวิตในวงการการเมือง หลังจากเกษียณราชการ พลเอกอาทิตย์ได้เข้าสู่การเมือง โดยการก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายชีวิตทางการเมือง กลับเต็มไปด้วยความตึงเครียด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) การจากไปของ “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ป่วยเรื้อรัง จากอาการติดเชื้อในปอด และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 06.20 น. ของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ด้วยวัย 89 ปี พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ไทย ในหลายด้าน ทั้งในฐานะนักปกป้องประชาธิปไตย วีรบุรุษสะพานมัฆวาน และผู้นำในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง แม้จะมีช่วงเวลา ที่ขัดแย้งกับผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ความมุ่งมั่นในหน้าที่ และความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังคงทำให้ชื่อของบิ๊กซัน เป็นที่จดจำ 🎖️ ความทรงจำที่ไม่มีวันลบเลือน! 🎖️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190919 ม.ค. 2568 #บิ๊กซัน #อาทิตย์กำลังเอก #วีรบุรุษสะพานมัฆวาน #กบฏยังเติร์ก #ประวัติศาสตร์ไทย #ผู้นำแห่งชาติ #ไทยในอดีต #การเมืองไทย #กองทัพไทย #10ปีแห่งการจากไป
    0 Comments 0 Shares 1124 Views 0 Reviews
  • ✴ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ผมเฝ้าติดตามการเสียชีวิตโดยรวมจากทุกสาเหตุของคนไทย โดยเข้าไปที่ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หลังจากทบทวนข้อมูลย้อนหลังหลายปีที่ผ่านมา
    สิ่งที่ทำให้ผมข้องใจ และตั้งคำถามมาตลอดคือ เหตุใดคนไทยจึงเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่การระบาดของโควิดลดลง เพราะว่าถ้าเป็นการเสียชีวิตจากการระบาดของโควิด เมื่อการระบาดจบลงการเสียชีวิตย่อมต้องลดลงไปใกล้เคียงกับการเสียชีวิตก่อนการระบาด หรือถ้าจะโทษการปิดบ้านปิดเมืองว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
    เมื่อเปิดบ้านเปิดเมืองตามปกติ การเสียชีวิตก็ควรจะต้องลดลงมาใกล้เคียงกับก่อนปิดบ้านปิดเมือง แต่ตัวเลขสถิติที่เห็นไม่ได้เป็นเช่นนั้น
    🔸️ในปี 2562 (2019) ก่อนการระบาดของเชื้อโควิด (อย่าลืมว่าบ้านเราเริ่มระบาดปี 2563 หรือ ค.ศ. 2020) คนไทยเสียชีวิตโดยรวมทั้งปี 506,221 ราย ไม่มีเสียชีวิตจากโควิดเลย
    🔸️ในปี 2563 (2020) ปีเริ่มระบาด ปีที่ยังไม่มีวัคซีน คนไทยเสียชีวิตโดยรวม "ลดลง" เหลือ 501,438 ราย มีผู้เสียชีวิตจากโควิด 61 ราย
    🔸️ปี 2564 (2021) การระบาดรุนแรง เสียชีวิตจากโควิดรวม 21,637 ราย เป็นปีที่มีการเสียชีวิตจากโควิดมากที่สุด ปีนั้นคนไทยเสียชีวิตโดยรวม 563,650 ราย ปีนี้เป็นปีที่มีการเริ่มต้นฉีดวัคซีน โดยเริ่มจากวันที่ 28 กพ เริ่มฉีด ชิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า วันที่ 25 มิย เริ่มฉีดชิโนฟาร์ม วันที่ 30 กค เริ่มฉีดไฟเซอร์ และวันที่ 9 พย เริ่มฉีดโมเดอร์นา
    🔸️ปี 2565 (2022) ปีนั้น การระบาดเริ่มสงบลง เชื้อกลายพันธุ์ ลดความรุนแรง คนไทยเสียชีวิตจากโควิดลดลงเหลือ 11,073 ราย แต่คนไทยเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 595,965 ราย ทั้งที่การระบาดยุติ เปิดบ้านเปิดเมืองตามปกติ และที่สำคัญคนไทยฉีดวัคซีนไปมากมาย
    🔸️ปี 2566 (2023) ปีนี้การระบาดยุติ การเสียชีวิตจากโควิดทั้งปี เหลือ 852 ราย แต่การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุรวมกันยังคงสูงถึง 565,992 ราย
    ปีล่าสุดที่พึ่งผ่านมา
    🔸️2567 (2024) โควิดเงียบสงบมาก ทั้งปีเสียชีวิตจากโควิดเพียง 220 ราย แต่การเสียชีวิตโดยรวมจากทุกสาเหตุ สูงถึง 571,646 ราย หรือสูงกว่าปี 2562 ก่อนการระบาดของโควิด 65,425 ราย มากกว่า การเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่เริ่มมีการระบาดรวมกันทั้งหมด

    Figure 1จำนวนผู้เสียชีวิตรวมทุกสาเหตุรายปีตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2567

    ❓คำถามคือ ทำไม คนไทยยังคงเสียชีวิตในอัตราที่สูงอยู่ทั้งที่การระบาดยุติลง และเป็นการเสียชีวิตในอัตราที่สูงต่อเนื่องกันสามปี ทั้งนี้มีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เผชิญปัญหาเดียวกัน ทั้งที่ประเทศเหล่านั้นไม่มีปัญหาฝุ่น pm 2.5 ไม่มีปัญหา คลื่นความร้อนเหมือนในไทย ปัจจัยเดียวที่พบร่วมกันคือ มีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนโควิด เหมือนกัน และอัตราการเสียชีวิตที่ผิดปกติเพิ่มขึ้นหลังการระดมฉีดเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ประเทศเหล่านั้น รวมทั้งประเทศไทย ไม่สนใจที่จะสืบหาสาเหตุการเสียชีวิตที่ผิดปกติ ไม่มีการนำเสนอข่าวสำคัญนี้ในสื่อกระแสหลัก หรือว่า เรื่องการเสียชีวิตที่ผิดปกตินี้ เป็นอีกเรื่องที่ ขัดกับ narrative ขัดกับความต้องการของบริษัทยา❗ ไม่ต่างจากการปิดบังเรื่องอื่นๆ ของโควิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ต้นกำเนิดของเชื้อโควิด จากห้องทดลอง เรื่องยาถูกดีปลอดภัยที่ใช้รักษาโควิดได้ เรื่องภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่ดีกว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน หรือเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด
    😰คำถาม คือ คนไทย หมอไทย จะรอดูคนใกล้ชิด ล้มตายก่อนวัยอันควร โดยไม่ทำอะไรกันเลยหรือ?ปัญหาใดๆ ก็ตาม ถ้ายอมรับและลงมือแก้ไข ย่อมมีทางแก้ปัญหาเสมอ แต่การวิ่งหนีปัญหา ไม่ยอมรับรังแต่จะทำให้ปัญหานั้นทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อรู้ตัว อาจจะสายไปแล้ว

    Figure 2 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่เริ่มการระบาด

    Figure 3 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565

    Figure 4 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566

    Figure 5 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

    ไฟล์PDF
    https://drive.google.com/file/d/1mfgjiKEyCTfccFf_TcdVjDmS0jvJwzPa/view?usp=drivesdk

    https://www.facebook.com/share/p/15vyAPBgac/
    นิลฉงน นลเฉลย

    นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
    อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ✴ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ผมเฝ้าติดตามการเสียชีวิตโดยรวมจากทุกสาเหตุของคนไทย โดยเข้าไปที่ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หลังจากทบทวนข้อมูลย้อนหลังหลายปีที่ผ่านมา สิ่งที่ทำให้ผมข้องใจ และตั้งคำถามมาตลอดคือ เหตุใดคนไทยจึงเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่การระบาดของโควิดลดลง เพราะว่าถ้าเป็นการเสียชีวิตจากการระบาดของโควิด เมื่อการระบาดจบลงการเสียชีวิตย่อมต้องลดลงไปใกล้เคียงกับการเสียชีวิตก่อนการระบาด หรือถ้าจะโทษการปิดบ้านปิดเมืองว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต เมื่อเปิดบ้านเปิดเมืองตามปกติ การเสียชีวิตก็ควรจะต้องลดลงมาใกล้เคียงกับก่อนปิดบ้านปิดเมือง แต่ตัวเลขสถิติที่เห็นไม่ได้เป็นเช่นนั้น 🔸️ในปี 2562 (2019) ก่อนการระบาดของเชื้อโควิด (อย่าลืมว่าบ้านเราเริ่มระบาดปี 2563 หรือ ค.ศ. 2020) คนไทยเสียชีวิตโดยรวมทั้งปี 506,221 ราย ไม่มีเสียชีวิตจากโควิดเลย 🔸️ในปี 2563 (2020) ปีเริ่มระบาด ปีที่ยังไม่มีวัคซีน คนไทยเสียชีวิตโดยรวม "ลดลง" เหลือ 501,438 ราย มีผู้เสียชีวิตจากโควิด 61 ราย 🔸️ปี 2564 (2021) การระบาดรุนแรง เสียชีวิตจากโควิดรวม 21,637 ราย เป็นปีที่มีการเสียชีวิตจากโควิดมากที่สุด ปีนั้นคนไทยเสียชีวิตโดยรวม 563,650 ราย ปีนี้เป็นปีที่มีการเริ่มต้นฉีดวัคซีน โดยเริ่มจากวันที่ 28 กพ เริ่มฉีด ชิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า วันที่ 25 มิย เริ่มฉีดชิโนฟาร์ม วันที่ 30 กค เริ่มฉีดไฟเซอร์ และวันที่ 9 พย เริ่มฉีดโมเดอร์นา 🔸️ปี 2565 (2022) ปีนั้น การระบาดเริ่มสงบลง เชื้อกลายพันธุ์ ลดความรุนแรง คนไทยเสียชีวิตจากโควิดลดลงเหลือ 11,073 ราย แต่คนไทยเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 595,965 ราย ทั้งที่การระบาดยุติ เปิดบ้านเปิดเมืองตามปกติ และที่สำคัญคนไทยฉีดวัคซีนไปมากมาย 🔸️ปี 2566 (2023) ปีนี้การระบาดยุติ การเสียชีวิตจากโควิดทั้งปี เหลือ 852 ราย แต่การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุรวมกันยังคงสูงถึง 565,992 ราย ปีล่าสุดที่พึ่งผ่านมา 🔸️2567 (2024) โควิดเงียบสงบมาก ทั้งปีเสียชีวิตจากโควิดเพียง 220 ราย แต่การเสียชีวิตโดยรวมจากทุกสาเหตุ สูงถึง 571,646 ราย หรือสูงกว่าปี 2562 ก่อนการระบาดของโควิด 65,425 ราย มากกว่า การเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่เริ่มมีการระบาดรวมกันทั้งหมด Figure 1จำนวนผู้เสียชีวิตรวมทุกสาเหตุรายปีตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2567 ❓คำถามคือ ทำไม คนไทยยังคงเสียชีวิตในอัตราที่สูงอยู่ทั้งที่การระบาดยุติลง และเป็นการเสียชีวิตในอัตราที่สูงต่อเนื่องกันสามปี ทั้งนี้มีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เผชิญปัญหาเดียวกัน ทั้งที่ประเทศเหล่านั้นไม่มีปัญหาฝุ่น pm 2.5 ไม่มีปัญหา คลื่นความร้อนเหมือนในไทย ปัจจัยเดียวที่พบร่วมกันคือ มีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนโควิด เหมือนกัน และอัตราการเสียชีวิตที่ผิดปกติเพิ่มขึ้นหลังการระดมฉีดเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ประเทศเหล่านั้น รวมทั้งประเทศไทย ไม่สนใจที่จะสืบหาสาเหตุการเสียชีวิตที่ผิดปกติ ไม่มีการนำเสนอข่าวสำคัญนี้ในสื่อกระแสหลัก หรือว่า เรื่องการเสียชีวิตที่ผิดปกตินี้ เป็นอีกเรื่องที่ ขัดกับ narrative ขัดกับความต้องการของบริษัทยา❗ ไม่ต่างจากการปิดบังเรื่องอื่นๆ ของโควิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ต้นกำเนิดของเชื้อโควิด จากห้องทดลอง เรื่องยาถูกดีปลอดภัยที่ใช้รักษาโควิดได้ เรื่องภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่ดีกว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน หรือเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 😰คำถาม คือ คนไทย หมอไทย จะรอดูคนใกล้ชิด ล้มตายก่อนวัยอันควร โดยไม่ทำอะไรกันเลยหรือ?ปัญหาใดๆ ก็ตาม ถ้ายอมรับและลงมือแก้ไข ย่อมมีทางแก้ปัญหาเสมอ แต่การวิ่งหนีปัญหา ไม่ยอมรับรังแต่จะทำให้ปัญหานั้นทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อรู้ตัว อาจจะสายไปแล้ว Figure 2 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่เริ่มการระบาด Figure 3 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 Figure 4 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 Figure 5 จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ไฟล์PDF https://drive.google.com/file/d/1mfgjiKEyCTfccFf_TcdVjDmS0jvJwzPa/view?usp=drivesdk https://www.facebook.com/share/p/15vyAPBgac/ นิลฉงน นลเฉลย นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    0 Comments 0 Shares 783 Views 0 Reviews
  • ‘อ.ต่อตระกูล ยมนาค’ ประกาศเลิกดูรายการ ‘เจาะลึกทั่วไทย’ หลัง ‘หมาแก่’ บอกเสียดาย ‘กิตติรัตน์’ ไม่ได้เป็น ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

    รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า... “หมาแก่” ช่อง อสมท. ( MCOT 30 ) ออกมาประกาศ ช่วยสนับสนุน กิตติรัตน์ เป็นประธานแบงก์ชาติ โดยเอ่ยคำว่า “เสียดาย กิตติรัตน์” (ถ้าไม่ได้เป็น ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ )
    ‘อ.ต่อตระกูล ยมนาค’ ประกาศเลิกดูรายการ ‘เจาะลึกทั่วไทย’ หลัง ‘หมาแก่’ บอกเสียดาย ‘กิตติรัตน์’ ไม่ได้เป็น ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า... “หมาแก่” ช่อง อสมท. ( MCOT 30 ) ออกมาประกาศ ช่วยสนับสนุน กิตติรัตน์ เป็นประธานแบงก์ชาติ โดยเอ่ยคำว่า “เสียดาย กิตติรัตน์” (ถ้าไม่ได้เป็น ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ )
    0 Comments 0 Shares 610 Views 0 Reviews
More Results